เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 19 มีนาคม 2024, 12:47:03
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 [35] 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 405812 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #680 เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2013, 13:04:12 »

มาต่อเรื่อง ตุ๊หล่างครับ

IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #681 เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2013, 15:46:29 »

ดูแล้วคิดถึงตอนเด็กๆ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,176



« ตอบ #682 เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2013, 18:20:22 »

เข้ามาติดตามอ่านเจ้า อยากลองนาโยน แต่เห็นเครื่องปลูกของคูโบต้า ก็โอเคเลยเจ้า กำจัดหญ้าง่าย ยังไม่รู้เลยจะทำยังไง ดินก็โดนสารเคมีมาตลอด ลองศึกษาไปก่อนเจ้า ไว้ลงมือจริงๆ ดรีมก็ขอคำปรึกษาด้วยเน้อเจ้า
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #683 เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2013, 21:54:06 »

เข้ามาติดตามอ่านเจ้า อยากลองนาโยน แต่เห็นเครื่องปลูกของคูโบต้า ก็โอเคเลยเจ้า กำจัดหญ้าง่าย ยังไม่รู้เลยจะทำยังไง ดินก็โดนสารเคมีมาตลอด ลองศึกษาไปก่อนเจ้า ไว้ลงมือจริงๆ ดรีมก็ขอคำปรึกษาด้วยเน้อเจ้า

หากมีอะไรช่วยได้ก็ยินดีให้คำปรึกษาครับ  แต่ระดับลูกศิษย์อาจารย์เดชา ศิริภัทธแล้วไม่น่าธรรมดาแล้วครับ ความรู้น่าจะแน่นมาก ๆ โดยเฉพาะเป็นเด็กรุ่นใหม่แล้วน่าจะเรียนรู้ได้เร็วครับ หายากครับเด็กผู้หญิงที่สนใจการทำนาทำเกษตรทั้งที่ไม่ได้เรียนจบมาด้านนี้ครับ  รถดำนาคุยกับ Sale และคนใช้เค้าบอกว่าถ้าเป็นรุ่นเดินตามระบบไม่ซับซ้อน การซ่อมบำรุงดูแลรักษาง่าย ค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่หากเป็นรุ่นนั่งขับระบบค่อนข้างซับซ้อนกว่ามากหากหมดหน้าทำนาแล้วจะต้องน้ำเข้าศูนย์เพื่อตรวจเช็ค ใจจริงก็อยากดำนาด้วยแรงงานคนครับตามวิถีคนไทยดั้งเดิม แต่เราจะทำคนเดียวยี่สิบกว่าไร่ก็ไม่ไหว สังคมแถวบ้านก็เปลี่ยนไปชาวนาดั้งเดิมมีอายุมาก การลงแขกมีไม่ค่อยมาก คนส่วนใหญ่ทำนาหว่านกัน อยากทำนาแบบปลอดภัยโดยเลือกทำนาดำเลยต้องพึ่งเทคโนโลยีครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #684 เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2013, 21:58:42 »

เดชา ศิริภัทร
ลูกศิษย์ของข้าว ครูของชาวนา

เรื่อง: ศรินทร เอี่ยมแฟง ภาพ: กรกช นาวานุเคราะห์



“งานอะไรก็ตามเริ่มต้นโดยไม่เบียดเบียนทั้งตนเองทั้งคนอื่นก่อน แต่ที่ดีกว่านั้นคือต้องเป็นประโยชน์ทั้งตัวเองและคนอื่นด้วย”

บัณฑิตจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ลูกชายเจ้าของโรงสีและเจ้าของที่ดินผู้มีฐานะในจังหวัดสุพรรณบุรี หันหลังจากธุรกิจฟาร์มเกษตรที่สร้างกำไรไม่น้อย เพื่อทุ่มเทชีวิตให้กับการพัฒนาเกษตรกรรมแบบยั่งยืน เพียงเพราะอยากใช้หนี้บุญคุณข้าวและชาวนา เขาเป็นครูใหญ่ของโรงเรียนชาวนาที่มุ่งปลูกจิตสำนึกให้ชาวนาประกอบอาชีพอย่างมีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบ เห็นถูกต้องตามทำนองครองธรรม อันหมายถึงการไม่ใช้สารเคมีที่ทำลายระบบธรรมชาติที่ตนเองพึ่งพาอยู่ สร้างผลผลิตโดยไม่ยึดเพียงผลกำไร ใช้ชีวิตบนวิถีแห่งความพอเพียง

20 กว่าปีที่ผ่านมาในฐานะชาวนา นักพัฒนา และนักวิจัยข้าว อาจารย์เดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ องค์กรอิสระที่ดำเนินงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรที่เหมาะสมกับท้องถิ่น พัฒนาพันธุ์ข้าวและพืชพื้นบ้าน และค้นคว้าวิจัยเพื่อหาทางเลือกทดแทนสารเคมี ไม่เพียงเป็นผู้สร้างเครือข่ายเกษตรกรทางเลือกที่เข้มแข็ง แต่ยังเป็นต้นแบบของบุคคลผู้ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงและมีความสุขอย่างแท้จริง

ทราบมาว่าจุดเปลี่ยนในชีวิตและเป็นจุดเริ่มต้นของการหันมาทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เกิดจากการบวชทดแทนบุญคุณคุณแม่
ผมไปบวชเพราะแม่เสีย ผมเป็นลูกที่ยังไม่ได้บวช แม่อยากให้บวชตั้งแต่ท่านยังอยู่ ผมคิดว่าการจะบวชให้แม่ต้องบวชสักพรรษาหนึ่งถึงจะได้บุญ ไม่ใช่บวชแค่ 2-3 วัน และก็ต้องหาอาจารย์ที่ดีๆ ด้วย ก็เลยไปเลือกสวนโมกข์ซึ่งต้องรอหนึ่งปีเพราะปีนั้น พ.ศ. 2519 มันเต็มแล้ว ผมจึงต้องบวชที่วัดชลประทานรังสฤษฏ์ก่อนจนได้ไปอยู่ที่นั่น เลยทำเต็มที่ ซึ่งการทำเต็มที่ในฐานะพระจึงเปลี่ยนชีวิตไปเลย เพราะชีวิตพระมีศีลต้องระวังเยอะ ฉันมื้อเดียว นอนหมอนไม้ เดินเท้าเปล่า วิถีชีวิตแบบนี้ทำให้เห็นว่าแม้จะกินน้อยใช้น้อยเราก็ไม่ลำบากเท่าไหร่ เราก็มีความสุขและมีเวลาเหลือด้วย ผมคิดว่าเราเบา เราโปร่ง ไม่อยากได้มากมายอะไรไม่เหมือนตอนก่อนบวช พอสึกมาแล้วก็คิดว่าถ้าเรามีชีวิตแบบเบาๆ ก็น่าจะดี และถ้าอยากได้บุญมากต้องไม่ใช่แค่บวช แต่ต้องไปช่วยคนด้อยโอกาสหรือมีทุกข์เพื่อจะได้ปฏิบัติธรรมไปด้วย ท่านพุทธทาสสอนไว้ว่าการทำงานเป็นการปฏิบัติธรรมไปในตัว ให้ทำเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านไปพร้อมกัน

งานที่ถึงประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านและช่วยเหลือสังคมสำหรับสุพรรณบุรีก็คือชาวนา ครอบครัวผมมีโรงสีมาตั้งแต่สมัยปู่และที่บ้านมีนาเยอะ พ่อมีนา 8,000 ไร่ให้เขาเช่า เพราะฉะนั้นเราจึงเกี่ยวข้องกับชาวนามาตั้งแต่รุ่นปู่ ก็เลยตัดสินใจทำเรื่องข้าวกับชาวนาเพราะเรารู้จักดีแล้วปัญหามันก็เยอะด้วย เป็นสิ่งที่เรามีพื้นฐานอยู่แล้วแม้จะไม่ได้เรียนเรื่องข้าวมาแต่เรียนเกษตรก็ปรับกันได้

