เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 26 เมษายน 2024, 19:24:53
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  " อย่าลงทุนมาก แต่ได้ผลบุญน้อย "
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 พิมพ์
ผู้เขียน " อย่าลงทุนมาก แต่ได้ผลบุญน้อย "  (อ่าน 1587 ครั้ง)
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« เมื่อ: วันที่ 04 กันยายน 2014, 15:05:57 »

"อย่าลงทุนมาก แต่ได้ผลบุญน้อย"
โดยส่วนใหญ่คนเวลาทำบุญจะอธิฐานให้ชาติหน้าได้เกิดเป็นคนที่มีสติปัญญาดี ไม่ลำบาก ก็คือยังมีกิเลส(ความอยาก)ในการทำบุญทำบุญเพื่อหวังสิ่งตอบแทน ส่วนใหญ่คนเราทำบุญเพื่อความสุข เพื่อหวังแต่เพียงบุญ แต่สุข ทุกข์นั้นเกิดขึ้นจากจิตปรุงแต่งของใจเรา อย่างเช่น คนสองคนที่ถูกนินทา คนหนึ่งทุกข์ แต่อีกคนหนึ่งคิดว่าเป็นธรรมดาของโลก จึงปล่อยวางความทุกข์
การทำบุญที่แท้จริงนั้นคือ
การละความยึดถือยึดมั่น ความโลภ ความหลง ต่อสมบัติ ที่ครอบครอง เป็นการกระทำที่ทำให้กิเลสเบาบางลง
IP : บันทึกการเข้า
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 05 กันยายน 2014, 19:02:13 »

ไหว้สา พระธัมมวินัย  สายบุญ

การทำบุญ ที่ สุนันท์ นำมาว่า  ออกไปในแนวบ้าน ๆ เน้นทำบุญด้วย เงินทองข้าวของมีค่า สมบัติ ที่ ครอบครอง  เพื่อ ทำให้กิเลสเบาลงไป นี่มีส่วนอยู่ แต่ ยังไม่หมด  เนาะ

การทำบุญ  คือ  การทำความดีงาม ด้วยกาย  วาจา ใจ อย่างใดก็ได้ หรือ สองอย่าง ถึง สามอย่าง  ประกอบเข้ากัน  มีในบุญกิริยาสิบอย่าง ว่าไว้แล้ว  มีตั้งแต่ ทานมัน  สีลมัย ภาวนามัย ไปตามลำดับ ขนถึง อย่างที่ 10

การทำบุญ ทำดีงาม บางที ก็มีทั้ง บริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์  บุญบริสุทธิ์ เป็น บุญกุศล  บุญไม่บริสุทธิ์ เป็น บุญปนอกุศล 

ในเพลงดาวลูกไก่ ตายายใส่บาตรพระธุดงควัตร  ตายาย มี จิตใจสงสารพระ กุศลจิตเกิดขึ้นก่อน  คิดฆ่าแม่ไก่  อกุสลจิตเกิดต่อหลังกุสลจิต

กัมม์ คือ การทำ การทำบุญ ทำบาป ที่เขา ว่า บุญ อยู่ส่วนบุญ  บาปอยู่ ส่วนบาป เป็น คำแบบโลก ๆ ว่ากัน     พระพุทธเจ้า กล่าวในเตปิฏก ว่า กัมม์ มี 4 แบบ

กุสลกัมม์บุญดีงามหลวกแหลมฉลาดล้วน   
อกุสลกัมม์ผิดโง่ง่าวล้วน ๆ   
กุสลกัมม์ปนอกุสลกัมม์หลวกผสมง่าว เป็น หลึก     
และ อัพพยากตธัมมะ กัมม์ที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงทำนายแยกแยะ

บุญยิ่งกว่าบุญ คือ ทำกุศล คือ  การทำความฉลาด เป็น บุญบริสุทธิ์ ที่ บริบูรณ์ ๆ คือ เต็มเปี่ยม  คำเมือง ว่า สุ้ม

ละทั้งชั่ว ละทั้งดี เข้าสู่ อัพพยากตาธัมมะ  จนถึงพระนิพพาน  บันลุพระอรหันตบุคคล  เป็น บุญอันสูงสุด  มีพระพุทธเจ้า  รองลงมาเป็น  พระปัจเจกพุทธเจ้า ต่ำลงมาเป็น พระอนุพุทธเจ้า

