รวมภาพและข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในเชียงราย.. (มหกรรมกีฬาชาติพันธุ์ เชียงราย ประจำปี 2565)

จังหวัดเชียงราย อบจ. เชียงราย ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานเชียงราย สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย บริษัท สิงห์ปาร์คเชียงราย จำกัด บูรณาการร่วมจัดการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขาจังหวัดเชียงราย ประจำปี 2565 และมหกรรมกีฬาชาติพันธุ์จังหวัดเชียงราย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 – 30 เมษายน 2565

  • วันที่ 28 – 29 เมษายน 2565 ณ สนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย เป็นการแข่งขันกีฬาสากล 3 ชนิด
  • วันที่ 30 เมษายน 2565 ณ สิงห์ปาร์คเชียงราย เป็นการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน 12 รายการ

พร้อมร่วมชมคอนเสิร์ตจากศิลปินวง THE TOYS ในวันที่ 30 เมษายน ณ สิงห์ปาร์ค เชียงราย

โดยจังหวัดเชียงรายมีพี่น้องชาติพันธุ์กว่า 30 ชาติพันธุ์ โดยจะขอแนะนำชาติพันธุ์ที่จะเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในครั้งนี้ ดังนี้

1. กลุ่มชาติพันธุ์ขมุ หรือ ข่ามุ หนึ่งในพี่น้องชาติพันธุ์จังหวัดเชียงราย

.

2. กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า อีกหนึ่งพี่น้องชาติพันธุ์จังหวัดเชียงราย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ บนพื้นที่สูงในประเทศไทย

.

3. กลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยน เป็นชนชาติเชื้อสายจีนเดิม ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่าเมี่ยน ซึ่งแปลว่า มนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เย้า

.

4. ม้ง กลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกตนเองว่า “ฮมัง” หรือ “ม้ง”

.

.

5. ปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง เดิมอาศัยอยู่แถบบริเวณต้นแม่น้ำสาละวินของพม่า ต่อมาได้อพยพเข้าสู่ประเทศพม่าและไทย

.

6. ฮ่อ หรือ จีนยูนนาน ( จีนฮ่อ ) อีกหนึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดเชียงราย . ภาษาไทยถิ่นเหนือเรียก “ห้อ” เป็นการเรียกกลุ่มชนชาติเชื้อสายจีนที่อพยพลงมาจากมณฑลจีนยูนนานประเทศจีน

.

7. ลาหู่ หรือ มูเซอ อีกหนึ่งพี่น้องชาติพันธุ์จังหวัดเชียงราย อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเชียงราย

.

8. ไทลื้อ เชื่อว่า ไทลื้อ เป็นพี่น้องชาติพันธุ์ที่หลาย ๆ คนรู้จัก และที่สำคัญและโดดเด่นคือ ชุดแต่งกายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่หนุ่ม สาว หลายคนหลงไหล ในชุดชาติพันธุ์ไทลื้อ

.

9. ลีซู กลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่มีการจดบันทึกประวัติศาสตร์เนื่องจากการย้ายถิ่นฐานที่บ่อยครั้ง

.

10. ลัวะ ชนเผ่าพื้นเมืองก่อนชาติพันธุ์ไท เจ้าของพื้นที่ดั้งเดิมก่อนก่อตั้งสัญชาติรัฐล้านนา มีความเชื่อและการแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์

.

11. ดารางอั้ง หรือที่ชาวไทใหญ่เรียกว่า “ปะหล่อง” มีถิ่นอาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านสันต้นปุย อ.แม่สาย จ.เชียงราย

.

12. ไตหย่า คือชาวไตกลุ่มหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อกลุ่มของชาติพันธุ์ไตในประเทศจีน โดยปัจจุบันมีถิ่นอาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านสันธาตุ อ.แม่สาย จ.เชียงราย

.

13. ไทเขิน หรือ ไทขีน เป็นชนชาติหนึ่งที่เรียกตัวเองตามพื้นที่อยู่อาศัยในลุ่มแม่น้ำ “ขี้น” โดยมีเมืองเชียงตุงเป็นศูนย์กลาง โดยปัจจุบันมีแหล่งอาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านเหล่าพัฒนา ต.บ้านดู่ อ.เมืองเชียงราย อ.แม่จัน อ.แม่สาย อ.เชียงแสน และ อ.แม่ฟ้าหลวง

.

14. ไทยวน หรือ ไทยล้านนา หรือ โยนก เป็นกลุ่มชนกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่ในดินแดนล้านนามาเป็นเวลานาน มักเรียกตัวเองว่า คนเมือง ในจังหวัดเชียงรายชาวไทยวนมีถิ่นอาศัยที่บ้านสันมะนะ ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมืองเชียงราย

.