การทำงานพัฒนาเรื่องข้าวกับชาวนาเน้นประเด็นเรื่องใดเป็นหลัก
มูลนิธิข้าวขวัญเน้นการทำงานแบบแก้ปัญหา ก็เหมือนอริยสัจ 4 นั่นแหละ ทุกข์ ต้นเหตุแห่งทุกข์ เป้าหมายที่จะพ้นทุกข์ และทางพ้นทุกข์ การทำงานเพื่อจะแก้ทุกข์ของชาวนาก็ต้องดูว่าชาวนามีทุกข์อะไรบ้าง เช่น เขามีหนี้สิน เขาไม่มีที่ดิน หรือว่าเขาทำนาต้นทุนสูง เขาใช้สารเคมีอันตราย เราเห็นสาเหตุแห่งทุกข์ส่วนหนึ่งคือการทำนาไม่เป็น ใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้พันธุ์ข้าวที่ไม่ต้านทานโรคจึงต้องใช้ปุ๋ยเยอะ ต้นทุนก็สูง คุณภาพข้าวก็ไม่ดี ขายได้ราคาถูก เราหาวิธีแก้คือการพัฒนาเทคนิคเกษตรอินทรีย์และทดสอบจนได้ผล แล้วเอาไปเผยแพร่ ต้องใช้เวลาหน่อยแต่แก้ปัญหาได้จริงที่ต้นเหตุ



เทคนิคเกษตรอินทรีย์คืออะไร และมีการถ่ายทอดความรู้อย่างไรคะ
อธิบายง่ายที่สุดคือใช้แต่สารอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี เกษตรอินทรีย์เน้นเรื่องการบำรุงดินและให้พืชหรือสัตว์อุดมสมบูรณ์โดยผ่านดิน คือให้ดินดีก่อนแล้วทุกอย่างดีหมด จริงๆ โรงเรียนชาวนาไม่ได้สอนเรื่องเทคนิคหรอก เพราะเทคนิคเราอบรมแค่ 2-3 วันก็ได้แล้ว มันไม่ได้ยาก แต่เราต้องการเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนทิฐิ หรือสมัยนี้เขาเรียกว่ากระบวนทัศน์ เราก็เอาเทคนิคที่ได้มาเป็นหลักสูตรให้ชาวนาลงมือทำในนาตัวเอง เปรียบเทียบวิธีเดิมของเขา แล้วเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันว่าแบบไหนดี แล้วเขาจะสรุปกับเพื่อนชาวนาด้วยกัน กระบวนการนี้เรียกว่ากระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดปัญญาขึ้นมา ปัญญาจะทำให้ทิฐิกลายเป็นสัมมาทิฐิ การเปลี่ยนความคิดจึงใช้เวลาเยอะ ตั้งแต่ปลูกจนเก็บเกี่ยว แต่จะเห็นอะไรดีไม่ดีทั้งหมด

นอกจากความรู้ อาจารย์ยังเน้นเรื่องการปรับทัศนคติชาวนาด้วย
ถ้ามองแบบสมัยใหม่ ข้าวก็คืออาหารชนิดหนึ่ง ถ้ามองแบบนักเศรษฐศาสตร์ก็คือสินค้าชนิดหนึ่ง ถ้ามองแบบนักมนุษยวิทยาก็คือตัวแทนของเทพชั้นสูงที่มีความเมตตาต่อมนุษย์อย่างสูง เทพของคนไทยก็มีสามแม่ แม่ธรณี แม่คงคา และแม่โพสพ ถ้าเราเห็นว่าข้าวเป็นแม่เราจะปฏิบัติต่อท่านอีกแบบหนึ่ง เราต้องกตัญญู ไม่ทำร้าย ทอดทิ้งท่าน แต่ชาวนาปัจจุบันเห็นข้าวเป็นสินค้า หวังจะเอาเงินอย่างเดียว จึงใช้สารพิษและเทคนิคที่ทำลายทั้งน้ำ ดิน และข้าวอย่างไม่มีจิตสำนึก ตัวเขาเองก็ไม่กินข้าวที่ตัวเองปลูก สุดท้ายก็ยากจนเอง ความจริงคือเขาอกตัญญูและถูกลงโทษนั่นแหละ ลูกหลานก็ดูถูกไม่อยากเป็นชาวนา คำที่เคยยกย่องว่าชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ คนก็ไม่ยกย่องแล้ว เขาเรียกว่ารากหญ้าไปหมดแล้ว วิธีกู้ศักดิ์ศรีคืนมาคือต้องบำรุงรักษาแม่ให้ดีเหมือนเดิม

เด็กรุ่นใหม่ยังคงมองว่าเกษตรกรเป็นอาชีพที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ เงินน้อย
เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นแบบนั้น แต่จริงๆ เกษตรกรที่ทำได้ดีก็จะมีฐานะ อย่างลูกศิษย์เราบางคนทำกำไรได้ปีละเป็นล้าน อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพกลางๆ อยู่ที่เกษตรกรเองว่าจะทำอาชีพอย่างถูกต้องหรือชำนาญหรือเปล่า แต่อาชีพเกษตรกรมีความพิเศษคือเป็นอาชีพที่สร้างอาหาร ซึ่งอาหารเป็นปัจจัยสี่ของมนุษย์และเป็นปัจจัยแรกที่มีความสำคัญ ดังนั้นเกษตรกรจึงเป็นอาชีพที่จำเป็นมาก แล้วเกษตรกรนี่เป็นอาชีพอิสระ พึ่งตัวเองได้มากที่สุด เพราะอาชีพอื่นเอาเงินมาแล้วไปซื้ออาหารกินใช่ไหม แต่เกษตรกรเก็บไว้กินได้เอง จะขายหรือไม่ขายก็ได้ หรือถ้าทำแค่พออยู่พอกิน เราสามารถทำอาชีพอื่นควบคู่ไปได้ด้วย

จากโรงเรียนชาวนา เราควรจะพัฒนาการเรียนการสอนวิชาเกษตรศาสตร์ไปในรูปแบบไหน
เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนคือการไม่ทำลายของเดิม แต่ต้องทำให้ของเดิมดีขึ้นแล้วใช้เป็นฐาน อยู่ในโลกที่เป็นหนึ่งเดียวแต่มีความเป็นเอกลักษณ์ รักษาจุดแข็งเราไว้ เราส่งออกข้าวเป็นที่หนึ่ง ส่งออกมัน ยางพารา เป็นหนึ่งในสิบประเทศที่ส่งออกอาหารมากที่สุดในโลกทั้งที่เป็นประเทศเล็กๆ ออสเตรเลีย แคนาดา อเมริกา บราซิล ส่งออกมากเป็นเรื่องธรรมดา แสดงว่าเราเก่งเรื่องเกษตรกรรม สามารถพัฒนาโดยไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่หรือแรงงานมากมาย ในอนาคตเราไม่ต้องส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งก็ได้ แต่ทำอย่างไรให้ข้าวของเรามีคุณภาพที่สุดในราคาต่ำสุด การเรียนการสอนสมัยใหม่ต้องตั้งเป้าให้ชัดเจนก่อน เพราะเรื่องพวกนี้ไม่ได้ยากเลยแค่หาตัวอย่างที่ดี

