เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 26 เมษายน 2024, 13:25:23
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 [33] 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 406939 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #640 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 22:45:19 »

ผลกระทบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้านเศรษฐกิจ



ต้นทุนผลกระทบต่อเกษตรกร แท้จริงแล้วเป็นเช่นไร?         

หากพิจารณาในมิติเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชคงไม่จำกัดอยู่แค่ราคาที่เกษตรกรลงทุน ในการซื้อสารเคมี แต่รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เกิดจากโรคพิษเฉียบพลันและพิษสะสม ต้นทุนต่อความเสียหายในระบบนิเวศ และผลกระทบกรณีสารตกค้างในสินค้าเกษตรส่งออก การค้นหาข้อมูลต้นทุนที่แท้จริงจะช่วยสร้างความตระหนักว่าสังคมไทยต้องแลก อะไรกับการรักษาผลผลิตและการเติบโตของเศรษฐกิจทางการเกษตรในระยะสั้น

ในแต่ละปีประเทศไทยนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้าน บาทโดยที่ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า และแนวโน้มมูลค่าการนำเข้าได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามแนวโน้มของราคา น้ำมันที่เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของสารเคมีสังเคราะห์ทุกประเภท

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชยังเป็นภาระซ้ำเติมเกษตรกร เพราะมีสัดส่วนถึง 10% ของต้นทุนการผลิตต่อไร่ (กรณีการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์) และอาจมีสัดส่วนมูลค่าสูงถึง 30% ของต้นทุนการผลิต (ในกรณีการปลูกสตรอเบอรี่ เป็นต้น) การที่เกษตรกรในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงจากการทำเกษตรด้วยตนเองเป็น “ผู้จัดการไร่นา” มากขึ้น ทำให้ต้องบวกเพิ่มค่าใช้จ่ายการว่าจ้างฉีดพ่นสารเคมี ทำให้ต้นทุนเกี่ยวกับสารเคมีในการทำการเกษตรยิ่งมีมูลค่าสูงขึ้นกว่าเดิมมาก ยังไม่นับค่ารักษาพยาบาลของเกษตรกรและครอบครัวที่ด้านสุขภาพเฉลี่ยประมาณ 1,000 กว่าบาท/คน/ปี และเพิ่มขึ้นอีก 1,000 บาท/ปี สำหรับผู้ที่รับจ้างฉีดพ่นสารเคมี



ต้นทุนผลกระทบภายนอกในระดับมหภาค                                                                         

          สำหรับการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ ต้องพิจารณาถึงต้นทุนความเสียหายภายนอกอื่นๆ  Frauke Jungbluth (1996) ได้วิเคราะห์รวมต้นทุนการปนเปื้อนในอาหาร งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ และปัญหาจากการต้านทานของศัตรูพืช พบว่ามีต้นทุนรวมเฉลี่ยประมาณ 462.80 – 5,491.80 ล้านบาท/ปี ต่อมา ดร.สุวรรณา ประณีตวตกุล และคณะ ได้ปรับตัวเลขให้เป็นปัจจุบันมากขึ้นโดยใช้ข้อมูลของปี 2552 และพบว่ามูลค่าผลกระทบภายนอกสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อยู่ที่ประมาณ 671.39-11,588.90 ล้านบาท/ปี รวมทั้งได้ประยุกต์ใช้เทคนิคการประเมินที่เรียกว่า Pesticide Environmental Accounting เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนที่เกิดต่อเกษตรกรและแรงงานรับจ้าง ผู้บริโภค รวมไปถึงสัตว์และแมลงที่มีประโยชน์ ซึ่งพบว่า ต้นทุนผลกระทบภายนอกทั้งหมดเกือบเทียบเท่ามูลค่าการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรู พืชในแต่ละปี นั้นคือ 14,501 ล้านบาท และมีอัตราการเพิ่มขึ้น 14% ต่อปี ซึ่งหมายความว่า ในแต่ละปี ประเทศไทยลงทุนเพื่อการใช้สารเคมีทั้งสิ้นกว่า 30,000 ล้านบาท (ต้นทุนการนำเข้า + ต้นทุนผลกระทบภายนอก) ดังนั้น ภาครัฐต้องมีบทบาทสำคัญในการจำกัดการใช้สารเคมีซึ่งส่งผลทั้งต่อเศรษฐกิจและ สุขภาวะของประชาชน ไม่ใช่สนับสนุนและส่งเสริมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่น การอนุมัติงบประมาณหลายพันล้านบาท เพื่อซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกรณี การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว และการระบาดของเพลี้ยแป้งในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง

