เชิญร่วมงานจำลองพิธีอัญเชิญพระพุทธรูป “พระเจ้าทองทิพย์” ขึ้นจากแม่น้ำลาวให้ชาวบ้านสรงน้ำเนื่องในวันสงกรานต์ 2566

ประเพณีสงกรานต์ อ.แม่สรวย จำลองพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปพระเจ้าทองทิพย์

เชิญร่วมงาน “ประเพณีสงกรานต์” จำลองพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปพระเจ้าทองทิพย์ และพิธีรดน้ำดำหัวขอพร ณ ลานกิจกรรมวัดพระเจ้าทองทิพย์ ต.ศรีถ้อย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

วันที่ 13 เมษายน 2566 ตั้งแต่เวลา 8.00 น. เป็นต้นไป

08.30 น. พิธีทางศาสนา พระสงฆ์ 5 รูป เจริญพระพุทรมนต์สืบชะตา
10.30 น. พีธีเปิดประเพณีวันสงกรานต์ ตำบลศรีถ้อย โดย นายบรรจง แสงคำ กำนันตำบลศรีถ้อย
10.40 น. จำลองพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปพระเจ้าทองทิพย์
11.00 น. พีธีรดน้ำดำหัวขอพรผู้สูงอายุ
12.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. พีธีมอบใบประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติผู้สูงอายุ
18.00 น. เสร็จสิ้นกิจกรรม

…….

( 13 เมษายน 2566 ที่วัดพระเจ้าทองทิพย์ ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย )

เชียงราย ชาวบ้านแห่ร่วมงานจำลองการเสด็จของพระเจ้าไชยเชยฐา พิธีจำลองอัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์ ขึ้นจากแม่น้ำลาวให้ชาวบ้านสรงน้ำเนื่องในวันสงกรานต์

พิธีจำลองอัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์ ขึ้นจากแม่น้ำลาวให้ชาวบ้านสรงน้ำเนื่องในวันสงกรานต์ 2566

ดร.ยงยุทธ สาระสมบัติ สมาชิกวุฒิสภา อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานพิธีจำลองอัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์ ขึ้นจากแม่น้ำลาวให้ชาวบ้านสรงน้ำเนื่องในวันสงกรานต์ โดยมีว่าที่ร้อยตรี พรชัย ใจแปง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย ร่วมกับ วัดพระเจ้าทองทิพย์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านศรีถ้อย ร่วมกันจัดงานจำลองการเสด็จของพระเจ้าไชยเชษฐา โดยมีการจำลองการเสด็จทางชลมารคทางแม่น้ำลาว ไปครองเมืองเชียงใหม่ และอัญเชิญ พระเจ้าทองทิพย์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ของเมืองล้านนา ขึ้นมาจากแม่น้ำลาว เพื่อให้ชาวบ้านและนักท่องเที่ยว ได้มากราบไหว้ขอพรและสรงน้ำพระในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2566 ณ ลานหน้าวัดพระเจ้าทองทิพย์ ริมแม่น้ำลาว ม.10 ต.ศรีถ้อย อ.แม่สรวย

ในพิธีมีการอัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์ขึ้นมาจากแม่น้ำลาวก่อนจะเดินแห่ขึ้นมาประดิษฐาน ให้ประชาชนได้สรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ และมีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในเขตตำบลศรีถ้อย การมอบรางวัลและเกียรติบัตรให้กับผู้สูงอายุ และกิจกรรมกีฬาโบราณ ต่างๆที่หาดูยาก อาทิเช่น แข่งชกมวยทะเล , แข่งขันการปีนเสาน้ำมัน

พิธีจำลองอัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์ ขึ้นจากแม่น้ำลาวให้ชาวบ้านสรงน้ำเนื่องในวันสงกรานต์ 2566

จากประวัติเหตุการณ์พระเจ้าไชยเชษฐา เสด็จทางชลมารคทางแม่น้ำลาวไปครองเมืองเชียงใหม่ และอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย ครั้นเสด็จมาถึงตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ณ หน้าวัดพระเจ้าทองทิพย์ปัจจุบัน เรือพระที่นั่งไม่สามารถคลื่อนต่อได้ จึงได้อันเชิญพระพุทธรูปดังกล่าวประทับ ณ ศาลาชั่วคราว ต่อมาได้มีการสร้างเป็นวัดพระเจ้าทองทิพย์

พิธีจำลองอัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์ ขึ้นจากแม่น้ำลาวให้ชาวบ้านสรงน้ำเนื่องในวันสงกรานต์ 2566

