เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 16:12:40
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ตลาดกลางซื้อขายสินค้าออนไลน์
| |-+  ศูนย์รวมธุรกิจด้านการบริการ (ผู้ดูแล: CR.COM, B.E.)
| | |-+  มีปัญหาคดีความ ฟ้องหรือยื่นคำให้การสู้คดี แพ่ง อาญา >ทนายความ ลลิตา ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 [2] พิมพ์
ผู้เขียน มีปัญหาคดีความ ฟ้องหรือยื่นคำให้การสู้คดี แพ่ง อาญา >ทนายความ ลลิตา ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ  (อ่าน 6108 ครั้ง)
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #20 เมื่อ: วันที่ 12 ตุลาคม 2017, 13:37:34 »

ลูกหนี้ควรรู้

         
ถูกเจ้าหนี้หน้าโหดตามมาทวงเงินถึงที่ หากถูกข่มขู่คุกคามจะทำอย่างไรดี แถมใช้ลูกไม้มาหลอกทวงหนี้กันแบบนี้ จะมีใครเข้ามาดูแลได้บ้างนะ และการถูกปฏิบัติแบบใดที่ถือว่าไม่เป็นธรรม จำข้อกฎหมายเหล่านี้เอาไว้ จะได้ไม่ถูกเจ้าหนี้เอาเปรียบ

         1. ข้อห้ามปฏิบัติของผู้ทวงหนี้
         - ข่มขู่ ใช้ความรุนแรง ทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายหรือทรัพย์สิน ผู้ฝ่าฝืนจําคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

         - พูดจาไม่สุภาพ ดูหมิ่น ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

         - เปิดเผยความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้คนอื่นได้รู้ ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

         - ทวงหนี้ผ่านไปรษณีย์ หรือโทรสาร โดยมีข้อความแสดงการทวงหนี้ชัดเจน ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

         - ห้ามระบุข้อความ เครื่องหมาย หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมาย ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท


        2. ห้ามทวงหนี้แบบหลอกให้เข้าใจผิด
         - ส่งเอกสารทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิดว่าเป็นการกระทำของศาล เช่น ส่งเอกสารที่มีตราครุฑมาให้ลูกหนี้ ผู้ฝ่าฝืนจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

         - ทำให้เชื่อว่ามีการส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถาม (Notice) จากทนายความ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

         - ใช้เอกสารที่ทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิดว่าจะถูกดำเนินคดี หรือถูกยึดทรัพย์ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

         - แอบอ้างว่าเป็นการทวงหนี้จากบริษัทข้อมูลเครดิตใด ๆ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ


         3. การทวงถามหนี้ไม่เป็นธรรม ห้ามปฏิบัติดังนี้
         - เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ในอัตราเกินกว่าที่กำหนด

         - เสนอให้ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าลูกหนี้ไม่มีเงินชำระหนี้ตามเช็ค ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

        4. คณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้
             มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการทวงหนี้ของผู้ทวงถามหนี้ โดยหากลูกหนี้หรือคนอื่น ๆ ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือไม่เป็นไปตามกฎหมายจากผู้ทวงถามหนี้ สามารถร้องเรียนต่อคณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ประจำจังหวัด


        5. ให้ที่ทำการปกครอง หรือกองบัญชาการตำรวจนครบาล
             มีอำนาจรับร้องเรียนการทวงหนี้ผิดกฎหมาย ติดตามพฤติกรรมของผู้ทวงถามหนี้


******************************************************************************

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร 087-5447646 ทนายลลิตา

IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #21 เมื่อ: วันที่ 01 พฤศจิกายน 2017, 16:07:49 »

เจ้าหนี้ควรทราบ!! ทวงหนี้อย่างไร? ไม่ให้ผิดกฎหมาย....


****************************************************************************************

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร 087-5447646 ทนายลลิตา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 10 ธันวาคม 2017, 11:34:46 โดย lalitalaws » IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #22 เมื่อ: วันที่ 07 พฤศจิกายน 2017, 12:28:25 »

ขอบคุณที่ไว้วางใจค่ะ

มีปัญหากฏหมาย คดีความ ติดต่อ ทนายลลิตา 087-5447646
IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #23 เมื่อ: วันที่ 09 พฤศจิกายน 2017, 10:04:45 »

             
การขอปล่อยชั่วคราวต่อศาลคืออะไร?
           
