เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 เมษายน 2024, 01:33:32
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  ติดเครื่องราชฯ แบบผิดๆ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 [3] พิมพ์
ผู้เขียน ติดเครื่องราชฯ แบบผิดๆ  (อ่าน 71468 ครั้ง)
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #40 เมื่อ: วันที่ 29 ตุลาคม 2016, 19:53:32 »

ผมสงสัยแถบแพรแบบโบว์ ใช้ประดับกับชุดอะไรครับ เคยเห็นท่านปลัดใช้ประดับกับชุดกากี เคยถามแกว่าเพราะอะไรถึงไม่เหมือนคนอื่นๆแกบอกว่ามันเล็กดี



อันนี้เป็นแพรอย่างย่อครับ ชั้นตริตราภรณ์มงกุฎไทย ใช้ประดับอกเสื้อได้ทั้งชุดกากี และชุดปกติขาว ถ้าไม่ประดับแพรแถบที่เป็น 2-3 ชั้น แบบหลายๆ สี จะติดแพรแถบแบบนี้อันเดียว คือชั้นที่ได้รับพระราชทานสูงสุดก็ได้ครับ
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #41 เมื่อ: วันที่ 29 ตุลาคม 2016, 19:55:03 »

....ร้านจำหน่ายเครื่องหมายเครื่องแบบ ร้านเทพวัลย์ ร้านเยาวชน ครับ ถ่ายภาพด้วยมือถือให้พนักงานร้านหาดูว่ามีจำหน่ายหรือเปล่า.

ตอนนี้งงอยู่ว่าแบบแถบแพรโบว์ใช้ประดับกับชุดกากีได้รึป่าวครับบ้างคนเค้าว่าใช้กับเพราะปกติขาว
ทั้งทั้งกากี และปกติขาวครับ
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #42 เมื่อ: วันที่ 29 ตุลาคม 2016, 19:55:51 »

เเค่ผ่านมาอ่านเเต่ก่สนุกดีครับได้ความรู้เพิ่มอีกเเล้ว ขอบคุณเจ้าของกระทู้ครับที่เเบ่งปัน ความรู้ให้กับ เพื่อนสมาชิกครับ

ขอบคุณครับ ด้วยความยินดีครับ
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #43 เมื่อ: วันที่ 29 ตุลาคม 2016, 19:57:04 »

ผมสงสัยแถบแพรแบบโบว์ ใช้ประดับกับชุดอะไรครับ เคยเห็นท่านปลัดใช้ประดับกับชุดกากี เคยถามแกว่าเพราะอะไรถึงไม่เหมือนคนอื่นๆแกบอกว่ามันเล็กดี



...ท่านปลัดติดเฉพาะชั้นยศสูงสุดครับ แบบว่า แถมรวมหรือแถบใหญ่ ดังเช่นสมมุตินักเรียนประถม 4 ปักหน้าอกเสื้อ ป.1 , ป 2 , ป.3 , ป.4 คือ ปักทั้งหมด ทุกชั้นเลย.

...ท่านปลัด ปัก ป.4(สมมุติ) เพียงชั้นเดียว จึงเป็นอันเข้าใจว่าได้ผ่าน ป.3 , ป.2 , ป.1 มาแล้ว สรุป ท่านจึงบอกว่าเล็กดีไงครับ

ผมว่าสวยดีครับน้อยคนจะใช้แบบนี้ไม่ผิดใช่ไหมครับ ถ้าไม่ผิดผมจะได้สั่งซื้อบ้าง อิ_อิ แล้วไม่ทราบว่าเชียงรายมีขายไหมครับ

