เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 20:58:46
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  ข้อคิดและบทเรียนรื้อโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9 10 พิมพ์
ผู้เขียน ข้อคิดและบทเรียนรื้อโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย  (อ่าน 36613 ครั้ง)
GEN-Z
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,100


« เมื่อ: วันที่ 16 เมษายน 2011, 07:59:53 »


ท่ามกลางข่าวที่มีผู้แจ้งมายังสมาคมสถาปนิกสยามฯ เรื่องคริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย จะทำการรื้ออาคารโบสถ์ (พระวิหาร) เก่าอายุ 97 ปี หลังวันที่ 24 เมษายน ศกนี้ เพื่อสร้างพระวิหารหลังใหม่ฉลองวาระครบรอบ 100 ปีในอีก 3 ปีต่อจากนี้ไป และเพื่อให้เหมาะสมต่อความต้องการรองรับคนที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 300 คน เป็น 1,000 คน รวมทั้งอ้างถึงความชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจซ่อมแซมได้ต่อไปแล้ว ทั้งที่เมื่อ 2 ปีก่อนกรมศิลปากรได้เคยเข้าไปตรวจสอบแล้วมีความเห็นสรุปว่า “...สามารถดำเนินการอนุรักษ์ โดยเสริมความมั่นคงด้วยการเพิ่มเสาและฐานรากเพื่อรับน้ำหนักโครงหลังคา และตัดความชื้นที่ผนัง ตลอดจนปรับซ่อมอาคารให้มีความมั่นคงยืนยาวต่อไปได้”

ข่าวล่าสุดได้ยืนยันว่าโครงสร้างโบสถ์เก่าหลังนี้ยังสามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวขนาด 6.7 ริคเตอร์ที่มีศูนย์กลางอยู่ในพม่า เมื่อ 24 มีนาคม ที่เพิ่งผ่านไปได้อย่างมั่นคง โดยปรากฏความเสียหายเพียงรอยร้าวของผิวปูนใหม่ที่กะเทาะจากการซ่อมแซมผิดวิธีในอดีตเท่านั้น

คุณค่าของโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย

ตามประวัติโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงรายหลังนี้ สร้างด้วยเงินบริจาคของคณะเพรสไบทีเรียนมิชชัน แห่งสหรัฐอเมริกาบนที่ดินบริเวณประตูสลี ใช้เวลาในการปรับพื้นที่เตรียมการและก่อสร้างราว 4 ปี จึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1914 ผู้อำนวยการสร้างโบสถ์หลังนี้คือนายแพทย์วิลเลี่ยม เอ. บริกส์ (William A. Briggs) มิชชันนารีคนสำคัญที่ทำประโยชน์ให้แก่เมืองเชียงรายมากมาย เช่น การก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค โรงเรียนและบ้านพักมิชชันนารี ตลอดจนศาลากลางและเรือนจำประจำจังหวัดเชียงราย ซึ่งหากพิจารณารายชื่อผู้เกี่ยวข้องท่านอื่น ๆ ที่ถูกบันทึกไว้อย่างละเอียดตั้งแต่หัวหน้าควบคุมงานก่อสร้างไปจนถึงลูกมือช่างปูน ก็อาจพบได้ว่าชั้นลูกหลานของหลายท่านที่ถูกระบุชื่อไว้ ยังคงมีส่วนร่วมดูแลคริสตจักรแห่งนี้เสมอมา หลังจากบรรพบุรุษได้อุทิศแรงกายแรงใจในการก่อสร้างโบสถ์หลังนี้ขึ้นมาด้วยความอุตสาหะ

โบสถ์หลังนี้ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อสิ้นสุดมหาสงครามเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2) ราวปี ค.ศ. 1946 หลังชำรุดทรุดโทรมเนื่องจากถูกยึดใช้เป็นส่วนหนึ่งของเขตทหารที่มาตั้งมั่นอยู่ในเมืองเชียงราย และพวกมิชชันนารีจำต้องออกนอกประเทศไทย เหตุการณ์ช่วงสงครามนั้นนับเป็นเวลายากลำบากสำหรับเหล่าคริสเตียนในการหาพื้นที่สำหรับนมัสการพระผู้เป็นเจ้า ด้วยต้องคอยหลบซ่อนกระทำการตามบ้านพักของสมาชิก เพราะทางการเข้มงวดเรื่องการประชุม เพื่อป้องกันการก่อเหตุร้ายและจารกรรม เมื่อเสร็จสงครามจึงยินดีกันยิ่งนักที่ได้กลับมาใช้โบสถ์นี้เป็นที่นมัสการอีกครั้ง

ลักษณะสถาปัตยกรรมของโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย

โบสถ์นี้มีแผนผังอาคารเป็นรูปกางเขน (Latin Cross) แบ่งการใช้งานเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนห้องโถงหลัก (Nave) สำหรับประกอบพิธีกรรม มีความยาวตลอดทางเข้าด้านหน้าถึงแท่นบูชา (Altar) ส่วนปีกทั้งสองข้างของอาคาร (Transept) ทำเป็นชั้นลอย ที่ใต้แนวพื้นชั้นลอยนี้ทำอาเขต (Arcade) เป็นซุ้มโค้งก่ออิฐถือปูนข้างละ 3 ซุ้ม ทำหน้าที่ช่วยถ่ายน้ำหนักพื้นชั้นลอยลงสู่ฐานอาคาร ซึ่งรับกันดีกับซุ้มโค้งของช่องแสงเหนือประตูและหน้าต่างของอาคาร ส่วนห้องท้ายโบสถ์ซึ่งมีหลังคาลดระดับต่ำกว่าห้องโถงหลักเคยใช้เป็นห้องเรียนพระคัมภีร์สำหรับเด็ก ๆ โครงสร้างของอาคารโดยทั่วไปเป็นระบบกำแพงรับน้ำหนัก (Bearing wall) ที่ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่กว่าอิฐปกติทั่วไป ที่เชิงผนังด้านซ้ายภายนอกอาคารติดแผ่นศิลาสลักหมายเลข 1914 ทั้งเลขไทยและอารบิค (หมายถึงปี ค.ศ. ที่สร้างโบสถ์นี้สำเร็จ) ที่มุขด้านหน้าและด้านข้างก่อเป็นเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ 4 ต้นเพื่อรองรับแผงหน้าจั่วที่เป็นแผ่นไม้ตีซ้อนเกล็ด ตรงกลางของแผงหน้าจั่วทำช่องหน้าต่างปิดเปิดได้ และที่เหนือหลังคาทางเข้าด้านหน้ามีหอคอยโถงสี่เหลี่ยมสำหรับแขวนระฆังที่ใช้ประกอบพิธีกรรมของโบสถ์ หลังคาปัจจุบันเป็นโครงสร้างเหล็กมุงกระเบื้องว่าวซีเมนต์สีน้ำตาลแดง กลมกลืนกับสีน้ำตาลเข้มของแผ่นไม้ที่แผงหน้าจั่ว และตัดกับสีขาวของผนังปูนฉาบอย่างน่าดู โดยเฉพาะตรงกึ่งกลางด้านหน้าอาคารใต้หลังคาปีกนก มีป้ายในกรอบไม้ระบุชื่อคริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย ด้วยตัวอักษรแบบเก่าพร้อมสัญลักษณ์กางเขนสีแดงบนพื้นขาว ให้ความรู้สึกสง่างามแบบเรียบง่าย

โบสถ์นี้มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและเทคนิคการก่อสร้างใกล้เคียงกับอาคารหลังแรกของโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค (ปัจจุบันใช้เป็นอาคารอำนวยการ) ที่ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล (Colonial Style) โดยต่างมีจุดเด่นที่หอระฆังด้านหน้าอาคาร (Bell Tower)

ปัจจุบันโบสถ์เก่าหลังนี้ยังไม่ได้รับการซ่อมบำรุงให้พ้นจากความเสื่อมโทรม ระฆังที่เคยแขวนอยู่บนหอคอยได้ถูกย้ายลงมาไว้ในซุ้มเล็กที่สร้างใหม่ด้านข้างอาคาร ฝ้าเพดานยิปซัมภายในชำรุดหลุดร่วง เพราะความชื้นจากน้ำฝนที่รั่วเข้ามาตามแผ่นกระเบื้อง ส่วนผนังมีรอยกะเทาะของปูนฉาบเป็นแนวเสมอกัน สาเหตุน่าจะมาจากแผ่นหินอ่อนที่กรุเชิงผนังภายในปิดกั้นการระบายความชื้นที่ขึ้นมาจากใต้ดิน ประกอบกับปูนซีเมนต์ที่ใช้ฉาบซ่อมในสมัยหลังไม่มีรูพรุนให้ระบายความชื้นได้ดีเหมือนผิวปูนเดิม วงกบประตูหน้าต่างบางส่วนเปื่อยผุจากการกัดกินของปลวกและมอดไม้

แต่ความเสียหายทั้งหมดนี้ยังอยู่ในวิสัยที่จะซ่อมแซมได้ตามหลักวิชาการ ยกเว้นแต่ว่าประโยชน์ใช้สอยที่เปลี่ยนแปลงไปจะเป็นเงื่อนไขหลักของการรื้อสร้างใหม่

ทางออกของการคงอยู่ของโบสถ์หลังนี้ เป็นไปได้ว่า หากทางคริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย ยังสามารถปรับกลยุทธ์จากการเรี่ยไรระดมทุนเพื่อสร้างอาคารหลังใหม่ เปลี่ยนเป็นการศึกษาความเป็นไปได้เพื่ออนุรักษ์และปรับปรุง เชื่อว่าก็ย่อมต้องได้รับการสนับสนุนจากสมาชิก ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่เห็นในคุณค่าและประสงค์จะมีส่วนร่วมช่วยเหลือ โดยทุนที่ได้มานั้นส่วนหนึ่งจำเป็นต้องเจียดไปจ้างผู้เชี่ยวชาญมาทำการสำรวจและออกแบบการอนุรักษ์และปรับปรุง เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสม และอาจมีการทำประชาพิจารณ์เพื่อหาข้อสรุปที่เหมาะสมที่สุดจากสมาชิกและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เมื่อถึงเวลานั้นหากคำตอบที่ได้คือหมดหนทางในการซ่อมแซมแล้ว การรื้อเพื่อสร้างใหม่จึงสมควรเป็นทางออกสุดท้าย แต่ก่อนรื้อถอนควรต้องมีการจัดทำรายงานบันทึกข้อมูลอาคารเดิมไว้ให้ครบถ้วนมากที่สุด เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา ซึ่งวิธีการสำรวจรังวัดและเขียนแบบ VERNADOC โดยนักศึกษาและสถาปนิกอาสาสมัครก็อาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถกระทำได้

เพื่อให้วาระสุดท้ายของโบสถ์เก่าหลังนี้ได้กระทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ด้วยการให้ความรู้แก่ผู้ที่อาวรณ์ในคุณค่าทางศิลปะสถาปัตย กรรมยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เมืองเชียงรายสืบไป.

.................

