เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 เมษายน 2024, 07:08:57
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  คนเมืองน่านเปิ้นก็กั๋วลูกหลานบ่อู้กำเมืองครับปี้น้อง
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน คนเมืองน่านเปิ้นก็กั๋วลูกหลานบ่อู้กำเมืองครับปี้น้อง  (อ่าน 2597 ครั้ง)
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« เมื่อ: วันที่ 18 พฤษภาคม 2011, 22:55:54 »

บ่ได้เป๋นก้าเจียงใหม่ บ่ได้เป๋นก้าเจียงฮาย ฯลฯ
เมืองน่านก็เป๋นครับ หันคนน่านเปิ้นจ่มว่ากั๋วลูกหลานบ่อู้กำเมือง
ขนาดเมืองน่านตี้เปิ้นว่าวัฒนธรรมแข็งยังหนีบ่ป้น
หัวอกเดียวกั๋นเลยปี้น้อง


ตวยลิงค์นี้ไปเลยครับ
http://www.nan2day.com/forum/index.php?topic=6176.0


* 001.jpg (94.94 KB, 706x549 - ดู 350 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 18 พฤษภาคม 2011, 22:57:59 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
watinta
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 19 พฤษภาคม 2011, 13:33:08 »

งึดดเหมือนกั๋นคับ คนเมืองรุ่นใหม่บ่าเดี่ยวนี้ลืม(บ่าเอา)ฮากเหง้าวัฒนธรรมตั๋วเก่า เป๋นคนเมืองเวลาอู้กำเมืองยะไข่อายบ่าไข่อู้ ทีไปยะอย่างอื่นบ่าดีบ่าดัก ผิดศิล ผิดธรรม อึออ.(อึออ. อู้เสียงยาวๆเน้อ ยิงฟันยิ้ม) บ่าอาย งึดแต้ๆ ไผฮู้ตั๋วว่าเป๋นคนเมืองบ่าอู้กำเมือง (กึดผิดกึดใหม่ได้ ป่ออุ้ยแม่ม่อนบรรพบุรุษพร้อมหื้ออภัย ยิงฟันยิ้ม) มาจ่วยกั๋นฮักษาฮากเหง้าวัฒนธรรมภาษากำเมืองของเฮา มาอู้กำเมืองกั๋นเต๊อะคับผม  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 23 พฤษภาคม 2011, 08:13:02 โดย คนตาบอดถือตะเกียง » IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 19 พฤษภาคม 2011, 18:43:30 »

 วิกฤตภาษาถิ่น


    รัฐบาลเห็นชอบให้ปี 2550 เป็นปีภาษาไทยเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสมหามงคลพระชนมพรรษา 80 พรรษา

    โดยกระทรวงวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานหลักในการสัมมนาระดมความคิดเห็น สะท้อนปัญหาวิกฤตของภาษาถิ่นที่กำลังสูญหายไปจากสังคมไทย เนื่องจากการรุกคืบของโลกาภิวัตน์ การแพร่กระจายภาษากลางผ่านสื่อ

    ผลของการสัมมนา "คำเมืองวันนี้" พบว่า เด็ก ภาคเหนือรุ่นใหม่ไม่สามารถพูดได้ถูกต้องทั้งคำเมืองภาษาล้านนาและภาษาไทยกลาง เกิดปัญหาการนำคำไทยกลางมาผสมผสานกับคำเมือง จึงทำให้ไม่สามารถสื่อสารแต่ละภาษาได้อย่างชัดเจน

    โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองเชียงใหม่

    ถ้าคนเชียงใหม่ยังไม่สนใจเรียนรู้อย่างถูกต้อง คาดว่าอีก 20 ปีจะไม่มีการสื่อสารพูดคำเมืองอีก

    ส่วนปัญหาภาษาถิ่นอีสานที่มีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนด้วยอักษรขอม ตัวอักษรไทน้อย และตัวอักษรธรรมลงในคัมภีร์ใบลาน มีปัญหาการสื่อความกับคนภาคกลาง ซึ่งเข้าใจว่าคำบางคำของภาษาอีสานนั้นไม่สุภาพ

    เช่น ขี่(คนอีสานจะออกเสียงขี้) ขี่เกี้ยม(จิ้งจก) หรือ บักหำ หำน่อย(เด็กน้อย) เป็นต้น

    ปัจจุบันอักษรเขียนภาษาอีสานหายไปหมดแล้ว เพราะมีผู้เอาใจใส่เรียนรู้ ทำให้อ่านอักษรโบราณที่อยู่ในใบลานหรืออักษรธรรมไม่ได้