อันนี้เป็นแพรอย่างย่อครับ ชั้นตริตราภรณ์มงกุฎไทย ใช้ประดับอกเสื้อได้ทั้งชุดกากี และชุดปกติขาว ถ้าไม่ประดับแพรแถบที่เป็น 2-3 ชั้น แบบหลายๆ สี จะติดแพรแถบแบบนี้อันเดียว คือชั้นที่ได้รับพระราชทานสูงสุดก็ได้ครับ เชียงรายไม่น่าจะมีขายแบบนี้ครับ ปกติผมซื้อแถวเสาชิงช้าที่ กทม มีร้านขายเครื่องราชทุกประเภท หรือที่ศาลาเครื่องราชที่พระบรมมหาราชวัง หรือซื้อทางเน็ตก็ได้ครับ
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #44 เมื่อ: วันที่ 29 ตุลาคม 2016, 19:59:35 »

เจ้าของกระทู้น่าจะให้ความกระจ่างไม่มาก  
ดูภาพประกอบเลยครับ แพรแถบที่สามารถประดับได้  
ผู้ที่จะติดต้องเกิดก่อนอายุของแพรแถบที่ทรงโปรดเกล้าพระราชทาน  
ส่วนเครื่องราช  เป็นสิทธิ์ที่ข้าราชการมีสิทธิ์จะขอเมื่อรับราชการครบกำหนดครบเกณท์ที่ระเบียบการขอกำหนด  ครับ

แพรแถบที่สามารถประดับได้  
ผู้ที่จะติดต้องเกิดก่อนอายุของแพรแถบที่ทรงโปรดเกล้าพระราชทาน ที่กล่าวมาถูกต้องครับ
แต่บัญชีการขอพระราชทานนั้น จะไม่เหมือนกันครับ ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการหรือพนักงานมหาวิทยาลัย ข้าราชการทหาร ตำรวจ ใช้คนละบัญชีครับ ต้องไปดูที่กฎหมาย หรือ พรบ จัดตั้ง กระทรวง ทบวง กรม ที่สังกัดครับ ว่าจะใช้บัญชีไหน มีบัญชี 1-2-3-4 เป็นต้นครับ แต่ละบัญชีหลักเณฑ์ไม่เหมือนกันครับ
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #45 เมื่อ: วันที่ 29 ตุลาคม 2016, 20:03:13 »

สองปีขอหนึ่งครั้งดามเกณฑ์แต่ไม่เคยได้สักที ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้พิจารณาครับ

หน่วยงานที่ท่านสังกัดเป็นผู้พิจารณาครับ ถ้าในหน่วยงานท่านฝ่ายธุรการ ฝ่ายสาบรรณฯ หรือฝ่ายบุคคลที่ทำหน้าที่ไม่ขอ ไม่ดูแลผลประโชยน์ของบุคลากรในองค์กรก็เสียโอกาสไปนะครับ ถือว่าท่านไม่ประสงค์ขอรับพระราชทานเครื่องราช ของผมเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย งานบุคคลหรือการเจ้าหน้าที่จะเป็นคนดำเนินการ ก่อนครบกำหนดการขอเขาจะเวียนหนังสือแจ้งผู้เข้าเกณฑ์ทราบ เพื่อแสดงความจำนงพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนประกอบการขอ เพื่อทำบัญชีการขอพระราชทาน ส่งไปยังหน่วยงานต้นสังกัดส่วนกลาง คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือทบวงมหาวิทยาลัยเดิม เพื่อเสนอขอพระราชทานครับ
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #46 เมื่อ: วันที่ 29 ตุลาคม 2016, 20:04:01 »

เข้ามาอ่าน  ยิ้มกว้างๆ บางอย่างเหมือนตัวเองจะรู้ แต่รู้ไม่จริง (ตัวเองนี่หมายถึงนายสิงหา)

เราเรียนรู้ไปด้วยกันนะครับ บางอย่างผมก็ใช่จะรู้ครับ
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #47 เมื่อ: วันที่ 29 ตุลาคม 2016, 20:10:45 »

เป็นข้าราชการ เกิดปี 2526 รับราชการ 7 ปี แต่ยังไม่ได้ขอพระราชทานเครื่งอราชฯ
ต้องติดแถบไหนเนี้ย      


