เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 26 เมษายน 2024, 10:32:03
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  ล้านนา บ่ใจ่ ลานนา
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ล้านนา บ่ใจ่ ลานนา  (อ่าน 2867 ครั้ง)
ล้อล้านนา
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 444


« เมื่อ: วันที่ 17 กรกฎาคม 2010, 11:38:19 »

ความจริงปัญหาที่ถกเถียงกันเรื่อง “ล้านนา” หรือ “ลานนา” ได้ยุติไปนานแล้ว แต่บัดนี้ยังมีบางท่านไม่เห็นด้วย แต่ไม่สามารถจะอ้างหลักฐานข้อโต้แย้งมาอ้างอิงได้ คงแต่ไม่ยอมเชื่อ แม้บางท่านจะมีหลักฐานอ้างอิงก็เป็นหลักฐานที่ถูกหักล้างโดยสิ้นเชิง
   เพื่อมิให้บทความนี้ต้องเขียนยืดยาว จึงขอสรุปหลักฐานและเหตุผลข้อมูลโดยสังเขป ดังนี้
   ๑. สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง ได้ยืนยันว่า “ล้านนา” และ “ล้านช้าง” เป็นคำที่ถูกต้อง โดยหนังสือที่ มร.๑๐๑๘/๗๙๔๑ ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๐ (ทางราชการยืนยันเช่นนี้ แล้วบางคนก็ยังไม่ยอมเชื่อ ไม่รู้จะว่าอย่างไร งื้ด แต้ๆ)
   ๒. “ลาน” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ อธิบายว่าเป็นบริเวณที่ว่าง สนาม ที่สำหรับนวดข้าว ในทางกีฬา หมายถึงสนามกีฬาคู่กับ “ลู่” ทางภาคเหนือไม่มีคำว่า “ลาน” สำหรับความหมายดังกล่าว แต่ใช้สำหรับชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง เช่น ต้นลาน ใบลาน และลานเจาะหู ลานนาฬิกา เป็นต้น และไม่มีคำใช้เฉพาะสำหรับความหมาย เช่นเดียวกับ “ลาน” ของภาคกลางคือ “ข่วง” เช่น ข่วงสิงห์ ข่วงเมรุ ข่วงวัด ข่วงลูกกุย (สนามมวย) ข่วงมหาโพธิเจ้า ข่วงมหาเจดีย์เจ้า ข่วงพระพุทธรูปเจ้า
   ๓. ภาษาหนังสือของภาคเหนือที่เรียกอักษรธรรม อักษรไทยวน อักษรฝักขาม แต่ครั้งดั้งเดิมไม่มีวรรณยุกต์ เช่น ไม้เอก ไม้โท คำที่ออกเสียงอย่างมีไม้เอก ไม้โท ก็คงเขียนอย่างธรรมดา ให้เป็นที่เข้าใจเอาเองว่าจะออกเสียงอย่างไร เช่น “สางพระเจาตนนี” (สร้างพระเจ้าตนนี้ จากหลักฐานพระพุทธรูป วัดเชียงหมั้น พ.ศ. ๒๐๐๘, “เจาทาวสองแสนนา (เจ้าท้าวสองแสนนา จากจารึกวัดพระยืน ลำพูน พ.ศ. ๑๙๑๓) แม้แต่จารึกสุโขทัยสมัยพญาลิไท นครชุม พ.ศ. ๑๙๐๐ ก็ไม่ปรากฏวรรณยุกต์ เช่น พระมหาธาตุนิเมือหนาไดสามพนนเกาสิบเกาปี จิงจกก สิน สาสนาพระเปนเจา
      ๔. การเรียกปีนักษัตร อย่างที่ทางภาคกลางเรียก ชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง ฯลฯ นั้น ทางล้านนาเรียก ไจ้ เป้า ยี เหม้า สี ไส้ สะง้า แต่ตัวอักษรจะเขียนอย่างไม่มีวรรณยุกต์ เช่น ไจ เปา ยี เมา สี ไส้ สงา ฯลฯ เป็นต้น ภายหลังต่อมาเมื่อมีการใช้วรรณยุกต์แล้ว แต่ด้วยความเคยชินส่วนมากจะไม่นิยมใช้วรรณยุกต์ บางคนใช้วรรณยุกต์ บางคนก็ไม่ใช้วรรณยุกต์ ในเอกสารเล่มเดียวกัน ใช้บ้าง ไม่ใช้บ้าง หรือไม่ใช้เลยก็มี แต่ปัจจุบันนี้ใช้วรรณยุกต์กันหมดแล้ว