    และผลการสำรวจชื่อเล่นของเด็กและเยาวชนที่ผู้ปกครองนิยมตั้งให้บุตรหลาน จำนวน 2,828 คน โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น พบว่า เด็กและเยาวชนมีการตั้งชื่อเป็นภาษาไทยร้อยละ 54.13 เด็กและเยาวชนที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ร้อยละ 45

    ขณะที่คำว่า "บักหำน้อย" ที่เรียกแทนเด็ก และคำนำหน้าอย่างคำว่า "อี" เช่น อีพ่อ อีแม่ ที่ในภาษาท้องถิ่นถือเป็นคำสุภาพ กำลังเลือนหายไป

    ส่วนภาษาถิ่นภาคใต้ก็มีบทบาทน้อยลง เนื่องจากครอบครัวนิยมสอนให้เด็กพูดภาษากลางมากขึ้น เพราะเกรงว่าถ้าไม่ให้พูดภาษากลางได้ดีตั้งแต่เด็ก จะพูดภาษากลางเพี้ยนเป็นสำเนียงแบบทองแดง

    ทำให้เด็กรุ่นใหม่ฟังบทหนังตะลุง และมโนราห์ และเพลงบอก ไม่เข้าใจ

    ถ้าไม่มีการแก้ไข หนังตะลุงก็จะหายไปจากสังคมภาคใต้

    ส่วนภาคกลางพบว่า ปัจจุบัน เด็กและเยาวชน หรือคนท้องถิ่นในภาคกลางไม่กล้าพูดเสียงเหน่อ เพราะคนกรุงเทพฯ จะมองเป็นเรื่องตลก ขณะเดียวกัน ไม่มีการรวบรวมคำศัพท์ภาษาถิ่น ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่สามารถศึกษาและเข้าใจความหมายที่ถูกต้องได้

    เช่น คำว่า ไอ้หมา ที่สื่อถึงความเอ็นดู ความน่ารักของคนที่ถูกพูดถึง แต่หากพูดภาษาภาคราชการจะกลายเป็นการดูถูกเหยียดหยาม

    ขณะที่ภาษาถิ่นภาคตะวันออก ก็พบปัญหาเช่นเดียวกับภูมิภาคอื่นๆ คือราชการใช้ภาษาไทยของคนกรุงเทพฯ เป็นเครื่องตัดสินภาษาถิ่นว่าไม่ใช่ภาษากลาง ส่งผลให้ประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นพูดภาษาถิ่นลดลง

    เช่น คำสร้อยที่ลงท้ายประโยคว่า ฮิ และคำศัพท์ที่มักจะถูกล้อว่า ฮิเล็ก ฮิใหญ่ จนเป็นเรื่องน่าขบขันถูกมองว่าเป็นภาษาไม่สุภาพ

 วิกฤตการณ์ภาษาที่เกิดจากการใช้ภาษาไทยกลางเป็นบรรทัดฐาน และปลูกฝังว่าภาษาถิ่นเป็นภาษาบ้านนอก


    เริ่มต้นแก้ไขได้โดยครู สื่อมวลชน พ่อ แม่ และทุกฝ่ายควรช่วยกันปรับทัศนคติของเด็ก สร้างความภูมิใจในพูดภาษาถิ่นควบคู่กับการใช้ภาษาไทยอย่างลบค่านิยมการ เหยียดหยามภาษาถิ่นของท้องถิ่นอื่นๆ

    มิฉะนั้นภาษาถิ่นจะถูกกลืนและใกล้สูญพันธุ์เหมือนภาษา 14 กลุ่มภาษา

    ได้แก่ ชอง กะซอง ซัมเร ชุอุง มลาบรี เกนซิว (ซาไก) ญัฮกุร โซ่(ทะวืง) ลัวะ(ละเวือะ) ละว้า (ก๋อง) อึมปี บิซู อูรักละโวย และมอเกล็น เป็นต้น


http://childmedia.net/node/215
IP : บันทึกการเข้า
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 19 พฤษภาคม 2011, 18:53:38 »

