เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 เมษายน 2024, 08:24:51
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  ที่มาของ ชื่ออำเภอ ต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงราย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 [3] 4 พิมพ์
ผู้เขียน ที่มาของ ชื่ออำเภอ ต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงราย  (อ่าน 16975 ครั้ง)
khamnoy
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 352


« ตอบ #40 เมื่อ: วันที่ 13 มกราคม 2012, 13:24:43 »

แม่ใจ ประวัติความเป็นมา
 
พัฒนาทางประวัติศาสตร์บ้านแม่ใจ  และ  ชุมชนโบราณบ้านแม่ใจ

“แม่ใจ” เดิมชื่อ “บ้านปง” ของผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ให้ข้อคิดเห็นแนวเดียวกันว่า ที่ชื่อว่า “บ้านปง” นั้นเพราะแต่เดิม ชาวแม่ใจกลุ่มแรกที่มาตั้งถิ่นฐานอพยพมาจากบ้าน ปงแสนทอง จังหวัดลำปาง

ประมาณพุทธศักราช 2346 โดยการนำของพ่อแสนปัญญา พ่อแก้วตุ่น พ่อเฒ่างอ พ่อน้อยโปทา และพ่อหนานทา ราทะ ได้พาครอบครัวจากเขลางค์นคร (ลำปาง) มาแสวงหาแหล่งทำกินที่อุดมสมบูรณ์เพื่อสร้างบ้านแปงเมืองใหม่ มาพบลำน้ำแม่ใจไหลตลอดปี จึงยึดริมฝั่งน้ำเป็นที่ทำมาหากิน ประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม ต่อมามีผู้คนทราบว่าในท้องถิ่นนี้ อุดมสมบูรณ์มาก จึงพากันอพยพติดตามมาอีกหลายครอบครัว เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ

ที่ชื่อว่า “บ้านแม่ใจ” นั้นเล่ากันว่า เคยมีเจ้านายฝ่ายเหนือ ได้เดินทางมาตามลำน้ำสายหนึ่ง เพื่อมาใจ (มาเยือน) อาณาประชาราษฎร์ แม่น้ำสายนี้จึงได้ชื่อว่า “น้ำแม่ใจ” และได้หยุดพักบริเวณทุ่งกว้างแห่งหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้ เรียกว่า “ทุ่งหลวง” เพราะเคยมีเจ้านายและข้าหลวงมาพักบริเวณทุ่งหลวงแห่งนี้ ชาวแม่ใจจึงพร้อมใจกันตั้งชื่อว่า “บ้านแม่ใจ” ตามชื่อแม่น้ำ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา น้ำแม่ใจเปรียบเสมือนสายเลือดหล่อเลี้ยงชีวิตของชาวแม่ใจ (สัมภาษณ์ พระครูมานัสนทีพิทักษ์ 2538)

น้ำแม่ใจเป็นสายน้ำเล็ก ๆ สายหนึ่งที่เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำอิง แม่น้ำสำคัญของจังหวัดพะเยา ซึ่งแหล่งกำเนิดมาจากเทือกเขาผีปันน้ำทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอแม่ใจ น้ำแม่ใจ เกิดจากลำห้วย (ลำธาร) หลายสายมารวามกัน คือ ห้วยป่ากล้วย ห้วยหาน ห้วยสัก ห้วยเฮี้ย ห้วยเคียน ห้วยไม้ไฮคำ หว้ยหก ห้วยต้นมื่น ห้วยเสียบข้าง ห้วยชมพู ไหลผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ ลงสู่หนองเล็งทรายทางทิศตะวันออกของอำเภอแม่ใจ และไหลสงสู่กว๊านพะเยา