   ๕. ฉะนั้นคำว่า “ลานนา” จึงหมายถึงล้านนานั่นเอง เหมือนคำว่าพระเจ้าล้านทอง ที่เชียงแสน ลำปาง และเมืองพร้าว ก็คงเขียน พระเจ้าลานทองเช่นกัน โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ไทยราชวงศ์จักรี ทรงแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ มีเจ้ากาวิโรรส, เจ้าอินทวโรรส และเจ้าแก้วนวรัฐ ได้จารึกในพระสุพรรณบัตรมีความว่า “ทศลักษเกษตร” ซึ่งแปลว่า “ล้านนา” อยู่ด้วย เช่น สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงแต่งตั้งเจ้ากาวิโรรส ในสัญญาบัตรว่า
   “เจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ ดำรงนพีสีนครสุนทรศษเกษตร...” (ทศ=สิบ / ลักษ=แสน / เกษตร หรือกระเษตร=นา รวมความหมายคือ “สิบแสนนา” คือ “ล้านนา” นั่นเอง
   ในตำนานพญาเจื๋อง มีข้อความว่า“ในเมืองเงินยาง เขตตทศลข ราชธานีอันกลาวคืวาเมิงลานนา” แม้ไม่มีวรรณยุกต์ “เขตตทสลข” ก็แปลว่าสิบแสนนาคือ ล้านนา นั่นเอง
   ๖. มีข้อความกล่าวหาว่า บุคคลต่างถิ่นบังอาจเปลี่ยนนาม “ลานนา” เป็น “ล้านนา” นั้นไม่เป็นความจริง ที่แท้คนล้านนาระดับบรรพชนนั่นเองที่เรียกอาณาจักรแห่งนี้ว่า “ล้านนา” มานานแล้วไม่น้อยกว่า ๔๐๐ ปี ดังปรากฏในศิลาจารึกบ้านนางจัน วัดเชียงสา อำเภอเชียงของ ว่า “สมเด็จบรมบพิตร ตนสัมฤทธิ์เสวยราชพิภพทั้ง ๒ แผ่นดิน ล้านนา ล้านช้าง” จารึก พ.ศ. ๒๐๙๖ เป็นจารึกของพระไชยเชษฐา และจารึกแผ่นไม้ พระบรมธาตุจอมทอง มีความว่า “ต่อนั้นมาจนถึงปีกาบสะง้า จุลศักราช ๑๑๓๖ เดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ตรงกับวันเสาร์ ยามเที่ยงคืน พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา นำรี้พลขึ้นมาปราบเอาล้านนาเชียงใหม่ได้ในวันนั้นเอง”
   ๗. นอกจากนี้ก็ยังมีตำนาน คัมภีร์ใบลานเก่าแก่ของ “ล้านนา” ได้จารึกประวัติตำนานเรื่องราวของอาณาจักรล้านนา ตลอดเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาใช้คำว่า “ล้านนา”
(มีไม้โท) ทั้งสิ้น นับเป็นเวลาร้อยๆ ปีมาแล้ว เช่น ๑/ตำนานเชียงใหม่ (ฉบับหมู ๔ ตัว) หรือตำนานเจ้าสุวรรณคำแดง (ตำนานอินทีขีล) กับเรียกชื่อต่างกันอีกหลายตำนาน ๒/ตำนานเมืองแกน เชียงดาว ๓/พับสาพงศาวดารไทเขิน ๔/พับสาตำนานเมืองเชียงรุ่ง ๕/ตำนานราชวงศ์ปกรณ์ ๖/ราชวงศ์พื้นเมืองเชียงใหม่๗/ตำนานสิงหนวัติโยนก เชียงแสน ๘/ตำนานวัดเจดีย์หลวง ๙/ตำนานพระธาตุจอมทอง
๑๐/ตำนานพื้นนคร ฉบับวัดแสนฝาง ๑๑/มูลมังราย ๑๒/ธรรมตำนานพรญามังราย ๑๓/ตำนานช้างแสน หรือตำนานเมืองโยนกราชธานี ศรีช้างแสน ฉบับวัดนันทาราม ๑๔/ตำนานพระสุเทวะ (พระธาตุดอยสุเทพ) ฉบับวัดนันทาราม ๑๕/ตำนานมูลศาสตร์ ฉบับวัดเชียงมั่น ฯลฯ บางตำนานเขียน “เขตน้ำหนังดินสัณฐานล้านนา ๕๗ เมือง หรือสัตตปัญญาสล้านนา ๕๗ เมือง”
