เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 มีนาคม 2024, 15:49:47
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ตลาดกลางซื้อขายสินค้าออนไลน์
| |-+  ศูนย์รวมธุรกิจด้านการบริการ (ผู้ดูแล: CR.COM, B.E.)
| | |-+  มีปัญหาคดีความ ฟ้องหรือยื่นคำให้การสู้คดี แพ่ง อาญา >ทนายความ ลลิตา ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 พิมพ์
ผู้เขียน มีปัญหาคดีความ ฟ้องหรือยื่นคำให้การสู้คดี แพ่ง อาญา >ทนายความ ลลิตา ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ  (อ่าน 6098 ครั้ง)
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« เมื่อ: วันที่ 08 กรกฎาคม 2017, 21:27:54 »

ทนายความ คือ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ว่าต่างแก้ต่างคู่ความในเรื่องอรรถคดี เรียกสั้น ๆ ว่า ทนาย

 ผู้มีสิทธิ์ว่าคดีหรือแก้คดีแทนลูกความหรือตัวความให้คำปรึกษาข้อกฎหมายและ ข้อมูลของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีแพ่ง อาญา และกฏหมายพิเศษต่างๆ
ทำความเห็นกฎหมาย พร้อมเสนอแนะตรวจร่างสัญญาและแก้ไข
ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะร่างสัญญาต่างๆ จัดส่งข้อกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ



ทนายความจะต้องปฎิบัติตามมรรยาททนายความ ซึ่งหมายถึง จรรยาบรรณที่กำหนดเป็นข้อปฏิบัติ และข้อห้ามปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพทนายความ มรรยาททนายความจึงเป็นข้อบังคับที่เป็นแนวทางในการประกอบวิชาชีพทนายความ ซึ่งทนายความทุกคนต้องเคร่งครัดถือปฏิบัติตาม เพื่อให้วิชาชีพทนายความเป็นวิชาชีพที่ผดุงความยุติธรรมได้อย่างแท้จริง


ดังนั้นทนายความจึงสามารถ เป็นทนายความของโจทก์หรือจำเลย ในคดีคดีแพ่งและอาญา ดังนี้
              
                 คดีแพ่ง

               -ร้องขอหรือคัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก
               -ร้องขอหรือคัดค้านให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดก
               -ร้องขอหรือคัดค้านครอบครองปรปักษ์ที่ดิน
               -ร้องขอหรือคัดค้านทำนิติกรรมขายที่ดินแทนผู้เยาว์
               -ร้องขอหรือคัดค้านให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
               -ร้องขอหรือคัดค้านให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
               -ร้องขอหรือคัดค้านให้ศาลพิพากษาให้เด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายที่เคยเป็นสามี
               -ร้องขอหรือคัดค้านตั้งผู้ปกครอง
               -ร้องขัดทรัพย์, กันส่วน, เฉลี่ยหนี้
               -ร้องขอชำระหนี้จำนอง
               -ร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด
               -ร้องขอคืนของกลางในคดีอาญา
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีเรียกเงินกู้ (ฟ้องลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน)
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีกู้ยืมและจำนอง
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีเรียกเงินตามเช็ค
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีแบ่งกรรมสิทธิ์รวม
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีบุกรุกที่ดิน,ขับไล่, บุกรุกเคหะสถาน
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีเพิกถอนเอกสารสิทธิ์
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีละเมิด, ทำร้ายร่างกาย, รถชนกัน, บาดเจ็บ
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีแบ่งมรดก
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีหย่า, แบ่งสินสมรส, ฟ้องชายหรือหญิงชู้เรียกค่าสินไหมทดแทน
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีถอนคืนการให้, เพิกถอนการฉ้อฉล
               -ภริยาฟ้องสามีให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ภริยาและบุตร
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์, เช่าซื้อสินค้า
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีเปิดทางจำเป็น, เป็นทางภาระจำยอม,ขอให้เปิดทางสาธารณะ
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีผิดสัญญาบัตรเครดิต, กู้เงินเกินบัญชี, จำนอง, ค้ำประกัน เป็นต้น
               -กฎหมายครอบครัวและมรดก,กฎหมายสมรส,หย่า,ค่าเลี้ยงดู,บุตรบุญธรรม,พินัยกรรมต่างๆ,การตั้งผู้จัดการมรดก และผู้ปกครองผู้เยาว์,การขออุปการะเลี้ยงดูบุตร,เป็นตัวแทนดำเนินการเรื่องมรดก   
                        
                       คดีอาญา

               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีลักทรัพย์
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีรับของโจร
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีวิ่งราวทรัพย์
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีชิงทรัพย์
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีปล้นทรัพย์
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีฉ้อโกงทรัพย์
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดียักยอกทรัพย์
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีรีดเอาทรัพย์
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีบุกรุกในเคหะสถาน
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีข่มขืนกระทำชำเรา
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีฆ่าคนตายโดยเจตนา, พยายามฆ่า
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีดูหมิ่นเจ้าพนักงาน, ทำร้ายเจ้าพนักงาน,พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีหมิ่นประมาท,ดูหมิ่น
               -ฟ้องหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดียาเสพติดให้โทษ

                     คดีพิเศษ

               -คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
               -คดีล้มละลาย
               -คดีภาษีอากร
               -คดีปกครอง
               -คดีกฎหมายแรงงาน ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำ ข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงาน และกฎข้อบังคับอื่นๆตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด,ให้คำปรึกษาในการเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทแรงงาน,ให้บริการอื่น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน
               -กฏหมายสำหรับคนต่างด้าว,ใบอนุญาตทำงาน,ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ,วีซ่า และขออาศัยอยู่ต่อในประเทศไทย,สัญชาติ

