เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 16 เมษายน 2024, 18:08:57
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  จะมีไหมนิคมอุตสาหกรรมเชียงราย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 พิมพ์
ผู้เขียน จะมีไหมนิคมอุตสาหกรรมเชียงราย  (อ่าน 52956 ครั้ง)
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #80 เมื่อ: วันที่ 20 มิถุนายน 2013, 11:33:11 »

กนอ.เข็นครกนิคมอุตฯอีสาน

วันพุธที่ 19 มิถุนายน 2013 เวลา 10:42 น.    กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ    ลงทุน-อุตสาหกรรม   

ลุยเข็นตั้งนิคมฯภาคอีสานต่อ หลังรอบแรกเอกชนลงทุนพลาดเป้า ก.ค.นี้ชงบอร์ดประกาศอีกใน 4 จังหวัด หวังดำเนินการให้เสร็จภายในปีนี้ ก่อนขยายพื้นที่ไปภาคเหนือในปีหน้า ขณะที่การตั้งนิคมฯเอสเอ็มอี และนิคมฯเชียงของ 22 แห่ง ที่เสนอมา รอลุ้น กนอ.ยันไม่ได้สนับสนุนทุกโครงการจะได้เกิด

วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม    นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากที่กนอ.ได้ประกาศเชิญชวนเอกชนเสนอพื้นที่เพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใน 8 จังหวัดเป้าหมาย ได้แก่ ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี หนองคาย นครพนม มุกดาหาร สกลนคร และอุบลราชธานี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 31 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวและเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของจังหวัด ที่จะเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีนั้น
    "ปรากฏว่ามีเอกชนเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมมาเพียง 6 โครงการใน 4 จังหวัด ได้แก่ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี พื้นที่นิคมประมาณ 999 ไร่ บริษัท เอเชีย เอ็กซ์เพรส จำกัด จังหวัดขอนแก่น พื้นที่ประมาณ 4 พันไร่ บริษัท โรงแรม โกลเด้นแลนด์ จำกัด จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่ประมาณ 1 พันไร่ บริษัท นาคา คลีนเพาเอวร์ จำกัด จังหวัดหนองคาย พื้นที่ประมาณ 2.3 พันไร่ บริษัท โรยัล เอ็กซเพรส ทรานสปอร์ต แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด จังหวัดหนองคาย พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ และบริษัท สวนอุตสาหกรรม จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่ประมาณ 973 ไร่ คิดเป็นพื้นที่รวม 9.799 พันไร่  ซึ่งถือว่ายังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กนอ.กำหนดไว้"
    ดังนั้น ในการประชุมคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) ที่จะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคมนี้ กนอ.จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณากำหนดให้มีการประกาศเชิญชวนภาคเอกชนเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมในอีก 4 จังหวัดที่เหลือ ได้แก่ มุกดาหาร สกลนคร อุบลราชธานี และนครพนม ต่อไป เพื่อให้การดำเนินงานในปีนี้บรรลุตามวัตถุประสงค์และนโยบายของรัฐบาล และในปีหน้าจะได้วางยุทธศาสตร์การจัดตั้งนิคมในจังหวัดภาคเหนือต่อไป
    "ที่ผ่านมากนอ.ได้ไปชักชวนเอกชนมาจัดตั้งนิคมทั้ง 8 จังหวัด แต่ 4 จังหวัดที่เหลือ อาจจะยังไม่มีความพร้อม เนื่องจากระยะเวลาการเชิญชวนอาจจะสั้นเกินไป และอาจจะยังไม่ทราบศักยภาพทั้งหมดของจังหวัดตัวเองว่าจะสามารถดำเนินการตั้งนิคมได้ ซึ่งหลังจากนี้ไปกนอ.จะไปประสานงานกับ สภาอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าจังหวัด เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในส่วนนี้ขึ้นมา และเมื่อดำเนินการได้ครบทุกจังหวัดตามเป้าหมายแล้ว ในแต่ละปีกนอ.จะประกาศเชิญชวนเอกชนเข้ามาจัดตั้งนิคมในภาคอื่นๆ ต่อไป"
    นายวีรพงศ์ กล่าวอีกว่า ส่วนการเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีนั้น ได้เสนอมาจำนวน 18 โครงการ กระจายอยู่ในจังหวัด นครราชสีมา ชลบุรี ระยอง หนองคาย ขอนแก่น อุบลราชธานี ยโสธร นครพนม ฉะเชิงเทรา พิจิตร กาญจนบุรี และอยุธยา รวมพื้นที่ประมาณ 1.924 พันไร่ ขณะที่การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเชียงของ จังหวัดเชียงราย เสนอมาจำนวน 4 โครงการ รวมพื้นที่ประมาณ 2.44 พันไร่
    "ทั้งหมดนี้กนอ.จะใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ในการตรวจสอบเอกสารของเอกชนแต่รายที่เสนอมา ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยเฉพาะพื้นที่ตั้งนิคมไม่ขัดต่อการใช้ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมหรือเป็นพื้นที่สีเขียว เป็นต้น ขณะที่การจัดตั้งนิคมฯเอสเอ็มอี และนิคมฯเชียงของที่เสนอเข้ามาเป็นจำนวนมาก อาจจะคัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมจริงๆ พื้นที่ไหนที่มีความซ้ำซ้อนกันอาจจะไม่ได้รับการพิจารณาสนับสนุนการจัดตั้ง ซึ่งหลังจากตรวจสอบเอกสารทั้งหมดแล้ว คาดว่าจะนำเสนอบอร์ดกนอ.ได้ในเดือนกรกฎาคมนี้ และจะแจ้งให้ผู้ประกอบการรับทราบเป็นรายๆ ต่อไป คาดว่าภายในปีนี้จะมีนิคมที่สามารถเดินหน้าโครงการได้ประมาณ 10 แห่ง ก่อน เพื่อให้ทันรองรับการเปิดเออีซีในปี 2558"
    ส่วนเม็ดเงินลงทุนนั้น เบื้องต้นประมาณการว่า จะใช้เงินลงทุนพัฒนาโครงการไม่รวมค่าที่ดินตกไร่ละประมาณ 1.5 ล้านบาท หรือใช้เงินลงทุนในการจัดตั้งนิคมฯภาคอีสาน 6 แห่งที่เสนอมาประมาณ 1.469 หมื่นล้านบาท 

