เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 เมษายน 2024, 08:12:09
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  ธรรมะ กับ พระไตรปิฏก
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ธรรมะ กับ พระไตรปิฏก  (อ่าน 960 ครั้ง)
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« เมื่อ: วันที่ 12 กันยายน 2014, 12:27:59 »

ธรรมะ กับ พระไตรปิฎก  ใครเกิดก่อนกัน ไม่มีพระไตรปิฎก มีธรรมะได้ไหม ไม่มีพระไตรปิฎก เป็นคนดี
ได้ไหม แต่ถ้าไม่มีธรรมะ เป็นคนดีไม่ได้ใช่ไหม พระไตรฎิดก ได้จดบันทึกธรรมะ ไว้ทั้งหมดหรือยัง
พระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า คำสอนของท่าน เป็นเพียงแค่ใบไม้ในป่าใหญ่แค่กำมือเดียวเท่านั้น
พระไตรปิฎก84000พระธรรมขันธ์ เท่ากับใบไม้แค่กำมือเดียวเท่านั้น แล้วที่เหลือในป่าใหญ่หล่ะ
ใครจะเอาที่เหลือในป่าใหญ่ออกมาสั่งสอนให้เราได้ ก็มีแต่เราเท่านั้นเอง ที่จะต้องบุกเข้าป่าใหญ่ไปหาเองซึ่งอาจจะได้เพิ่มมาอีกซักใบก็ยังดี หรือถ้าใครเก่งกว่าพระพุทธเจ้าก็อาจจะได้ทั้งป่าใหญ่เลยก็เป็นได้
ผมจะชี้ให้เห็นว่า อย่าไปยึดติด กับพระไตรฎิดกมากนัก สิ่งที่เราจะค้นคว้า มันมีมากกว่าในพระไตรปิฎก
มากนัก สิ่งที่เราไม่รู้มันยังมีอีกมากมายนัก บางคนยึดติดมาก ปฏิบัติจนสุดโต่ง กลายเป็น
หลง พระไตรปิฎกไป ถ้าเอาใบไม้ทั้งป่าใหญ่มาเขียนเป็น พระไตรปิฎก ก็ไม่รู้ว่ากี่พระธรรมขันธ์
นี่แค่กำมือเดียว บางคนปฏิบัติแทบเอาชีวิตไม่รอดแล้วเพราะว่าหลงพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก มีไว้ให้อ่านแล้วปฏิบัติตาม เพื่อการหลุดพ้นด้วยใจ ไม่ได้มีไว้ให้สร้างเป็นกฎปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัดขังตัวเองอยู่ในพระไตรปิฎกออกมาไม่ได้ แล้วป่าใหญ่ที่เหลือจะทำยังไงใครจะหา
มาบอกพวกเรา ทะเลที่ว่าลึกแล้ว ยังเทียบไม่ได้กับใจของคนเรา เราสามารถดั้นด้น ไปได้อีกไกล
ธรรมะไม่ได้อยู่ในที่ๆเดียว ธรรมะอยู่ในทุกที แต่ต้องเอาใจนี้เขาไปค้นหามันเอง ขอให้เปิดใจ
อย่าได้ยึดติดกับอะไรทั้งสิ้น อัน รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส มันมีของมันอยู่แล้วเราไปยึดเอามันมาเอง
อันจิตใจเรานี้เข้าไปเกี่ยวข้องกับมันเอง มันก็อยู่ของมันเฉยๆ เราอย่าไปโทษมัน ถ้าจะโทษโทษ
จิตใจของเรานี่เป็นตัวการเลย การไปทำลายรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส โดยการเผาทำลายโยนทิ้ง
ให้คนอื่นฟรีๆ มันเป็นการแก้ที่ปลายเหตุเท่านั้น ต้นเหตุ มันอยู่ที่ใจเราเองเป็นคนไปติดมัน
มันอยู่ของมันเฉยๆ ถ้ามันมีจิตมีใจมันคงด่าเราแล้ว การไปทำลายรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส
ด้วยการทำลายล้างผลาญไม่ให้เหลือซากเดิม มันยิ่งทำให้จิตใจเราเศร้าหมองแถมยึดติดลืมไม่ลง
มากกว่าเดิม อีกหลายเท่า ขึ้นไปอีก ของทุกชิ้นที่เราทำลาย มันจะฝังรากลึกเข้าไปในมโนสำนึก
จนยากจะถอนหรือลืมไปได้ ให้มันอยู่ของมันเฉยๆแล้วเราไม่สนค่อยๆลืมมันไปจะดีกว่าที่จะทำลายล้าง
เพราะผมเคยทำมาแล้ว ทุกวันนี้ทำยังไงก็ลืมไม่ลงมันฝังรากลึกมากหากสิ่งนั้นเป็นของเราแล้วเรา
นำมาทำลายเพราะความเชื่อ ว่าจะทำให้จิตเราไม่ยึดติดกับรูปลักษณ์ของมัน ถ้าคิดอย่างนี้ ทั้งหมดที่เรา
เห็นก็ต้องเผาก็ต้องทำลาย ตัวเราก็ต้องมาแก้ผ้ายืนอยู่คนเดียวในโลกนี้ มองเห็นแต่ความเวิ้งว้าง
ถามว่าจิตมันจะสงบไหม ผมเคยเชื่อผมนำพระ ทั้งหมดของผมองค์เล็กองค์ใหญ่ ผ้ายันต์ รูปถ่ายรูปภาพ
เจ้าพ่อเจ้าแม่ นางกวัก ของขลังต่างๆ มากมายรวมทั้งรูปถ่ายตัวผมเองด้วย มากองหน้าบ้าน เพื่อจะนำไปทิ้ง ขณะที่ขนมากอง ผู้คนก็เริ่มเข้ามาถามจะเอาไปไหนพ่อ ผมบอกจะเอาไปทิ้ง เท่านั้น พรึบเดียวคนเต็มเลย มารอเค้าบอกขอได้ไหม ผมบอกได้แว๊ปเดียวเกลี้ยง สบายใจปนความเศร้ายังไงบอกไม่ถูกในตอนนั้น พอเข้าบ้านมาหาพระซักองค์ก็ไม่มีแล้วดูแปลกไปเลย ทุกวันนี้ ทำยังไงผมก็ไม่ลืมของทุกชิ้น
มันฝังจริงๆนะครับ ถ้าให้ใครเขาโดยใจบริสุทธิ์ มันไม่ฝังใจขนาดนี้ นี่เราเอามาทิ้งเพราะว่าเชื่อว่า
ถ้าทิ้งแล้วจิตนี้ใจนี้มันจะลืมรูปลักษณ์ได้ อย่าไปเชื่อครับ ผมทำมาแล้ว จนตายไม่มีวันลืมครับ อย่าทำครับเอาจิตเรานี้แหละค่อยคลายมันออกไปจะดีกว่าเพราะว่ายังไงเราก็หนีรูปลักษณ์ต่างๆไม่พ้นหรอกครับ
อะไรๆ มันอยู่ที่เรา ไม่ได้อยู่ที่ข้างนอกเลย ยกเว้นถ้าเป็นพระอรหันต์ ก็ว่าไปอย่างครับ แต่ถ้าใจเรายังไม่หลุดพ้น อย่าไปทำครับ ผมลองมาแล้วไม่ได้ผลครับ ถ้าทำแล้วไปบวชเลย ผมไม่ว่าครับอาจจะลืมได้
แต่ถ้าทำแล้วยังต้องมาทำมาหากิน เลี้ยงลูกเลี้ยงเมียอย่าไปทำ ถ้าหากย้อนเวลาได้ ผมไม่ทำครับ
ป.ล  พระไตรปิฎกนั้น เป็นสิ่งดีควรปฏิบัติตาม แต่อย่าไปยึดติดมากครับ หากสิ่งนี้ไม่ถูกใจใคร ขออภัยด้วยครับ
IP : บันทึกการเข้า
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 13 กันยายน 2014, 02:23:45 »