   ๘. มูลเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ชาวล้านนาบางคน ลืมชื่ออาณาจักรของตนคือเพลงในบทละครของหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากเมื่อประมาณ ๕๐-๖๐ ปีที่แล้ว คือเพลง “พิงคนคร” มีเนื้อเพลงตอนหนึ่งว่า “บ้านเมืองก็สวย ดอกไม้ก็งาม สมศักดิ์สมนามของลานนาไทย” จึงเคยชินกับคำว่า “ลานนา” แต่นั้นมา จึงทำให้บางคนไม่ยอมรับ คำว่า “ล้านนา” เพราะเหตุนี้ด้วย
   ๙. มีหลักฐานข้อมูลอีกประการหนึ่งที่สนับสนุนเหตุผล “ล้านนา” ก็คือในอดีตคนทางล้านนามีการแบ่งการปกครองออกเป็นพันนา ซึ่งหมายถึงเขตตำบลขึ้นกับเมืองหลวง
เช่น พันนาเมืองเชียงราย มี ๒๗ พันนา พันนาเมืองเชียงแสนมี ๖๕ พันนา เมืองภูกามยาว (พะเยา) มี ๑๖ พันนา เป็นต้น ดังนั้นจึงเห็นว่าการที่บรรพบุรุษท่านได้เรียกขานอาณาจักรของท่านว่า “ล้านนา” จึงสมเหตุสมผล ดังนั้นการที่อ้าง “ลานนา” เป็นชื่ออาณาจักรจึงไม่ชอบด้วยเหตุผล ข้อเท็จจริง และความหมายทางภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
   ๑๐. พงศาวดารโยนกฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๔๑-๒๔๔๒ ก็ใช้ “ล้านนา” โดยตลอด มีคำว่าลานนาเพียงสองสามจุด และตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับสำนักนายกมีคำว่า “สัตตปัญญาสล้านนา ๕๗ เมือง แม้ตอนหลังๆ จะใช้คำว่า “ลานนา” ตลอด แต่เมื่อได้ตรวจต้นฉบับใบลานของมหาหมื่น วัดหอคำเจดีย์หลวง ก็ใช้คำว่า “ล้านนา” ทั้งสิ้น
        ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นต้นมา ในหมู่บรรดานักวิชาการระดับสูงจำนวนหนึ่งพบคำว่า “ล้านนา” เป็นคำที่ถูกต้องแล้ว และชัดเจนมากขึ้นเมื่อ ดร.ฮันส์ เพนธ์ เสนอบทความใน  พ.ศ.๒๕๒๓ ยืนยันการพบคำล้านนาในศิลาจารึกวัดเชียงสา ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้ตรวจสอบศิลาจารึกดังกล่าวแล้วเห็นว่า มีคำ “ล้านนา” คู่กับคำว่า “ล้านช้าง” จริง จึงเสนอให้ใช้คำ “ล้านนา” แทนคำว่า “ลานนา” ใน พ.ศ.๒๕๒๖ ความเห็นนี้สอดคล้องกับนักวิชาการในจังหวัดเชียงใหม่ที่เสนอให้ใช้ “ล้านนาไทย” เป็นชื่อหนังสืออนุสรณ์พระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ที่เชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๒๗ หลังจากนั้นมา คำ “ล้านนา” ก็เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย
   อย่างไรก็ตาม ในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๐ มีการโต้เถียงในเรื่องนี้กันอีกครั้งหนึ่ง และคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยโดยมีศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เป็นประธานการสอบชำระ ได้ให้ข้อยุติว่า คำว่า “ล้านนา” เป็นคำที่ถูกต้องแล้ว
   เพียงหลักฐานข้อมูลอีกทั้งเหตุผลและข้อเท็จจริงโดยสังเขปที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ก็คงจะเพียงพอที่จะทำให้ท่านที่ยังไม่เชื่อ หรือสงสัยอยู่จะเชื่อและคลายข้อสงสัยไปได้กระมัง