เป็น บุญใหญ่ ใน พริบตา  ชั่วขณะจิต  ตอนจิตละ  อวิชชา  เป็น การตรัสรู้พระธัมมะ  สู่ สภาวธัมมะ แห่ง อรหันตบุคคล

การลงทุน ที่ จิตดวงน้อย ตาเปล่ามองไม่หัน แต่ มี ผลใหญ่  อานิสงส์ใหญ่



IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 05 กันยายน 2014, 23:41:51 »

บุญที่ผมเน้นทำไม่ใช่ด้วยเงินทอง หรือ ทรัพย์สมบัติ ทรัพย์สิน

แต่เน้นที่การ "  ปฏิบัติ " ลดละสิ่งที่ไม่ดีงามทาง กาย  วาจา และใจ

สิ่งที่มากระทบคือ ผัสสะ รับรู้แล้วปล่อยวาง

ในความหมายของผมจากกระทู้ อยู่ที่การกระทำ การปฏิบัติด้วยตนเอง

เป็นการลงทุนที่น้อยที่สุด และได้ผลมากที่สุดครับ

มากกว่าการสร้างสิ่งของ วัตถุที่ใหญ่โต  ทรัพย์สินต่างๆเสียอีก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 06 กันยายน 2014, 11:58:23 โดย Sunan_rao » IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 05 กันยายน 2014, 23:52:51 »

การทำบุญ ที่ สุนันท์ นำมาว่า  ออกไปในแนวบ้าน ๆ เน้นทำบุญด้วย เงินทองข้าวของมีค่า สมบัติ ที่ ครอบครอง  เพื่อ ทำให้กิเลสเบาลงไป นี่มีส่วนอยู่ แต่ ยังไม่หมด  เนาะ

ความหมายนี้ ท่านคิดว่าอาจจะเน้นการทำบุญด้วยเงินทอง ข้าวของที่มีค่า

แต่ความหมายของหัวข้อคือ " อย่าลงทุนมาก แต่ได้ผลบุญน้อย "

ที่จริงคำตอบนี้มีในหนังสือ " สงสัยมั๊ย ? ธรรมะ "

ที่ผมตั้งกระทู้และอ้างอิงจากในหนังสือ

หากท่านดูกระทู้นั้น ท่านจะเข้าใจและไม่ตีความไปในอีกทาง

และในหนังสือเล่มนี้ก็มีขายใน 7-11 ราคาเพียง 49.-

ท่านก็จะเข้าใจหัวข้อกระทู้นี้ว่า

" อย่าลงทุนมาก แต่ผลบุญน้อย "

ที่จริงความหมายนี้ตีความหมายง่ายเพียงนิดเดียว

เราลงทุนสร้างวัตถุสิ่งของใหญ่โตมากมาย มหาศาล

ทุกสิ่งเป็นเพียงสิ่งสมมติ ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน

สิ่งที่ลงทุนน้อยที่สุดก็คือ การปฏิบัติ รักษาศีล ปฏิบัติธรรม

เพื่อให้พบหนทางดับทุกข์ ความสงบด้วยตนเองต่างหาก

นี่คือความหมายของหัวข้อนี้

" ธรรมะถ้าไม่ปฏิบัติ ก็ไม่บรรลุในหนทางดับทุกข์ ทุกสิ่งต้องปฏิบัติด้วยตนเองเท่านั้น "
IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 05 กันยายน 2014, 23:58:36 »

เรารู้เพียงเปลือกไม้ ยังไม่ถึงแก่นไม้ แก่นธรรม

ที่แท้จริง เรารู้เพียงผิวเผินเพียงเท่านั้น นั่นคือสิ่งที่เราต้องเตือนตนเอง

รู้ธรรมะเพียงคำสอน แต่ยังไม่รู้การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง

เราจะสอนผู้อื่นได้อย่างไร ฮืม

คำสอน ก็คือ คำสอน

แต่การปฏิบัติ สำคัญกว่าคำสอน

นี่คือหนทางดับทุกข์ที่แท้จริงมิใช่หรือ ?
IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2014, 00:03:09 »

คำตอบที่แท้จริงอยู่ในเล่มนี้ครับ แปลว่าท่านยังไม่ไดัอ่าน แต่ก็มิได้ความว่าท่านผิด แต่ถ้าอ่านก็พอจะเข้าใจความหมายนี้ดี

