เชียงราย เปิดเวทีนำเสนออาหารท้องถิ่น 18 อำเภอ ยกระดับจาก Local สู่เลอค่า

นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดงาน “เชียงราย เลอค่า” ประจำปี พ.ศ. 2566 ภายใต้โครงการสืบสาน พัฒนาต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และคุณค่าทางสังคมผ่านวัฒนธรรมเชิงสัญลักษณ์

เชียงราย เปิดเวทีนำเสนออาหารท้องถิ่น 18 อำเภอ ยกระดับจาก Local สู่เลอค่า

และในโอกาสครบรอบ 50 ปี การสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยมีนางภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงรายและนายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน สภาวัฒนธรรม 18 อำเภอ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผู้ประกอบการอาหารและผ้า และประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย กว่า 500 คนเข้าร่วมงาน เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2566 ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย

ด้วยสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ได้ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และเครือข่ายวัฒนธรรมในพื้นที่ระดับ ตำบล อำเภอ และจังหวัด จัดงาน “เชียงราย เลอค่า” จัดโครงการขึ้น เพื่อส่งเสริมให้มีภาคีเครือข่ายทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดเชียงรายได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนาต่อยอด และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ คุณค่าทางสังคม โดยให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคสถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานด้านวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงราย รวมถึงเปิดเป็นพื้นที่ในการนำเสนออัตลักษณ์อาหารถิ่นของชาวเชียงรายทั้ง 18 อำเภอ และอาภรณ์อันงดงามวิจิตรด้วยกลิ่นอายความหลากหลายชาติพันธุ์ของชาวเชียงราย จาก Local สู่เลอค่า ผ่านวัฒนธรรมเชิงสัญลักษณ์ 5F (Food/ Fashion/ Fighting/ Film/Festival) นำไปสู่การพัฒนาสร้างสรรค์สินค้าและบริการ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว บริการทางวัฒนธรรม ตลอดจนทำให้เกิดการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชุมชนและท้องถิ่น

นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีวัฒนธรรมอันดีงามที่ปรากฎ และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และด้วยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ที่มุ่งเน้นการสืบสาน รักษาและต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม ด้วยการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของทุนทางวัฒนธรรม รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชนในการดำเนินงานวัฒนธรรม เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจในรากเหง้าของท้องถิ่น และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการทางวัฒนธรรม สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชุมชนและท้องถิ่นต่อไป

ภายในงาน มีการมอบเกียรติบัตรให้กับเครือข่ายวัฒนธรรม ทั้ง 18 อำเภอ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ พร้อมทั้งได้มอบโล่ยกย่องเชิดชูเกียรติ “คนดีศรีเชียงราย” ประจำปี 2566 จำนวน 6 สาขามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จำนวน 6 ราย ได้แก่

  • สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา ได้แก่ นายถาวร อุ่นเจริญ
  • สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นางบัวลอย โชติสิริพัชญ์
  • สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล ได้แก่ นายภัทรพงศ์ วงศ์เชียงปล้อง
  • สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล ได้แก่ นายธวัช เลียลา
  • สาขาการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน
  • ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ได้แก่ นายณัฐวุฒิ ดอนลาวและ และสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ได้แก่ นายรัตน์ เผ่าปินตา

นอกจากนี้ภายในงานยังมีบูธจัดแสดงและสาธิตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และ 1 อำเภอ 1 เมนูเชิดชูอาหารถิ่น โดยเครือข่ายสภาวัฒนธรรมอำเภอ 18 อำเภอ การเดินแบบ “อัตลักษณ์อาภรณ์นครเชียงราย” โดยเครือข่ายทางวัฒนธรรม และการยกระดับอาหารอัตลักษณ์นครเชียงราย “Local สู่เลอค่า” ในรูปแบบ Fine dining อีกด้วย

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย ข่าว/ภาพ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ททท.เชียงราย เปิดตัวแคมเปญ “เที่ยวสบายๆ สไตล์เชียงราย Amazing Chiang Rai Lifestyle”
ขอเชิญร่วมงานเลี้ยงคืนสู่เหย้า “เทา-แสด น้องพี่ 50 ปี CRRU REUNION” | 30 ก.ย.66
ชาวเชียงราย พร้อมใจถวายสักการะ วันครบสวรรคต ปีที่ 28 “สมเด็จย่า” ณ ม.ราชภัฏเชียงราย
เปิดให้เข้าชมแล้ว นิทรรศการศิลปะ “ไตรศิลป์” ดนตรี กวี วาด กว่า 100 ชิ้น โดยศิลปินชาวเชียงราย เชิด สันดุษิต
ม.ราชภัฏเชียงราย เปิดรับสมัครผู้เรียนในหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง “สาธารณสุขศาสตร์เพื่อการพัฒนาสุขภาพชุมชน” รุ่นที่ 4
Y&Y อพาร์ทเม้นท์ : สวยทันสมัย ใกล้ ม.ราชภัฏเชียงราย