เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 เมษายน 2024, 02:25:14
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 3 4 5 [6] 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 406980 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #100 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 00:20:56 »

ทำนาปรัง 1 ตันต่อไร่ไม่ใช่เรื่องยากได้มากกว่าด้วยซ้ำ

หลายบริษัทชวนเชื่อให้ชาวนาให้ใช้ปุ๋ยเคมีบ้าง ฮอโมนบ้าง สารสกัดบ้างเพื่อเพิ่มผลิตแต่จากการทำนาปรังที่ผ่านมาทำให้รู้ว่า  การดูแลอย่างถูกวิธี  การใส่ปุ๋ยที่ถูกสูตร ถูกช่วงเวลามีความสำคัญมากช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ย  การเข้าใจธรรมชาติของต้นข้าว และที่สำคัญต้องรู้จักการกำจัดวัชพืช  การกำจัดและป้องกันแมลงศัตรูข้าว การให้น้ำ ซึ่งได้เอาเนื้อหามาให้ดูกันบ้างแล้วครับ  ส่วนนาปีถ้าหากเป็นพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงอย่าง กข. 15 มะลิ105  กข. 6  หากได้ผลผลิตเกิน 750  กก/ไร่ ก็ถือว่ามากพอแล้วครับ สรุปว่าผลผลิตที่ขายได้ต่อไร่ไม่ต่ำกว่าไร่ละ 1 หมื่นบาทสำหรับราคาในปัจจุบันก็น่าจะพอใจแล้วและจะต้องดูที่ทำให้ต้นทุนต่ำด้วยครับ


* 1251.jpg (112.17 KB, 640x480 - ดู 3323 ครั้ง.)

* 1257.jpg (114.19 KB, 640x480 - ดู 3228 ครั้ง.)

* IMG_6394_resize.JPG (252.31 KB, 750x1000 - ดู 3258 ครั้ง.)

* IMG_6372_resize.JPG (126.86 KB, 750x563 - ดู 3189 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 10 มกราคม 2013, 16:26:55 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 721



« ตอบ #101 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 09:16:58 »

 

  ท่านทำนาแค่3-4 ปีได้เท่านี้ก็สุดยอดแล้วครับ บางคนทำมาทั้งชีวิตยังไม่เท่าท่านทำเลยครับ เอามาลงเยอะๆนะครับจะเข้ามาศึกษาเรื่อยๆครับ อีกไม่นานคงกลับไปทำนาเหมือนท่านแหละครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #102 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 10:38:48 »

 

  ท่านทำนาแค่3-4 ปีได้เท่านี้ก็สุดยอดแล้วครับ บางคนทำมาทั้งชีวิตยังไม่เท่าท่านทำเลยครับ เอามาลงเยอะๆนะครับจะเข้ามาศึกษาเรื่อยๆครับ อีกไม่นานคงกลับไปทำนาเหมือนท่านแหละครับ

ขอบคุณครับที่ช่วยเป็นกำลังใจ รายละเอียดยังมีอีกครับยังไงจะมาลงเรื่อย  ๆ ครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #103 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 11:49:16 »

ว่าด้วยเรื่องการไถนา

ชาวนาในอดีตใช้แรงงานจากควายหรือกระบือในการไถนา แต่พอมีการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม ความเจริญ ถนนหนทาง ตลอดจนรูปทรงของบ้านในปัจจุบัน ไม่เอื้ออำนวยต่อการเลี้ยงควายเพื่อใช้ไถนาอีกต่อไป   การดำเนินชีวิตของคนสมัยก่อนเป็นไปอย่างเชื่องช้าและเรียบง่ายมากกว่าปัจจุบัน คนกับควายมีวิถีการดำเนินชีวิตที่ใกล้ชิดกันเป็นอย่างมาก ปัจจุบันนี้แม้อาจมีควายไถนาให้เห็นบ้างเพราะไม่เปลืองน้ำมัน เท้าของควายก็มีน้ำหนักน้อยกว่าเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ เวลาเหยียบดินแล้วดินจะไม่แน่นจนเกินไป แต่ทั้งนี้การใช้ควายก็มีผลต่อชีวิตสัตว์ที่มันต้องเหนื่อยต้องเจ็บตัว  ต่อมาก็เริ่มมีการใช้รถไถนาเดินตามเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 6-10 แรงม้า ราคาสมัยก่อนหมื่นกว่าบาท ปัจจุบันรวมอุปกรณ์ก็ตกราว ๆ 4-6 หมื่นบาทและต่อมาเมื่อชาวนามีอายุเพิ่มมากขึ้นการไถนาเดินตามก็ทำให้รู้สึกว่าเหนื่อย ช้าแต่ก็มีใช้งานกันอยู่ ทางเลือกใหม่ของชาวนาปัจจุบันจะเห็นกันคือรถแทรกเตอร์ครับ ที่เห็นกันอยู่มาก ๆ ก็เป็นพวกคูโบต้า กับยันม่าร์  มีขนาดรถให้เลือกตามกำลังเครื่องยนต์ ที่นิยมกันมากคือช่วงแรงม้า 30-40 แรงม้า  ราคารวมอุปกรณ์อยู่ราว ๆ 5 - 7 แสนบาท ข้อดีคือทำให้งานเสร็จรวดเร็วมากขึ้น ชาวนาสามารถทำนาได้มากขึ้นกว่าเดิม แต่ราคาก็สูงเจ้าของรถจึงต้องออกรับจ้างด้วยเพื่อให้คุ้มกับราคาของรถ สำหรับพื้นที่หล่มบางครั้งรถอาจติดหล่มจำเป็นอาจต้องให้รถแทรกเตอร์อีกคันลากออกจากหล่มชาวนาที่ใช้รถพวกนี้จำเป็นต้องมีลวดสลิงติดรถไว้เสมอ  แต่ก็อย่าลืมว่ารถยิ่งคันใหญ่ น้ำหนักก็มากอาจทำให้ดินแน่นมากกว่าเดิม ดินแน่นทำให้โครงสร้างของดินเสีย อากาศในดินมีน้อย รากข้าวเดินได้ลำบาก ชาวนาจึงนิยมแก้ปัญหาไถให้ผานลึกมาก ๆ แต่ผลตามมาก็ทำให้ดินหล่ม พื้นนาเสียหาย เป็นสาเหตุการเกิดโรคตามมา จึงต้องมีการจัดการอย่างเหมาะสมในแปลงนา ผมเองก็ซื้อรถไถนามาหนึ่งคันเป็นแบบไถนานั่งขับ เนื่องจากราคาไม่แพงมากเพราะไม่ได้ออกรับจ้าง จะซื้อคันใหญ่ก็ราคาค่อนข้างสูง เงินทำนาได้ก็คงหมดไปกับการผ่อนซื้อรถเป็นแน่ หากใครคิดจะซื้อก็ลองคิดดูดี ๆ ครับ ตอนนี้ถ้าจ้างเค้าก็อาจเป็นทางเลือกหนึ่งเพราะค่าจ้างลดต่ำลงมาบ้างแล้วเพราะรถแทรกเตอร์มีมากขึ้น แต่ต้องจองคิวรถ นัดวันกันดี ๆ เพื่อวางแผนในการเพาะปลูกได้

