4 เรื่องไม่จริง เกี่ยวกับ PDPA มีอะไรบ้าง? มาดูกัน!

ช่วงนี้จะได้เห็นแชร์โพสต่างๆ เกี่ยวกับ พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะเริ่มประกาศใช้ในวันที่ 1 มิ.ย เป็นต้นไป ต่อไปนี้จะโพสอะไรลงโซเซียล อาจจะต้องหยุดคิดสักนิด อาจจะติด พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้

สำหรับใครที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ลองไปฟังคลิปสรุปสั้นๆ เพิ่มเติมได้

รู้จัก กฏหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร? l SPRiNGสรุปให้

4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA

1. การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA

ตอบ กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว

2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA

ตอบ สามารถโพสท์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA

ตอบ การติดกล้องวงจรปิด ภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน

4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้

ตอบ ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว

(1) เป็นการทำตามสัญญา

(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ

(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล

(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ

(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ

(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง

ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆไป

PDPA = พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
มาตรา 4(1) การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น

ข้อมูลจาก PDPC Thailand

//PDPC Thailand , สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
โควิดสายพันธุ์ XEC ระบาด ติดเชื้อโควิดทะลุ 7 หมื่นราย เสียชีวิต 19 ราย แนวโน้มผู้ป่วยยังสูงขึ้น
ชวนคนไทย เจ็บป่วยเล็กน้อย 42 อาการ หาหมอออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน จัดส่งยาถึงบ้านด้วยสิทธิ 30 บาทรักษาทุกที่ ครอบคลุมทั่วประเทศ
สสจ.เชียงราย เตือน! ระวังโรคที่มากับฤดูฝน
ทำอย่างไร? หากหลงกลให้ข้อมูลส่วนตัวกับมิจฉาชีพไป
แต่ละวัยแต่ละคน เสี่ยงภัยจาก PM 2.5 ไม่เท่ากัน
แชร์วิธีที่จะทำให้ทุกคนปลอดภัย เมื่ออยู่บนอาคารสูงในขณะเกิดแผ่นดินไหว และวิธีการรับมือภายหลังเกิดเหตุการณ์ขึ้น
เชียงรายโฟกัสดอทคอม  สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
นโยบายความเป็นส่วนตัว

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้เราสามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดแก่คุณได้ ข้อมูลคุกกี้จะถูกเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณและทำหน้าที่ต่างๆ เช่น การจดจำคุณเมื่อคุณกลับมาที่เว็บไซต์ของเรา และช่วยให้ทีมงานของเราเข้าใจว่าส่วนใดของเว็บไซต์ที่คุณพบว่าน่าสนใจและมีประโยชน์มากที่สุด