เครดิต : วารสารล้อล้านนา ฉบับที่ ๔ โดย "ทิว วิชัยขัทคะ"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 กรกฎาคม 2010, 11:44:39 โดย ล้อล้านนา » IP : บันทึกการเข้า
pomp
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 18 กรกฎาคม 2010, 07:29:13 »

อาณาจักรล้านนาเรามีประวัติยาวนานมากครับ แต่ผมโตมา30หน่อยๆแล้วยังไม่รู้จักบรรพบุรุษของตัวเองมากซักเท่าไหร่ ใครถามก็ตอบแบบถูๆไถๆไปยังงั้นครับ เพราะหนังสือเรียนเค้ามีแต่ของภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ จะมีทางอาณาจักรล้านนาเราก็น้อยนิด จับความมาต่อไม่ได้ วันหน้าจะได้นำเอาความรู้ความเข้าใจไปบอกต่อลูกหลาน คนส่วนใหญ่มองเจียงฮายว่าเป็นบ้านป่าเมืองเขามีก่าคนญ้าวคนดอย มันน่าน้อยใจ๋ ร้องไห้
IP : บันทึกการเข้า
Maekok
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,382


ตาดูดาว เท้าติดดิน ชีวิตไม่สิ้นก็ดิ้นกันไป.


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 20 กรกฎาคม 2010, 22:56:24 »

ข่วง ในภาษาพื้นเมืองดั้งเดิม หมายถึง บริเวณที่เป็นลานเล็ก ๆ แต่ถ้า ลาน หมายถึง บริเวณที่เป็นที่กว้าง มองจนสุดลูกหูลูกตานั่นแหละครับ  ผมใจ้คำว่า ลานนา มาตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน อายุจะ 60 แล้ว และก็จะยึดถือ คำนี้ต่อไป
ประวัติศาสตร์จะต้องชำระต่อไป เพราะทุกวันนี้เรามองประวัติศาสตร์ด้านเดียว (โดยเอาคนอื่นมาเป็นบรรทัดฐาน) ไม่มองถึงความเป็นจริงในพื้นฐานของสังคม (คำพูด สำเนียง วัฒณธรรมประเพณี) ประวัติของสังคมในพื้นที่นั้น ๆ มาประกอบ  ทุกวันนี้ ผมสอนลูกสอนหลาน ให้ใช้คำว่า ลานนา ตลอดครับ ทั้งหมดนี้เป็นความรู้สึกของตัวผมคนเดียวเท่านั้นนะครับ
IP : บันทึกการเข้า

1. จองสินค้าด้วยเงินสดเท่านั้น ไม่รับจองปากเปล่า กรุณาต่อรองทางโทรศัพท์และกล่องข้อความ
2. เวลาติดต่อ 10.00 - 23.00 น. โทรติดแล้วไม่รับจะโทรกลับ.
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 20 กรกฎาคม 2010, 23:20:02 »

อาณาจักรล้านนาเรามีประวัติยาวนานมากครับ แต่ผมโตมา30หน่อยๆแล้วยังไม่รู้จักบรรพบุรุษของตัวเองมากซักเท่าไหร่ ใครถามก็ตอบแบบถูๆไถๆไปยังงั้นครับ เพราะหนังสือเรียนเค้ามีแต่ของภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ จะมีทางอาณาจักรล้านนาเราก็น้อยนิด จับความมาต่อไม่ได้ วันหน้าจะได้นำเอาความรู้ความเข้าใจไปบอกต่อลูกหลาน คนส่วนใหญ่มองเจียงฮายว่าเป็นบ้านป่าเมืองเขามีก่าคนญ้าวคนดอย มันน่าน้อยใจ๋ ร้องไห้