ต้องช่วยกันครับ ทั้งภาครัฐและท้องถิ่น

ไม่ใช่แค่ภาคเหนือเท่านั้นที่มีปัญหานี้ แต่จริงๆแล้วเป็นปัญหาทั่วทุกภาคไม่เว้นแม้แต่ภาคกลางครับ
แถวบ้านผมมีเด็กคนหนึ่ง พ่อเป็นกระฉิน แม่เป็นคนจีนพม่า แต่ย้ายมาอยู่ที่เมืองไทย เด็กคนนี้เรียนหนังสือที่โรงเรียนอนุบาลเอกชนที่สอนเด็กไทยทั่วๆไป
ตอนนี้กำลังขึ้นเรียนชั้นประถม1 เด็กคนนี้พูดภาษาไทยได้ชัดเจน พูดภาษากระฉินและพม่าได้ดี และเก่งภาษาอังกฤษอีกต่างหากเพราะคุณแม่เก่งอังกฤษสอน เห็นปิดเทอมนี้คุณแม่พาไปเมืองจีนหาญาติ ก็ไม่ทราบว่าเด็กคนนี้อาจได้ภาษาจีนเพิ่มอีกหนึ่งภาษาหรือไม่
เด็กคนนี้แหละครับน่าจะเป็นต้นแบบของคุณพ่อคุณแม่สมัยใหม่ ไม่ใช่ให้แค่รู้ภาษาถิ่นเท่านั้น แต่ควรรู้ทั้งภาษาถิ่นและภาษาหลักและภาษาของโลก คงมองอนาคตของเด็กคนนี้กันออกนะครับ

มีเด็กอีกคนนึงครับแต่เป็นรุ่นน้องของเด็กคนแรกย้ายมาจากย่างกุ้งเหมือนกัน เห็นตอนปิดเทอมคุณพ่อกำลังตัดสินใจว่าจะให้เรียนอนุบาล1ที่ไหนดี เด็กคนนี้โตมากับภาษาพม่าแล้วย้ายมาอยู่เมืองไทยได้ปีกว่าแต่ไม่มีใครสอนให้รู้ภาษาไทยทั้งๆที่คุณพ่อก็พูดไทยได้คล่อง
ทุกวันนี้ฟังภาษาไทยไม่ออก พูดไทยไม่ได้ เพราะที่บ้านพูดพม่า จะไปเรียนโรงเรียนไทยก็ไม่ได้ จะไปเรียนอินเตอร์ก็ไม่ได้เพราะไม่รู้ภาษาอังกฤษ เริ่มเห็นความลำบากหรือยังครับ นี่พึ่งเปิดเทอมยังไม่รู้ว่าได้เรียนหรือเปล่า หรืออาจจะต้องกลับย่างกุ้ง

ปัญหาเกิดจากอะไร ช่วยกันวิเคราะห์วิจารณ์ก็ดีครับ

ในมุมมองส่วนตัวของผม หน้าที่ของโรงเรียนและภาครัฐคงต้องมีหน้าที่สอนและสนับสนุนให้ประชากรของชาติ รู้ภาษาไทยอ่านออกเขียนได้ให้ได้มากที่สุด รวมถึงการพูดสำเนียงกลางให้ได้และชัดเจน เป็นสิ่งถูกต้องแล้ว
ส่วนภาษาถิ่นและสำเนียงของแต่ละภาคคงต้องให้ท้องถิ่นและเอกชนเป็นคนส่งเสริมหรือบังคับได้ก็ควรบังคับ และให้ภาครัฐสนับสนุนเช่นพนักงานร้านเซเว่นทุกร้าน พนักงานต้อนรับไม่ว่าโรงแรม ร้านอาหาร สนามบิน ควรพูดต้อนรับลูกค้าด้วยคำเมืองเป็นต้น ต้องทำให้คนที่รู้ทั้งภาษาถิ่นและภาษากลางได้เปรียบคนที่ไม่รู้ มีโอกาสได้งานและสิทธิที่มากกว่า
ซึ่งมีอีกหลายวิธี เช่นการตั้งโรงเรียนสอนภาษาถิ่น เหมือนกับโรงเรียนกวดวิชาภาษาอังกฤษ จะโดยท้องถิ่น หรือให้เอกชนดำเนินการก็แล้วแต่

แต่สุดท้ายดังตัวอย่างเด็กสองคนที่ผมยกขึ้นมา คนที่สำคัญที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่


* การสอนภาษาถิ่น.jpg (49.87 KB, 400x300 - ดู 314 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 19 พฤษภาคม 2011, 21:47:29 »

ร้อยแปดวิถีทัศน์: ทำไมเด็กภาคเหนือจึงเมิน "อู้กำเมือง"
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 07:00:00

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : คำเมืองและตัวเมือง เคยเป็นภาษาสื่อการสอนและภาษาพูดในโรงเรียนที่ลำปางและที่เชียงใหม่ ก่อนจะถูกเบียดให้ออกจากพื้นที่ของทุกโรงเรียนไปอย่างถาวร เมื่อภาษาไทยกลางเข้ามาแทนที่ หลังจากนั้น เด็กนักเรียนคนไหนพูดคำเมืองที่โรงเรียนก็โดนตีโดนปรับ เด็กๆและผู้ปกครองจะมีความรู้สึกที่ดีกับคำเมืองได้อย่างไร