ามระเบียบสำนักนายกฯ  รับราชการครบ  5 ปี เริ่มขอได้แล้วครับ ส่วนจะเริ่มขอชั้นใดมีระเบียบ กำหนดไว้  ชัดเจน  ควรติดต่อฝ่ายบริหารงานบุุคคล  ของหน่วย เครื่องราชย์  เป็นสิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจของข้าราชการ  ควรให้ความสนใจ  ครับ  เพราะมีผลต่อการนับความอาวุโส  ในอนาคต

ขออนุญาตสงสัยอีกนิดคะว่า เครื่องราชย์ มีผลต่อการนับความอาวุโส  ในอนาคต อย่างไรคะ
จะได้เข้าใจถูกต้อง และปฏิบัติได้อย่างถูกต้องคะ

เครื่องราชไม่ได้ใช้ในการนับอาวุโสในการทำงานครับ อาวุโสการทำงานดูที่อายุงานและตำแหน่ง หรือระดับขั้น ชั้นยศ การได้รับเครื่องราชจะดูการบรรจุก่อนหลัง แต่ก็ใช่จะทุกกรณีไป บางท่านอาจทำความดีความชอบแก่ชาติบ้านเมืองใหญ่หลวง ถึงจะบรรจุหลังแต่ก็อาจจะได้รับพระราชทานเครื่องราชชั้นที่สูงกว่าคนที่บรรจุก่อนก็ได้ ขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัย หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ครับ แต่เมื่อเข้าไปอยู่ในงานพระราชพิธี หรือรัฐพิธี ที่ต้องแต่งกายเครื่องแบบเต็มยศ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด ตอนนี้แล่ะครับ ที่จะดูว่าผู้ใดได้รับพระราชทานชั้นสูงกว่าจะอยู่ลำดับแรก แล้วลดหลั่นกันไปตามชั้น เริ่มจากชั้นสายสะพายสูงสุด สายสะพายจักรีบรมราชวงศ์(เฉพาะพระบรมวงศานุวงศ์) นพรัตนราชวราภรณ์ ปฐมจุลจอมเกล้า มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก มหาวชิรมงกุฏ ลงมาเรื่อยๆ ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 31 ตุลาคม 2016, 09:00:56 โดย maekok_14 » IP : บันทึกการเข้า
jesa
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,151



« ตอบ #48 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2016, 07:40:58 »

เก็บๆ กระทู้ดี
IP : บันทึกการเข้า

maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #49 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2016, 09:49:45 »

เก็บๆ กระทู้ดี

ขอบคุณหลายครับ
IP : บันทึกการเข้า
ผีอี่ฅ้อญ
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 315


ฮักบ้านเฮา


« ตอบ #50 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2016, 10:24:40 »

หนับหนุน หนับหนุน
IP : บันทึกการเข้า

-
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #51 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2016, 11:08:16 »

หนับหนุน หนับหนุน

ขอบคุณครับท่าน ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
CaptainA
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« ตอบ #52 เมื่อ: วันที่ 18 พฤศจิกายน 2016, 20:13:12 »

ขอถามเป็นความรู้ครับ อยากทราบจริงๆ เพราะพยายมถามมาทั่วราชอาณาจักรแล้วเกือบทุกระดับชั้น แต่ยังไม่มีท่านใดให้คำตอบที่ถูกต้องเป็นหลักเกณฑ์/ระเบียบได้เลยครับ คำถามคือ (1) เหตุใดบางพระราชพิธี จึงกำหนดให้สวมสายสะพายเฉพาะบางตระกูลของเครื่องราชฯ และ (2) ใช้หลักเกณฑ์อะไรกำหนดว่าให้สวมสายสะพายกระกูลใด ขอยกตัวอย่าง บางพระราชพิธีกำนดให้แต่ง เครื่องแบบเต็มยศ สวมสายสะพายมงกุฎไทยเท่านั้น อีกพระราชพิธีกำหนดให้แต่ง เครื่องแบบเต็มยศ สวมสายสะพายช้างเผือกเท่านั้น ขอบคุณครับ 
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #53 เมื่อ: วันที่ 21 พฤศจิกายน 2016, 23:16:10 »

