เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 26 เมษายน 2024, 08:37:41
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  มีใครรู้จักที่รับชื้อหัวบุกใหมคับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน มีใครรู้จักที่รับชื้อหัวบุกใหมคับ  (อ่าน 2738 ครั้ง)
njoy0011
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 99



« เมื่อ: วันที่ 20 พฤศจิกายน 2011, 14:34:22 »

มีใครรู้จักที่รับชื้อหัวบุกใหมคับผมมีเยอะพอสมควร หัวหนึ่งก็ประมาณ15-30โลแต่ผมไม่รู้ที่เขารับชื้อใครรู้ชว่ยบอกที่คับ ขอบคุณล่วงหน้าคับ


* IMG_8916 Amorphophallus paeoniifolius.jpg (169.82 KB, 418x618 - ดู 1283 ครั้ง.)

* is.jpg (33.93 KB, 500x375 - ดู 1180 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
njoy0011
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 99



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 20 พฤศจิกายน 2011, 14:45:20 »

ต้นสูงประมาณ1.50-3มใบกว้าง1.5-2ม จากกึ่งกลาง ลำต้นใหญ่15-20ช.ม.ใครมี่ที่รับชื้อช่วยบอกหน่อยนะคับ
IP : บันทึกการเข้า
Jean Screen Club..ของขวัญมีไอเดีย
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 608


Screen Club ..ของขวัญมีไอเดีย


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 20 พฤศจิกายน 2011, 14:50:39 »

ประโยชน์ใช้ทำอะไรครับ?
(ไม่รู้จริงๆครับ)
IP : บันทึกการเข้า

njoy0011
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 99



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 20 พฤศจิกายน 2011, 15:12:01 »