การขอปล่อยชั่วคราว คือ การยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้พิจารณาปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยไม่ต้องมีประกัน หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกัน ภายในระยะเวลาที่กำหนด

      การขอปล่อยชั่วคราวทำได้ในชั้นใดบ้าง?

          ๑ ชั้นฝากขัง ขอปล่อยชั่วคราวได้เมื่อผู้ต้องหาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ
หรือพนักงานอัยการนำตัวมาขออนุญาตศาลฝากขังระหว่างที่ยังสอบสวน
ไม่แล้วเสร็จ
          ๒ ชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น เมื่อผู้ต้องหาถูกพนักงานอัยการ
ฟ้องต่อศาลแล้วก็จะเปลี่ยนฐานะจากผู้ต้องหาเป็นจำเลย จึงมีสิทธิขอปล่อย
ชั่วคราวต่อศาลได้ หรือในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์เมื่อศาลประทับฟ้องแล้วจะขอ
ปล่อยชั่วคราวก่อนวันนัด ในวันนัดหรือหลังจากวันนัดที่ระบุในหมายเรียกให้
มาแก้คดีก็ได้
          ๓ ชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา กรณีที่จำเลยถูกขังหรือจำคุกโดยผลของ
คำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาค จะขอปล่อยชั่วคราวก่อน
ที่จะยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฎีกาพร้อมกัน หรือหลังจากยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฎีกาก็ได้
แล้วแต่กรณี
          ทั้งนี้ การปล่อยชั่วคราวในชั้นใดใช้ได้เฉพาะชั้นนั้น เมื่อชั้นของ
การขอปล่อยชั่วคราวเปลี่ยนไปต้องยื่นขอปล่อยชั่วคราวใหม่


              ใครบ้างมีสิทธิยื่นคำร้องขอประกันตัว?
      ๑ ผู้ต้องหาหรือจำเลย
      ๒ ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง (เช่น บุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภริยา
ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรส บุคคลที่ศาล
เห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้อง หรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่น
ที่ศาลเห็นสมควรให้ประกันได้) หรือนิติบุคคล (เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด)
สำหรับกรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นกรรมการ ผู้แทน ตัวแทน หุ้นส่วน พนักงาน
หรือลูกจ้างของนิติบุคคลนั้น

               การขอปล่อยชั่วคราวจะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?
         เอกสารประกอบคำร้องขอประกันตัวมีดังนี้

๑ บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
๒ ทะเบียนบ้าน
๓ กรณีผู้ขอประกันมีคู่สมรสจะต้องแสดงเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่
        ๓.๑ บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐและทะเบียนบ้านของคู่สมรส
        ๓.๒ ใบสำคัญการสมรส
        ๓.๓ หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส
๔ กรณีชื่อเจ้าของหลักทรัพย์ไม่ตรงกับที่ปรากฏในหลักทรัพย์ จะต้องแสดงเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่
        ๔.๑ หนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกันหรือหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล
        ๔.๒ ใบสำคัญการสมรส
๕ กรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นชาวต่างประเทศ หากมีหนังสือเดินทาง(Passport) ต้องนำมาแสดงด้วย
หากเอกสารที่ต้องนำมาในวันยื่นคำร้องขอประกันตัวไม่ครบถ้วนผู้ขอประกันอาจขอผัดผ่อนต่อศาลเพื่ออนุญาตให้นำมาส่งในภายหลังได้