ขอถามเป็นความรู้ครับ อยากทราบจริงๆ เพราะพยายมถามมาทั่วราชอาณาจักรแล้วเกือบทุกระดับชั้น แต่ยังไม่มีท่านใดให้คำตอบที่ถูกต้องเป็นหลักเกณฑ์/ระเบียบได้เลยครับ คำถามคือ (1) เหตุใดบางพระราชพิธี จึงกำหนดให้สวมสายสะพายเฉพาะบางตระกูลของเครื่องราชฯ และ (2) ใช้หลักเกณฑ์อะไรกำหนดว่าให้สวมสายสะพายกระกูลใด ขอยกตัวอย่าง บางพระราชพิธีกำนดให้แต่ง เครื่องแบบเต็มยศ สวมสายสะพายมงกุฎไทยเท่านั้น อีกพระราชพิธีกำหนดให้แต่ง เครื่องแบบเต็มยศ สวมสายสะพายช้างเผือกเท่านั้น ขอบคุณครับ  

ครับ การแต่งกายเครื่องแบบเต็มยศ สวมสายสะพายนั้น เท่าที่ศึกษามาไม่มีระเบียบกำหนดไว้ชัดเจนครับ ว่างานอะไรจะต้องสวมสายสะพายชั้นใด ส่วนประเด็นที่สงสัย ว่า
(1) เหตุใดบางพระราชพิธี จึงกำหนดให้สวมสายสะพายเฉพาะบางตระกูลของเครื่องราช
ในประเด็นนี้ แต่เดิม ตั้งแต่โบราณคือเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้น เพื่อพระราชทานเป็นบำเหน็ดความชอบในราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นอีกหลายตระกูล เช่น จุลจอมเกล้า ช้างเผือก และมงกุฏไทย เมื่อมีการสถาปนาเครื่องราชในตระกูลนั้นขึ้น จึงเป็นพระราชนิยมว่าในการจะพระราชทานเครื่องราชตระกูลใด ก็จะทรงโปรดเกล้าให้แต่งกายและสวมสายสะพายในตระกูลนั้นๆ ซึ่งต่อมาพระราชนิยมดังกล่าวก็กลายมาเป็นราชประเพณี
(2) ใช้หลักเกณฑ์อะไรกำหนดว่าให้สวมสายสะพายกระกูลใด ขอยกตัวอย่าง บางพระราชพิธีกำนดให้แต่ง เครื่องแบบเต็มยศ สวมสายสะพายมงกุฎไทยเท่านั้น อีกพระราชพิธีกำหนดให้แต่ง เครื่องแบบเต็มยศ สวมสายสะพายช้างเผือกเท่านั้น ขอบคุณครับ  
ซึ่งตามที่ได้อธิบายตามข้อ 1 เมื่อพระราชนิยมในพระเจ้าแผ่นดิน ทรงโปรดเกล้าให้สวมสายสะพายตระกูลใดในงานพิธีใดแล้ว เมื่อมีการปฏิบัติบ่อยๆ ครั้ง หรือปฏิบัติต่อๆ กันมา ก็กลายเป็นราชประเพณี ซึ่งเราจะได้ยินบ่อยว่า การแต่งกายในงานพระราชพิธี เป็นไปตามโบราณราชประเพณีในอดีต
ยกตัวอย่างเช่น เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลจุลจอมเกล้า ซึ่งสถาปนาในรัชกาลที่ 5 สายสะพายมีสีชมพู ซึ่งเป็นสีประจำพระชนมวาร และเป็นเครื่องราชอันถือเป็นมงคล ทรงโปรดเกล้าให้สวมเฉพาะงานมงคลเท่านั้น ในงานอวมงคลจะไม่ทรงโปรด จึงถือเป็นราชประเพณี และในการบำเพ็ญพระราชกุศลในวันปิยมหาราช ในสมัยปัจจุบัน ก็ทรงโปรดเกล้าให้สวมสายสะพายจุลจอมเกล้า ซึ่งถือปฏิบัตมาจนถึงปัจจุบันเป็นต้น