                สัญญาต่างๆ

               -สัญญาขาย
               -สัญญาเช่า
               -สัญญาจำนอง
               -สัญญาโอนหุ้น
               -สัญญาว่าจ้าง
               -สัญญาการทำงาน
               -สัญญาว่าจ้างแรงงาน
               -สัญญานายหน้า
               -ตรวจสอบความถูกต้อง ของหนังสือสัญญา เป็นต้น

  
                 ด้านกฎหมายทั่วไป

                - การบังคับคดี และเร่งรัดหนี้สิน, สืบทรัพย์สิน,ลูกหนี้ ,ดำเนินการบังคับคดี
                และยึดทรัพย์ตลอดจนดูแลการขายทอดตลาดทรัพย์สินลูกหนี้ตามคำพิพากษา ทั่วราชอาณาจักร
                - การรับรองเอกสาร โนตารี่ พับบลิค   
           - ทำหนังสือบอกกล่าวทวงถาม,ติดตามหนี้ที่ค้างชำระต่างๆ
               - เจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ กับสถาบันการเงินต่างๆ, ธนาคาร,ไฟแนนซ์รถ
               - ทำอุทธรณ์ ฎีกา แก้อุทธรณ์ ฎีกา  

----------------------------------------------------------------



ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ
ติดต่อ  087-5447646  ทนายยุ้ย



สามารถเดินทางต่างจังหวัด
เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง
และจังหวัดอื่นๆทั่วประเทศ

----------------------------------------------------------------


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 10 ธันวาคม 2017, 11:37:46 โดย lalitalaws » IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 09 กรกฎาคม 2017, 22:01:42 »

ข้อควรปฏิบัติที่นายจ้างควรรู้เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนลูกจ้างที่เป็นคนต่างด้าว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 10 ธันวาคม 2017, 11:37:07 โดย lalitalaws » IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 11 กรกฎาคม 2017, 11:05:49 »

16 คำด่ารุนแรงให้เสียหายถึงขนาด...ต้องห้าม
พูดปุ๊ป !! ผิด"ดูหมิ่นซึ่งหน้า" ซึ่งเป็นการพูดต่อหน้าผู้เสียหายโดยตรง ตาม ป.อาญามาตรา 393
                จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
     
           ตามฎีกาดังนี้

              1.ไอ้ห่า ฏีกา 3800/2557
              2.อีดอก ฏีกา 2102/2521
              3.ไอ้เหี้ย ฎีกา 5257/2548
              4.อีสัตว์ ฎีกา 5257/2548
              5.อีควาย ฎีกา 5257/2548
              6.ตอแหล ฎีกา 8919/2552
              7.ดอกทอง ฎีกา 1938/2557
              8.หน้าหัวควย ฎีกา 1938/2557
              9.หน้าหี ฎีกา 1938/2557
              10.ไอ้ระยำ ฎีกา 1631/2538
              11.เฮงซวย ฎีกา 1623/2551
              12.ผู้หญิงต่ำๆ ฎีกา 2256/2537
              13.หน้าผีเปรต ฎีกา 10/2527
              14.มารศาสนา ฎีกา 3226/2525
              15.ไอ้หน้าโง่ ฎีกา 7572/2542
              16.อีร้อยควย ฎีกา 1442/2495

           พึงระวังคำพูดไว้ ให้ดีๆ คิดก่อนพูด ด้วยความปรารถนาดีค่ะ
IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 13 กรกฎาคม 2017, 11:03:14 »

วันนี้เอาความรู้เกี่ยวกับการแก้กฎหมายใหม่มาฝากสำหรับ
 " การตบตีทำร้ายร่างกาย"

                         ซึ่งสังคมปัจจุบันมีความรุณแรงเกิดขึ้นทุกที่ ไม่ว่าจะวัยเด็ก วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ซึ่งพบเห็นในข่าวบ่อยครั้งทุกวัน แต่ตั้งแต่นี้การตบตีกันไม่ใช่แค่ จ่าย 500 ให้กับรัฐแล้วจะจบนะค่ะ เวลาจะลงมือทำอะไรลงไปควรมีสติ คิดก่อนทำ เพื่อป้องกันตนเองและคนรอบข้างๆที่รักเราด้วย

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 10 ธันวาคม 2017, 11:36:54 โดย lalitalaws » IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 15 กรกฎาคม 2017, 13:43:26 »

ขั้นตอนปฏิบัติการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีเอกสารแสดงตน
 ศูนย์ One stop service
เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 25560
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 10 ธันวาคม 2017, 11:36:39 โดย lalitalaws » IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 18 กรกฎาคม 2017, 12:06:47 »

อาชีพที่ห้าม มิให้คนต่างด้าวทำ ในประเทศไทย

ยกเว้น พม่า ลาว และกัมพูชา ทำได้ 2 อาชีพคือ กรรมกรและงานบ้าน(ผู้รับใช้ภายในบ้าน)

แต่ทั้งนี้จะต้องขึ้นทะเบียนลูกจ้างต่างด้าวให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย มิฉะนั้นอาจโดนข้อหาให้ที่พักพิงคนต่างด้าวและจ้างแรงงานต่างด้าวโดยผิดกฎหมายมีโทษจำคุกไม่เกิน 3และ5 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นและ 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 10 ธันวาคม 2017, 11:36:28 โดย lalitalaws » IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 20 กรกฎาคม 2017, 11:51:37 »

การยื่นคำร้องขอประกันตัว ผู้ขอประกันจะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

               
ในการติดต่อขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย ผู้ขอประกันจะต้องยื่นคำร้องขอประกันตัว  พร้อมด้วยเอกสารและหลักประกันประกอบคำร้องดังกล่าว โดยนำต้นฉบับเอกสารพร้อมสำเนามายื่นต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและเสนอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งต่อไป