ในอดีต แม่ใจ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ สายน้ำไหลตลอดปี มีสัตว์ป่านาชนิด บางแห่งลึกมาก ชาวบ้านเรียกว่า “ท่าช้าง” อยู่ห่างจากบ้านศรีถ้อยประมาณ 200 เมตร มีเรื่องเล่ากันว่าที่ท่าช้างแห่งนี้จะมีช้างป่ามาดื่มมาอาบอยู่เสมอ เพราะมีฝั่งสูง น้ำลึก และป่าได้หนาทึบ มีต้นไม้นานาพันธุ์ จะเห็นว่าหมู่บ้านต่าง ๆ ในอำเภอแม่ใจส่วนใหญ่มีชื่อตามต้นไม้ทั้งสิ้น เช่น บ้านต้นแก บ้านป่าสัก บ้านต้นตะเคียน บ้านสันต้นม่วง บ้านป่าตึง เป็นต้น

อำเภอแม่ใจ จัดตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ ร.ศ. 124(พ.ศ. 2448) โดยมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 3 อำเภอ และ 10 เมือง ซึ่งได้จัดการปกครองรวมกันเข้าเป็นจังหวัดพายัพ ภาคเหนือ ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2453 กำหนดให้อำเภอแม่ใจค้นกับเมืองเชียงราย และอยู่ในเขตมณฑลพายัพ

ในปี พ.ศ. 2457 (ร.ศ. 13 ) อำเภอแม่ใจ ถูกยุบให้เหลือเป็นตำบลหนึ่ง ของอำเภอพาน ต่อมาในปี พ.ศ.2501 กรมการปกครองได้พิจารณาเห็นว่าท้องที่ตำบลป่าแฝก ตำบลแม่ใจ ตำบลศรีถ้อย และตำบลแม่ปืม จังหวัดพะเยา บางส่วน สมควรยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ดังนั้น เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2506 กระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศพระราชกฤษฎีกาให้รวมเขตปกครองตำบลแม่ใจ ตำบลป่าแฝก ตำบลแม่สุก ตำบลศรีถ้อย และยกฐานะจัดตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า “กิ่งอำเภอแม่ใจ” อยู่ในการปกครองของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ครั้นต่อมากรมการปกครองพิจารณาเห็นสมควรให้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภออีกครั้งหนึ่ง กระทรวงมหาดไทย จึงได้ออกพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอแม่ใจ ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2508 โดยให้ขึ้นอยู่ในความปกครองของจังหวัดเชียงรายเมื่อมี พ.ร.บ. จัดตั้งจังหวัดพะเยา ในปี พ.ศ. 2520 อำเภอแม่ใจจึงเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพะเยา มาจนทุกวันนี้


--------------------------------------------------------------------------------
 
IP : บันทึกการเข้า
ผีอี่ฅ้อญ
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 315


ฮักบ้านเฮา


« ตอบ #41 เมื่อ: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2012, 16:23:47 »

อันว่าอำเภอขุนตาลนี่หนา เป๋นอะหยังตี้ ผมก้ายขาหนาดหนะบ๋อมีตี้มาตี้ไป บ๋มีอะหยังเป็นของตั๋วเก่า ถ้ามีโอกาสก๋อไขเปี่ยนจื้อนี่ขนาด ก้ายใบ้ก้ายง่าว  คนตี้เกิดเมืองเทิงแต่ถูกแบ่งเป็นคน ขุนตาล
IP : บันทึกการเข้า

-
ผีอี่ฅ้อญ
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 315


ฮักบ้านเฮา


« ตอบ #42 เมื่อ: วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 14:49:54 »

ใคร่หื้อ พี่พี่ น้องน้อง ช่วยกัน สาธยายที่มาที่ไปของชื่ออำเภอ ในจังหวัดเชียงราย
และพะเยา หื้อหมู่เฮาได้ฮู้กันพ่องลอ
เช่น "แม่จัน" มาจากน้ำที่ไหลผ่านชื่อน้ำ"แม่จัน" แต่กำว่า "จัน" กำเดียวนี้
มันแปล๋ว่าบะหยัง ลุกตางใดมา เป๋นกำเมืองก่อ กะว่า แผลง หรือ เพี้ยนมาจากกำบะหยัง

และอำเภอแม่ใจ "  กำว่า "ใจ" ตั๋วเดียว มันลุกตางใดมา หัวใจ หล้างบ่าใจ้ก้า
ไผฮู้ บอกจิ่มเน่อ
IP : บันทึกการเข้า