หรือแม้แต่เครื่องราชฯ ในตระกูลดิเรกคุณาภรณ์ ซึ่งสถาปนาขึ้นในรัชกาลที่ 9 เมื่อมีพระราชพิธี หรือรัฐพิธีที่ทรงโปรดเกล้าให้ศิลปินแห่งชาติ หรือผู้ทำคุณประโยชน์เข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชทานเครื่องราช ก็จะทรงกำหนดให้สวมสายสะพายชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ อันเป็นเครื่องราชฯ ที่สถาปนาขึ้นในรัชสมัยของพระองค์เป็นต้น
ดังนั้นในหมายรับสั่ง เรื่องการแต่งกายเต็มยศ สวมสายสะพายชั้นใดตามที่กำหนด ก็ต้องสวมสายสะพายชั้นนั้นครับ  แต่หากคนใดที่ไม่ได้รับพระราชทานสายสะพายชั้นนั้น ก็สวมสายสะพายชั้นสูงสูดที่ตนได้รับ
แต่หากหมายรับสั่งว่าแต่งกายเต็มยศ สวมสายสะพายชั้นสูงสูด ก็แต่งตามชั้นที่ได้รับ ด้วยประการฉะนี้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 23 พฤศจิกายน 2016, 21:47:05 โดย maekok_14 » IP : บันทึกการเข้า
CaptainA
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« ตอบ #54 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2016, 22:26:22 »


ครับ การแต่งกายเครื่องแบบเต็มยศ สวมสายสะพายนั้น เท่าที่ศึกษามาไม่มีระเบียบกำหนดไว้ชัดเจนครับ ว่างานอะไรจะต้องสวมสายสะพายชั้นใด ส่วนประเด็นที่สงสัย ว่า
(1) เหตุใดบางพระราชพิธี จึงกำหนดให้สวมสายสะพายเฉพาะบางตระกูลของเครื่องราช
ในประเด็นนี้ แต่เดิม ตั้งแต่โบราณคือเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้น เพื่อพระราชทานเป็นบำเหน็ดความชอบในราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นอรกหลายตระกูล เช่น จุลจองเกล้า ช้างเผือก และมงกุฏไทย เมื่อมีการสถาปนาเครื่องราชในตระกูลนั้นขึ้น จึงเป็นพระราชนิยมว่าในการจะพระราชทานเครื่องราชตระกูลใด ก็จะทรงโปรดเกล้าให้แต่งกายและสวมสายสะพายในตระกูลนั้นๆ ซึ่งต่อมาพระราชนิยมดังกล่าวก็กลายมาเป็นราชประเพณี
(2) ใช้หลักเกณฑ์อะไรกำหนดว่าให้สวมสายสะพายกระกูลใด ขอยกตัวอย่าง บางพระราชพิธีกำนดให้แต่ง เครื่องแบบเต็มยศ สวมสายสะพายมงกุฎไทยเท่านั้น อีกพระราชพิธีกำหนดให้แต่ง เครื่องแบบเต็มยศ สวมสายสะพายช้างเผือกเท่านั้น ขอบคุณครับ  
ซึ่งตามที่ได้อธิบายตามข้อ 1 เมื่อพระราชนิยมในพระเจ้าแผ่นดิน ทรงโปรดเกล้าให้สวมสายสะพายตระกูลใดในงานพิธีใดแล้ว เมื่อมีการปฏิบัติบ่อยๆ ครั้ง หรือปฏิบัติต่อๆ กันมา ก็กลายเป็นราชประเพณี ซึ่งเราจะได้ยินบ่อยว่า การแต่งกายในงานพระราชพิธี เป็นไปตามโบราณราชประเพณีในอดีต
ยกตัวอย่างเช่น เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลจุลจอมเกล้า ซึ่งสถาปนาในรัชกาลที่ 5 สายสะพายมีสีชมพู ซึ่งเป็นสีประจำพระชนมวาร และเป็นเครื่องราชอันถือเป็นมงคล ทรงโปรดเกล้าให้สวมเฉพาะงานมงคลเท่านั้น ในงานอวมงคลจะไม่ทรงโปรด จึงถือเป็นราชประเพณี และในการบำเพ็ญพระราชกุศลในวันปิยมหาราช ในสมัยปัจจุบัน ก็ทรงโปรดเกล้าให้สวมสายสะพายจุลจอมเกล้า ซึ่งถือปฏิบัตมาจนถึงปัจจุบันเป็นต้น