อุปกรณ์ที่รถไถควรมี

1.  ผาน มีทั้บผานบุกเบิก ผานพรวน รถแทรกเตอร์จะซื้อผานพรวนเนื่องจากมีใบมากดินละเอียด
2.  จอบหมุนหรือโรตารี่ สำหรับคุ้ยด้นและปั่นให้ละเอียดเป็นที่นิยมกันมากเพราะรวดเร็วแต่ไม่เหมาะกับการปั่นในพื้นที่ที่มีเศษฟางมาก ๆ เพราะจะติดใบมีดควรมีการหมักฟางก่อนหรือหากฟางมากจริง ๆ อาจต้องเผาบ้างครับ
3.  อุปกรณ์ลูบเทือก เพื่อปรับหน้าดินให้เรียบ
4.  อุปกรณ์ชักร่องน้ำหากเป็นนาหว่านน้ำตม


* 1.jpg (53.54 KB, 680x484 - ดู 15912 ครั้ง.)

* 2.jpg (367.96 KB, 558x341 - ดู 4027 ครั้ง.)

* 3.jpg (74.48 KB, 640x480 - ดู 4327 ครั้ง.)

* 5.jpg (220.45 KB, 600x450 - ดู 4050 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #104 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 12:39:10 »

ระบบน้ำในนาข้าว

ข้าวต้องการน้ำในการเจริญเติมโต  ขาดน้ำมากต้นก็ไม่สมบูรณ์อาจตายได้ แต่น้ำมากก็ไม่ดี การทำนาจึงต้องมีการควบคุมน้ำแม้แต่ระดับน้ำก็มีความสำคัญ ดังนั้นการปลูกข้าวจึงต้องมีคันนา  คันนาอดีตและปัจจุบันก็ยังใช้ดิน แต่ก็มีชาวนาสมัยใหม่ที่ใช้คันนาคอนกรีตบ้างแล้ว แหล่งน้ำสำหรับนาข้าวในพื้นที่เขตชลประทานไม่ค่อยมีปัญหามากนักอาจมีการแย่งน้ำบ้าง บางฤดูกาล นาชลประทานจะใช้ส่งน้ำผ่านคลองส่งน้ำ อาจมีประตูน้ำควบคุมระดับน้ำเป็นบางจุด ชาวนาจะให้น้ำก็อาจใช้ระบบกาลักน้ำ  บางแห่งก็ใช้เครื่องสูบ ถ้าโชคดีหน่อยก็มีประตูน้ำปิดเปิดน้ำเข้านาครับ  นาผมเป็นนาติดคลองชลประทาน ตอนเริ่มทำนา 3 ปีก่อนราคาที่นาตอนนั้นยังซื้อขายที่ราคาไร่ละ 150,000 บาท ตอนนี้ที่นาไม่ติดคลองชลประทานปาเข้าไปไร่ละ 350,000 ถ้าติดคลองชลประทานแบบผมก็ตกที่ 400,000 บาท/ไร่ แล้ว หากใครมีเงินสดซื้อเก็งกำไรไว้ก็ดีแต่ถ้าซื้อมาทำนาและผ่อนกับแบงค์อย่าพึ่งคิดครับเพราะทำนาได้ผลผลิตต่อไร่ครั้งละหมื่นกว่าบาทลบต้นทุนอีกจะเหลือประมาณ 7-9 พันบาทก็อาจไม่พอกับค่าดอกเบี้ยก็ได้ครับ

นาที่ผมทำครับติดคลองชลประทาน


* IMG_3109_resize.JPG (140.29 KB, 700x525 - ดู 3123 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #105 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 12:46:59 »

