เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 27 เมษายน 2024, 00:33:58
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 [54] 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 406975 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1060 เมื่อ: วันที่ 11 กรกฎาคม 2013, 22:39:17 »

ข้าวในนาที่ปลูกไปแล้วเริ่มฟื้นตัวมาได้แล้วครับสามารถใส่ปุ๋ยได้แล้ว  นาปีหอยเชอรี่เยอะเสียหายต้องปลูกซ่อมพอสมควร เสาร์อาทิตย์นี้นอกจากต้องทำเทือกอีก 9 ไร่ต้องมา ซ่อมข้าวและใส่ปุ๋ยอีกครับ


* SAM_1256.JPG (49.09 KB, 700x525 - ดู 578 ครั้ง.)

* SAM_1257.JPG (49.17 KB, 700x525 - ดู 549 ครั้ง.)

* SAM_1258.JPG (54.63 KB, 700x525 - ดู 526 ครั้ง.)

* SAM_1259.JPG (68.9 KB, 700x525 - ดู 529 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1061 เมื่อ: วันที่ 11 กรกฎาคม 2013, 22:43:03 »

แต่ก็นับว่าโชคดีกว่าชาวนาหลายท่านครับ บางคนนาหว่านเสียหายถึงกับต้องทำใหม่เลยทีเดียว บางคนข้าวโตแล้วแต่พบว่ามีข้าววัชพืชมาก ก็ไถทำใหม่ก็มี ยังไงก็ต้องสู้ต่อไปครับ


* SAM_1254.JPG (71.68 KB, 700x525 - ดู 521 ครั้ง.)

* SAM_1260.JPG (75.02 KB, 700x525 - ดู 526 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1062 เมื่อ: วันที่ 11 กรกฎาคม 2013, 22:44:26 »

ที่ดักหอยที่เมื่อวานทำนำมาใช้แล้วครับ


* SAM_1249.JPG (92.99 KB, 700x525 - ดู 521 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,575


canon eos


« ตอบ #1063 เมื่อ: วันที่ 12 กรกฎาคม 2013, 05:23:48 »

 ยิ้มกว้างๆ....ตอนนี้กำลังลุ้นว่าน้ำจะท่วมนาข้าวไหม....น้ำแม่น้ำจันเพิ่มระดับขึ้นมาตั้งแต่เมื่อวาน....
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1064 เมื่อ: วันที่ 12 กรกฎาคม 2013, 10:48:39 »

ยิ้มกว้างๆ....ตอนนี้กำลังลุ้นว่าน้ำจะท่วมนาข้าวไหม....น้ำแม่น้ำจันเพิ่มระดับขึ้นมาตั้งแต่เมื่อวาน....

เอาใจช่วยให้น้ำไม่มากจนท่วมนาข้าวครับ  ผมก็ลุ้นเสาร์ อาทิตยต์ ไม่ให้ฝนตกมากครับเพราะจะดำนาซ่อมข้าวและทำเทือกอีก 9 ไร่ครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1065 เมื่อ: วันที่ 12 กรกฎาคม 2013, 13:04:04 »

ศึกษาเรื่องสารซาโปนิน ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในกากชาน้ำมัน ที่เรามาใช้กำจัดหอยเชอรี่ ก็พบว่ามีพืชหลายชนิดที่มีสารตัวนี้อยู่แต่ต้องมีการสกัดเช่นเดียวกับกาชา พืชหลายชนิดหาได้ง่ายในท้องถิ่น ใครศึกษาต่อก็น่าจะมีประโยชน์ครับ

http://www.fisheries.go.th/if-center/web2/images/pdf/saponin.pdf

http://it.doa.go.th/refs/files/1609_2553.pdf

http://www.ldd.go.th/menu_Dataonline/G8/G8_10.pdf





* saponin2.jpg (85.26 KB, 624x312 - ดู 581 ครั้ง.)

* D11200449-0.jpg (99.58 KB, 600x450 - ดู 592 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1066 เมื่อ: วันที่ 12 กรกฎาคม 2013, 13:41:34 »

เวลาใครทำไร่ทำนารู้สึกเหนื่อย ๆ หรือรู้สึกท้อแต่หากได้มาชมรายการนี้ตอนนี้คงทำให้มีกำลังสู้ขึ้นมาไม่มากก็น้อยครับ  เค้าเหนื่อยกว่าเราเยอะ





IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1067 เมื่อ: วันที่ 12 กรกฎาคม 2013, 21:10:49 »

ทุ่งนายามเย็นครับ  ต้นข้าวเริ่มฟื้นตัวหลักจากถูกปักดำได้แล้วสามารถใส่ปุ๋ยรอบแรกได้แล้ว พรุ่งนี้ต้องใส่ละครับเพื่อเร่งลำต้นให้พ้นน้ำพ้นหอยครับ


* SAM_1264.JPG (84.33 KB, 700x525 - ดู 481 ครั้ง.)

* SAM_1263.JPG (87.19 KB, 700x525 - ดู 506 ครั้ง.)

* SAM_1267.JPG (76.1 KB, 700x525 - ดู 489 ครั้ง.)

* SAM_1268.JPG (76 KB, 700x525 - ดู 483 ครั้ง.)