 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,854 วันที่  20 - 22  มิถุนายน พ.ศ. 255
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
100 piper
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 84



« ตอบ #81 เมื่อ: วันที่ 20 มิถุนายน 2013, 11:54:12 »

บอกตรงๆ แบบไม่แคร์ใครคือ "ไม่อยากให้มี"
เพราะถ้าหากควบคุมไม่ดีหรือเจ้าของกิจการไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีพอ
ก็จะสร้างปัญหาตามมาเป็นหางว่าวเลยหล่ะคับ

เห็นด้วย 100% คุณเคยได้ยินโรค "มินามาตะ" มั้ย มันเคยเกิดขึ้นแล้วที่นิคมลำพูน คุณอยากมันเกิดในบ้านนี้เมืองนี้อีกหรือ ฮืม ฮืม ฮืม
+1000000000
IP : บันทึกการเข้า

(^_^)ไม่มีเงิน..อย่าไปไหนไกล ไม่มีน้ำใจ ..อย่าไปไหนเลย ...
......................082-6184980......................
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #82 เมื่อ: วันที่ 15 สิงหาคม 2013, 12:07:13 »

หลังจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม 3 ประเภท ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรม SMEs สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมนิคมอุตสาหกรรมที่ให้บริการด้านโลจิสติกส์ บริเวณเชียงของ และนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เน้นเพื่อเชื่อมโยงกับระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก EWEC (เส้นทาง R9 เชื่อมระหว่างเมืองดานังกับแม่สอด) และเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในบริเวณพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา นครพนม อุบลราชธานี สกลนคร มุกดาหาร และหนองคาย และได้สิ้นสุดการให้เอกชนมายื่นข้อเสนอไปแล้วเมื่อเร็ว ๆ นี้

ไม่คึกคัก ยื่นขอแค่ 28 โครงการ

หลังการปิดรับข้อเสนอ ปรากฏว่ามีบริษัทเอกชนเสนอพื้นที่รวม 28 โครงการ แบ่งเป็นนิคม SMEs 18 โครงการ นิคมเชียงของรวม 4 โครงการ และนิคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวม 6 โครงการ





แม้ กนอ.จะพยายามออกมาตรการเพื่อกระตุ้นและจูงใจให้เกิดการลงทุนพัฒนาพื้นที่นิคมใหม่ โดยจะสนับสนุนการก่อสร้างศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (OSS) พื้นที่ประมาณ 500 ตารางเมตร วงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท ยกเว้นค่ากำกับบริการ 2 ปี โดยให้ชำระค่ากำกับบริการในปีที่ 5 และ กนอ.จะสนับสนุนการประชาสัมพันธ์โครงการ แต่ยังไม่สามารถจูงใจให้ผู้ประกอบการมายื่นข้อเสนอได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

นิคมอีสานเชื่อมตะวันออก-ตก

สำหรับผู้ที่สนใจยื่นข้อเสนอการจัดตั้งนิคมทั้ง 3 ประเภท แบ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรม SMEs รวม 18 โครงการ รวมพื้นที่ทั้งหมด 4,716 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี ยโสธร หนองคาย นครพนม พิจิตร ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา และกาญจนบุรี ได้แก่ สมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ที่ยื่นเสนอถึง 4 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี ยโสธร และชลบุรี รวมพื้นที่ทั้งหมด 1,000 ไร่

บริษัท สวนอุตสาหกรรมพลังงาน จำกัด ยื่นข้อเสนอในพื้นที่นิคมเกษตรพลังงาน จังหวัดนครพนม แต่ยังไม่ระบุจำนวนพื้นที่