กรณีศึกษาเรื่องการอนุรักษ์โบสถ์เก่า

เกาหลี : อนุรักษ์ทั้งย่านไม่เฉพาะแต่อาคาร

โบสถ์ชองดง (อายุ 113 ปี) เป็นโบสถ์เรียบง่ายแบบวิคตอเรียนโกธิค สร้างด้วยอิฐแดง ตั้งอยู่ในถิ่นพำนักอาศัยของชาวต่างชาติที่เรียกว่าย่านชอง-ดง ย่านนี้เป็นเส้นทางเดินชมมรดกสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกที่น่าสนใจย่านหนึ่งในกรุงโซล ซึ่งสถาปนิกหญิง โช อิน-ซุก (Cho In-souk) และ มร.โรเบิร์ต โคห์เล่อร์ (Robert Koehler) นักเขียนชาวอเมริกัน ได้คัดสรรไว้ในหนังสือชื่อ Seoul’s Historic Walks นับเป็นตัวอย่างที่ดีของการอนุรักษ์ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของเจ้าของอาคาร นักวิชาการ และหน่วยงานราชการ โดยผู้ที่มาเยี่ยมเยือนจะได้สัมผัสบรรยากาศและสถาปัตยกรรมเกาหลียุคเปิดประเทศเมื่อร้อยปีเศษที่ผ่านมา โบสถ์นี้นับเป็นสัญลักษณ์สำคัญของยุคแรกที่ชาวอเมริกันเข้ามามีอิทธิพลในเกาหลี สร้างในปี ค.ศ. 1898 และถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นในปี ค.ศ. 1926 การเปลี่ยนรูปแบบจากแบบดั้งเดิมไปเล็กน้อย ทำให้อาคารหลังนี้เป็นตัวอย่างของโบสถ์โปรเตสแตนต์ยุคแรกที่โดดเด่นของเกาหลี และอันที่จริงโบสถ์นี้ยังเป็นสักการะสถานตามแบบตะวันตกที่เก่าแก่ที่สุดของเกาหลีอีกด้วย

สวีเดน : สงวนรักษาไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ภาคภูมิ

โบสถ์โอสมาร์ค เมืองทอร์สบี (อายุ 246 ปี) เป็นโบสถ์คริสต์นิกายลูเธอรัน ของชุมชนสวีดิชเชื้อสายฟินน์ที่บรรพบุรุษอพยพจากฟินแลนด์เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในประเทศสวีเดนตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี สร้างเมื่อ ปี ค.ศ. 1765 มีการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อประมาณ 75 ปีที่แล้ว ในปีที่ผ่านมา ค.ศ. 2010 ได้มีการสำรวจรังวัดและเขียนแบบด้วยวิธี VERNADOC (Vernacular Documentation) โดยสถาปนิกและนักศึกษาอาสาสมัครจากประเทศฟินแลนด์ ไทย จีน และอียิปต์ ร่วมบันทึกคุณค่าของโบสถ์เพื่อการศึกษาทางวิชาการ ภายใต้การสนับสนุนจาก ICOMOS-CIAV (International Council on Monuments and Sites - International Committee of Vernacular Architecture) ในระหว่างกิจกรรมได้มีการบรรยายพิเศษจากชาวบ้านเกี่ยวกับประวัติชุมชนและโบสถ์ผ่านภาพถ่ายเก่า ตลอดจนเกร็ดชีวิตของบรรพบุรุษที่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโบสถ์แห่งนี้มาบอกเล่าให้แก่ผู้ร่วมโครงการจากนานาชาติด้วยความภาคภูมิใจ



โบสถ์คริสตจักรที่ 1 สำเหร่ กรุงเทพฯ (อายุ 101 ปี) คริสตจักรแห่งแรกของมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรส ไบทีเรียนซึ่งเดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในประเทศ ไทยเมื่อปี ค.ศ. 1840 พระวิหารหลังแรกสร้างในปี ค.ศ. 1860 ถูกรื้อสร้างใหม่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นในปี ค.ศ. 1910 ในรูปแบบที่ใกล้เคียงของเดิม พระวิหารหลังปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมดูแลด้วยกำลังของสมาชิกของโบสถ์มาโดยตลอด

โบสถ์คริสตจักรตรัง (อายุ 96 ปี) สร้างในปี ค.ศ. 1915 มีการซ่อมแซมพระวิหารหลังเดิมเป็นระยะมาโดยตลอด เมื่อมีผู้รับเชื่อเพิ่มมากขึ้น ได้สร้างอาคารนมัสการหลังใหม่ในพื้นที่ใกล้เคียงใน ค.ศ. 1990 โดยยังคงเก็บพระวิหารหลังเก่าไว้ และใช้ระบบโทรทัศน์วงจรปิดถ่ายทอดการประกอบพิธีกรรมไปยังอาคารนมัสการหลังใหม่.

จากเดลินิวส์   http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=494&contentId=133009


* p10bost.jpg (47.82 KB, 260x347 - ดู 3676 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 16 เมษายน 2011, 08:05:15 »

ขอคัดค้านครับ
ทางออกมีเยอะแยะ
 ฮืม ฮืม ฮืม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
JooK Freeway
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,291


Freeway.ChiangRai Thailand.