                           ซึ่งเอกสารในการประกอบคำร้องขอประกันตัวมีดังนี้
              
             1.บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ            
             2.ทะเบียนบ้าน
             3.กรณีผู้ขอประกันมีคู่สมรสจะต้องแสดงเอกสารเพิ่มเติม  ได้แก่
                          บัตรประกันตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรรัฐและทะเบียนบ้านของคู่สมรส
                          ใบสำคัญสมรส
                          หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส
             4.กรณีชื่อเจ้าของหลักทรัพย์ไม่ตรงกับที่ปรากฎในหลักทรัพย์จะต้องแสดงเอกสารเพิ่มเติมได้แก่
                          หนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน หรือ
                          หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล
                          ใบสำคัญการสมรส
             5. กรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นชาวต่างประเทศ หากมีหนังสือเดินทาง (Passport) ต้องนำมาแสดงด้วย
                           หากเอกสารที่ต้องนำมาในวันยื่นคำร้องขอประกันตัวไม่ครบถ้วน ผู้ขอประกันอาจขอผัดผ่อนต่อศาลเพื่อพิจารณาอนุญาตให้นำมาส่งในภายหลังได้
             6. เงินสดหรือ
             7.หลักทรัพย์อื่น  เช่น
                           โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3)ต้องมีหนังสือรับรองประเมินราคาที่ดินจากสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือจากที่ว่าการอำเภอในเขตที่ที่ดินตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี  ซึ่งออกให้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน  รับรองโดยเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนหรือผู้ทำการแทน  กรณีรับรองโดยสำนักงานที่ดินอำเภอ ผู้รับรองราคาประเมินจะต้องเป็นนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้ทำการแทนหรือเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอ
                           พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน บัตรหรือสลากออมทรัพย์ทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่ายและธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋วหรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย (แคชเชียร์เช็ค) หรือเช็คที่ธนาคารรับรองแล้ว
                           สมุดเงินฝากประจำหรือใบรับเงินฝากประจำของธนาคารต้องมีหนังสือรับรองยอดเงินฝากคงเหลือปัจจุบันจากสาขาธนาคารที่เปิดบัญชี พร้อมระบุข้อความว่าธนาคารจะไม่ให้ถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปจนกว่าจะได้รับคำสั่งเปลี่ยนแปลงจากศาลก่อน
                           หนังสือค้ำประกันหรือหนังสือรับรองของธนาคาร
                           หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย
                           ในบางกรณีอาจใช้หลักประกันต่อไปนี้ได้
                                (1) ทะเบียนรถยนต์หรือทะเบียนรถจักรยานยนต์
                                (2) ภ.บ.ท.5 ส.ค.1 น.ส.2 หรือ สปก.
                                (3) บ้านพักอาศัย
                                (4) หลักทรัพย์ที่ติดจำนองหรือมีภาระติดพัน
                           บุคคลเป็นหลักประกันโดยแสดงหลักทรัพย์ ต้องมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงสถานะ ตำแหน่ง ระดับอัตราเงินเดือนและควรระบุให้ชัดเจนว่าจะนำไปประกันใคร หากมีภาระผูกพันในการทำสัญญาประกันหรือใช้ตนเองเป็นหลักประกันผู้อื่นไว้ก็ให้แสดงภาระผูกพันนั้นด้วย           
                           ส่วนราชการ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการช่วยเหลือข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการที่ต้องหาคดีอาญาเป็นข้าราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการการเมืองหรือทนายความ (ใช้ตำแหน่งเป็นหลักประกันเฉพาะตนเองหรือญาติใกล้ชิด) โดยสามรรถทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 10 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
                           ผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ เภสัชกร พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ผู้สอบบัญชี ครู ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนฯ เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย อาจใช้ตนเองเป็นหลักประกันได้  สำหรับกรณีความผิดที่ถูกกล่าวหาเกิดจาการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติงานในการประกอบวิชาชีพ โดยสามารถทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 15 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน


อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสอบถามได้ค่ะ
087-5447646
                               
                         
IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 23 กรกฎาคม 2017, 17:04:28 »

 
วิธีการ หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการฟ้องบังคับจำนอง (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 แก้ไขใหม่)

         กรณีทรัพย์สินจำนองเป็นของลูกหนี้ (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 วรรคหนึ่ง แก้ไขใหม่)

            (1) ผู้รับจำนองต้องมีหนังสือบอกกล่าวลูกหนี้ให้ชำระหนี้ก่อน ภายในเวลาอันสมควร แต่ต้องไม่น้อยกว่า 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ได้รับคำบอกกล่าว
            (2) ลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ตามที่บอกกล่าว

         กรณีทรัพย์สินจำนองเป็นของบุคคลอื่น (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 วรรคสอง แก้ไขใหม่)

            (1) นอกจากผู้รับจำนองจะต้องมีหนังสือบอกกล่าวลูกหนี้ให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควร แต่ต้องไม่น้อยกว่า 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ได้รับคำบอกกล่าวแล้ว ผู้รับจำนองยังต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้จำนองทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ส่งหนังสือแจ้งลูกหนี้ด้วย
            (2) ลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ตามที่ผู้รับจำนองมีหนังสือบอกกล่าว
         ถ้าผู้รับจำนองไม่มีหนังสือบอกกล่าวภายในกำหนด 15 วัน ผู้จำนองหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้นั้น ที่เกิดขึ้นนับแต่พ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน


         กรณีทรัพย์สินจำนองเป็นของผู้รับโอน (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 735 แก้ไขใหม่)

            (1) เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้
            (2) ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 60 วันก่อน จึงจะบังคับจำนองได้
            (3) ผู้รับโอนไม่ไถ่ถอนจำนองภายใน 60 วัน นับแต่วันบอกกล่าว (ตามป.พ.พ. มาตรา 737 แก้ไขใหม่)

