เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 26 เมษายน 2024, 23:46:09
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  วัดทางเหนือ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน วัดทางเหนือ  (อ่าน 4929 ครั้ง)
wat
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 322


« เมื่อ: วันที่ 26 สิงหาคม 2010, 12:01:44 »

เสียดายวัดเก่าที่เป็น ศิลปะทางภาคเหนือเดี๋ยวนี้รื้อสร้างใหม่จะเป็นแบบภาคกลางหมด ผมรู้สึกเสียดายแบบวัดทางเหนือเราผมว่าสวยดี เสียดายที่คนที่สร้างใหม่ไม่อนุรักษ์ไว้ ทำแบบภาคกลางหมด เมื่อก่อน วัดแต่ล่ะภาคจะไม่เหมือนกัน เหนืออีกอย่าง อีสานก็อีกอย่าง ภาคกลางอีกแบบ
IP : บันทึกการเข้า
~KT 2 U~
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,601


♥ แม่ค้าออนไลน์ ผู้ซึ่งเลี้ยงลูกอยู่บ้าน ♥


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 26 สิงหาคม 2010, 13:00:11 »

หันโตยเจ้า

แบบวัดของตางเหนือเฮา ถ้าผ่อด้วยความฮู้สึก
จะฮู้สึกได้เลยว่า งามและเงียบสงบ ร่มเย็น
แต่แบบวัดตางภาคกลางจะดูสีสันเกินไป
ดูแล้วมันบ่ค่อยสงบเหมือนวัดตางเหนือเจ้า  ยิ้มกว้างๆ

แต่วัดตางเหนือถ้าผ่อด้วยสายตา จะเหมือนว่าน่ากลัว มืดๆ ทึมๆ
วัดตางภาคกลางจะงาม เจริญหู เจริญต๋า

ในความคิดแตหนาเจ้า คิดว่าเป๋นจะนี้อะเจ้า  ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

bfesz
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 26 สิงหาคม 2010, 13:47:08 »

เสียดายวัดเก่าที่เป็น ศิลปะทางภาคเหนือเดี๋ยวนี้รื้อสร้างใหม่จะเป็นแบบภาคกลางหมด ผมรู้สึกเสียดายแบบวัดทางเหนือเราผมว่าสวยดี เสียดายที่คนที่สร้างใหม่ไม่อนุรักษ์ไว้ ทำแบบภาคกลางหมด เมื่อก่อน วัดแต่ล่ะภาคจะไม่เหมือนกัน เหนืออีกอย่าง อีสานก็อีกอย่าง ภาคกลางอีกแบบ
ผมเองก็มีความเสียดายอยู่เหมือนกัน อดีตผมเป็นช่างปั้นปูนสด(สล่าวัด)  ก็มีความลำบากใจอยู่เหมือนกัน
ที่จะต้องปั้นลวดลาย แบบไม่คงความเป็นล้านนา เพราะทางวัดเขาไม่เข้าใจส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าภาพผู้ว่าจ้างบริจาก)เขาอยากได้ลวดลายแบบไหนก็ต้องตามใจเขา  เวลาเสนอรูปแบบทางศิลปะล้านนา เขาไม่ค่อยชอบกัน บอกว่ามันไม่สวย  บางครั้งก็น้อยใจอยู่เหมือนกันที่เขาไม่ให้ความสำคัญกับศิลปะล้านนาบ้านเรา  บางคนก็บ้าศิลปะของวัดแห่งหนึ่งในเชียงราย อยากจะเลียนแบบเขา  ยิ่งพังไปกันใหญ่
มีวัดแห่งหนึ่งที่แม่จัน    คิดได้เอาสัญลักษณ์หน่วยงานตัวเองมาติดหน้าบันอันเบ้อเร่อ (หน้าแหนบ)คงบริจากไปเยอะจะได้โชว์บุญเยอะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 27 สิงหาคม 2010, 20:52:07 โดย คำขี้หม่า » IP : บันทึกการเข้า
ละอ่อนโบราณ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,466