-
ผีอี่ฅ้อญ
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 315


ฮักบ้านเฮา


« ตอบ #43 เมื่อ: วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2012, 14:53:20 »

อันเรื่องอำเภอต่างๆ นี่หนาโดยเฉพาะ อ.ขุนตาล ก้ายง่าว บ๋ม่ตี้มาตี้ไป ถ้าเป๋นไปได้ ไขหื้อหมู่เฮา จัดกั๋นเป๋นกลุ่มเป๋นก้อน ลงทะเบียนเป็นชมรมกั๋นเลย บ๋แล้วเฮาก๋มาประชุมม่วนๆ กัน ไผหั๋นตวย แสดงความคิดเห็นตวย บ๋
IP : บันทึกการเข้า

-
nag
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 77


« ตอบ #44 เมื่อ: วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2012, 14:49:27 »

ผมคั้ยฮู้ ป่าแดด คับ มันเป็นมาจะได  ทำไมถึงฮ้องว่าป่าแดดคับ  มันฮ้อนกะคับ
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #45 เมื่อ: วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2012, 22:28:05 »

ผมคั้ยฮู้ ป่าแดด คับ มันเป็นมาจะได  ทำไมถึงฮ้องว่าป่าแดดคับ  มันฮ้อนกะคับ

ป่าแดด [ป่า-แดด]
น. กลางแดด

ที่มา
พจนานุกรมภาษาล้านนา, พิมพ์ครั้งที่ 2, เชียงใหม่: สถาบันภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2550, หน้า 286.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ป่าแดด
น1. กลางแดด

ที่มา
อุดม รุ่งเรืองศรี, พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง, เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547, หน้า 434.
IP : บันทึกการเข้า
soomsak
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 22


« ตอบ #46 เมื่อ: วันที่ 10 ตุลาคม 2012, 10:03:34 »

อำเภอขุนตาล  แยกมาจากอำเภอเทิงถ้าจำไม่ผิดก็ประมาณ  พ.ศ  2535  นี้เอง  สถานที่ตั้งอำเภอเมื่อก่อนเป็นป่าสุสานบ้านป่าตาลหน้าอำเภอปัจจุบันเลยล่ะครับ   ชื่อขุนตาลตั้งตามชื่อพระธาตุขุนตาล   ที่ตั้งอยู่หน้าโรงพักเก่าครับ  ใครผ่านไปมาก็อย่าลืมแวะสักการะพระธาตุขุนตาลด้วยถ้ามีเวลานะ  อยู่ติดถนน  สาย  1020  (เทิง-เชียงของ)เลยครับ 
IP : บันทึกการเข้า
@เชียงแสน
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


..ทุกลมหายใจคือการเปลี่ยนแปลง..


« ตอบ #47 เมื่อ: วันที่ 10 ตุลาคม 2012, 21:30:06 »