บริษัท อีสเทิร์น ซีบอร์ด อินดัสเตรียลเอสเตท (ระยอง) จำกัด ยื่นข้อเสนอในนิคมอีสเทิร์นซีบอร์ด คาดว่าจะใช้พื้นที่ 42 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นโรงงานสำเร็จรูปและคลังสินค้าให้เช่าพื้นที่กว่า 38,700 ตารางเมตร และบริษัท เอเชีย โมเดิร์นกรีน อินดัสเทรียล เอสเตท ยื่นเสนอถึง 7 พื้นที่ ในจังหวัดระยอง ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี พิจิตร พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา รวม 1,925 ไร่

โครงการจัดตั้งนิคมบริการด้านโลจิสติกส์ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จะเน้นคัดเลือกพื้นที่เหมาะสม ออกแบบ การวางผังเบื้องต้น ประมาณค่าพัฒนาโครงการ และการพิจารณาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานิคม และการพัฒนารองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมและชุมชนในอนาคต

มีผู้ประกอบการยื่นเสนอรวม 4 โครงการ พื้นที่รวม 2,493 ไร่ เช่น บริษัท เจอาร์พี พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บนพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ และบริษัท นานัป จำกัด พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่

โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เน้นเพื่อเชื่อมโยงกับระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก EWEC ซึ่งจะนำร่องในจังหวัดที่มีศักยภาพ มีผู้สนใจยื่นเสนอพื้นที่ตั้งนิคมรวม 6 โครงการ ในพื้นที่ 9,772 ไร่ ในจังหวัดอุดรธานี หนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา เช่น บริษัท เอเชีย เอ็กซ์เพรส จำกัด ยื่นข้อเสนอจัดตั้งในจังหวัดขอนแก่น พื้นที่ถึง 4,000 ไร่ และบริษัท นาคา คลีนเพาเวอร์ จำกัด ในจังหวัดหนองคาย พื้นที่ประมาณ 2,300 ไร่

13 นิคมเตรียมเกิดใหม่

ขณะนี้ กนอ.อยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสารและลงพื้นที่จริง เพื่อดูความเหมาะสมของพื้นที่ประกอบการพิจารณา พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

โดย นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรม กล่าวถึงความคืบหน้าหลังจากที่ปิดรับการยื่นข้อเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาได้ศึกษารายละเอียดตามที่เอกชนได้เสนอขอตั้งพื้นที่นิคมใหม่แล้วพบว่า มีเพียง 13 รายเท่านั้นที่ผ่านการพิจารณา ส่วนที่ไม่ผ่าน เนื่องจากติดปัญหา

1)ความพร้อมด้านที่ดิน เอกสิทธิ์ในที่ดิน 2)ผังเมืองใหม่ของกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ประกาศเป็นพื้นที่สีเขียว ทำให้ไม่สามารถก่อสร้างโรงงานได้ และ 3)ความสามารถด้านการเงิน

ขั้นตอนที่เหลือจากนี้ ผู้ผ่านการพิจารณาทั้ง 13 ราย จะต้องจัดทำแผนธุรกิจที่ครอบคลุมถึงการจัดหาแหล่งเงินทุนเข้ามาเสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณา หลังจากนั้นจะใช้เวลาพิจารณา 1-2 เดือน ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารการนิคมฯ หรือบอร์ดเพื่ออนุมัติต่อไป


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1376540152&grpid=10&catid=19&subcatid=1901


* image.jpg (136.81 KB, 627x748 - ดู 1886 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
benzto
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,443


มิตรภาพซื้อไม่ได้ด้วยเงิน


« ตอบ #83 เมื่อ: วันที่ 15 สิงหาคม 2013, 13:10:25 »

ตั้งนิคม ถามชาวบ้านต้องการไหมครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ผมว่าไปตั้งฟั่งลาวดีกว่าครับ 
IP : บันทึกการเข้า

ขออภัยในบางลีลา
chamrus
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 556


« ตอบ #84 เมื่อ: วันที่ 17 สิงหาคม 2013, 19:30:22 »

ยังอยากจะได้นิคมอุสาหกรรมอยู่อีกหรือครับ ระหว่างชีวิตที่เสี่ยงกับโรงงานเหล่านี้ครับ

http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=692522&lang=T&cat=&key=
IP : บันทึกการเข้า
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #85 เมื่อ: วันที่ 17 สิงหาคม 2013, 19:50:10 »

สำหรับคนใช้แรงงาน กรรมกร ผู้ที่หารายได้ ได้น้อยต่อเดือน คงต้องการแน่ครับ ผมคนหนึ่งที่ต้องการเห็นการพัฒนาครับ   จบไม่สูง สถาบันไม่ดัง เดี๋ยวนี้หางานทำก็ยาก และพวกเขาเหล่านี้คงไม่มีทุนที่จะไปทำธุรกิจส่วนตัวหรือได้ทำงานบริษัทเหมือนกับหลายๆท่าน  ถ้าได้โรงงานอุสาหกรรมเข้ามา ก็คงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่ง  ของผู้ใช้แรงงาน แต่ว่า โรงงานหากจะตั้งก็ต้องให้อยู่ในพื้นที่ๆจัดไว้ ห่างไกลหมู่บ้าน มีการเตรียมการจัดการปัญหาต่างๆที่จะตามมา  แบบนี้ สนับสนุนครับ
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
trirat
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,638