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 26 สิงหาคม 2010, 14:12:01 »

ปล๋าใหญ่ลืนปล๋าหน้อย

ไทยลืนเมือง
ฝรั่งลืนไทย
IP : บันทึกการเข้า

..............
taekeuk_poomse
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 26 สิงหาคม 2010, 14:17:10 »

ปล๋าใหญ่ลืนปล๋าหน้อย

ไทยลืนเมือง
ฝรั่งลืนไทย


+100
 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
แก้ววอก
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 401


ระดับ: ขี้เหล้าพันธ์แท้


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 26 สิงหาคม 2010, 18:06:30 »

วัดสมัยต๋าก่อน ต้องมีศาลาบาตร  มีเก๊าลานเก๊าต๋าล  ก๋องปู่จา มีแหมหลายย่างอยู่ ว่ากั๋นไป
บ่าเดวยั๋งบ่าฮู้ไปเรื่อย  กุฎิป๋านรีสอร์ท


* 15437a1.jpg (123.82 KB, 920x600 - ดู 2039 ครั้ง.)

* Lanchang.jpg (68.76 KB, 584x400 - ดู 2094 ครั้ง.)

* วัดพระธาตุลำปางหลวง.jpg (57.56 KB, 510x396 - ดู 1756 ครั้ง.)

* lannakhadee450_md.jpg (75.23 KB, 384x512 - ดู 1902 ครั้ง.)

* DSC02686.jpg (197.3 KB, 800x532 - ดู 1736 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

ฮ่วม สนับสนุน การใจ๊ภาษาเมืองกำเมืองหื้อถูกต้อง อย่างเป๋นตางก๋าน
แก้ววอก
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 401


ระดับ: ขี้เหล้าพันธ์แท้


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 26 สิงหาคม 2010, 18:38:33 »

ขอขอบคุณบทความจาก   www.lanna-arch.net  ครับลองเข้าเยี่ชมกันดูครับ  
เวลาจะอ่าน แนะนำ ให้ก๊อบปี้ลง word แล้วปริ้นออกมามิชะนั้นจะตาลาย

ลักษณะเฉพาะของวัดในวัฒนธรรมล้านนาและการจัดแผนผัง
วัดในวัฒนธรรมล้านนาแบ่งตามแนวทางปฏิบัติของสงฆ์ได้เป็น 2 ฝ่าย คือวัดฝ่ายคามวาสี และ วัดฝ่ายอรัญวาสี(วัดป่า) วัดฝ่ายคามวาสีจะมุ่งเน้นการปฏิบัติและการศึกษาทางด้านพระธรรมคัมภีร์ บางครั้งเรียกว่าฝ่าย คันถธุระ แปลว่าคัมภีร์ หมายถึงการมุ่งเน้นศึกษาเพื่อให้รู้ถึง พุทธพจน์ พระธรรมวินัย และพระอภิธรรมต่าง ๆ ส่วนพระฝ่ายอรัญวาสีนั้น จะมุ่งเน้นการปฏิบัติด้วยการ วิปัสสนาธุระ หรือการทำให้จิตใจสงบ เพื่อพัฒนาจิตไปสู่พระนิพพาน พระสงฆ์ฝ่ายนี้จึงมักจะปลีกความวุ่นวายจากเมืองไปสร้างวัดอยู่ไกลจากชุมชน ส่วนวัดฝ่ายคามวาสีมักจะอยู่ใกล้ชิดกับชุมชน

ในอดีต วัดที่มีความสำคัญมาก มักจะถูกเรียกว่าวัดหลวงหมายถึงวัดที่ได้รับการอุปถัมภ์โดยตรงจากพระมหา กษัตริย์ ส่วนวัดที่ไม่มีความสำคัญ หรือมีความสำคัญน้อย จะถูกเรียกว่าวัดราช โดยหมายถึงวัดที่อยู่ภายในชุมชน อุปถัมภ์โดยชาวบ้านหรือสามัญชนทั่วไป ซึ่งวัดสองกลุ่มนี้ การสร้างงานสถาปัตยกรรมภายในมักมีความแตกต่างกันทางด้านฝีมือการก่อสร้าง อย่างชัดเจนลักษณะเด่นของวัดในวัฒนธรรมล้านนา มักจะแบ่งพื้นที่ใช้สอย ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ


1.เขต พุทธาวาส หมายถึงพื้นที่สมมุติ ใช้เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของสงฆ์และ ฆารวาสเป็นที่ตั้งของ สถูป เจดีย์ วิหาร อุโบสถ หอไตร หอกลอง-หอระฆัง ซุ้มโขง และศาลาบาตร เป็นต้น ภายในเขตพุทธาวาส มักมี พระธาตุเจดีย์ หรือพระวิหาร เป็นประธานของวัด ซึ่งภายในวิหารจะประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ส่วนภายในองค์พระธาตุเจดีย์จะเป็นที่บรรจุอัฏฐิธาตุของพระพุทธเจ้าหรือพระ สาวก ซึ่งอาคารสองหลังนี้ทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ในฐานะประธานของพุทธศาสนา ซึ่งจะรับรู้ในทุกกิจกรรมทางศาสนาที่เกิดขึ้นภายในวัด สอดคล้องกับความหมายของคำว่า พุทธาวาส ซึ่งมาจากคำว่า พุทธ + อาวาส อันหมายถึง สถานที่ประทับของพระพุทธเจ้านั่นเอง ผังวัดในล้านนาที่สมบูรณ์มักสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตตุรัส หลายแห่งมักสร้างอยู่บนที่สูง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วและศาลาบาตร มีประตูทางเข้า 4 ทาง ทางเข้าหลักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือเส้นทางสัญจรหลัก เช่นแม่น้ำ ประตูทางเข้าหลักทางทิศตะวันออกนี้มักจะทำซุ้มประตูประดับด้วยลวดลายพันธุ์ พฤกษาหรือสัตว์ในเทพนิยาย เรียกว่า ซุ้มโขง โดยมีบันไดทางขึ้นเชื่อมต่อไปด้านล่าง พร้อมทั้งมีราวบันไดประดับด้วยรูปนาคทอดตัวยาวจากซุ้มประตูโขงลงสู่ด้านล่าง เช่นเดียวกัน เมื่อผ่านจากซุ้มประตูโขงเข้าไป จะเข้าสู่เขตพุทธาวาส ซึ่งมีพระวิหารและพระธาตุเจดีย์วางอาคารอยู่ในแนวเดียวกัน กับซุ้มโขงและบันไดทางขึ้น ในแนวแกนตะวันออกตะวันตก บริเวณโดยรอบจะประกอบไปด้วยอาคารอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น พระอุโบสถ หอไตร พระวิหารขนาดเล็ก เป็นต้น พื้นที่โดยรอบมักปูด้วยลานทราย ซึ่งมีประโยชน์ในการดูดซับความชื้น ช่วยป้องกันอาคารที่สร้างด้วยไม้ ไม่ให้เสื่อมสภาพโดยง่าย ลักษณะแผนผังของวัด ในเขตพุทธาวาส ที่กล่าวมาข้างต้นเชื่อว่า เป็นการออกแบบที่แฝงไว้ด้วยแนวคิดที่มาจากคติความเชื่อเรื่องจักรวาล ซึ่งแนวคิดดังกล่าว น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาฮินดู โดยเนื้อหาหลักของแนวคิดนี้ เป็นคติในการสร้างความสมดุลระหว่างโลกมนุษย์กับจักรวาลโดยเชื่อว่าหาก จักรวาลเล็กซึ่งหมายถึงโลก เกิดความสมดุลย์กับจักรวาลใหญ่แล้ว จะเกิดความอุดมสมบูรณ์และความสงบสุขขึ้นในโลกมนุษย์ ดังนั้นจึงออกแบบให้ผังวัดหรือศาสนสถานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตตุรัสอันเป็นตัว แทนของความสมดุลนั่นเอง แนวคิดเรื่องจักรวาลเชื่อว่าศูนย์กลางของจักรวาล จะประกอบไปด้วย เขาพระสุเมรุ ในศาสนสถานของเขมรจะแทนด้วย ปรางค์ประธานซึ่งเป็นที่อยู่ของเทพสูงสุด คือพระศิวะ ส่วนในพุทธศาสนาจะแทนด้วย พระธาตุเจดีย์หรือพระวิหาร ในแนวคิดเดียวกันแต่เปลี่ยนเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า