เพิ่งมีข่าวว่าอินโดนีเซียขาดแคลนข้าว จะมีวันที่เราเป็นแบบนั้นไหม
ผมเคยไปอินโดนีเซีย มีตั้งเป็นหมื่นเกาะ บางเกาะก็ไม่เคยกินข้าวมาก่อน วัฒนธรรมชวาเป็นวัฒนธรรมที่แข็งกว่าจึงเผยแพร่วัฒนธรรมการกินข้าวไปให้เกาะอื่นๆ พอคนหันมากินข้าวมากขึ้น พื้นที่ปลูกข้าวก็เลยไม่พอ จริงๆ เราไม่ต้องให้ทุกคนกินข้าวก็ได้ พื้นที่นั้นเหมาะสมจะปลูกอะไรก็พัฒนาไปตามนั้น หากรณรงค์ให้ทุกคนกินข้าวกันหมดต้องมีปัญหาแน่ เพราะข้าวไม่ได้ปลูกกันได้ทุกที่ ข้าวต้องการน้ำเยอะ ผลผลิตก็จำกัด แต่พูดถึงว่าคนที่เคยกินข้าวไปแล้วจะเปลี่ยนยาก เพราะมันเป็นวัฒนธรรม

สำหรับบ้านเราคิดว่าคงไม่ขาดแคลนข้าวหรอก เพราะพบว่าสถิติคนเกิดมีน้อยลง ประชากรไม่มีทางถึง 80 ล้านคน คิดว่าไม่ถึง 50 ปีประชากรไทยจะเหลือเพียง 50 ล้านคน เพราะปกติข้าวมันเหลืออยู่แล้วประมาณ 10 ล้านตัน ปีหนึ่งเราผลิตข้าวได้ 20 ล้านตัน ในปริมาณที่ผลิตในปัจจุบันนี้เรามีข้าวพอสำหรับ 120 ล้านคน เพราะฉะนั้นโอกาสจะขาดแคลนข้าวมีน้อย เพียงแต่เราจะเอาพื้นที่นาไปทำอย่างอื่นมากกว่า



ถ้าปีนี้น้ำท่วมอีกล่ะคะ
เขาก็ต้องไปปลูกข้าวตอนหน้าน้ำไม่ท่วม ปัจจุบันภาคกลางน้ำท่วมทุกปี ต้องอยู่กับธรรมชาติให้ได้ อย่าไปสู้ หน้าน้ำก็ปล่อยท่วม เราก็ไปทำอาชีพอื่นเสีย อย่างปลูกผัก ถ้าน้ำท่วมเราก็ปลูกบนน้ำก็ได้ ที่พม่า ทะเลสาบอินเลย์ก็มีการปลูกผักลอยน้ำกันมานานแล้ว เราจับปลา ปลูกผัก น้ำแห้งก็ปลูกข้าว เพราะน้ำท่วมทำให้พื้นที่อุดมสมบูรณ์มากขึ้น ธาตุอาหารก็จะเพิ่มขึ้น คือไม่ว่าอย่างไรคนไทยก็ต้องเกี่ยวพันกับข้าว เป็นวัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิต

เราบริโภคข้าวมาเป็นหมื่นๆ ปี ข้าวกลายเป็นเทพเจ้าคือพระแม่โพสพ ข้าวเกี่ยวข้องกับประเพณีวัฒนธรรมทุกขั้นตอน อย่างเช่นประเพณีทางอีสาน ทั้ง 12 เดือนจะมีข้าวเกี่ยวข้องทุกเดือนเลย ข้าวเป็นยิ่งกว่าอาหาร ถ้าไม่มีข้าว วัฒนธรรมเราจะเปลี่ยน ชาติก็จะสูญ เราจะขาดชาวนากับข้าวไปไม่ได้ ญี่ปุ่นก็เป็นเหมือนเรา รัฐบาลจะอุ้มชาวนาเท่าไหร่ก็ต้องอุ้ม แม้แต่ประเทศอุตสาหกรรมอย่างญี่ปุ่นยังต้องรักษาข้าวไว้ เพราะมันไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวกับเรื่องความเป็นชาติด้วย

อาจารย์ยึดคติธรรมใดในการทำงาน
“ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน” นี่แหละ หมายถึงว่าทำอะไรก็ตามแต่ หากถึงพร้อมด้วยประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ถือว่าเป็นการงานที่ดี เป็นงานที่ปฏิบัติธรรมไปด้วย แต่ยังไม่เลวเท่ากับเบียดเบียนนะ ประโยชน์ตรงข้ามกับเบียดเบียน งานบางอย่างเบียดเบียนตัวเอง อย่างอบายมุขทั้ง 6 หรือการเอาเปรียบผู้อื่น ทำให้คนอื่นเดือดร้อนก็ไม่ดี งานอะไรก็ตามเริ่มต้นโดยไม่เบียดเบียนทั้งตนเองทั้งคนอื่นก่อน แต่ที่ดีกว่านั้นคือต้องเป็นประโยชน์ทั้งตัวเองและคนอื่นด้วย เป็นหลักธรรมเบื้องต้นเลย แล้วเราก็ไปหาว่างานที่ไม่เบียดเบียนนั้นควรจะทำอะไรได้บ้าง อันนั้นปรับได้แล้วแต่ว่าเราจะมีความสามารถแบบไหนไปให้ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน

ท่านพุทธทาสท่านบอกว่าคนต้องรู้ว่าเกิดมาทำไม แล้วท่านก็เฉลยว่าเกิดมาเพื่อจะยกระดับจิตวิญญาณของเราให้สูงขึ้น หรือทำให้ทุกข์น้อยลงจนกระทั่งความทุกข์ไม่เหลือเลย อันเดียวกันนั่นแหละ เพราะทำให้ตัวตนเราน้อยลง ซึ่งก็คือนิพพาน ชีวิตเราควรจะมีเป้าหมายให้ชัดแล้วเราก็ทำตามเป้าหมายไปเรื่อยๆ กระทั่งบรรลุนั่นแหละ ชาตินี้ชาติไหนก็แล้วแต่ เกิดมาแต่ละชาติก็ควรยกระดับไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมันจบ ไม่ใช่อยู่กับที่หรือถอยหลัง

เราจะพัฒนาวิถีชีวิตอย่างเป็นสุขจนไปสู่เป้าหมายสุดท้ายอย่างไร
เราไม่ต้องรีบมากก็ได้ ฝรั่งบอกว่ามนุษย์มีชีวิตเริ่มต้นเมื่ออายุ 40 ปี ทีแรกผมก็ยังนึกไม่ออก ก็เราเรียนจบอายุ 21 แล้วก็ทำงานแต่งงานมีลูก มันจะไม่เริ่มได้อย่างไร ความจริงไม่หรอก ผมเปลี่ยนงานตั้งสี่งานจนกระทั่งตั้งมูลนิธิข้าวขวัญ เมื่อปี 2532 ผมอายุ 41 ซึ่งยังช้าไปปีหนึ่งเลย ถ้าเกิดอายุ 20 แล้วไปตั้งหลักปักฐานไม่ใช่หรอก คุณต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เดี๋ยวพออายุ 40 ปีคุณก็จะฉลาดเอง ถ้าไม่เปลี่ยนมันไม่ฉลาด