ตลอดเวลา 80 กว่าปีที่ผ่านมา ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ความรู้วิทยาการและความศิวิไลซ์ต่างๆ มากับภาษาไทยกลาง สถานภาพของภาษาล้านนาก็ย่อมถดถอยไปเรื่อยๆ ในอัตราส่วนที่ผกผันกับการใช้ภาษาไทยกลาง เช่นเดียวกับความถดถอยของภาษาถิ่นอื่นๆ ทั่วทุกภาคที่ถูกภาษาไทยกลางค่อยๆ ยึดพื้นที่ไป เริ่มจากโรงเรียน วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ การศึกษาของพระเณร การบันเทิง และอื่นๆ

ทุกวันนี้ หากคำเมืองยังพูดกันอยู่ ตัวเขียนภาษาล้านนาเหลือให้เห็นน้อยเต็มทีในที่สาธารณะ มีเพียงป้ายชื่อวัดที่เขียนตัวเมืองไว้เป็นสัญลักษณ์ใต้ชื่อภาษาไทยกลางเท่านั้น ไม่มีใครอ่านออกเพราะชาวล้านนาเกือบทั้งภาคเหนือรุ่นอายุ 60 ปีลงมาไม่รู้จักตัวเมือง อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ยกเว้นผู้ตั้งใจศึกษา ปราชญ์ท้องถิ่น ภิกษุสงฆ์มีอายุและสามเณรจำนวนหนึ่งที่ได้บวชเรียนตัวเมือง

เสียงขับขานลำนำที่เรียกว่า ค่าว ซอ จ๊อย แผ่วลงไปจนแทบไม่ได้ยิน เสียงสะล้อ ซอซึง และพิณเปี๊ยะ มีแต่ในตำนานและศูนย์วัฒนธรรมบ้างหลังๆ มานี้ แต่เป็นการอนุรักษ์มากกว่าการมีอยู่ในชีวิตจริง บางทีทั้งหมู่บ้านถามหาคนค่าวคนซอปรากฏว่าสูญพันธุ์ไร้คนสืบต่อ

วรรณกรรมพื้นบ้านสำคัญอย่างเรื่อง หงส์หิน ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดภาพวาดสีฝุ่นฝาผนังในโบสถ์วิหารหลายแห่ง มีชาวเหนือรุ่นใหม่อายุต่ำกว่า 30-40 ปีคนไหนบ้างที่เคยได้ยินและเคยได้ชม

สล่า หรือช่างไม้ช่างฝีมือผู้รังสรรค์โบสถ์วิหารเจดีย์แบบล้านนาสูงอายุรุ่นสุดท้ายอาจจะสูญพันธุ์ไปหมดแล้วก็ได้

ชีวิตวิญญาณภูมิปัญญาของภาษาและศิลปวัฒนธรรมสูญหายไปแทบจะหมดแล้ว หากคำเมืองยังพูดกันอยู่ ศัพท์แสง ถ้อยคำที่ลึกซึ้งตลอดจนความไพเราะงดงามของภาษาและการขับขานในงานบุญประเภทต่างๆ ชาวเหนือรุ่นใหม่น้อยคนนักจะเคยได้ยิน พูดให้แรงๆ ก็คือ ภาษาล้านนาที่พูดๆ กันในช่วงหลังๆ นี้ จึงเหลือแต่ซาก ยากนักที่เด็กชาวเหนือรุ่นใหม่จะพบสิ่งใดที่มีคุณค่า สร้างความผูกพันเป็นอัตลักษณ์หนึ่งในตัวตน

หรือเรียนรู้ที่จะหาและเก็บความหมายความงามใดๆ ในภาษาล้านนา ถึงขั้นว่า ไม่พูดภาษาล้านนาเลย ชีวิตประจำวันก็ไม่ขาดอะไรไป นอกจากพูดกับคนแก่ไม่ค่อยเข้าใจก็เท่านั้นเอง

แน่นอนว่า การถดถอยสูญเสียภาษาเขียนไปจากชีวิตชุมชน เป็นสาเหตุใหญ่สาเหตุหนึ่งของการถดถอยและเสื่อมสลายของภาษาล้านนา ทุกอย่างมีแต่จะลีบเรียวเล็กลง บวกกับความนิยมใช้ภาษาอื่นเป็นภาษาสื่อการสอนที่โรงเรียนและในสื่อสารมวลชน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เด็กๆ ภาคเหนือรุ่นใหม่เมื่อเข้าโรงเรียน ก็จึงยิ่ง "เมิน" คำเมืองมากขึ้น