          หมายเหตุ     การบอกกล่าวบังคับจำนองจะต้องทำเป็นหนังสือ จะบอกกล่าวด้วยวาจามิได้

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
087-5447646 ทนายยุ้ย
IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 26 กรกฎาคม 2017, 13:24:53 »

** การกู้ยืมเงินดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 % ต่อปี (กรณีผู้ให้กู้ที่มิใช่ธนาคาร)**

        
  เดิม การที่ผู้กู้เสียดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15% ต่อปีให้ผู้ให้กู้ที่

มิใช่ธนาคาร ศาลวางแนวไว้ว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ เรียกคืนไม่ได้ ปัจจุบัน

ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่กลับหลักการข้างต้น โดยให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องที่ผู้กู้ตกอยู่ในภาวะจำยอม

ตามเศรษฐกิจ
จะถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจหาได้ไม่ผู้กู้จึงขอเรียกคืนได้ และเรียกคืน

ได้ทั้งหมด
เพราะผู้ให้กู้รู้แต่แรกว่าดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15% ต่อปี ดังนั้นต้องถือว่าได้รับมาโดย

ทุจริตตั้งแต่แรก


            สรุป การเรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15% ต่อปี ไม่ได้เป็นการชำระตามอำเภอใจ จึงสามารถเรียกเงินค่าดอกเบี้ยที่ชำระไปคืนได้ทั้งหมด
IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 28 กรกฎาคม 2017, 18:25:36 »

บุคคลใดบ้าง? จะมีสิทธิ์ได้รับมรดกแบบไม่มีพินัยกรรม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 10 ธันวาคม 2017, 11:36:16 โดย lalitalaws » IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 02 สิงหาคม 2017, 14:34:47 »

จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แต่ละจังหวัดตามรัฐธรรมนูญใหม่ที่ประชาชนควรรู้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 10 ธันวาคม 2017, 11:36:02 โดย lalitalaws » IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 15 สิงหาคม 2017, 13:04:15 »

ขอบคุณทุกท่านที่ไว้วางใจค่ะ

087-5447646 ทนายยุ้ย
IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 01 กันยายน 2017, 11:12:44 »

การช่วยเหลือผู้ที่กระทำความผิดตามกฎหมาย!!! ทำให้เราได้รับความผิดตามกฎหมาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 10 ธันวาคม 2017, 11:35:51 โดย lalitalaws » IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 03 กันยายน 2017, 13:00:21 »

ปัญหาใกล้ตัว สำหรับคนชอบท่องโลกอินเตอร์เน็ต!!!

การเก็บคลิปโป้ สื่อลามกอานาจาร นำเข้าเผยแพร่คลิปในที่สาธารณะ แชร์ในกลุ่มไลน์ที่คนอยู่เยอะๆก็เป็นความผิดแล้ว

แค่เก็บไว้ดูในเครื่องของตนเองก็เป็นความผิดได้เช่นกัน หากบุคคลในคลิปอายุไม่เกิน 18 ปี

รู้แล้วควรระวังถือเป็นภัยใกล้ตัวอย่างมากในโลกออนไลน์ในทุกวันนี้นะคะ

                        
         ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287/1 และ 287/2 ซึ่งมาตราแรก มีองค์ประกอบความผิดว่า "ผู้ใด มีการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก ที่ได้ให้นิยามไว้ในมาตรา 1(17)โดยเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางเพศ สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

             หมายความว่า คนที่มีสื่อลามกอนาจารโดยครอบครอง ไม่ว่าจะรับมาทางไลน์จากเพื่อน เมื่อเปิดดูแล้ว มีเจตนาแสวงหาเพื่อประโยชน์ในทางเพศของตนก็ถือว่ามีเจตนาพิเศษครบองค์ประกอบความผิดแล้ว เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายไม่ต้องการให้มีการละเมิดทางเพศต่อเด็ก การมีคลิป มีภาพ เสียงเหล่านี้ก่อให้เกิดการละเมิดทางเพศต่อเด็ก

             ส่วนผู้ที่ "ส่งต่อ" นำเข้า ส่งออก ทำ ผลิต มีไว้ เพื่อความประสงค์แห่งการค้า สื่อลามกอนาจาร ก็มีโทษจำคุกถึง 7 ปีตามที่บัญญัติในวรรค 2 สำหรับผู้ที่ทำไปเพื่อประสงค์แห่งการค้า ก็จะผิดตามมาตรา 287/2 ไม่ว่าจะแจกจ่าย อวดอ้างแก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าในราชอาณาจักร พาไปหรือทำให้แพร่หลาย หรือประกอบการค้า หรือเพื่อจะช่วยทำให้แพร่หลายมีโทษจำคุกสามถึงสิบปี ปรับหกหมื่นบาทสองแสนบาท







« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 10 ธันวาคม 2017, 11:35:40 โดย lalitalaws » IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 07 กันยายน 2017, 16:13:27 »

เหตุฟ้องหย่า (กรณีที่สามีภริยาไม่สามารถตกลงยินยอมหย่าขาดจากกันได้)

         
ศาลจะมีคำพิพากษาให้สามีภริยาหย่าขาดจากกันได้ก็ต่อเมื่อสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องขอหย่า โดยอาศัยเหตุใดเหตุหนึ่งหรือหลายเหตุตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1516 ซึ่งมีกำหนดไว้ 12 เหตุที่ใช้บังคับกับทุกกรณีที่มีการหย่าเกิดขึ้น

          มาตรา 1516  "เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
          (1)  สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
          (2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
               (ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
               (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
               (ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
          อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
          (3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
          (4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
          (4/1)  สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
          (4/2)  สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
          (5)  สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
          (6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
          (7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
          (เจ๋ง สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
          (9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
          (10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้"