ซึ่งศูนย์กลางจักรวาลนี้จะเป็นเสมือนตัวแทนอำนาจของพระมหากษัตริย์ไปด้วยใน เวลาเดียวกัน ในแนวคิดที่เชื่อว่ากษัตริย์คือสมมติเทพที่อวตารมาจากเทพสูงสุดส่วนทางพุทธ ศาสนาก็เปรียบพระมหากษัตริย์เสมือนธรรมราชาซึ่งเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า นั่นเององค์ประกอบทางด้านสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่อยู่ในผัง ล้วนสร้างโดยมีแนวคิดสอดคล้องกับคติจักรวาลทั้งสิ้น อาทิเช่น กำแพงสี่เหลี่ยมเปรียบเสมือนกำแพงจักรวาล พื้นทราย เปรียบเสมือนทะเลศรีทันดร ซุ้มโขง คือทางเข้าของป่าหิมพานต์ ปราสาทเฟื้องบนสันหลังคาของพระวิหาร เปรียบเสมือนเขาสัตตบริภัณฑ์เจ็ดชั้น เป็นต้น ซึ่งการอุปมาอุปมัยดังกล่าวล้วนเป็นเรื่องราวที่จำลองแผนผังของจักรวาลตาม ความเชื่อทางพุทธศาสนาลงไว้ในโลกมนุษย์เพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์นั่นเอง และแผนผังของวัดตามคติจักรวาลดังกล่าวนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่สุด ที่ได้กลายมาเป็นเสมือนสิ่งที่กำหนดบทบาทความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวล้านนา ไปด้วยในขณะเดียวกัน เนื่องจาก เมื่อเขตพุทธวาสหมายถึง พุทธภูมิ หรือที่อยู่พระพุทธเจ้าผู้ที่บริสุทธิ์ หรือผู้ที่รู้แจ้งแล้ว ดังนั้น ภายในเขตพุทธวาสจึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นพื้นที่ที่บริสุทธิ์หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึง สวรรค์ตามความเชื่อของโลกทัศน์ชาวล้านนาดังนั้นชาวล้านนาจึงให้ความเคารพต่อ ศาสนสถานและเชื่อว่าการเข้าสู่เขตพุทธวาส เป็นการเข้าสู่พื้นที่บริสุทธิ์ เข้าใกล้สภาวะของการนิพาน
2.เขตสังฆาวาส มาจากคำว่า สงฆ์ + อาวาส หมายถึงพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของอาคารอันเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมและ วัตรปฏิบัติของสงฆ์ ได้แก่ กุฏิ หอฉันเวจกุฏี(สุขา) ที่สรงน้ำโรงครัว ศาลา เป็นต้น ส่วนใหญ่มักแยกกันจากเขตพุทธาวาสอย่างเด็ดขาด แต่มักมีทางเชื่อมถึงกันได้โดยง่าย ในอดีตเขตสังฆาวาสอาจใช้เป็นทั้งที่อยู่อาศัยของภิกษุสงฆ์ สามเณร และเป็นที่เรียนของเด็กวัดไปด้วยในขณะเดียวกัน
3.เขตธรณีสงฆ์ ได้แก่ ข่วงวัด ที่เผาศพ ป่าช้า สวนป่า และที่ว่างอื่นๆ หมายถึงพื้นที่สาธารณะ ที่สามารถใช้ได้ร่วมกันทั้งสงฆ์และฆารวาส ข่วงวัดหรือที่ว่างด้านหน้าวัดมีความสำคัญเป็นอย่างมาก วัดสำคัญๆ ในอดีต มักมีข่วงขนาดใหญ่ไว้ทางด้านทิศตะวันออก ใช้เป็นที่รวมพลและสร้างขวัญกำลังใจของทหารก่อนทำศึกสงคราม นอกจากนั้นยังเป็นจุดแวะพักของนักเดินทางหรือขบวนคารวานสินค้าต่างๆ บริเวณนี้จึงมักมีบ่อน้ำใช้ รวมถึงมีต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ร่มเงา ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตย์ของสิ่งเหนือธรรมชาติที่เป็นอารักษ์ของศาสน สถาน นอกจากนี้ในช่วงที่มีเทศกาล ข่วงหน้าวัดมักจะถูกใช้เป็นที่ทำกิจกรรมรื่นเริงประจำปีต่างๆ อีกด้วย