ลองเริ่มจากเรื่องใกล่ตั๋วก่อนก็ได้ครับ เช่น เรื่องประวัติครอบครัว ประวัติหมู่บ้าน ก่อนขยายไปเรื่องที่ใหญ่กว่า
เพราะถ้าเริ่มจากเรื่องที่ใกล้ตั๋วมันจะยะหื้อเฮาฮู้สึกว่าตั๋วเก่ามีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์
เป๋นเรื่องของเฮา เป๋นประวัติศาสตร์ของเฮา
เช่น คนเจียงรุ้ง หลายหมู่บ้านลุกภาคอีสานมา อาจจะเริ่มจากจุดนี้ก่อนก็ได้ครับ เวลาเล่าหยังหื้อลูกหลานฟัง ปัจจัยที่ยะหื้อเกิดการอพยพ ช่วงเวลาที่อพยพ

ว่าแต่ อยู่เจียงรุ้งบ้านไหนครับ
IP : บันทึกการเข้า
ล้อล้านนา
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 444


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 24 กรกฎาคม 2010, 08:54:00 »

ข่วง ในภาษาพื้นเมืองดั้งเดิม หมายถึง บริเวณที่เป็นลานเล็ก ๆ แต่ถ้า ลาน หมายถึง บริเวณที่เป็นที่กว้าง มองจนสุดลูกหูลูกตานั่นแหละครับ  ผมใจ้คำว่า ลานนา มาตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน อายุจะ 60 แล้ว และก็จะยึดถือ คำนี้ต่อไป
ประวัติศาสตร์จะต้องชำระต่อไป เพราะทุกวันนี้เรามองประวัติศาสตร์ด้านเดียว (โดยเอาคนอื่นมาเป็นบรรทัดฐาน) ไม่มองถึงความเป็นจริงในพื้นฐานของสังคม (คำพูด สำเนียง วัฒณธรรมประเพณี) ประวัติของสังคมในพื้นที่นั้น ๆ มาประกอบ  ทุกวันนี้ ผมสอนลูกสอนหลาน ให้ใช้คำว่า ลานนา ตลอดครับ ทั้งหมดนี้เป็นความรู้สึกของตัวผมคนเดียวเท่านั้นนะครับ
ตามนั้นครับคุณลุง ในเมื่อมีการชำระไปแล้วคุณลุงยังคงไม่ยอมรับก็คงต้องเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคลครับ เพราะการชำระในครั้งนี้ก็มีบุคคลสำคัญๆ ของล้านนา และนักวิชาการระดับประเทศ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ท่านมาก รายละเอียดข้างบนผมก็ว่าละเอียดพอควรนะครับ
IP : บันทึกการเข้า
taekeuk_poomse
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 27 กรกฎาคม 2010, 17:24:37 »

ข่วง ในภาษาพื้นเมืองดั้งเดิม หมายถึง บริเวณที่เป็นลานเล็ก ๆ แต่ถ้า ลาน หมายถึง บริเวณที่เป็นที่กว้าง มองจนสุดลูกหูลูกตานั่นแหละครับ  ผมใจ้คำว่า ลานนา มาตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน อายุจะ 60 แล้ว และก็จะยึดถือ คำนี้ต่อไป
ประวัติศาสตร์จะต้องชำระต่อไป เพราะทุกวันนี้เรามองประวัติศาสตร์ด้านเดียว (โดยเอาคนอื่นมาเป็นบรรทัดฐาน) ไม่มองถึงความเป็นจริงในพื้นฐานของสังคม (คำพูด สำเนียง วัฒณธรรมประเพณี) ประวัติของสังคมในพื้นที่นั้น ๆ มาประกอบ  ทุกวันนี้ ผมสอนลูกสอนหลาน ให้ใช้คำว่า ลานนา ตลอดครับ ทั้งหมดนี้เป็นความรู้สึกของตัวผมคนเดียวเท่านั้นนะครับ

คำว่าลานนา นั้น เป็นคำที่นักวิชาการ ไทยภาคกลาง เรียกครับ
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 28 กรกฎาคม 2010, 21:51:09 »

สนใจคำว่า "ล้านนาไทย / ลานนาไทย" ไหมครับ หุๆ
IP : บันทึกการเข้า
CEI_Lover
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 31 สิงหาคม 2010, 12:47:47 »

สนใจคำว่า "ล้านนาไทย / ลานนาไทย" ไหมครับ หุๆ

ฮ่า ๆ ..................