ความเสียหายต่อการส่งออก

          วิกฤตสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อการส่งออกสินค้า เกษตรไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งได้มีการเตรียมการที่จะระงับการนำเข้าผักส่งออกของไทย 16 ชนิด ในช่วงต้นปี 2554 เพราะการตรวจพบอัตราการปรากฏการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากที่สุดใน โลกในปี 2553 ที่ผ่านมา (ตรวจพบมากถึง 55 ครั้ง) และสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการส่งออกผักมูลค่า 2,785 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ สหภาพยุโรปเคยมีมาตรการกีดกันสินค้าพริกส่งออกจากไทยที่ทำให้เกิดความเสีย หายปีละประมาณ 800-900 ล้านบาท และสามารถส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังการส่งออกผักไทยไปยังประเทศอื่นๆ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #641 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 22:56:15 »

อุตสาหกรรมเคมีเกษตร

อุตสาหกรรมเคมีเกษตรระดับโลก

ตลาดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในตลาดที่ผูกขาดมากที่สุดในโลก โดยมีบรรษัทข้ามชาติเพียง 10 บรรษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดมากถึงร้อยละ 89 ของตลาดโลกในค.ศ. 2007 และในปีถัดมายังมีมูลค่าการตลาดสูงขึ้นร้อยละ 22 รวมเป็น 42,112 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.48 ล้านล้านบาท

หากเปรียบเทียบผู้นำตลาดสารเคมีเกษตรของโลกในค.ศ.1996/97 กับในปัจจุบัน จะพบว่า 6 บรรษัทผู้นำที่มีส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 74 ของปัจจุบันนั้นเกิดจากการรวมกิจการของหลายบรรษัทใหญ่ในอดีต โดยเฉพาะซินเจนทาและไบเออร์ (ภาพประกอบที่ 1.1 และ 1.2) ซึ่งมีประวัติการรวมกิจการที่ยาวนานและซับซ้อน ผ่านการรวมหรือซื้อกิจการอื่นเกือบสิบครั้งในระยะเวลาร้อยปีที่ผ่านมา ส่วนบรรษัทอันดับที่ 7 ถึง 10 จากรายชื่อผู้นำตลาด (Top 10) ได้เติบโตขึ้นหลังการหมดอายุของสิทธิบัตรสารเคมีเกษตรหลายชนิด

แต่ระหว่างบรรษัทเหล่านี้ก็มีการร่วมมือกัน เช่น การรวมทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา หรือการร่วมก่อตั้งสหพันธ์ ครอปไลฟ์อินเตอร์เนชั่นเนล (Crop Life International) ที่ทำหน้าที่ในการสนับสนุนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช “ที่ปลอดภัย” ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก


* 1.jpg (89.43 KB, 697x579 - ดู 596 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #642 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 22:58:20 »

บริษัทและตลาดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย

ตลาดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยเกิดขึ้นหลังมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉ.1) ที่สนับสนุนการทำเกษตรเชิงเดี่ยวในรูปแบบอุตสาหกรรม โดยในช่วงปฏิวัติเขียวตั้งแต่ปี 2504 ผู้ประกอบการคนไทยดำเนินธุรกิจปุ๋ยเคมีควบคู่กับการเป็นตัวแทนจำหน่ายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจากบรรษัทข้ามชาติ เมื่อตลาดเติบโตขึ้นจึงมีการลงทุนของบรรษัทข้ามชาติมาตั้งสาขาของตนเองในประเทศ เช่น มอนซานโต้ในปี 2511 และไบเออร์ครอปไซน์ในปี 2525 (ปัจจุบันชื่อ ไบเออร์ไทย) เป็นต้น การขยายตัวทางธุรกิจของบรรษัทข้ามชาติทำให้ผู้ประกอบการไทยหันไปซื้อสารเคมีชื่อสามัญ (generic) จากแหล่งผลิตในประเทศกำลังพัฒนา เช่น จีนและอินเดีย มากขึ้น