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 26 สิงหาคม 2010, 18:45:57 โดย แก้วข้าวเย็น » IP : บันทึกการเข้า

ฮ่วม สนับสนุน การใจ๊ภาษาเมืองกำเมืองหื้อถูกต้อง อย่างเป๋นตางก๋าน
Mr.R
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 26 สิงหาคม 2010, 20:26:28 »

ถูกลืนทางวัฒนธรรม

ปัจจุบัน

- ภาษา (ไทยลืนไป 40% กำเมืองเหลือ 60%)
  โฮงเฮียนสอนอู้กำไทย แห๋มบ่ปอปิ๊กไปบ้าน ป้อ-แม่(บางคน)เป๋นคนเมืองตึงกู้
  แต่สอนฮื้อลูกปากไทย อู้กำไทยใส่ลูก

- ศิลปะวัฒนธรรม (ไทยลืนไป 40% ล้านนาเหลือ 60%)
  ไปหั๋นวัดภาคกล๋าง ว่าเหมาะ ว่างาม ก็เอามาเฮียนเปิ้น

สาเหตุมาจาก

- อำนาจการปกครอง วัฒนธรรมของเมืองใหญ่มีอำนาจมาก
  ย่อมครอบงำเมืองเล็กเมืองน้อย เห็นของเมืองกรุง ทันสมัย หรู ดีกว่าของต่างจังหวัด

- ความอ่อนแอทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมล้านนาไม่นิยมต่อต้าน แต่จะมีความเห็นคล้อย
  ว่าตามกัน ดังเช่นกำอู้ว่า "เอาเปิ้นว่าเต๊อะ" "ต๋ามใจ๋นายเต๊อะ"

แนวทางแก้ไข

- สร้างจิตสำนึกทางวัฒนธรรม

- มีการเรียนการสอนรากเหง้าประวัติศาสตร์ล้านนา ทุกโรงเรียนในและนอกระบบ
  ให้มากขึ้นให้มากกว่าหรือเท่ากัน กับสอนประวัติศาสตร์ไทย

- สร้างจิตสำนึกทางการปกครอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 26 สิงหาคม 2010, 20:39:42 โดย Mr.R » IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 26 สิงหาคม 2010, 23:19:07 »

ชอบแอ่ววัดครับ


* วัดอินทขีลสะดือเมือง เชียงใหม่.jpg (244.69 KB, 598x400 - ดู 1722 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 26 สิงหาคม 2010, 23:20:05 »