* SAM_1269.JPG (78.5 KB, 700x525 - ดู 482 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1068 เมื่อ: วันที่ 12 กรกฎาคม 2013, 21:14:26 »

นาอีกฝั่งต้นกล้าเริ่มเขียวแล้วครับ ดีกว่าตอนเพาะบนบกมาก อีกประมาณ 1 สัปดาห์ก็สามารถนำไปดำได้แล้วครับ


* SAM_1266.JPG (64.27 KB, 700x525 - ดู 492 ครั้ง.)

* SAM_1265.JPG (66.32 KB, 700x525 - ดู 477 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #1069 เมื่อ: วันที่ 13 กรกฎาคม 2013, 15:08:18 »

ดุภาพแล้วมีความสุข นึกถึงอดีต คิดถึงบ้านครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1070 เมื่อ: วันที่ 14 กรกฎาคม 2013, 21:05:20 »

ดุภาพแล้วมีความสุข นึกถึงอดีต คิดถึงบ้านครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

 ยิ้มกว้างๆ  ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1071 เมื่อ: วันที่ 14 กรกฎาคม 2013, 21:23:58 »

เมื่อวานใส่ปุ๋ย และทำเทือกครับ  ทำเทือกเกือบเที่ยง กว่าจะเสร็จ 9 ไร่ก็ปาไป 2 ทุ่มครับ  ส่วนนาที่ดำไปแล้ว 13 ไร่มีปัญหาเรื่องหอยเชอรี่เสียหายไปหลายไร่ก็ต้องซ่อมครับ มีกล้าซ่อมเยอะพอสมควร ค่อย ๆซ่อมพร้อมกำจัดไป ตอนนี้ก็ลดระดับน้ำลงเพื่อลดการเสียหายครับเพราะหอยเข้ามาตลอดรอบข้างยังไม่ปลูกกันหอยเชอรี่เลยข้ามมาตลอด  ปีหน้าจะทำคันนาสูง ๆ และกว้างกว่านี้ครับ  ส่วนฝั่ง 9 ไร่ไม่ค่อยมีปัญหา ตอนนี้ใส่กากชากำจัดตอนทำเทือกไปแล้วเดี๋ยวก่อนปักดำค่อยใส่อีกรอบครับ


* SAM_1276.JPG (59.94 KB, 700x525 - ดู 457 ครั้ง.)

* SAM_1277.JPG (57.31 KB, 700x525 - ดู 452 ครั้ง.)

* SAM_1283.JPG (72.08 KB, 700x525 - ดู 446 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1072 เมื่อ: วันที่ 14 กรกฎาคม 2013, 21:35:00 »

ต่าข่ายดักหอยเชอรี่ ที่จะมากับน้ำที่คลองชลประทานครับปีนี้ทำช้าไปหน่อยหอยเชอรี่ลงไปในนาพอสมควรครับ


* SAM_1284.JPG (97.69 KB, 700x525 - ดู 442 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #1073 เมื่อ: วันที่ 16 กรกฎาคม 2013, 10:34:02 »

แวะมาผ่อ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1074 เมื่อ: วันที่ 16 กรกฎาคม 2013, 15:21:10 »

ดูกี่ทีก็ไม่เบื่อครับ.....


อรหันต์ชาวนา ความพอเพียงในแบบของ แหลม พูนศักดิ์


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก dhammajak.net , pranippan.com , ทีวีบูรพา

          คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นสิ่งที่คุ้นหูกันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถนำกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับ "เศรษฐกิจพอเพียง" ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างจริงจังและสมบูรณ์แบบ เฉกเช่น "อรหันต์ชาวนา" หรือกลุ่มชาวบ้านแห่งบ้านโนนยาง อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ที่มีแหลม พูนศักดิ์ สมบูรณ์ เป็นผู้ริเริ่ม

          แหลม หรือ พูนศักดิ์ สมบูรณ์ เป็นลูกชาวนาธรรมดาๆ คนหนึ่งแห่งบ้านโนนยาง อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร เมื่อเรียนจบชั้น ป.6 แล้ว  "แหลม" ก็ได้เดินตามกระแสสังคม ก้าวเดินออกจากบ้านเข้ามาหางานทำในเมือง และประกอบอาชีพ "ช่างซ่อม" ซึ่งเป็นสิ่งที่เขามองว่า ดูดี และทำเงินได้อย่างรวดเร็ว เขาได้เป็นช่างซ่อมประจำร้านในเมือง ก่อนจะเปิดร้านรับซ่อมเองที่บ้าน มีกำไรพอสมควร

 จนเมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง "แหลม" กลับมองว่า การเป็นลูกจ้างคนอื่น ไม่ใช่หนทางที่เขาอยากจะเลือกเป็น และเริ่มคิดว่า เขากำลังตกเป็นทาสของระบบทุนนิยม ตกอยู่ในวังวนของการเอารัดเอาเปรียบจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้เขาไม่สบายใจ และนั่นทำให้ "แหลม" เริ่มมองหาชีวิตใหม่ที่ดีกว่า