   เมื่อครั้งผมยังเด็กผมคิดว่า เรื่องธรรมะ เป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยากและคิดว่าใครหลายๆคน ก็คงเป็นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก , วัยรุ่น , วัยผู้ใหญ่ และวัยประสบการณ์สูง แต่หลังจากที่ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือ        “ สงสัยมั้ย?ธรรมะ ” แล้วทำให้ผมมีมุมมองในเรื่องดังกล่าวเปลี่ยนไป เรื่องของธรรมะ เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด เป็นเรื่องที่ทุกคนที่ได้อ่านไม่ว่าจะเป็น วัยเด็ก , วัยรุ่น , วัยผู้ใหญ่ และวัยประสบการณ์สูง สามารถเข้าใจได้ง่าย เมื่อได้มีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มนี้ นับว่าเป็นหนังสือธรรมะ ที่เปิดมุมมองใหม่ๆ ให้กับคนที่ยังไม่มีเวลาได้ศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมะมากนัก โดยในหนังสือดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจมาจากพระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 19

    โดยในหนังสือเล่มนี้จะช่วยไขข้อข้องใจที่ว่า


    " ทำไม การทำบุญสมัยนี้ ลงทุนมาก แต่ถึงได้ผลบุญน้อย "

    " ทำไม คนเราสมัยนี้เป็นทุกข์ เพราะความคิด "

    จริงหรือไม่? การลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้ผลบุญมากที่สุด ของการทำทาน คือ " การให้อภัยทาน "

     และ สุดท้ายคุณจะเข้าใจถึงสัจธรรม ที่ว่า “ การใช้ชีวิตด้วยสติปัญญา ไตร่ตรองให้เห็นถึงเหตุและผล ของสิ่งที่เป็นไปตามความเป็นจริงของสรรพสิ่ง ใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท คิดก่อนพูด ก่อนทำ เป็นการลงทุนที่น้อย แต่ได้ผลบุญมากที่สุด  “

ชื่อหนังสือ      :  สงสัยมั้ย ? ธรรมะ

เรื่อง            :  ชัยพัฒน์ ทองคำบรรจง

ภาพประกอบ   : วีระชัย   ดวงพลา

สำนักพิมพ์     : A THING ( บริษัท แอสมีเดีย จำกัด )

จำนวนหน้า     : 160 หน้า

ชนิดกระดาษ   : กระดาษถนอมสายตา


* image.jpg (81.76 KB, 480x640 - ดู 80 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 06 กันยายน 2014, 12:00:41 โดย Sunan_rao » IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2014, 00:09:39 »

กัมม์ คือ การทำ การทำบุญ ทำบาป ที่เขา ว่า บุญ อยู่ส่วนบุญ  บาปอยู่ ส่วนบาป เป็น คำแบบโลก ๆ ว่ากัน     พระพุทธเจ้า กล่าวในเตปิฏก ว่า กัมม์ มี 4 แบบ

กุสลกัมม์บุญดีงามหลวกแหลมฉลาดล้วน   
อกุสลกัมม์ผิดโง่ง่าวล้วน ๆ   
กุสลกัมม์ปนอกุสลกัมม์หลวกผสมง่าว เป็น หลึก     
และ อัพพยากตธัมมะ กัมม์ที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงทำนายแยกแยะ

บุญยิ่งกว่าบุญ คือ ทำกุศล คือ  การทำความฉลาด เป็น บุญบริสุทธิ์ ที่ บริบูรณ์ ๆ คือ เต็มเปี่ยม  คำเมือง ว่า สุ้ม

ละทั้งชั่ว ละทั้งดี เข้าสู่ อัพพยากตาธัมมะ  จนถึงพระนิพพาน  บันลุพระอรหันตบุคคล  เป็น บุญอันสูงสุด  มีพระพุทธเจ้า  รองลงมาเป็น  พระปัจเจกพุทธเจ้า ต่ำลงมาเป็น พระอนุพุทธเจ้า

เป็น บุญใหญ่ ใน พริบตา  ชั่วขณะจิต  ตอนจิตละ  อวิชชา  เป็น การตรัสรู้พระธัมมะ  สู่ สภาวธัมมะ แห่ง อรหันตบุคคล

การลงทุน ที่ จิตดวงน้อย ตาเปล่ามองไม่หัน แต่ มี ผลใหญ่  อานิสงส์ใหญ่




ส่วนตรงนี้ท่านตีความหมายไปไกลเลย ถามว่าถูกไหมก็ถูกตามแนวคิดของท่าน
แต่ไม่ถูกตามหัวข้อของกระทู้ที่วางไว้ ความหมายถูกต้องในแนวความคิดคำตอบของท่าน
แต่ไม่ถูกต้องในหัวข้อ " อย่าลงทุนมาก แต่ได้ผลบุญน้อย "