ประโยชน์ใช้ทำอะไรครับ?
(ไม่รู้จริงๆครับ)แหล่งที่มา บุกเป็นพืชหัวล้มลุก ของท้องถิ่นแถบร้อนในทวีปเอเซียและแอฟริกาคุณลักษณะ บุกบางชนิดเท่านั้นที่จะมีใยอาหาร กลูโคแมนแนน (Glucomannan) มากพอคุ้มต่อการสกัดแยกออกมาใช้ทางด้านการค้าได้ กลูโคแมนแนน เป็นใยอาหารธรรมชาติชนิดละลายน้ำได้ แต่เมื่อรับประทานเข้าไปจะไม่ถูกย่อยหรือ hydrolysed ด้วยเอ็นไซม์ธรรมชาติภายในระบบย่อยอาหารของมนุษย์ จึงมีคุณสมบัติเป็นอาหารพลังงานต่ำด้วย
ประโยชน์ กลูโคแมนแนน เมื่อผสมน้ำจะพองตัวเป็นวุ้น ใช้ดื่มช่วยให้อิ่มท้องทำให้รับประทานอาหารน้อยลง จะดูดซับไขมันโคเลสเตอรอลและน้ำตาลที่มากเกินพอบางส่วนไว้ และระบายออกทางระบบขับถ่ายของร่างกาย จึงใช้เพื่อเป็นอาหารสำหรับผู้ที่อ้วนมีไขมันส่วนเกินและเป็นเบาหวานคุณประโยชน์อีกอย่างที่น่าสนใจคือ การไปกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ให้เคลื่อนไหว ช่วยขับถ่ายอุจจาระที่ตกค้าง และขจัดสารพิษหรือแก๊สพิษออกจากร่างกายรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
              ในปัจจุบัน บุกเป็นสมุนไพรที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และได้รับการส่งเสริมให้มีการปลูกในโครงการภายใต้มูลนิธิหลวง มีผลิตภัณฑ์จากบุกเพื่อลดความอ้วนในชื่อการค้าต่างๆมากมายในท้องตลาด นอกจากสมุนไพรชนิดนี้จะมีคุณสมบัติในการลดความอ้วนแล้ว ยังสามารถลดไขมันในเลือดและในตับ และลดน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย บุก (Amorphophallus spp.) มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่ทางตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงประเทศจีน ญี่ปุ่น และทางใต้ไปถึงประเทศไทย อินโดจีน และฟิลิปปินส์ เป็นพืชที่พบในป่าซึ่งมีการระบายน้ำได้ดีและอุดมสมบูรณ์ มีลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีหัวอยู่ใต้ดิน โดยปกติจะมีใบเพียงใบเดียวซึ่งมีลักษณะใหญ่มาก ก้านใบยาว ดอกแทงขึ้นมาจากใต้ดิน มีทั้งหมดประมาณ 90 ชนิด บุกเป็นอาหารสมุนไพรที่รู้จักกันดีในญี่ปุ่น โดยมีชื่อทั่วไปว่า Konjac เป็นพืชที่มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Amorphophallus konjac C. Koch หรือ A. rivieri Durien ญี่ปุ่นใช้แป้งจากบุกทำเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ โดยทำเป็นก๋วยเตี๋ยวหรือขนม ซึ่งสามารถลดความอ้วนได้เพราะไม่ให้พลังงานเนื่องจากไม่ถูกย่อย จึงไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย แต่จะขับถ่ายออกมาในรูปเดิม เพียงแต่ทำให้อิ่มเท่านั้น และมีความเชื่อว่าแป้งบุกช่วยทำความสะอาดลำไส้ด้วย มีการสั่งซื้อหัวบุกจากประเทศไทยไปทำวิจัยและทำเป็นอาหารสมุนไพรกันมาก ในประเทศไทยมีบุกอยู่หลายชนิดด้วยกัน นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Francois Gagnepain ได้ทำการศึกษาและพบว่ามีอยู่อย่างน้อย 15 ชนิด เป็นชนิดที่พบใหม่หลายชนิด จึงได้ให้ชื่อทางพฤกษศาสตร์ตามสถานที่พบ เช่น บุกหัวช้าง A. koratensis Gagnep. พบที่โคราช, บุกรอ A. saraburiensis Gagnep. พบที่สระบุรี และบุกก้านโคยงัว A. xiengraiensis Gagnep. พบที่เชียงราย เป็นต้น เท่าที่ได้มีการวิจัยหัวบุกในประเทศไทยจำนวน 7 พันธุ์ คือ บุกคางคก (บุกป่า) A. rex , บุกบ้าน A. campanulatus , บุกด่าง A. kerrii , บุกเขา A. corrugatus , บุก A. oncophyllus , บุกเตียง A. longituberosus และ A. rivieri พบว่ามีเพียง 4 ชนิดที่มีสารสำคัญที่เป็นที่ต้องการทางการค้า คือ กลูโคแมนแนน (glucomannan) ได้แก่
1. บุก (A. oncophyllus Prain ex Hook.f.) เป็นบุกชนิดที่มีหัวเป็นบัลบิล (bulbil) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 ซม. ใบใหญ่ 1 เมตร ก้านใบยาว 90 ซม. หนา 2.5 ซม. ช่อดอกยาว 20 ซม. มีกาบหุ้ม บุกชนิดนี้มีความแตกต่างจากชนิดอื่นตรงที่รูปร่างของหัวมีลักษณะกลม-แบน มีรูตรงกลาง หัวสดมีสีเหลืองอมชมพู และขาวเหลือง นิ่มและฉ่ำน้ำ ก้านใบมีสีต่างๆคือ เขียว เขียวมีจุดขาว เขียวทางขาว และเขียวปนอมชมพู และมี บัลบิลบนใบ พันธุ์นี้มีปริมาณกลูโคแมนแนนสูงมาก พบทางตะวันตกของประเทศ เช่น กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, ตาก และภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่และพะเยา