ธุรกิจเคมีเกษตรในประเทศไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีผู้นำเข้า 236 ราย ผู้ผสมปรุงแต่งสารเคมี 90 ราย  ผู้ขายส่ง 543 ราย และผู้ขายปลีก 15,822 ราย มีอัตราการเติบโตของตลาดเฉลี่ย 6-7% ต่อปี โดยมีผู้ครองตลาด 5 รายแรก ได้แก่ ซินเจนทาครอปโปรเทคชั่น เอราวัณเคมีเกษตร ไบเออร์ไทย ลัดดา และเมเจอร์ฟาร์ ครอบครองตลาด 36% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด บริษัทเหล่านี้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างครบวงจรตั้งแต่การขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย การนำเข้า ผลิต/ปรุงแต่ง และจำหน่าย และยังได้ประกอบกิจการในด้านอื่นๆ เช่น เคมีภัณฑ์ด้านโภชนาการ การแพทย์ ปิโตรเคมี ฯลฯ ยกเว้นบริษัทซินเจนทาแห่งเดียวที่มีเพียงธุรกิจสารเคมีเกษตร

ผู้ประกอบการมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูงเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดด้วยนโยบายส่งเสริมการขายนานัปการ  ในทวีปเอเชีย บรรษัทเคมีเกษตรได้ลงทุนด้านการส่งเสริมการขายถึง 1,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี และสำหรับประเทศไทย การสำรวจค่าใช้จ่ายของ 7 บริษัทรายใหญ่ผู้นำเข้า ผสมปรุงแต่ง และจำหน่ายสารเคมีเกษตร (ได้แก่ บริษัทโซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล, เจียไต๋, เชอร์วู้ด เคมิคอล, ที.เจ.ซี. เคมี, เมเจอร์ฟาร์ คอร์ปอเรชั่น, เอสแอนด์พี ฟอร์มูเลเตอร์, และ ฮุยกวง) ชี้ว่า มีการลงทุนด้านการตลาดและโฆษณา 400 ล้านบาทในปี 2552  ซึ่งมากกว่าการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาสารเคมีในปีเดียวกันที่มีมูลค่า 8.5 ล้านบาท (46 เท่าตัว)

นอกเหนือจากการใช้ช่องทางการสื่อสารและโฆษณาแล้ว บริษัทยังใช้กลวิธีเพิ่มชื่อการค้าและทำให้เกษตรกรผู้ซื้อเกิดความสับสนเพื่อสร้างความแตกต่างและเปิดช่องทางการซื้อขาย เช่น มีการจดทะเบียนการค้าสารเคมีเกษตรในชื่อต่างกัน แม้ว่าจะเป็นสารชนิดเดียวกัน สูตรเดียวกัน แหล่งผลิตจากต่างประเทศเดียวกัน และผู้ประกอบการในประเทศบริษัทเดียวกัน



การร่วมมือกันของเหล่าบริษัทเคมีเกษตร
แม้การแข่งขันทางการตลาดยังอยู่ในระดับสูง แต่บริษัทสารเคมีเกษตรมีการร่วมมือกันเพื่อประสานงานกับภาครัฐ และสร้างความเข้มแข็งในการประกอบกิจการผ่านโครงการต่างๆ ผ่านการทำงานของสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร ซึ่งครอบคลุมทั้งธุรกิจยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมี และสมาคมอารักขาพืชไทยซึ่งเป็นเครือข่าย สหพันธ์ครอปไลฟ์เอเชีย (Crop Life Asia) และครอปไลฟ์อินเตอร์เนชั่นเนล (Crop Life International) สมาคมทั้งสองแห่งนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเพราะมีหลายบริษัทที่อยู่ในรายชื่อสมาชิกของทั้งสองสมาคมเช่น เจียไต๋ ป.เคมีเทค และเอราวัณเคมีเกษตร กิจกรรมหลักของสมาคม ได้แก่ การประสานงานด้านวิชาการและกฎระเบียบต่างๆ เรื่องการจัดการสารเคมีกำจัดศัตรูพืชระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การเผยแพร่ข้อมูลและให้ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีเกษตรผ่านการอบรมหรือจัดงานสัมมนา การควบคุมคุณภาพของวัตถุอันตรายทางการเกษตร และการแก้ไขปัญหาสารเคมีปลอม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #643 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2013, 20:26:53 »