« ตอบ #86 เมื่อ: วันที่ 18 สิงหาคม 2013, 09:03:29 »

รอติดตามต่อไปครับ
IP : บันทึกการเข้า
benzto
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,443


มิตรภาพซื้อไม่ได้ด้วยเงิน


« ตอบ #87 เมื่อ: วันที่ 18 สิงหาคม 2013, 09:17:57 »

สำหรับคนใช้แรงงาน กรรมกร ผู้ที่หารายได้ ได้น้อยต่อเดือน คงต้องการแน่ครับ ผมคนหนึ่งที่ต้องการเห็นการพัฒนาครับ   จบไม่สูง สถาบันไม่ดัง เดี๋ยวนี้หางานทำก็ยาก และพวกเขาเหล่านี้คงไม่มีทุนที่จะไปทำธุรกิจส่วนตัวหรือได้ทำงานบริษัทเหมือนกับหลายๆท่าน  ถ้าได้โรงงานอุสาหกรรมเข้ามา ก็คงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่ง  ของผู้ใช้แรงงาน แต่ว่า โรงงานหากจะตั้งก็ต้องให้อยู่ในพื้นที่ๆจัดไว้ ห่างไกลหมู่บ้าน มีการเตรียมการจัดการปัญหาต่างๆที่จะตามมา  แบบนี้ สนับสนุนครับ

ผมถึงบอกไงว่า ไปตั้งฝั่งลาวปู้น
IP : บันทึกการเข้า

ขออภัยในบางลีลา
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #88 เมื่อ: วันที่ 12 ตุลาคม 2013, 08:10:15 »

ภาพรวมตลาดนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย ณ ครึ่งปีแรก พ.ศ.2556 - ThaiPR.net 11 ต.ค. 2556

กรุงเทพฯ--11 ต.ค.--คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล

          หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมในปีพ.ศ.2554 ตลาดนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออก อ้างอิงจากรายงานฉบับล่าสุดของฝ่ายวิจัย จากคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

          นิคมอุตสาหกรรมประมาณ 5,800ไร่ ที่เพิ่มเข้าสู่ตลาดในช่วงครึ่งแรกปีพ.ศ.2556 โดยนายสุรเชษฐ กองชีพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวถึงอุปทานในตลาดว่า “นอกจากนี้ มีอีกมากกว่า 10,000 ไร่ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา และมีกำหนดเปิดให้บริการในช่วงครึ่งหลังปีพ.ศ.2556 พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ที่เปิดขาย / เช่าในปีที่ผ่านมา และในช่วงครึ่งแรกปีพ.ศ.2556 ตั้งอยู่ในภาคตะวันออก โดยเนื้อที่ในนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 156,900 ไร่ จากทั้งหมดประมาณ 70 แห่งในประเทศไทย”

          นิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก และภาคกลางครอบครองสัดส่วนประมาณ 95% ของอุปทานทั้งหมด “โดยที่พื้นที่มากกว่า 108,900 ไร่ หรือประมาณ 69% อยู่ในภาคตะวันออก และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมในภาคกลางในช่วงไตรมาสที่ 4 พ.ศ.2554 โดยมีนิคมอุตสาหกรรมประมาณ 8,000 ไร่เพิ่มขึ้นในตลาดในปีพ.ศ.2555 และในครึ่งแรกปีพ.ศ.2556 นอกจากนี้ การนิคมอุตสาหกรรมยังมีแผนที่จะพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในภาคใต้ และจังหวัดชายแดนอื่นๆ” สุรเชษฐ กล่าว
          มีนิคมอุตสาหกรรมประมาณ 98,000 ไร่ที่ได้รับการอนุมัติจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งเป็นโครงการที่อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ทั้งของรัฐฐาล และเอกชน โดยอยู่ในภาคใต้มากที่สุดคือมากกว่า 38,800 ไร่ ตามมาด้วยภาคตะวันออกที่ประมาณ 21,300 ไร่ เนื่องจากว่ามีนิคมอุตสาหกรรมบริการบางแห่งในภาคใต้ที่มีขนาดใหญ่กว่า 20,000 ไร่
          การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) มีแผนที่จะพัฒนานิคมอุตสาหกรรมใหม่ๆ ในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย ซึ่งในเรื่องนี้ นายสุรเชษฐ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “มีนิคมอุตสาหกรรมบางแห่งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา และอาจมีการตัดสินใจเรื่องของตำแหน่ง และขนาดของนิคมอุตสาหกรรมภายในปีนี้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยให้ความสนใจในจังหวัดชายแดนของประเทศไทย เช่น จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อรองรับโครงการนิคมอุตสาหกรรม และท่าเรือน้ำลึกทวาย อำเภอเชียงของในจังหวัดเชียงรายเพื่อรองรับการส่งออก – นำเข้าสินค้ากับประเทศจีนผ่านเส้นทาง R3A และสะพานมิตรภาพไทย – ลาว”
          “นอกจากนี้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยยังให้ความสนใจต่อพื้นที่ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก โดยเริ่มจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จังหวัดขอนแก่น และมุกดาหาร รวมทั้งจังหวัดอื่นๆ อีก 5 จังหวัดตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยยังต้องการความร่วมมือจากเอกชนในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อมในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง” สุรเชษฐ กล่าวเพิ่มเติม
          อัตราการครอบครองพื้นที่เฉลี่ยในภาคกลางสูงที่สุด ตามด้วยภาคตะวันออก แม้ว่านิคมอุตสาหกรรมใหม่ส่วนใหญ่ และพื้นที่ที่ขยายใหม่จะอยู่ในภาคตะวันออก แต่นักลงทุนจำนวนมากยังให้ความสนใจในพื้นที่นี้ ดังนั้นอัตราการครอบครองพื้นที่เฉลี่ยในครึ่งแรกปีพ.ศ.2556 สูงกว่าปีที่ผ่านมา
          “นักลงทุนทั้งชาวไทย และต่างชาติจำนวนมากยังคงเชื่อมั่นในประเทศไทย ดังนั้นอัตราการครอบครองพื้นที่ในทุกภาคจึงเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา แม้แต่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม” สุรเชษฐ กล่าวเพิ่มเติม
          มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ในปีที่ผ่านมาสูงที่สุดในรอบ 10 ปีด้วยมูลค่ามากกว่า 9.8 แสนล้านบาท แม้ว่าในช่วงครึ่งแรกปีพ.ศ.2555 จะมีมูลค่าเพียงแค่ประมาณ3.38 แสนล้านบาทเท่านั้น แต่ว่ามาเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงครึ่งหลังปีพ.ศ.2555 สำหรับในครึ่งแรกพ.ศ.2556 มีมูลค่าการลงทุนสูงกว่าครึ่งแรกปีที่แล้วประมาณ 33% ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ.2556 มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติจะมีมูลค่าใกล้เคียง หรือมากกว่าปีที่ผ่านมา
          การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปีพ.ศ.2558 มีส่วนช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยนายสุรเชษฐ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปีพ.ศ.2558 เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการกระตุ้นมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในประเทศไทย เนื่องจากมีนักลงทุนชาวต่างชาติจำนวนมากมองหาฐานการผลิตที่มีระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก และระบบการขนส่งสินค้าที่สามารถรองรับการลงทุนได้ และอีกปัจจัยหนึ่งก็คือนักลงทุนต้องการสิทธิประโยชน์จากการเข้าสู่ประชมเศรษฐกิจอาเซียนในการส่งสินค้าไปขายในประเทศอื่นๆ ในอาเซียน”
          “นักลงทุนชาวญี่ปุ่นยังคงเป็นกลุ่มนักลงทุนที่มีมูลค่าการลงทุนในประเทศไทยมากที่สุด ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2556 เป็นต้นมา นักลงทุนชาวญี่ปุ่นได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 383 โครงการ มูลค่าการลงทุนประมาณ 21.7 หมื่นล้านบาท ประมาณ 28% ของมูลค่าการลงทุนของชาวต่างชาติในช่วง 6 เดือนแรกของปีพ.ศ.2556” เขากล่าวเพิ่มเติม
          แม้ว่านโยบายในการส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะยังไม่สรุป และทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนยังเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากนักลงทุน “คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุนใหม่ในปีพ.ศ.2558 เพื่อเตรียมพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเพื่อเพิ่มศักยภาพของประเทศไทย เพราะทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียนต่างก็มีนโยบาย และยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติ แต่ว่านักลงทุนบางส่วนยังมีความกังวลในเรื่องของคลัสเตอร์อุตสาหกรรมใหม่ในภูมิภาค เนื่องจากบางทำเลของประเทศไทยยังขาดโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวก ดังนั้นรัฐบาลต้องพัฒนาและยกระดับทั้งโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการลงทุนใหม่” สุรเชษฐ กล่าว
          “คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในข้อเสนอการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะพัฒนานี้จะมีทั้งเขตอุตสาหกรรม เขตที่อยู่อาศัย และศูนย์การขนส่งสินค้า รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานใหม่ นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดชายแดนอื่นๆ ดังนี้ 1. อำเภอเชียงแสน และเชียงของ จังหวัดเชียงราย 2. กาญจนบุรี 3. สงขลา และยะลา 4. หนองคาย นครพนม และมุกดาหาร แต่จะเริ่มที่แม่สอดเป็นอันดับแรก ซึ่งยิ่งพัฒนาได้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นผลดีต่อประเทศไทยมากเท่านั้น” นายสุรเชษฐ กล่าวสรุป
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
SpiriT_
สิ่งสำคัญ !!!
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,264


(: ไม่มีอะไรมากมาย ก๊แค่เดิม ๆ ! ! !