อ้างอิงจากหนังสือ " สงสัยมั๊ย ? ธรรมะ "




* image.jpg (81.76 KB, 480x640 - ดู 84 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2014, 00:27:39 »

นี่คือปรัชญาและนัยยะที่แอบแฝงไว้ให้คิดครับ

หัวข้ออ่านจะสั้นนิดเดียว แต่ความหมายมันลึกซึ้งครับ

อ่านแล้วคิด อย่าเพิ่งตีความเองในรวดเดียว

คิดให้ลึกซึ้ง แล้วจะพบทางธรรมครับ

เป็นยิ่งกว่าคำสอนที่ยาวๆ แต่นี่สั้นๆ อ่านแล้วทะลุครับ
IP : บันทึกการเข้า
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2014, 02:22:19 »

ไหว้สา พระธัมมวินัย  สายบุญ

ผม ขอทราบความเห็นผู้อื่น ว่า หนังสือนี้  บางประเด็น มีบอกถึง

การทำบุญ คือ ทาน

ทานอันได้บุญใหญ่ ลงทุนน้อยสุด  ได้กำไรมาก ๆ  คือ    อภัยทาน      มีนัยยะ ว่า  อภัยทาน สูงสุดแล้ว ไม่ต้องใช้เงินทอง ข้าวของ มาทำทาน



ขออ้างจาก Sunan_rao

"อย่าลงทุนมาก แต่ได้ผลบุญน้อย"
โดยส่วนใหญ่คนเวลาทำบุญจะอธิฐานให้ชาติหน้าได้เกิดเป็นคนที่มีสติปัญญาดี ไม่ลำบาก ก็คือยังมีกิเลส(ความอยาก)ในการทำบุญทำบุญเพื่อหวังสิ่งตอบแทน ส่วนใหญ่คนเราทำบุญเพื่อความสุข เพื่อหวังแต่เพียงบุญ แต่สุข ฯลฯ

การทำบุญที่แท้จริงนั้นคือ

การละความยึดถือยึดมั่น ความโลภ ความหลง    ต่อสมบัติ ที่ครอบครอง  เป็นการกระทำที่ทำให้กิเลสเบาบางลง
คำตอบที่แท้จริงอยู่ในเล่มนี้ครับ แปลว่าท่านยังไม่ไดัอ่าน

    เมื่อครั้งผมยังเด็กผมคิดว่า เรื่องธรรมะ เป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยากและคิดว่าใครหลายๆคน ก็คงเป็นเช่นกัน

                ฯลฯ

หนังสือเล่มนี้ นับว่าเป็นหนังสือธรรมะ ที่เปิดมุมมองใหม่ๆ ให้กับคนที่ยังไม่มีเวลาได้ศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมะมากนัก โดยในหนังสือดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจมาจากพระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 19

    โดยในหนังสือเล่มนี้จะช่วยไขข้อข้องใจที่ว่า


    " ทำไม การทำบุญสมัยนี้ ลงทุนมาก แต่ถึงได้ผลบุญน้อย "

    " ทำไม คนเราสมัยนี้เป็นทุกข์ เพราะความคิด "

    จริงหรือไม่? การลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้   ผลบุญมากที่สุด ของการทำทาน คือ " การให้อภัยทาน "   

     และ สุดท้ายคุณจะเข้าใจถึงสัจธรรม ที่ว่า “ การใช้ชีวิตด้วยสติปัญญา ไตร่ตรองให้เห็นถึงเหตุและผล ของสิ่งที่เป็นไปตามความเป็นจริงของสรรพสิ่ง ใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท คิดก่อนพูด ก่อนทำ เป็นการลงทุนที่น้อย แต่ได้ผลบุญมากที่สุด  “






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 06 กันยายน 2014, 02:36:35 โดย nantong » IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2014, 02:47:44 »

ไหว้สา  พรธัมมวินัย  สายบุญ

ต้องกราบขอสมมาอภัย ที่  ไม่ได้เอาใจ  ด้วยการแสดงความเห็นให้คล้อยตาม  หัวข้อ อย่าลงทุนมาก แต่ ได้ผลบุญน้อย