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 16 เมษายน 2011, 08:09:45 »

ทางออกมีมากมาย ดีกว่าจะรื้อทิ้งครับ น่าเสียดาย  ลังเล ลังเล ลังเล



* IMG_1960.jpg (292.83 KB, 900x615 - ดู 17720 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

D'tracker X 250.:2012. My Baby Blue.
Two wheel one heart world wide adventure.
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 16 เมษายน 2011, 09:06:50 »


ท่ามกลางข่าวที่มีผู้แจ้งมายังสมาคมสถาปนิกสยามฯ เรื่องคริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย จะทำการรื้ออาคารโบสถ์ (พระวิหาร) เก่าอายุ 97 ปี หลังวันที่ 24 เมษายน ศกนี้ เพื่อสร้างพระวิหารหลังใหม่ฉลองวาระครบรอบ 100 ปีในอีก 3 ปีต่อจากนี้ไป และเพื่อให้เหมาะสมต่อความต้องการรองรับคนที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 300 คน เป็น 1,000 คน รวมทั้งอ้างถึงความชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจซ่อมแซมได้ต่อไปแล้ว ทั้งที่เมื่อ 2 ปีก่อนกรมศิลปากรได้เคยเข้าไปตรวจสอบแล้วมีความเห็นสรุปว่า “...สามารถดำเนินการอนุรักษ์ โดยเสริมความมั่นคงด้วยการเพิ่มเสาและฐานรากเพื่อรับน้ำหนักโครงหลังคา และตัดความชื้นที่ผนัง ตลอดจนปรับซ่อมอาคารให้มีความมั่นคงยืนยาวต่อไปได้”

ข่าวล่าสุดได้ยืนยันว่าโครงสร้างโบสถ์เก่าหลังนี้ยังสามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวขนาด 6.7 ริคเตอร์ที่มีศูนย์กลางอยู่ในพม่า เมื่อ 24 มีนาคม ที่เพิ่งผ่านไปได้อย่างมั่นคง โดยปรากฏความเสียหายเพียงรอยร้าวของผิวปูนใหม่ที่กะเทาะจากการซ่อมแซมผิดวิธีในอดีตเท่านั้น

คุณค่าของโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย

ตามประวัติโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงรายหลังนี้ สร้างด้วยเงินบริจาคของคณะเพรสไบทีเรียนมิชชัน แห่งสหรัฐอเมริกาบนที่ดินบริเวณประตูสลี ใช้เวลาในการปรับพื้นที่เตรียมการและก่อสร้างราว 4 ปี จึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1914 ผู้อำนวยการสร้างโบสถ์หลังนี้คือนายแพทย์วิลเลี่ยม เอ. บริกส์ (William A. Briggs) มิชชันนารีคนสำคัญที่ทำประโยชน์ให้แก่เมืองเชียงรายมากมาย เช่น การก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค โรงเรียนและบ้านพักมิชชันนารี ตลอดจนศาลากลางและเรือนจำประจำจังหวัดเชียงราย ซึ่งหากพิจารณารายชื่อผู้เกี่ยวข้องท่านอื่น ๆ ที่ถูกบันทึกไว้อย่างละเอียดตั้งแต่หัวหน้าควบคุมงานก่อสร้างไปจนถึงลูกมือช่างปูน ก็อาจพบได้ว่าชั้นลูกหลานของหลายท่านที่ถูกระบุชื่อไว้ ยังคงมีส่วนร่วมดูแลคริสตจักรแห่งนี้เสมอมา หลังจากบรรพบุรุษได้อุทิศแรงกายแรงใจในการก่อสร้างโบสถ์หลังนี้ขึ้นมาด้วยความอุตสาหะ

โบสถ์หลังนี้ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อสิ้นสุดมหาสงครามเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2) ราวปี ค.ศ. 1946 หลังชำรุดทรุดโทรมเนื่องจากถูกยึดใช้เป็นส่วนหนึ่งของเขตทหารที่มาตั้งมั่นอยู่ในเมืองเชียงราย และพวกมิชชันนารีจำต้องออกนอกประเทศไทย เหตุการณ์ช่วงสงครามนั้นนับเป็นเวลายากลำบากสำหรับเหล่าคริสเตียนในการหาพื้นที่สำหรับนมัสการพระผู้เป็นเจ้า ด้วยต้องคอยหลบซ่อนกระทำการตามบ้านพักของสมาชิก เพราะทางการเข้มงวดเรื่องการประชุม เพื่อป้องกันการก่อเหตุร้ายและจารกรรม เมื่อเสร็จสงครามจึงยินดีกันยิ่งนักที่ได้กลับมาใช้โบสถ์นี้เป็นที่นมัสการอีกครั้ง

ลักษณะสถาปัตยกรรมของโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย

โบสถ์นี้มีแผนผังอาคารเป็นรูปกางเขน (Latin Cross) แบ่งการใช้งานเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนห้องโถงหลัก (Nave) สำหรับประกอบพิธีกรรม มีความยาวตลอดทางเข้าด้านหน้าถึงแท่นบูชา (Altar) ส่วนปีกทั้งสองข้างของอาคาร (Transept) ทำเป็นชั้นลอย ที่ใต้แนวพื้นชั้นลอยนี้ทำอาเขต (Arcade) เป็นซุ้มโค้งก่ออิฐถือปูนข้างละ 3 ซุ้ม ทำหน้าที่ช่วยถ่ายน้ำหนักพื้นชั้นลอยลงสู่ฐานอาคาร ซึ่งรับกันดีกับซุ้มโค้งของช่องแสงเหนือประตูและหน้าต่างของอาคาร ส่วนห้องท้ายโบสถ์ซึ่งมีหลังคาลดระดับต่ำกว่าห้องโถงหลักเคยใช้เป็นห้องเรียนพระคัมภีร์สำหรับเด็ก ๆ โครงสร้างของอาคารโดยทั่วไปเป็นระบบกำแพงรับน้ำหนัก (Bearing wall) ที่ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่กว่าอิฐปกติทั่วไป ที่เชิงผนังด้านซ้ายภายนอกอาคารติดแผ่นศิลาสลักหมายเลข 1914 ทั้งเลขไทยและอารบิค (หมายถึงปี ค.ศ. ที่สร้างโบสถ์นี้สำเร็จ) ที่มุขด้านหน้าและด้านข้างก่อเป็นเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ 4 ต้นเพื่อรองรับแผงหน้าจั่วที่เป็นแผ่นไม้ตีซ้อนเกล็ด ตรงกลางของแผงหน้าจั่วทำช่องหน้าต่างปิดเปิดได้ และที่เหนือหลังคาทางเข้าด้านหน้ามีหอคอยโถงสี่เหลี่ยมสำหรับแขวนระฆังที่ใช้ประกอบพิธีกรรมของโบสถ์ หลังคาปัจจุบันเป็นโครงสร้างเหล็กมุงกระเบื้องว่าวซีเมนต์สีน้ำตาลแดง กลมกลืนกับสีน้ำตาลเข้มของแผ่นไม้ที่แผงหน้าจั่ว และตัดกับสีขาวของผนังปูนฉาบอย่างน่าดู โดยเฉพาะตรงกึ่งกลางด้านหน้าอาคารใต้หลังคาปีกนก มีป้ายในกรอบไม้ระบุชื่อคริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย ด้วยตัวอักษรแบบเก่าพร้อมสัญลักษณ์กางเขนสีแดงบนพื้นขาว ให้ความรู้สึกสง่างามแบบเรียบง่าย

โบสถ์นี้มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและเทคนิคการก่อสร้างใกล้เคียงกับอาคารหลังแรกของโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค (ปัจจุบันใช้เป็นอาคารอำนวยการ) ที่ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล (Colonial Style) โดยต่างมีจุดเด่นที่หอระฆังด้านหน้าอาคาร (Bell Tower)

ปัจจุบันโบสถ์เก่าหลังนี้ยังไม่ได้รับการซ่อมบำรุงให้พ้นจากความเสื่อมโทรม ระฆังที่เคยแขวนอยู่บนหอคอยได้ถูกย้ายลงมาไว้ในซุ้มเล็กที่สร้างใหม่ด้านข้างอาคาร ฝ้าเพดานยิปซัมภายในชำรุดหลุดร่วง เพราะความชื้นจากน้ำฝนที่รั่วเข้ามาตามแผ่นกระเบื้อง ส่วนผนังมีรอยกะเทาะของปูนฉาบเป็นแนวเสมอกัน สาเหตุน่าจะมาจากแผ่นหินอ่อนที่กรุเชิงผนังภายในปิดกั้นการระบายความชื้นที่ขึ้นมาจากใต้ดิน ประกอบกับปูนซีเมนต์ที่ใช้ฉาบซ่อมในสมัยหลังไม่มีรูพรุนให้ระบายความชื้นได้ดีเหมือนผิวปูนเดิม วงกบประตูหน้าต่างบางส่วนเปื่อยผุจากการกัดกินของปลวกและมอดไม้

แต่ความเสียหายทั้งหมดนี้ยังอยู่ในวิสัยที่จะซ่อมแซมได้ตามหลักวิชาการ ยกเว้นแต่ว่าประโยชน์ใช้สอยที่เปลี่ยนแปลงไปจะเป็นเงื่อนไขหลักของการรื้อสร้างใหม่

ทางออกของการคงอยู่ของโบสถ์หลังนี้ เป็นไปได้ว่า หากทางคริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย ยังสามารถปรับกลยุทธ์จากการเรี่ยไรระดมทุนเพื่อสร้างอาคารหลังใหม่ เปลี่ยนเป็นการศึกษาความเป็นไปได้เพื่ออนุรักษ์และปรับปรุง เชื่อว่าก็ย่อมต้องได้รับการสนับสนุนจากสมาชิก ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่เห็นในคุณค่าและประสงค์จะมีส่วนร่วมช่วยเหลือ โดยทุนที่ได้มานั้นส่วนหนึ่งจำเป็นต้องเจียดไปจ้างผู้เชี่ยวชาญมาทำการสำรวจและออกแบบการอนุรักษ์และปรับปรุง เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสม และอาจมีการทำประชาพิจารณ์เพื่อหาข้อสรุปที่เหมาะสมที่สุดจากสมาชิกและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เมื่อถึงเวลานั้นหากคำตอบที่ได้คือหมดหนทางในการซ่อมแซมแล้ว การรื้อเพื่อสร้างใหม่จึงสมควรเป็นทางออกสุดท้าย แต่ก่อนรื้อถอนควรต้องมีการจัดทำรายงานบันทึกข้อมูลอาคารเดิมไว้ให้ครบถ้วนมากที่สุด เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา ซึ่งวิธีการสำรวจรังวัดและเขียนแบบ VERNADOC โดยนักศึกษาและสถาปนิกอาสาสมัครก็อาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถกระทำได้

เพื่อให้วาระสุดท้ายของโบสถ์เก่าหลังนี้ได้กระทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ด้วยการให้ความรู้แก่ผู้ที่อาวรณ์ในคุณค่าทางศิลปะสถาปัตย กรรมยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เมืองเชียงรายสืบไป.

.................