ชีวิตคนต้องมีประสบการณ์ตรง ไม่ต้องกลัวจะหมดโอกาส หาตัวเองให้เจอเมื่อไหร่ เราก็จะเริ่มต้นชีวิตได้ ต้องหาอะไรที่เหมาะกับเรา ทำแล้วต้องมีความสุข เหมือนกับว่าเราต้องการจะไปถึงยอดเขาซึ่งมีอยู่ลูกเดียว เรามองไม่เห็นคนอื่นหรอก เราเดินจากฝั่งเรา นึกว่าขึ้นได้ทางเดียว แต่ไม่จริงหรอก คนอื่นก็ขึ้นได้ แต่มันเหมาะกับคนอื่นไง เราไปอยู่บนยอดเขาเมื่อไหร่เราจะเห็นได้ทุกทาง แต่ตอนอยู่เชิงเขาเรามองได้แคบมาก ทีนี้เรามีพื้นฐานอะไรก็ไปทางที่จะง่ายกับเรา หรือถ้าไม่ได้ก็เปลี่ยนได้ แต่มันจะช้าหน่อย แต่ถ้าอายุ 40 ยังไม่เจอนี่โง่กว่าปกติ ถ้าอายุ 40 ปีหาตัวเองเจอแล้วเดินตามทาง ชีวิตอีกครึ่งชีวิตนี้ก็ไม่หลงแล้ว ครึ่งชีวิต 40 ปีแรก หาความรู้ เตรียมเสบียงให้พร้อม พอถึง 40 ปุ๊บออกเดินเลย จนถึงอายุ 80 ก็พอแล้ว ก็บรรลุเป้าหมายของชาตินี้ไป ถ้าเราสนุกไปวันๆ เดี๋ยวก็ 40 แล้ว เสียเวลาไปชาติหนึ่ง

แหล่งที่มา :   นิตยสาร plook
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #685 เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2013, 22:04:10 »

ดูแล้วคิดถึงตอนเด็กๆ ยิงฟันยิ้ม

เหมือนกันครับ สังคมภาคอีสาน ในหมู่บ้านรอบนอกยังคงวิถีดั้งเดิมไว้ค่อนข้างดีครับ อยากไปเที่ยวดูงานทางภาคอีสานเหมือนกันครับแต่ระยะทางไกลมาก ๆ ไปทีต้องใช้เวลาหลายวันทีเดียว  ทุกวันนี้เลยต้องพึ่งอินเตอร์เน็ตแทนครับในการศึกษาหาความรู้ครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #686 เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2013, 22:08:08 »

เมื่อแม่โพสพตาย
ชาวนาก็กลายเป็นลูกกำพร้า

“เดชา ศิริภัทร"



ในบรรดากว่าร้อยละ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ของคนไทยซึ่งเป็นเกษตรกรนั้น ชาวนานับเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด และทรงความสำคัญต่อประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมือง มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงเกือบ ๓ ทศวรรษแห่งการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชาวนาไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางตกต่ำลงอย่างเห็นได้ชัดเจน จนอาจกล่าวได้ว่าใกล้ถึงจุดวิกฤตอยู่แล้ว โดยเฉพาะชาวนาในเขตเกษตรก้าวหน้าซึ่งมีการชลประทานและส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางและภาคเหนือ เราจะลองพิจารณาดูปัจจัยบางประการซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของชาวนาดังกล่าวตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน

ชาวนา: หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน
เมื่อเปรียบเทียบกับเกษตรกรกลุ่มอื่นๆแล้ว จะพบว่าชาวนามีลักษณะพิเศษต่างไปจากเกษตรกรอื่นๆอยู่บางประการ เช่น ในขณะที่ชาวไร่หมายถึงเกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชไร่ซึ่งมีอยู่หลายชนิด เช่น ข้าวโพด อ้อย ปอแก้ว หรือมันสำปะหลัง ฯลฯ และชาวสวนหมายถึงเกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชสวน ซึ่งก็มีอยู่หลายชนิด เช่น ผักชนิดต่างๆ หรือผลไม้ยืนต้นหลายชนิด เป็นต้น แต่สำหรับชาวนาแล้วหมายถึงเพียงเฉพาะเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวเท่านั้น

สำนวน“หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน”นับว่าเป็นสำนวนที่แสดงให้เห็นลักษณะของชาวนาโดยแท้ เพราะชาวนาจะต้องก้มหน้าลงดินและหันหลังสู้ฟ้าอยู่เสมอ ตั้งแต่เริ่มปักดำต้นข้าวไปจนถึงการเก็บเกี่ยว และเมื่อพิจารณาสำนวนนี้ให้ลึกลงไปอีกก็จะพบว่า ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างชาวนา ข้าว และฟ้าดิน ซึ่งหมายถึงธรรมชาติทั้งมวลนั่นเอง ดังจะเห็นได้จากวิถีชรวิตของชาวนาในอดีต ซึ่งสอดคล้องกับวิถีการผลิตข้าวและกับฤดูกาลของแต่ละท้องถิ่น

แม่โพสพ: มารดาของชาวนา
เมื่อชาวนาคือผู้เพาะปลูกข้าวเท่านั้น จึงเท่ากับว่าหากไม่มีข้าวก็ไม่มีชาวนา ข้าวจึงเป็นผู้ให้กำเนิดชาวนาอย่างแท้จริง โดยเฉพาะชาวนาไทยซึ่งเพาะปลูกข้าวมานานควบคู่กับประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย

ในหนังสือ เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีตของดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ขึ้นต้นบทแรกด้วยข้อความ“ชนเผ่าไทยทำนาเป็นหลัก เริ่มทำในที่ดอน แต่ต่อมาเคลื่อนย้ายมาทำในที่ลุ่มมากขึ้นเป็นลำดับ” ลักษณะสำคัญของชนเผ่าไทยดังกล่าว แม้ในปัจจุบันก็ยังคงดำรงอยู่ เช่น ไทยอาหมในประเทศอินเดีย ชาวไทยสิบสองปันนาในประเทศจีน ชาวไทยใหญ่ในประเทศพม่า และชาวไทยดำในประเทศเวียดนาม เป็นต้น ต่างยังคงทำนาเป็นหลักด้วยกันทั้งสิ้น

นอกจากนั้น การค้นพบทางโบราณคดียังบ่งชี้ว่า มีการเพาะปลูกข้าวในประเทศไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕,๐๐๐ ปี ที่บ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น ซึ่งนับว่าเป็นหลักฐานการเพาะปลูกข้าวอันเก่าแก่ที่สุดในโลก ขณะเดียวกันก็มีหลักฐานใหม่ๆซึ่งแสดงว่าชนชาติไทยกำเนิดขึ้นและอาศัยอยู่ในบริเวณประเทศไทยปัจจุบันตลอดมาตั้งแต่เดิม มิได้อพยพมาจาก“เทือกเขาอัลไต”ดังที่เคยเชื่อกัน

ดังนั้นจึงน่าเชื่อว่า คนไทยได้อาศัยเพาะปลูกข้าวอยุ่ในบริเวณนี้มานานนับพันปีแล้ว และเมื่อมีการจารึกอัการไทยเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงสุโขทัย ก็มีข้อความตอนหนึ่งว่า “เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” คำกล่าวในจารึกภาษาไทยซึ่งมีอายุ ๗๐๐ ปีแล้วนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความผูกพันของข้าวที่มีต่อคนไทยได้อย่างชัดเจน

จากความใกล้ชิดผูกพันระหว่างข่าวกับคนไทยที่มีมาตั้งแต่อดีตอันยาวนานนี่เอง ทำให้คนไทยยกย่องและเคารพรักข้าวยิ่งกว่าพืชพันธุ์ธัญญาหารชนิดใดๆ โดยเห็นจากคำเรียกข้าวอย่างเคารพว่า“แม่โพสพ” และมีพิธีกรรม ประเพณีต่างๆเกี่ยวกับข้าวอยู่มากมาย เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกราขวัญ พิธีทำขวัญข้าวเมื่อข้าวตั้งท้อง พิธีรับข้าวเข้ายุ้งฉางหลังการเก็บเกี่ยว และการทำความเคารพระลึกถึงคุณพระแม่โพสพก่อนรับประทานข้าว เป็นต้น

