เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 เมษายน 2024, 09:53:00
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  ศิลาจารึก..หลวงพระบาง..ย้อนรอยประวัติศาสตร์..อักษรไท (Tai)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ศิลาจารึก..หลวงพระบาง..ย้อนรอยประวัติศาสตร์..อักษรไท (Tai)  (อ่าน 960 ครั้ง)
Laos KBS
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: วันที่ 13 พฤศจิกายน 2010, 16:38:53 »





"Imagination is more important than knowledge"

ประวัติศาสตร์..การประดิษฐ์ตัวอักษรนั้น
เกิดจากการย่อ..ภาพ (Image)..มาเป็น..สัญญลักษณ์ (Symbol)
และจาก..สัญญลักษณ์ (Symbol)..ก็ย่อลงมาเป็นตัวอักษร (Alphabet)


มนุษย์ในยุคโบราณนั้น..เริ่มจดบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยภาพ (Image)
พอเริ่มมีความชำนาญขึ้น..ก็พัฒนาขึ้นเป็นการจดบันทึก..ด้วยสัญญลักษณ์ (Symbol)
หลังจากนั้นจึงเกิดจินตนาการ (Imagination)..ของการประดิษฐ์ตัวอักษร (Alphabet)


ภาพ..สัญญลักษณ์..ตัวอักษร..การย่อส่วนคือ..พัฒนาการนั่นเอง



ชนชาวธิเบต..เผ่าคำ (Khams)..กับชนเผ่าอ้ายลาว (Tai) นั้น
มีความผูกพัน..เกี่ยวโยงทางประเพณี..และวัฒนธรรม..มาแต่โบราณ
ในบริเวณต้นน้ำแยงซีเกียง..และความสัมพันธ์ที่น่าสนใจคือ..ตัวอักษร

ตารางการออกเสียง..ทั้งพยัญชนะ..และสระของชาวธิเบต..กับไท (Tai) นั้น
มีโครงสร้างและรูปแบบ..ที่มีความคล้ายกัน..เหมือนกับมีรากเหง้าเดียวกัน
การออกเสียง..พยัญชนะ..กะ ขะ คะ งะ..และสระ..อะ อา อิ อี อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน

มีที่มาเหมือนกัน..คือเขียนจากภาพของสัตว์..และสิ่งของที่อยู่รอบตัว..ในชีวิตประจำวัน
จะแตกต่างกันเพียง..รูปแบบการเขียน..ที่มีเอกลักษณ์..เป็นของตนเองเท่านั้น


ที่สังเกตุได้ง่ายนั้น..คือ ซ. ซ้าง..เป็นรูปของช้าง..ภาษาไทโบราณของเราก็เป็นรูปของช้าง
น. นก..ก็เป็นรูปของนก..ภาษาไทโบราณของเรา..ก็เป็นรูปนก (ไม่ใช่ น. หนู)
ม. ม้า..ก็เป็นรูปของม้า..ภาษาไทโบราณของเรา..ก็เป็นรูปของม้า
บ. ใบไม้  ล. ลิง และ ส. เสือ นั้น..เหมือนกับภาษไทโบราณ..ของเราเลย

ภาษาธิเบต..มีตัวอักษร 30 ตัว..อักษรไทโบราณ..อาจมีประมาณ 24 ตัวเท่านั้น
ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลง..ในภายหลัง..ที่มีพัฒนาการ..ที่ต่างกัน


การตามหาที่มา..ของอักษรไท (Tai) นั้น..

เริ่มต้นได้จากตารางพยัญชนะ..แล้วมองหาความสัมพันธ์กับ..สิ่งที่มีอยู่รอบตัวเรา





ศิลาจารึก..วัดวิชุนนะลาด..หลวงพระบาง..ปี พ.ศ. 1713 (840 ปี)

ในโลกนี้..มีชนชาติที่มีตัวอัษร..เป็นของตนเอง..ไม่มากนัก
และหนึ่งในนั้นคือ..บรรพบุรุษของชนชาวไท (Tai)..แห่งอาณาจักรอ้ายลาว


หลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้น..สามารถค้นคว้าได้มากมาย
ทั้งจากชาวไทอาหม (Ahom)..ที่มีบันทึกการอพยพ..จากอาณาจักรอ้ายลาว ในปี พ.ศ. 1215
บันทึกของชาวไทเหนือ (Tai Nua..หรือ Tai Dehong)..ที่อยู่ตอนบนของ..สิบสองพันนา

บันทึกของชนชาวไท..สิบสองพันนา..และชนชาวไทล้านนา
บันทึกของชาวไทใหญ่..ซึ่งมีลักษณะของชนชั้นปกครองเดิม..ของอาณาจักรไทเมือง

หลักฐานทั้งหมด..อาจนำไปสู่ดินแดน..ที่เป็นรากเหง้า..เป็นที่มาของอักษรไท (Tai)
ที่มีพัฒนาการ..ทางด้านภาษา..และวัฒนธรรม..ควบคู่มากับชนชาวธิเบตเผ่าคำ (Khams)


และดินแดนนั้นก็คือ..บรรพบุรุษของ..อาณาจักรอ้ายลาว..นั่นเอง


IP : บันทึกการเข้า
Carcamera Cr
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,226



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 13 พฤศจิกายน 2010, 18:39:34 »

ชอบแต้ๆ หลวงพระบาง ไปมา5รอบก็ยังชอบเหมือนเดิม ว่าจะไปรอบที่6 เร็วๆนี้ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

กล้องติดรถยนต์เชียงราย ศรีทรายมูล
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!