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6625/2549  ฝรั่งฟ้องหย่าคนไทยที่ประเทศไทย ต้องใช้เหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายไทย

 
ข้อยกเว้นในเหตุฟ้องหย่า ตามมาตรา 1516

          กฎหมายได้กำหนดไว้ในมาตรา 1517 และมาตรา 1518 ประกอบด้วยข้อยกเว้น 4 ประการ คือ
              ก. การยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจของฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่า
          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2527 ระหว่างจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์ จำเลยมีอาชีพผิดกฎหมายค้ายาเสพติด โจทก์รู้เห็นและร่วมกระทำด้วยโจทก์ให้ญาติของโจทก์นำเฮโรอีนมาจากภาคเหนือ จนญาติของโจทก์และจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับ ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 20 ปี ถือได้ว่าโจทก์ได้ยินยอมหรือรู้เห็น เป็นใจในการกระทำของจำเลยที่เป็นเหตุหย่านั้น โจทก์จะ ยกขึ้นเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยหาได้ไม่

          ข. การกระทำของฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าเป็นเหตุให้เกิดเหตุหย่านั้น
       
          ค. เหตุหย่าเป็นเหตุเล็กน้อย

          ง. ฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าให้อภัยแล้ว


ยิ้ม***********************************************************************************************************************************************************************ยิงฟันยิ้ม

ต้องการปรึกษาเพิ่มเติม
โทร 087-5447646 (ทนายลลิตา)
IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 09 กันยายน 2017, 13:56:36 »

              การครอบครองปรปักษ์  หมายถึง  การที่บุคคลได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่นโดยการครอบครองตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๑๓๘๒  ซึ่งได้บัญญัติว่า
“บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี  ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์”

               การที่บุคคลจะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์จะต้องปรากฏว่า ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของผู้อื่นที่เจ้าของจะต้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันมิใช่แค่สิทธิครอบครอง  โดยเฉพาะที่ดิน  ที่ดินที่จะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์จะต้องเป็นที่ดินที่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์   ได้แก่  โฉนดที่ดิน  โฉนดแผนที่  โฉนดตราจอง  ตราจองที่ตราว่า  “ได้ทำประโยชน์แล้ว”  ถ้าหากที่ดินนั้นเจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น  เช่น  ที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์  (น.ส. ๓, น.ส. ๓ ก., น.ส. ๓ ข.)  แม้ผู้นั้นจะครอบครองที่ดินดังกล่าวนานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์  แต่อย่างใด  นอกจากนั้น  การครอบครองดังกล่าวจะต้องเป็นการครอบครองโดยสงบ  โดยเปิดเผยไม่มีการปิดบังอำพรางหรือซ่อนเร้นและมีเจตนาเป็นเจ้าของ   ถ้าเป็นการครอบครองในฐานะผู้เช่า  หรือผู้อาศัยไม่ได้ครอบครองโดยมีเจตนาเป็นเจ้าของก็ไม่เข้าองค์ประกอบที่จะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์  และการครอบครองปรปักษ์จะนำไปใช้แก่ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ได้  เพราะต้องห้ามตามมาตรา  ๑๓๐๖  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  รวมทั้งจะนำไปใช้กับที่ธรณีสงฆ์หรือที่วัด  ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไม่ได้ด้วย

หลักฐานที่จะต้องนำมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  เพื่อขอจดทะเบียนประเภทได้มาโดยการ   ครอบครองปรปักษ์  ได้แก่
-     คำสั่งหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุด  ที่แสดงว่าผู้ขอได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ (ในการยื่นคำร้องต้องมีทนายความ)
-     บัตรประจำตัว  สำเนาทะเบียนบ้าน
-     โฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดิน
กรณีไม่ได้โฉนดที่ดินมาจดทะเบียน  กรณีผู้ขอไม่สามารถนำโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของ
ที่ดินมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้  ตามข้อ  ๑๗ (๓)  แห่งกฎกระทรวง  ฉบับที่  ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน  พ.ศ. ๒๔๙๗  ให้ถือว่าโฉนดที่ดินสูญหาย  ให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินแล้วดำเนินการจดทะเบียนตามควรแก่กรณี  ในกรณีนี้โฉนดที่ดินเดิมเป็นอันใช้ไม่ได้ต่อไป

 
            ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนประเภทได้มาโดยการครอบครอง
  -    ค่าคำขอแปลงละ  ๕  บาท
  -    ค่าธรรมเนียมตามราคาประเมินของทางราชการ  ร้อยละ  ๒
  -    ค่าอากรแสตมป์  ไม่เสีย
  -    ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย  ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสีย  ณ  ที่จ่ายตอน
จดทะเบียนได้มา ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.๑๐๐/๒๕๔๓  ลงวันที่ ๒๔  พฤศจิกายน ๒๕๔๓
ข้อ  ๑๐ (๗)  แต่อสังหาริมทรัพย์ที่ได้เป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา  ๓๙  แห่งประมวลรัษฎากรของผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์  ซึ่งจะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ     
-     ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ  ไม่เสีย  เนื่องจากการได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครอง
ปรปักษ์  ตามมาตรา  ๑๓๘๒  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการขายตามมาตรา
๙๑/๑ (๔)  แห่งประมวลรัษฎากร  เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมจึงไม่ใช่ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์  ทั้งนี้  ตามหนังสือกรมสรรพากร  ด่วนที่สุด  ที่  กค  ๐๘๑๑/๐๐๐๘๑  ลงวันที่  ๖  มกราคม  ๒๕๔๒  ข้อ  ๑ (๓)