กรณีศึกษาเรื่องการอนุรักษ์โบสถ์เก่า

เกาหลี : อนุรักษ์ทั้งย่านไม่เฉพาะแต่อาคาร

โบสถ์ชองดง (อายุ 113 ปี) เป็นโบสถ์เรียบง่ายแบบวิคตอเรียนโกธิค สร้างด้วยอิฐแดง ตั้งอยู่ในถิ่นพำนักอาศัยของชาวต่างชาติที่เรียกว่าย่านชอง-ดง ย่านนี้เป็นเส้นทางเดินชมมรดกสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกที่น่าสนใจย่านหนึ่งในกรุงโซล ซึ่งสถาปนิกหญิง โช อิน-ซุก (Cho In-souk) และ มร.โรเบิร์ต โคห์เล่อร์ (Robert Koehler) นักเขียนชาวอเมริกัน ได้คัดสรรไว้ในหนังสือชื่อ Seoul’s Historic Walks นับเป็นตัวอย่างที่ดีของการอนุรักษ์ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของเจ้าของอาคาร นักวิชาการ และหน่วยงานราชการ โดยผู้ที่มาเยี่ยมเยือนจะได้สัมผัสบรรยากาศและสถาปัตยกรรมเกาหลียุคเปิดประเทศเมื่อร้อยปีเศษที่ผ่านมา โบสถ์นี้นับเป็นสัญลักษณ์สำคัญของยุคแรกที่ชาวอเมริกันเข้ามามีอิทธิพลในเกาหลี สร้างในปี ค.ศ. 1898 และถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นในปี ค.ศ. 1926 การเปลี่ยนรูปแบบจากแบบดั้งเดิมไปเล็กน้อย ทำให้อาคารหลังนี้เป็นตัวอย่างของโบสถ์โปรเตสแตนต์ยุคแรกที่โดดเด่นของเกาหลี และอันที่จริงโบสถ์นี้ยังเป็นสักการะสถานตามแบบตะวันตกที่เก่าแก่ที่สุดของเกาหลีอีกด้วย

สวีเดน : สงวนรักษาไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ภาคภูมิ

โบสถ์โอสมาร์ค เมืองทอร์สบี (อายุ 246 ปี) เป็นโบสถ์คริสต์นิกายลูเธอรัน ของชุมชนสวีดิชเชื้อสายฟินน์ที่บรรพบุรุษอพยพจากฟินแลนด์เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในประเทศสวีเดนตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี สร้างเมื่อ ปี ค.ศ. 1765 มีการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อประมาณ 75 ปีที่แล้ว ในปีที่ผ่านมา ค.ศ. 2010 ได้มีการสำรวจรังวัดและเขียนแบบด้วยวิธี VERNADOC (Vernacular Documentation) โดยสถาปนิกและนักศึกษาอาสาสมัครจากประเทศฟินแลนด์ ไทย จีน และอียิปต์ ร่วมบันทึกคุณค่าของโบสถ์เพื่อการศึกษาทางวิชาการ ภายใต้การสนับสนุนจาก ICOMOS-CIAV (International Council on Monuments and Sites - International Committee of Vernacular Architecture) ในระหว่างกิจกรรมได้มีการบรรยายพิเศษจากชาวบ้านเกี่ยวกับประวัติชุมชนและโบสถ์ผ่านภาพถ่ายเก่า ตลอดจนเกร็ดชีวิตของบรรพบุรุษที่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโบสถ์แห่งนี้มาบอกเล่าให้แก่ผู้ร่วมโครงการจากนานาชาติด้วยความภาคภูมิใจ



โบสถ์คริสตจักรที่ 1 สำเหร่ กรุงเทพฯ (อายุ 101 ปี) คริสตจักรแห่งแรกของมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรส ไบทีเรียนซึ่งเดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในประเทศ ไทยเมื่อปี ค.ศ. 1840 พระวิหารหลังแรกสร้างในปี ค.ศ. 1860 ถูกรื้อสร้างใหม่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นในปี ค.ศ. 1910 ในรูปแบบที่ใกล้เคียงของเดิม พระวิหารหลังปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมดูแลด้วยกำลังของสมาชิกของโบสถ์มาโดยตลอด

โบสถ์คริสตจักรตรัง (อายุ 96 ปี) สร้างในปี ค.ศ. 1915 มีการซ่อมแซมพระวิหารหลังเดิมเป็นระยะมาโดยตลอด เมื่อมีผู้รับเชื่อเพิ่มมากขึ้น ได้สร้างอาคารนมัสการหลังใหม่ในพื้นที่ใกล้เคียงใน ค.ศ. 1990 โดยยังคงเก็บพระวิหารหลังเก่าไว้ และใช้ระบบโทรทัศน์วงจรปิดถ่ายทอดการประกอบพิธีกรรมไปยังอาคารนมัสการหลังใหม่.

จากเดลินิวส์   http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=494&contentId=133009
เราไม่ใช่เจ้าของครับ
เพราะคนเชื่อพระเจ้ามีมากขึ้นครับ
(หลังจากลงทุนใช้รถแห่มานาน)
เลยเลือกที่จะทำลายมากกว่าอนุรักษ์
เพราะโดยนิสัยของฝรั่งแล้ว
ที่บ้านเขาเองจะเน้นอนุรักษ์มากกว่าทำลาย
(ความเห็นส่วนตัวนะครับ แม้ว่าไม่ใข่คนเชียงราย100% อนาคตใช่แน่นอน
อยากให้อนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานเฮาได้ดูดีกว่ามาทุบทิ้ง)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 เมษายน 2011, 11:58:31 โดย Ck401 » IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
ตะเกียบเดียวเฉี่ยว7ชิ้น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,181



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 16 เมษายน 2011, 09:20:57 »

เปิดพิจารณ์สาธารณะ  และทำเรื่องคัดค้านด่วน
มีเมื่อไหร่บอกกล่าวให้ทุกคนรับทราบ จะำ้ได้ไปช่วยๆกันครับ

ก่อนที่เมืองไทยจะไม่มีสิ่งดีๆ สิ่งที่มีคุณค่า
สิ่งที่เรียกว่าประวัติศาสตร์ให้ดูต่อไป