          หลังจากสับสนในชีวิตอยู่พักใหญ่ "แหลม" ก็ได้ไปดูงานของ "พ่อใหญ่เชียง น้อยไท" ชาวนาอาวุโสแห่งจังหวัดสุรินทร์ และเห็นแปลงเกษตรที่มีทั้งปลูกพืช สมุนไพร หลากหลายอย่าง ความประทับใจในครั้งนั้นทำให้ "แหลม" เริ่มมองเห็นความจุดมุ่งหมายของตัวเอง


 "การเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน" คือคำตอบสุดท้ายของ "แหลม" ทั้งที่เขาไม่เคยมีความคิดว่า จะทำนาเหมือนดังเช่นพ่อแม่ของเขามาก่อนเลย นั่นทำให้เขาเริ่มปรับเปลี่ยนชีวิตของตัวเองอีกครั้ง เขาตัดสินใจหันหลังให้กับการทำงานในเมือง ที่ใครๆ ต่างพากันยื้อแย่งเพื่อที่จะก้าวไปสู่ดินแดนศิวิไลซ์เช่นที่ "แหลม" มีโอกาส แต่สำหรับ "แหลม" เขามองว่า การพึ่งตัวเองได้ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

          "แหลม" ตัดสินใจกลับบ้านมาใช้วิถีชีวิตดังเช่นชาวนาชาวสวน ทำนาโดยใช้ควาย แทนที่จะใช้เครื่องจักร เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา และปลูกสมุนไพรไปในคราวเดียวกัน

  "ชาวนาที่ดูถูกควาย ผมไม่คิดว่าเค้าเป็นชาวนา ชาวนาจริงๆ จะคิดว่า ควายคือเพื่อนที่มีบุญคุณ สำหรับผมกลับยกย่องว่า ควายเป็นครู ผมต่างหากที่คิดว่าตัวเองเป็นศิษย์ของควาย" แหลมบอก

          แม้จะไม่มีใครเห็นด้วยกับความคิดของเขา และพากันเรียกเขาว่า "ผีบ้า" แต่ด้วยกำลังใจจาก "เรณู" ผู้เป็นภรรยา และลูกชายทั้งสองคน ก็ทำให้ "แหลม" ลุกขึ้นสู้ และฝ่าฟันจิตใจที่อยากจะกลับไปเป็นช่างซ่อมอีกครั้ง จนผ่านไปได้ด้วยดี

          "คนในหมู่บ้านมองว่าผมเป็นผีบ้า เพราะกลางคืนเดือนแจ้ง ผมจะลงไปขุดดินทำหลุมปลูกผัก บางวันก็ทำงานไม่หยุด เพราะต้องการที่จะให้มันเกิดผลเร็วๆ ให้พื้นที่แห้งแล้งกลายเป็นสีเขียวให้ได้ แล้วที่สำคัญผมต้องการพิสูจน์ให้ชาวบ้านที่เขาปรามาสไว้ว่า ไม่มีทางเป็นจริงได้ แต่ผมจะทำให้ได้..."

 สิ่งที่ "แหลม" ทำสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงของแหลม คือเขาไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินเลย เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาต้องการ ก็สามารถหาได้จากไร่นาของเขา และความหลากหลายของการทำเกษตรก็ทำให้เขาสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างสบายๆ เพราะสามารถเก็บผลผลิตไว้ทานเอง ให้เพื่อนบ้าน หรือจะนำไปขายก็ได้

          "การทำอย่างนี้มันเหมือนกับเราฉีกสังคม แต่สังคมที่เราฉีกไปหาก็คือบรรพบุรุษของเรา มันคือรากเหง้าของเราเอง ถ้าทำเกษตรอินทรีย์แบบจริงๆ จังๆ นะ เราจะหลุดพ้นจากระบบนายทุนอย่างเต็มตัวเลย ทำนาง่ายนิดเดียว ลงแรงก็จริง เหนื่อยก็จริง แต่ก็แค่เดือนครึ่ง พอข้าวเต็มยุ้งฉาง เวลาที่เหลือจะนั่งเล่น นอนเล่นก็ได้"

  นอกจาก "แหลม" จะยึดแนวคิดพอเพียงมาใช้กับครอบครัวของตัวเองแล้ว เขาเล็งเห็นว่า สิ่งดีๆ เหล่านี้ควรจะถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย "แหลม" จึงเริ่มถ่ายทอดประสบการณ์การทำนาของตัวเองผ่าน "โรงเรียนอรหันต์ชาวนา" ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ความรู้การเกษตรแบบผสมผสาน โดยเริ่มให้ความรู้จากคนในหมู่บ้านก่อน จนเมื่อแนวคิดของเขาได้บอกต่อปากต่อปากไปยังหมู่บ้านอื่นๆ ทำให้มีหลายคนหันมาสนใจการเกษตรแบบพอเพียงมากขึ้น โดยสิ่งที่ "แหลม" เน้นย้ำก็คือ "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่จะทำให้คนอยู่รอดได้

 "ความรู้ในวิชาชีพอื่นๆ นั้นถูกเผยแพร่เยอะแล้ว แต่ชาวนามีโอกาสน้อยมากที่จะได้ขึ้นเวทีพูดให้คนอื่นฟัง ผมอยากให้คนอื่นได้รู้กรรมวิธีของชาวนา ให้รู้ว่าเป็นชาวนาแล้วไม่อดตาย" แหลมกล่าวอย่างมุ่งมั่นและภาคภูมิใจในอาชีพของตัวเขา

