การดูแลผู้สูงอายุ : 4 อาการพบบ่อย การลื่นล้ม และเมนูอาหารบำรุงสมอง

“ห่วงใย ใส่ใจผู้สูงอายุ” 4 อาการพบบ่อย

4 อาการพบบ่อยในผู้สูงอายุ ห่วงใย ใส่ใจสังเกตอาการ

  • นอนไม่หลับ
  • จำไม่ดี
  • มีกังวล
  • บ่นซึมเศร้า

4 เวลา ให้หมั่นสังเกต

  • ตอนเช้าหลังตื่นนอน
  • เวลามีเรื่องไม่สบายใจ
  • กลางคืนก่อนนอน
  • เวลาพูดคุย / โทรคุย / มีคนมาเยี่ยม

20 เมนูสมุนไพรบำรุงสมอง “พรมมิ” ให้พลังงาน ไขมัน โซเดียมต่ำ เหมาะเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าปัญหาที่พบในสังคมผู้สูงอายุ คือ ภาวะสมองเสื่อม (dementia) ผู้ป่วยจะมีความเสื่อมถอยด้านความจำ สมาธิ มีอาการหลงลืม ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

20 เมนูสมุนไพรพรมมิ บำรุงสมองผู้สูงอายุ

ซึ่ง สมุนไพรพรมมิ ในตำราอายุเวทของอินเดียใช้เป็นสมุนไพรเพิ่มความจำ บำรุงสมองมีรายงานการวิจัยในเด็กวัยเรียนที่ได้รับยาน้ำเชื่อมพรมมิ พบว่ามีการเรียนรู้ ความจำ ความเข้าใจที่ดีขึ้น ส่วนในผู้ใหญ่ที่มีภาวะวิตกกังวล พบว่า มีสมาธิดีขึ้น

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ได้ทำการวิจัยพัฒนาตำรับอาหารเพื่อสุขภาพจากสมุนไพรพรมมิสำหรับผู้สูงอายุ ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสาธารณสุข โดยปรับปรุงสูตรอาหารให้เป็นเมนูเพื่อสุขภาพ 3 ประเภท ประกอบด้วย ต้ม/แกง, ผัด/ทอด และตุ๋น/นึ่ง/ลวก รวม 20 รายการ ได้แก่

  • ต้มเลือดหมู
  • ต้มข่าไก่
  • ต้มยําปลากะพงน้ำใส
  • ข้าวต้มหมูสับ
  • แกงป่า
  • แกงจืด
  • แกงจืดมะระยัดไส้
  • แกงส้ม
  • แกงเห็ด
  • แกงเลียง
  • ข้าวผัด
  • อกไก่ผัดขิง
  • คะน้าผัดน้ำมันหอย
  • ปลากะพงผัดขึ้นฉ่าย
  • ผัดบวบ
  • ผัดผักรวม
  • ทอดมัน
  • ผัดดอกกุยช่าย
  • ไข่ตุ๋นกุ้งสับ
  • ไก่อบวุ้นเส้น

( โดยเติมผักพรมมิสดลงไป เมนูละ 150 กรัม )

จากการศึกษาในอาสาสมัครผู้สูงอายุชาย-หญิง อายุ 60-80 ปี ที่ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีปัญหาการขบเคี้ยว ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 30 คน พบว่า ทุกเมนูมีคุณค่าทางโภชนาการอยู่ในเกณฑ์อาสาสมัครมีความชอบต่อเมนูอาหารจากพรมมิ การเพิ่มพรมมิลงไปในเมนูอาหารประเภทต้ม/แกง และผัด/ทอด ทำให้สีและลักษณะที่ปรากฏดูน่ารับประทานยิ่งขึ้น สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุได้อย่างดี

สถิติน่าตกใจ อุบัติเหตุที่ผู้สูงอายุลื่นล้มมีประมาณ 3 ล้านราย เจ็บจนต้องเข้า รพ. 6 หมื่นรายต่อปี

อุบัติเหตุอันตราย พบผู้สูงอายุลื่นล้มตายเฉลี่ย 4 รายต่อวัน

เรียกได้ว่าการ “ลื่นล้มกับผู้สูงอายุ” เป็นของที่คู่กันอย่างเลี่ยงไม่ได้เลย ด้วยความเสื่อมของร่างกายตามกาลเวลา
จากสถิติน่าตกใจ !! อุบัติเหตุที่ผู้สูงอายุลื่นล้มมีประมาณ 3 ล้านราย เจ็บจนต้องเข้า รพ. 6 หมื่นรายต่อปี !!
ซึ่งวันผู้สูงอายุที่ผ่านมาไม่นานนี้เรามารู้จักวิธีป้องกันอุบัติภัยของผู้สูงอายุในบ้านกันดีกว่า