วันนี้ล้อมเล้าเป็ดเรียบร้อยแล้วครับ ใช้เวลาทำประมาณ 5 ชั่วโมงกว่าเสร็จตอนบ่าย 2 ใช้ตาข่ายพลาสติกซื้อมา 390 บาทความสูง 2 ม.ยาว 30 ม. ใช้แค่ 14 ม. เอาไว้จะทำโรงเรือนต่อน่าจะใช้เวลาช่วงเย็นได้ครับ


* IMG_0556.JPG (95.18 KB, 700x525 - ดู 538 ครั้ง.)

* IMG_0562.JPG (109.1 KB, 700x525 - ดู 537 ครั้ง.)

* IMG_0572.JPG (102.56 KB, 700x525 - ดู 500 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #644 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2013, 20:38:03 »

ทำเสร็จก็นำเป็ดเข้าเล้าครับ เป็ดค่อนข้างชอบเดินสำรวจทั่วเล้าเลย และก็ลองนำกระต่ายที่เลี้ยงไว้มาปล่อยวิ่งเล่นดู


* IMG_0571.JPG (100.19 KB, 700x525 - ดู 510 ครั้ง.)

* IMG_0585.JPG (85.13 KB, 700x525 - ดู 545 ครั้ง.)

* IMG_0590.JPG (81.44 KB, 700x525 - ดู 541 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #645 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2013, 20:45:18 »

ทำเล้าเสร็จก็ไปตักแกลบครับเจ้าของโรงสีให้ฟรี เพื่อมาโรยพื้นเล้าเป็ดและส่วนหนึ่งจะนำไปทำแกลบดำเตรียมไว้ครับ คงทยอยทำสัปดาห์ละ 10 กส.ก็คงพอดี  แกลบ 10 กส.หากนำมาทำแกลบดำจะเหลือประมาณ 3 กส.กว่า ๆ เท่านั้น


* IMG_0580.JPG (71.72 KB, 700x525 - ดู 530 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #646 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2013, 20:55:39 »

ทำอะไรเสร็จก็ไปนาต่อครับ ชาวนาวันหยุดก็ต้องมีอะไรให้เยอะครับ ก่อนถึงนาจะเห็นนาบางแปลงที่พึ่งพ่นยาฆ่าหญ้ารอบสองครับ  รอบแรกเป็นยาคุม หากยังมีวัชพืชอยู่ก็ต้องพ่นยาฆ่าหญ้าอีกรอบเปลืองต้นทุนไปอีก  นาอีกฝั่งผม พ่นยาคุมไปซัก 2 ชั่วโมงฝนตกซึ่งปกติจะต้องปล่อยไว้อีก 2-3 วันถึงจะปล่อยน้ำเข้านา แต่ก็ไม่เห็นจะมีหญ้าเยอะเลย ส่วนหนึ่งคือมักจะล่อให้หญ้าขึ้นและทำลายกับหากพบมีหญ้าในนาก็ถอนไม่ปล่อยให้หญ้าแก่และเมล็ดร่วงลงในนาอีกรอบทำนาครั้งต่อไปหญ้าก็จะน้อยกว่าเดิมครับ ส่วนยาคุมก็มีผลเหมือนกันครับแต่ละยี่ห้อก็ให้ผลไม่เหมือนกัน


* IMG_0593.JPG (70.81 KB, 700x525 - ดู 503 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #647 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2013, 21:02:04 »

ไปที่นาตัวเอง ไปพ่นน้ำส้มควันไม้กับไคโตซาน และสังเกตุข้าวไปด้วยข้าวเริ่มฟื้นตัวเองมาบ้างแล้วหลังจากใบหักเนื่องจากโดนลมและลูกเห็บจากพายุฤดูร้อนที่ผ่านมา ลำต้นและใบข้าวบางส่วนก็ยังมีร่องรอยของลูกเห็บอยู่ก็มีครับ  หญ้าคันนาก็เริ่มยาวแล้วเพราะฝนตกบ่อยก็ต้องตัดให้สั้นครับหากปล่อยไว้ยาว ๆ ไม่ดีโดยเฉพาะช่วงแตกกอเป็นต้นไป


* IMG_0595.JPG (60.14 KB, 700x525 - ดู 519 ครั้ง.)