ดิน น้ำ ข้าว และชาวนา
เกษตรกรไทยในอดีตมีความเคารพนับถือธรรมชาติเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะดินและน้ำซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงสรรพชีวิตในโลกใบนี้ รวมทั้งพืชพันธุ์ธัญญาหารให้อุดมสมบูรณ์ ดังจะเห็นได้จากคำเรียกดินและน้ำว่า “แม่ธรณี” และ “แม่คงคา” รวมทั้งวิธีการปฏิบัติต่อดินและน้ำอย่างเคารพยกย่องในฐานะผู้มีพระคุณ

สำหรับชาวนา นอกจาก“แม่ธรณี”และ“แม่คงคา”แล้ว ยังมี “แม่โพสพ”ซึ่งเปรียบเสมือนมารดาของชาวนาโดยตรงอีกด้วย ความสัมพันธ์ระหว่าง “แม่ทั้งสาม”กับชาวนานั้น มีมากกว่าความสัมพันธ์ในระบบการผลิตและการบริโภคเท่านั้น เพราะยังรวมถึงวิถีการดำรงชีวิตทั้งหมดของชาวนาที่ได้รับการปรับให้สอดคล้องกันมานานนับร้อยนับพันปีอีกด้วย

เมื่อความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้องสมดุล ก็มีผลให้ทุกสิ่งดำเนินไปเป็นปกติ แต่หากมีส่วนใดเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่ถูกต้องหรือเสียสมดุล ก็จะทำให้ระบบความสัมพันธ์ดังกล่าวพังทลายลง เกิดเป็นปัญหาและอาจร้ายแรงจนกลายเป็นวิกฤตการณ์ได้ ดังเช่นที่เกิดกับชาวนาในปัจจุบัน

ความสมดุลในระบบการทำนาดั้งเดิม
ก่อนจะกล่าวถึงเรื่องวิกฤตการณ์ของชาวนาในปัจจุบัน เราจะย้อนกลับไปดูระบบการทำนาดั้งเดิมซึ่งมีความสมดุลเป็นปกติอยู่ได้นับร้อยๆกว่าปีว่าเป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น การทำนาในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางซึ่งน้ำท่วมถึง บริเวณจังหวัดอยุธยา สุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี เป็นต้น ชาวนาในเขตดังกล่าวจะไถนาเตรียมดินโดยใช้แรงงานควาย แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านประมาณเดือนกรกฎาคมซึ่งเป็นต้นฤดูฝน น้ำจะเอ่อท่วมแปลงนาในเดือนตุลาคม ซึ่งอาจท่วมสูงถึง ๒-๕ เมตร พันธุ์ข้าวพื้นเมืองจะยืดตัวสูงพ้นน้ำได้เรื่อยๆ จนกระทั่งระดับน้ำเริ่มลดลงและแห้งในเดือนมกราคมเป็นต้นไป ชาวนาก็เริ่มจะเก็บเกี่ยวข้าวซึ่งสุกเต็มที่ในบริเวณที่ดอนซึ่งน้ำแห้งก่อน ไปจนถึงบริเวณที่ลุ่มซึ่งน้ำแห้งหลังสุด การที่ข้าวสุกไม่พร้อมกันก็เนื่องจากชาวนาเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่อายุสั้น เก็บเกี่ยวได้ก่อนในที่ดอน และเลือกใช้พันธุ์ข้าวอายุยาวเก็บเกี่ยวได้ทีหลังในบริเวณที่ลุ่ม พันธุ์ข้าวอายุสั้นเรียกว่า “ข้าวเบา” และพันธุ์อายุยาวเรียกว่า “ข้าวหนัก” การเลือกใช้พันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับพื้นที่ นอกจากจะลดความเสียหายและเพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยวแล้ว ยังเป็นการกระจายแรงงานให้ใช้ได้เต็มที่ โดยไม่ต้องหาแรงงานเพิ่มเติมอีกด้วย

จะเห็นว่าในระบบนี้ ชาวนาต้องมีพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับท้องถิ่นและรู้จักสภาพพื้นที่และระดับน้ำ ระยะเวลาของแต่ละฤดูกาลอย่างละเอียด ซึ่งทั้งพันธุ์ข้าวและความรู้ต่างๆเหล่านี้ล้วนแต่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาหลายชั่วคน กล่าวเฉพาะพันธุ์ข้าวพื้นบ้านก็ถูกคัดเลือกเก็บรักษาไว้ในแต่ละท้องถิ่น รวมแล้วนับพันหมื่นสายพันธุ์ โดยชาวนาในแต่ละท้องถิ่นต่างก็คัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับความต้องการและสภาพท้องถิ่นของตน เช่น ชาวนาในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางที่น้ำท่วมถึงก็จะคัดพันธุ์ข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวที่ขึ้นน้ำได้ แข่งขันกับวัชพืชได้ดีเพราะใช้วิธีหว่านไม่มีมาตรการควบคุมวัชพืชเหมือนนาดำ ต้านทานต่อโรคและแมลงในท้องถิ่น เนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชใดๆ ไม่ต้องการปุ๋ยมากเพราะไม่ใส่ปุ๋ยเคมีทุกชนิด ต้นข้าวได้รับปุ๋ยจากจากดินตะกอนซึ่งน้ำพัดพามาทับถมทุกปี ดินตะกอนเหล่านี้ก็คือดินซึ่งน้ำพัดพามาจากแหล่งต้นน้ำลำธารอันอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ในภาคเหนือนั่นเอง

เมื่อทุกอย่างมีความสมดุล ชาวนาก็ดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุข แม้จะไม่ร่ำรวย เพราะได้ผลผลิตไม่มากนัก แต่ชาวนาในอดีตก็พึ่งตนเองในชุมชนได้สูง มีปัจจัยที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตครบถ้วน นอกจากนั้นยังมีเวลาและทรัพยากรเหลือพอสำหรับการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวนาไทยในแต่ละท้องถิ่นขึ้นมาได้อย่างต่อเนื่อง

การเปลี่ยนแปลง: ผลิตข้าวเพื่อส่งออก
อาจกล่าวได้ว่าจุดเริ่มต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงของชาวนา โดยเฉพาะที่ราบลุ่มภาคกลาง เกิดขึ้นเนื่องจากการเปิดประเทศภายหลัง “สนธิสัญญาเบาริ่ง”ในปี ๒๓๙๘ นับเป็นการเปิดศักราชการผลิตข้าวเพื่อการส่งออกขายต่างประเทศอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน มีการหักล้างถางพงในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางเพื่อเพิ่มพื้นที่การทำนา ช่วงต่อมาได้ขยายตัวไปถึงภาคเหนือด้วย หลังจากการคมนาคมทางรถไฟทำได้สะดวก มีการขุดคลองแยกจากแม่น้ำเพื่อนำน้ำไปใช้ทำนาเพื่อขึ้น เช่น การขุดคลองรังสิต เป็นต้น ซึ่งต่อมาได้ตั้งเป็นกรมชลประทานขึ้น รับผิดชาอบในการสร้างเขื่อนและคูคลองเพื่อนำน้ำมาใช้ในการเกษตรโดยเฉพาะซึ่งส่วนใหญ่ก็นำมาใช้ทำนานั้นเอง

การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ ๒๕ ปีที่ผ่านมา เมื่อการทำนาได้รับการพัฒนาโดยเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ ทั้งจากสถาบันระหว่างประเทศ เช่น สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์และจากหน่วยงานภายในประเทศไทยของเราเอง เช่น กรมการข้าว เป็นต้น