      หลักประกันใดบ้างที่สามารถใช้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้?
๑ เงินสด
๒ หลักทรัพย์อื่น เช่น
         ๒.๑ โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก. หรือน.ส.๓)
         ๒.๒ พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน บัตรหรือสลากออมทรัพย์ทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่ายและธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย (แคชเชียร์เช็ค)หรือเช็คที่ธนาคารรับรองแล้ว
         ๒.๓ สมุดเงินฝากประจำหรือใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร
         ๒.๔ หนังสือค้ำประกันหรือหนังสือรับรองของธนาคาร
         ๒.๕ หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย
         ๒.๖ ในบางกรณีอาจใช้หลักประกันต่อไปนี้ได้
                (๑) ทะเบียนรถยนต์หรือทะเบียนรถจักรยานยนต์
                (๒) ภ.บ.ท.๕ ส.ค.๑ น.ส.๒ หรือ สปก.
                (๓) บ้านพักอาศัย
                (๔) หลักทรัพย์ที่ติดจำนองหรือมีภาระติดพัน
๓ บุคคลเป็นหลักประกันโดยแสดงหลักทรัพย์
๔ ส่วนราชการ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการช่วยเหลือข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการที่ต้องหาคดีอาญา
๕ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการการเมืองหรือทนายความใช้ตำแหน่งเป็นหลักประกันเฉพาะตนเองหรือญาติใกล้ชิด โดยสามารถทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน ๑๐ เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน


*******************************************************************************


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร 087-5447646 ทนายลลิตา


IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #24 เมื่อ: วันที่ 13 พฤศจิกายน 2017, 09:55:27 »

ที่ทำการแห่งใหม่ "สำนักงานกฎหมายมังราย แอนด์ พาร์ทเนอร์"

เข้ามาเยี่ยมชม ปรึกษาปัญหาข้อกฎหมายได้นะคะ


*********************************************************************************


สามารถโทรนัดหมาย/ปรึกษาคดีความได้ที่เบอร์
087-5447646 ทนายลลิตา


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 10 ธันวาคม 2017, 11:35:12 โดย lalitalaws » IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #25 เมื่อ: วันที่ 17 พฤศจิกายน 2017, 09:57:13 »

การผิดสัญญา การบอกเลิกสัญญาและการเรียกค่าเสียหาย(ถ้ามี)

                          เมื่อมีการกระทำอันเป็นการกระทำผิดข้อตกลงของสัญญา
          หรือการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงใดๆที่เคยได้ให้กันไว้ หรือที่เรียกกันว่าผิดสัญญานั้น คู่สัญญาฝ่ายที่
          เป็นผู้เสียหายย่อมมีมาตรการในการเยียวยาความเสียหายของตนได้สองวิธี คือ ใช้สิทธิบอกเลิก
          สัญญาและเรียกค่าเสียหาย(ถ้ามี) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้


                         1. การเลิกสัญญาโดยอาศัยข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา กล่าวคือ
          เป็นกรณีที่สัญญาที่ได้ทำกันขึ้นนั้นได้ระบุเหตุแห่งการเลิกสัญญาเอาไว้โดยชัดแจ้ง เมื่อมีเหตุดังที่ระบุ
          ไว้ได้เกิดขึ้นจริง คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวการเลิกสัญญาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง
          ได้โดยทันที(ป.พ.พ ม.386 ว.1) แต่มีข้อพึงระวังว่าเมื่อบอกกล่าวการเลิกสัญญาออกไปแล้ว ย่อมไม่สามารถ
          ถอนได้ในภายหลัง(ป.พ.พ ม.386 ว.2) ดังนั้นจึงควรไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน


                        2. การเลิกสัญญากรณีที่ข้อสัญญาไม่ได้ระบุเหตุ
          แห่งการเลิกสัญญาไว้ กล่าวคือ สัญญาที่ได้ทำกันขึ้นนั้นไม่ได้ระบุเหตุแห่งการเลิกสัญญาเอาไว้โดยตรง
          แต่ในทางข้อเท็จจริงได้มีการผิดสัญญากันขึ้น ในกรณีเช่นนี้คู่สัญญาฝ่ายที่เสียหายต้องบอกกล่าว
          กำหนดระยะเวลาพอสมควร (ประมาณ15-30วัน) ให้คุู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งนั้นปฏิบัติตามสัญญา
          เสียก่อนจะบอกเลิกสัญญาโดยทันทีเลยไม่ได้ แต่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไปแล้วคู่สัญญาฝ่ายนั้น
          ยังคงเพิกเฉยและกระทำการอันเป็นการละเมิดสัญญาอยู่ต่อไป คู่สัญญาฝ่ายที่เสียหายก็ชอบที่จะบอกเลิกสัญญา
          ได้ทันที (ป.พ.พ ม.387)