    1. เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ "อำเภอแม่สรวย" ไม่เคยคิดที่จะขอเปลี่ยนชื่อเดิมของตัวเอง ทั้งๆ ที่คำว่า "สรวย" คำนี้มิได้มีความหมายใดๆ ทั้งสิ้น เป็นเพียงการเขียนขึ้นฟังไม่ได้ศัพท์จับไม่ได้ความของราชการเท่านั้น "อำเภอแม่ซ่วย" ตั้งขึ้นใหม่หลังจากย้ายที่ว่าการ "อำเภอแม่พริก" จังหวัดเชียงราย ไปตั้งใหม่ข้างแม่น้ำซ่วย ที่ในตำนานครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้มาใช้น้ำนี้สรงพระพักตร์ (ซ่วยหน้า = ล้างหน้า) แต่เหตุใดไม่มีการเปลี่ยนคืนทั้งๆ ที่มีความหมายชัดเจน
     2. อำเภอพญาเม็งราย ควรเปลี่ยนเป็น อำเภอพญามังราย
     3. อำเภอเวียงชัย ควรเปลี่ยนเป็น อำเภอเวียงไชย (เพราะ "ชัย" ในการเขียนภาษาล้านนาไม่ใช้ตัวนี้)
     4. อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ควรเปลี่ยนเป็น อำเภอเวียงเชียงรุ่ง โดยมีหลักฐานศิลาจารึกชัดเจนว่าบริเวณนั้นคือ "เวียงเจียงฮุ่งน้อย" และเป็นเมืองของพระมารดาพญามังรายหลวง ซึ่งอพยพมาจากเชียงรุ่ง สิบสองปันนา "รุ่ง" หมายถึงรุ่งเรือง พุ่งขึ้นไป "รุ้ง" คิดเอาเอง และพ้องกับคำว่า "ฮุ้ง" ที่แปลว่า "นกเหยี่ยว" (ชอบกินไก่น้อย) เคยมีหนังสือคัดค้านให้ใช้ "เวียงเชียงรุ่ง" เมื่อแรกตั้งกิ่งอำเภอแล้ว แต่ทางราชการไม่ยอม จึงเป็นที่มาของความหมายที่ผิดเพี้ยนหั้น
     5. อำเภอแม่จัน อดีตสำเนียงคนในพื้นถิ่นออกเสียงว่า "แม่แจน" สั้นๆ ห้วนๆ ที่ว่าการอำเภอแม่จัน ก็ได้ย้ายมาแล้วจากแม่คี เรียกว่า "เชียงแสนแม่คี" และย้ายมาเป็น "เชียงแสนกาสา" และภายหลังเป็น "เชียงแสนแม่จัน" จนกระทั่ง กิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง ยกฐานะเป็นอำเภอ จึงเปลี่ยน "เชียงแสนแม่จัน" เหลือแค่ "แม่จัน" เหตุผลที่ทำการย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงแสนมาตั้งที่แม่คี และกาสา นอกจากเงี้ยวเข้าปล้นที่ว่าการอำเภอเดิมแล้ว ยังเป็นผลพวงมาจากสนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสให้ถอยอพยพจากจุดแบ่งแดนน้ำของ ฝ่ายละ 30 กม. (หลักหมุดปักอยู่ที่บ้านกิ่วพร้าว ไม่ทราบว่าปัจจุบันยังหาร่องรอยได้หรือไม่) จึงได้เกิดเป็นอำเภอแม่จันในปัจจุบัน


อำเภอที่เหลือคงจะพอทราบๆ กันแล้ว เอาเต้าอี้ก่อนเน้อ.

ผมชอบความเห็นนี้มาก เช่น "พญาเม็งราย" เป็น "พญามังราย" ทั้ง ๆ ที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชัดเจน แต่ บัดนี้ ก็ยังไม่มีการแก้ไขใด ...
IP : บันทึกการเข้า
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #48 เมื่อ: วันที่ 10 ตุลาคม 2012, 22:01:45 »

5. อำเภอแม่จัน อดีตสำเนียงคนในพื้นถิ่นออกเสียงว่า "แม่แจน" สั้นๆ ห้วนๆ ที่ว่าการอำเภอแม่จัน ก็ได้ย้ายมาแล้วจากแม่คี เรียกว่า "เชียงแสนแม่คี" และย้ายมาเป็น "เชียงแสนกาสา" และภายหลังเป็น "เชียงแสนแม่จัน"
แล้วกำว่า "แจน"มันแปล๋ว่าหยัง
มากึ๊ดผ่อแหมกำ แม่แจน น่าจะเป็ฯกำยองครับ ตะก่อนคนยองอพยพมาอยู่แม่จันนักขนาด
กู้วันนี้ ต.แม่คำยังไจ้ภาษายองเปนกำอู้กันอยู่ครับ
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
ผีอี่ฅ้อญ
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 315


ฮักบ้านเฮา


« ตอบ #49 เมื่อ: วันที่ 01 พฤศจิกายน 2012, 15:46:26 »

