เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 26 เมษายน 2024, 23:16:46
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลท่องเที่ยว-โพสรูป
| |-+  ร้านอาหาร เมนูเด็ด ร้านดัง เชียงราย (ผู้ดูแล: แชทซาโนย่า กอยุ่ง~*-.)
| | |-+  +++บะหมี่ไตหย่า หนึ่งเดียวในไทย+++
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน +++บะหมี่ไตหย่า หนึ่งเดียวในไทย+++  (อ่าน 2807 ครั้ง)
mamaruuz
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 25


« เมื่อ: วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2017, 22:08:40 »

ร้านไตหย่า...Tai-Ya (Huayao Dai) Ethnography Food&Beverage
ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ทางขึ้นพระตำหนักดอยตุง จังหวัดเชียงราย จากไฟแดงถนนพหลโยธินแยกขึ้นพระตำหนักดอยตุง เข้ามาประมาณ 700 เมตร อยู่ทางซ้ายมือ มีอาหารและเครื่องดื่มให้บริการทุกวันจันทร์ - เสาร์ ตั้งแต่เวลา 8:00น. เป็นต้นไป โดยเฉพาะเมนูแนะนำได้แก่ บะหมี่ไตหย่าสูตรพิเศษ สเต็กเนื้อ สเต็กหมู สเต็กปลา เครื่องดื่มกาแฟสด ชาสูตรไตหย่า รวมถึงเครื่องดื่มผลไม้เพื่อสุขภาพ บรรยากาศดีๆ รับลมหนาวยามเช้า และชมพระอาทิตย์ตก ณ ดอยตุง ได้ทุกวัน ยินดีตอนรับทุกท่านนะคะ  ยิ้มกว้างๆ

และอีกหนึ่งบริการจากทางร้าน "บะหมี่ไตหย่า เดลิเวอรี่"
พร้อมเสิร์ฟความอร่อยถึงหน้าบ้านคุณแล้ววันนี้!!!
จัดส่งฟรี!! ตลอดเส้นทางห้วยไคร้-แม่สาย วันละ 2 รอบ (เช้า-บ่าย) ทุกวันจันทร์-ศุกร์
ท่านใดสนใจออเดอร์เข้ามาได้ทุกช่องทางเลยนะคะ  ยิงฟันยิ้ม

Facebook : www.facebook.com/taiya.huayaodai
LINE : taiyahuayaodai
TEL : 083-6051515, 085-2766609


* 15326507_1730368553950858_6197637315939028267_n.jpg (44.98 KB, 960x720 - ดู 1291 ครั้ง.)

* 15390991_1731477183839995_4653322262335475188_n.jpg (22.14 KB, 477x417 - ดู 1268 ครั้ง.)

* 16265481_1761640357490344_8367882213342513423_n.jpg (115.02 KB, 720x960 - ดู 1258 ครั้ง.)

* 16143056_1759932607661119_2851379354272141030_n.jpg (87.75 KB, 960x720 - ดู 1263 ครั้ง.)

* 15326413_1732301120424268_8170317011540569093_n.jpg (130.24 KB, 734x960 - ดู 1258 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2017, 22:10:57 โดย mamaruuz » IP : บันทึกการเข้า
mamaruuz
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 25


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2017, 22:13:18 »

ติดต่อสอบถามเส้นทางหรือสั่งอาหารได้ตามช่องทางนี้เลยจ้า  ยิ้มกว้างๆ


* 15325153_1728176464170067_7171124720741497589_o.jpg (90.83 KB, 480x763 - ดู 1219 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
mamaruuz
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 25


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2017, 22:20:07 »

