เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 24 เมษายน 2024, 00:37:00
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  อยากจะขอประวัติเมืองแม่สะเรียง แบบระเอียดที่สุดเลยอ่ะคับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน อยากจะขอประวัติเมืองแม่สะเรียง แบบระเอียดที่สุดเลยอ่ะคับ  (อ่าน 4194 ครั้ง)
nagnarak
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2011, 00:50:44 »

คือต้องการประวัติเมืองแม่สะเรียงที่ละเอียดที่สุด และก็ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งำดับการปกครอง อิภิพลต่างๆ พอดีผมเรียน สถาปัตย์ แล้วต้องการข้อมูลมาอ้างอิง ผมกำลังจะย้ายสายไปเรียนผังเมือง ผมอยากให้ความรู้ที่มี มันช่วยเมืองที่ปู่ย่า ตาทวดผมอยู่อ่ะคับ ขอหน่อยนะคับ
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 25 เมษายน 2011, 23:29:29 »

ประวัติเมืองแม่สะเรียง

“เมืองแม่สะเรียง” ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยวม มีชื่อเรียกในประวัติศาสตร์ว่า “เมืองยวม” หรือ “เมืองยวมใต้” เป็นที่ตั้งชุมชนมาไม่น้อยกว่า 500 ปี เมืองยวมเคยเป็นถิ่นฐานอาศัยของชนเผ่าดั้งเดิม คือ ละว้า และ กะเหรี่ยง โดยเมืองยวมมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านของนครเชียงใหม่

ในสมัยราชวงศ์มังราย ท้าวลกกระทำความผิด ได้ถูกพระราชบิดา คือ พญาสามฝั่งแกน (พ.ศ.1945-1984) ปลดจากตำแหน่งเจ้าเมืองพร้าว (อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่) แล้วเนรเทศให้ไปปกครองเมืองยวมใต้ที่อยู่ห่างไกล อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ.1984 ท้าวลกได้ร่วมกับขุนนางเชียงใหม่ชื่อ “นายสามเด็กย้อย” ก่อรัฐประหารโค่นล้มพญาสามฝั่งแกน พระองค์ยอมมอบราชสมบัติให้แก่ท้าวลก ซึ่งขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์มังราย พระนามว่า “พระเจ้าติโลกราช”

เมืองยวมได้กลายเป็นเมืองร้างในราวปี พ.ศ.2317-2330 ต่อมา ในสมัยพระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ.2325-2356) ได้มีการฟื้นฟูเมืองยวม และสร้างชุมชนใหม่ขึ้นอีกชุมชนหนึ่งเรียกว่า “เวียงใหม่” ปัจจุบัน เมืองยวมเก่ามีสภาพเป็นทุ่งนาและถูกแม่น้ำกัดเซาะทำลาย แต่ยังคงเห็นแนวคันดินและคูเมืองเก่าอยู่

เส้นทางเข้าสู่ชุมชนโบราณเมืองยวม หรือ เวียงยวมใต้ ให้เดินทางจากถนนสายแม่สะเรียง-เชียงใหม่ แยกที่บ้านจอมแจ้งด้านทิศใต้หรือซ้ายมือ ไปตามถนนสายแม่สะเรียง-สบเมย ประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงบ้านทุ่งพร้าว หลังจากนั้นแยกไปทางด้านขวามือ ด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ไปตามทางเกวียน 200 เมตร ถึงที่ตั้งชุมชนโบราณเมืองยวม

ขณะเดียวกันชุมชน “เวียงใหม่” ที่อยู่ทางเหนือ ได้พัฒนามาเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญในลุ่มน้ำยวม กระทั่งปี พ.ศ.2443 ทางราชการได้ยกฐานะเมืองยวมขึ้นเป็นอำเภอเรียกชื่อว่า “อำเภอเมืองยวม” โดยมีศูนย์ราชการอยู่ที่เวียงใหม่ นายอำเภอเมืองยวมคนแรก คือ ขุนชำนาญธนานุรักษ์ (สวัสดิ์ ชลัย) เวลาต่อมาทางการได้พิจารณาเห็นว่าชื่ออำเภอเมืองยวมนั้นไปพ้องกับอำเภอขุนยวม ซึ่งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอแม่สะเรียง” ตามชื่อของแม่น้ำแม่สะเรียงที่ไหลผ่านเมืองอีกสายหนึ่ง

ช่วงเวลาที่ผ่านมาอำเภอแม่สะเรียงมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองดังนี้
พ.ศ.2491 แยกพื้นที่ตำบลท่าสองยางมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอท่าสองยาง และโอนให้มาขึ้นกับอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ต่อมา ได้ยกฐานะเป็นอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
พ.ศ.2507 แยกพื้นที่ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง มารวมกับตำบลแม่ลาหลวง อำเภอขุนยวม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่ลาน้อย ปัจจุบัน คือ อำเภอแม่ลาน้อย
พ.ศ.2527 แยกพื้นที่ตำบลสบเมย ตำบลแม่คะตวน ตำบลป่าโป่ง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอสบเมย

บุคคลสำคัญของเมืองแม่สะเรียง

หมื่นด้ามพร้าคต
“หมื่นด้ามพร้าคต” หรือ “สีหโคตรเสนาบดี” สถาปนิกและนายช่างเอกของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.1984-2030) โดยในปี พ.ศ.2022 พระองค์รับสั่งให้หมื่นด้ามพร้าคตเดินทางไปอินเดียภาคเหนือสมัยสุลต่านบาห์ลุล โลดี (พ.ศ.1994-2032) และทำการถอดแบบเจดีย์มหาโพธิ์ที่พุทธคยามาสร้างเป็นเจดีย์เจ็ดยอดที่วัดมหาโพธาราม (เจ็ดยอด) นครเชียงใหม่

นอกจากนี้ หมื่นด้ามพร้าคตยังนั่งเรือไปเมืองอนุราธปุระ เกาะลังกา ในสมัยพระเจ้าภูวเนกพาหุที่ 6 (พ.ศ.2015/2016-2023/2024) เพื่อถอดแบบโลหะปราสาทและรัตนปราสาทมาบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์หลวงกลางนครเชียงใหม่

ด้านประติมากรรม ในปี พ.ศ.2027 พระเจ้าติโลกราชรับสั่งให้หมื่นด้ำพร้าคตร่วมกับหมื่นด้ามพร้าอ้าย (อาณากิจจาธิบดีมหาอำมาตย์) ทำการหล่อพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ ณ วัดป่าตาลมหาวิหาร ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของนครเชียงใหม่ (บ้างว่าคือ “วัดตโปทาราม” หรือ “วัดร่ำเปิง” บ้างว่าเป็นวัดร้างทิศใต้ของโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ)

พระพุทธรูปที่หล่อมีหน้าตักกว้าง 94 นิ้ว สูง 112 นิ้ว หนัก 33 แสน (3,960 กิโลกรัม) ลักษณะพิเศษคือ พระชงฆ์ (แข้ง) เป็นสันขึ้น ชาวบ้านจึงเรียกว่า “พระเจ้าแข้งคม” ชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวถึงพระเจ้าแข้งคมว่า มีพุทธลักษณะแบบลวปุระ และขนานนามว่า “พระกัมโพชปฏิมา” ปัจจุบัน พระเจ้าแข้งคมประดิษฐานอยู่ภายในวิหารวัดศรีเกิด นครเชียงใหม่

เมื่อหมื่นด้ามพร้าคตถึงแก่อนิจกรรม พระเจ้าติโลกราชให้ ฌาปนกิจ ณ เมืองยวมใต้  แล้วให้ก่อเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ที่เมืองนั้น ในเวลาต่อมา เพื่อเป็นเกียรติแก่สล่าเอกชาวล้านนา ปัจจุบัน จึงมีการตั้งชื่อถนนสายหนึ่งในนครเชียงใหม่ว่า “ถนนหมื่นด้ามพร้าคต” ให้อนุชนรุ่นหลังระลึกถึงผลงานของท่าน

เทพสิงห์
“เทพสิงห์” วีรบุรุษแห่งเมืองยวม ผู้นำกำลังพลขับไล่พม่าออกไปจากนครเชียงใหม่ได้สำเร็จในปี พ.ศ.2270 และได้ครองเมืองเชียงใหม่ช่วงสั้นๆ ก่อนจะถูกโค่นล้มโดย “องค์คำ” ซึ่งเป็นอีกกลุ่มที่ต่อต้านพม่า


* MapMaeSaRieng01.gif (27.29 KB, 541x679 - ดู 3838 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 27 เมษายน 2011, 18:32:27 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 25 เมษายน 2011, 23:34:32 »

พัฒนาการด้านต่างๆของอำเภอแม่สะเรียง

ด้านการศึกษา

แต่เดิมอำเภอแม่สะเรียงไม่มีโรงเรียน ครูและนักเรียนต้องอาศัยศาลาวัดจองสูงเป็นสถานที่ทำการเรียนการสอน กระทั่ง พ.ศ.2472 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เสนาบดีกระทรวงมหาไทย ได้เสด็จพระพาสตรวจราชการมณฑลพายัพ เมื่อเสด็จถึงอำเภอแม่สะเรียง ได้มาประชุมข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนในท้องถิ่นแม่สะเรียง ขอความร่วมมือช่วยกันสร้างโรงเรียนเป็นอาคารถาวรขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลการศึกษาแก่กุลบุตรกุลธิดาของอำเภอแม่สะเรียง โดยพระองค์ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งเพื่อสมทบทุนในการสร้างโรงเรียนนี้ บรรดาข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวอำเภอแม่สะเรียงได้รับรองที่จะร่วมมือกันสร้างโรงเรียนให้สำเร็จโดยตามพระประสงค์ พระองค์ได้พระราชทานนามโรงเรียนประชาตำบลแม่สะเรียงที่สร้างขึ้นใหม่ คือ