ผมว่า สมาชิกในโบสถ์นี้น่าจะมีหลายคน
ลองรวบรวมเงินหรือบริจาคหาที่ใหม่ๆนอกเมือง สร้างใหม่ก็น่าจะได้
จะเอาใหญ่แค่ไหนก็สร้างไป

อาคารหลังเก่าก็ทำเป็นพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาคริสต์ไป
เชียงรายก็ยังมีของสวยๆงามๆเก่าๆได้อวดคนที่อื่น

ยังไงพระเจ้าก็องค์เดิม คำสอนก็เล่มเดิมเหมือนกัน
จะอยู่ตรงไหนก็ไม่แปลก ถ้ามีความศัรทธา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 16 เมษายน 2011, 09:36:16 โดย ตะเกียบเดียวเฉี่ยว7ชิ้น » IP : บันทึกการเข้า
zombie01
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,519


ความสุขเกิดขึ้นได้ เพียงแต่รู้จักใช้ชีวิต


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 16 เมษายน 2011, 09:24:24 »

เสียดายครับ ประวัติยาวนาน น่าจะอนุรักษ์ไว้ โดยอาจจะสร้างเพิ่มเติมขึ้นให้กว้างขึ้นจะดีกว่าไหมครับ
IP : บันทึกการเข้า

เจ้าชายกระเพรา
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,334



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 16 เมษายน 2011, 09:49:44 »

คนเราทำไมไม่พอใจอะไรก็คิดแต่จะรื้อถอนสร้างใหม่

การบูรณะซ่อมแซมมันมีหลายวิธีที่ดีกว่านี้

อีกอย่างของเก่า ยังไงมันก็มีคุณค่านะครับ

ไม่อยากให้รื้อเลยครับ
IP : บันทึกการเข้า

NP Homemade Bakery ทุกคำ ทุกความอร่อย กลั่นมาจากใจ การันตีคุณภาพ รสชาติ และการบริการระดับมืออาชีพ!!! โทร08-7575-6252
ta_bert
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 194


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 16 เมษายน 2011, 12:44:56 »

1. คุณจำกำแพงเมืองเชียงรายได้หรือไม่ ===  สำหรับผมเคยเห็นตอนสมัยเด็กมากๆ จำความแทบไม่ได้
2. คุณเคยเห็นสะพานข้ามแม่น้ำกกได้หรือไม่ === สำหรับผมเกิดไม่ทันครับ
 
โดยส่วนตัวเสียดายมากครับที่ไม่มีการอนุรักษ์ไว้ครับและไม่อยากให้เกิดกับโบสถ์คริสตจักรที่1 เวียงเชียงราย แต่ก็ได้แต่เฝ้าดูครับ
IP : บันทึกการเข้า
Krubandoi
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 99



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 16 เมษายน 2011, 15:50:38 »

1. คุณจำกำแพงเมืองเชียงรายได้หรือไม่ ===  สำหรับผมเคยเห็นตอนสมัยเด็กมากๆ จำความแทบไม่ได้
2. คุณเคยเห็นสะพานข้ามแม่น้ำกกได้หรือไม่ === สำหรับผมเกิดไม่ทันครับ
  
โดยส่วนตัวเสียดายมากครับที่ไม่มีการอนุรักษ์ไว้ครับและไม่อยากให้เกิดกับโบสถ์คริสตจักรที่1 เวียงเชียงราย แต่ก็ได้แต่เฝ้าดูครับ

เสียดายคูเมืองด้วยครับ ถมทำถนนเกือบหมด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 16 เมษายน 2011, 17:03:39 โดย Krubandoi » IP : บันทึกการเข้า
Namdang
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 16 เมษายน 2011, 16:15:48 »

คำสั่งศาลปกครอง เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
มีึคำสั่งให้ยกฟ้อง ของคริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย ที่ยื่นฟ้องต่อศาล เพื่อขอคัดค้าน
การอนุรักษ์ หมายความว่า ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้รื้อถอนใด ๆ ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ กรมศิลปากรที่ 8  เชียงใหม่ กำลังยื่นเรื่องโดยด่วนที่สุด
ถึงอธิบดีกรมศิลปากร ให้ลงชื่อ ขึ้นเป็นโบราณสถานต่อไปครับ
คำสั่ง ศาลปกครองยังอยู่ที่ผมนี่ (สำเนา)
ผู้ใดรื้อถอน ทำลาย จะต้องถูกลงโทษ ทั้งทางแพ่ง และอาญา (ติดคุกอย่างเดียว) ครับ
IP : บันทึกการเข้า
DaKoObB
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 126



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 16 เมษายน 2011, 21:10:14 »

เห็นด้วยกับการอนุรักษ์ไว้ครับ โบราณสถานเก่าแก่และมีคุณค่าไม่ได้สร้างขึ้นมาปีสองปี ควรแก่การอนุรักษ์ ถึงแม้ไม่ได้เป็นพุทธสถาน แต่ก็เป็นที่ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงรายมาช้านาน ผมเห็นมาตั้งแต่เด็ก พอเห็นป้ายจะรื้อสร้างใหม่ยังหดหู่เลยครับ ทุกวันนี้ในตัวเมืองเชียงรายเหลือโบราณสถานที่เก่าแก่อยู่ไม่มาก เก็บไว้ให้เป็นมรดกให้คนรุ่นต่อๆไปได้เห็นว่าเมืองนี้เคยเป็นเมืองเก่ามาก่อนเถอะครับ ไม่ใช่มีแต่สถาปัตยกรรมใหม่ๆ ตึกใหม่ๆ ไม่อย่างงั้นประวัติศาสตร์ของเราคงเหลือแต่เพียงในตำรานะครับ
IP : บันทึกการเข้า
Vanilla
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 337