สำหรับนาที่ไม่ติดคลองชลประทานแต่ติดคลองระบายน้ำสามารถทำแบบนี้ได้ครับ... บ้านเราเรียกว่าการบึงน้ำโดยเอาไม้มาตอกและหาผ้ายางหรือถุงปุ๋ยมากั้นหลักการคล้าย ๆ เขื่อนเพื่อทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นให้สูงเท่าระดับพื้นนา  ผมเคยทำในช่วงปีแรก ๆ เพราะตอนนั้นคันนาเก็บน้ำไม่อยู่เป็นรู เอาน้ำลงนาไหลออกหมด ตอนนี้ขึ้นคันนาใหม่น้ำไม่ไหลออกแล้วจึงไม่ได้บึงน้ำครับ

ตามรูปครับ ตอนนั้นเป็นชาวนาใหม่ ๆ ไม่ค่อยรู้หากต้องการความแข็งแรงให้ใช้ไม้ใหญ่กว่านี้ครับอาจทำสะพานข้ามด้วยก็ดีครับ อาจใช้ไม้ไผ่บงหรือไม่ยูคาลิปตัสก็ได้ครับ



* 0970.jpg (146.23 KB, 640x480 - ดู 2998 ครั้ง.)

* 0980.jpg (152.08 KB, 640x480 - ดู 2999 ครั้ง.)

* 0981.jpg (151.9 KB, 640x480 - ดู 2997 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #106 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 13:10:36 »

การระบายน้ำในนา มีความจำเป็นเมื่อต้องการลดระดับน้ำในนาหรือการระบายปล่อยให้แห้ง ชาวนาทั่วไปอาจใช้การขุดดินที่คันนาเพื่อระบายน้ำ แต่ก็ต้องมีการนำดินมาใส่อีกเมื่อต้องการปิด บางครั้งคันนาอาจเสียไปหากปริมาณน้ำมาก ๆ  นาผมคันนาค่อนข้างใหญ่เลยเลือกใช้การเทคอนกรีตทำประตูเปิดปิดน้ำซึ่งทำง่าย ๆ และแข็งแรง หรือใครอยากทำง่าย ๆกว่านี้อาจหาซื้อท่อ PVC ขนาด 3 นิ้วขึ้นไปมาทำท่อระบายน้ำก็ได้ครับ


* 1707 (3).jpg (41.85 KB, 240x320 - ดู 2891 ครั้ง.)

* 1707 (5).jpg (99.39 KB, 700x525 - ดู 2953 ครั้ง.)

* 1707 (6).jpg (94.31 KB, 525x700 - ดู 2904 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #107 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 13:22:48 »

สำหรับนาที่ห่างคลองชลประทานอาจจำเป็นต้องสูบน้ำจากแหล่งน้ำใกล้ๆ  เข้ามา บางแห่งต้องมีการเจาะน้ำบาดาลและใช้ปั้มสูบน้ำออกมา ซึ่งอาจใช้พลังงานจากเครื่องยนต์รถไถมาหมุนปั๊ม บางแห่งมีไฟฟ้าก็ใช้มอเตอร์ ปัจจุบันก็อาจพบแบบใช้พลังงานแสงอาทิตย์ก็มีแต่การลงทุนอุปกรณ์ค่อนข้างสูงและหาได้ยากกว่าครับ


* 6.jpg (218.78 KB, 720x451 - ดู 4816 ครั้ง.)

* %20011.jpg (93.22 KB, 611x389 - ดู 4701 ครั้ง.)

* 7.jpg (43.23 KB, 448x299 - ดู 10577 ครั้ง.)

* IMG_1651.JPG (146.16 KB, 640x480 - ดู 2946 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 มกราคม 2013, 13:25:47 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 721



« ตอบ #108 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 13:42:34 »


 ขอถามอะไรหน่อยนะครับ คือว่าตอชังข้าวที่เราพ่นสารสะลายไป แล้วไถกลบแต่ไม่ได้ทำนาปรังนะครับไถกลบไว้เฉยๆโดยที่ไม่มีนำแช่ แล้วจะไถพรวนอีกทีตอนนาปีรอบต่อไปตอชังมันจะสลายหรือเน่าไหมครับ ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #109 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 14:29:33 »


 ขอถามอะไรหน่อยนะครับ คือว่าตอชังข้าวที่เราพ่นสารสะลายไป แล้วไถกลบแต่ไม่ได้ทำนาปรังนะครับไถกลบไว้เฉยๆโดยที่ไม่มีนำแช่ แล้วจะไถพรวนอีกทีตอนนาปีรอบต่อไปตอชังมันจะสลายหรือเน่าไหมครับ ขอบคุณครับ

สารละลายที่ว่าน่าจะทำมาจากจุลินทรีย์ครับ  เคยเห็นที่เป็นจุลินทรีย์ผงที่เค้าเอามาขายกันถุงละ 150 บาทบ้างก็แบบขวดน้ำ  การใช้โดยการผสมกับน้ำแล้วสาดหรื่อพ่นทั่วแปลงนาที่มีน้ำหรือป่าวครับ   ปกติถ้าเรามีเวลานานมากขนาดนั้นไม่ต้องพ่นสารละลายก็ได้ครับ ไถพลิก ( แต่ฟางอาจติดผานหากฟางยังไม่ยุ่ยหรือมีฟางมากทำให้ไถดินได้ลำบาก )   ฟางที่ถูกไถกลบสามารถย่อยสลายไปตามธรรมชาติได้แต่จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความชื้นและความสมบูรณ์ของดินว่ามีจุลินทรีย์มากน้อยเพียงไหน  ช่วงเดือนเมษาน่าจะมีฝนครับฟางน่าจะยุ่ยทันการทำนาปี แต่หากต้องการความรวดเร็วก็ควรจะมีน้ำและเติมจุลินทรีย์(เราสามารถทำได้เองโดยอาศัยจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย)ลงไปก็สามารถย่อยสลายฟางให้ยุ่ยได้ โดยใช้เวลาเพียงสัปดาห์เดียวครับ


* 8.jpg (35.12 KB, 474x300 - ดู 2808 ครั้ง.)