* IMG_0596.JPG (50.47 KB, 700x525 - ดู 558 ครั้ง.)

* IMG_0598.JPG (61.93 KB, 700x525 - ดู 557 ครั้ง.)

* IMG_0599.JPG (42.81 KB, 700x525 - ดู 496 ครั้ง.)

* IMG_0606.JPG (89.41 KB, 700x525 - ดู 489 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #648 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2013, 21:07:18 »

ข้าวแตกกอเกือบหมดแล้ว ช่วงนี้ก็ไม่ได้นำน้ำเข้านาแล้ว แต่ก็ยังมีน้ำขังเพราะฝนตกนั่นเอง


* IMG_0620.JPG (100.77 KB, 700x525 - ดู 508 ครั้ง.)

* IMG_0628.JPG (97.75 KB, 700x525 - ดู 516 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #649 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2013, 21:19:38 »

ในแปลงนาผมมักจะผม สาหร่ายน้ำจืดหรือที่เรียกกันว่า เตา ครับเป็นส่าหร่ายที่มักส่งเสริมให้มีการเลี้ยงในนาข้าว โดยผลการวิจัย ดร. ดวงพร อมรเลิศพิศาล อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้   สาหร่ายเตา มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วย โปรตีน 18-20% ไขมัน 5-6% คาร์โบไฮเดรต 55-60% เส้นใย 7-10% และรงควัตถุหลายชนิด เช่น คลอโรฟิลล์ เอ และบี เบต้าแคโรทีน และแซนโทฟิลล์

นอกจากนี้ ยังพบกลุ่มสารประกอบฟีโนลิก และโพลีแซ็กคาไรด์ในสาหร่ายเตา และการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสาหร่ายเตานั้น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง เพราะอนุมูลอิสระ (free radicals) จะทำลายเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เซลล์ได้รับความเสียหายที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรค, มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดความรุนแรงของโรคเบาหวาน, มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ป้องกันการอักเสบ บวม แดง, มีความสามารถในการเป็นพรีไบโอติก โดยส่งเสริมการเจริญของเชื้อ Lactobacillus fermentum, มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส ช่วยป้องกันการเกิดฝ้าและจุดด่างดำ มีสารเมือกหรือมอยส์เจอไรเซอร์ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง

แต่เห็นแบบนี้ก็ควรตักออกบ้างครับเพราะหากมีมาก ๆ น้ำในนาก็มีโอกาสเน่าได้หรือปล่อยให้น้ำแห้งไปก่อนก็ได้ครับ เตาในแปลงนาหว่านก็คงไม่ปลอดภัย 100 % เพราะมีการใช้ยาคุมหญ้าและน้ำจากแปลงข้างเคียงที่เค้าอาจใช้ยาคุมหญ้าและยากำจัดแมลงในการปราบหอยเชอรี่ครับ


* IMG_0617.JPG (48.54 KB, 525x700 - ดู 532 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #650 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2013, 21:34:03 »

แปลงนาในมุมอื่น ๆครับ จับปูนามาดูครับเดี๋ยวนี้ลดน้อยลงไปมากเพราะมีการใช้ยากำจัด ที่จริงตั้งใจจะกำจัดเฉพาะหอยเชอรี่แต่สัตว์น้ำประเภทอื่น ๆก็พลอยได้รับผลไปด้วย  หอยเชอรี่ก็ยังคงเป็นปัญหาไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีการให้ธรรมชาติควบคุมกันเองหรือการช่วยกันเก็บหอยเชอรี่ในแปลงในมากำจัดเหมือนในต่างประเทศและภาคอื่น ๆของประเทศครับ


* IMG_0640.JPG (45.5 KB, 700x525 - ดู 472 ครั้ง.)