          ปัจจุบัน "แหลม พูนศักดิ์" เป็นหนึ่งในความภูมิใจของชาวยโสธร จนชาวบ้านขนานนามเขาว่า "แหลม ยโสธร" และนี่ก็คือชีวิตที่เรียบง่าย แต่สร้างความสุขได้บนพื้นฐานการดำเนินชีวิตในแบบของ "เศรษฐกิจพอเพียง" และสมดังคำว่า "อรหันต์ชาวนา" ที่เปรียบประดุจชาวนาผู้รู้ ผู้ตื่นแล้ว จนสามารถหลุดพ้นจากวัฎสงสารของระบบนายทุน หลุดพ้นจากวังวนแห่งการใช้สารเคมี และการหลุดพ้นจากความจน อันเป็นผลพลอยได้ที่ตามมานั่น



IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1075 เมื่อ: วันที่ 16 กรกฎาคม 2013, 22:38:16 »

สมาชิกใหม่ในบ้านครับ... ไก่โรสสิบตัว เป็ดห้าตัวครับ เลี้ยงไว้กินไข่ครับ ตอนนี้ไข่เป็ดก็เต็มตู้เย็นเลยกินไม่ทันอีกหน่อยคงได้แบ่งขายบ้างแล้ว


* 20130716_180148.jpg (64.87 KB, 640x480 - ดู 412 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1076 เมื่อ: วันที่ 16 กรกฎาคม 2013, 22:39:51 »

พืชผักที่เพาะไว้เมื่อวันหยุดที่ผ่านมา ตอนนี้ผักสลัดงอกออกมานำเพื่อนเลย


* 20130716_180356.jpg (66.17 KB, 640x480 - ดู 402 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1077 เมื่อ: วันที่ 16 กรกฎาคม 2013, 22:53:45 »

ต้นข้าวในนาเริ่มโตขึ้นครับ เสียหายจากหอยเชอรี่เพิ่มขึ้นอีกเพราะใช้แต่ กากชาซาโปนิน กับลงไปเก็บเองครับ มีแต่ชาวนาแถวบ้านว่าทำไมไม่ใช้ยาน้ำ หากใช้ก็ไม่เสียหายขนาดนี้หรอก  ยาที่ชาวนานำมาใช้ส่วนใหญ่จะมีชื่อสามัญว่า เอ็นโดซัลแฟน มีหลากหลายยี่ห้อครับ  ผมเคยได้อ่านบทความหนึ่งซึ่งน่าสนใจทีเดียว

สาขาพืชผัก  มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ยาฆ่าหอยเชอร์รี่ยอดฮิตของเกษตรกร (27 มิ.ย. 48)

 

ศักดา ศรีนิเวศน์
สถาบันบริหารศัตรูพืชโดยชีวภาพ
biology01@doae.go.th

     หากจะกล่าวถึงสารเคมีกำจัดหอยเชอรี่ที่ชาวนานิยมใช้กันมากในขณะนี้ คงไม่พ้นเอ็นโดซัลแฟน (Endosulfan) ซึ่งเป็นสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชที่ชาวนานำมาใช้อย่างผิด ๆ เพื่อกำจัดหอยเชอรี่ และต่อไปนี้คือ ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสารเคมีเอ็นโดซัลแฟน ที่ผู้เขียนได้รวบรวม และนำเสนอให้ท่านผู้อ่าน และนักส่งเสริมการเกษตรได้ทราบโดยลำดับ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของท่าน และเกษตรกรว่าจะใช้สารเคมีตัวนี้ต่อไปดีหรือไม่
เอ็นโดซัลแฟน เป็นสารกำจัดแมลงและเห็บ ไร กลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Oganochlorine) ชั้น Chlorinated hydrocarbon เป็นสารชนิดถูกตัวตาย (Contact poison) มีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง และเห็บ ไร อย่างกว้างขวาง ใช้กับพืชพวกธัญพืชต่าง ๆ กาแฟ ฝ้าย ไม้ผล พืชน้ำมัน มันฝรั่ง ชา พืชผัก และอื่น ๆ และยังใช้ในการรักษาเนื้อไม้ ป้องกันไม่ให้มอดทำลายด้วยเอ็นโดซัลแฟนเข้มข้นเป็นผลึกไม่มีสี ประกอบด้วย isomer 2 รูปแบบ แบบที่เป็น alpla และ bata อัตราส่วนประมาณ 70:30 ความเข้มขั้น 94-96 เปอร์เซ็นต์ แต่ที่มีจำหน่ายทั่วไปมีสีครีมจนถึงสีน้ำตาลกลิ่นคล้ายน้ำมันสน จะละลายน้ำได้ต่ำ น้อยกว่า 0.5 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส แต่จะละลายได้ดีมากขึ้น ถ้าน้ำนั้นมีฤทธิ์เป็นกรดเพิ่มขึ้น ละลายได้ดีในสารทำละลาย (solvents) 5-65 เปอร์เซ็นต์ มีความคงทนต่อแสงแดด ไม่ทนความชื้น มีฤทธิ์ไม่แน่นอนในสภาพที่ผสมกับน้ำที่เป็นด่าง มีฤทธิ์ตกค้างในน้ำได้นาน มีจำหน่ายในรูปที่เป็นน้ำ (EC.) ชนิดผลละลายน้ำ (WP.)ฝุ่น เม็ด และชนิด ULV (Ultra-Low-Volume) และชนิดควัน (Smoke tablets) สามารถที่จะผสมเข้ากันได้กับสารเคมีหลายตัว เช่น ไดเมทโธเอท (Dimethoate) มาลาไธอ้อน (Malathion) เมทโธมิล (Methomyl) โมโนโครโตฟอส (Monocrotophos) ไพริไมคาร์บ (Pirimicarb) ไทราโซฟอส (Triazophos) ฟีโนพรอพ (Fenoprop) พาราไธอ้อน (Parathion) ปิโตรเลี่ยมออยส์ (Petroleum oils) และอ๊อกซีนคอบเปอร์ (Oxine-Copper) มีสูตรโครงสร้าง C9 H6 Cl6 O3 S ประกอบด้วย (1,4,5,6,7,7-hexachloro-8,9,10 -trinoborn-5-en-2,3 ylenebisemthylenc) Sulfite หรือ 6,7,8,9,10,10 hexachloro -1,5,5a,6,9a-hexahydro-6,9- methano 2,4,3- benzodioxathiepin 3-oxide มีชื่อทางการค้า หรือชื่ออื่น ๆ เช่น Afidan, Beosit, Cyclodan, Devisulfan, Endocel, Endocide, Endosol, FMC 5462,, Hexasulfan, Hildan, Hoe 2671, Insectophene, Malix, Phaser, Thiodan Thimul, Thifor และ Thionex เป็นต้น