                      3. การเลิกสัญญากรณีที่ข้อสัญญาได้กำหนดระยะเวลาให้ปฏิบัติการ
          ไว้แล้วโดยชัดแจ้ง กล่าวคือ วัตถุประสงค์แห่งสัญญานั้นไม่ว่าจะโดยสภาพหรือโดยเจตนาของคู่สัญญา
          จะสำเร็จได้ต่อเมื่อปฏิบัติตามกำหนดเวลาหรือภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่นนี้หากระยะเวลาดังกล่าว
          ได้ล่วงพ้นไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้มีการปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใด เช่นนี้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก็ชอบที่จะ
          บอกเลิกสัญญาได้โดยทันที (ป.พ.พ ม.388)


                          4. การเลิกสัญญากรณีที่การปฏิบัติตามสัญญากลายเป็นพ้นวิสัยเพราะ
          คุ่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง กล่าวคือ การปฏิบัติตามสัญญานั้นไม่อาจเกิดได้เลยในทางข้อเท็จจริง เพราะความผิด
          หรือเพราะเหตุอื่นใดที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งใดก่อขึ้นไม่ว่าจะโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม ในกรณีเช่นนี้คู่สัญญา
          ฝ่ายที่เสียหายย่อมสามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันทีเช่นกัน (ป.พ.พ ม.389)

                       5. การบอกเลิกสัญญาต่อคู่สัญญาที่มีหลายคน กล่าวคือ สัญญาที่ทำกันขึ้นนั้น
           ในบางกรณีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก็อาจมีมากกว่าหนึ่งคนก็ได้ ในกรณีเช่นนี้การบอกเลิกสัญญาต้อง
           กระทำต่อคู่สัญญาฝ่ายนั้นรวมกันทั้งหมดทุกคนจะขาดคนใดคนหนึ่งไม่ได้ ในทางตรงกันข้าม
           หากคู่สัญญาฝ่ายที่เสียหายมีอยู่ด้วยกันหลายคนเช่นกัน การบอกเลิกสัญญาย่อมกระทำได้ด้วย
           การบอกเลิกรวมกันหมดทุกคน มิเช่นนั้นการบอกเลิกย่อมไม่มีผล (ป.พ.พ ม.390)


                    ผลแห่งการเลิกสัญญา ไม่ว่าจะเป็นการเลิกสัญญาด้วยกรณีใด
           ผลในทางกฎหมายของการเลิกสัญญาย่อมเหมือนกันเสมอ กล่าวคือ เมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดได้ใช้สิทธิ
           บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องกลับคืนสู่สถานะเดิม คือ เคยมีอยู่อย่างไรเป็นอยู่อย่างไร
           ก่อนเกิดสัญญา ต้องกลับไปมีอย่างนั้นเป็นอย่างนั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการทำให้เสื่อมเสียซึ่งสิทธิ
           ของบุคคลภายนอกด้วย คือ บุคคลภายนอกเคยได้สิทธิอย่างใดอันเกิดแต่สัญญาที่ทำขึ้น สิทธิของ
           บุคคลภายนอกก็ยังคงมีอยู่แม้ว่าสัญญาซึ่งเป็นฐานแห่งสิทธินั้นจะได้มีการบอกเลิกกันไปแล้ว (ป.พ.พ ม.391ว.1)

      
                    ในกรณีที่ต้องคืนเงินกันเมื่อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้ว
           กฎหมายกำหนดให้สามารถคิดดอกเบี้ยกันได้ด้วย โดยคำนวณย้อนไปถึงวันที่คู่สัญญาฝ่ายนั้น
           ได้รับเงินไว้ตอนทำสัญญา(ป.พ.พ ม.391ว.2) ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี(ป.พ.พ ม.7)

      
                       ส่วนการอันใดที่ได้ทำไปโดยอาศัยสิทธิตามสัญญานั้น โดยสภาพแล้ว
           ไม่อาจกลับคืนแก่กันได้โดยง่าย ดังนั้นกฎหมายจึงกำหนดให้ชดใช้คืนกันเป็นเงินแทน โดยคำนวณ
            ตามควรค่าแห่งการนั้นๆ ซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณีๆไป(ป.พ.พ ม.391ว.3)


