เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 26 เมษายน 2024, 23:00:18
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง  (อ่าน 1224 ครั้ง)
tiger-red
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,007



« เมื่อ: วันที่ 07 กุมภาพันธ์ 2015, 10:39:40 »

ศาลฎีกาพิพากษา ไม่จ่าย‘ค่าชดเชย’

ผู้พิพากษาเตือนอุทาหรณ์คนชอบแชต อาจซวย ถูกเลิกจ้างโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าได้ หากแชตเพลินในเวลางาน ยกคดีตัวอย่าง ที่ลูกจ้างฟ้องนายจ้าง เลิกจ้างโดยไม่บอกล่วงหน้าที่ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง ระบุนายจ้างมีสิทธิ์เลิกจ้างได้ตามกฎหมาย หากนำเวลางานไปคุยเล่นเรื่องส่วนตัว ส่งผลให้บริษัทนายจ้างได้รับความเสียหาย

อุทาหรณ์คนชอบแชตถูกนายจ้างเลิกจ้างได้ถูกต้องตามกฎหมาย เรื่องนี้เปิดเผยเมื่อวันที่ 6 ก.พ. นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา กล่าวเตือนพวกลูกจ้างที่ใช้โปรแกรมแชตต่างๆในเวลาทำงานอาจถูกเลิกจ้างจากนายจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย เนื่องจากมีคำพิพากษาศาลฎีกา สำนวนหนึ่งเป็นคดีตัวอย่าง เมื่อกลางปีที่ผ่านมามีคดีที่ศาลแรงงานกลาง เลขคดีดำที่ 2564/2557 เมื่อ น.ส.ณิฐา นาถจำนง เป็นโจทก์ฟ้องบริษัทชิโนทรานส์ ไทย โลจิสติค จำกัด เรื่องคดีแรงงาน

เมื่อโจทก์ฟ้องว่า ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และไม่ได้บอกล่วงหน้า โจทก์ได้ค่าจ้างเดือนละ 30,000 บาท โจทก์มีสิทธิ์ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 59,000 บาท และขอเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม 90,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ขณะที่จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย เบียดบังเวลาทำงาน ไปใช้ในเรื่องส่วนตัว ทำงานในหน้าที่บกพร่องต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่สามารถปฏิบัติงานตามที่มอบหมายได้ การเลิกจ้างของจำเลยไม่ต้องบอกล่วงหน้าและเป็นการเลิกจ้างโดยชอบธรรมขอให้ยกฟ้อง คดีนี้ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาแผนกคดีแรงงาน

โดยศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ทดลองงาน เมื่อวันที่ 25 ม.ค.53 กำหนด 3 เดือน ต่อมาวันที่ 2 เม.ย.53 จำเลยบอกเลิกจ้าง เนื่องจากโจทก์ใช้คอมพิวเตอร์ของบริษัทจำเลยเล่นอินเตอร์เน็ตพูดคุยเรื่องส่วนตัวเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละเป็นชั่วโมงก็มี ถือว่าโจทก์ใช้เวลาทำงานของจำเลยในเรื่องไม่เกี่ยวกับงานทั้งที่อยู่ระหว่างการทดลองงาน โจทก์ทำงานด้านบัญชีจะต้องมีความละเอียดรอบคอบมิฉะนั้นจะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ กรณีเช่นนี้เป็นการกระทำที่ไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วง โดยถูกต้องและสุจริต จำเลยชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคท้าย

ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการกระทำของโจทก์ไม่ได้ผิดร้ายแรง และจำเลยไม่ได้รับความเสียหาย ศาลฎีกา เห็นว่าการอุทธรณ์ประเด็นดังกล่าวเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ของจำเลยแชตในเรื่องส่วนตัวนั้น การวินิจฉัยประเด็นนี้ทำให้เห็นว่าจำเลยได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์นำเวลางานไปคุยเรื่องส่วนตัวเป็นประจำเกือบทุกวัน ทำให้งานในหน้าที่บกพร่องและล่าช้า เหตุดังกล่าวเชื่อมโยงกันมิใช่นอกประเด็นแต่อย่างใด คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายแล้ว อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืนยกฟ้อง