« ตอบ #89 เมื่อ: วันที่ 12 ตุลาคม 2013, 10:49:02 »

ติดตามกันต่อไป
IP : บันทึกการเข้า

,,,ถ้าบินได้บินไปแล้ว !! (:
banana boat
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 571


« ตอบ #90 เมื่อ: วันที่ 13 ตุลาคม 2013, 09:11:11 »

อย่าเอามาเลยครับ ไม่ใช่ของดีหรอก
คนที่ทำงานในนิคมลำพูน ทำปีสองปี สุขภาพก็ไม่ไหวแล้ว
และส่งผลตลอดชีวิตครับ
ใช่แล้วครับมีสารพิษ มลพิษ ไหนจะขยะพิษที่จะตามมา
งานอื่นมีเยอะแยะ
IP : บันทึกการเข้า
STORYKCTC
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 123


ความดี ไม่มีวันตาย


« ตอบ #91 เมื่อ: วันที่ 13 ตุลาคม 2013, 14:26:08 »

อยากให้มีจริงๆ คนเชียงรายจะได้ทำงานไกล้ๆบ้าน จะได้ไม่ต้องทำงานต่างจังหวัด
IP : บันทึกการเข้า

RaK-InDy
สมาชิกลงทะเบียน
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 482



« ตอบ #92 เมื่อ: วันที่ 13 ตุลาคม 2013, 14:38:34 »

มันมีทั้งส่วนที่ดี และ ส่วนที่เสีย สำหรับนิคมอุสาหกรรม
IP : บันทึกการเข้า
yod2012
JuliustibJD
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 629



« ตอบ #93 เมื่อ: วันที่ 13 ตุลาคม 2013, 17:42:59 »

มีครับที่เชียงของครับ ที่นั่นจะมีทั้งโรงงานและคลังสินค้าภูมิภาคครับ
IP : บันทึกการเข้า

boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #94 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2014, 11:17:23 »

บริษัทเมืองเงินฯเท 1,100 ลบ.พัฒนานิคมเชียงของ รวม 479 ไร่ รองรับธุรกิจด้านโลจิสติกส์, การกระจายสินค้า ทำเลดีเชื่อมโยงได้ทั้ง สปป.ลาวและจีน นักลงทุนทั้งไทย, ญี่ปุ่น, จีน, สิงคโปร์ รุมจีบแล้ว ด้าน กนอ.ระบุให้เวลานิคมใหม่เตรียมเอกสารก่อนลงนาม ด้านนิคมอุตสาหกรรมอีก 7 แห่งที่ตกรอบ ยังสามารถพัฒนาต่อได้ภายใต้สิทธิประโยชน์เดิม

นายไพรัช เล้าประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองเงิน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เตรียมที่จะพัฒนาโครงการนิคมอุตสาหกรรมเชียงของ บนเนื้อที่ 497 ไร่ ตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ใช้เงินลงทุน 1,100 ล้านบาท รูปแบบจะเน้นการลงทุนด้านโลจิสติกส์



เนื่องจากนิคมเชียงของอยู่ใกล้พื้นที่เส้นทางการขนส่งสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สปป.ลาว และจีนที่ค่อนข้างสะดวก โดยสามารถใช้ถนนสาย R3A เชื่อมโยงจากประเทศไทยที่อำเภอเชียงของไปยังสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ที่ได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา เข้าสู่บ้านห้วยแก้ว แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว และยังสามารถเชื่อมต่อเส้นทางบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา เพื่อเข้าสู่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ทางจีนตอนใต้ ซึ่งอยู่ห่างสะพานมิตรภาพฯเพียง 10 กิโลเมตร

สำหรับในพื้นที่นิคมเชียงของ ได้ถูกออกแบบและแบ่งพื้นที่ออกไป 1) โลจิสติกส์ปาร์ก โซน 2) อาคารคลังสินค้า 3) ศูนย์กระจายสินค้า 4) โรงงานอุตสาหกรรม และ 5) สำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นอกจากนี้จะเป็นพื้นที่สำหรับพาณิชยกรรม ระบบสาธารณูปโภค ซึ่งขณะนี้มีนักลงทุนทั้งไทย, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์ และจีน แสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่แล้ว

"คอนเซ็ปต์ของนิคมเชียงของยังเน้นเพื่อรองรับการเปิดเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่จะเกิดขึ้นในปี 58 ที่ตลาดทั้งอาเซียนจะรวมเป็นตลาดเดียวกัน ที่สำคัญจีนได้มองที่จะใช้ไทยเป็นฐานในการกระจายและขนส่งสินค้าอาเซียนทางรถยนต์ด้วย"

นายไพรัชกล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้พื้นที่นิคมเชียงของยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่คาดว่าจะยื่นเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ภายในปีนี้ หลังจากนั้นจะเริ่มการพัฒนาที่ดินและก่อสร้างได้ในช่วงต้นปี 2558 และโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2560 ในส่วนของเงินลงทุนรวม 1,100 ล้านบาทนั้น แบ่งเป็นเงินลงทุนของบริษัทเมืองเงินฯ ร้อยละ 30 ส่วนอีกร้อยละ70 จะต้องดำเนินการขอกู้จากสถาบันการเงินต่อไป