2. บุกด่าง (A. kerrii N.E. Br.) ก้านใบสีเขียวเข้มมีจุดขาว ยาว 1 เมตร ใบเป็นแฉกยาว 15 - 22 ซม. กว้าง 5 - 7 ซม. ช่อดอกยาว 15 - 30 ซม. กว้าง 7 - 11 ซม. บุกด่างจะต่างกับบุกชนิดอื่นที่รูปร่างของหัวซึ่งกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.5 - 15 ซม. มีผิวขรุขระสีน้ำตาล เนื้อหัวสดมีสีเหลือง เหลืองสดหรือขาว พบแถบน่าน เชียงใหม่ เลย และกาญจนบุรี หรือที่มีระดับความสูง 1,200 - 1,500 ม. เหนือระดับน้ำทะเล พบมีกลูโคแมนแนน แต่น้อยกว่าในบุก (A.oncophyllus)
3. บุกเขา (A. corrugatus N.E. Br.) เป็นบุกที่ต่างจากพันธุ์อื่นตรงที่มีใบแยกเป็นหลายส่วน โดยมากมี 7 ส่วน สีน้ำเงินอมเขียว ขอบใบสีชมพู กาบหุ้มช่อดอกเป็นรูปกระดิ่งยาว 7 - 17 ซม. กว้าง 3 - 7 ซม. เมื่อยังอ่อนอยู่จะมีกลูโคแมนแนน
4. บุก (A. rivieri Durien) เป็นบุกพันธุ์เดียวกับที่ใช้ในญี่ปุ่น
สารสำคัญ             
             มีการศึกษาและค้นพบสารสำคัญในพืชสกุลบุก คือ กลูโคแมนแนน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 กลูโคแมนแนนเป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรต ซึ่งประกอบด้วยกลูโคส แมนโนส และฟรุคโตส มี เมื่อทดลองย่อยกลูโคแมนแนนด้วยเอ็นไซม์ cellulase จะได้ กลูโคส-แมนโนส (1 : 1.6) เซลโลไบโอส อิพิเซลโลไบโอส และอิพิเซลโลไบโอซีลแมนโนส และถ้าทดลองย่อยด้วยเอ็นไซม์ b-mannase จะได้ไดแซคคาไรด์ 13 ชนิด และโอลิโกแซคคาไรด์ นอกจากนี้ยังมีการพบเอ็นไซย์ b-mannase I และ II จากบุกด้วย
ประโยชน์ของกลูโคแมนแนน                     
                 กลูโคแมนแนนจากบุกมีพลังงานต่ำ จึงใช้เป็นอาหารของผู้ต้องการลดความอ้วน และยังมีประโยชน์ในการช่วยบำบัดรักษา และบรรเทาอาการของโรคบางชนิดด้วย เช่น โรคไขมันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง และไขข้ออักเสบ เป็นต้น นอกจากประโยชน์ทางด้านอาหารและยาแล้ว กลูโคแมนแนนจากบุกยังถูกนำไปใช้ผลิตโลชั่นบำรุงผิว และยาเม็ดชนิด sustained release ด้วย
ผลการทดลองทางเภสัชวิทยา
                ทดลองให้หนูขาวกินอาหารผสมผงบุก 5 % พบว่ามีผลทำให้ปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือดและตับลดลง และเมื่อทดลองในหนูขาวที่กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ก็พบว่ามีผลลดปริมาณ โคเลสเตอรอลในเลือดและตับเช่นกัน ทดลองให้หนูขาวและลิงบาบูนกินอาหารซึ่งผสมกลูโคแมนแนนเจล 5 % พบว่าโคเลศเตอ รอลในเลือดลดลงโดย HDL (high density lipoprotein) ไม่ลด และโคเลสเตอรอลในตับ รวมถึงปริมาณไขมันทั้งหมดก็ลดลงด้วย จากการทดลองทางคลินิกทั้งในคนปกติและคนไข้โรคเบาหวาน เมื่อให้รับประทานกลูโคแมนแนนจากบุก พบว่าปริมาณน้ำตาลและอินซูลินในเลือดลดลง การที่กลูโคแมนแนนสามารถลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากความเหนียวของกลูโคแมนแนนไปยับยั้งการดูดซึมกลูโคสจากทางเดินอาหาร และยิ่งมีความหนืดมาก ก็ยิ่งมีผลการดูดซึมกลูโคสมากขึ้น จากผลการทดลองพบว่ากลูโคแมนแนนมีผลทำให้การดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินอี ลดลง แต่ไม่มีผลต่อการดูดซึมวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินบีสิบสอง 
กลูโคแมนแนน (glucomannan)
    โครงสร้างของกลูโคแมนแนนประกอบด้วยโมเลกุลของน้ำตาลแมนโนส (mannose) และน้ำตาลกลูโคส (glucose) ในอัตราส่วน 3:2 เชื่อมต่อกันด้วยพันธะ β1,4-linked D-mannose and D-glucose และมี acetyl groups กระจายอยู่ประมาณ 1 ใน 5 ของน้ำตาลที่เหลือ 
IP : บันทึกการเข้า
njoy0011
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 99