อำเภอขุนตาล  แยกมาจากอำเภอเทิงถ้าจำไม่ผิดก็ประมาณ  พ.ศ  2535  นี้เอง  สถานที่ตั้งอำเภอเมื่อก่อนเป็นป่าสุสานบ้านป่าตาลหน้าอำเภอปัจจุบันเลยล่ะครับ   ชื่อขุนตาลตั้งตามชื่อพระธาตุขุนตาล   ที่ตั้งอยู่หน้าโรงพักเก่าครับ  ใครผ่านไปมาก็อย่าลืมแวะสักการะพระธาตุขุนตาลด้วยถ้ามีเวลานะ  อยู่ติดถนน  สาย  1020  (เทิง-เชียงของ)เลยครับ 
ขอเพิ่มเติมท่านน้อยน้อครับ ว่าแต้แล้วนั้นพระธาตุองค์นี้บ๋ได้จื้อว่า ขุนตาลเน้อครับ เดิมทีนั้นเป็นพระธาตุดอยคำ แต่พอแยกอำเภอจากอ.เทิง ก๋บ๋ฮู้ว่าไผ ตางใดตั้งจื้ออำเภอว่า ขุนตาล แล้วก็พาลฮ้องพื้นที่ เดิมทีตี้เป็น ต.ป่าตาลเป็น ขุนตาลเหียหมด รวมไปถึง โรงเรียนป่าตาลวิทยาคมปัจจุบัน ก็ก๋ายเป็น โรงเรียนขุนตาลวิทยาคม ถามว่า ขุนมาจากตางใด ไผเป็นคนกึ๊ด  ยิ้ม ยิ้มเท่ห์ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิงฟันยิ้ม โกรธ ตกใจ เจ๋ง ฮืม ขยิบตา แลบลิ้น อายจัง รูดซิบปาก
IP : บันทึกการเข้า

-
Kontae_ki
อนาคต..เราสร้างเองได้
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 399


ลูกชาวนา 100%


« ตอบ #50 เมื่อ: วันที่ 02 พฤศจิกายน 2012, 21:12:41 »

เวียงป่าเป้าบ้านผมละคับ ขอฟังตวยจิ่มก่า  ยิงฟันยิ้ม

ความเป็นมาของอำเภอเวียงป่าเป้า
อำเภอเวียงป่าเป้า ในสมัยโบราณกาลมีชื่อว่า “เวียงกาหลง” สันนิษฐานว่าได้สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 5 (พ.ศ. 500 – 599) ซึ่งปรากฏตามหลักฐานในหนังสือพงศาวดารชาติไทย เล่ม 2 ของพระบริหารเทพธานี ได้กล่าวถึงแว่นแคว้นยวนเชียง (หน้า 4 บรรทัดที่ 2-6) ว่า “เมื่อภายหลัง พ.ศ. 590 ว่านแคว้นยวนเชียงนี้เป็นเมืองส่วยของประเทศอ้ายลาว ผู้ชายคิดเป็นเกลือกับเสื้อ คนละ 2 เสื้อ แล้วแว่นแคว้นยวนเชียงก็แยกตั้งบ้านเมืองออกไปทางทิศตะวันออกอีกหลายเมือง เช่น เวียงกาหลง (เวียงป่าเป้า) เวียงฮ่อ ดงเวียง เมืองวัง (วังเหนือ) แจ้ห่ม เป็นต้น และในหนังสือประวัติศาสตร์เมืองเชียงราย ซึ่งจัดพิมพ์ในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ (หน้า 13) ก็ปรากฏความที่คล้ายกัน คือ ในรวมพุทธศตวรรษที่ 5 มีพวกไทยถอยร่นจากตอนใต้ประเทศจีนปัจจุบัน มาสมทบกับพวกไทยที่เมืองเชียงลาวเพิ่มขึ้นมากทุกที จึงขยายเมืองให้กว้างขวางออกไปอีก เรียกว่า แคว้นชุนยาง หรือ ยวนเชียง มีอาณาเขตแผ่ไปถึงหลายเมือง เช่น เวียงกาหลง (เวียงป่าเป้า) เวียงฮ่อ ดงเวียง เมืองวัง (วังเหนือ) และเชียงแสน ทั้งนี้ภายหลัง พ.ศ. 590 เป็นต้นมา”