หรือแม้แต่เครื่องราชฯ ในตระกูลดิเรกคุณาภรณ์ ซึ่งสถาปนาขึ้นในรัชกาลที่ 9 เมื่อมีพระราชพิธี หรือรัฐพิธีที่ทรงโปรดเกล้าให้ศิลปินแห่งชาติ หรือผู้ทำคุณประโยชน์เข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชทานเครื่องราช ก็จะทรงกำหนดให้สวมสายสะพายชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ อันเป็นเครื่องราชฯ ที่สถาปนาขึ้นในรัชสมัยของพระองค์เป็นต้น
ดังนั้นในหมายรับสั่ง เรื่องการแต่งกายเต็มยศ สวมสายสะพายชั้นใดตามที่กำหนด ก็ต้องสวมสายสะพายชั้นนั้นครับ  แต่หากคนใดที่ไม่ได้รับพระราชทานสายสะพายชั้นนั้น ก็สวมสายสะพายชั้นสูงสูดที่ตนได้รับ
แต่หากหมายรับสั่งว่าแต่งกายเต็มยศ สวมสายสะพายชั้นสูงสูด ก็แต่งตามชั้นที่ได้รับ ด้วยประการฉะนี้ครับ


ขอบคุณครับ ได้ความรู้เพิ่มครับ
แต่ขออนุญาตตั้งข้อสังเกตในข้อ (1) "...โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นอรกหลายตระกูล เช่น จุลจองเกล้า ช้างเผือก และมงกุฏไทย..." ว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก นั้น สถาปนะในสมัยรัชการที่ 4 ครับ

และอีกนิดหนึ่งในข้อ (1) "...ในการจะพระราชทานเครื่องราชตระกูลใด ก็จะทรงโปรดเกล้าให้แต่งกายและสวมสายสะพายในตระกูลนั้นๆ..." ว่า ในโอกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ นั้น ผู้ที่เข้าเฝ้าฯ จะแต่งกายในเครื่องแบบปกติขาวครับ จึงมิได้สวมสายสะพายในโอกาสเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเครื่องราชฯ

สำหรับคำถามหลักของผม จริงๆ ก็ไม่ได้จะถามอะไรซับซ้อนมากครับ ง่ายๆ คืออยากมีความรู้ว่า ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร (7 วัน) ที่เพิ่งผ่านมา และปัญญาสมวาร (50 วัน) ซึ่งได้กำหนดให้แต่งกายเครื่องแบบเติมยศ สวมสายสะพายมงกุฏไทย นั้น อยากทราบเฉยๆครับถึงภูมิหลัง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นแนวปฏิบัติมา แต่ก็คงมีคำอธิบายทางประวัติศาสตร์ถึงที่มาครับ แค่นี้เองครับผม ขอบคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2016, 22:28:39 โดย CaptainA » IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #55 เมื่อ: วันที่ 23 พฤศจิกายน 2016, 20:57:55 »