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 20 พฤศจิกายน 2011, 16:08:37 »

 ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
njoy0011
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 99



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2011, 21:29:11 »

ประโยชน์ใช้ทำอะไรครับ?
(ไม่รู้จริงๆครับ)แหล่งที่มา บุกเป็นพืชหัวล้มลุก ของท้องถิ่นแถบร้อนในทวีปเอเซียและแอฟริกาคุณลักษณะ บุกบางชนิดเท่านั้นที่จะมีใยอาหาร กลูโคแมนแนน (Glucomannan) มากพอคุ้มต่อการสกัดแยกออกมาใช้ทางด้านการค้าได้ กลูโคแมนแนน เป็นใยอาหารธรรมชาติชนิดละลายน้ำได้ แต่เมื่อรับประทานเข้าไปจะไม่ถูกย่อยหรือ hydrolysed ด้วยเอ็นไซม์ธรรมชาติภายในระบบย่อยอาหารของมนุษย์ จึงมีคุณสมบัติเป็นอาหารพลังงานต่ำด้วย
ประโยชน์ กลูโคแมนแนน เมื่อผสมน้ำจะพองตัวเป็นวุ้น ใช้ดื่มช่วยให้อิ่มท้องทำให้รับประทานอาหารน้อยลง จะดูดซับไขมันโคเลสเตอรอลและน้ำตาลที่มากเกินพอบางส่วนไว้ และระบายออกทางระบบขับถ่ายของร่างกาย จึงใช้เพื่อเป็นอาหารสำหรับผู้ที่อ้วนมีไขมันส่วนเกินและเป็นเบาหวานคุณประโยชน์อีกอย่างที่น่าสนใจคือ การไปกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ให้เคลื่อนไหว ช่วยขับถ่ายอุจจาระที่ตกค้าง และขจัดสารพิษหรือแก๊สพิษออกจากร่างกายรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
              ในปัจจุบัน บุกเป็นสมุนไพรที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และได้รับการส่งเสริมให้มีการปลูกในโครงการภายใต้มูลนิธิหลวง มีผลิตภัณฑ์จากบุกเพื่อลดความอ้วนในชื่อการค้าต่างๆมากมายในท้องตลาด นอกจากสมุนไพรชนิดนี้จะมีคุณสมบัติในการลดความอ้วนแล้ว ยังสามารถลดไขมันในเลือดและในตับ และลดน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย บุก (Amorphophallus spp.) มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่ทางตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงประเทศจีน ญี่ปุ่น และทางใต้ไปถึงประเทศไทย อินโดจีน และฟิลิปปินส์ เป็นพืชที่พบในป่าซึ่งมีการระบายน้ำได้ดีและอุดมสมบูรณ์ มีลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีหัวอยู่ใต้ดิน โดยปกติจะมีใบเพียงใบเดียวซึ่งมีลักษณะใหญ่มาก ก้านใบยาว ดอกแทงขึ้นมาจากใต้ดิน มีทั้งหมดประมาณ 90 ชนิด บุกเป็นอาหารสมุนไพรที่รู้จักกันดีในญี่ปุ่น โดยมีชื่อทั่วไปว่า Konjac เป็นพืชที่มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Amorphophallus konjac C. Koch หรือ A. rivieri Durien ญี่ปุ่นใช้แป้งจากบุกทำเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ โดยทำเป็นก๋วยเตี๋ยวหรือขนม ซึ่งสามารถลดความอ้วนได้เพราะไม่ให้พลังงานเนื่องจากไม่ถูกย่อย จึงไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย แต่จะขับถ่ายออกมาในรูปเดิม เพียงแต่ทำให้อิ่มเท่านั้น และมีความเชื่อว่าแป้งบุกช่วยทำความสะอาดลำไส้ด้วย มีการสั่งซื้อหัวบุกจากประเทศไทยไปทำวิจัยและทำเป็นอาหารสมุนไพรกันมาก ในประเทศไทยมีบุกอยู่หลายชนิดด้วยกัน นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Francois Gagnepain ได้ทำการศึกษาและพบว่ามีอยู่อย่างน้อย 15 ชนิด เป็นชนิดที่พบใหม่หลายชนิด จึงได้ให้ชื่อทางพฤกษศาสตร์ตามสถานที่พบ เช่น บุกหัวช้าง A. koratensis Gagnep. พบที่โคราช, บุกรอ A. saraburiensis Gagnep. พบที่สระบุรี และบุกก้านโคยงัว A. xiengraiensis Gagnep. พบที่เชียงราย เป็นต้น เท่าที่ได้มีการวิจัยหัวบุกในประเทศไทยจำนวน 7 พันธุ์ คือ บุกคางคก (บุกป่า) A. rex , บุกบ้าน A. campanulatus , บุกด่าง A. kerrii , บุกเขา A. corrugatus , บุก A. oncophyllus , บุกเตียง A. longituberosus และ A. rivieri พบว่ามีเพียง 4 ชนิดที่มีสารสำคัญที่เป็นที่ต้องการทางการค้า คือ กลูโคแมนแนน (glucomannan) ได้แก่