การเป็นพิษ (Toxicity)

1. พิษเฉียบพลัน (Acute toxicity) เอ็นโดซัลแฟนมีพิษสูงโดยการกินเข้าไป ค่า LD50 18-160 มิลลิกรัมในหนูขนาดเล็ก 7.36 มิลลิกรัม ในหนูขนาดใหญ่ และ 77 มิลลิกรัมในสุนัข มีพิษจากการซึมผ่านทางผิวหนังสูง โดยมีค่า LD50 สำหรับหนูขนาดเล็ก 78 ถึง 359 มิลลิกรัม มีพิษจากการหายใจเข้าไปต่ำ เมื่อสารเอ็นโดซัลแฟนเข้าสู่ร่างกาย จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้หายใจลำบาก สูญเสียการทรงตัว ขากรรไกแข็ง อาเจียนท้องร่วง กระวนกระวายมีอาการสั่นชักกระตุก และหมดสติในที่สุด มีรายงานว่าในวัว แกะ และสุกร ที่กินหญ้าที่ฉีดพ่นสารเอ็นโดซัลแฟนเข้าไป มีอาการตาบอดและกล้ามเนื้อสั่นกระตุก
2. พิษเรื้อรัง (Chronic toxicity) ในหนูทดลองที่ให้กินสารเอ็นโดซัลแฟนในอัตรา 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ติดต่อกันถึง 15 วัน มีอัตราการตายสูง แต่ถ้ากินในอัตรา 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ในระยะเวลาที่เท่ากันจะมีสาเหตุทำให้ตับโตผิดปกติ มีอาการเจ็บป่วย การเจริญเติบโต และการรอดชีวิตลดลง ไตผิดปกติ คุณสมบัติทางเคมีของเลือดเปลี่ยนไป
3. พิษต่อการสืบพันธุ์และแพร่ขยายพันธุ์ (Reproductive effects) ในหนูทดลองที่ให้กินสารเอ็นโดซัลแฟน อัตรา 2.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่สามารถสังเกตเห็นความผิดปกติในการขยายพันธุ์ใน 3 ชั่วอายุ (generation) แต่ถ้ากินในปริมาณ 5.0 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมต่อวัน จะส่งผลให้อัตราการรอดชีวิตของลูกหนูลดลง ในหนูเพศเมียที่กินสารเอ็นโดซัลแฟนปริมาณ 0.1 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมต่อวัน ติดต่อกัน 78 สัปดาห์ จะมีผลต่อต่อมและอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ (reproductive organs) ในหนูเพศผู้ที่กินสารเอ็นโดซัลแฟน อัตรา 10 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมต่อวัน ติดต่อกัน 15 วัน จะมีผลทำให้ท่ออสุจิและลูกอัณฑะมีขนาดเล็กลง ซึ่งในมนุษย์ยังไม่ทราบว่าปริมาณเท่าใด จึงจะบังเกิดผลเช่นเดียวกับหนูทดลอง และคาดว่าผลที่เกิดขึ้นกับมนุษย์คงเป็นเช่นเดียวกับหนูทดลอง
4. พิษที่เกิดขึ้นกับการพัฒนาการของทารกในครรภ์ (Teratogenic cffects) ในหนูทดลองที่ให้กับสารเอ็นโดซัลแฟนในปริมาณ 2.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ไม่มีผลต่อลูกที่เกิดขึ้นในช่วง 3 ชั่วอายุ แต่ถ้ากินในปริมาณ 5 และ 10 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมต่อวัน จะส่งผลให้ลูกที่เกิดมามีความพิการ การพัฒนาการเจริญเติบโตทางกระดูกผิดปกติ ซึ่งผลเช่นนี้น่าจะเกิดกับมนุษย์เช่นกัน แต่ไม่ทราบว่าปริมาณที่ได้รับสารควรเป็นเท่าใด
5. พิษที่ก่อให้เกิดการผ่าเหล่า (Mutagenic effects) เอ็นโดซัลแฟนก่อให้เกิดการผ่าเหล่าในเซลล์ของแบคทีเรีย และยีสต์ ในขบวนการทำปฏิกิริยาของสารเอ็นโดซัลแฟนก่อให้เกิดความผิดปกติในผนังเซล นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการผ่าเหล่าของสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนมสองชนิดที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดกับมนุษย์ได้ หากได้รับสารเอ็นโดซัลแฟนในปริมาณที่มาก
6.พิษที่ก่อให้เกิดเซลล์มะเร็ง (Carcinogenic effects) จากการศึกษาเป็นระยะเวลานานในหนูขนาดใหญ่และเล็ก เพศเมียพบว่าแม้จะให้สารเอ็นโดซัลแฟนสูงถึง 23 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลานานถึง 78 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้นไม่พบว่ามีผลต่อการเกิดเนื้องอกหรือเซลล์มะเร็งแต่ประการใด แต่มีผลต่อคุณสมบัติทางเคมีของเลือด เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งในเม็ดเลือด (Leukemia)
7. พิษที่เกิดกับต่อมหรืออวัยวะต่าง ๆ (Organ toxicity) จากการศึกษาพบว่า
เอ็นโดซัลแฟนมีพิษต่อต่อมหรืออวัยวะต่าง ๆ ของสัตว์ทดลองแน่นอน เช่น ไต ตับ เลือด และต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyoid)ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และสัตว์ เอ็นโดซัลแฟนสามารถถูกขจัดหรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว ในมนุษย์และสัตว์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นองค์กอบของสารว่าเป็นชนิด Bata หรือ Alpha โดย Beta จะลดปริมาณลงได้อย่างรวดเร็วกว่า Alpha