ติดกันเป็นพืด  เลยยังไม่อยากอ่าน จนหมด ครัชช

เน้นเอาตอนจบ คือ ป.ล.อย่ายึดติด เตปิฏกมาก    ฝากวานจัดวางบันทัดให้หนานอ่านง่ายกว่าเก่า ก็ดี  ย้อน ว่า ตาผมไม่ดีเอง โทษคนพิมพ์เลยก็ไม่ใช่



IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 13 กันยายน 2014, 15:44:00 »

ติดกันเป็นพืด  เลยยังไม่อยากอ่าน จนหมด ครัชช

เน้นเอาตอนจบ คือ ป.ล.อย่ายึดติด เตปิฏกมาก    ฝากวานจัดวางบันทัดให้หนานอ่านง่ายกว่าเก่า ก็ดี  ย้อน ว่า ตาผมไม่ดีเอง โทษคนพิมพ์เลยก็ไม่ใช่





ขอบคุณท่านหนาน ข้อมูลนี้ผมจัดวางจากหน้ามือถือโทรศัพท์ไอโฟน
ทำให้การจัดวางลำบาก แต่พยายามจัดวางให้ได้ แต่เนื่องจากการเพ่งทำให้ตาล้าแต่ก็พยายามจัดเรียง

ไม่ทราบว่าท่านอ่านด้วยมือถือ  หรือ  คอมพิวเตอร์
IP : บันทึกการเข้า
naylex
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,993