                        นอกจากนี้ การใช้สิทธิใดๆเพื่อบอกเลิกสัญญาตามที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น
            ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิในการเรียกค่าเสียหายอีกส่วนหนึ่งต่างหาก กล่าวคือ หากการละเมิดสัญญา
            ทำให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหาย คู่สัญญาฝ่ายนั้นมีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อศาลได้
            แม้ว่าจะได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาไปแล้วก็ตาม(ป.พ.พ ม.391ว.4)


                       ข้อควรระวัง!!! ของคู่สัญญาฝ่ายที่เสียหาย ทางแก้หรือทางเยียวยา
             ของคู่สัญญาฝ่ายที่เสียหายมีเพียงแค่สองวิธีเท่านั้นดังที่กล่าวไว้ข้างต้น คือใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา
             และฟ้องเรียกค่าเสียหายแต่เพียงเท่านั้น คู่สัญญาฝ่ายดังกล่าวไม่มีสิทธิไปทำลายทรัพย์อันเป็น
             วัตถุแห่งสัญญาให้บุบสลายหรือเสียหายไป หรือกระทำด้วยประการใดๆที่ทำให้การใช้คืนทรัพย์
             ไม่อาจเกิดขึ้นได้ หรือเปลี่ยนแปลงทรัพย์นั้นให้ผิดแผกไปเป็นอย่างอื่น มิเช่นนั้น สิทธิในการเลิกสัญญา
              ย่อมเป็นอันสิ้นสุดลงทันที! เว้นเสียแต่ว่าความสูญหรือเสียหายนั้นเกิดจากเหตุอื่นซึ่งไม่ใช่ความผิด
              ของคู่สัญญาฝ่ายที่เสียหาย(ป.พ.พ ม.394)



************************************************************************

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร 087-5447646 ทนายลลิตา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 23 พฤศจิกายน 2017, 09:58:56 โดย lalitalaws » IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #26 เมื่อ: วันที่ 23 พฤศจิกายน 2017, 10:22:41 »

การเรียกค่าเสียหายจากการทำละเมิดจากบุคคลอื่นซึ่งกระทำละเมิดต่อตัวเราหรือผู้มีส่วนได้เสียกับเรา
                   คู่กรณีกระทำละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 420  ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ผู้นั้นทำละเมิด จึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามมาตรา 444 , 445 เรียกค่ารักษาพยาบาล, ค่าเสื่อมสุขภาพ, ค่าขาดประโยชน์จากการทำงาน ค่าปลงศพ แต่จะต้องทำภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 448

                กรณีบุคคลที่ทำละเมิดขับรถมาชนเรา
                 มาตรา 437  บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใด ๆ อันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง
      ความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงผู้มีไว้ในครอบครองของตน ซึ่งทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นด้วย

 
                 การคิดค่าเสียหายจากการถูกกระทำละเมิด
                 มาตรา 444 ในกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยนั้น ผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้ชดใช้ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป และค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน ทั้งในเวลาปัจจุบันนั้นและในเวลาอนาคตด้วย
      ถ้าในเวลาที่พิพากษาคดี เป็นพ้นวิสัยจะหยั่งรู้ได้แน่ว่าความเสียหายนั้นได้มีแท้จริงเพียงใด ศาลจะกล่าวในคำพิพากษาว่ายังสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษานั้นอีกภายในระยะเวลาไม่เกินสองปีก็ได้


                  การคิดค่าเสียหายจากการถูกกระทำละเมิดกรณีถึงแก่ความตาย พิการ ทุพกลภาพ
                 มาตรา 445  ในกรณีทำให้เขาถึงตาย หรือให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดี ในกรณีทำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี ถ้าผู้ต้องเสียหายมีความผูกพันตามกฎหมาย จะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่บุคคลภายนอกในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมของบุคคลภายนอกนั้นไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อที่เขาต้องขาดแรงงานอันนั้นไปด้วย
[/size]
               
