พฤติกรรมเสี่ยง! โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax)

แอนแทรกซ์ เป็นโรคอันตรายร้ายแรง หากพบสัตว์ตายผิดปกติ “ห้ามสัมผัส ห้ามชำแหละ ห้ามเคลื่อนย้ายซาก” ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทันที

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่สร้างสปอร์ได้ ทนต่อความร้อนและเย็นได้ดี ทนต่อสารเคมี และมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานกว่า 10 ปี พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในดิน น้ำ และวัสดุจากพืช สัตว์ พบมากในสัตว์กินหญ้า เช่น โค กระบือ แพะ แกะ สัตว์ที่ติดเชื้อจะตายอย่างรวดเร็ว สามารถแพร่เชื้อสู่คนได้โดยตรง หากมีการสัมผัสกับเลือด เนื้อ หรืออวัยวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ หากป่วยอาการรุนแรง มีโอกาสเสียชีวิตสูงร้อยละ 80

.

พฤติกรรมเสี่ยง! โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax)

  • สัมผัสผิวหนัง หรือชำแหละสัตว์ที่ป่วยตายผิดปกติ โดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน
  • การหายใจสูดดมเอาฝุ่นดินที่มีเชื้อสปอร์เข้าไป
  • การบริโภคเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อแบบไม่ปรุงสุก

.

กลุ่มเสี่ยง : เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ผู้ชำแหละเนื้อ สัตวแพทย์ ผู้บริโภคเนื้อเครื่องในดิบ ผู้ที่ทำงานในในโรงงานอุตสาหกรรมสัตว์

หากพบสัตว์ตายผิดปกติ ห้ามสัมผัส ห้ามชำแหละ ห้ามเคลื่อนย้ายซาก ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทันที

“ไม่ประมาท ปลอดภัยไว้ก่อน ป้องกัน โรค แอนแทรกซ์”

"ไม่ประมาท ปลอดภัยไว้ก่อน ป้องกัน โรค แอนแทรกซ์" ⏬สามารถติดตามข่าวสารโรคและภัยสุขภาพอีกช่องทางหนึ่งทาง 📌facebook กดดู รู้โรค by กรมควบคุมโรค https://shorturl-ddc.moph.go.th/kZAEc 📌X กรมควบคุมโรค https://shorturl-ddc.moph.go.th/hFJ3A 📌TikTok กรมควบคุมโรค https://shorturl-ddc.moph.go.th/DDahM 📌IG: ddcthailand_official https://shorturl-ddc.moph.go.th/n4F36 📌LINE กรมควบคุมโรค https://shorturl-ddc.moph.go.th/aYYBH 📌คลังสื่อโรคและภัยสุขภาพ กรมควบคุมโรค https://shorturl-ddc.moph.go.th/AwhOH #กรมควบคุมโรค1422 #ตรวจจับเร็วตอบโต้ทันป้องกันได้ #กรมควบคุมโรคห่วงใยอยากเห็นคนไทยมีสุขภาพดี💖

โพสต์โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เมื่อ วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม 2025

“ไม่ประมาท ปลอดภัยไว้ก่อน ป้องกัน โรค แอนแทรกซ์”

ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
วัณโรค รู้เร็ว รักษาหายได้ ไม่แพร่กระจาย ไม่ตีตรา – สังเกต 3 อาการ
ดูก่อนซื้อ ! ฉลาก หวาน มัน เค็ม
4 กลุ่มเสี่ยง อาการรุนแรงจากไข้เลือดออก และผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออก
ความแตกต่างระหว่างโรคโควิดโอมิครอน และโรคไข้เลือดออก
“โรคไข้เลือดออก” อันตรายในหน้าฝน กำจัดยุงลายตั้งแต่เริ่มต้นโดยปฏิบัติ 3 เก็บป้องกัน 3 โรค
การดูแลผู้สูงอายุ : 4 อาการพบบ่อย การลื่นล้ม และเมนูอาหารบำรุงสมอง
เชียงรายโฟกัสดอทคอม  สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
นโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้เราสามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดแก่คุณได้ ข้อมูลคุกกี้จะถูกเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณและทำหน้าที่ต่างๆ เช่น การจดจำคุณเมื่อคุณกลับมาที่เว็บไซต์ของเรา และช่วยให้ทีมงานของเราเข้าใจว่าส่วนใดของเว็บไซต์ที่คุณพบว่าน่าสนใจและมีประโยชน์มากที่สุด