แต่การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงนั้นเกิดจากตัวชาวนาเองซึ่งเปลี่ยนทัศนคติและจุดมุ่งหมายจากการผลิตข้าวเพื่อบริโภคเองเป็นหลัก (เมื่อเหลือบริโภคจึงแลกเปลี่ยนหรือขายเพื่อให้ได้ปัจจัยการดำรงชีวิตที่จำเป็นอย่างครบถ้วน) กลายมาเป็นการมุ่งผลิตเพื่อขายเป็นหลัก ดังนั้นข้าวจึงกลายเป็นสินค้าชนิดหนึ่งไม่แตกต่างไปจากสินค้าชนิดอื่นๆซึ่งผลิตออกมาเพื่อขาย ชาวนาจึงไม่มีความสัมพันธ์กับข้าวในฐานะลูกของ “แม่โพสพ” ดังเช่นในอดีตอีกต่อไป ทั้งนี้รวมถึงความสัมพันธ์กับ “แม่ธรณี”และ “แม่คงคา”ซึ่งเคยมีความสมดุลก็สูญสลายไปด้วยเช่นเดียวกัน

จากเมล็ดข้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบการเกษตร
ระบบการเกษตรก็เช่นเดียวกับระบบอื่นๆทั่วไปนั่นเอง กล่าวคือ ประกอบด้วยส่วนต่างๆซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างแน่นแฟ้น เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปก็จะมีผลกระทบไปยังส่วนอื่นๆ ทำให้ระบบทั้งหมดเปลี่ยนแปลงไปในที่สุด
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะพบได้ในระบบเกษตรกรรมปัจจุบัน ซึ่งแตกต่างจากระบบเกษตรกรรมในอดีตมากมาย การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือมาประมาณ ๕๐ ปี และเกิดขึ้นในทวีปอื่นๆรวมทั้งเอเชียเมื่อประมาณ ๓๐ ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงนี้เรียกว่า “การปฏิวัติเขียว” นั่นเอง

การปฏิวัติเขียวเริ่มด้วยการเปลี่ยนแปลงพันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์พื้นบ้านดั้งเดิมให้กลายเป็นพืชหรือสัตว์พันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง โดยการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมโดยเฉพาะพืชหรือสัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด มันฝรั่ง หมู ไก่ และวัว เป็นต้น

สำหรับการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ข้าว เริ่มโดยการตั้งสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ(International Rice Research Institute-IRRI) ขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ในปี ๒๕๐๓ ซึ่งอีก ๓ ปีต่อมาก็ผลิต “ข้าวมหัศจรรย์”เผยแพร่ออกมาได้ นั่นคือข้าวพันธุ์ไออาร์ ๘ (IR8) หลังจากนั้นก็ผลิตข้าวไออาร์หมายเลขต่างๆออกมาอีกหลายสิบชนิดจนกระทั่งปัจจุบัน

ในประเทศไทยก็มีวิธีการเปลี่ยนพันธุ์ข้าวเช่นกัน จนได้พันธุ์ข้าว กข. (ย่อมาจาก “กรมการข้าว”) หมายถึงเลขต่างๆตั้งแต่กข.๑ จนถึง กข.๒๕ เป็นอย่างน้อย ซึ่งเมื่อได้พันธุ์ข้าวใหม่ๆที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ข้าวพันธุ์พื้นบ้านแล้วก็เผยแพร่ออกสู่ชาวนาไทยโดยผ่านโครงการแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวของกรมส่งเสริมการเกษตร หลักการใหญ่ๆของโครงการนี้คือ พยายามเพิ่มพูนพื้นที่ปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ออกไปให้ได้มากที่สุด และลดพื้นที่ปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้านดั้งเดิมลงให้เหลือน้อยที่สุด(หรือหมดไปเลย) โดยชักชวนให้ชาวนานำพันธุ์ข้าวพื้นบ้านมาแลกเปลี่ยนเป็นพันธุ์ข้าวชนิดใหม่ไปปลูกแทน ซึ่งชาวนาส่วยใหญ่ให้ความร่วมมือด้วยดี เพราะต้องการได้ผลผลิตสูงขึ้น

แต่การเปลี่ยนแปลงพันธุ์ข้าวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเท่านั้นเพราะผลผลิตมิได้เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนพันธุ์ข้าวเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเพิ่มปัจจัยการผลิตอื่นๆที่จำเป็นอย่างครบถ้วนทั้งระบบ เช่น การใส่ปุ๋ย การใช้สารฆ่าแมลง สารกำจัดวัชพืช การเตรียมดิน และชลประทานที่พอเพียง เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ชาวนาก็เปลี่ยนจากการพึ่งตนเองได้สูง มาเป็นการพึ่งภายนอกมากขึ้นทุกที ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ราคาข้าวตกต่ำลง สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวณเสื่อมโทรมลง วิถีชีวิตของชาวนาเปลี่ยนไป จนกระทั่งมีหนี้สินพอกพูนยิ่งขึ้นทุกที ถึงจุดที่เกือบจะเรียกได้ว่า “วิกฤตการณ์” ในปัจจุบัน

แม่โพสพตายแล้ว: ชาวนาคือลูกกำพร้าที่ต้องพึ่งพาตัวเองให้ได้
เมื่อมองสภาพชาวนาไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะชาวนาในเขตเกษตรก้าวหน้าซึ่งมีการชลประทาน จะเห็นว่ากำลังอยู่ในวิกฤตการณ์ ทั้งจากราคาข้าว ต้นทุนการผลิตการพึ่งพาภายนอก ทั้งการผลิต การตลาด และการบริโภค ฯลฯ การอยู่รอดของชาวนาจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและจริงจัง ทั้งระบบการผลิต และการดำเนินชีวิตของชาวนาเองเป็นอันดับแรก หรืออาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงสังคมทั้งหมดเลยก็ได้ เมื่อมองในระยะยาว

ในอดีต ชาวนาเคยมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขร่วมกับ “แม่โพสพ” “แม่ธรณี” และ “แม่คงคา” แต่ปัจจุบันชาวนามีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว เพราะ “แม่โพสพ”ตายจากไปแล้ว ตั้งแต่เมื่อชาวนาเห็นว่าข้าวเป็นเพียง “สินค้า” เช่นเดียวกันกับ “แม่ธรณี” และ “แม่คงคา” ก็ตายจากไปด้วยสารพิษนานาชนิดที่ชาวนาใส่ลงไปอย่างไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมา บัดนี้ชาวนาจึงกลายเป็นลูกกำพร้าที่ขาดพ่อแม่และไม่มีญาติมิตรเหลืออยู่เลย จะมีก็แต่ผู้คอยจ้องหาผลประโยชน์ด้วยการเอาเปรียบอยู่รอบข้าง
ชาวนาในฐานะลูกกำพร้าจึงต้องหาทางพึ่งตนเองให้ได้ ด้วยการตัดสินใจเลือกเดินทางที่ถูกต้อง และอดทนต่อสู้กับความยากลำบากต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุดโดยไม่ย่อท้อหรือหวังการช่วยเหลือจากผู้ใดทั้งสิ้น ถือเสียว่า เมื่อก่อกรรมใดย่อมได้ผลกรรมนั้นตอบแทน

ทั้งนี้เพราะชาวนานั่นเองที่เป็นผู้ทำให้ “แม่โพสพ” ต้องตายจากไป ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือด้วยความโง่เขลาเบาปัญญาก็ตาม
 

ปาจารยสาร ปี ๑๔ ฉบับที่ ๒ มีนาคม-เมษายน ๒๕๓๐
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #687 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2013, 12:36:12 »

ช่วงนี้ค่อนข้างเน้นศึกษาเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าวดูรายการนี้ก็มีสาระความรู้ดีทีเดียวครับ ควรดูให้จบนะครับ

