เชียงรายประชุมเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (AFS War room) จังหวัดเชียงราย

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 ณ ห้องประชุมพญาพิภักดิ์ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นายพินิจ แก้วจิตคงทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานการประชุมการเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (AFS War room) จังหวัดเชียงราย โดยมี ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เพื่อรายงานสถานการณ์โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในประเทศไทย และสรุปสถานการณ์ปริมาณสุกรมีชีวิต และซากสุกรในพื้นที่จังหวัดเชียงราย รวมถึงสรุปการดำเนินการลดความเสี่ยงของโรคระบาดที่สำคัญในสุกร ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

โดยในที่ประชุมปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายได้แจ้งเรื่องมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของกรมปศุสัตว์ และมาตรการการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของจังหวัดเชียงราย ซึ่งมาตรการการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของกรมปศุสัตว์ได้ มีมาตรการการจัดตั้งวอร์รูมระดับจังหวัด การเฝ้าระวังทางอาการในระดับฟาร์มการเครือข่ายเฝ้าระวังโรคตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการสุ่มเก็บตัวอย่างสิ่งแวดล้อม และตัวอย่างชิ้นเนื้อจากโรงฆ่าสัตว์ และสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ การเฝ้าระวังการเคลื่อนย้ายสุกรเก็บตัวอย่างเลือดสุกร เพื่อการเคลื่อนย้าย และเก็บตัวอย่างสวอปรถขนส่งสุกรระหว่างการเคลื่อนย้ายผ่านด่านกักกันสัตว์ และในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ได้มีมาตรการการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ผ่านเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคและสื่อต่างๆ การส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยรายเล็กยกระดับฟาร์มสุกร เข้าสู่ฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (Good farming Management : GFM) การส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีความพร้อมปรับปรุงฟาร์มเข้าสู่มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร (Good Agricultural Practices : GAP) และการส่งเสริมผู้ประกอบการที่มีความพร้อมให้เข้าสู่ฟาร์มปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (AFS Free Farm)

อีกทั้งในที่ประชุมได้แจ้งระเบียบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาต เคลื่อนย้ายสุกร หมูป่า หรือซากสุกรซากหมูป่า เข้าออก ผ่าน หรือภายในเขตเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ปี 2564 ทั้งนี้จังหวัดเชียงรายได้มีการจัดตั้งวอร์รูมระดับจังหวัดรวมถึงการเฝ้าระวังทุกช่องทาง ตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของกรมปศุสัตว์ พร้อมทั้งเข้มงวดการลักลอบการนำเข้าแนวในแนวพื้นที่ชายแดน การปรับปรุงคำสั่งจังหวัดให้เป็นสอดคล้องกับมาตรการของกรมปศุสัตว์ รวมถึงส่งเสริมแนวทางให้ผู้ประกอบการพร้อมเข้าสู่ฟาร์มปลอดโรคอย่างเต็มรูปแบบอีกด้วย