* 963258.gif (38.69 KB, 500x500 - ดู 2850 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
je2
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 94


« ตอบ #110 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 14:45:02 »

ขอบคุณความรู้ดีๆและ ขอให้มีความสุขมากๆตลอดปี56นี้นะครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #111 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 14:51:28 »

ช่วงเวลาที่มีความสุข


ช่วงระยะกล้า

    หากเป็นชาวนาจะพบว่าในบางช่วงของต้นข้าว การไปนาจะมีความสุขมากในช่วง ข้าวอายุได้ประมาณ 20 วัน - 1 เดือน ข้าวช่วงนี้จะมีใบสวย  สำหรับข้าวในช่วงอายุ 5-30 วันใบยังอ่อนต้องระวังหอยเชอรี่ให้มากเพราะเป็นช่วงที่หอยเชอรี่ชอบกินมากควรมีการล่อให้หอยที่มุดอยู่ในดินออกมาและปล่อยน้ำทิ้งเป็นครั้งคราวเพื่อลดความเสียหายจากจากหอยเชอรี่เพราะเป็นหอยน้ำหอยบางตัวอาจถูกปล่อยทิ้งจากนาไปตามคลองระบายน้ำช่วยลดปริมาณหอยในนาได้หากมีมากควรมีการใส่ยาฆ่าหอยลงไป  สำหรับช่วงนี้ถึงแม้จะพึ่งฉีดยาคุมหญ้าไปไม่นานแต่เนื่องด้วยถูกเจือจางไปกับน้ำบ้างหากปล่อยให้ดินแห้งมาก ๆในระยะนี้จะทำให้หญ้าขึ้นมาได้อีกเพราะใบข้าวยังไม่หนาแน่นพอที่จะไปบังแสงไม่ให้ส่องถึงดินได้หญ้าอาจเจริญเติบโตได้ เมื่อช่วงข้าวอายุได้ 25-30 วันควรปล่อยน้ำให้แห้งเพราะเป็นช่วงข้าวเริ่มโตพอที่จะหาอาหาร ดินเริ่มแห้งข้าวจะออกรากไกลเพื่อหาน้ำและอาหาร การมีน้ำขังรากจะไม่ยาวแถมต้นยังสูง อาจเป็นโรคเมาตอซังข้าวได้อีก การปล่อยให้ดินแห้งช่วงนี้ยังช่วยให้ข้าวแตกหน่อแตกกอได้มากขึ้น ช่วยเพิ่มผลิต


* IMG_1563.JPG (86.77 KB, 640x480 - ดู 2885 ครั้ง.)

* IMG_1561.JPG (77.91 KB, 640x480 - ดู 2852 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #112 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 15:40:42 »

ช่วงระยะแตกกอ

ช่วงนี้จะอยู่ในช่วงเดือนเศษ ๆ ประมาณ 40-50 วันช่วงนี้ข้าวจะเริ่มแตกกอ บางตำราอาจบอกว่าอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์คือประมาณช่วงวัยรุ่นนั่นเอง ช่วงนี้จะรอดพ้นการถูกทำลายจากหอยเชอรี่แล้วเพราะลำต้นจะสูงใบข้าวจะเริ่มหนาหอยเชอรี่จะไม่กิน แต่ใช่ว่าจะวางใจได้ครับ คราวนี้จะมีศัตรูตัวใหม่เข้ามาจำพวกหนอนกอ หนอนผีเสื้อที่จะมาวางไข่ สำหรับเพลี้ยไม่ค่อยน่ากลัวเพราะที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่าช่วงนี้เราจะปล่อยให้ดินแห้ง  หากแห้งเกินอาจมีเอาน้ำลงเพื่อให้หน้าดินมีความชื้นบ้าง   ช่วงนี้นอกจากเป็นช่วงการใส่ปุ๋ยที่เน้นปุ๋ย N เป็นพิเศษอาจควบคู่กับปุ๋ยหมักบ้างก็ได้ นาปีอาจต้องงดใส่ปุ๋ยเพราะข้าวอาจได้ N จากน้ำฝน เพราะไนโตรเจนมีอยู่ทั่วไปในชั้นบรรยากาศจะถูกชะล้างจากน้ำฝนและตกลงสู่ดินและแหล่งน้ำและระเหยกลับไปชั้นบรรยากาศอีกเป็นวัฏจักรของไนโตรเจนตามวิชาวิทยาศาสตร์เป๊ะ แม้แต่กระบวนการผลิตปุ๋ยเคมีปุ๋ยไนโตรเจนก็ต้องดึงไนโตรเจนจากอากาศ (ในอากาศมีปริมาณไนโตรเจน 78.08% อ๊อกซิเจน20.95%และก๊าซอื่นอีกเล็กน้อย)มาผลิตปุ๋ยเช่นกันโดยกระบวนการ liquefaction คือ ทำให้อากาศกลายเป็นของเหลวทั้งหมดก่อนโดยการลดอุณหภูมิลงมากๆ และเพิ่มความดันสูงๆ แค่นี้ก่อนครับเดี๋ยวจะไปกันใหญ่  มาต่อกันว่าในช่วงการแตกกอและห้ามใส่ปุ๋ย N มาก ยิ่งต้นงามมาก ลำต้นอวบน้ำมากแมลงก็ชอบมากเพราะเจาะได้ง่ายใบก็งามควรใส่ปุ๋ยแต่พอดี   และเราควรจะพ่นพวก น้ำส้มควันไม้ น้ำหมักพวกขับไล่แมลง  เพื่อช่วยไล่แมลงศัตรูข้าวบ้างจะดีมากและที่สำคัญช่วงนี้ใบข้าวจะเริ่มมาก เชื้อราบางประเภทจะเริ่มมีบ้างแม้ไม่ส่งผลตอนนี้แต่อาจส่งผลในช่วงข้าวตั้งท้อง  ช่วงออกรวงและเมล็ดของข้าว อาจมีการหมั่นพ่นพวกเชื้อราไตรโครเดอร์ม่าบ้าง หรือพวกสารป้องกันและกำจัดเชื้อราด้วยก็ได้ครับ