สนใจ๋ ขนาดนั๊ก ............... "ล้านนาไทย" ...........หาใช่ "ล้านนาไท"




IP : บันทึกการเข้า
bfesz
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 31 สิงหาคม 2010, 15:09:00 »

ล้านนาแน่นอนอยู่ละ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 31 สิงหาคม 2010, 17:10:04 โดย คำขี้หม่า » IP : บันทึกการเข้า
taekeuk_poomse
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 31 สิงหาคม 2010, 19:50:48 »

ล้านนา บ่แม่นล้าน"ต้ง" เน้อ จะบอกหื้อเน้อ อิอิอิ ขำขำ

ชัดเจนครับ ทสลกฺขเขตตนครํ  (1,000,000 นา)

คำว่า "ลาน" ในภูมิภาค อาณาจักรของชาวไท-ยวน นี้ ถ้าเป็นพื้นที่โล่งๆ ไท-ยวน บ่ใช้คำว่าลาน แต่จะใช้คำว่า "ข่วง"

ส่วนคำว่าลาน ที่คนยวน ใช้นั้น มักจะหมายถึง "ต้นลาน" หรือ"ใบลาน"

เป็นสันนี้แล.........

 
IP : บันทึกการเข้า
thewinjoe
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 204



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 04 กันยายน 2010, 11:21:12 »

ขอใจ้ล้านนาตวยครับ ฟังแล้วมันไพเราะหูดีครับ

คุณเจียงฮายพันธุ์แท้ครับ คนอิสานตี้มาอยู่เชียงรุ้งส่วนมากมาจากใหนครับ
ปอจะมีประวัติพ่องก่อครับ ผมคนป่าห้า เจียงฮุ้งยังบ่าฮู้เรื่องราวเลยครับ
ประวัติศราตร์ตี้มีการบันทึกก็เซาะหาบ่าค่อยได้ครับ
IP : บันทึกการเข้า
near near
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 28 ตุลาคม 2010, 05:53:01 »

ข่วง ในภาษาพื้นเมืองดั้งเดิม หมายถึง บริเวณที่เป็นลานเล็ก ๆ แต่ถ้า ลาน หมายถึง บริเวณที่เป็นที่กว้าง มองจนสุดลูกหูลูกตานั่นแหละครับ  ผมใจ้คำว่า ลานนา มาตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน อายุจะ 60 แล้ว และก็จะยึดถือ คำนี้ต่อไป
ประวัติศาสตร์จะต้องชำระต่อไป เพราะทุกวันนี้เรามองประวัติศาสตร์ด้านเดียว (โดยเอาคนอื่นมาเป็นบรรทัดฐาน) ไม่มองถึงความเป็นจริงในพื้นฐานของสังคม (คำพูด สำเนียง วัฒณธรรมประเพณี) ประวัติของสังคมในพื้นที่นั้น ๆ มาประกอบ  ทุกวันนี้ ผมสอนลูกสอนหลาน ให้ใช้คำว่า ลานนา ตลอดครับ ทั้งหมดนี้เป็นความรู้สึกของตัวผมคนเดียวเท่านั้นนะครับ
ล้านนาครับ ตอนเด็กผมก็เข้าใจว่า ลานนา โตหน่อยผมก็รู้เรื่องแล้วครับว่า ล้านนา
ขอโทษนะครับ คุณลุงจะเข้าใจว่าไงก็ช่าง แต่ก็ไม่อยากให้สอนลูกหลานแบบนั้น ผมค่อนข้างซีเรียสพอสมควร เพราะเป็นประวัติศาสตร์ เป็นชื่อเรียกอาณาจักร ซึ่งครอบคลุมหลายจังหวัดในภาคเหนือ ล้านนา - ล้านช้าง คู่กัน เด็กอมมือยังรู้ ไปถามชาว สปป.ลาว เขาก็ว่าเขา ล้านช้าง ของเราย่อมเป็น ล้านนา อย่างไม่ต้องสงสัยครับ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!