15. ไทยอง คือ ชนชาติลื้อที่อาศัยในเมืองยอง รัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ซึ่งเคยเป็นเขตแดนของแคว้นล้านนาในอดีต ในจังหวัดเชียงรายชาวไทยองอาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอต่างๆ ได้แก่ แม่จัน เชียงแสน แม่สาย แม่ฟ้าหลวง พาน เป็นต้น

.

16. ไทใหญ่ ชาวไทใหญ่เรียกตนเองว่า ไต กนไต อพยพมาจากรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ ในจังหวัดเชียงรายชาวไทใหญ่ อาสัยอยู่ตามอำเภอต่างๆ ได้แก่ แม่สาย แม่ฟ้าหลวง แม่จัน เชียงแสน อำเภอเมืองเชียงราย (บริเวณชุมชนสันป่าก่อไทใหญ่, เบตบ้านขัวแคร่ บ้านดู่ นางแล ฯลฯ) แม่สรวย เวียงป่าเป้า เป็นต้น

.

17. ไทอีสาน ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหลาย ชาติพันธุ์ไทอีสานหรือไทลาวนับได้ว่าเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด มีการเคลื่อนย้ายไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ในจังหวัดเชียงรายปัจจุบันมีแหล่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ อ.เวียงเชียงรุ้ง และบ้านท่าขันทอง ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน

.

18. บีซู เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาสัยอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 200 ปี แต่คนบีซูพึ่งเป็นที่รู้จักของนักวิชาการเมื่อไม่กี่ปีมานี้จากการค้นคว้าของ ดร.เจมส์ มาติซอฟ นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งในจังหวัดเชียงรายปัจจุบันอาศัยอยู่ที่บ้านดอยชมภู ต.โป่งแพร่ อ.แม่ลาว

ขอเชิญพี่น้องชาวเชียงรายและนักท่องเที่ยวร่วมงาน “ มหกรรมกีฬาชาติพันธุ์ ” ประจำปี 2565

** ชม เชียร์ กีฬาชาติพันธ์ุ และกีฬาสากล กว่า 13 ชนิด
อาทิ เป่าลูกดอก กลิ้งครก ขว้างสากมอง ชักเย่อ ตักน้ำใส่กระบอก เปตอง ฟอร์มูล่าม้ง ยิงหน้าไม้ ลูกข่าง วิ่งแบกก๋วย วิ่งขาหยั่ง เป็นต้น

หน้าไม้ เป็นอาวุธประจำบ้านในสมัยโบราณ ช่วยป้องกันตัวป้องกันทรัพย์สินที่จะถูกโจนปล้นหรือแย่งชิง จะใช้หน้าไม้เป็นอาวุธยิงโจร ส่วนปลายลูกดอก (ลูกหน้า) อาจอาบด้วยยาพิษ หรือที่เรียกกันว่ายางน่อง นอกจากนี้หน้าไม้ยังเป็นเครื่องมือจับสัตว์ในระยะไกลที่จะนำมาเป็นอาหารด้วย เช่น ใช้ยิง ไก่ป่า นก อีเห็น ฯลฯ

กลิ้งครก เป็นการละเล่นไทยประเภทหนึ่งที่รู้จักกันในของสำนวน “เข็นครกขึ้นภูเขา ” การละเล่นนี้ช่วยออกกำลังท้อง กำลังแขนและขา

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โทร. 053 175 333
เพจ : มหกรรมกีฬาชาติพันธุ์ เชียงราย
และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงราย โทร. 053 744 674

** หมายเหตุ : หากมีข้อมูลเพิ่มเติม จะทยอยอัพเดทให้เรื่อยๆนะคะ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ททท. ต้อนรับคาราวานรถยนต์ท่องเที่ยวผ่านด่านเชียงของ กระตุ้นนักท่องเที่ยวจีนครบตามเป้า 7.3 ล้านคนในปี 2567
11 เมษายน 2567 | เชิญชม “มวยไทย” ศึก อบจ.เชียงราย Fight !! กับกิจกรรมสุดพิเศษมากมาย
งานป๋าเวณีปีใหม่เมือง ฉบับเมืองเหนือ! | ปฏิทินสงกรานต์ 2567 (เชียงราย – พะเยา)
ศูนย์เยาวชน อบจ.เชียงราย เปิดให้บริการ “ห้องปลอดฝุ่น/ห้องความดันบวก“ ให้แก่เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป และผู้สูงอายุ
ขอเชิญร่วม “สืบฮีต โตยฮอย น้อมปูจาพระธาตุเจ้าจอมทอง” ในงานประเพณีแห่ผ้าห่มพระธาตุจอมทอง ประจำปี 2567
ชวนร่วมงานบุญครั้งใหญ่ “หนึ่งเดียวในโลก” ในงานประเพณี “เวียนเทียนทางน้ำกลางน้ำกว๊านพะเยา” 2567 ครั้งที่ 50