เสียดายวัดเก่าที่เป็น ศิลปะทางภาคเหนือเดี๋ยวนี้รื้อสร้างใหม่จะเป็นแบบภาคกลางหมด ผมรู้สึกเสียดายแบบวัดทางเหนือเราผมว่าสวยดี เสียดายที่คนที่สร้างใหม่ไม่อนุรักษ์ไว้ ทำแบบภาคกลางหมด เมื่อก่อน วัดแต่ล่ะภาคจะไม่เหมือนกัน เหนืออีกอย่าง อีสานก็อีกอย่าง ภาคกลางอีกแบบ
ผมเองก็มีความเสียดายอยู่เหมือน  อดีตผมเป็นช่างปั้นปูนสด(สล่าวัด)  ก็มีความลำบากใจอยู่เหมือนใจ
ที่จะต้องปั้นลวดลาย แบบไม่คงความเป็นล้านนา เพราะทางวัดเขาไม่เข้าใจส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าภาพผู้ว่าจ้างบริจาก)เขาอยากได้ลวดลายแบบไหนก็ต้องตามใจเขา  เวลาเสนอรูปแบบทางศิลปะล้านนา เขาไม่ค่อยชอบกัน บอกว่ามันไม่สวย  บางครั้งก็น้อยใจอยู่เหมือนกันที่เขาไม่ให้ความสำคัญกับศิลปะล้านนาบ้านเรา  บางคนก็บ้าศิลปะของวัดแห่งหนึ่งในเชียงราย อยากจะเลียนแบบเขา  ยิ่งพังไปกันใหญ่
มีวัดแห่งหนึ่งที่แม่จัน    คิดได้เอาสัญลักษณ์หน่วยงานตัวเองมาติดหน้าบันอันเบ้อเร่อ (หน้าแหนบ)คงบริจากไปเยอะจะได้โชว์บุญเยอะ

เรื่องนี้ก็อู้ยากน่อ
IP : บันทึกการเข้า
wat
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 322


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 27 สิงหาคม 2010, 10:29:03 »

สังเกตุดู วัดใหญ่ ๆ จะอนุรักษ์แบบลานนาไว้ แต่วัดระดับหมู่บ้าน ตำบล จะเป็นแบบภาคกลางหมด ผมคิดว่าคงจะเป็นที่วัดใหญ่ มีเงิน มีทอง สร้างเอง แต่วัดระดับหมู่บ้าน คงไม่มีกำลังทรัพย์ ผมเห็นทุกที่โดยมากจะมีศรัทธามาจาก กรุงเทพ ภาคกลางสร้าง สังเกตุจากผ้าป่า กฐิน ถ้ามีงานจะมีป้ายเขียนบอกว่า ผ้าป่า กฐิน จากกรุงเทพ เชียงราย ทอดวัดนั้นนี่ และตามเสาวิหาร ประตู หน้าต่าง จะเขียนชื่อคนที่บริจาค ส่วนมากคนจากกรุงเทพ ภาคกลางทั้งนั้น ทางหมู่บ้านเลยเอาใจสร้างแบบวิหาร ซุ้มประตู ศาลาบาตร เป็นแบบภาคกลางหมด หรืออีกอย่างเป็นการเลียนแบบ แบบนี้ก็มีส่วน คือ ไปเห็นหมู่บ้านอื่นที่สร้างก่อนแบบภาคกลางแล้วสวย แล้วเอาอย่าง โดยมากจะมาจากผู้ใหญ่บ้าน คนแก่ พระ ก็มีส่วนด้วย ไม่รู้จักอนุรักษ์แบบเก่า หรือว่าการสร้างวิหาร แบบทางเหนือมันยากกว่าทางภาคกลาง
IP : บันทึกการเข้า
taekeuk_poomse
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 12:21:42 »

ไปผ่อวัด ในโซนล้านนาตะวันออก หั้นครับ (ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา) รูปทรงของวัดแบบล้านนาแทบจะหันยากมากๆ มีแต่ วัดรูปทรง เสาสูงชะลูด หน้าบัน แบบสุโขทัย หรือภาคกลางทั้งนั้น

จะมีแบบ ล้านนาแท้ๆ น้อยมากๆ

อย่างใน เมืองน่าน เอง บางวัดถึงจะมีรูปทรงแบบล้านนา แต่ ลวดลายก็ดันไป เป็น แบบภาคกลาง(ช่างจีนสมัยรัตนโกสินทร์)