นายแพทย์สามารถ ถิระศักดิ์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดเผยว่า ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการลื่นล้มได้ง่ายและมีอันตรายกว่าวัยอื่น เพราะความเสื่อมของร่างกายทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงและทรงตัวได้ไม่ดีพอ หากเกิดการลื่นล้ม อาจทำให้อวัยวะต่างๆ เช่น แขน ขา ศีรษะ เกิดการกระแทกและมีการบาดเจ็บจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมควบคุมโรคปี 2564 พบว่าในแต่ละปีที่ผ่านมา อุบัติเหตุที่ผู้สูงอายุลื่นล้มมีประมาณ 3 ล้านราย ได้รับบาดเจ็บที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 60,000 รายต่อปี และมีผู้เสียชีวิตจากการลื่นล้ม เฉลี่ยสูงถึงวันละ 4 ราย ซึ่งมีสาเหตุมาจากมีของวางกีดขวางทางเดินภายในบ้านและนอกบ้าน น้ำขัง พื้นลื่นจากการไม่ทำความสะอาด ทำให้ผู้สูงอายุลื่นล้มได้ โดยแนะนำให้คนในครอบครัว ป้องกันและลดความเสี่ยงในการลื่นล้มของผู้สูงอายุ และปฏิบัติตามสุขบัญญัติป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท รวมถึงการปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ

ทั้งนี้ได้แนะนำวิธีป้องกันอุบัติภัยผู้สูงอายุในบ้าน

  • บริเวณพื้นบ้าน ควรเป็นทางเดินเรียบเสมอกัน หลีกเลี่ยงการยกระดับสูงต่ำ ที่สำคัญพื้นต้องไม่ลื่น ไม่เปียก ไม่มีสิ่งของวางกีดขวาง เนื่องจากผู้สูงอายุมีการทรงตัว ไม่ดี อาจจะสะดุดล้มได้
  • บริเวณห้องนอน เตียงนอนควรจัดวางในตำแหน่งที่เข้าถึงได้ง่าย ความสูงของเตียงอยู่ในระดับที่ผู้สูงอายุ นั่งแล้วสามารถวางเท้าได้ ควรเพิ่มดวงไฟส่องสว่างเวลากลางคืน เพราะผู้สูงอายุมักมีปัญหาในการมองเห็นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อผู้สูงอายุ
  • บริเวณห้องน้ำควรเป็นพื้นเรียบเสมอกัน ทำความสะอาดง่าย ที่สำคัญควรมีราวจับเพื่อช่วยพยุงตัว หากเกิดกรณีฉุกเฉินกับผู้สูงอายุประตูห้องน้ำควรเป็นประตูที่สามารถปลดล็อคจากด้านนอกได้
  • บริเวณขั้นบันได ควรมีแสงสว่างที่เพียงพอและมีราวจับ เพื่อความสะดวกในการเดินขึ้น-ลง ควรมีความสูงเสมอกันและไม่ชันมากเกินไป ไม่ควรปูพรมหรือมีสิ่งของกีดขวางทางเดิน เพราะอาจจะทำให้ผู้สูงอายุสะดุดได้ง่าย การป้องกันการลื่นล้มในผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก ดังนั้นวิธีการป้องกัน โดยการปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยลดความเสี่ยงในการลื่นล้มของผู้สูงอายุที่เรารักได้

ที่มา : กรมสุขภาพจิต, สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ NNT https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
4 กลุ่มเสี่ยง อาการรุนแรงจากไข้เลือดออก และผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออก
“โรคไข้เลือดออก” อันตรายในหน้าฝน กำจัดยุงลายตั้งแต่เริ่มต้นโดยปฏิบัติ 3 เก็บป้องกัน 3 โรค
ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีฯ เชียงราย เปิดรับสมัครเข้ารับการฝึกอบรม ในสถาบัน ฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
สธ.เผย หลังสงกรานต์ อาจพบผู้ป่วย “โควิด” มากขึ้น พร้อมรับมือ วาง 3 มาตรการป้องกันระบาด
กรมควบคุมโรค เตือน! “กินหมูดิบ เสี่ยงหูดับ” ..แนะประชาชน กินอาหารปรุงสุก ถูกหลักอนามัย ได้มาตรฐาน
วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ฝังยาคุมกำเนิดและห่วงอนามัย ฟรี!