อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง (ไร่แม่ฟ้าหลวง )

อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง (ไร่แม่ฟ้าหลวง ) จ.เชียงราย

“อุทยานแห่งความสงบ งามอย่างล้านนา” ไร่แม่ฟ้าหลวงตั้งอยู่บริเวณพื้นราบทางตะวันตกของตัวเมืองเชียงราย ครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานที่ฝึกอบรมเยาวชนชาวเขาจากหมู่บ้านต่างๆ ในภาคเหนือ 

  ปัจจุบันเป็นอุทยานศิลปะและวัฒนธรรมอันรื่นรมณ์ด้วยหมู่ไม้นานาพันธุ์ เหมาะสำหรับผู้แสวงหาความสงบเงียบและแรงบันดาลใจอันเกิดจากธรรมชาติ และศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น บริเวณ 150 ไร่ของไร่แม่ฟ้าหลวงเป็นที่จัดแสดงงานศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ละคร ทั้งยังเหมาะสำหรับจัดงานเลี้ยงรับรองรูปแบบต่างๆ การประชุมสัมนาหรือการประกอบพิธีกรรมพื้นเมืองเหนือในท่ามกลางบรรยากศอันสงบและศักดิ์สิทธิ์

อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง (ไร่แม่ฟ้าหลวง ) จ.เชียงราย

ความเป็นมาของคำว่า “ไหว้สาแม่ฟ้าหลวง
“ไหว้สาแม่ฟ้าหลวง” เป็นภาษาเนหือโบราณแปลว่า การน้อมคารวะ
“แม่ฟ้าหลวง”เป้นคำที่ชาวไทยในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทบ ใช้แทนพระนามของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีผู้สันนิษฐานว่าชาวไทยภูเขาได้คำนี้มาจากชาวไทยใหญ่ในตอนใต้ของประเทศจีนที่เรียกเจ้านายของตนเองว่า “เจ้าฟ้า” บางท่านสันนิษฐานว่า พระนามนี้ได้มาจากกาเสด็จเยี่ยมเยือนราษฎรชาวไทยภุเขา ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เฮลิปคอบเตอร์เป็นพระราชพาหนะ เปรียบเสมือนมารดาจากฟากฟ้ามาดูแลบุตร แต่ไม่ว่าคำคำนี้จะมีที่มาจากเหตุใด ก็เป็นพระสัญญานามที่ถวายแด่พระองค์ ท่านด้วยความรัก บูชา และซาบซึ้งในพระเมตตาที่ทรงมีต่อราษฎรในพื้นที่ทรุกันดารเหล่านั้น

จัดขึ้นครั้งแรก ตรงกับวันที่ 9 ธันวาคม 2527 ณ ไร่แม่ฟ้าหลวง เนื่องจากในวโรกาสเจริญพระชนมา ยุครบ 7 รอบ
ครั้งที่ 2 จัดเมื่อวันที่ 11-12 มกราคม 2529 ณ ไร่แม่ฟ้าหลวง การแสดงเรื่อง “ขุนหลวงวิรังคะ และเอื้องแซะ” ซึ่งเป็นเรื่องราวความเกี่ยวกับพันระหว่างชาวเขาเผ่าลั่วะซึ่งเป็นชาวเขา ที่มีผู้สัมผัสน้อยที่สุดกับคนพื้นราบ
ครั้งที่ 3 จัดเมื่อวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2530 การแสดงเรื่อง “ศิขรินทร์รัญจวน” ณ ไร่แม่ฟ้า หลวงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเมตตาของสมเด็จย่าที่มีต่อตำรวจตระเวนชายแดน และ ครูชนบทที่ไกลคมนาคม
ครั้งที่ 4 จัดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2533 การแสดงชุด “ คำหยาดฟ้า” ณ ไร่แม่ฟ้าหลวง เพื่อ เฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จฯทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษาในปี 2533
ครั้งที่ 5 จัดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 พิธีไหว้สาแม่ฟ้าหลวง ณ พระตำหนักดอยตุง ในครั้งนี้ เป็นการนำโบราณราชประเพณีของล้านนาที่มีการจดจำบันทึกไว้มาใช้ โดยอาศัยความ จงรักภักดีและความสามัคคีของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า
โครงการศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้าน