เสียงเป่านกหวีดเตือนจากนักวิชาการ ดร.บุญคิด วัชรศาสตร์ ที่ชี้ว่าอีก 20 ปี ภาษาล้านนาอาจจะสูญ เพราะเด็กๆ ต่างพากันเมิน "อู้กำเมือง" มากขึ้นเรื่อยๆ นั้น ไม่ใช่เรื่องของนักอนุรักษ์ขี้ตื่นตกใจแน่นอน เพราะมันอาจเกิดขึ้นได้

ทุกวันนี้ ความถดถอยของทุกภาษาในโลก 5,000 กว่าภาษากำลังเกิดขึ้นอย่างเงียบๆ โดยความนิยมของภาษาใหญ่ๆ ที่ใช้กันมาก คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาสเปน ภาษาเยอรมัน จะมีผลกระทบถึงภาษาอื่นๆ โดยปริยาย ภาษาใดเกิดการลดถดถอยอยู่แล้ว เช่น สูญเสียภาษาเขียน คนพูดน้อยลง เพราะการลดลงของประชากรหรือการเมินหน้าหนี สูญเสียความสำคัญทางด้านสังคมเศรษฐกิจ ภาษานั้นๆ ก็จะค่อยๆ ลดถดถอยสูญไปอย่างแทบไม่ทันจะตั้งตัวเลยทีเดียว

ดร.บุญคิด ท่านพบด้วยว่า ปัจจุบันเด็กเหนือรุ่นอายุต่ำกว่า 30 ปี พูดคำเมืองไม่ถูกต้อง ซึ่งนับวันคำในภาษาก็จะยิ่งลีบเรียวลงเรื่อยๆ

ข้อเสนอของ ศ.เกียรติคุณ มณี พนอมยงค์ ที่ต้องการให้บรรจุการพูด-เขียนคำเมือง ศึกษาวรรณคดีและประวัติศาสตร์ล้านนาไว้ในหลักสูตรท้องถิ่น ส่งเสริมให้เป็นวิชาบังคับเลือกตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ป.1-ป.6 เป็นวิชาในขั้นอุดมศึกษา ตลอดจนขอร้องครอบครัวต้องปลูกฝังให้พูดคำเมืองนั้น ตามหลักอนุรักษ์ฟื้นฟูก็น่าจะถูกต้อง

แต่ทว่าในสภาพที่ภาษาล้านนากำลังถูกเมิน การจะไปสร้างความภาคภูมิใจและการอนุรักษ์ "ภาคบังคับ" ก็อาจจะสร้างแรงต้านทานโดยเฉพาะจากเด็กรุ่นใหม่และผู้ปกครองรุ่นใหม่ ที่เห็นภาษาอื่นสำคัญกว่า นอกเสียจากว่าจะสร้างแรงจูงใจอื่นๆ ให้ผู้เรียนและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจเห็นผลดีและข้อได้เปรียบของผู้รู้หลายภาษา

กล่าวคือ ให้เกิดการตระหนักรู้ว่า ภาษาแม่เป็นต้นทุนภาษา ต้นทุนภูมิปัญญา ต้นทุนอัตลักษณ์ ที่จะไปช่วยต่อยอดเรียนรู้ภาษาอื่นๆ และอัตลักษณ์อื่นๆ ได้เร็วขึ้นง่ายขึ้น ซึ่งก็จะเกิดผลตรงกันข้ามกับผู้เรียน หากภาษาแม่อัตลักษณ์ของท้องถิ่นถูกปฏิเสธ และถูกเหยียดว่าต่ำต้อยกว่า อีกทั้งพบว่าสมองของเด็กที่รู้สองภาษาหรือพหุภาษา จะมีพัฒนาการทางสติปัญญาการเรียนรู้ที่ดีกว่าสมองของเด็กรู้ภาษาเดียว

การที่กระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตและจัดอบรมติวเข้มนำภาษาถิ่นกลับคืนเข้าสู่พื้นที่โรงเรียนอีกครั้งหนึ่งในโควตาหลักสูตรท้องถิ่น ในระยะปีสองปีมานี้ ก็เพื่อผลดีทางด้านการศึกษาและพัฒนาการทางสติปัญญาการเรียนรู้แก่เด็กๆ ที่พูดภาษาถิ่นเป็นภาษาแม่นั่นเอง ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาปรากฏชัดเจนว่า ดีขึ้นในทุกสาระวิชา ได้แก่ กรณีภาษาถิ่นในภาวะวิกฤติ เช่น ภาษาของที่จันทบุรี ภาษายัฮกุรที่ชัยภูมิ ภาษาโซ่ทะวึงที่สกลนคร เป็นต้น