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 13 กันยายน 2014, 17:23:51 »

ตราบใดที่เรายังไม่ศึกษาพระไตรปิฎกอย่างจริงจัง จนกระจ่างชัด
ก็ไม่อาจไม่เชื่อถือในพระไตรปิฎก
ด้วยเหตุที่ว่า แม้จะมีการสังคยานา มาหลายครั้ง
แต่ก็เป็นเพียงการรวบรวมเรียบเรียงพระธรรมที่กระจัดกระจาย ไม่ได้มีการแต่งใหม่
หรือจะมีการสอดแทรกแนวคิดตามลัทธิของผู้สังคยานา แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงเดิมไว้

ด้วยพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท มีความน่าเชื่อถือว่าตรงกับคำสอนของพระศาสดาที่สุด
เพราะรวบรวมครั้งแรกภายหลังพระศาสดาดับขันธ์ปรินิพพานไปเพียง ๓ เดือน
และคณะสงฆ์ผู้รวบรวมจำนวน๕๐๐ รูป เป็นพระเถระที่ได้ทันสดับฟังธรรมโดยตรงจากพระศาสดา

ธรรม คือ ความจริง
และด้วยเหตุที่แท้ว่า ความไม่จริง ก็เป็นความจริง

ธรรมมีมากมายดุจใบไม้ในป่าใหญ่  ธรรม ที่พระศาสดาทรงสั่งสอน เป็นใบไม้เพียงกำมือเดียว
แต่ก็น่าเชื่อได้ว่า เป็นธรรมที่ตรง และเข้าใจง่าย
เพราะเป็นธรรมที่ทรงกลั่นกรองแล้วจากพระศาสดาเอง

เราเองก็ไม่อาจเก็บใบไม้ได้ทั้งป่า จึงควรเก็บใบไม้ในพระหัตถ์ที่พระศาสดาทรงหยิบยื่นให้....




IP : บันทึกการเข้า

ปรารถนาสารพัดในปฐพี เอาไมตรีแลกได้ดั่งใจจง
naylex
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,993



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 13 กันยายน 2014, 17:49:03 »

ทางฝ่ายมหายาน ก็มี พระไตรปิฏก เช่นกัน และไม่ได้ปฏิเสธ พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาท
(ก็แสดงว่าในตอนเริ่มต้น ฝ่ายมหายาน ก็ใช้พระไตรปิฎกฉบับเดียวกันกับฝ่ายเถรวาท)
แต่ด้วยเหตุที่ฝ่ายมหายาน มีความเชื่อว่า ทุกคนมีจิตพุทธ มีโอกาสเป็นพระโพธิสัตว์

กลับกันพระโพธิสัตว์ของเถรวาท เป็นพระชาติเดิมของพระพทุธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น
ไม่เรียกชาติเดิมของสาวกที่บรรลุธรรม ว่าเป็นพระโพธิสัตว์

นี้น่าจะเป็ฯส่วนหนึ่งของความเห็นที่ไม่ลงตัวของเถรวาท และ มหายาน
แต่ไม่ว่าฝ่ายมหายาน จะมีกำเนิดของพระโพธิสัตว์ มากมายเช่นใดก็ตาม

หลักคำสอนของทั้งเถรวาท และมหยาน
ย่อมมีความสอดคล้องกัน ในฐานะที่ใช้พระไตรปิฎกต้นฉบับเดียวกัน

เช่น
ขันธ์ ๕ มีลักษณ์เป็นไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์  เป็นความว่างเปล่า
จึงมีความสอดคล้องกับ ปรัชญาปารมิตา หฤทัยสูตรของ มหยาน ที่กล่าวถึงขันธ์๕ ว่าเป็นสูญตา
ผู้เห็นขันธ์ ๕ เป็นไตรลักษณ์ ในทางเถรวาท อาจเป็นพระ เป็นฆราวาท ที่เดินตามพระศาสดา
แต่ผู้เห็นขันธ์ ๕ เป็นสูญตา อาจได้เป็นถึงพระโพธิสัตว์

แต่จะเป็น ฆราวาท เป็นพระ หรือเป็นพระโพธิสัตว์
เมื่อเห็นความจริงของขันธ์ ๕
ย่อมมีโอกาสคลายจากทุกข์ และรู้ทันกิเลส

เถรวาท หรือ มหยาน ล้วนสามารถทำให้ปุถุชนคลายจากทุกข์ พ้นวิบากกรรม
เพียงแต่ต้องศึกษาเข้าใจ ให้ลึกซึ้ง จริงจัง