ทั้งนี้ ในการพัฒนานิคมเชียงของดังกล่าว จะมีพันธมิตรทางธุรกิจที่มาจากวงการอสังหาริมทรัพย์ ที่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง กลุ่มธุรกิจด้านโลจิสติกส์ และได้วางแผนที่จะนำเข้ารถบรรทุกหัวลากจากประเทศจีนด้วย

รวมถึงจะมีกลุ่มธุรกิจด้านพลังงานจากสปป.ลาว และกลุ่มธุรกิจด้านการบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภคจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาร่วมลงทุนพัฒนาด้วย

ด้านนายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ผู้ได้รับอนุมัติให้พัฒนานิคมใหม่นั้นยังอยู่ในขั้นเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะลงนามกับ กนอ.อย่างเป็นทางการเร็ว ๆ นี้ และอยู่ภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับการอนุมัตินั้น หากมีความประสงค์จะก่อสร้างและพัฒนานิคมในการสนับสนุนของ กนอ.สามารถทำได้ แต่จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ต่างจาก 6 นิคมอุตสาหกรรมที่ผ่านบอร์ด กนอ. ซึ่งจากการเปิดให้ยื่นตั้งนิคมครั้งนี้ บอร์ดพิจารณาจากหลักเกณฑ์ ด้านเทคนิค การเงิน การตลาด และด้านการส่งเสริมการลงทุน ขณะเดียวกันบอร์ด กนอ.ยังจะเข้าไปช่วยเหลือ สนับสนุน และส่งเสริมการประกอบกิจการนิคมอุตสาหกรรมใหม่เป็นพิเศษ ตามข้อเสนอที่ กนอ.ได้ให้ไว้ด้วย

สำหรับนิคมอุตสาหกรรมใหม่ 6 แห่งที่ได้รับการอนุมัติให้พัฒนาโดยคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บอร์ด กนอ.) ตามที่ได้ประกาศเชิญชวนให้ภาคเอกชนยื่นเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่มีศักยภาพตามยุทธศาสตร์ของประเทศในเชิง Area Base และ Cluster Base


* 13911681291391168153l.jpg (270.36 KB, 640x516 - ดู 3650 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
somchai.com
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 71


« ตอบ #95 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014, 19:21:25 »

เกี่ยวกับรัฐบาลชุดนี้เปล่า
 น่ดุคาดว่าจะสดุด
IP : บันทึกการเข้า
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #96 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2014, 11:45:18 »

ไฟเขียวกนอ.จับมือเอกชนจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่2แห่ง"หนองคาย-เชียงราย"
วันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เวลา 14:12:51 น.

 
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกนอ.(บอร์ด) ได้เห็นชอบให้ กนอ. ร่วมดำเนินงานกับเอกชนจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่ 2 แห่ง เป็นไปตามแผนการขยายพื้นที่อุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยทั้ง 2 โครงการจะมีพื้นที่รวม 3,422 ไร่ เอกชนจะเป็นผู้ลงทุน พัฒนา และให้บริการระบบสาธารณูปโภค

ขณะที่ กนอ.จะการสนับสนุนการก่อสร้างศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (โอเอสโอเอส) พื้นที่ประมาณ 500 ตารางเมตร ในวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท ยกเว้นค่ากำกับบริการ 2 ปี โดยให้ชำระบริการในปีที่ 5 เป็นต้นไป พร้อมทั้งสนับสนุนในเรื่องการประชาสัมพันธ์โครงการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ทั้งนี้คาดว่า 2 นิคมฯ ใหม่จะดึงดูดให้เกิดการลงทุนของอุตสาหกรรมต่างๆ รวม 1.1 แสนล้านบาท  จ้างงานไม่น้อยกว่า 2.5 หมื่นคน แยกเป็นนิคมอุตสาหกรรมหนองคาย จ.หนองคาย พื้นที่ประมาณ 2,960 ไร่ ตั้งใน ต.โพนสว่าง อ.เมือง จ.หนองคาย ดำเนินงานโดย บริษัท นาคา คลีนเพาเวอร์ จำกัด ที่ตั้งโครงการอยู่ใกล้ศูนย์กลางคมนาคม ห่างจากท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ประมาณ 34 กม.  สถานีรถไฟนาทา ประมาณ 13 กม. และมีระบบถนนที่สามารถเชื่อมโยงไปยังภูมิภาคอื่นได้สะดวก  ซึ่งคาดว่าโครงการนี้จะมีการเข้ามาลงทุน  9.7 หมื่นล้านบาท จ้างงาน 2.2 หมื่นคน

โดยอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ แปรรูปผลิตผลทางการเกษตร อาหารและเครื่องดื่ม ประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โดยโครงการนี้เป็นหนึ่งในนิคมฯ ภาคอีสานที่วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนภาคอุตสาหกรรมในจ.หนองคายเพิ่มขึ้น ตลอดจนรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ

ส่วนนิคมฯ เชียงของ จ.เชียงราย จะมีพื้นที่ประมาณ 460 ไร่  ตั้งอยู่ใน ต.สถาน อ.เชียงของ จ.เชียงราย ดำเนินงานโดย บริษัท เมืองเงิน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งพื้นที่นี้คาดว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจต่อพื้นที่ตามแนวชายแดนจ.เชียงราย โดยตั้งอยู่ใกล้ศูนย์กลางคมนาคมหลักของประเทศที่เชื่อมโยงไปยังภูมิภาคอื่นได้อย่างสะดวก อยู่ห่างจากท่าอากาศยานนานาชาติเชียงราย 60 กม. เข้าถึงโครงข่ายคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศเพื่อนบ้านอย่างท่าอากาศยานบ่อแก้ว สปป. ลาว  8 กม. และสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เชียงของ – ห้วยทราย  13 กม.