ไม่ได้คล้อย ว่า อภัยทาน ยิ่งใหญ่กว่าทานอื่นใด  ด้วยไปขัดพระบาลี ว่า  การให้ธัมมทาน คือ การให้ความรู้ ทางธัมมะ รวมถึง ความรู้เรื่องทางโลก  ยิ่งใหญ่กว่า การให้ทาน ด้วยเงินทองอามิสข้าวของวัตถุ

ด้วยเมื่อเทียบกับ พระบาลี พระพุทธวจนะ ปาพจนะ ที่ว่า  การให้ธัมมทาน  ชนะการให้อย่างอื่นหมด  :   สพฺพทานํ  ธมฺทานํ  ชินาติ  



สาธุ ๆ ๆ อนุโมทามิ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 กันยายน 2014, 00:28:48 โดย nantong » IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2014, 06:29:55 »

ผมไม่ได้หมายความว่าท่านผิดหรือไม่ผิดหรอกครับ
เพราะในความหมายผมไม่ได้บอกว่าท่านผิดที่ไม่ได้อ่านหนังสือ
หรือท่านถูกที่ท่านอ่านหนังสือ

ทานที่ยิ่งใหญ่ มีความหมายถึง การให้อภัยทาน

ผมไม่รู้ว่าใครวางหลักเอาไว้ หรือรับรองจากพระศาสดาเอาไว้
จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ทุกสิ่งย่อมแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
ทุกสิ่งย่อมไม่จีรังแน่นอน แม้นแต่สถานที่ ประสูติ  ตรัสรู้  นิพพาน ของพระองค์ก็ย่อมเสื่อมลงไปตามกาลเวลา
แม้นแต่ตัวเราเองก็ยังไม่เที่ยงแท้


สำหรับคำสอน จากกาลเวลาในอดีตมาถึงปัจจุบัน ก็ย่อมมีผิดเพี้ยนไปบ้าง
มีการแปลความหมายผิดไปบ้าง
แต่สิ่งดีๆ เราเองก็ยึดถือไว้ปฏิบัติก็เท่านั้นเอง
เพียงแต่อย่ายึดถือ รู้จักปล่อยวาง ตามคำสอนที่มีมา
IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2014, 06:36:17 »

ผม ขอกราบเรียนถามสายบุญ ว่า ระหว่าง พระพุทธเจ้า  กับ  สมเด็จพระสังฆราช องค์ใดก็ตาม ใครเป็นผู้ตั้งพระศาสนา  ?  ระหว่าง คำตรัสพระศาสดา กับ คำตรัสสอนโดยพระสังฆราช ใครใหญ่กว่าหรือ สำคัญกว่ากัน ?

แล้ว หลักมหาปเทส 4   กับ กาลมสูตร  ใครวางหลักเอาไว้ ?


คำตอบนี้.....

พระพุทธเจ้า เป็นศาสดา
พระสังฆราช ก็เป็นทายาทของพระศาสดา
หลักมหาปเทส 4 กับ กาลามสูตร พระพุทธเจ้าวางคำสอนเอาไว้

คำสอนที่พระสังฆราชนำมาสอนก็นำมาจากพระพุทธองค์
นำมาเผยแผ่ให้เราได้รับรู้และปฏิบัติ

ใครรับรองคำสอนของพระสังฆราชท่าน
ต้องไปกราบเรียนถามท่านเองครับ
IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2014, 06:42:11 »

ที่ผมนำหนังสือนี้มาแนะนำก็เพราะหนังสือนี้สร้างปัญญา
ชี้ทางสว่างให้แก่หลายๆคน เป็นสิ่งดีๆ อ่านง่าย มีการ์ตูนทำให้อยากติดตามเปิดดู

ส่วนคำรับรองนั้น ต้องไปเรียนถามผู้พิมพ์เองครับ
IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2014, 07:29:09 »

จะว่าไปเเล้วหลักกาลามสูตรทั้ง 10 ข้อนั้น

สรุปแล้วอย่าเพิ่งเชื่อคำที่บอกเล่าต่อๆกันมา
อย่าเพิ่งเชื่อคำที่พระพุทธองค์พูด
อย่าเพิ่งเชื่อ ถ้ายังไม่ปฏิบัติเอง

เเล้วหลักกาลามสูตรใครเป็นคนยืนยันและรับรองหลักนี้
ทุกสิ่งทุกอย่างในคำสอนก็เป็นการบอกเล่าสืบต่อกันมา