ผลกระทบที่มีต่อระบบนิเวศ
1. ผลที่เกิดขึ้นกับนกต่าง ๆ เอ็นโดซัลแฟนเป็นพิษต่อนกต่าง ๆ ในระดับกลาง จากรายงานการศึกษา ค่า LD50 ของเป็ดป่าอยู่ที่ 31-243 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
2. ผลที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในน้ำ เอ็นโดซัลแฟนเป็นสารที่มีพิษต่อปลา และสัตว์น้ำต่าง ๆ ที่ไม่มีกระดูก (Invertebrates) รุนแรงมาก
3. ผลที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เอ็นโดซัลแฟนเป็นพิษต่อผึ้งปานกลาง และไม่เป็นพิษต่อแมลงที่เป็นประโยชน์ (benefical insects) เช่น แตนเบียน แมลงเต่าทอง (Iady bird beatles) และไรบางชนิดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม
1. ผลทีเกิดขึ้นกับดินและน้ำใต้ดิน เอ็นโดซัลแฟนจะตกค้างในดินปานกลาง ประมาณ 50 วัน (half-life) ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นกรดด่างของดิน โดยจะตกค้างอยู่ในดินที่มีคุณสมบัติเป็นกรดได้นานกว่า เอ็นโดซัลแฟน อาจจะถูกย่อยสลายได้โดย รา และแบคทีเรียในดิน เอ็นโดซัลแฟนละลายและสลายตัวได้ยากในน้ำ มีความสามารถยึดเกาะติดกับดินได้ปานกลาง อนุภาคของสารที่ยึดเกาะอยู่กับดินจะถูกน้ำพัดพาไปได้ดี ซึ่งมีผลต่อการถูกพัดพาไปสู่น้ำใต้ดิน
2. ผลที่เกิดขึ้นกับน้ำที่อุปโภคและบริโภค ในสภาพธรรมชาติของน้ำดิบที่ใช้บริโภคและอุปโภคสภาพที่ได้รับแสงแดดและอุณหภูมิปกติ สารเอ็นโดซัลแฟนทั้ง 2 isomer (Alpha และ Beta) จะเสื่อมสลายหมดไปภายใน 4 สัปดาห์ โดยในสัปดาห์แรกพบในปริมาณมาก แต่จะเสื่อมสลายอย่างรวดเร็วในสัปดาห์ต่อมา ในสภาพที่น้ำเป็นกรดมากกว่าสภาพเป็นกลาง สามารถคงสภาพอยู่ได้ถึง 5 เดือน แต่ในสภาพที่น้ำเป็นด่างจะเสื่อมสลายได้เร็วที่สุด โดยทั่วไปจะพบว่าสารเอ็นโดซัลแฟนปนเปื้อนในน้ำที่อยู่ใกล้บริเวณที่ใช้สารเคมีในปริมาณความเข้มข้นที่สูง หรือพบว่ามีปริมาณน้อยแพร่กระจายอยู่ในแหล่งน้ำทุกแหล่งทั่วประเทศ แสดงให้เห็นว่าน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญในการแพร่กระจายสารเอ็นโดซัลแฟน ได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
3. ผลที่ตกค้างในผลผลิต เอ็นโดซัลแฟนจะลดปริมาณการตกค้างในผลผลิตได้อย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่สารตกค้างจะลดลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ในเวลา 3-7 วัน ในสหรัฐอเมริกาพบว่ามีสารเอ็นโดซัลแฟนตกค้างในยาสูบ 0.0005-0.013 ppm ในอาหารทะเลสด 0.2 ppt-1.7 ppb) และในน้ำนมวัวปี ค.ศ. 1999-2000
     มีรายงานจากประเทศสาธารณรัฐเบนิน อาฟริกา ตะวันตกว่ามีผู้เสียชีวิตในพื้นที่ ทางตอนเหนือของจังหวัด Borgou จากการใช้สารเคมีเอ็นโดซัลแฟนฉีดพ่นในไร่ฝ้ายเป็นจำนวน 37 คน และอีก 36 คน ป่วยหนักต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สาเหตุเนื่องมาจากการใช้สารเคมี ไม่ถูกต้องหรือใช้ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นเกษตรกรรายหนึ่งเล่าให้ฟังว่า "ไส้เดือนที่เคยพบในดินได้ถูกสารเอ็นโดซัลแฟนตาย นกกินไส้เดือนที่ตายเข้าไป และนกก็ตายตามไส้เดือนไป" เกษตรกรอีกรายหนึ่งกล่าว่า "ภายหลังฉีดพ่นสารเอ็นโดซัลแฟน 2-3 วัน ท้องทุ่งแห่งนั้นคละคลุ้งไปด้วยกลิ่นเหม็นเน่าน่าสะอิดสะเอียนของซากสัตว์ต่าง ๆ ที่ถูกสารเอ็นโดซัลแฟนตาย"
     ในวันที่ 24 สิงหาคม 2542 ที่หมู่บ้าน Meregourou เด็กชาย 3 คน อายุ 12,13, 14 ปี
ตามลำดับ ได้ออกไปช่วยพ่อของเขาดายหญ้าในแปลงฝ้าย ซึ่งปลูกข้าวโพด เมื่อเสร็จงานแล้วเกิดความหิว จึงได้เก็บข้าวโพดกิน โดยที่ไม่ทราบว่าพ่อของเขาได้ฉีดพ่นสารเอ็นโดซัลแฟนก่อนหน้านั้น 1 วัน หลังจากนั้น 15 นาทีจึงเริ่มอาเจียน พวกเขาทั้งหมดถูกนำส่งโรงพยาบาล เด็กชายอายุ 12 ปีได้เสียชีวิต ส่วนอีก 2 คน ปลอดภัย
     เกษตรกรคนหนึ่ง ใน Banikoara ได้กล่าวถึงการทำลายห่วงโซ่อาหารในธรรมชาติของเอ็นโดซัลแฟน จากที่เขาได้พบเห็นว่า " ปลวกในไร่ฝ้ายที่ถูกสารเอ็นโดซัลแฟนตาย กบกินปลวกที่ตาย ทำให้มีอาการมึนงงหยุดนิ่งไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ หลังจากนั้นไม่นาน นกเค้าแมวได้จับกบตัวนั้นไปฉีกกิน อย่างเอร็ดอร่อยบนคาคบไม้ สิบนาทีต่อมานกเค้าแมวก็ล่วงหล่นจากคบไม้นั้น และตาย " อีกคนหนึ่งกล่าวว่า " สารเอ็นโดซัลแฟนมีประสิทธิภาพมาก สามารถฆ่าทำลายล้างสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่เว้นแม้กระทั่งงู ไส้เดือนที่เคยมีเป็นจำนวนมาก ก็ตายหมดภายหลังการฉีดพ่นสารในเวลาไม่นาน รวมถึงปลาในหนองน้ำ และลำธารก็ตาย เนื่องมาจากน้ำที่ไหลจากบริเวณไร่ฝ้ายที่ฉีดพ่นสารเอ็นโดซัลแฟนไหลลงไป "
     ผลที่เกิดขึ้นดังกล่าวมาแล้ว ทำให้กลุ่มประเทศในอาฟริกาตะวันตก มีความพยายามที่จะยกเลิก (Ban) การใช้เอ็นโดรซัลแฟนในไร่ฝ้ายเหมือน เช่น สารเคมีในกลุ่ม ออร์กาโนคลอรีน ชนิดอื่น ๆ ที่ได้ถูกสั่งห้ามใช้ไปแล้ว
     สำหรับประเทศไทย คงไม่ต้องกล่าวบรรยายถึงประสิทธิภาพของสารเอ็นโดซัลแฟน ในการทำลายล้างเผ่าพันธุ์สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในธรรมชาติ เกษตรกรผู้ใช้กำจัดหอยเชอรี่ คงทราบได้ดีว่า ภายหลังจากใช้สารนี้แล้วเกิดอะไรขึ้นในแปลงนาของเขา ความเงียบสงบปราศจากการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตใดๆ

เกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว คงมีแต่เสียงเคลื่อนไหวของชาวนา ที่ชีวิตจมปลักอยู่กับการใช้สารเคมี โดยที่ตนเองไม่เคยคิดคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง และสิ่งแวดล้อม ไม่เคยสนใจแม้กระทั่งที่จะคิดไปว่า แต่ก่อนทำนาไม่เคยใช้สารเคมีใด ๆ หมดหน้านาก็มีปลา ปู กุ้ง หอยกิน ไม่ต้องซื้อหา ไม่ต้องกู้หนี้ยืมสิน มาซื้อสารเคมีหรือซื้ออาหารบริโภค ปัจจุบันต้องกู้ยืมเขามาเพื่อซื้อสารเคมีฉีดพ่นในนาข้าว ทั้ง ๆ ที่โดยธรรมชาติแล้ว ข้าว คือพืชตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง ปลูกแล้วไม่ต้องใช้สารเคมีใด ๆ ฉีดพ่นก็ได้กิน ได้ขาย ไม่ต้องเป็นหนี้เขา การใช้สารเคมีโดยไม่จำเป็น เป็นการเพิ่มต้นทุนในการทำนาไร่ละไม่น้อยกว่า 100-250 บาท นอกจากนั้นการใช้สารเคมียังเป็นการทำลายสุขภาพของเกษตรกรผู้ใช้เองโดยตรง ลูกหลานและสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวด้วย ที่จริงแล้วหากชาวนาคิดว่าหอยเชอรี่มีประโยชน์ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีฆ่า ได้มีการศึกษาต้นทุนค่าสารเคมีกำจัดหอยเชอรี่แล้ว พบว่าชาวนา ใช้เงินซื้อสารเคมีฆ่าหอยเชอรี่เฉลี่ยไร่ละ 75 บาท หากเขาจับหอยเชอรี่มาทำเป็นปุ๋ยน้ำหมัก หรือทำเป็นอาหารสัตว์ต่าง ๆ เช่น ปลา กบ ตะพาบน้ำ ก็ไม่ต้องเสียเงินไร่ละ 75 บท กับยังช่วยลดต้นทุนการผลิต และอาจมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายปุ๋ยน้ำหมัก หรืออาหารสัตว์ที่ทำจากหอยเชอรี่ด้วย และบางทีอาจจะรวยกว่าการทำนาปลูกข้าวด้วยซ้ำ ถ้าหากหันมาเลี้ยงหอยเชอรี่อย่างจริงจัง เพื่อทำเป็นการค้า เหล่านี้คือข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาเสนอเพื่อให้พี่น้องเกษตรกรและนักส่งเสริมการเกษตรทั้งหลายประกอบการตัดสินใจเอง ว่าจะใช้สารเอ็นโดซัลแฟน หรือสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ โดยไม่จำเป็นต่อไป หรือว่าจะลด ละ หรือเลิกใช้ไปเลย เพื่อเปลี่ยนทิศทางการทำการเกษตร เป็นเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ หรือเกษตรอินทรีย์ในที่สุด เป็นเกษตรกรที่ทันยุคสมัยกับสถานการณ์ของโลก เพราะในอนาคตข้างหน้าจะไม่มีผู้ใดหรือประเทศใดซื้อสินค้าเกษตรที่ใช้สารเคมีบริโภคแน่นอน
     ปัจจุบันมีหลายประเทศได้สั่งห้ามใช้สารเคมีเอ็นโดซัลแฟน โดยเด็ดขาดแล้ว ส่วนประเทศไทยเรา จัดสารเคมีเอ็นโดซัลแฟน อยู่ในกลุ่มเฝ้าระวัง 12 ชนิด มีกำหนด 3 ปี (2542-2544) บัดนี้ก็ล่วงเลยมาพอสมควร หรือว่าเราเฝ้าระวังจนเหม่อลอยแล้วก็ไม่รู้