--- ข้อมูลชาติพันธุ์ไตหย่า ---

ชาวไตหย่า คือ กลุ่มคนที่อพยพมาจากเมืองหย่า หรือซินผิงมณฑลยูนนาน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนชาวจีนเรียกคนไทกลุ่มนี้ว่า ฮวาเย่าไต แปลว่า ไทเอวลาย ชาวไตหย่าบางส่วนได้อพยพมายังสิบสองปันนา บางส่วนเข้าสู่พม่าและไทย มีประชากร 60,000 คน พูดภาษาไต ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มภาษาคำ-ไต ตระกูลภาษาไท-กะได

ไตหย่าในเชียงราย
จากวิทยานิพนธ์ของกริช สอิ้งทอง(2545)เสนอว่ามีข้อมูลเอกสารประวัติศาสตร์ระบุว่าปี พ.ศ.2470 ศาสตราจารย์แบคเทล ผู้ปกครองแก้ว ใจมา และคณะ ได้เดินทางจากจังหวัดเชียงรายไปเมืองหย่า สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเผยแพร่คริสตศาสนา ทำให้มีชาวไตหย่าบางส่วนเปลี่ยนจากการนับถือผีมานับถือศาสนาคริสต์ และด้วยสภาพความเป็นอยู่ของชาวไตหย่าในขณะนั้นที่มีความเป็นอยู่ที่ลำบากจากอยู่ภายใต้การปกครองของจีน ศาสตราจารย์แบคเทลจึงชักชวนให้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย โดยครั้งแรกมาพำนักที่บ้านหนองกลม ปัจจุบันคือ บ้านสันธาตุในอำเภอแม่สาย จากนั้นอพยพมาที่สันป่าสักซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านสันป่าสักขวาง หลังจากตั้งหมู่บ้านได้ไม่นาน ก็มีชาวไตหย่าอพยพมาอยู่เพิ่ม จึงมีบางส่วนอพยพมาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านน้ำบ่อขาว ต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย จ.เชียงราย

ภาษาไตหย่าคล้ายกับภาษาไทยถิ่นเหนือ
ชาวไตหย่ามีภาษาพูดแต่ไม่มีภาษาเขียน เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลจีน-ธิเบตในปัจจุบัน งานวิจัยของรุจพร ประชาเดชสุวัฒน์และคณะเรื่องวิถีชีวิตชาวไตหย่า : ศึกษากรณีซินผิง และหยวนเจียง มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน(2541) เสนอว่า ภาษาไตหย่ากับภาษาไทยถิ่นเหนือมีลักษณะคล้ายกัน แต่มีความแตกต่างอยู่บ้าง เช่น หน่วยเสียงพยัญชนะและสระต่างกัน เช่น เสียง ต ในภาษาไทยกลางและภาษาไทยถิ่นเหนือจะเป็นเสียง ล ในภาษาไตหย่า เช่น ดอกไม้ เป็น ลอกไม้ สีดำ เป็น สีลำ เป็นต้น ภาษาไตหย่าไม่มีระบบเสียงควบกล้ำ เช่น ปลา เป็น ปา เป็นต้น ในด้านสำเนียงการพูด พบว่า สำเนียงไตหย่าต่างจากภาษาไทยถิ่นเหนือ เนื่องจากภาษาไตหย่ามีหน่วยเสียงพยัญชนะ 18เสียง เสียงสระ 18เสียงวรรณยุกต์ 5ในขณะที่ภาษาไทยถิ่นมีเสียงพยัญชนะ 19เสียง สระ 18 และเสียงวรรณยุกต์ 6

