เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 มีนาคม 2024, 18:29:14
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนหางาน-งานหาคน (ผู้ดูแล: JAMES ..., ©®*)
| | |-+  การคิดค่าแรงของพนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) ตามกฏหมายแรงงาน
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน การคิดค่าแรงของพนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) ตามกฏหมายแรงงาน  (อ่าน 1574 ครั้ง)
yod2012
JuliustibJD
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 624



« เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2017, 18:27:10 »

อยู่มาวันหนึ่ง มี รปภ. มาถามผมทาง Facebook ว่าการคิดค่าแรงของ รปภ. นั้นทำอย่างไร ในเมื่อกฎหมายแรงงานกำหนดไว้ให้สัปดาห์หนึ่งทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมง (มาตรา 23 วรรค 1) และในหนึ่งสัปดาห์ต้องจัดให้มีวันหยุดอย่างน้อยหนึ่งวัน (มาตรา 28) ฉะนั้นย่อมหมายความว่า รปภ. ที่ทำงานวันละ 12 ชั่วโมง 6 วันต่อสัปดาห์ ก็น่าจะได้ค่าทำงานล่วงเวลาวันละ 4 ชั่วโมง ใช่หรือไม่?!? แต่ต้องขอแสดงความเสียใจด้วยนะครับ เพราะคำตอบของมันคือ “ไม่”

ตรงนี้ต้องออกตัวก่อนว่าโดยปกติแล้ว พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานนั้นกำหนดสิทธิของลูกจ้างเอาไว้ค่อนข้างชัดเจนมาก แต่ก็มีบางจุดที่ยังคลุมเครือ เพราะให้ไปอ้างอิงพวกกฎกระทรวงแทน ซึ่งสำหรับคนธรรมดาสามัญแล้ว มันยากที่จะหาข้อมูลดังกล่าว เพราะในตัวมาตรากฎหมาย หรือตัวพระราชบัญญัติเองก็ไม่ได้มีการระบุไว้ชัดเจนว่ามาตราใด อ้างอิงกฎกระทรวงฉบับไหน
อาชีพ รปภ. อยู่ในข้อยกเว้น นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลา

แล้วอาชีพ รปภ. เนี่ย ก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ถูกกำหนดเอาไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ใจความว่า
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และ มาตรา 65 (เจ๋ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้

ให้งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินเป็นงานตามมาตรา 65 (เจ๋ง ที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61 และค่าล่วงเวาในวันหยุดตามมาตรา 63 แต่ให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
พูดง่ายๆ คือ ในการคิดค่าแรงของผู้ประกอบอาชีพ รปภ. นั้น สมมติว่าทำงานวันละ 12 ชั่วโมง มีวันหยุดประจำสัปดาห์คือวันอาทิตย์ ค่าแรงคิดตามอัตราค่าแรงขั้นต่ำคือ 300 บาท/วัน ก็จะคิดแบบนี้ครับ
◾ค่าแรงตามชั่วโมงทำงานตามปกติที่กฎหมายกำหนด คือ 8 ชั่วโมง/วัน ก็คิดไปชั่วโมงละ 37.50 บาท
◾ค่าแรงตามชั่วโมงทำงานล่วงเวลา 4 ชั่วโมง/วัน เนื่องจากเป็นไปตามมาตรา 65 (เจ๋ง และกฎกระทรวงฉบับที่ 8 จึงคิดที่ชั่วโมงละ 37.50 บาท เช่นกัน

และแม้ว่านายจ้างจะให้ทำงานล่วงเวลาเพิ่มเติม (เช่น นายจ้างขอให้ทำงานต่ออีก 2 ชั่วโมง หรือ ลูกจ้างขอควงกะ) ค่าจ้างก็จะไม่ได้คิดเป็นค่าล่วงเวลา (หมายถึง ค่าแรงต่อชั่วโมงคูณ 1.5) แต่อย่างใด และนั่นรวมถึงค่าล่วงเวลาในวันหยุด ที่ตามกฎหมายมาตรา 63 ที่กำหนดไว้ว่าต้องจ่ายไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานด้วยนะครับ

อ้างอิงจากเหตุผลก็คือ กฎหมายเก่าที่ให้ข้อยกเว้นเรื่องการจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาสำหรับลูกจ้างที่มีหน้าที่เฝ้าสถานที่ มันมีใช้ตั้งแต่ก่อน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จะบังคับใช้แล้ว ดังนั้น เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่นายจ้าง จึงให้คงข้อยกเว้นนี้ไว้น่ะครับ

สรุปคือ: สำหรับผู้ประกอบอาชีพ รปภ. นั้น ไม่ว่าจะทำงานล่วงเวลาในวันธรรมดาหรือวันหยุด ก็จะได้รับค่าจ้างเป็นอัตราค่าจ้างปกติของวันนั้นๆ คิดเป็นรายชั่วโมง

IP : บันทึกการเข้า

หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!