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงและธานาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ได้ริเริ่มโครงการศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านขึ้นมาเพื่อเป็นการปลูกฝังค่านิยมของคนในสังคมปัจจุบัน จะร่วมในการผลักดันให้มรดกทางวัฒนธรรมเหล่านั้นดำรงอยู่สืบไป ธนาคารและมูลนิธิฯ ได้จัดงานศิลปะดนตรีวัฒนธรรมพื้นบ้าน มีจุดหมายที่จะยกย่องและเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้าน ไม่ว่าเป็นเรื่องการสันทนาการ อาหาร ภาษาวรรณคดี ความเชื่อถือ ยารักษาโรค ฯลฯ ที่เกิดขึ้นแลสืบเนื่องต่อกันมาหลายชั่วอายุคน งานนี้จะโยกย้ายไปจัดในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นเสมือนเครื่องมือเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างหนึ่ง โดยต้องการให้เห็นความงดงามในความหลากหลายของวัฒนธรรมในประเทศของเรา อันเป็นทางหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและสามัคคีเป็นอันเดียวกันของคนภายในประเทศ ที่สำคัญคือต้องการให้เห็นถึงเอกลักษณ์อันโดดเด่นของคนไทยในภาคต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องลอกเลียนวัฒนธรรมและความคิดของชาติอื่นเสมอไป

ครั้งแรก จัดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2531 ณ ไร่แม่ฟ้าหลวง “คอนเสิร์ตสุนทรีย์ ดอกไม้บานหวานเพลงเหนือ”โดยศิลปินพื้นบ้าน 7 จังหวัดของภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ นาน และพิษณุโลก จะได้ร่วมกันแสดงดนตรีอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นในจังหวัดของตน นำรายได้ขึ้นทูลเกล้าถวายสมเด็ดพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการจัดหาศิลปวัตถุและโบราณวัตถุของภาคเหนือ เพื่อรวบรวมจัดแสดงที่ “หอคำหลวง”
ครั้งที่ 2 จัดเมื่อวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2532 ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ศิลปดนตรีวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน เรื่อง”อาสาบารถ” นำรายได้มอบมูลนิธิ ฯ เพื่อสมทบทุนสร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคอีสานและสนันสนุนโครงการอีสานเขียว
ครั้งที่ 3 จัดเมือวันที่ 23-26 กุมภาพันธ์ 2534 ณ เกาะยอ จังหวัดสงขลา งานศิลปะวัฒนธรรมและดนตรีพื้นบ้านเรื่อง”ทะเลทิพย์” แสดงที่ศูนย์ทักษิณคดีศึกษาเกาะยอ เป็นการแสดงเกี่ยวตำนานโนราของปักษ์ใต้ ในการแสดงครั้งนี้จะแสดงให้เป็นโนราอย่างโบราณ และอย่างที่ปรับปรุงมีวัฒนาการแล้ว
ครั้งที่ 4 จัดเมือวันที่ 5-8 มกราคม 2535 ณ ศรีสัชชนาลัย จังหวัดสุโขทัย งานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านแม่ฟ้าหลวง

หอคำน้อย
การเดินเล่นในอุทยานแห่งนี้เป็นประสบการณ์พิเศษ ภายในอุทยานมีไม้ป่านานาพันธุ์ มีพระรูปปั้นของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอันเป็นผลงานของคุณมีเซียม ยิบอินซอย มีอาคารศิลาแลงหลังคาแป้นเกล็ดไม้สัก ซึ่งเรียกว่า “หอคำน้อย” เป็นที่เก็บภาพจิตกรรมฝาผนัง เขียนด้วยสีฝุ่นบนกระดานไม้สัก สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในช่วงต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยช่างเขียนชาวไทลื้อ ภาพแสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ การแต่งกาย และวัศนธรรมล้านนาเมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว
รายละเอียดเพิ่มเติม“หอคำน้อย” ซึ่งเป้นที่เก็บจิตรกรรมภาพวาดบนแผ่นไม้สักจากเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และวันเฉลิมฉลอง “หอคำน้อย” ตรงกับวันที่ 8 ธันวาคม 2535
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเห็นว่าศสิลปะเหล่านี้เป็ยของแผ่นดิน มมิได้เป็นของผู้ใดผู้หนึ่ง ดดยเฉาะมูลนิฯ มีความภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสเป็นผู้ดูแลรักษาเพื่อสาธารณชน