1. บุก (A. oncophyllus Prain ex Hook.f.) เป็นบุกชนิดที่มีหัวเป็นบัลบิล (bulbil) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 ซม. ใบใหญ่ 1 เมตร ก้านใบยาว 90 ซม. หนา 2.5 ซม. ช่อดอกยาว 20 ซม. มีกาบหุ้ม บุกชนิดนี้มีความแตกต่างจากชนิดอื่นตรงที่รูปร่างของหัวมีลักษณะกลม-แบน มีรูตรงกลาง หัวสดมีสีเหลืองอมชมพู และขาวเหลือง นิ่มและฉ่ำน้ำ ก้านใบมีสีต่างๆคือ เขียว เขียวมีจุดขาว เขียวทางขาว และเขียวปนอมชมพู และมี บัลบิลบนใบ พันธุ์นี้มีปริมาณกลูโคแมนแนนสูงมาก พบทางตะวันตกของประเทศ เช่น กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, ตาก และภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่และพะเยา
2. บุกด่าง (A. kerrii N.E. Br.) ก้านใบสีเขียวเข้มมีจุดขาว ยาว 1 เมตร ใบเป็นแฉกยาว 15 - 22 ซม. กว้าง 5 - 7 ซม. ช่อดอกยาว 15 - 30 ซม. กว้าง 7 - 11 ซม. บุกด่างจะต่างกับบุกชนิดอื่นที่รูปร่างของหัวซึ่งกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.5 - 15 ซม. มีผิวขรุขระสีน้ำตาล เนื้อหัวสดมีสีเหลือง เหลืองสดหรือขาว พบแถบน่าน เชียงใหม่ เลย และกาญจนบุรี หรือที่มีระดับความสูง 1,200 - 1,500 ม. เหนือระดับน้ำทะเล พบมีกลูโคแมนแนน แต่น้อยกว่าในบุก (A.oncophyllus)
3. บุกเขา (A. corrugatus N.E. Br.) เป็นบุกที่ต่างจากพันธุ์อื่นตรงที่มีใบแยกเป็นหลายส่วน โดยมากมี 7 ส่วน สีน้ำเงินอมเขียว ขอบใบสีชมพู กาบหุ้มช่อดอกเป็นรูปกระดิ่งยาว 7 - 17 ซม. กว้าง 3 - 7 ซม. เมื่อยังอ่อนอยู่จะมีกลูโคแมนแนน
4. บุก (A. rivieri Durien) เป็นบุกพันธุ์เดียวกับที่ใช้ในญี่ปุ่น
สารสำคัญ             
             มีการศึกษาและค้นพบสารสำคัญในพืชสกุลบุก คือ กลูโคแมนแนน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 กลูโคแมนแนนเป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรต ซึ่งประกอบด้วยกลูโคส แมนโนส และฟรุคโตส มี เมื่อทดลองย่อยกลูโคแมนแนนด้วยเอ็นไซม์ cellulase จะได้ กลูโคส-แมนโนส (1 : 1.6) เซลโลไบโอส อิพิเซลโลไบโอส และอิพิเซลโลไบโอซีลแมนโนส และถ้าทดลองย่อยด้วยเอ็นไซม์ b-mannase จะได้ไดแซคคาไรด์ 13 ชนิด และโอลิโกแซคคาไรด์ นอกจากนี้ยังมีการพบเอ็นไซย์ b-mannase I และ II จากบุกด้วย
ประโยชน์ของกลูโคแมนแนน                     
                 กลูโคแมนแนนจากบุกมีพลังงานต่ำ จึงใช้เป็นอาหารของผู้ต้องการลดความอ้วน และยังมีประโยชน์ในการช่วยบำบัดรักษา และบรรเทาอาการของโรคบางชนิดด้วย เช่น โรคไขมันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง และไขข้ออักเสบ เป็นต้น นอกจากประโยชน์ทางด้านอาหารและยาแล้ว กลูโคแมนแนนจากบุกยังถูกนำไปใช้ผลิตโลชั่นบำรุงผิว และยาเม็ดชนิด sustained release ด้วย
ผลการทดลองทางเภสัชวิทยา
                ทดลองให้หนูขาวกินอาหารผสมผงบุก 5 % พบว่ามีผลทำให้ปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือดและตับลดลง และเมื่อทดลองในหนูขาวที่กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ก็พบว่ามีผลลดปริมาณ โคเลสเตอรอลในเลือดและตับเช่นกัน ทดลองให้หนูขาวและลิงบาบูนกินอาหารซึ่งผสมกลูโคแมนแนนเจล 5 % พบว่าโคเลศเตอ รอลในเลือดลดลงโดย HDL (high density lipoprotein) ไม่ลด และโคเลสเตอรอลในตับ รวมถึงปริมาณไขมันทั้งหมดก็ลดลงด้วย จากการทดลองทางคลินิกทั้งในคนปกติและคนไข้โรคเบาหวาน เมื่อให้รับประทานกลูโคแมนแนนจากบุก พบว่าปริมาณน้ำตาลและอินซูลินในเลือดลดลง การที่กลูโคแมนแนนสามารถลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากความเหนียวของกลูโคแมนแนนไปยับยั้งการดูดซึมกลูโคสจากทางเดินอาหาร และยิ่งมีความหนืดมาก ก็ยิ่งมีผลการดูดซึมกลูโคสมากขึ้น จากผลการทดลองพบว่ากลูโคแมนแนนมีผลทำให้การดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินอี ลดลง แต่ไม่มีผลต่อการดูดซึมวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินบีสิบสอง 
กลูโคแมนแนน (glucomannan)
    โครงสร้างของกลูโคแมนแนนประกอบด้วยโมเลกุลของน้ำตาลแมนโนส (mannose) และน้ำตาลกลูโคส (glucose) ในอัตราส่วน 3:2 เชื่อมต่อกันด้วยพันธะ β1,4-linked D-mannose and D-glucose และมี acetyl groups กระจายอยู่ประมาณ 1 ใน 5 ของน้ำตาลที่เหลือ 
   ประโยชทั้งหลายรวมอยู่หน้านี้คับ
IP : บันทึกการเข้า
njoy0011
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 99