เอกสารอ้างอิง 1. Extension Toxiclogy Network pesticide Information Profiles : Endosulfan fofrom
http://www.hclrss.demon.co.uk/endosulfan.html
  2. Endosulfan : http://www.helrss.demon.co.uk/endosulfan.
  3. Endosulfan deaths and poisonings in Benin : http://www.getipam.com/articles /benindeaths.htm


* 20130716_181702.jpg (45.47 KB, 640x480 - ดู 407 ครั้ง.)

* 20130716_183521.jpg (55.74 KB, 640x480 - ดู 436 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #1078 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2013, 11:12:32 »

ชาวนาคือผู้ทำนาปลูกข้าว เลี้ยงเรามาจนเป็นหนุ่มสาว ยันจนเราเฒ่าแก่ชรา ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1079 เมื่อ: วันที่ 23 กรกฎาคม 2013, 13:13:22 »

วันหยุดหลายวันไปดำนาครับ ทำครั้งที่ 2 นี่ทำได้ดีกว่ารอบแรกคงเริ่มชินกับรถดำนาการควรคุมและการปรับแต่งครับ 9 ไร่ใช้เวลา 2 วันอีก 1 วันปักซ๋อม แปลงที่ทำครั้งแรกครับ


* SAM_1314.JPG (108.49 KB, 700x525 - ดู 367 ครั้ง.)

* SAM_1318.JPG (109.24 KB, 700x525 - ดู 345 ครั้ง.)

* SAM_1319.JPG (109.17 KB, 700x525 - ดู 348 ครั้ง.)

* SAM_1321.JPG (81.34 KB, 700x525 - ดู 354 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 [54] 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!