จากหลักฐานดังกว่าข้างต้นนี้ เวียงกาหลง หรือ อำเภอเวียงป่าเป้า ในปัจจุบัน ได้ก่อตั้งเป็นเมืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 5 แต่คงเนื่องด้วยเป็นเมืองเล็กเมืองน้อย และไม่มีเหตุการณ์หรือบุคคลสำคัญที่เป็นจุดเด่น จึงมิได้ปรากฏในตำนานหรือพงศาวดาร ต่อมาระยะกาลเวลาประมาณหนึ่งร้อยปีมานี้เอง อำเภอเวียงป่าเป้ามีฐานเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ และเป็นที่พักสำหรับผู้เดินทางค้าขายระหว่างเชียงราย-เชียงใหม่-ลำพูน ต่อมาชุมชนหนาแน่นขึ้น เจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ จึงได้มอบหมายให้พระยาไชยวงศ์ควยคุมราษฎรชาวนครเชียงใหม่ ขึ้นมาหักล้างถางพงพื้นที่ ซึ่งเป็นที่รกร้องว่างเปล่า ณ บริเวณที่มีชื่อว่า “ป่าเฟยไฮ” (ป่าไทร) ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอปัจจุบัน (ระยะทางประมาณ 4 กม.) แล้วสร้างเป็นเมืองขึ้นใหม่ขนานนามเมืองนี้ว่า “เมืองเฟยไฮ” ตามลักษณะภูมิประเทศเดิมและได้แต่งตั้งให้ พระยาไชยวงศ์ดำรงตำแหน่งพ่อเมืองปกครองเมืองนี้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2430 พระยาไชยวงศ์ พบว่าทางทิศเหนือมีสถานที่เหมาะที่จะสร้างเมือง จึงได้ให้ราษฎรขึ้นไปแผ้วถางป่าซึ่งเป็นป่า “ไม้เป้า” (ต้นเปล้า) และได้ก่อสร้างเป็นเมืองใหม่แล้วขนานนามตามชื่อป่าว่า “เมืองป่าเป้า” ในปีพ.ศ.2440 พระยาไชยวงศ์ถึงแก่อนิจกรรม พระยาเทพณรงค์ ผู้เป็นบุตรเขยได้รับแต่งตั้งให้เป็นพ่อเมืองทำการปกครองแทน และได้ปรับปรุงเมืองป่าเป้าให้มีสภาพมั่นคงถาวรยิ่งขึ้น โดยใช้อิฐก่อกำแพงเมืองและได้เปลี่ยนนามเมืองเสียใหม่เพื่อให้ถูกต้องตามลักษณะหรือที่มาของเมืองว่า “เวียงป่าเป้า” ต่อมาพระยาเทพณรงค์ถึงแก่อนิจกรรม พระยาขันธเสมา ซึ่งเป็นน้องเขยจึงได้รับแต่งตั้งให้ครอบครองเมืองสืบมา

ประมาณปี พ.ศ. 2446 พวกเงี้ยว (ชาวไทยใหญ่) ได้ก่อจลาจลขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ได้มีการจัดกองทัพจากจังหวัดลำปางและเชียงใหม่ ขึ้นไปปราบปรามผู้ก่อจลาจล เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ ทางราชการได้จัดตั้งจุดที่ชุมนุมพลให้เป็นอำเภอขึ้น ณ บ้านแม่พริก (ปัจจุบันอยู่ในเขตปกครองอำเภอแม่สรวย) บนฝั่งน้ำลาวว่า “อำเภอแม่พริก” และตั้ง “เวียงป่าเป้า” เป็นกิ่งอำเภอ

ที่มา http://thaitravelcr.blogspot.com/2012/04/1.html
IP : บันทึกการเข้า

แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #51 เมื่อ: วันที่ 06 พฤศจิกายน 2012, 13:43:25 »