หอแก้ว
จากหอคำน้อย เมื่อเดินผ่านป่าสมุนไพรไปทางทิศใต้ จะพบอาคารหลังใหญ่ คือ “หอแก้ว” ซึ่งมีพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งใช้เป็นที่ทำกิจกรรม เช่น การประชุมสัมมนา จัดเลี้ยง ฯลฯ มีระเบียงยื่นลงไปในสระว่ายน้ำกว้างใหญ่ เหมาะแก่การสังสรรค์อันรื่นรมณ์ และปลอดโปร่งใจ อีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการเกี่ยวกับไม้สัก ทั้งในด้านพฤกษศาสตร์ และในด้านเป็นวัสดุอันเลื่องชื่อสำหรับสร้างสรรค์งานศิลปะ

รายละเอียดเพิ่มเติม
หอแก้ว
อาคารสถาปัตนกรรมล้านนาประยุกต์ขนาดใหญ่ สร้างเสร็จเมื่ออปี พ.ศ. 2544 ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งใช้เป็นที่ทำกิจกรรม เช่น การประชุมสัมมนา จัดเลี้ยงฯลฯ มีระเบียงยื่นลงไปสระน้ำกว้างใหญ่เหมาะแก่การสังสรรค์ค์อันเรื่นรมย์แลละปลอดโปร่งใจ อีกส่วนหนึ่งเป้ฯพื้นที่จัดนิทรรศการ ซึ่งขณะนี้ได้จัดนิทรรศกาถาวรเรื่อง “ไม้สัก” และนิทรรศการเรื่องหมุ่นเวียน “หอคำในอาณาจักรล้านนา”

“นิทรรศการภาพถ่ายหอคำ” ประกอบด้วยภาพหอคำและวิถีชีวิตในคุ้มหลวงของล้านนาโบราณซึ่งตามขบนธรรมเนียมในอดีต ถือได้ว่าหอคำเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองที่สำคัญ เป็นไปตามความเชื่อหลักศาสนา โหราศาสตร์ และมีความสำคัญต่อสังคม จากภาพถ่ายที่จัดแสดงจึงได้ปรากฏความเจริญของสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากการเมืองตลอดเวลา นิทรรศการเริ่มต้นด้วยรูปแบบโครงสร้างของหอคำที่ได้รับอิทธิพลศิลปะพม่าซึ่งได้แผ่ขยายไปทั่ว โดยจัดแสดงภาพหมู่พระมหามณเฑียรแห่งเมืองมัณฑเลย์ภาพถ่ายของหอคำในภาคเหนือของไทย อันประกอบไปด้วย หอคำเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน ข้ามแม่น้ำโขงไปยังลาวตอนบน จะพบหอคำหลวงพระบางและเมืองสิง จบลงด้วยภาพหอคำในเชียงตุง ยองห้วย และแสนหวีในรัฐแน ประเทศพม่า

สำนักงานกรุงเทพฯ
โทร. 02-252 7114 
โทรสาร. 02-2541665
อีเมล์ tourism@doitung.org

**เปิดทุกวันเวลา 08.00-18.00 น.(ยกเวันวันจันทร์) “

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
แนะนำโปรแกรมเที่ยว 3 วัน 2 คืน เชียงราย
ชาวเชียงรายน้อมใจรำลึก 28 ปี สวรรคต “สมเด็จย่า” มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ร่วมกับจังหวัดเชียงรายจัดพิธีถวายขันดอก น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ “แม่ฟ้าหลวง”
ชาวเชียงราย พร้อมใจถวายสักการะ วันครบสวรรคต ปีที่ 28 “สมเด็จย่า” ณ ม.ราชภัฏเชียงราย
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้กำหนดจัดพิธีถวายขันดอกล้านนาสักการะ “แม่ฟ้าหลวง” เป็นการถวายความเคารพอย่างสูงสุดตามประเพณีล้านนา
คอกาแฟ ไปเที่ยวชม ชิมกาแฟกันได้ที่งาน “เหน่น แวด เหนือ” 6 – 7 พ.ค.นี้ ณ ไร่แม่ฟ้าหลวง เชียงราย
ขยายเวลาจัดแสดงงาน Light of Life นิทรรศการแสงไฟ กลไก และภาพเงา (3 ก.พ.-28 พ.ค. 2566)