เพราะพระพุทธองค์เองก็ล่วงลับดับขันธ์ไปแล้ว
สิ่งที่เราเห็นก็คือ พระธรรมคำสอนของท่านที่มีการชำระพระไตรปิฏกมาหลายครั้ง
บางครั้งก็ชำระผิดเพี้ยนไป ต้องชำระใหม่
แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
ใครมารับรองการชำระ ก็เป็นทายาทของพระพุทธองค์
ถ้าชำระเพี้ยน คำสอนของพระพุทธองค์ก็เพี้ยน
แม้นแต่สิ่งที่ผมหรือท่านนำมากล่าวก็นำมาอ้างอิงจากส่วนที่มีการชำระพระไตรปิฏกนั้น

พุทธวจน หรือ คำบาลีที่กล่าวอ้าง ที่ท่านกล่าวว่ามีใครรับรองไหม
เพราะคำๆนี้ เราก็ได้ยินมาจากพระท่านพูด จากในหนังสือบ้าง หรืออื่นๆบ้าง
นำกล่าวกันต่อมา ถ้าจะผิดก็ผิดที่เริ่มต้นการนำคำๆนี้มาเผยแผ่แต่เเรกแล้ว
ใครรับรองว่าเป็นของพระพุทธองค์ ต้องไปหาคนๆแรกที่กล่าวคำๆนี้
แต่ใครจะเป็นคนไปหาค้นคว้าหาผู้รับรองละ ??

ยังไงก็ตามแต่คำสอนที่ดีก็ควรปฏิบัติ นำมาบอกกล่าวกันต่อไป
เพียงแต่อย่าเพิ่งเชื่อ อย่าไปยึดถือ นอกจากการปฏิบัติเรียนรู้ด้วยตนเอง
แม้นเเต่หลักกาลามสูตร 10 ข้อ ก็อย่าเพิ่งเชื่อทั้งหมด
ไตร่ตรองใคร่ครวญหลัก 10 ข้อให้ดีเสียก่อน....เเล้วค่อยเชื่อหลักๆนี้


สรุปเเล้วมันก็คือ      การกระทำ การปฏิบัติด้วยตนเองทั้งสิ้น
คำสอนใดๆจะไม่บรรลุผลได้เลยถ้าไม่ปฏิบัติ
ในหนังสือเล่มนี้ก็เป็นเพียงเเสงเทียนเล่มน้อยๆ ชี้ทางสว่างให้เเเก่คนอ่าน
อ่านแล้วอย่าเพิ่งเชื่อ ต้องใคร่ครวญคำสอนในหนังสือเสียก่อน
ผิดหรือไม่ผิดที่อ่าน
ตรงนี้ไม่สำคัญ แต่ปัญญาที่ได้อ่านจากหนังสือสำคัญมากกว่า

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 06 กันยายน 2014, 07:32:15 โดย Sunan_rao » IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2014, 07:40:13 »

หลักกาลามสูตร 10 ข้อนี้ผมก็เห็นในสวนโมกข์น่ะครับ
ที่ท่านพุทธทาสเขียนเอาไว้
ผมถามลูกชายท่าน เมตตา พานิช ว่าท่านแปลหลักๆนี้มาจากไหน
ท่านเมตตาบอกผมว่า ท่านพุทธทาสท่านค้นคว้าหาคำแปลนี้ด้วยตัวท่านเอง
ท่านแปล ศึกษาและค้นคว้ามาจากตัวท่านเอง

แล้วหลักๆนี้ ใครรับรองว่าเป็นของพุทธองค์
สงสัยผมต้องไปกราบเรียนท่านพุทธทาส
แต่หลักๆนี้ ผมเองก็นำมาปฏิบัติไตร่ตรองก่อนเสมอ
ในการฟังพระธรรมคำสอนจากหนังสือ จากพระ หรือคนอื่นๆ


สำหรับสิ่งที่ท่านบอก ใครผู้วางหลักเอาไว้ ใครเป็นผู้ตรัสคำสอนนี้
ก็คงหนีไม่พ้น พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์
คำสอนก็มานำมาจาก พระพุทธองค์
คนเผยเเผ่ก็คือ ทายาทของพระพุทธองค์
คำสอนนี้ก็มาจากทายาทของพระพุทธองค์
นำมาขยายความ เผยแผ่ออกไป สอนผู้คนต่อๆกันไป

แล้วใครละรับรองคำสอนนั้นว่า จริง  หรือ ไม่จริง
แม้นแต่คำสอนหลักที่ท่านกล่าวอ้างกับผม
ใครรับรองคำสอนท่านว่าจริงหรือไม่จริง

ในเมื่อคำสอนท่าน คำกล่าวท่าน ก็เรียนรู้มาจากตำรา  พระธรรม พระไตรปิฏก
และพระไตรปิฏก คำสอน ชำระความมาจากไหน ??