กรณีการจัดการเรียนการสอนทวิภาษา โดยใช้ภาษาถิ่นคู่ขนานกับภาษาไทยกลางในโรงเรียนบริเวณชายแดน เช่น ภาษามลายูถิ่นในสามจังหวัดภาคใต้ ภาษามอญคู่ขนานกับภาษาไทยกลางใน 5 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ตาก สุรินทร์ ศรีสะเกษ สมุทรสาคร ก็กำลังเกิดขึ้น เนื่องจากเหตุและเพื่อผลอย่างเดียวกัน
การที่เด็กภาคเหนือรุ่นใหม่พูดภาษาล้านนาก็ไม่ได้ ภาษาไทยกลางก็พูดไม่ถูกต้อง เกิดปัญหาการสื่อสารดังที่ ศ.เกียรติคุณ มณี พนอมยงค์ ตั้งข้อสังเกตเป็นอาการน่าเป็นห่วง เป็นประจักษ์พยานถึงอาการหนึ่งของผู้ที่ตั้งแต่ในวัยเริ่มเรียน ภาษาแม่ก็ถดถอยถูกทอดทิ้ง และการเรียนรู้ภาษาใหม่อื่นๆ ซึ่งมีอีกหลายภาษาถาโถมเข้ามาอย่างรวดเร็ว และก็อาจไม่ได้ทำอย่างถูกวิธี กอปรกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรมทั้งหมด ไม่ได้ส่งเสริมพัฒนาภาษาล้านนาหรือภาษาไทยกลางอันเป็นภาษาแม่ การรู้ภาษาจึงครึ่งๆ กลางๆ เกิดปัญหาการสื่อสารขึ้น

ขณะนี้ ภาษาล้านนาอาจจะถดถอยไปมาก แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกฤติ หากคำเมืองมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตประจำวันของผู้คน มีประโยชน์ มีความจำเป็นต้องใช้ มีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ในการสื่อสารชีวิตประจำวัน การศึกษา ความบันเทิง ความงาม ความรู้สึกพึงพอใจภูมิใจทางชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ และอัตลักษณ์ทางภาษาศิลปวัฒนธรรม ความพอใจเหตุจูงใจที่จะพูดที่จะใช้ภาษานั้นๆ ในวิถีชีวิตก็จะเกิดขึ้นเองในผู้คนทุกวัย ไม่ใช่เฉพาะเด็กภาคเหนือรุ่นใหม่

อีกทั้งจะยั่งยืนกว่าการจัดทำภาษาและศิลปวัฒนธรรม "ภาคบังคับ" สำหรับเด็กโดยเฉพาะในสภาพที่สังคมล้านนาร่วมสมัยแทบไม่เหลือ และไม่สร้างพื้นที่ใดๆ ในชีวิตประจำวัน ให้เขาสามารถเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ล้านนาได้เลยนอยู่็น

สุกัญญา หาญตระกูล
IP : บันทึกการเข้า
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 20 พฤษภาคม 2011, 04:40:32 »

หันกะทู้และข้อความแล้วใจ๋หายครับ
ผมเองพยายามสอนลูกอู้กำเมืองตลอด
แต่พักหลังมานี่ ลูกไปโฮงเฮียนและเริ่มโตเป๋นหนุ่มแล้ว มีโลกส่วนตั๋ว
บ่าค่อยได้อู้กั๋นเต้าได แต่ฮู้สึกว่าเวลาอู้กับเปื้อน บางทีก่อไท บางทีก่อเมียง
อาจจะมีส่วนที่ทำหื้อเหินห่างภาษาถิ่นไป ด้วยสภาพแวดล้อมและเศรษกิจ
เหมือนสมาชิกที่ใช้ชื่อว่าเกิ้มศรี ลูกยังถามว่าชื่อน้าเขาแปลว่าอะหยัง ผมแปลหื้อฟังแล้วเขายังเข้าหัวใส่เลย...อิดขนาด ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
Jeekuk
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 20 พฤษภาคม 2011, 14:05:35 »

คนที่สำคัญที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่
ท่านเขาอีโต้ครับ บทสรุปคือ อี่ป้อ อี่แม่ ที่กลัวว่าลูกจะพูอไทยไม่ ถอบ อายเปิ้น
จะอายทำไมครับ ในขณะที่คนภาคกลางยัง ร-ล ไม่ได้ ดูง่าย ๆ แอ๊ด คาราบาว ร้องเพลงไม่มี "ร" มีแต่ "ล"
คนเหนือจะมีปัญหาตรง สระ เอีย กับ เอือ "ช.ช้าง กับ ซ.โซ่  ร.เรือ กับ ล.ลิง เป็นต้น
แต่ทำไมชาว"ตองแด็ง"เขาไม่ยอมตัด ตองแด็ง ออกจาก สำเนียงการปู้ดเขาเรย
เพราะเขาจะวิพากษ์กันเองว่า ลืมถิ่นเกิด ว่ากันตรง ๆ เลยครับ
IP : บันทึกการเข้า
natta2533
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 199