ดังนั้นจึงไม่อาจลงความเห็นชัดเจนถึงพระไตรปิฎกฝ่ายใด
หากแต่ต้องศึกษาให้เข้าใจ ลึกซึ้ง ตามสิ่งที่ถูกที่ควร

เขียนเองตามความรู้อันน้อยนิด หวังธรรมทาน แนะนำแก้ไขด้วยครับ
 ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 13 กันยายน 2014, 17:54:59 โดย naylex » IP : บันทึกการเข้า

ปรารถนาสารพัดในปฐพี เอาไมตรีแลกได้ดั่งใจจง
chaplainbalm
magdafVE
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 13 กันยายน 2014, 23:35:00 »

1 พระไตรปิฎกกับธรรมสิ่งไหนเกิดก่อน ? ต้องตอบว่าธรรมเกิดก่อน พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมตลอด 45 พรรษา ส่วนพระไตรปิฏกเกิดทีหลัง แม้แต่การสังคายนาครั้งแรกหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือนก็ยังเรียกเพียงพระธรรมกับวินัย ภายหลังเมื่อมีการวางรูปแบบอธิบายอภิธรรมได้สมบูรณ์แล้ว จึงแยกส่วนที่เป็นพระธรรมออกเป็นพระสูตรและพระอภิธรรม รวมเป็น 3 ปิฎก
2 พระไตรปิฎกสำคัญหรือไม่ ? ธุระหรือหน้าที่ต่อพระพุทธศาสนามี 2 คือ 1 ศึกษาคำสอน (ปริยัติ) และ 2 ลงมือปฏิบัติ 
พระไตรปิฏกเป็นตำราสำหรับศึกษา เมื่อเข้าใจทิศทางที่ถูกต้องแล้วจึงลงมือปฎิบัติ
มีพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า การจำคาถาเพียงบทเดียวแล้วปฏิบัติได้ถูกต้องเป็นสิ่งที่ดีกว่าการจำได้ตั้งร้อยพันคาถาแต่ไม่ยอมปฏิบัติ
จึงเป็นคำตอบให้ผู้ถามได้ว่า พระไตรปิฏกสำคัญเสมอ แต่ผู้ปฏิบัติไม่จำเป็นต้องจำทั้งหมด ขอให้เลือกบทที่ถูกจริตในการปฏิบัติธรรมของตน ซึ่งวิธีการที่จะได้เช่นนี้ต้องมีบุญในการได้พบอาจารย์สอนปฏิบัติที่รอบรู้จึงจะแนะนำได้ถูกต้อง
IP : บันทึกการเข้า

nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 25 กันยายน 2014, 00:10:58 »

ไหว้สา พระธัมมวินัย  สายบุญ

พระธัมม์ คือ  ความรู้    พระเตปิฏก  คือ  หนังสือ ตำราความรู้ ทั้งสามหมวด มี พระวินัย พระสูตร พระอภิธัมม์ เป็น ตำราหลัก ของ ศาสนาพุทธ

พระธัมม์ มีอยู่คู่โลก  ผู้ประกาศพระศาสนธัมม์ หรือ พระศาสดา  ผู้นำความรู้ แนววิถีพุทธะ เป็น พุทธศาสดา สอนความรู้ ใน พระพุทธศาสนา  ผู้นำความรู้  แนวคริสตะ เป็น คริสตศาสดา  สอนความรู้ ใน  พระคริสตศาสนา  ผู้นำความรู้ แนวอิสลาม เป็น อิสลามศาสดา สอนความรู้ ใน พระอิสลามศาสนา (อิสลาม มีความหมายว่า สันติภาพ)

สาธุ

IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 25 กันยายน 2014, 11:29:59 »

 

พระไตรปิฎกเชื่อถือได้แค่ไหน?


ชาติหน้ามีจริงหรือ?
            
            พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งกฎธรรมชาติว่า   สัตว์ทุกชีวิตเคยเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน(1)    ผู้ที่ไม่เคยเกิดเป็นพ่อแม่กันมาก่อนหาได้ยาก(2)     บางชาติเกิดเป็นเทวดา   บางชาติเป็นมนุษย์     บางชาติเป็นสัตว์เดรัจฉาน  บางชาติเกิดเป็นเปรต/อสุรกาย  บางชาติต้องตกนรก   ต้องเวียนว่ายตาย-เกิดอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ตามอำนาจบุญและบาปที่ตนเองได้ทำไว้    เหตุการณ์ทุกอย่างที่เราประสบอยู่ทุกวันนี้ไม่มีคำว่าโชคหรือบังเอิญทุกอย่างเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำของเราในอดีตทั้งสิ้น(3)
......อ้างอิง...ดูรายละเอียดใน พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงการราชิวิทยาลัย (เล่มที่ / หน้าที่ )
1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้า ๒๒๓      
2. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้า ๒๒๗      
3. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๕๐-๓๖๕
 
 
 
 
พระไตรปิฏกเชื่อถือได้แค่ไหน...??
 
            ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะดับขันธปรินิพพาน พระอานนท์ทูลถามพระองค์ว่า  “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลังจากพระองค์ปรินิพพานแล้ว พระองค์จะทรงตั้งใครเป็นศาสดาแทนพระเจ้าข้า”
            พระพุทธเจ้าตรัสตอบเป็นภาษาบาฬีว่า “โย   โว   อานนฺท   มยา   ธมฺโม จ   วินโย จ   เทสิโต ปญฺญตฺโต  โส  โว  มมจฺจเยน  สตฺถา”
            แปลว่า.   ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดที่เรา ได้แสดงแล้วและบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย  ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ในเมื่อเราล่วงลับไป            
            หมายความว่า  พระพุทธเจ้าตรัสสั่งให้คำสั่ง สอนของพระองค์ เป็นศาสดาแทนพระองค์
 
                  
 
            หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ๓ เดือน พระอรหันตสาวก ๕๐๐ รูป  นำโดยพระมหากัสสปะเถระได้ร่วมกัน ประชุมทำสังคายนา  คือ ดำเนินการรวบรวมพระดำรัสของ พระพุทธเจ้า จัดเป็นหมวดหมู่  คัมภีร์ที่รวบรวมพุทธพจน์ บรรจุพระธรรมวินัยนั้นไว้  เรียกว่า พระไตรปิฎก
            คัมภีร์ที่บันทึกหลักธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนานั้นเรียกว่าพระไตรปิฎก   ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์ที่สำคัญที่สุดของพุทธศาสนา เพราะเป็นคัมภีร์ที่จารึกคำสอนของพระพุทธเจ้าและของพระอรหันตสาวกไว้โดยมีกระบวนการสืบทอดคำสอนของพระพุทธองค์ไว้ในรูปแบบของการสังคายนาอย่างระมัดระวังและรัดกุมที่สุด  ตั้งแต่สมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่  จนถึงการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖ มาตามลำดับ
 
            หลักธรรมคำสั่งสอนทางพุทธศาสนาได้มีการสืบทอดกันมาโดยมุขปาฐะ คือ การท่อง จำสืบๆ กันมา (Oral Tradition) การท่องจำนี้ ได้กระทำมาจนถึงสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๕ ในลังกาทวีป    การจารึกเป็นคัมภีร์ครั้งแรกเมื่อคราวสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐   บางตำราว่า พ.ศ. ๔๓๓  (ถ้านับเฉพาะที่ทำสังคายนาในศรีลังกาก็เป็นครั้งที่ ๒ )ในรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย  โดยมีพระรักขิตมหาเถระเป็นประธาน   ทำที่อาโลกเลณสถาน ณ มตเล ชนบทหรือที่เรียกว่า มลัยชนบท  สาเหตุของการจารึกพระพุทธวจนะลงในใบลาน ก็เพราะว่าถ้าจะใช้วิธีท่องจำพระพุทธวจนะต่อไป ก็อาจมีข้อวิปริตผิดพลาดได้ง่าย เพราะปัญญาในการท่องจำของกุลบุตรเสื่อมถอยลง  นอกจากนั้นพระสงฆ์ยังได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยธรรมชาติและภัยสงครามอยู่เนืองๆทำให้ไม่มีเวลาท่องจำพระพุทธวจนะ  จะทำให้ช่วงการสืบต่อขาดลงได้ และในการจารึกครั้งนี้ได้จารึกอรรถกถาลงไว้ด้วย
            มีผู้สงสัยว่า สมัยพุทธกาลคนไม่รู้จักการเขียนหนังสือหรืออย่างไร?   จึงไม่ปรากฏว่ามีตำรับตำราจารึกไว้เป็นหลักฐาน    พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณฺณวณฺโณได้ประมวลทัศนะนี้ไว้ในหนังสือภาษาศาสตร์ภาษาบาลี ไว้ว่า
            "ความจริงการเขียนหนังสือน่าจะมีมาก่อนพุทธกาลแล้ว ในพระไตรปิฎกเองก็มีข้อ ความเอ่ยถึงการขีดเขียนเป็นครั้งคราว เช่น ตอนหนึ่ง ห้ามภิกษุเล่นเกม "อักขริกา" ได้แก่ การทายอักษรในอากาศหรือบนหลังเพื่อนภิกษุ วิชาเขียนหนังสือ(เลขา) ได้รับยกย่องว่าเป็นศิลปะพิเศษอย่างหนึ่ง สิกขาบทบางข้อห้ามภิกษุณีเรียนศิลปะทางโลก หนึ่งในศิลปะเหล่านี้คือวิชาเขียนหนังสือ ในบทสนทนาภายในครอบครัว พ่อแม่ปรารภว่าจะให้บุตรเรียนวิชาอะไรดี ถ้าจะให้เรียนเขียนหนังสือ บุตรก็อาจยังชีพอยู่ได้อย่างสบาย แต่ก็อาจเจ็บนิ้วมือ ถ้าภิกษุเขียนหนังสือพรรณนาคุณของอัตตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตายเอง) ปรับทุกกฎทุกตัวอักษร ถ้ามีผู้อ่านพบข้อความนั้นเข้าเห็นดีเห็นงามด้วย แล้วฆ่าตัวตายตามนั้น ปรับอาบัติปาราชิก หลักฐานเหล่านี้แสดงว่าอักษรหรือการเขียนมีมาก่อนสมัยพระพุทธเจ้าแล้ว แต่ที่พระพุทธองค์ไม่นิยมใช้ หันมาใช้วิธีมุขปาฐะแทน น่าจะทรงเห็นประโยชน์อานิสงส์บางสิ่งบางอย่างกระมัง หรือว่าระบบการขีดเขียนยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร ทั้งยังไม่มีอุปกรณ์การขีดการเขียนเพียงพอ ก็ยากที่จะทราบได้ แต่ข้อที่น่าคิดอยู่อย่างคือ วิธีเรียนด้วยมุขปาฐะนี้ นอกจากจะสร้างสัมพันธภาพอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เรียนและผู้สอนแล้ว ยังเป็นการสร้างสมาธิฝึกจิตของผู้เรียนไปในตัวด้วย นักปราชญ์ยุคก่อนที่มีความคิดเช่นนี้ก็มีไม่น้อย เปลโต้เคยกล่าวไว้ว่า "การคิดอักษรขึ้นใช้ แทนการท่องจำ ทำให้มนุษย์ขาดอานุภาพแห่งความทรงจำ คือแทนที่จะจดจำจากอินทรีย์ภายใน ต้องอาศัยสัญลักษณ์นอกเข้าช่วย"
อ้างอิง..พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณณวณโณ ภาษาศาสตร์ภาษาบาลี, ชุดวรรณไวทยากร, กรุงเทพฯไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๔)
 