พระเจ้าทองทิพย์ เป็นนามของพระพุทธรูปเก่าแก่ เดิมอยู่เมืองหลวงพระบางประเทศลาว มีอายุประมาณพันปีเศษมีความศักดิ์สิทธิ์มาก เมื่อ พ.ศ. 2063 พระเจ้าโพธิสารขึ้นครองนครเชียงทอง (หลวงพระบาง) ได้ไปขอราชธิคากษัตริย์เชียงใหม่มาเป็นมเหสี ได้ครองราชสมบัติร่วมกันเป็นเวลาหลายปีก็ไม่มีพระโอรส ดังนั้นในวันวิสาขะบูชา พระเจ้าโพธิสารพร้อมด้วยมเหสี จึงได้ปนมัสการพระเจ้าทองทิพย์เพื่อขอให้มีพระโอรสซึ่งไม่ช้ก็ประสูติเป็นพระโอรสนามว่า”ไชยเชษฐากุมาร” เมื่อพระไชยเชษฐาอายุ 14 พรรษาพระอัยกา(สมเด็จตา) ผู้ครองนครเชียงใหม่สวรรคต และไม่มีพระโอรสเหล่าอำมาตย์ของนครเชียงใหม่พร้อมกันมาทูลขอ พระเจ้าไชยเชษฐาไปครองนครเชียงใหม่ พระเจ้าโพธิสารทรงอนุญาตโดยก่อนที่จะไปนครเชียงใหม่พระเจ้าโพธิสารได้ให้นำพระเจ้าทองทิพย์ไปด้วยเพราะเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์เพราะเมื่อตอนไปขอให้มเหสีมีพระโอรสก็ได้ดังประสงค์พระเจ้าไชยเชษฐา จึงได้นำพระเจ้าทองทิพย์ลงเรือไปด้วยโคยเดินทางจากแม่น้ำโขง ผ่านเข้าแม่น้ำกก สู่แม่น้ำลาวเพื่อจะไปยังนครเชียงใหม่ ครั้นเรือมาถึงสถานที่ซึ่งปัจจุบันเป็นหน้าวัดพระเจ้าทองทิพย์เรือพระที่นั่งก็ติดอยู่ทั้งๆที่ไม่มีสิ่งกีดขวางอะไรพระเจ้าไชยเชษฐา ทรงเห็นว่าพระเจ้าทองทิพย์คงประสงค์จะประดิษฐาน ณ ที่นี้ จึงให้อัญเชิญประดิษฐานไว้ที่วัดพระเจ้าทองทิพย์ปัจจุบัน

พิธีจำลองอัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์ ขึ้นจากแม่น้ำลาวให้ชาวบ้านสรงน้ำเนื่องในวันสงกรานต์ 2566

ต่อมาในปีพ.ศ.2397เจ้าหลวงผู้ครองเมืองเชียงราย และพระยาไชยวงศ์ผู้รักษาเมืองหนองขวาง(อำเภอแม่สรวยปัจจุบัน)ได้เป็นประธานบูรณะวิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าทองทิพย์พ.ศ.2461 พระนางเจ้าคารารัศมี และเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้เสด็จมาทำการสักการะบูชาพระเจ้าทองทิพย์ และพักแรมอยู่ที่สถานที่นี้หลายคืนพระเจ้าทองทิพย์องค์จริงดั้งเดิมยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเจ้าทองทิพย์มาจนถึงปัจจุบัน

//สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ภาพบรรยากาศการเล่นน้ำสงกรานต์ 2567 ที่ ถนนสันโค้งน้อย ถนนคนเล่นน้ำนครเชียงราย
เทศบาลนครเชียงราย ร่วมสืบสาน “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง จุลศักราช 1386” และถนนสันโค้งคนเล่นน้ำนครเชียงราย และแห่พระเจ้าสองสีเข้าเวียง
เทศบาลนครเชียงราย ร่วมกับ ชุมชนสันโค้งน้อย เตรียมจัดงานสันโค้งถนนคนเล่นน้ำนครเชียงราย และพิธีแห่พระเจ้าสองสีเข้าเวียงเจียงฮาย
“ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง จ.ศ. 1836 นครเชียงราย” ชวนเล่นน้ำสงกรานต์สันโค้ง ถนนคนเล่นน้ำ
ค่าบริการ “ล่องแพเปียก เขื่อนแม่สรวย” | วันนี้ – พ.ค.67
ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย ยกระดับมาตรฐานการให้บริการและความปลอดภัยท่องเที่ยวทางน้ำลำน้ำแม่สรวย