ครับ การแต่งกายเครื่องแบบเต็มยศ สวมสายสะพายนั้น เท่าที่ศึกษามาไม่มีระเบียบกำหนดไว้ชัดเจนครับ ว่างานอะไรจะต้องสวมสายสะพายชั้นใด ส่วนประเด็นที่สงสัย ว่า
(1) เหตุใดบางพระราชพิธี จึงกำหนดให้สวมสายสะพายเฉพาะบางตระกูลของเครื่องราช
ในประเด็นนี้ แต่เดิม ตั้งแต่โบราณคือเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้น เพื่อพระราชทานเป็นบำเหน็ดความชอบในราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นอรกหลายตระกูล เช่น จุลจองเกล้า ช้างเผือก และมงกุฏไทย เมื่อมีการสถาปนาเครื่องราชในตระกูลนั้นขึ้น จึงเป็นพระราชนิยมว่าในการจะพระราชทานเครื่องราชตระกูลใด ก็จะทรงโปรดเกล้าให้แต่งกายและสวมสายสะพายในตระกูลนั้นๆ ซึ่งต่อมาพระราชนิยมดังกล่าวก็กลายมาเป็นราชประเพณี
(2) ใช้หลักเกณฑ์อะไรกำหนดว่าให้สวมสายสะพายกระกูลใด ขอยกตัวอย่าง บางพระราชพิธีกำนดให้แต่ง เครื่องแบบเต็มยศ สวมสายสะพายมงกุฎไทยเท่านั้น อีกพระราชพิธีกำหนดให้แต่ง เครื่องแบบเต็มยศ สวมสายสะพายช้างเผือกเท่านั้น ขอบคุณครับ  
ซึ่งตามที่ได้อธิบายตามข้อ 1 เมื่อพระราชนิยมในพระเจ้าแผ่นดิน ทรงโปรดเกล้าให้สวมสายสะพายตระกูลใดในงานพิธีใดแล้ว เมื่อมีการปฏิบัติบ่อยๆ ครั้ง หรือปฏิบัติต่อๆ กันมา ก็กลายเป็นราชประเพณี ซึ่งเราจะได้ยินบ่อยว่า การแต่งกายในงานพระราชพิธี เป็นไปตามโบราณราชประเพณีในอดีต
ยกตัวอย่างเช่น เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลจุลจอมเกล้า ซึ่งสถาปนาในรัชกาลที่ 5 สายสะพายมีสีชมพู ซึ่งเป็นสีประจำพระชนมวาร และเป็นเครื่องราชอันถือเป็นมงคล ทรงโปรดเกล้าให้สวมเฉพาะงานมงคลเท่านั้น ในงานอวมงคลจะไม่ทรงโปรด จึงถือเป็นราชประเพณี และในการบำเพ็ญพระราชกุศลในวันปิยมหาราช ในสมัยปัจจุบัน ก็ทรงโปรดเกล้าให้สวมสายสะพายจุลจอมเกล้า ซึ่งถือปฏิบัตมาจนถึงปัจจุบันเป็นต้น

หรือแม้แต่เครื่องราชฯ ในตระกูลดิเรกคุณาภรณ์ ซึ่งสถาปนาขึ้นในรัชกาลที่ 9 เมื่อมีพระราชพิธี หรือรัฐพิธีที่ทรงโปรดเกล้าให้ศิลปินแห่งชาติ หรือผู้ทำคุณประโยชน์เข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชทานเครื่องราช ก็จะทรงกำหนดให้สวมสายสะพายชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ อันเป็นเครื่องราชฯ ที่สถาปนาขึ้นในรัชสมัยของพระองค์เป็นต้น
ดังนั้นในหมายรับสั่ง เรื่องการแต่งกายเต็มยศ สวมสายสะพายชั้นใดตามที่กำหนด ก็ต้องสวมสายสะพายชั้นนั้นครับ  แต่หากคนใดที่ไม่ได้รับพระราชทานสายสะพายชั้นนั้น ก็สวมสายสะพายชั้นสูงสูดที่ตนได้รับ
แต่หากหมายรับสั่งว่าแต่งกายเต็มยศ สวมสายสะพายชั้นสูงสูด ก็แต่งตามชั้นที่ได้รับ ด้วยประการฉะนี้ครับ


ขอบคุณครับ ได้ความรู้เพิ่มครับ
แต่ขออนุญาตตั้งข้อสังเกตในข้อ (1) "...โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นอรกหลายตระกูล เช่น จุลจองเกล้า ช้างเผือก และมงกุฏไทย..." ว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก นั้น สถาปนะในสมัยรัชการที่ 4 ครับ