           
        ค่าใช้จ่ายกรณีจดทะเบียนประเภทได้มาโดยการครอบครองแล้วจะจดทะเบียนขายอสังหาริมทรัพย์นั้นต่อไป  ในขั้นตอนการจดทะเบียนขายต่อไปเสียค่าใช้จ่าย  ดังนี้
   -    ค่าคำขอแปลงละ  ๕  บาท
   -    ค่าธรรมเนียมตามราคาประเมินของทางราชการ  ร้อยละ  ๒
   -    ค่าอากรแสตมป์ใบรับ  ร้อยละ  ๐.๕  (๕๐  สตางค์)  จากราคาประเมินของทางราชการ
หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่ผู้ขอแสดง  แล้วแต่ราคาใดสูงกว่า
   -   ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  หัก ณ ที่จ่าย  เสียตามปกติโดยนับจำนวนปีถือครองตั้งแต่
ปีที่ได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์  (ปีที่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง  มิใช่ปีที่จดทะเบียนได้มา
โดยการครอบครอง)  จนถึงปีที่จดทะเบียนขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มานั้นต่อไป  (คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.๑๐๐/๒๕๔๓  ลงวันที่  ๒๔  พฤศจิกายน  ๒๕๔๓  ข้อ  ๖
   -   ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ เสียหากอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ต้องเสีย  โดย  “การนับระยะเวลาการ
ได้มาในเรื่องของภาษีธุรกิจเฉพาะ  ให้เริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ได้มาจนถึงวันโอนกรรมสิทธิ์  และ “วันที่ได้มา”  ได้แก่วันที่จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์  (หนังสือกรมสรรพากร  ด่วนที่สุด  ที่  กค  ๐๘๑๑/๐๐๐๘๑  ลงวันที่  ๖  มกราคม  ๒๕๔๒)   ดังนั้น  เมื่อจดทะเบียนได้มาโดยการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา  ๑๓๘๒  แล้วจะขายอสังหาริมทรัพย์นั้นต่อไป  การนับระยะเวลาการได้มาเพื่อพิจารณาว่าอยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่  จึงต้องเริ่มนับจากวันจดทะเบียนได้มาโดยการครอบครอง  จนถึงวันจดทะเบียนขายอสังหาริมทรัพย์นั้นต่อไป  มิใช่เริ่มนับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง   กรณีเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วได้รับยกเว้นอากรแสตมป์ใบรับข้างต้น


*****************************************************************************

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร 087-5447646 (ทนายลลิตา)

IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 12 กันยายน 2017, 13:40:29 »

การขอเป็นผู้จัดการมรดก

         เมื่อเจ้ามรดกตาย  ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกซึ่งเรามักเรียกกันว่า "กองมรดก" เช่น ที่ดิน เงินฝากธนาคาร เงินที่เขายืมไป ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล บ้านช่อง  และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย คือ เจ้ามรดกไปยืมเงินใครเขาไว้หรือเป็นหนี้เขา ค้างค่าเช่าบ้าน พวกนี้เป็นพวกความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน  แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว ซึ่งจะต้องนำเงินจากกองมรดกมาหักค่าใช้จ่าย หนี้ นั้นเอง

            แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม  ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินก็จะปฎิเสธบ้าง ลูกหนี้เจ้ามรดกปฎิเสธบ้าง หรือแม้จะไปเบิกเงินธนาคารๆ ก็ปฎิเสธบ้างว่า ต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว มิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้ ดังนั้นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียจึงต้องมีการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกเสียก่อน ซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องมีทนายความช่วยร่างคำร้องขอให้


ใครเป็นผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก
          ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกได้แก่ ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกที่มีสิทธิรับมรดก เช่น บุตร บิดามารดา คู่สมรสของเจ้ามรดกผู้รับพินัยกรรมของเจ้ามรดก ซึ่งอาจเป็นบุคคลภายนอกก็ได้ ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของเจ้ามรดก กรณีเช่นนี้ที่มีมากคือ กรณีที่สามีภริยาไม่จดทะเบียนสมรสและมีทรัพย์สินร่วมกันนั่นเอง สำหรับเจ้าหนี้ ไม่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย จึงไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกได้ หรือกรณีมีพินัยกรรมระบุให้ใครเป็นผู้จัดการมรดก

เอกสารเบื้องต้นที่ต้องเตรียมในการร้องขอจัดการมรดก

- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตายและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกจำนวน 3 ชุด
- สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการของผู้ร้องขอจำนวน 3 ชุด
- สำเนาใบมรณะบัตรของผู้ตายจำนวน 3 ชุด
- สำเนาใบมรณะบัตรของบิดามารดา กรณีบิดามารดาของผู้ตาย(เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตายก่อนแล้ว ถ้าหาไม่ได้ ให้ขอหนังสือรับรองการตายจากนาย
 ทะเบียนท้องถิ่นจำนวน 3 ชุด
- สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ตายจำนวน 3 ชุด
- สำเนาทะเบียนสมรสพร้อมด้วยทะเบียนหย่าของผู้ตาย กรณีมีการหย่าจำนวน 3 ชุด
- สำเนาใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ของทายาท (ถ้ามี) จำนวน 3 ชุด
- สำเนาสูติบัตรของบุตรผู้ตาย กรณีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือไม่สามารถให้ความยินยอมได้จำนวน 3 ชุด
- สำเนาพินัยกรรมของผู้ตาย(ถ้ามี)จำนวน 3 ชุด
- หนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมรดก
- บัญชีเครือญาติ
- เอกสารที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดิน ทะเบียนรถจักรยานยนต์ ทะเบียนรถยนต์ ทะเบียนอาวุธปืน สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ใบหุ้น ฯลฯเป็นต้นถ่ายสำเนาจำนวน 3 ชุด
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท ผู้ให้ความยินยอมทุกคน จำนวน 3 ชุด