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 20 พฤษภาคม 2011, 19:46:28 »

อ่านกรทู้แล้ววาวแต๊ๆน่อคับ     ไผจะละไผจะขว้างผมบ่ฮู้แต่ตี้แน่ๆผมบ่ละคนนึ่งละคับ และฮักษาสืบยื้อไปต๋ายเมื่อไดละกันเมื่ออั้น เศร้า
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 20 พฤษภาคม 2011, 20:38:00 »

ภรรยาผมไม่ใช่คนเหนือแต่ผมคนเมืองครับ ลูกผมกู้คนอู้เมืองหลานผมที่ผมเลี้ยงแม่เขาก็บ่ใช่คนเมือง ผมก็หื้ออู้กำเมือง ตั้งแต่อายุ 10 ปี๋มาเขาก็อู้ไทยถอบอยู่
คน อ.เสาไห้ จ.สระบุรี บางตำบลที่เปิ้นเป็นคนเมือง ที่ไปอยู่ปุ้นได้เป็น สองร้อยกว่าปี๋
เปิ้นก็ยังอูกำเมืองอยู่ครับ เพราะคนเฒ่าคนแก่เปิ้นสอนกันต่อต่อมาว่าบ่ดีลืมจ้าดเจื้อตั๋วเก่า
ถึงคุณจะใส่สูท ผูกไทด์ ใส่โสร่งสุบเกอบแตะ แต่เม็ดเลือดก็ยังคงเป๋นคนเมืองอยู่
มันหนีบ่พ้น จุ๋เปิ้นคนอื่นได้ แต่จุ๋ตั๋วเก่าตึงบ่ได้
IP : บันทึกการเข้า
>:l!ne-po!nt:<
~: ดาบราชบุตร :~
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,256

~>: แขกดอย :<~


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 20 พฤษภาคม 2011, 20:39:15 »

มันท่าจะมีกั๋นกุ้จั๋งหวัดนะครับ
IP : บันทึกการเข้า

!!!!!  กว่า ๑,๑๐๐ กม.จากยอดดอยสู่ทะเล...ตะวันออก  !!!!!

www.facebook.com/1100kilometer

||||| ธรรมชาติสร้างอากาศบริสุทธิ์    ส่วนมนุษย์นั้นสร้างอาวุธเพื่อทำลาย |||||
khao e to
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 135



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 20 พฤษภาคม 2011, 21:03:31 »

ครับท่าน Jeekuk
ผมว่าปัญหาตอนนี้ต่างจากเมื่อก่อนนะครับ
ก่อนอื่นเราต้องยอมรับกันก่อนครับว่าภาษาประจำชาติหรือภาษาราชการก็คือภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพ
เราจะไปที่ไหนในประเทศไทยก็ใช้ภาษานี้เป็นกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
ส่วนภาษาท้องถิ่นของแต่ละท้องที่ คนท้องถิ่นต้องใช้ ใครไม่ใช่ก็ช่างเค้าแต่ตัวเราต้องใช้มัน ถ้าเราไม่ใช้ใครจะใช้เพราะเป็นภาษาถิ่นของเรา ต้องช่วยกันสอนลูกฝึกหลานครับ
สมัยก่อนปัญหาเกิดจากเด็กพูดได้แต่ภาษาถิ่นแต่ไม่สามารถพูดไทยกลางได้ในขณะที่หนังสือเรียนเป็นภาษาไทย ในอนาคตการทำงาน การติดต่อสื่อสารต้องใช้ภาษาไทยกลาง
คุณครูจึงต้องออกกฏเกณฑ์ออกมาเป้าหมายก็เพื่อให้เด็กนักเรียนสามารถ พูด อ่าน และเขียน ภาษาไทยให้ได้เพื่ออนาคตของเด็กเอง วันนี้ผลผลิตของคุณครูสมัยนั้นอาจจะเป็นท่านๆทั้งหลายในที่นี้บ้างก็ได้