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2011, 22:47:17 »

 ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
njoy0011
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 99



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 25 พฤศจิกายน 2011, 23:12:54 »

 ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
njoy0011
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 99



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 08 ธันวาคม 2011, 19:54:46 »

 ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
njoy0011
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 99



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 08 ธันวาคม 2011, 19:55:03 »

 จุมพิต จุมพิต จุมพิต จุมพิต จุมพิต จุมพิต จุมพิต จุมพิต จุมพิต จุมพิต
IP : บันทึกการเข้า
njoy0011
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 99



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 08 ธันวาคม 2011, 19:57:34 »

ไม่มีใครรู้จริงๆเหรอคับว่าที่ใหนรู้จักที่รับชื้อหัวบุกบ้างถ้ามีชว่ยบอกทีคับถ้าได้ขายจะแบ่งเปอร์เชนให้
IP : บันทึกการเข้า
~อั่ย มู๋อ้วน*
Happy Fat
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,582


หล่อเหลา นักเกาหู


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 18 กันยายน 2012, 16:35:04 »

มีหัวบุกกี่กิโลคะ เป็นบุกเหลือง หรือบุกขาวคะ ลองติดต่อ 0844862482
IP : บันทึกการเข้า

แจ้งข้อมูล ปัญหา ร้องเรียน ร้องทุกข์ เตือนภัย PM ได้ทันที


แมวไหน ไฟแรงเฟร่อ!!
recycle.j
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 331


www.legend95.com


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 19 กันยายน 2012, 08:55:28 »

มีเยอะหรือเปล่าครับแล้วเป็นพันธุ์ไหนผมไม่ค่อยรู้เรื่องนะครับ แต่มีเพื่อนรับซื้ออยู่ตอนนี้ไปซื้อไกลถึงแม่ฮ่องสอนเลยครับ ถ้ามีเยอะจะติดต่อให้
IP : บันทึกการเข้า

chau
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,574



« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 20 กันยายน 2012, 23:13:23 »

บุกมีหลายชนิด ที่ว่า(ในรูป)ทานได้หรือเปล่าคับ บางชนิดกินแล้วคันปาก เ็ห็นเขาทำขายที่อ.แม่อาย หัวขนาดกำปั้นคับ
IP : บันทึกการเข้า

ขาย ผักจิงจูฉ่าย, ขายต้นมะยมแดง3ต้น100
กด 08 9552 1464
rakspipatt
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 16


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 30 กันยายน 2012, 12:08:48 »

ผมมีเพื่อนรับซื้อบุกนะคราบ ลองโทรมาที่ 089-4212511 นะครับ ทรงศักดิ์ ครับ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!