วันนี้มีตัวอย่างวัด อยู๋วัดนึ่งครับ ที่สร้างแบบ ล้านนาแท้ๆ แต่ก็สร้างขึ้นใหม่เมื่อ4-5 ปีนี้บ่าดาย  ยกตัวอย่างมาหื้อดูน้อ

วิหารวัดพญาวัดเมืองน่าน ครับ ถนนไปวัดพระธาตุเขาน้อย

รูปทรงแบบล้านนาแท้ๆ(ช่างตี้มาแป๋ง เปิ้นบอกว่าเปิ้นลุกเจียงแสนมา)




 

IP : บันทึกการเข้า
bfesz
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 14:07:26 »

ไปผ่อวัด ในโซนล้านนาตะวันออก หั้นครับ (ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา) รูปทรงของวัดแบบล้านนาแทบจะหันยากมากๆ มีแต่ วัดรูปทรง เสาสูงชะลูด หน้าบัน แบบสุโขทัย หรือภาคกลางทั้งนั้น

จะมีแบบ ล้านนาแท้ๆ น้อยมากๆ

อย่างใน เมืองน่าน เอง บางวัดถึงจะมีรูปทรงแบบล้านนา แต่ ลวดลายก็ดันไป เป็น แบบภาคกลาง(ช่างจีนสมัยรัตนโกสินทร์)

วันนี้มีตัวอย่างวัด อยู๋วัดนึ่งครับ ที่สร้างแบบ ล้านนาแท้ๆ แต่ก็สร้างขึ้นใหม่เมื่อ4-5 ปีนี้บ่าดาย  ยกตัวอย่างมาหื้อดูน้อ

วิหารวัดพญาวัดเมืองน่าน ครับ ถนนไปวัดพระธาตุเขาน้อย
รูปทรงแบบล้านนาแท้ๆ(ช่างตี้มาแป๋ง เปิ้นบอกว่าเปิ้นลุกเจียงแสนมา)




 


จากก๋ารคาดเดาวัดนี้ผ่อจากฮอยมือน่าจะเป็นสล่าสาย หนานเพชร
IP : บันทึกการเข้า
WH_Y
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,222



« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 14:33:19 »

ขอบคุณสำหรับภาพและข้อมูลดีๆเจ้า... ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
taekeuk_poomse
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 19:58:28 »

ไปผ่อวัด ในโซนล้านนาตะวันออก หั้นครับ (ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา) รูปทรงของวัดแบบล้านนาแทบจะหันยากมากๆ มีแต่ วัดรูปทรง เสาสูงชะลูด หน้าบัน แบบสุโขทัย หรือภาคกลางทั้งนั้น

จะมีแบบ ล้านนาแท้ๆ น้อยมากๆ

อย่างใน เมืองน่าน เอง บางวัดถึงจะมีรูปทรงแบบล้านนา แต่ ลวดลายก็ดันไป เป็น แบบภาคกลาง(ช่างจีนสมัยรัตนโกสินทร์)

วันนี้มีตัวอย่างวัด อยู๋วัดนึ่งครับ ที่สร้างแบบ ล้านนาแท้ๆ แต่ก็สร้างขึ้นใหม่เมื่อ4-5 ปีนี้บ่าดาย  ยกตัวอย่างมาหื้อดูน้อ

วิหารวัดพญาวัดเมืองน่าน ครับ ถนนไปวัดพระธาตุเขาน้อย
รูปทรงแบบล้านนาแท้ๆ(ช่างตี้มาแป๋ง เปิ้นบอกว่าเปิ้นลุกเจียงแสนมา)




 


จากก๋ารคาดเดาวัดนี้ผ่อจากฮอยมือน่าจะเป็นสล่าสาย หนานเพชร

สล่าตี้ว่าเปิ้นเป๋นคนเจียงแสนแม่น ค่ ชา?
IP : บันทึกการเข้า
namta
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 20:45:53 »

 เจ๋ง
IP : บันทึกการเข้า
bfesz
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 28 สิงหาคม 2010, 23:59:31 »