ภาพนาข้าวผมในช่วงนี้


* IMG_4726.JPG (65.39 KB, 700x525 - ดู 4399 ครั้ง.)

* IMG_4760.JPG (71.3 KB, 700x525 - ดู 2796 ครั้ง.)

* table_gap04.jpg (97.19 KB, 650x327 - ดู 3157 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #113 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 15:46:05 »

ขอบคุณความรู้ดีๆและ ขอให้มีความสุขมากๆตลอดปี56นี้นะครับ


ขอบคุณครับ สวัสดีปีใหม่และขอให้มีความสุขมาก ๆ เช่นกันครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #114 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 16:16:02 »

ช่วงข้าวตั้งท้องและออกรวง

ช่วงนี้เป็นช่วงใกล้ฝันที่เป็นจริงครับ คนเราเมื่อเริ่มตั้งท้องอาจต้องมีการบำรุงกันหน่อยเพื่อให้ลูกแข็งแรงอาจมีการฉีดวัคซีน ข้าวก็เช่นกันเหมือนกับคนจึงต้องมีการใส่ปุ๋ยในช่วงนี้ การใส่ปุ๋ยในช่วงนี้อาจลดปริมาณปุ๋ย N ลงแต่ตามวิชาการยังคงเน้นใส่ปุ๋ยตัวนี้อยู่  การใส่ N มาก ๆ ต้นข้าวจะงามใบเขียวทำให้แมลงศัตรูข้าวชอบ  สำหรับผมแล้วผมใส่ทั้ง N P K  ในกรณีที่เป็นปุ๋ยเคมีเพราะปุ๋ยจำพวกนี้ข้าวสามารถนำไปใช้ได้ไว  ในช่วงนี้ข้าวต้องการสะสมแป้งเพื่อเตรียมออกรวงข้าวบางตำราอาจใส่แค่ N อย่างเดียว หรือ N P เท่านั้นแต่นาที่ใช้ปุ๋ยเคมีนาน ๆ มักมีธาตุอาหารในดินต่ำการใส่ N P K ก็ช่วยให้ข้าวได้สารอาหารครบถ้วน และหากมีการเพิ่มด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ด้วยก็จะเป็นการปรับปรุงดินให้ดีด้วยในระยะยาว ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีในปีถัด ๆ ไปได้   สำหรับข้าวในช่วงนี้อาจป่วยได้ง่ายเราควรมีการดูแลและป้องกันโรคทั้งจากเชื้อรา แบคทีเรียและแมลงศัตรูโดยใช้วิธีเหมือนที่กล่าวไปแล้ว ช่วงนี้อาจปล่อยให้ดินแห้งบ้างแต่ไม่ควรขาดน้ำครับ ควรให้ดินมีความชื้นตลอด แต่หากมีน้ำมากเกินไปดินจะหล่มเวลาเก็บเกี่ยวจะลำบากเพราะดินอาจแห้งไม่ทัน ยิ่งข้าวนาปีจะมีฝนตกลงมาตลอด ส่วนนาปรังจะมีฝนในช่วงเดือนเมษา และ พฤษภาคม บ้าง  ถ้าข้าวออกรวงมาจะช่วยให้ได้ผลผลิตที่ดีหากมีการป้องกันโรค เพราะโรคบางตัวส่งผลต่อเมล็ดเช่นโรคเมล็ดด่าง หรือโรคไหม้คอรวงเป็นต้นครับ


* IMG_6374_resize.JPG (189.87 KB, 750x1000 - ดู 2763 ครั้ง.)

* IMG_6376_resize.JPG (254.88 KB, 750x1000 - ดู 2785 ครั้ง.)

* IMG_6709_resize.JPG (191.68 KB, 700x525 - ดู 2847 ครั้ง.)

* IMG_6713_resize.JPG (230.6 KB, 700x933 - ดู 2738 ครั้ง.)