* IMG_0651.JPG (89.59 KB, 700x525 - ดู 526 ครั้ง.)

* IMG_0654.JPG (135.7 KB, 700x525 - ดู 528 ครั้ง.)

* IMG_0656.JPG (82.54 KB, 700x525 - ดู 525 ครั้ง.)

* IMG_0646.JPG (75.45 KB, 700x525 - ดู 494 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #651 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2013, 21:39:04 »

เสร็จจากนาฝั่ง 13 ไร่เสร็จก็มาปลูกต้นดอกดาวเรืองครับ ตอนแรกคิดว่าไม่เหลือแล้วเพราะถาดเพราะคว่ำเสียหายแต่ลองน้ำต้นดอกดาวเรืองมาเรียงและลดน้ำใหม่ ต้นฟื้นกลับมาเลยนำมาปลูกครับ


* IMG_0660.JPG (101.75 KB, 700x525 - ดู 508 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #652 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2013, 21:50:49 »

เสร็จแล้วก็มาดูนาอีกฝั่ง 9 ไร่แปลงนี้ทำให้พ่อแม่ครับ ขายข้าวได้เท่าไหร่ยกให้พ่อแม่หมด ก็จะมีรายได้จากนา 9 ไร่ปีละประมาณ 2 แสนกว่าบาทหักต้นทุนแล้วก็จะเหลือประมาณ 1.5 แสนบาท แปลงนี้ทำช้ากว่าแปลงนา 13 ไร่ไปประมาณหนึ่งสัปดาห์ครับ แปลงนี้ที่ว่าพ่นยาคุมหญ้าเสร็จแล้วโดนฝนตกใส่อย่างหนัก 1 คืนเต็ม ๆ แต่ก็ไม่เห็นหญ้าให้กวนใจอะไรมากมายครับ ไม่ต้องพ่นรอบสองรอดตัวไป


* IMG_0691.JPG (92.52 KB, 700x525 - ดู 507 ครั้ง.)

* IMG_0692.JPG (71.06 KB, 700x525 - ดู 528 ครั้ง.)

* IMG_0693.JPG (55.49 KB, 700x525 - ดู 478 ครั้ง.)

* IMG_0694.JPG (67.42 KB, 700x525 - ดู 498 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #653 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2013, 22:08:19 »

วันนี้ก็ทำอะไรต่าง ๆ มากมายกับอาชีพชาวนาครับ พรุ่งนี้ตอนเช้าก็ต้องไปตัดหญ้าคันนา สาย ๆ ก็ไป อ.พาน ไปดูข้าวพันธุ์ เย็น ๆ ก็กลับมาตัดหญ้าต่อครับ

ลาวันนี้ด้วยรูปคันนา 2 แปลง แปลงด้านซ้ายไม่เคยใช้สารเคมีในการกำจัดหญ้าพบว่ามีพืชขึ้นหลากหลายและมีการทับถมและก่อตัวของตะกอนมากขึ้นและพืชช่วยในการลดการชะล้างของกระแสน้ำทำให้คันนายังอยู่ในสภาพดีและมีแนวโน้มกว้างออกไปเรื่อย ๆ อีกด้วยกับอีกฝั่งพ่นยาฆ่าหญ้าในการกำจัดตลอด เมื่อถูกกระแสน้ำจึงเกิดการชะล้างได้ไวเหมือนเป็นดินทรายจนคันนาบางกว่าเดิม  คันนี้ขึ้นใหม่ปีที่ผ่านมาตอนนี้ก็มีแนวโน้มจะพังอีกต้องจ้างรถแบคโฮมาขึ้นให้ใหม่อีกแล้ว...ฝั่งซ้ายอยู่มา 3 ปีแล้วก็ยังคงได้ต่อไปได้อีกนาน  ยาฆ่าหญ้าแม้สะดวกรวดเร็วแต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีผลเสียครับ


* IMG_0697.JPG (58.14 KB, 700x525 - ดู 487 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #654 เมื่อ: วันที่ 10 มีนาคม 2013, 20:54:05 »