ไปผ่อวัด ในโซนล้านนาตะวันออก หั้นครับ (ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา) รูปทรงของวัดแบบล้านนาแทบจะหันยากมากๆ มีแต่ วัดรูปทรง เสาสูงชะลูด หน้าบัน แบบสุโขทัย หรือภาคกลางทั้งนั้น

จะมีแบบ ล้านนาแท้ๆ น้อยมากๆ

อย่างใน เมืองน่าน เอง บางวัดถึงจะมีรูปทรงแบบล้านนา แต่ ลวดลายก็ดันไป เป็น แบบภาคกลาง(ช่างจีนสมัยรัตนโกสินทร์)

วันนี้มีตัวอย่างวัด อยู๋วัดนึ่งครับ ที่สร้างแบบ ล้านนาแท้ๆ แต่ก็สร้างขึ้นใหม่เมื่อ4-5 ปีนี้บ่าดาย  ยกตัวอย่างมาหื้อดูน้อ

วิหารวัดพญาวัดเมืองน่าน ครับ ถนนไปวัดพระธาตุเขาน้อย
รูปทรงแบบล้านนาแท้ๆ(ช่างตี้มาแป๋ง เปิ้นบอกว่าเปิ้นลุกเจียงแสนมา)




 


จากก๋ารคาดเดาวัดนี้ผ่อจากฮอยมือน่าจะเป็นสล่าสาย หนานเพชร

สล่าตี้ว่าเปิ้นเป๋นคนเจียงแสนแม่น ค่ ชา?
ก่จำตำแหน่งบ้านแกแน่นอนบ่ได้เหมือนกั๋น  จ๋ำได้ว่าบ้านแกอยู่โล่งตางหั้นเหนาะ   ด้วยความว่าผมก่อยู่วงก๋ารสล่าาลวัดดูจากฮอยมือครับท้าบ่าใจ่ก็คงเป๋นลูกศิษย์แก และจากความต่อเนื่องเรื่องราว ท้าว่าวัดนี้สร้างเมื่อ4-5ปีที่แล้วช่วงนั้นถ้าจำบ่ผิดสล่าหนานเพชรเพิ่นไพหากิ๋นตางน่านปอดีครับ
ลายแบบนี้บ้านเฮาก็จะมี ส่าหนานเพชรเหีย  สล่าแดงเหีย  สล่าสายันต์เหีย  สล่าทนเหีย  แต่ว่าเก๊าแต้ๆก่สล่ากอบแต่แกต๋ายละโลกไปละไปผ่อลายปูนปั้นตี่วัดผาเงาเจียงแสนหั้นเน้อ
IP : บันทึกการเข้า
>:l!ne-po!nt:<
~: ดาบราชบุตร :~
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,256

~>: แขกดอย :<~


« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 31 สิงหาคม 2010, 06:26:23 »

เสียดายวัดศรีบุญเรือง(ห้าแยก) งามขนาดเตแป๋งใหม่กล๋ายเป๋นปูนไปเหียละ
IP : บันทึกการเข้า

!!!!!  กว่า ๑,๑๐๐ กม.จากยอดดอยสู่ทะเล...ตะวันออก  !!!!!

www.facebook.com/1100kilometer

||||| ธรรมชาติสร้างอากาศบริสุทธิ์    ส่วนมนุษย์นั้นสร้างอาวุธเพื่อทำลาย |||||
wat
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 322


« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 31 สิงหาคม 2010, 09:25:37 »

เชียงรายมีวัดที่เป็นแบบทางเหนือ เหลือตี้ใดบ้าง วานผู้รู้บอกหน่อยครับ
IP : บันทึกการเข้า
DaKoObB
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 126



« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 20 ตุลาคม 2010, 16:37:25 »

เสียดายวัดศรีบุญเรือง(ห้าแยก) งามขนาดเตแป๋งใหม่กล๋ายเป๋นปูนไปเหียละ
นั่นเนาะครับ ตะก่อนไปหมั่นขนาด หันโบสถ์งาม บ่าเด่วนี้เป๋นของใหม่ไปเหียละ เสียดายแต๊ๆ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!