ก็มาจาก  พระสงฆ์ ที่มีการชำระสืบต่อๆกันมา
แล้วใครรับรองหลักคำสอนอันนี้ ก็คือ......    พระสงฆ์  มิใช่หรือ ?


พระสังฆราช ก็เป็นพระสงฆ์ แล้วใครรับรองคำสอนของพระสงฆ์ว่าเป็นของพระพุทธเจ้าว่าจริงหรือไม่จริง


ในเมื่อสิ่งที่ท่านรู้ ผมรู้ มาจากที่ๆเดียวกัน คือ....
พระไตรปิฏก พระธรรมคำสอน มาจากผู้รู้ คือ พระสงฆ์

เรียบเรียงและชำระต่อๆกันมาหลายๆครั้ง
ท่านนำคำกล่าวนี้มาจากการบวชเรียน มาจากตำรา หรือศึกษาด้วยตนเอง
ก็มาจากในหนังสือ

ใครรับรองว่าเป็นของพุทธองค์ จริงหรือไม่จริง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 06 กันยายน 2014, 08:18:44 โดย Sunan_rao » IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2014, 08:00:52 »

ทาน ที่ให้มากกว่าทานคือ "  อภัยทาน "
คือ การให้อภัยแก่กัน ไม่พยาบาทต่อกัน สิ่งที่ผิด แม้นผู้ถูกกล่าวหาว่าไม่ผิด
แต่ผู้ถูกกล่าวหาก็ยังให้อภัย ไม่ผูกเวร ผูกกรรมต่อกัน


นับเป็นสิ่งที่ดี เพราะผู้ให้อภัยทานนั้นนับว่าให้ทานที่ยิ่งใหญ่
เพราะให้ทานด้วย ใจที่บริสุทธิ์ ไม่ก่อกรรมก่อเวรต่อกัน
เมื่อไม่มีการก่อเวร กรรมก็ไม่บังเกิด
เกิดการเข่นฆ่าฟัน ทำลายล้างกัน ฆ่ากันตาย
นับว่าเป็นการประเสริฐยิ่งนัก


ทาน มิได้หมายความถึง ทานที่ให้ด้วยการให้ทรัพย์สินเงินทองเพียงอย่างเดียว
อย่างอื่นก็เป็นการให้ทานได้ เช่น การให้ทานด้วยกำลังแรงของตนเอง ก็เป็นทานอย่างหนึ่ง

อภัยทาน จึงเป็นทานที่ประเสริญ
เพราะยากนักที่มีผู้ปฏิบัติได้ ส่วนมากมักจะโกรธขึ้ง จองเวรต่อกัน
ทำร้าย ทำลายกัน ฆ่าฟันกัน เพราะไม่ให้ " อภัย " แก่กัน

แล้วท่านว่า การรู้จักให้อภัยแก่กัน มันดีไหม ?


เป็นการลงทุนน้อย แต่ได้ผลบุญมาก



คำกล่าวนี้หากหาผู้รับรองว่าเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้ารับรองไหม ฮืม
ยากที่จะหาผู้ยืนยัน เพราะกล่าวสืบต่อๆกันมา
จากในหนังสือ จากพระสงฆ์ หรือ แม้นแต่ในที่อื่นๆก็ยังกล่าวต่อๆกันมา
ไม่มีใครรับรองว่าเป็นของพุทธองค์ จริง  หรือ ไม่จริง
ผู้รับรอง อาจมีชีวิตอยู่ หรือ ไม่อยู่เเล้ว

แล้วจะยึดติดคำสอน อาจารย์ไปทำไมกันเล่า
ในเมื่อคำสอนดี ก็น้อมนำมาปฏิบัติ นำมาสอนตนเอง
มันดีไม่ใช่หรือ ฮืม
กว่าจะมายึดติดคำสอน หลักนั่น หลักนี่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 06 กันยายน 2014, 08:29:11 โดย Sunan_rao » IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2014, 10:15:37 »