ชาวไตหย่า บ้านน้ำบ่อขาว
สภาพสังคมของชาวไตหย่า หมู่บ้านน้ำบ่อขาว มีลักษณะการอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาซึ่งกันและกัน มีความเคารพผู้อาวุโส และมีความศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า ชุมชนดำเนินวิถีชีวิตตามหลักของศาสนาคริสต์ และมีคริสตจักรนทีธรรมเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชนในการนัดพบและทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันแต่เดิมชาวไตหย่านับถือผีบรรพบุรุษจนกระทั่งมีคณะเผยแผ่ศาสนาคริสต์เข้าไปเผยแผ่ในเมืองหย่า ชาวไตหย่าบางส่วนจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ เมื่อชาวไตหย่าอพยพเข้ามาในประเทศไทยก็ยังคงมีความศรัทธาในคริสตศาสนาด้วยและมีความเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าปรารถนาให้ชาวไตหย่าหนีจากความยากจน การถูกกดขี่ข่มเหง การถูกเอารัดเอาเปรียบให้อพยพมาอยู่ในประเทศที่อุดมสมบูรณ์และมีอิสระในการดำเนินชีวิต ปัจจุบันชาวไตหย่าในหมู่บ้านน้ำบ่อขาวยังคงยึดหลักข้อปฏิบัติของศาสนาคริสต์เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เช่น ร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า ฟังคำเทศนาที่คริสตจักรนทีธรรมทุกวันอาทิตย์ เป็นต้น
ชาวไตหย่าในหมู่บ้านน้ำบ่อขาว แต่เดิมประกอบอาชีพการทำเกษตรเพื่อการยังชีพ แต่ปัจจุบันวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ชาวไตหย่าส่วนใหญ่เดินทางเข้าไปทำงานในจังหวัดอื่นๆ เช่น เชียงใหม่ กรุงเทพฯ มีเพียงบางส่วนที่ประกอบอาชีพเกษตร ทำนาข้าว ทำนากก เนื่องจากกกเป็นพันธุ์พืชที่ชาวไตหย่านำมาด้วยในคราวที่อพยพจากแคว้นยูนนาน การทำนากกในประเทศไทยจึงเริ่มต้นจากหมู่บ้านของชาวไตหย่าและต่อมาแพร่กระจายไปสู่หมู่บ้านใกล้เคียง เมื่อกกโตเต็มที่จะตัดเพื่อไปเป็นวัตถุดิบในการทอเสื่อกก

วัฒนธรรมการบริโภคของชาวไตหย่า หมู่บ้านน้ำบ่อขาว มีวัฒนธรรมการดองอาหาร 2แบบ คือ การดองเนื้อสัตว์ และการดองผัก การดองสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู และปลาโดยใช้เครื่องเทศ เช่น ลูกจันป่น พริกไทยป่น ข้าวคั่ว กระเทียม เม็ดซิ่วซาง และเหล้าขาว คลุกเคล้าและดองประมาณ 1เดือน การดองผัก ชาวไตหย่าจะนิยมดองผักกาดเขียวด้วยข้าวสุกและเกลือ ใช้เวลาดองประมาณ 7วันก็สามารถรับประทานได้

ในด้านการแต่งกาย ปัจจุบันชาวไตหย่าจะแต่งกายตามสมัยนิยม และจะแต่งกายในชุดประจำกลุ่มชนในงานประเพณี เช่น งานชุมนุมประจำปี เครื่องแต่งกายของสตรีชาวไตหย่าจะประกอบด้วยผ้าซิ่น 2ผืนซ้อนกัน ผืนแรกเรียกว่า ผ้าไต่เซิน เป็นผ้าพื้นสีดำ ประดับด้วยริ้วผ้าสีต่างๆเย็บเป็นแถบชายซิ่น ส่วนผ้าผืนที่2เรียกว่า ผ้าเซิน เป็นผ้าพื้นสีดำประดับชายผ้าด้วยริ้วผ้าสีแต่ไม่เย็บด้านข้างให้ติดกัน ใช้สวมทับผืนแรกโดยพันรอบตัวให้ชายผ้าขนานผืนแล้วคาดเข็มขัดทับ ส่วนช่วงเอวขึ้นไปมีผ้า 3ชิ้น คือ ผ้าไว้ใช้คาดเอวจะประดับด้วยริ้วผ้าสีต่างๆทั้งผืน จากนั้นสวมทับด้วยเสื้อตัวที่สอง เรียกว่า ซื่อแย่ง ซึ่งเป็นเสื้อไม่มีแขน คอปิด ไม่มีปกผ่าหน้าเฉียงมาทางซ้าย ส่วนเสื้อตัวที่สาม เรียกว่า ซื่อหลุง มีลักษณะเป็นเสื้อสวมทับแขนยาว ไม่มีปก ผ่าหน้าตรง ความยาวของเสื้อจะยาวประมาณ 2ใน 3ของความยาวช่วงบนของผู้สวมใส่