                 ค่าปลงศพ หมายถึง การจัดการศพตามประเพณีของลัทธิศาสนา เช่น ค่าปลงศพ พอตายแล้วจะต้องมีหีบศพ ห่อศพ ฉีดยาป้องกันศพเน่า แต่งตัวให้ศพ แต่งชุดพิเศษหรือชุดที่ชอบ จ้างช่างตัดผมหรือหวีผมให้ หรือว่ากรณีร่างกายถูกรถชนแหลกเหลวจะต้องเย็บให้เข้าที่ ค่าจ้างหมอเย็บศพก็ถือว่าเป็นค่าปลงศพอย่างหนึ่ง ค่าพิธีการรดน้ำศพ สวดศพ ทำบุญอันจำเป็นตามประเพณี ค่าเช่าเมรุเผาศพ เป็นต้น เหล่านี้ถือว่าเป็นค่าปลงศพ
                ผู้ทำละเมิดมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนของค่าปลงศพแต่ไม่มีหน้าที่ไปจัดการศพเพราะอำนาจการจัดการศพอยู่ที่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นไปตามป.พ.พ.มาตรา ๑๖๔๙


                  อายุความในการเรียกร้องค่าเสียหายหรือฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าเสียหาย
                  มาตรา 448  สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด
       แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา และมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมานั้นไซร้ ท่านให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ
[/size]

**********************************************************************************

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร 087-5447646 ทนายลลิตา
IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #27 เมื่อ: วันที่ 30 พฤศจิกายน 2017, 12:31:59 »

           
                 การฟ้องบังคับจำนองเอากับทรัพย์ที่จำนองการกู้ยืมแต่สัญญาไม่ได้ระบุยกเว้นป.พ.พ. มาตรา 733 ไว้ จึงไม่สามารถเรียกเงินในส่วนที่ขาดหรือทรัพย์อื่นอีกได้

         คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 6612/2559 แม้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1
 ชำระหนี้กู้ยืมอันเป็นหนี้ประธานก็ตาม แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องว่า หากจำเลยทั้ง 2 ไม่ชำระให้ยึดทรัพย์
 จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ และบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองได้
 จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีเอาจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอัน
 เป็นทรัพย์จำนองจึงเป็นการฟ้องบังคับจำนองด้วย เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่าสัญญาจำนองไม่มีข้อตกลงกันว่าหากโจทก์ผู้รับจำนองเอาทรัพย์ที่จำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้แก่ผู้รับจำนองได้เงินสุทธิน้อย
 กว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระให้ยึดทรัพย์สินอื่นของผู้จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาใช้หนี้แก่ผู้รับจำนองโดยครบถ้วนอันเป็นการตกลงยกเว้น ป.พ.พ. มาตรา 733 ไว้
ดังนั้นเมื่อโจทก์ยึดทรัพย์จำนองออก
 จายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ หากได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ โจทก์ไม่อาจขอให้
 ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยทั้งสองมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วนได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฏหมายอัน
 เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฏีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้


*****************************************************************************************************************

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร 087-5447646 ทนายลลิตา


IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #28 เมื่อ: วันที่ 20 มิถุนายน 2018, 09:55:32 »

ขอบคุณทุกท่านที่ไว้วางใจค่ะ

087-5447646 ทนายยุ้ย
IP : บันทึกการเข้า
panithan
"คนรุ่นใหม่ ไม่สูบไม่ดื่ม"
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,501


รับดำเนินงานด้านงานก่อสร้างครบวงจร


« ตอบ #29 เมื่อ: วันที่ 02 มีนาคม 2019, 09:30:02 »

ทักทายครับ  ยิ้มเท่ห์ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

panithan
"คนรุ่นใหม่ ไม่สูบไม่ดื่ม"
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,501


รับดำเนินงานด้านงานก่อสร้างครบวงจร


« ตอบ #30 เมื่อ: วันที่ 14 พฤษภาคม 2019, 11:19:04 »

 ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #31 เมื่อ: วันที่ 30 สิงหาคม 2019, 13:36:43 »

เจ้าหนี้ควรทราบ!! ทวงหนี้อย่างไร? ไม่ให้ผิดกฎหมาย....


****************************************************************************************

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร 087-5447646 ทนายลลิตา
IP : บันทึกการเข้า
lalitalaws
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



« ตอบ #32 เมื่อ: วันที่ 23 มิถุนายน 2020, 13:24:46 »

ขอบคุณที่ไว้วางใจค่ะ

มีปัญหากฏหมาย คดีความ ติดต่อ ทนายลลิตา 087-5447646
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!