            ในตอนต้นครั้งพุทธกาล คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิได้เรียกว่า “พระไตรปิฎก”     แต่เรียกว่าพระธรรมวินัยบ้าง  พระสัทธรรมบ้าง  ปาพจน์บ้าง  สัตถุศาสน์บ้าง พระ บาลีบ้าง สุตตะบ้าง      แม้หลังพุทธปรินิพพานก็ยังไม่เรียกว่าพระไตรปิฎก   คงเรียก ว่าพระธรรมวินัย   เช่น  การสังคายนาชำระคำสอน    ครั้งที่ ๑-๔ ยังคงเรียกว่าสังคายนา พระธรรมวินัย   และได้เรียกว่า “พระไตรปิฎก”   เมื่อการสังคายนาครั้งที่ ๕  พ.ศ. ๔๕๐  ณ ประเทศศรีลังกา โดยได้จารึกลงในใบลาน ซึ่งได้แบ่งพระธรรมวินัยเป็น ๓ หมวด  จึงได้เรียกว่า “พระไตรปิฎก” ตั้งแต่บัดนั้น
 

               พระไตรปิฎกมีความสำคัญดังนี้
            ๑. เป็นที่รวบรวมพระพุทธพจน์ คือ พระดำรัสของพระพุทธเจ้า
            ๒. เป็นที่สถิตของพระศาสดาของพุทธศาสนิกชน เพราะเป็นที่บรรจุพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ให้ เป็นศาสดาแทนพระองค์
            ๓. เป็นแหล่งต้นเดิมของคำสั่งสอนในพุทธศาสนา                  
            ๔.เป็นหลักฐานอ้างอิงหรือยืนยันหลักการที่กล่าว ว่า เป็นพระพุทธศาสนา
            ๕. เป็นมาตฐานตรวจสอบความเชื่อและข้อปฏิบัติ ในพระพุทธศาสนา  จะวินิจฉัยสิ่งใดว่าถูกต้องหรือผิดพลาด เป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่ ก็โดยอาศัยพระธรรมวินัยที่มีมาในพระไตรปิฎกเป็นเครื่องตัดสิน
            ๖. พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่น่าเชื่อถือที่สุด กว่าหนังสือใดๆ บนพื้นพิภพ ที่ยืนยันให้คนยุคปัจจุบันได้รับรู้ ว่าเมื่อ ๒๕๐๐ปีก่อน พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนอะไรไว้บ้าง  
 
            ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก จึงเป็นกิจสำคัญยิ่งของชาวพุทธ  ถือว่าเป็นการสืบต่ออายุ พระพุทธศาสนาหรือเป็นความดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนากล่าวคือ  ถ้ายังมีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกเพื่อนำไปปฏิบัติ  พระพุทธศาสนาก็จะยังดำรงอยู่   แต่ถ้าไม่มีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก แม้มีการปฏิบัติก็จะไม่เป็น ไปตามหลักการของพระพุทธศาสนา  พระพุทธศาสนาก็จะ ไม่ดำรงอยู่  คือ จะเสื่อมสูญไปในที่สุด  
 
 
 
ถาม...  เป็นไปได้หรือไม่ที่พระไตรปิฏกอาจจะถูกสาวกรุ่นหลังๆ แก้ไขเพิ่มเติม
 
ตอบ       “เป็นไปไม่ได้” ด้วยเหตุผลดังนี้
๑.  พระไตรปิฎกสืบทอดกันมาด้วยภาษาบาลี ที่มีหลักไวยากรณ์เฉพาะ มีกฎตายตัวไว้เฉพาะภาษาบาลี โดยปฏิเสธกฎไวยากรณ์หลายประการของสันสกฤต เพื่อไว้ให้เป็นหลักเกณฑ์ของไวยากรณ์บาลีโดยเฉพาะ  เช่น พระบาลีมี ๒วจนะเท่านั้น คือ เอกวจนะ และพหุวจนะ ไม่มีทวิวจนะ
.           ..อ้างอิง ดูรายละเอียด  พระอัครวงศาจารย์ , สทฺทนีติปฺปกรณํ (ปทมาลา) ฉบับภูมิพโลภิกขุ . โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, วัดสระเกศ  กรุงเทพฯ:พ.ศ. ๒๕๒๑  .หน้า ๑๕๖
 

            ๒.  แม้บางช่วงของประวัติศาสตร์เกิดภัยต่าง ๆ ทำให้คัมภีร์พระไตรปิฎกขาดหายหรือเลอะเลือนไป  แต่เมื่อสังคายนาใหม่อีกครั้งก็ได้เปรียบเทียบ ตรวจสอบดูกัพระไตรปิฎกของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จนหมดข้อสงสัย  จึงทำให้เชื่อได้ว่าเป็นพระไตรปิฎกที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโลก ตรงกับพระไตรปิฎกที่ได้รับการสังคายนาครั้งก่อน ๆ ทุกประการ
 
            ๓. มีข้อความในคัมภีร์รุ่นหลังกล่าวอ้างถึงข้อความคัมภีร์พระไตรปิฎก แต่เมื่อตรวจสอบในบาลีพระไตรปิฎกแล้วกลับไม่มีข้อความนั้น ทั้งที่เมื่อพิจารณาข้อความนั้นแล้วมีอรรถเข้ากันได้กับพระไตรปิฎก เช่น  บาลีสังยุตตนิกาย มหาวรรคว่า  “จตฺตารีมานิ   ภิกฺขเว   อริยสจฺจานิ  ฯ   กตมานิ   จตฺตาริ ฯ     ทุกฺข    อริยสจฺจ    ทุกฺขสมุทโย    อริยสจฺจ    ทุกฺขนิโรโธ   อริยสจฺจ   ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา   อริยสจฺจ   ฯ   อิมานิ  โข   ภิกฺขเว    จตฺตาริ   อริยสจฺจานิ     ตถานิ    อวิตถานิ   อนฺถานิ   ตสฺมาอริยสจฺจานีติ   วุจฺจนฺติ”   ( อ้างอิง.... ส.ม.๑๙/๑๐๙๗/๓๘๐)
            แต่คัมภีร์วิสุทธิมรรค นำไปอ้างโดยเพิ่มข้อความว่า  “จตฺตารีมานิ    ภิกฺขเว   อริยสจฺจานิ ฯ  กตมานิ  จตฺตาริ  ฯ     ทุกฺข     อริยสจฺจ    ทุกฺขสมุทโย    อริยสจฺจ    ทุกฺขนิโรโธ   อริยสจฺจ   ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา   อริยสจฺจ   ฯ   อิมานิ   โข  ภิกฺขเว  จตฺตาริ  อริยสจฺจานิ   อริยา  อิมานิ  ปฏิวิชฺฌนฺติ  ตสฺมา   อริยสจฺจานีติ   วุจฺจนฺตีติ ฯ   อปิจ   อริยสฺส   สจฺจานีติปิ  อริยสจฺจานิ ฯ   ยถาห ฯ   สเทวเก   โลเก ฯเปฯ  มนุสฺสา    ตถาคโต   อริโย   ตสฺมา   อริยสจฺจานีติ    วุจฺจนฺตีติ  ฯ   อถวา  เอเตส   อภิสมฺพุทฺธตฺตา  อริยภาวสิทฺธิโตปิ  อริยสจฺจานิ ฯ  ยถาห ฯ  อิเมส  โข   ภิกฺขเว  จตุนฺน   อริยสจฺจาน  ยถาภูต    อภิสมฺพุทฺธตฺตา    ตถาคโต    อรห   สมฺมาสมฺพุทฺโธ    อริโยติ     วุจฺจตีติ  ฯ    อปิจ    โข    ปน    อริยานิ     สจฺจานีติปิ  อริยสจฺจานิ  ฯ   อริยานีติ   ตถานิ   อวิตถานิ    อวิสวาทกานีติ    อตฺโถ ฯ  ยถาห  ฯ   อิมานิ   โข   ภิกฺขเว   จตฺตาริ   อริยสจฺจานิ    ตถานิ     อวิตถานิ     อนฺถานิ     ตสฺมา   อริยสจฺจานีติ   วุจฺจนฺตีติ  ฯ   เอวเมตฺถ   นิพฺพจนโต   วินิจฺฉโต   เวทิตพฺโพ ฯ
( อ้างอิง... วิสุทฺธิ.๒/๑๔๐-๑๔๑ )(อักษรตำหนา เป็นข้อความที่คัมภีร์วิสุทธิมรรคเพิ่มเข้ามา โดยอ้างว่านำมาจากพระไตรปิฎก)
 