นายสราวุธกล่าวว่า คดีนี้ลูกจ้างทำหน้าที่ด้านบัญชีย่อมต้องใช้ความระมัดระวัง การที่ลูกจ้างใช้เวลางานไปแชตคุยเล่นเรื่องส่วนตัวในเวลางาน ทำให้บริษัทนายจ้างได้รับความเสียหาย นายจ้างย่อมมีสิทธิ์บอกเลิกจ้างโดยไม่บอกล่วงหน้า และจำเลยไม่มีสิทธิ์เรียกค่าเสียหาย กรณีนี้เป็นอุทาหรณ์ให้แก่บรรดาลูกจ้างทั้งหลายในยุคโซเชียลเน็ตเวิร์กให้รู้จักเวลาในการคุยแชตโปรแกรมต่างๆทางอินเตอร์เน็ต เพื่อไม่ให้กระทบเวลางาน ควรเล่นในเวลาที่เหมาะสม
IP : บันทึกการเข้า
- kann
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 790


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 07 กุมภาพันธ์ 2015, 10:48:18 »

ในช่วงเวลา "ทดลองงาน" นายจ้างสามารถบอกเลิกจ้างได้ครับ

แต่ถ้าบรรจุงานแล้วนายจ้างจะต้องมีการแจ้งเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร
ให้ปรับปรุงแก้ไข ทำทัณฑ์บน ลดเงินเดือน ให้หยุดงาน สุดท้ายถึงให้ออก ตามลำดับขั้นตอน


IP : บันทึกการเข้า
UFO
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 901


ลูกพ่อขุน


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 07 กุมภาพันธ์ 2015, 11:06:06 »

เป็นกรณีศึกษาครับ ผมก็มีลูกน้องประเภทนี้เหมือนกัน
IP : บันทึกการเข้า

ทำงานหนักเพือตนเองและครอบครัว
theheroman
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 07 กุมภาพันธ์ 2015, 20:06:27 »

 ตกใจ
IP : บันทึกการเข้า
yod2012
JuliustibJD
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 631



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2015, 07:35:45 »

สิทธิหน้าที่และความคุ้มครองตามกฎหมายสำหรับลูกจ้างทดลองงานhttp://www.sombatlegal.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5365073



มาตรา ๑๗ สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้อง
 บอกกล่าวล่วงหน้า
 ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน ทั้งนี้ ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วย
 การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้
 การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา ๑๑๙ แห่งพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา ๕๘๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 ตามปัญหาที่นายจ้างให้ออกเพราะทดลองงานไม่ผ่าน จะต้องดูสาเหตุว่านายจ้างเลิกจ้างเหตุเพราะกระทำความผิดตามมาตรา ๑๑๙ หรือไม่ คือ

(๑) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(๒) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(๓) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(๔) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(๕) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มี
 เหตุอันสมควร
(๖) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
 ในกรณี (๖) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

 หากไม่ใช่การเลิกจ้างด้วยเหตุตามมาตรา ๑๑๙ นายจ้างจะเลิกจ้างต้องแจ้งบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบเป็นหนังสือ อย่างน้อยล่วงหน้า ๑ งวดการจ่ายค่าจ้าง หากไม่แจ้งนายจ้างจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง และหากในกรณีลูกจ้างทำงานครบ 120 วันขึ้นไป นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ อีกส่วนหนึ่ง

 หากมีปัญหากรณีถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สามารถเข้าไปปรึกษาหรือเขียนคำร้องที่สวัสดิการแรงงานพื้นที่/จังหวัด หรือมีปัญหาสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนแรงงาน ๑๕๔๖
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2015, 07:50:12 โดย yod2012 » IP : บันทึกการเข้า

금정
ถ้าไปตรงๆไม่ได้ ก็จงไป 'ทางอ้อม' และถ้าไปข้างบนไม่ได้ ก็จงไปข้างล่าง อย่ายอมแพ้
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,425



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2015, 08:28:07 »

สุดยอดเลย
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!