* IMG_6758_resize.JPG (141.14 KB, 700x525 - ดู 2776 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #115 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 20:53:44 »

รถเกี่ยวข้าวทางเลือกในการเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อขาดแคลนแรงงานและอายุชาวนาเพิ่มขึ้น

 สำหรับบางพื้นที่ ที่ขาดแคลนแรงงานในการเกี่ยวข้าวก็ต้องเลือกรถเกี่ยวข้าวในการเก็บเกี่ยวผลผลิต วิถีชีวิตการเกี่ยวข้าวโดยใช้แรงงานคนในการเกี่ยวเริ่มลดน้อยลงไปการทำนาต่อคนต่อไร่ก็เพิ่มขึ้น แถมชาวนาเริ่มมีอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ จะเอาแรงไปเกี่ยวข้าวเหมือนแต่ก่อนก็ลำบากบางอำเภอในเชียงรายยังมีแรงงานในการเกี่ยวข้าวเยอะอยู่ บางพื้นที่แทบไม่มีเลยอาศัยเครื่องจักรแทบทั้งหมดทั้ง รถแทรกเตอร์ไถนา  รถดำนา รถเกี่ยวข้าว สำหรับรถเกี่ยวข้าวมีทั้งแบบไทยประดิษฐ์  รถใหม่ทั้งประกอบในไทยและนำเข้ามือสอง  ที่พบเห็นกันมากจะเป็นแบบไทยประดิษฐ์จากโรงงานในไทยซึ่งมีอยู่หลายสิบโรงงาน หลากหลายยี่ห้อและรุ่น โดยอาศัยชิ้นส่วนมือสองทั้งระบบช่วงล่างจากรถแบ็คโฮเครื่องยนต์มือสองจากรถบรรทุก  ซึ่งหากใครคิดจะซื้อมาใช้งานอย่างน้อยก็ต้องมีความรู้เรื่องเครื่องยนต์กลไกอยู่บ้าง สายพานมีเยอะมากจะต้องเปลี่ยนบ่อยจึงจะสามารถบำรุงรักษาได้ดี ค่าจ้างในการเกี่ยวข้าวต่อไร่ก็ประมาณ 500-650 บาท/ไร่  เนื่องจากรถเกี่ยวข้าวมีน้ำหนักค่อนข้างมากทั้งน้ำหนักบรรทุกข้าวอีกเกือบ 1-3 ตันแล้วแต่รุ่น ตัวรถอีกหลายตัน แน่นอนว่าหากพื้นนาไม่แห้งรับรองนาเป็นหล่มรอยรถเกี่ยวข้าวแน่ ๆ หากเป็นร่องลึกหากมีการไถนาก็ต้องจ้างรถปั่นนาที่เป็นล้อแทรกมาปั่น หากเป็นรถแทรกเตอร์ก็อาจจะไม่ไหว ดีไม่ดีล้อติดหล่มอีกต่างหาก ซึ่งหากใครจะใช้บริการรถเกี่ยวข้าวควรเลือกทำนาแบบเปรียกสลับแห้งจะดีที่สุดครับ แต่รถเกี่ยวข้าวก็เหมาะสำหรับนาในเขตชลประทานและนาน้ำฝนในบางพื้นที่เท่านั้น  นาขั้นบันไดคงหมดสิทธิ์ครับเพราะคนขับรถเกี่ยวข้าวคงไม่เอาด้วยแน่ ๆ


* IMG_0570.JPG (81.26 KB, 700x525 - ดู 2769 ครั้ง.)

* IMG_0573.JPG (81.05 KB, 700x525 - ดู 2751 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #116 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 21:41:08 »

มาดูผลผลิตข้าวแต่ละประเทศในแต่ละปีที่ผ่านมาและประมาณการผลิตข้าวในปีนี้และอัตราการบริโภคข้าวของคนในประเทศครับจะเห็นว่าบางประเทศก็เหลือข้าวพอส่งออก บางประเทศก็มีแค่เพียงพอในประเทศ บางประเทศต้องมีการนำเข้าเพิ่มครับ อย่างจีนถึงแม้จะผลิตข้าวได้มากที่สุดในโลกแต่ก็ผลิตข้าวได้ไม่เพียงพอกับการบริโภคในประเทศ


* 1.JPG (44.58 KB, 800x458 - ดู 2747 ครั้ง.)

* 2.jpg (43.42 KB, 800x461 - ดู 2728 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #117 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 21:55:59 »

เนื่องจากความต้องการที่จะต้องเลี้ยงคนในประเทศของจีน ทางรัฐบาลได้ส่งเสริมการวิจัยเรื่องข้าวอย่างหนักเพื่อปรับแต่งพันธุกรรมข้าวให้ได้ผลผลิตมาก ๆ อีกทั้งยังหาแหล่งปลูกข้าวใหม่ ๆในต่างประเทศ  ข้าวจีนที่วิจัยสำเร็จมีหลายประเทศที่ไปศึกษาดูงานและนำพันธุ์กลับไปเพาะปลูกอย่างเวียดนาม ประเทศในทางทวีปแอฟริกา ประเทศไทยก็มีการนำพันธุ์เข้ามาขายเช่นกัน มาดูข้าวชาวนาจีนที่ได้ผลผลิตมากที่สุดในโลกในขณะนี้กัน

ปล.ข้าวจีน ข้าวเวียดนามอาจไม่อร่อยถูกปากคนไทยเท่าไหร่นักถ้าใครเคยกินแล้วจะรู้ ข้าวนาปรังบ้านเรายังอร่อยกว่าเสียอีก

ชาวนาจีน เพาะข้าวสายพันธุ์ใหม่ ทำลายสถิติให้ผลผลิตมากที่สุดในโลกราว 2,408 กก. /ไร่ หลังข้าวจีนเคยทำสถิติฯ ปีก่อนไว้ที่ประมาณ 2,224 กก./ไร่
       
       ซินหวารายงาน (30 พ.ย.) ว่า นายสวี่ย์ เยว์จิ๋น ชาวนาจีน ในหมู่บ้านไป่เหลี่ยงเฉียว มณฑลเจ้อเจียง สามารถเพาะข้าวสายพันธุ์ใหม่ "หย่งโย่ว 12" และทดลองเพาะปลูกในผืนนาของตนที่หนิงปั่ว มณฑลเจ้อเจียง จนออกรวงเต็มทุ่ง สามารถเก็บเกี่ยวได้ด้วยปริมาณสูงสุดเป็นสถิติโลกที่ 14.45 ตัน/เฮกตาร์ (ประมาณ 2,408 กก. /ไร่)
       