ผมขออภัยด้วย ที่ทำให้ท่านเข้าใจผิดในความหมายที่สื่อออกมา
และทำให้ท่านเข้าใจผิดในกระทู้หลายๆอย่าง

ผมเห็นสิ่งดีๆก็นำมาเเนะนำ นำมาอ้างอิงเผยเเผ่ให้คนได้อ่านกัน
ผมมิอาจกล่าวว่า ท่านผิด หรือ ท่านถูก ที่ท่านมิได้อ่านหนังสือเล่มนี้
เพียงแต่เสนอเเนะว่า อยากให้หลายๆคนนั้นได้หามาอ่าน
เพื่อเสริมสร้างปัญญาในการอ่านและคิดศึกษาพระธรรม พระพุทธศาสนา
อ่านเเล้วทำให้มองได้กว้างมากยิ่งขึ้นดีกว่ามานั่งถกว่าใครถูดหรือผิด
ผิด ส่วนที่ในหนังสือนำมากล่าวอ้างนั้น ทางหนังสือเเจ้งว่า นำมาจากคำสอนของทาสนพุทธทาสภิกขุ
และสมเด็จพระสังฆราช และทางหนังสือได้นำคำสอนนั้นมาเผยเเผ่ต่อเป็นการ์ตูนทำให้เข้าใจได้ง่าย


หัวข้อกระทู้ดังที่ได้กล่าวไว้ ที่ผมนำมาจากหนังสือนั้น
จึงจำเป็นต้องกล่าวอ้างที่มาถึงกระทู้นี้ จะไม่กล่าวถึงที่มามิได้
เพียงแต่ผมเห็นว่าดี ผมจึงมาเสนอเเนะเพียงเท่านั้น
IP : บันทึกการเข้า
naylex
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,993



« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2014, 12:20:04 »

สิ่งที่ท่านพูดจาแลกเปลี่ยนกัน เป็นความรู้ กับความคิดส่วนบุคคล
ผมไม่อยากให้กล่าวอ้างถึงพระพุทธเจ้า หรือพระสังฆราช นะครับ

ยังไงในทางโลกุตรวิสัย เราอาจรู้ไม่เท่าท่านอยู่แล้ว

 ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

ปรารถนาสารพัดในปฐพี เอาไมตรีแลกได้ดั่งใจจง
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2014, 13:08:16 »

สิ่งที่ท่านพูดจาแลกเปลี่ยนกัน เป็นความรู้ กับความคิดส่วนบุคคล
ผมไม่อยากให้กล่าวอ้างถึงพระพุทธเจ้า หรือพระสังฆราช นะครับ

ยังไงในทางโลกุตรวิสัย เราอาจรู้ไม่เท่าท่านอยู่แล้ว

 ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ


เรื่องนี้ผมไม่เถียงครับ
แต่คำสอนที่ผมนำมาจากหนังสือ....ก็เป็นกล่าวอ้างมาจากคำสอนของท่าน
และได้ทำเป็นหนังสือออกมา

สำหรับปัญญาผมมิอาจรู้เทียบเท่าทัน
แต่ผมจำเป็นต้องกล่าวถึงที่มาและคำสอนของท่านในการอ้างอิง
ต้องให้ความเคารพถึงที่มา คำสอนที่นำมาเผยแผ่
จะเป็นการผิดที่ผมไม่กล่าวอ้างอิงถึงที่มาของ....คำสอน ครับ
ต้องให้เกียรติถึงเเหล่งที่นำมาด้วยกันครับ ไม่งั้นเขาจะเรียกว่า copy. หรือคัดลอกมาโดยมิบอกแหล่งที่มาครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 06 กันยายน 2014, 13:11:17 โดย Sunan_rao » IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2014, 13:16:17 »

ขอแก้ไขน่ะครับ.......

หนังสือเล่มนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากพระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังราช
เพื่อให้สังคมไทยเข้าใจการทำบุญอย่างแท้จริง
 
 
 
หนังสือธรรมะแนวใหม่ยอดเยี่ยมของประเทศที่ใครๆก็ต้องหาอ่าน
 
 
 

 
 

 
 

 
 
"คุณ ไก่-มีสุข พิธีกรและผู้ประกาศข่าวชื่อดัง

เปิดอกว่า ตกหลุมรักหนังสือธรรมะเล่มนี้เข้าอย่างจัง"

 
 


* image.jpg (188.76 KB, 519x833 - ดู 64 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!