เวียงป่าเป้า คนบะเดี่ยวหันว่า ที่เวียงเก่านั้นมันมีต้น"เปล้า" นักก็เลยฮ้องต๋ามต้นเปล้า
คนเมืองบ่าเก่าเปิ้นฮ้องว่า "เป้าหีห่อ" สูมาเต๊อะซื่อล้ำไป เพราะใบเปล้าเปิ้นเอามาต้มหื้อแม่ก๋ำเดือนอาบ และเอามาปู๋บนฮ้านดังไฟไว้ตางลุ่ม แล้วแม่ก๋ำเดือนนอนหรือนั่งตางบน หื้อไออุ่นจากไบเป้า ไปช่วยสมานแผลที่เกิดจากการเกิดลูก นอกจากนี้ยังช่วยหื้อมดลูกเข้าอู่ บรรเทาปวดระงับอักเสบ ที่สำคัญคือ"อย่างชื่อนั่นแหละ"คือทำให้ช่องคลอดหดตัว
IP : บันทึกการเข้า
nakub
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 26



« ตอบ #52 เมื่อ: วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2013, 20:44:32 »

แล้ว เชียงของ ลุมีไขฮู้ผ่องก่อครับ
IP : บันทึกการเข้า

กิ๋นง่ายจ่ายอ่วย มักเป๋นคนตุ๊กข์ กิ๋นจิ๊กิ๋นจำ หมั่นฮิมหมั่นฮอม มักจะเป๋นคนมี
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #53 เมื่อ: วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2013, 00:23:34 »

ขุนตาล โหล๊ะครับมีไผ่ฮู้ผ่อง
  ขุน คือ น้ำแม่ กำไทย ว่า แม่น้ำ   หรือ แหล่ง ของ ต้นน้ำ 
 ตาร คือ  ลำธาร 
ขุนตาร อ่านว่า  ขุน  ตาน   มาเขียน เป๋น    กำไทย  ขุนตาล  มาอ่าน ออกเสียงเหนือ เป๋น ขุนต๋าน เสียงแต่ม(ต่ำ)ลง ย้อน ไม้จัตวา
ผม จ๋ำ เปิ่นมาเล่า สูนกำตั๋วเก่าพ่อง ได้มอกอี้      ว่าไปไก๋ กว่านี้  บ่  ไค่ได้ แล้ว น่อ
สมมา เตอะ คับ
IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
koungaiv
สมาชิกลงทะเบียน
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 392


Line ID : Koungaiv


« ตอบ #54 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2013, 09:14:13 »

อันเรื่องอำเภอต่างๆ นี่หนาโดยเฉพาะ อ.ขุนตาล ก้ายง่าว บ๋ม่ตี้มาตี้ไป ถ้าเป๋นไปได้ ไขหื้อหมู่เฮา จัดกั๋นเป๋นกลุ่มเป๋นก้อน ลงทะเบียนเป็นชมรมกั๋นเลย บ๋แล้วเฮาก๋มาประชุมม่วนๆ กัน ไผหั๋นตวย แสดงความคิดเห็นตวย บ๋
IP : บันทึกการเข้า

ขาย เคส และอุปกรณ์เสริมของ Sonyแท้ ทุกรุ่น ทุกชนิด 082-4810065 หรือ www.sonyxpshop.com www.mobilexpshop.com)
koungaiv
สมาชิกลงทะเบียน
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 392


Line ID : Koungaiv


« ตอบ #55 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2013, 09:14:40 »

ขุนตาล โหล๊ะครับมีไผ่ฮู้ผ่อง
ผมก็คนขุนตาล
IP : บันทึกการเข้า

ขาย เคส และอุปกรณ์เสริมของ Sonyแท้ ทุกรุ่น ทุกชนิด 082-4810065 หรือ www.sonyxpshop.com www.mobilexpshop.com)
BS4056
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 50


« ตอบ #56 เมื่อ: วันที่ 08 พฤษภาคม 2013, 12:15:57 »

คำว่า เจียง หรือ เชียง หมายความว่าหยังคับ
หยัง เจียงฮาย หรือ เชียงราย เนี๊ยคับ
IP : บันทึกการเข้า
ละอ่อนน้อยเมืองเทิง
เอ่อนั้นเต๊อะ !!!! ฮานี่บ่าเฮ้ย
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 170


สุ้ต๋ายค้าาาบบบบ........