วันนี้ช่วงสายไป อ.พานครับ ตั้งใจจะไปซื้อพันธุ์ข้าวได้ข้าวหอมนิล และหอมมะลิแดงมาครับ ตั้งใจจะมาทดลองปลูกเพื่อใช้กินในครอบครัว ทำพันธุ์ต่อและสีไปแจกญาติ ๆ และคนรู้จักครับ


* IMG_0731.JPG (51.52 KB, 700x525 - ดู 497 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #655 เมื่อ: วันที่ 10 มีนาคม 2013, 21:03:06 »

ลุงปา เจ้าของบ้านให้การต้องรับเป็นอย่างดีครับ คุยตามแบบชาวบ้าน ลุงแกนอกจากปลูกข้าวอินทรีย์แล้ว แกทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ยังทำไบโอดีเซลด้วย แกยังให้สาร พด.กลับบ้านด้วย สาร พด. ของกรมพัฒนาที่ดินมีหลายสูตรแล้วแต่จะเลือกใช้  สาร พด.มีประโยชน์มากครับแต่ชาวนาส่วนใหญ่ไม่ค่อยใช้กัน


* IMG_0728.JPG (72.16 KB, 700x525 - ดู 492 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #656 เมื่อ: วันที่ 10 มีนาคม 2013, 21:11:04 »

อาหารเลี้ยงเชื้อและหัวเชื้อจุลินทรีย์ มักไม่ค่อยเห็นเท่าไหร่ครับ ส่วนใหญ่อาหารเลี้ยงจุลินทรีย์สามารถใช้กากน้ำตาลหรือซากพืช ซากสัตว์ต่าง ๆ อาจเป็นเพราะสามารถทำเองได้จึงมักไม่ค่อยมีร้านค้านำมาจำหน่าย ส่วนมากก็จะเห็นเป็นหัวเชื้อ EM และกากน้ำตาลมากกว่า 2 ขวดนี้ผลิตที่พะเยานี่เอง


* IMG_0724.JPG (50.54 KB, 525x700 - ดู 506 ครั้ง.)

* IMG_0725.JPG (46.1 KB, 525x700 - ดู 468 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #657 เมื่อ: วันที่ 10 มีนาคม 2013, 21:33:30 »

ผลิตภัณฑ์ของชุมชนครับส่วนใหญ่จะส่งให้กับโรงพยาบาลซึ่งส่งปริมาณมาก แต่ก็มีแพ็กย่อยขายอยู่ ยืมรูปจากในเว็ปมาผมซื้อข้าวพันธุ์จากน้าคนนี้พอดีครับ


* 1.jpg (131.29 KB, 668x488 - ดู 490 ครั้ง.)

* 2.jpg (161.95 KB, 667x487 - ดู 529 ครั้ง.)

* 3.jpg (153.24 KB, 666x486 - ดู 501 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #658 เมื่อ: วันที่ 10 มีนาคม 2013, 21:41:23 »

ไปพานกลับมาบ้านก็ไปนา ตัดหญ้าและพ่นน้ำส้มควันไม้+ไคโตซานต่อครับ คันนาที่พูดถึงเมื่อวานครับลองเปรียบเทียบกันดูครับฝนตกน้ำไหลแรง ๆ คันนาไหนจะพังก่อนกัน


* IMG_0733.JPG (52.82 KB, 700x525 - ดู 519 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #659 เมื่อ: วันที่ 10 มีนาคม 2013, 21:48:09 »

พ่นน้ำส้มควันไม้+ไคโตซานครับ พวกนี้เป็นสารที่ได้จากธรรมชาติไม่ได้มีพิษมีภัยอะไร น้ำส้มควันไม้จะมีกลิ่นฉุนนิดหน่อย  การพ่นปกติต้องลงในแปลงนาครับแต่เห็นว่าไมมีการระบาดของแมลงและโรค และเห็นช่วงนี้เห็นข้าวแตกกอเลยไม่อยากไปเหยียบต้นข้าวให้เสียหายเลยอาศัยพ่นเหนือลมช่วยให้ลมพัดไปดีกว่า 


* IMG_0751.JPG (73.24 KB, 700x525 - ดู 493 ครั้ง.)

* IMG_0767.JPG (75.8 KB, 700x525 - ดู 484 ครั้ง.)

* IMG_0769.JPG (88.27 KB, 700x525 - ดู 493 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 [33] 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!