            ดังข้อมูลที่เสนอมานี้ก็หมายความว่า     พระไตรปิฎกภาษาบาลีไม่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมอย่างแน่นอน      เพราะทั้งที่ปรากฏข้อความที่ตกหล่นปรากฏอยู่ในคัมภีร์น่าเชื่อถือเป็นที่สุดอย่างเช่น     วิสุทธิมรรค ข้อความนั้นก็มิได้ถูกบรรจุไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฎก
            สรุปว่า คัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลีย่อมเป็นไปได้ที่มีการตกหล่นบ้าง คำกล่าวอ้างที่ว่าถูกสาวกรุ่นหลังแก้ไขเพิ่มเติมย่อมเป็นไปไม่ได้เลย
 
 

 

 
อ้างอิง..พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(เล่มที่ / หน้าที่)
1. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก. ๒๕/๔๗๖,๓๑/๔๐๐
2. ดูรายละเอียดใน ไตรปิฎก. ๑๐/๑-๑๐
3. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก. ๑๖/๒๒๓
4. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก๑๖/๒๒๗
5. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก๑๔/๓๕๐-๓๖๕
6. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก๑๕/๒๒๓
7. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก๑๙/๕๓๔
8. ดูรายละเอียดพระไตรปิฎก.๑๑/๒๒๒ ,อรรถกถาอังคุตตรนิกาย(บาลี)๑/๑๖๔
9. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก๑๕/๖๘
10. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๒๐/๓๐๑
11. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก๑๕/๗๐
12. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๓๑/๙๗
13. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๑๙/๕๔๔, ๑๔/๑๘๖, ๒๐/๓๑๕, ๒๕/๑๒
14. ดูรายละเอียด ในวิสุทฺธชนวิลาสินี(บาลี)๑/๑๒๐
15. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๓๓/๗๒๓
16. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๒๐/๓๘๐ , ๒๕/๒๙๒
17. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๑๓/๓๙๖,อรรถกถามัชฌิมนิกาย(บาลี) ๑/๑๙๙
18. ดูรายละเอียด ในวิสุทฺธิมรรค(บาลี)๑/๑๓๒-๑๔๙
19. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๑๒/๑๐๑
20. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๑๐/๑๔๒, ๒๒/๓๖
21. ดูรายละเอียดพระไตรปิฎก.๑๙/๔๖๑,อรรถกถาอังคุตตรนิกาย(บาลี)๑/๘๑๓๓
22. ดูรายละเอียด ในพระไตรปิฎก.๓๑/๑-๑๖,๒๕/๗๒๐
http://dungtrin.com/
 
 
 

            

 
 
 
 
 
 
 
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 25 กันยายน 2014, 11:43:25 โดย Sunan_rao » IP : บันทึกการเข้า
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 26 กันยายน 2014, 01:44:31 »

ไหว้สา  พระธัมมวินัย  สายบุญ

สาธุ ๆ  ๆ อนุโมทามิ ใน กุศลเจตนา ที่อุตส่าห์ วิริยเพียรพยายาม หามาทำทานการให้ความรู้ คือ ธัมมทานความรู้ในพระพุทธศาสนา

จาก  หนานธง


IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!