คาดว่านิคมฯ เชียงของจะก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนไม่น้อยกว่า 1.35 หมื่นล้านบาท การจ้างงานไม่น้อยกว่า 3 หมื่นคน  โดยจะเป็นนิคมอุตสาหกรรมบริการโลจิสติกส์แห่งแรกของประเทศไทยที่มีการกำหนดอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า ครบวงจร

นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า นิคมฯ 2 แห่งคาดว่าจะใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 2 ปี และเริ่มเปิดขายพื้นที่หรือดำเนินการได้ประมาณปี 2559 ซึ่งในส่วนของนิคมฯ หนองคายนั้นมีนักลงทุนแสดงความสนใจเข้ามาแล้วโดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ลงทุนในไทยอยู่แล้ว โดยเฉพาะนักลงทุนจีนกับญี่ปุ่น  ในขณะที่นิคมฯเชียงของกลุ่มที่เข้ามาตั้งคลังสินค้าหรือกิจการด้านโลจิสติกส์ต่างๆ อาจมีความหลากหลายเพราะที่ตั้งของนิคมฯ อยู่ในจุดที่เชื่อมโยงไปประเทศเพื่อนบ้านได้ทั้งไปลาวและต่อเนื่องขึ้นไปมณฑลยุนนานทางตอนใต้ของจีน

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1412234020
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
UFO
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 901


ลูกพ่อขุน


« ตอบ #97 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2014, 16:59:51 »

บอกตรงๆ แบบไม่แคร์ใครคือ "ไม่อยากให้มี"
เพราะถ้าหากควบคุมไม่ดีหรือเจ้าของกิจการไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีพอ
ก็จะสร้างปัญหาตามมาเป็นหางว่าวเลยหล่ะคับ

เห็นด้วย 100% คุณเคยได้ยินโรค "มินามาตะ" มั้ย มันเคยเกิดขึ้นแล้วที่นิคมลำพูน คุณอยากมันเกิดในบ้านนี้เมืองนี้อีกหรือ ฮืม ฮืม ฮืม
+1000000000
ไม่ได้ถ่วงความเจริญนะครับแต่ไม่อยากให้มีครับเพราะถ้ามีมันก็เอื้อต่อนายทุนเท่านั้นแหละครับ
IP : บันทึกการเข้า

ทำงานหนักเพือตนเองและครอบครัว
tiger-red
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,007



« ตอบ #98 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2014, 21:24:20 »

จะเจริญใหญ่แล้วเชียงราย รถไฟก็ได้ นิคมก็ได้ แถมเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษอีกต่อไปคงวุ่นวายแน่เลย รถเยอะ คนเยอะ แต่เรื่องนิคม ที่อ่านมาเป็นแค่คลังพักสินค้าไม่ได้ทำโรงงานอุตสาหกรรมคงไม่เลวร้ายขนาดนั้นมั้ง
IP : บันทึกการเข้า
pongramon
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 739


ก็แค่ดินโคลน


« ตอบ #99 เมื่อ: วันที่ 03 ตุลาคม 2014, 22:27:43 »

ถ้าเป็น แค่ hub แล้วจบก็ดี เชียงรายหมอกควันยังแก้ไม่ได้ถ้ามีโรงงานขนมาสร้างอีกก็นึกภาพเอาแล้วกัน คงต้องหนีไปอยู่ลาวแล้วมั้ง ความเจริญมีจริงหรือ เจริญวัตถุเดียวก็เสื่อม เช่นตอนนี้คุณมีรถใหม่ อีก 10 กลายเป็นรถเก่า ถ้าคุณอยากเปลี่ยนรถถอีกคราวนี้คุณเอาอะไรแลกหละถ้าไม่รู้จักพอ

แล้วไอ้โรงงานที่มีเทคโนโลยีสะอาดนั้นยังไม่เห็นเลยในไทย เพราะเรามันยังเป็นประเทศด้อยพัฒนาอยู่ เทคโนโลยี่ที่ใช้ก็ยังต่ำอยู่ส่วนมากก็ทำเป็น sub ซื้อเครื่องจักรด้อยประสิทธิภาพมาใช้ พี่ไทยไม่มีเทคโนโลยี ตอนนี้เราทำได้แค่วิทยุ แล้วผมกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเกิดแน่นอน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 03 ตุลาคม 2014, 22:42:18 โดย pongramon » IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!