และอีกนิดหนึ่งในข้อ (1) "...ในการจะพระราชทานเครื่องราชตระกูลใด ก็จะทรงโปรดเกล้าให้แต่งกายและสวมสายสะพายในตระกูลนั้นๆ..." ว่า ในโอกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ นั้น ผู้ที่เข้าเฝ้าฯ จะแต่งกายในเครื่องแบบปกติขาวครับ จึงมิได้สวมสายสะพายในโอกาสเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเครื่องราชฯ

สำหรับคำถามหลักของผม จริงๆ ก็ไม่ได้จะถามอะไรซับซ้อนมากครับ ง่ายๆ คืออยากมีความรู้ว่า ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร (7 วัน) ที่เพิ่งผ่านมา และปัญญาสมวาร (50 วัน) ซึ่งได้กำหนดให้แต่งกายเครื่องแบบเติมยศ สวมสายสะพายมงกุฏไทย นั้น อยากทราบเฉยๆครับถึงภูมิหลัง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นแนวปฏิบัติมา แต่ก็คงมีคำอธิบายทางประวัติศาสตร์ถึงที่มาครับ แค่นี้เองครับผม ขอบคุณครับ

ใช่ครับ ผู้ที่เข้ารับพระราชทานสายสะพายนั้น สวมเครื่องแบบปกติขาว ในความเข้าใจของผม ในสมัยราชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าให้สร้างดาราช้างเผือกขึ้น คือมีแต่ดวงดารา เช่นเดียวกับดวงดารานพรัตน์ มาในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าให้ตั้งระเบียบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรก และทรงให้สร้างสายสะพายประกอบดวงตรา
ในกรณีประเด็นคำถาม การแต่งกายด้วยการสวมสายสะพายมงกุฎไทย ไม่ได้กำหนดเฉพาะพระราชพิธีสัตตมวาร และปัญญาสมวารนะครับ ทั้งนี้ที่ผ่านมาในการถวายพระเพลิงพระหรือราชทานเพลิงพระศพเจ้านายแล้ว ในวันรุ่งขึ้นที่มีการเก็บพระบรมอัฐิ พระอัฐิ ก็โปรดเกล้าให้สวมสายสะพายมงกุฎไทยด้วย เพราะถือว่าเป็นวันรองจากวันหลัก (วันหลักสวมชั้นสูงกว่ามงกูฎไทย) รวมทั้งในการถวายผ้ากฐินในพระอารามหลวงบางพระอาราม โดยเฉพาะพระอารามที่เกี่ยวเนื่องในรัชกาลที่ 6 ด้วยเช่นกัน
นอกจากที่กล่าวมา การที่จะแต่งกายอย่างไรนั้น ต้องเป็นไปตามหมายกำหนดการที่สำนักพระราชวังระบุ หรือตามกำหนดนัดหมายของทางราชการ โดยพิจารณาความเหมาะสมหลายประการประกอบกัน เช่น ความเหมาะสมด้านสถานที่ (พระอารามหลวงเกี่ยวเนื่องในรัชกาลใด ) พิธีการ
(เป็นการเข้าเฝ้าฯ ตามปกติหรือวาระพิเศษ) หรือบุคคล (เป็นงานพระราชทานเพลิงศพผู้ใด) และดูความสำคัญของงานพระราชพิธีด้วยครับ
ท่านที่มีภูมิรู้ด้านนี้เป็นอย่างดีในยุคนี้คือศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรงศุ ครับ ซึ่งความรู้ส่วนหนึ่งผมก็ได้มาจากอาจารย์นี่แล่ะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 23 พฤศจิกายน 2016, 22:28:26 โดย maekok_14 » IP : บันทึกการเข้า
ar jarn jack
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 694



« ตอบ #56 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2017, 17:38:47 »

ผ่านไปผ่านมาหลายทีกับกระทู้นี้ เข้ามาอ่านจริงจัง เป็นประโยชน์และได้ความรู้ดีมากเลยครับ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!