นอกจากนี้สตรีไตหย่ามักนิยมไว้ผมยาว เกล้าเป็นมวยสูงกลางศีรษะ และจะพันศีรษะด้วยผ้าสีดำ 2 ผืน คือ ผ้าแหแย่ง และผ้าหว่างโห ส่วนเครื่องประดับ หญิงไตหย่าทุกคนจะเจาะหูและสวมตุ้มหูซึ่งมีลักษณะเป็นวงขนาดใหญ่ สวมกำไลข้อมือและแหวน ที่เป็นเงินซึ่งสามารถบ่งบอกให้ผู้อื่นทราบถึงฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สวมใส่ เด็กหญิงชาวไตหย่าจะเริ่มสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำกลุ่มเมื่ออายุครบ 12ปี และผู้หญิงไตหย่าที่มีอายุ 40ปีจะไม่สวมใส่เครื่องประดับอะไรอีก

การแต่งกายของผู้ชายไตหย่า ประกอบด้วยกางเกงขาตรงสีดำหรือสีคราม เสื้อคอจีนแขนยาวสีดำ ไม่ประดับลวดลายใดๆ ทรงผมตัดสั้นตามสมัยนิยม และผู้ชายสามารถใช้ชุดประจำกลุ่มไตหย่าได้เมื่ออายุครบ 18ปี

ปัจจุบันการดำเนินชีวิตของชาวไตหย่า บ้านน้ำบ่อขาวมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย การประกอบอาชีพเกษตรกรรม และการทำเสื่อกกมีไม่มากนักเพราะเยาวชนรุ่นใหม่ได้รับการศึกษาจึงทำงานตามที่ตนเรียนมาซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และกรุงเทพฯ

อ้างอิงข้อมูล
กริช สอิ้งทอง. 2545. ศักยภาพและแนวทางในการพัฒนาชุมชนไตหย่า หมู่บ้านน้ำบ่อขาว ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม.ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รุจพร ประชาเดชสุวัฒน์ และจินตนา มัธยมบุรุษ.2541. วิถีชีวิตชาวไตหย่า ศึกษากรณีซินผิง และหยวนเจียง มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน. เชียงใหม่: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

เลหล้า ตรีเอกานุกูล และจุไรรัตน์ วรรณศิริ. การดำรงอยู่ของอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไตหย่าในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย. การประชุมวิชาการนเรศวรวิจัยครั้งที่ 6. 29-31 กรกฎาคม 2553. หน้า 710 – 716.


* 15285032_1730413363946377_5397989765733152853_n.jpg (104.75 KB, 960x643 - ดู 1252 ครั้ง.)

* 15317972_1730412573946456_9084954510663398515_n.jpg (151.28 KB, 960x660 - ดู 1253 ครั้ง.)

* 15338801_1730412747279772_216059337157442649_n.jpg (150.59 KB, 960x638 - ดู 1263 ครั้ง.)

* 15781710_1747277995593247_322533001088672182_n.jpg (68.62 KB, 960x540 - ดู 1266 ครั้ง.)

* 15823071_1747277948926585_738551784943121246_n.jpg (99.68 KB, 960x540 - ดู 1367 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
jobyjob
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 290


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2017, 13:48:36 »

มีโอกาสต้องไปทานให้ได้เลยที่นี่
IP : บันทึกการเข้า

SangJK
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 01 ธันวาคม 2018, 16:12:11 »

 ตกใจ ตกใจ ตกใจ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!