คุณแม่ผมเป็นคุณครูสอนเด็กประถมต่างจังหวัด ผมเห็นคุณแม่ ลำพังสอนเด็กไทยให้อ่าน เขียน ไทยได้ก็ลำบาก ลำบน เด็กบ้านนอกสมัยก่อน คนโง่ก็โง่แบบไม่เอาอะไรเลย
อาจเป็นเพราะคุณพ่อ คุณแม่สมัยนั้นเรียนกันมาน้อยหรือไม่ได้เรียนกันเลยก็มี ประเทศชาติยังยากจน ล้าหลัง อุปกรณ์การเรียนการสอนก็แทบจะไม่มี คนที่เรียนหนังสือเก่งๆมักจะเป็นลูกคนจีน เรื่องคนจีนผมก็งงเหมือนกันครับว่าเค้าสอนลูกหลานเค้ายังไง
ให้เรียนหนังสือเก่งพูดไทยได้ พูดจีนได้ เมื่อก่อนคนเก่งมีความรู้สถาบันการศึกษามีอยู่แค่ที่กรุงเทพ ทุกคนมักจะส่งลูกส่งหลานเข้าไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพกันส่วนมาก แต่วันนี้ก็ไม่ใช่แล้ว ความรู้กระจายอยู่ทุกที่ในประเทศนี้

สมัยนี้การพูดคำเมืองไม่น่ามีการดูถูกหรือเป็นที่ขบขัน มันน่าจะหมดไปแล้ว ในมุมกลับกันคนที่สามารถพูดได้ทั้งคำเมืองและภาษาไทยกลางได้ดีจะเป็นคนที่มีความสามารถมากกว่าคนอื่นเสียด้วยซ้ำ ภาคการท่องเที่ยวจะยืนยันจุดนี้ได้ชัดเจนครับ
จะเห็นว่าผมจะเน้นว่าต้องรู้ทั้งคำเมืองและไทยกลางนะครับ ไม่ใช่จะให้รู้แค่คำเมืองหรือไทยกลางเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
 
วันนี้ต่างกันแบบสลับขั้ว จากเมื่อก่อนคุณครู1คนต้องสอนเด็ก30-40คนให้พูด อ่าน เขียน ไทยให้ได้ แต่วันนี้เปลี่ยนเป็นคุณพ่อ คุณแม่ พี่ ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย ช่วยกันสอนเด็ก1คนให้รู้ภาษาถิ่นตั้งแต่เกิด ดูแล้วเป็นงานที่ง่ายกว่ากันเยอะครับ
สรุปอีกที เมื่อก่อนคนที่รู้ภาษาไทยกลางจะเป็นคนที่มีโอกาสมากกว่า มาวันนี้คนที่รู้ทั้งภาษาไทยกลางและภาษาถิ่นควรจะมีโอกาสที่มากกว่าเช่นกันครับ

ผิดถูกประการใดขออภัยด้วยเพราะเป็นความเห็นมาจากความรู้สึกส่วนตัวล้วนๆครับ ไม่มีวิชาการใดๆทั้งสิ้น


* กำเมือง.jpg (6.85 KB, 246x204 - ดู 268 ครั้ง.)

* .jpg (6.85 KB, 246x204 - ดู 259 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ลูกหล้าแม่อุ้ย
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 332



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 21 พฤษภาคม 2011, 18:25:45 »

ป๋อกะเมือง แม่กะเมือง ลูกสลิดอู้ไทบะ   โกรธ 
ถ้าเป็นจ๋ะอี้กะลูกกุย กะอั้น  ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ลูกหล้า
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 58



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 22 พฤษภาคม 2011, 11:49:39 »

ป้อก้อเมืองแม่ก้อเมืองจาใดบ่าอู้เมืองกับลูก...งืดขนาด
IP : บันทึกการเข้า
Yoshimura
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 95


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 25 พฤษภาคม 2011, 10:43:26 »

เป็นอี้ทุกจังหวัดของภาคเหนือตอบบนครับ บ้านผมอยู่พะเยา หลานสาวก็อู้ไทยกับพ่อแม่ ญาติ พี่น้องแต่ก็อู้เมืองได้ แต่บ่ค่อยอู้เมือง หวังไว้ในใจว่าถ้ามันใหญ่มามันคงคิดได้และหันมาอู้เมือง

ลูกคนที่ทำงานตวยกั๋นนี้ลูกเปิ้นก็อู้ไทย ถามว่าอู้เมืองได้ก่อ ละอ่อนก็บอกว่าอู้ได้ แต่ บ่ อู้ เพราะพ่อแม่(คนเมือง 100%) อู้ไทยกับลูก สงสัยว่าอู้ไทยแล้วมันทำหื้อคุณดูดี มี class มีฐานะขึ้นหรือเปล่า สงสัย ฮืมฮืมฮืม ฮืม
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!