« ตอบ #57 เมื่อ: วันที่ 26 พฤษภาคม 2013, 11:17:31 »

อ.เทิงละครับ มาจากคำว่าหยัง ผมอยากฮู้เหมือนกัน
อันนี้เป็นความเห็นของผมกึ๊ดคนเดียวเน่อ ไผฮู้แต้ก็บอกจิ่ม
กำว่า"เทิง" ตางล้านนาหมายถึง ที่เก็บของที่อยู่ตางบนของเติ๋น(ถามหาเติ๋นแหมละก้า)

ใหญ่กว่าหิ้ง คล้ายเพดานแต่บ่เต็มพื้นที่ คนบะเก่าเปิ้นจ้างเอาเก็บ หม้อ ไห น้ำต้นหรือของอื่นๆที่เป็นสำรอง จะเอาลงมาไจ้ก็เมื่อมีปอย
แล้วเมืองเทิงผมบ่าแน่ใจ๋ว่าเป็นที่ราบสูงก่อ ถ้าเป็นที่สูงก็น่าจะแม่น
ถูกบ้าถูกบ่าฮู้เน่อ
อำเภอเทิง ต้องไปถามคนตี้มีนามสกุล ใจเถิง บุญเถิง ฯลฯ ผ่อน่อครับ ต้นตระกูลเป็นไผ แล้วความหมายของ "เถิง" ตวยน่อ อำเภอเทิง ก็มาจาก "เถิง" บ่ใจ่ภาษาไทย แต่คนไทยเปิ้นมาเขียนเอาแหมใหม่ เหมือนกรณี "บ้านครึ่ง" ต.ครึ่ง อ.เชียงของ สมัยก่อนเรียกว่า "บ้านเคิ่ง" ลุกเมืองน่านมา ปอมาเขียนป้ายจื่อบ้านเป็น "ครึ่ง" (เหลือกึ่งเดียวเหียแล้ว) ฯลฯ
"เถิง" น่าจะมาจากภาษาอิสานครับ แปลว่า...ถึง...ครับ
อย่าลืมว่าอ.เทิงมีคนอิสานที่อพยพมาตั้งรกราก มิใช่น้อย

 
"เถิง"เป๋นกำเมืองครับ  กำบ่าเก่ายังว่า "มาจุ๊มาจอด มาฮอดมาเถิง" คนชื่อเถิงก็มีจ้าดนักเน่อ
ไผมีฟ้อนต์ตัวเมือง
ครับ คงเป็นไปตามที่ท่านอธิบายมา แต่ภาษาอิสานก็มีคำนี้อยู่นาครับ
ผมกะคนเทิงหนาคับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

เพื่อเทอร์....ฉันฮิมต๋าย!!!!.....ฮู้ก่อ ? ? ?
Mr.Rachan!!!!
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 29



« ตอบ #58 เมื่อ: วันที่ 11 มกราคม 2014, 09:18:14 »

กำว่า แจน มันเป๋นสำเนียงยอง ยกตัวอย่างเช่น
แม่จัน เป๋น แม่แจน
เมีย เป๋น เม
ผัวเป๋น โผ
ไปบ่าตัน เป๋น ไปบ่าแตน
เกลือเ เป๋น เก๋อ
IP : บันทึกการเข้า

ก้นหม้อบ่าฮ้อนบ่าเป๋นแต่ไห  มันเป๋นแต่ไฟบ่าใจ่ก้นหม้อ
------------------------------------------------------------
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #59 เมื่อ: วันที่ 23 มีนาคม 2014, 22:48:11 »

คำว่า แม่จัน  น่าจะมาจากคำว่าแม่น้ำจันแต่คนพื้นที่ส่วนมากเป็นคนยองงจึงเพี้ยนเป้น แม่แจน และเป็นแมจันในที่สุด
ตามนี้ครับ เดือน : เดิน รถเครื่อง : รถเคิ่ง บ้านเพนียด : บ้านผะเนด ฯลฯ บ่ได้สื่อถึงความหมายใดๆ นอกจากสำเนียงเท่านั้น

แม่นแล้ว ป่อโหลงก่อเป็นยองล่ะปูนเหมินกั๋น
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!