กบนอกกะลา ตอนข้าวของแผ่นดิน

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #688 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2013, 14:17:42 »

ต่ออีกหน่อยให้จบ เป็นตอนที่ออกอากาศเมื่อ 08 ธันวาคม 2549  ก็ 6 กว่าปีมาแล้วครับ

IP : บันทึกการเข้า
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,176



« ตอบ #689 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2013, 20:38:40 »

เข้ามาติดตามอ่านเจ้า อยากลองนาโยน แต่เห็นเครื่องปลูกของคูโบต้า ก็โอเคเลยเจ้า กำจัดหญ้าง่าย ยังไม่รู้เลยจะทำยังไง ดินก็โดนสารเคมีมาตลอด ลองศึกษาไปก่อนเจ้า ไว้ลงมือจริงๆ ดรีมก็ขอคำปรึกษาด้วยเน้อเจ้า

หากมีอะไรช่วยได้ก็ยินดีให้คำปรึกษาครับ  แต่ระดับลูกศิษย์อาจารย์เดชา ศิริภัทธแล้วไม่น่าธรรมดาแล้วครับ ความรู้น่าจะแน่นมาก ๆ โดยเฉพาะเป็นเด็กรุ่นใหม่แล้วน่าจะเรียนรู้ได้เร็วครับ หายากครับเด็กผู้หญิงที่สนใจการทำนาทำเกษตรทั้งที่ไม่ได้เรียนจบมาด้านนี้ครับ  รถดำนาคุยกับ Sale และคนใช้เค้าบอกว่าถ้าเป็นรุ่นเดินตามระบบไม่ซับซ้อน การซ่อมบำรุงดูแลรักษาง่าย ค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่หากเป็นรุ่นนั่งขับระบบค่อนข้างซับซ้อนกว่ามากหากหมดหน้าทำนาแล้วจะต้องน้ำเข้าศูนย์เพื่อตรวจเช็ค ใจจริงก็อยากดำนาด้วยแรงงานคนครับตามวิถีคนไทยดั้งเดิม แต่เราจะทำคนเดียวยี่สิบกว่าไร่ก็ไม่ไหว สังคมแถวบ้านก็เปลี่ยนไปชาวนาดั้งเดิมมีอายุมาก การลงแขกมีไม่ค่อยมาก คนส่วนใหญ่ทำนาหว่านกัน อยากทำนาแบบปลอดภัยโดยเลือกทำนาดำเลยต้องพึ่งเทคโนโลยีครับ
ตอนไปมูลนิธิข้าวขวัญไม่เจออ.เดชาอะเจ้า อ.เดชา ไปดูงานที่ไตหวัน แต่ก็ได้ความรู้ได้มิตรภาพที่ดีๆเจ้า
IP : บันทึกการเข้า
เสือซุ่ม
Luckyim
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,309



« ตอบ #690 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2013, 21:14:25 »


ก่อนข้าวตั้งท้องใส่ปุ๋ยสูตรอะไรดีครับ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

***มักน้อย มีสาระ สันโดษ ทำประโยชน์ให้กับส่วนรวม***
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #691 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2013, 21:56:15 »

เข้ามาติดตามอ่านเจ้า อยากลองนาโยน แต่เห็นเครื่องปลูกของคูโบต้า ก็โอเคเลยเจ้า กำจัดหญ้าง่าย ยังไม่รู้เลยจะทำยังไง ดินก็โดนสารเคมีมาตลอด ลองศึกษาไปก่อนเจ้า ไว้ลงมือจริงๆ ดรีมก็ขอคำปรึกษาด้วยเน้อเจ้า

หากมีอะไรช่วยได้ก็ยินดีให้คำปรึกษาครับ  แต่ระดับลูกศิษย์อาจารย์เดชา ศิริภัทธแล้วไม่น่าธรรมดาแล้วครับ ความรู้น่าจะแน่นมาก ๆ โดยเฉพาะเป็นเด็กรุ่นใหม่แล้วน่าจะเรียนรู้ได้เร็วครับ หายากครับเด็กผู้หญิงที่สนใจการทำนาทำเกษตรทั้งที่ไม่ได้เรียนจบมาด้านนี้ครับ  รถดำนาคุยกับ Sale และคนใช้เค้าบอกว่าถ้าเป็นรุ่นเดินตามระบบไม่ซับซ้อน การซ่อมบำรุงดูแลรักษาง่าย ค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่หากเป็นรุ่นนั่งขับระบบค่อนข้างซับซ้อนกว่ามากหากหมดหน้าทำนาแล้วจะต้องน้ำเข้าศูนย์เพื่อตรวจเช็ค ใจจริงก็อยากดำนาด้วยแรงงานคนครับตามวิถีคนไทยดั้งเดิม แต่เราจะทำคนเดียวยี่สิบกว่าไร่ก็ไม่ไหว สังคมแถวบ้านก็เปลี่ยนไปชาวนาดั้งเดิมมีอายุมาก การลงแขกมีไม่ค่อยมาก คนส่วนใหญ่ทำนาหว่านกัน อยากทำนาแบบปลอดภัยโดยเลือกทำนาดำเลยต้องพึ่งเทคโนโลยีครับ
ตอนไปมูลนิธิข้าวขวัญไม่เจออ.เดชาอะเจ้า อ.เดชา ไปดูงานที่ไตหวัน แต่ก็ได้ความรู้ได้มิตรภาพที่ดีๆเจ้า

ที่มูลนิธิมีอาจารย์เก่ง ๆ หลายท่านครับ แถมได้เจอคุณ ชัยพร ชาวนาเงินล้านด้วยก็คุ้มมากแล้วครับ อยากไปเหมือนกันยังหาโอกาสไปอยู่ครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #692 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2013, 22:48:39 »


ก่อนข้าวตั้งท้องใส่ปุ๋ยสูตรอะไรดีครับ ยิงฟันยิ้ม

ตอบยากเหมือนกันครับ... เพราะถ้าจะถูกต้องจริง ๆ แล้วต้องใส่ปุ๋ยตามผลที่ได้จากวิเคราะห์ค่าดิน ใส่ปุ๋ยสูตรเหมือนกัน ปุ๋ยถุงเดียวกัน ใส่จำนวนเท่ากัน ข้าวพันธุ์เดียวกัน แต่แปลงนาคนละที่ก็ให้ผลต่างกันครับ  ถ้าหากตามกรมการข้าวแนะนำคือ

สูตรปุ๋ย                                                             ข้าวไวต่อช่วงแสง ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง
ปุ๋ยรองพื้น ระยะ 20 วันหลังหว่าน   (16-20-0, 18-46-0) 25 กิโลกรัมต่อไร่     30 กิโลกรัมต่อไร่
ปุ๋ยแต่งหน้า ระยะแตกกอสูงสุด      (46-0-0)               5 กิโลกรัมต่อไร่       10 กิโลกรัมต่อไร่
ปุ๋ยแต่งหน้า ระยะกำเนิดช่อดอก     (46-0-0)               5 กิโลกรัมต่อไร่       10 กิโลกรัมต่อไร่

สมัยก่อนปุ๋ย K แทบไม่ต้องใส่เพราะมีอยู่ในดินเหนียวอยู่แล้วแต่สำหรับนาที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีมานานทำให้อินทรีย์วัตถุในดินมีน้อยลง โครงสร้างดินเปลี่ยนไป ธาตุ K อาจไม่เพียงพอกับความต้องการของต้นข้าว ดังนั้นในดินขาดธาตุอะไรก็ต้องเติมธาตุนั้นให้ตามความต้องการ ชาวนาจึงนิยมใส่ปุ๋ยช่วงก่อนข้าวออกรวง 30 วันหรือช่วงระยะตั้งท้องเป็นสูตร 15-15-15 เพราะเป็นการตีค่าเฉลี่ยเพราะไม่รู้ว่าในนาของตัวขาดธาตุอาหารอะไรครับและเห็นผลว่าดี  แต่ก็สิ้นเปลืองพอสมควร ปุ๋ยสูตรนี้แพงกว่าปุ๋ยสูตรอื่นแต่โดยรวมแล้วมีข้อดีกว่าการใส่สูตร 46-0-0 อย่างเดียวครับ