       รายงานข่าวกล่าวว่า เพื่อให้ผลการคำนวณผลผลิตเป็นไปอย่างถูกต้อง เจ้าหน้าที่ผู้เชียวชาญฯ ได้เริ่มกระจายสุ่มเก็บเกี่ยวตามผืนนากว่า 8.5 เฮกตาร์ของเขามาตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย.ที่ผ่านมา
       
       นายจาง สี่ว์ฟู่ ผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงเกษตรจีน กล่าวกับซีซีทีวีว่า ได้ตรวจสอบผืนนาปลูกข้าวสายพันธุ์ "หย่งโย่ว 12" นี้ทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้มีการผสมปนข้าวสายพันธุ์อื่นๆ
       
       สำหรับปริมาณผลผลิตของข้าวสายพันธุ์ "หย่งโย่ว 12" นี้ ทำลายสถิติ ข้าวสายพันธุ์จีน DH2525 ซึ่งครองสถิติให้ผลผลิตสูงที่สุดในโลก เมื่อปีกลาย(กันยายน 2554) โดยครั้งนั้น ทำการทดลองปลูกที่เมืองหลงฮุย ได้ให้ผลผลิตที่ 13,900 กก./เฮกตาร์ หรือประมาณ 2,224 กก./ไร่ จนทำให้จีนก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการวิจัยพันธุ์ข้าวข้ามสายพันธุ์ชั้นนำของโลก
       
       ข้อมูลของกระทรวงเกษตรจีนระบุว่า ข้าวเป็นอาหารหลักของประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของโลก และจีนมีประชากรมากกว่า 1,300 ล้านคน ทำให้รัฐบาลถือเป็นภารกิจหลักในการที่จะต้องพึ่งตนเองด้านการผลิตอาหารให้ได้ พร้อมกับสนับสนุนการพัฒนาวิจัยสายพันธุ์ข้าวต่างๆ มากมาย จนปัจจุบันนี้ มีข้าวสายพันธุ์พิเศษ หรือ ซูเปอร์ไรซ์ มากกว่า 96 สายพันธุ์ที่ได้รับอนุมัติให้เพาะปลูกแล้ว ในพื้นที่นากว่า 7.4 ล้านเฮกตาร์ หรือเกือบ 1 ใน 4 ของแปลงนาข้าวในประเทศจีน
       
       รายงานข่าวกล่าวว่า ผลผลิตข้าวต่อไร่ของจีนนั้น ปัจจุบันกำลังได้รับการพัฒนาให้สูงกว่าชาติใดๆ ในโลก ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐฯ นั้น ผลผลิตเฉลี่ยปัจจุบัน อยู่ที่ 1,270 กก. /ไร่ สูงกว่าเกาหลีใต้ 1,216 กก. /ไร่ ลำดับรองลงมาคือเวียดนามเฉลี่ยอยู่ที่ 836 กก. /ไร่ อินโดนีเซียเฉลี่ย 799.76 กก. /ไร่ พม่าเฉลี่ย 653 กก. /ไร่ ลาวเฉลี่ย 576 กก. /ไร่ ฟิลิปปินส์เฉลี่ย 574 กก. /ไร่ ไทยเฉลี่ย 459 กก. /ไร่ กัมพูชาเฉลี่ย 453 กก. /ไร่
       
       ทั้งนี้ การพัฒนาผลผลิตต่อไร่ของข้าวสายพันธุ์ใหม่ๆ ยังนับเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตของชาวนาจีน และทำให้มีรายได้มากขึ้น


* 1.jpg (93.56 KB, 600x374 - ดู 2772 ครั้ง.)

* 2.jpg (54.78 KB, 399x600 - ดู 2670 ครั้ง.)

* 3.jpg (46.92 KB, 600x399 - ดู 2656 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #118 เมื่อ: วันที่ 09 มกราคม 2013, 22:10:31 »

เจาะลึกการปลูกข้าวในจีนอีกนิดครับ

สถานการณ์ตลาดข้าวของจีน จีนเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับที่ 6 ของโลก และเป็นผู้ผลิตข้าวมากที่สุดในโลก ปัจจุบัน จีนส่งออกข้าวไปยังเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น แอฟฟริกาใต้ อย่างไรก็ตาม จีนยังคงนำเข้าข้าวจากนานาประเทศ เนื่องจากความต้องการภายในจีนที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งปัญหาภัยธรรมชาติที่ส่งผลต่อจำนวนผลผลิตข้าวของจีน
ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่มีการส่งออกข้าวมายังจีนมากที่สุด มีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 60-80 รองลงมาคือประเทศเวียดนาม สำหรับข้าวไทยส่วนใหญ่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคที่มีรายได้สูง เนื่องจากราคาข้าวไทยสูงกว่าราคาข้าวท้องถิ่นประมาณ 3-4 เท่า