โรงเรียนประชาบาลตำบล 1 เป็นโรงเรียนชายชื่อ โรงเรียนแม่สะเรียงบริพัตรศึกษา
โรงเรียนประชาบาลตำบล 2 เป็นโรงเรียนหญิงชื่อ โรงเรียนสุขุมพันธุ์วิทยา

พ.ศ.2473 นายจำรัส สุดจินต์ ศึกษาธิการอำเภอแม่สะเรียง ได้ดำเนินการติดต่อกับพ่อค้า ประชาชนตามที่ได้รับรองกับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจไว้ จึงมีผู้จิตศรัทธาร่วมมือกันเสียสระทุนทรัพย์คนละเล็กคนละน้อยสมทบกับ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจพระราชทานไว้ สร้างอาคารได้หลังหนึ่ง สำหรับเป็นโรงเรียนชายใช้ ชื่อว่า “โรงเรียนแม่สะเรียงบริพัตรศึกษา” นางบุญพิณ ทองสวัสดิ์ กับนายซุนไซ้ ทองสวัสดิ์ ได้ออกเงินสร้างอาคารหลังหนึ่ง สำหรับเป็นโรงเรียนหญิงได้ชื่อว่า “โรงเรียนสุขุมพันธุ์วิทยา”

อนึ่ง โรงเรียนบริพัตรศึกษานี้ นายจำรัส สุดจินต์ เริ่มเก็บเงิน ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2473 เป็นต้นมา และได้ดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2474 สำเร็จ บริบูรณ์ใน พ.ศ.2475 สมัยหลวงพรภรรการ(พร อรุณฤกษ์) เป็นนายอำเภอ แม่ะเรียง ต่อมาวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2476 ได้เปิดอาคารโรงเรียนประชาบาลตำบลแม่สะเรียง (บริพัตรศึกษา)และโรงเรียนโรงเรียนประชาบาลตำบล 2 (สุขุมพันธุ์วิทยา) มีนายเอื่ยม ศิริบุญมา เป็นครูใหญ่ โดยจัดขั้นการศึกษาเป็นประถมปีที่ 1-2-3-4-5-6 ทั้งโรงเรียนชายและโรงเรียนหญิง

ที่มา
http://www.mbs04.ob.tc/10.html

ด้านการศาล

ในปี พ.ศ. 2478 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงหัวเมืองขึ้น ซึ่งมีศาลแขวงแม่สะเรียง (แม่ฮ่องสอน) รวมอยู่ด้วย โดยมีวัตถุประสงค์ว่าต้องเป็นอำเภอที่อยู่ห่างไกลกับที่ตั้งของจังหวัด การคมนาคมไม่สะดวกต้องเดินทางด้วยเท้าถึง 8 วัน และต้องมีคดีเกิดขึ้นในท้องที่ การตั้งศาลแขวงแม่สะเรียง ศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้จัดส่งรองจ่าศาลมาประจำอยู่ที่อำเภอแม่สะเรียง ทำหน้าที่เป็นพนักงานรับฟ้อง ผู้พิพากษาศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอนต้องมาทำการพิจารณาพิพากษาคดีปีละ 3 ครั้ง มีเขตอำเภอศาลครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง อำเภอท่าสองยาง และได้เปิดดำเนินการชำระอรรถคดีขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 โดยชั้นแรกสถานที่ทำการของศาลแขวงแม่สะเรียงยังไม่มีเป็นสัดส่วนต้องอาศัยที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง (เมืองยวม) ทำงานไปพลางก่อน ส่วนที่พักผู้พิพากษา ที่พักจ่าศาลต้องหาเช่าเอาเอง ภายหลังกระทรวงยุติธรรมได้จัดส่งหลวงสารสิทธิ์ประกาศ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอนมารักษาตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงอำเภอแม่สะเรียงชั่วคราว เพื่อทำการเปิดศาลแขวง ส่วนตำแหน่งจ่าศาล เสมียน นักการ ทางกระทรวงจะจัดส่งมาจากกรุงเทพฯ ศาลแขวงแม่สะเรียงจึงเปิดดำเนินการเรื่อยมา และได้พัฒนามาเป็น “ศาลจังหวัดแม่สะเรียง” ในปัจจุบัน

ที่มา
http://www.museum.coj.go.th/court/sareung.html
IP : บันทึกการเข้า
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 26 เมษายน 2011, 02:24:52 »

ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
nagnarak
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 26 เมษายน 2011, 23:59:06 »

ขอบคุณมากๆเลยนะคับ แบบว่าเป็นประโยชน์จ้าด นักเลยคับ
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 30 เมษายน 2011, 09:54:57 »

two tumps up
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!