- ไนโตรเจนเป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของเซลล์พืชทำหน้าที่หลายอย่างทั้งการสร้าง ซ่อมแซม และการสังเคราะห์แสงซึ่งเป็นปัจจัยหลักสำหรับการเจริญเติบโตทางกิ่งและใบของต้นพืช
- ฟอสฟอรัสเป็นธาตุสำคัญในการผลิตหน่วยให้พลังงานที่เรียกว่า ATPซึ่งจำเป็นสำหรับระยะที่พืชจะกระตุ้นเซลล์เนื้อเยื่อเจริญพื้นฐานให้พัฒนาเป็นตาดอก ทำให้เกิดดอกจำนวนมากได้แก่เมล็ดข้าว
- ส่วนโพแทสเซียมเป็นธาตุที่สำคัญ ในกระบวนการลำเลียงสารระหว่างเซลล์ดังนั้นเมื่อเร่งจนได้ดอกปริมาณมากแล้ว การที่จะทำให้สารอาหารที่พืชสร้างไว้มาหล่อเลี้ยงดอกและผลได้เต็มที่ทำให้ดอกผลสวยงาม จึงจำเป็นที่จะต้องเสริมธาตุโพแทสเซียม เพื่อสนับสนุนกระบวนการดังกล่าวนั่นเองสำหรับต้นข้าวคือจะช่วยเมล็ดเต็มและมีน้ำหนักมากขึ้น

ถ้าตามวิธีผมนะครับ ผมใส่ปุ๋ยอาจจะต่างกับชาวนาท่านอื่น ๆ ครับแต่ก็ช่วยให้ผมประหยัดปุ๋ยได้มากเหมือนกันครับ

ระยะ 20 วัน  ควรบำรุง  P - K เพื่อช่วยการสร้าง ลำต้น ใบ และราก 5-10 กก/ไร่

ระยะ แตกกอ  เน้นปุ๋ย N เพื่อเร่งสร้างลำต้นและเสริมสร้างใบ เป็นหลักแต่ควรบำรุง P เสริมด้วย 5-10 กก/ไร่

ระยะก่อนออกรวง   ให้ปุ๋ย N เล็กน้อยเพื่อให้คอรวงเตรียมรับน้ำหนักรวงข้าวได้แต่ไม่ควรมากไม่งั้นลำต้นและใบข้าวจะเขียวนานเกินไปไม่ยอมแก่เก็บเกี่ยวได้ช้า   ให้ P เป็นหลักเพื่อเสริมให้ออกรวงได้เมล็ดมาก ๆ ให้ K เสริมเพื่อช่วยในกระบวนการสะสมแป้งให้เมล็ดเต็มและมีน้ำหนักครับ  10-15 กก/ไร่

การผสมปุ๋ยสูตรก็น่าจะดีครับเช่น  16-20-0  ผสมกับ 15-15-15  ก็ได้ครับเพราะปุ๋ย 16-20-0 จะมีราคาถูกกว่าปุ๋ย 15-15-15
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #693 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2013, 12:34:15 »

หนังสั้นสะท้อนชีวิตชาวนาไทยในชนบทคงมีหลายครอบครัวที่เป็นแบบนี้ 

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #694 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2013, 15:57:43 »

คนไร้สารปุ๋ยอินทรีย์ เผื่อใครจะสนใจเก็บไว้อ่านครับ

http://www.banboon.org/pdf/07_humus.pdf



* ss_kl_humus.jpg (32.03 KB, 506x453 - ดู 477 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #695 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2013, 16:00:45 »

คนทำนา ข้าวอินทรีย์และเทคนิคการปลูกข้าวแบบปักเดี่ยว

ดาวน์โหลด  http://www.banboon.org/pdf/03_rice.pdf



* ss_kl_rice.jpg (53.34 KB, 506x512 - ดู 510 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #696 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2013, 16:27:46 »

คราวก่อนมีคนสนใจครับ  เลยนำมาลงเพิ่มให้ครับ

คนติดดิน บ้านดิน ปั้นฝัน ปั้นดินให้เป็นบ้าน

ดาวน์โหลด  http://www.banboon.org/pdf/06_home.pdf


* ss_kl_home.jpg (30.55 KB, 508x427 - ดู 488 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #697 เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2013, 22:02:18 »

ช่วงนี้นาบางแปลงอาจพบวัชพืชขึ้น บางชนิดก็ออกดอกแล้วหากเป็นไปได้ควรถอนกำจัดครับ หากมีมากชาวนาบางคนมักจะใช้วิธีพ่นยากำจัดวัชพืชครับซึ่งก็เป็นการทำลายระบบนิเวศน์อย่างหนึ่ง  แปลงนาผมก็มีขึ้นบ้างแต่ไม่มากก็ใช้วิธีการถอนกำจัดครับส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณริมคันนาบริเวณน้ำไม่ค่อยถึงครับ


* IMG_0838.JPG (33.15 KB, 700x525 - ดู 470 ครั้ง.)

* IMG_0840.JPG (96.78 KB, 525x700 - ดู 469 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #698 เมื่อ: วันที่ 15 มีนาคม 2013, 13:38:40 »

หนังสือสำหรับชาวนา  หายากครับที่จะสอนทุกอย่างในเล่มเดียวจบ อย่างพวกแมลงศัตรูข้าวและแมลงที่เป็นประโยชน์ยังต้องศึกษากันเป็นเล่นเลย

http://ag-ebook.lib.ku.ac.th/ebooks/2011-004-0148/index.html#/1/



* page0001_i25.jpg (12.56 KB, 192x300 - ดู 447 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #699 เมื่อ: วันที่ 15 มีนาคม 2013, 15:57:31 »

สัมมนาพิเศษเรื่องข้าว “ทิศทางข้าวไทยในปี 2556” 18 ก.พ. 2556

    มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดสัมมนาพิเศษเรื่องข้าว ภายใต้หัวข้อ “ทิศทางข้าวไทยในปี 2556” โดยมีผู้ร่วมอภิปราย คือ รศ.สมพร อิศวิลานนท์ (นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ) ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร (นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย) และ ร.ต.ท. เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ (อุปนายก สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย) ในวันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุม 701 ชั้น 7 อาคารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ
    ผู้เข้าร่วมฟังการสัมมนาทั้งสิ้น 89 คน มาจากองค์กรภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน และบุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องข้าว
ไฟล์แนบ ประกอบด้วย
หลักการและกำหนดการ   http://www.thairice.org/doc_dl/032013/principles.doc
ประวัติผู้บรรยาย และผู้ดำเนินรายการ  http://www.thairice.org/doc_dl/032013/bio.zip
Power point ของบทบรรยาย
ตลาดส่งออกข้าวไทย:การก้าวเข้าสู่ภาวะวิกฤตไทย โดย รศ.สมพร อิศวิลานนท์ http://www.thairice.org/doc_dl/032013/ppt-a.ppt
ทิศทางข้าวไทยในปี 2556 โดย ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร  http://www.thairice.org/doc_dl/032013/ppt-b.pdf
ภาพจากการสัมมนาฯ  http://www.thairice.org/doc_dl/032013/seminar-img.doc
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 [35] 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!