การวิจัยพัฒนาข้าวในจีน สำนักงานเกษตรของจีนได้ก่อตั้งหน่วยงานวิจัยด้านข้าว CNRRI (China National Rice Research Institution) โดยได้คิดค้นข้าวสายพันธุ์ ซุปเปอร์ไฮบริดไรซ์ (Super Hybrid Rice) ซึ่งสามารถให้ผลผลิตสูงสุดถึง 2,224 กิโลกรัมต่อไร่และมีความทนทานต่อโรคและศัตรูพืชมากขึ้น ช่วงที่จีนเข้าร่วมเป็นสมาชิก WTO (2543-2544) รัฐบาลจีนได้ประกาศคุ้มครองอุตสาหกรรมการผลิตข้าวของประเทศ รวมไปถึงการให้ความช่วยเหลืออื่นๆ อาทิ การจัดสรรเงินช่วยเหลือ สินเชื่อพิเศษแก่บริษัทผู้ผลิตข้าว การให้สินเชื่อขนาดเล็กแก่เกษตรกรผ่านระบบสหกรณ์เครดิตในชนบท การพัฒนาและขยายเทคโนโลยี การเกษตร การปรับปรุงขั้นตอนการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับระบบนิเวศน์การสำรวจปริมาณข้าวทั่วประเทศและจัดทำสถิติด้วย



* 20120502101708765113.jpg (236.46 KB, 550x360 - ดู 2693 ครั้ง.)

* 20120502101848437287.jpg (318.92 KB, 550x413 - ดู 2695 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #119 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 09:39:59 »

การเลี้ยงเป็ดในนาข้าว ก้าวสู่เกษตรอินทรีย์ ในไต้หวัน ญี่ปุ่น

โดย  ต้นกล้า ชาวนาวันหยุด
นาย สุภชัย ปิติวุฒิ

วิธีการเเบบเส้นตรง ........คือ ทำนาเอาแต่ข้าวเปลือกขาย (ไม่เอาสิ่งเเวดล้อม) ความเสี่ยงสูงครับ รับไม่ไหวแน่นอน
 
แต่ถ้าเปลี่ยนวิธีมาเป็น "วิธีการทำนาเเบบเส้นขนานหลายเส้น" เราก็จะกระจายความเสี่ยงได้ครับ
 
ข้าวใช้เวลา ประมาณ 90-160 วัน(แล้วแต่พันธุ์)
ค่าเสียโอกาสมันมากมายเหลือเกินกับ เส้นตรงที่เราเดิน เเบบเดิมๆ

เส้นขนานหลายเส้นหมายถึง
 
ระหว่างทำนา เราได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ระหว่างทางไปด้วย กระจายความเสี่ยง
1.ได้ต้นข้าวสุขภาพดี
2.ได้ "เป็ด" มาช่วยคุ้ยเขี่ยหญ้า กำจัดเเมลง กินหอย
4.เมื่อเป็ดย่ำ คุ้ยเขี่ยน้ำในนา ก็จะทำให้ "น้ำขุ่น" ก็จะเป็นการพลางแสง ไม่ให้ หญ้าได้รับแสงเต็มที่ ลดปริมาณหญ้าในไปในตัว
5.ได้ไข่เป็ด ได้โปรตีนจากเป็ด
6.ได้ลดต้นทุนปุ๋ยเคมี -> ได้ขึ้เป็ด เป็นปุ๋ยอินทรีย์ในเเปลงนา (โดยเฉพาะไนโตรเจน)
7.ชาวนาได้คุณภาพชีวิตกลับคืนมา ไม่ต้องรอเอาเงินขายข้าวเปลือก ไปหาหมอซื้อสุขภาพที่ดีกลับมาครับ

ปัจจุบันมีในทุ่งนาภาคกลางมีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง กินข้าวเปลือกร่วงหล่น หลังการเก็บเกี่ยวในเเปลงนา

คำถาม ฮืม
ถ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล กินข้าวก่อนเป็ดจะเกิดอะไรขึ้น???

คำตอบ ชาวนา ไม่ได้ทั้งข้าวเปลือก และเป็ด ครับ
แถมได้ยาตกค้างในเเปลงนา ทั้งยาหยอดเพลี้ย ยาฉีดเพลี้ย เป็ดโทรมอีก  

ดังนั้น มาเลี้ยงเป็ดร่องนาดำ กันดีกว่า

อนุบาลเป็ดไว้ ช่วงที่อนุบาลต้นกล้า (18 วัน)
หลังจากปักดำแล้ว 2 สัปดาห์ ก็ปล่อยเป็ดอนุบาลตามลงไป ต้นข้าวเริ่มรัดแล้ว
(เป็ดอายุประมาณ 4 สัปดาห์ )

สามารถไล่ไปตามร่องนาดำ "เป็ดไม่หลงทาง" กับการทำนาด้วยวิธีการปักดำ เป็นระเบียบเป็นแถว เป็นแนว แน่นอน

พฤติกรรมเป็ด เป็นพวกชอบขุดคุ้ย และจิกกิน
ผลพลอยได้ : กินเเมลง กินหญ้า พรวนดิน กินหอย
ผลพลอยได้ : ชาวนาได้ข้าว ได้การพรวนดินจากเป็ด
ได้ ขี้เป็ดเป็นปุ๋ย ได้ไข่เป็ด ได้เนื้อเป็ด

ทำนาดำ เเบบผสมผสาน มีแต่ได้กับได้ ได้ทั้งข้าว ได้ทั้งเป็ด ได้สิ่งแวดล้อมที่ดีคืนมา ได้ดีทั้งคนปลูกข้าว คนกินข้าว ครับ











 


* large_riceawd-supachai16r.jpg (57.03 KB, 600x450 - ดู 3288 ครั้ง.)

* large_riceawd-supachai18r.jpg (51.1 KB, 600x400 - ดู 3409 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 5 [6] 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!