คำร้องต้องทำอย่างไร

           ดังได้กล่าวมาแล้วว่าการทำคำร้องเป็นเรื่องที่ผู้มีความรู้ในทางกฎหมายและทางปฏิบัติเท่านั้นจะเข้าใจและทำได้ถูกต้อง  เราประชาชนหรือมีอาชีพอื่นย่อมไม่เข้าใจ ก็ต้องปรึกษานักกฎหมายหรือทนายความ  สำหรับคำร้องจะมีแบบคำร้องแล้วนำมาบรรยายในคำร้องระบุรายละเอียดต่างๆ เช่น ชื่อ ตำบล ที่อยู่ผู้ร้อง เป็นทายาทผู้ตายๆ ผู้ตายเมื่อไหร่ มีหลักฐานการตาย ผู้ตายมีทายาทกี่คนใครบ้าง มีทรัพย์สินอะไรบ้าง มีเหตุขัดข้องอย่างไร และท้ายสุดก็ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก

************************************************************************************************************
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร 087-5447646 ทนายลลิตา


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 12 กันยายน 2017, 20:11:09 โดย lalitalaws » IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2017, 11:24:55 »

การยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

           คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องอยู่ในความอนุบาลของผู้อนุบาล โดยเหตุที่ปัจจุบันนี้มีบิดามารดา หรือผู้ดูแลของบุคคลดังกล่าวไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่าย ค่ารักษาพยาบาล ให้แก่บุคคลไร้ความสามารถ จึงต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถเสียก่อน

         คนไร้ความสามารถ

            คือ เป็นบุคคลวิกลจริต และต้องเป็นอย่างมาก คือ วิกลจริตชนิดที่พูดจาไม่รู้เรื่อง ไม่มีความรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่รู้สึกตัวว่าทำอะไรลงไปบ้าง เป็นอยู่ประจำ คือ วิกลจริตอยู่สม่ำเสมอ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นอยู่ตลอดเวลา อาจมีเวลาที่มีสติอย่างคนธรรมดาบางเวลา ในเวลาต่อมาก็เกิดวิกลจริตอีก เช่นนี้เรื่อยไป

         บุคคลที่มีสิทธิร้องขอ

               - คู่สมรส
                - ผู้บุพการี คือ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด
                - ผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน ลื่อ
                - ผู้ปกครอง หรือผู้พิทักษ์
                - ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่
                - พนักงานอัยการ


          ผลของคำสั่งศาล

              - บุคคลไร้ความสามารถต้องอยู่ในความอนุบาลของผู้อนุบาล
          - ถูกกฎหมายจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรมหรือไม่สามารถทำนิติกรรมเองได้หรือผู้อนุบาลเป็นผู้ทำแทน


         เอกสารที่ต้องเตรียมเบื้องต้นในการขอให้ศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ

            1.สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้องขอ
         2.สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลที่จะให้ศาลมีคำสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ
         3.รายงานความเห็นของแพทย์ที่ลงความเห็นว่าบุตรที่จะให้ศาลสั่งมีความผิดปกติอย่างไร
         4.เอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องขอและผู้ที่จะให้ศาลสั่ง เช่น ทะเบียนสมรส เอกสารการจดทะเบียนรับรองบุตร
         5.หลักฐานอื่น ๆ เช่น ภาพถ่ายของบุคคลไร้ความสามารถ


*****************************************************************************
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร 087-5447646 ทนายลลิตา



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 กันยายน 2017, 11:28:03 โดย lalitalaws » IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 21 กันยายน 2017, 13:39:13 »

อายุความในการฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่ง

มาตรา 193/30 อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีกำหนดสิบปี

มาตรา 193/32 สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาล ที่ถึงที่สุดหรือโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้มีกำหนดอายุความสิบปี ทั้งนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใด

มาตรา 193/33 สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี(1) ดอกเบี้ยค้างชำระ
(2) เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ
(3) ค่าเช่าทรัพย์สินค้าชำระ เว้นแต่ค่าเช่าสังหาริมทรัพย์ตาม มาตรา 193/34 (6)
(4) เงินค้างจ่ายคือ เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และเงินอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา
(5) สิทธิเรียกร้องตาม มาตรา 193/34 (1) (2) และ (5) ที่ไม่อยู่ ในบังคับอายุความสองปี

มาตรา 193/34 สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความ สองปี
(1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้ประกอบศิลปอุตสาหกรรมหรือช่างฝีมือ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออก ทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง
(2) ผู้ประกอบเกษตรกรรมหรือการป่าไม้ เรียกเอาค่าของที่ได้ ส่งมอบอันเป็นผลิตผลทางเกษตรหรือป่าไม้ เฉพาะที่ใช้สอยในบ้าน เรือนของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง
(3) ผู้ขนส่งคนโดยสารหรือสิ่งของหรือผู้รับส่งข่าวสาร เรียก เอาค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าเช่า ค่าธรรมเนียม รวมทั้งเงินที่ได้ออก ทดรองไป
(4) ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมหรือหอพัก ผู้ประกอบธุรกิจในการ จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม หรือผู้ประกอบธุรกิจสถานบริการตาม กฎหมายว่าด้วยสถานบริการเรียกเอาค่าที่พัก อาหารหรือเครื่องดื่ม ค่าบริการหรือค่าการงานที่ได้ทำให้แก่ผู้มาพักหรือใช้บริการ รวมทั้ง เงินที่ได้ออกทดรองไป
(5) ผู้ขายสลากกินแบ่ง สลากกินรวบหรือสลากที่คล้ายคลึงกัน เรียกเอาค่าขายสลาก เว้นแต่เป็นการขายเพื่อการขายต่อ
(6) ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ เรียกเอาค่าเช่า
(7) บุคคลซึ่งมิได้เข้าอยู่ในประเภทที่ระบุไว้ใน (1) แต่เป็นผู้ ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำงานการต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(เจ๋ง ลูกจ้างซึ่งรับใช้การงานส่วนบุคคล เรียกเอาค่าจ้างหรือสิน จ้างอย่างอื่นเพื่อการงานที่ทำ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือ นายจ้างเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป
(9) ลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว หรือลูกจ้าง รายวัน รวมทั้งผู้ฝึกหัดงาน เรียกเอาค้าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือนายจ้างเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่น ว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป
(10) ครูสอนผู้ฝึกหัดงาน เรียกเอาค่าฝึกสอนและค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ตามที่ได้ตกลงกันไว้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(11) เจ้าของสถานศึกษาหรือสถานพยาบาล เรียกเอาค่า ธรรมเนียมการเรียนและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ หรือค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นรวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(12) ผู้รับคนไว้เพื่อการบำรุงเลี้ยงดูหรือฝึกสอน เรียกเอาค่า การงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(13) ผู้รับเลี้ยงหรือฝึกสอนสัตว์ เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(14) ครูหรืออาจารย์ เรียกเอาค่าสอน
(15) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาอื่น เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(16) ทนายความหรือผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย รวมทั้ง พยานผู้เชี่ยวชาญ เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออก ทดรองไป หรือคู่ความเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่าย ล่วงหน้าไป
(17) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม สถาปัตยกรรม ผู้สอบบัญชี หรือผู้ประกอบวิชาชีพอิสระอื่น เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวม ทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือผู้ว่าจ้างให้ประกอบการงานดังกล่าว เรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป

มาตรา 193/35 ภายใต้บังคับ มาตรา 193/27 สิทธิเรียกร้องที่ เกิดขึ้นจากการที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือโดยการให้ประกันตาม มาตรา 193/28 วรรคสอง ให้มีกำหนด อายุความสองปีนับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดหรือให้ประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2551
      หนี้จากการใช้บัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็นหนี้จากการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ หรือหนี้จากการถอนเงินสด ล้วนเป็นหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตด้วยกัน จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7) ไม่อาจแยกบังคับนับอายุความแตกต่างกันได้


หากคดีขาดอายุความ

        “หนี้ที่ขาดอายุความ” เจ้าหนี้มีสิทธินำมาฟ้องคดีต่อศาลได้ ลูกหนี้มีสิทธิปฏิเสธการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ตามป.พ.พ. มาตรา 193/9 และมาตรา 193/10 หากลูกหนี้มิได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะยกฟ้องโดยอ้างว่าหนี้ขาดอายุความแล้วไม่ได้ ตามป.พ.พ. มาตรา 193/29

         ดังนั้น ปัญหาเรื่อง “อายุความ” ในคดีแพ่ง แม้จะเป็น “ปัญหาข้อกฎหมาย” แต่ก็มิใช่ “ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน” หากลูกหนี้มิได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะยกอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ ตามป.พ.พ. มาตรา 193/29 ประกอบป.วิ.แพ่ง มาตรา 142 (5) ศาลมีหน้าที่ต้องพิพากษาไปตามรูปคดี

         
****************************************************************************

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร 087-5447646 ทนายลลิตา



IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 07 ตุลาคม 2017, 11:11:53 »

พระราชบัญญัติเรื่องการค้ำประกันและจำนองฉบับใหม่  (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 20) ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 พย. 2557 ที่ผ่านมา มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 90 วันคือตั้งแต่วันที่ 12 กพ.2558 เป็นต้นไป


              พระราชบัญญัติใหม่นี้ มีเจตนาแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการค้ำประกันและจำนองของไทยให้ทันสมัยและเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายมากยิ่งขึ้น โดยป้องกันไม่ให้สถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืม ใช้อำนาจต่อรองที่เหนือกว่า ทำสัญญาค้ำประกันและจำนองที่มีข้อตกลง ยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายและเอาเปรียบผู้ค้ำประกันและผู้จำนองจนเกินสมควร

             
สาระสำคัญของ พรบ.ฉบับนี้ คือ

              1.ให้บรรดาข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หรือแตกต่างจากบทบัญญัติตามมาตรา 681 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม มาตรา 694 มาตรา 698 และ มาตรา 699  เป็นโมฆะ คือผู้ค้ำประกันสามารถจำกัดการค้ำประกันของตนเองได้คือไม่จำเป็นต้องค้ำประกันจนสุดจำนวนเงินของหนี้ประธานและจำกัดได้ว่าหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันจะชดใช้หนี้แทนในจำนวนเท่านั้นเท่านี้ตามที่ผู้ค้ำประกันได้ตกลงไว้

          2.ให้ผู้ค้ำประกันได้รับประโยชน์จากการที่เจ้าหนี้ให้ประโยชน์หรือผ่อนปรนต่อลูกหนี้ เช่น การลดหนี้ การลดค่าดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าภาระติดพัน ซึ่งเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้น เป็นต้น

          3.ผู้ค้ำประกันที่เป็นสถาบันการเงินหรือค้ำประกันเพื่อสินจ้างเป็นปกติธุระ สามารถทำข้อตกลงไว้ล่วงหน้ายินยอมให้มีการผ่อนเวลาได้

          4.ให้ผู้จำนองมีสิทธิทำนองเดียวกับผู้ค้ำประกัน ไม่ต้องรับผิดในหนี้เกินกว่าราคาทรัพย์สินที่จํานอง และมีสิทธิขอให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองโดยไม่ต้องฟ้องคดีได้

          5. ให้สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองที่ทำขึ้นก่อนวันที่ พรบ.นี้ใช้บังคับสามารถใช้บังคับได้ต่อไป เว้นแต่ พรบ.นี้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น คือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ 12 กพ.2558 ยังมีผลบังคับตามกฎหมายเดิมนะค่ะ


********************************************************************************

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร 087-5447646 ทนายลลิตา



IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!