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 16 เมษายน 2011, 23:30:47 »

รูปแบบสถาปัตยกรรมสวย classic ยังไม่เห็นในเชียงรายมีโบสถ์ไหนสวยแบบนี้ เก็บไว้เตอะเจ้า จะได้ไม่เสียใจทีหลัง
IP : บันทึกการเข้า
ฟาแลน
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 391


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 16 เมษายน 2011, 23:57:10 »

คำสั่งศาลปกครอง เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
มีึคำสั่งให้ยกฟ้อง ของคริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย ที่ยื่นฟ้องต่อศาล เพื่อขอคัดค้าน
การอนุรักษ์ หมายความว่า ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้รื้อถอนใด ๆ ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ กรมศิลปากรที่ 8  เชียงใหม่ กำลังยื่นเรื่องโดยด่วนที่สุด
ถึงอธิบดีกรมศิลปากร ให้ลงชื่อ ขึ้นเป็นโบราณสถานต่อไปครับ
คำสั่ง ศาลปกครองยังอยู่ที่ผมนี่ (สำเนา)
ผู้ใดรื้อถอน ทำลาย จะต้องถูกลงโทษ ทั้งทางแพ่ง และอาญา (ติดคุกอย่างเดียว) ครับ

ดีค่ะดี ถ้าเป็นดังท่านว่าไว้ เห็นขึ้นหัวกระทู้แล้วตกใจหมด น่าเสียดายนะคะ
ถ้ารื้อทิ้งแล้วสร้างใหม่ ทำไมไม่หาสถานที่ใหม่แล้วสร้างใหม่ละคะ โกรธ
IP : บันทึกการเข้า
Billy The Kid.
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 03:41:02 »

ผู้ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่ที่ผลักดันให้รื้อโบสถ์แล้วสร้างใหม่ มีไม่กี่คน ที่ชัดเจนมี

1. นพ.ปลื้ม ศุภปัญญา
2. นายเจริญ บุณยจันทรานนท์
3. นางเกศินี บุณยจันทรานนท์
4. ศาสนาจารย์ บุญส่ง แดงเรือน
5. นายทนง ทัชชนะพงค์

ฯลฯ
IP : บันทึกการเข้า
คร่อกฟี้
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 372


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 03:42:26 »

เชียงรายมีไรรื้อทิ้งหมดครับ กำแพงเมืองเก่าๆ สมัยเด็กๆผมเห็นอยู่ ดันรื้อทิ้งซะงั้น แล้วสร้างใหม่แทน (ตรงแถวห้าแยก) เอาอะไรคิดครับ ฮืม
IP : บันทึกการเข้า
O-L-Y-G-O-N
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 676


นานาจิตตัง


« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 07:52:22 »

ฮาเลลูยา อาเมน
IP : บันทึกการเข้า

จงเรียนรู้
ยายกรูซ่า ibank
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 52



« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 08:23:29 »

จะสร้างใหม่ ทำไมไม่ไปหาที่อื่น ฮืม ลงทุนเพิ่มอีก บ่กี่ล้าน ซื้อที่ดินใหม่เลย
IP : บันทึกการเข้า
คำปันเกย
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 846



« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2011, 12:18:20 »

จะสร้างใหม่ ทำไมไม่ไปหาที่อื่น ฮืม ลงทุนเพิ่มอีก บ่กี่ล้าน ซื้อที่ดินใหม่เลย

+1 เสียง
เคยเป็นกรณีวิพากย์ในพันทิปดอทคอม เมื่อ 2 ปีก่อน

เชียงราย มีร่องรอยประวัติศาสตร์เหลือน้อยมาก เศร้า เศร้า เศร้า เศร้า เศร้า
IP : บันทึกการเข้า

ของล้ำค่าสำหรับคนหนึ่งก็อาจเป็นสิ่งไร้ค่าสำหรับอีกคน หรือสิ่งไร้ค่าสำหรับคนหนึ่ง ก็อาจเป็นสิ่งล้ำค่าสำหรับอีกคนหนึ่งเช่นกัน
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2011, 00:56:49 »

ดันมาให้อ่านอีกรอบครับ

ไม่อยากให้ตกไป..

ช่วยกันอนุรักษ์ไว้
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
watthana009
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 105


« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2011, 05:03:59 »

บ้านหลังหนึ่ง เก่าๆ ชำรุด ทรุด โทรม จะพังทับหัววันไหนก็ไม่รู้ เจ้าของบ้านก็อยากสร้างใหม่ให้ตอบสนองการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไปมากในปัจจุบัน คนข้างบ้านไม่เคยมาอยู่ เดินผ่านไปมา แต่อยากให้บ้านเก่าๆ อยู่อย่างเดิม บอกว่าเก่าแหละดี สวย น่าอนุรักษ์ แต่ไม่เคยเข้าไปดู ไม่เคยเข้าไปช่วยบำรุงรักษา หญ้าสักเส้น ใยแมงมุมหยากใย่ ฝุ่นผง ไม่เคยช่วยเก็บกวาด เงินสักบาทไม่เคยช่วยสบทบซ่อมบำรุง เพิ่งจะมาคิดขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเอาตอนนี้ หลังขึ้นแล้วจะมีงบประมาณ มีเจ้าหน้าที่มาบูรณะ มาดูแลไหม หรือปล่อยให้ผุพังเหมือนโบราณสถานหลายๆแห่งที่ไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยวไม่มีรายได้จากนักท่องเที่ยว.....เลิกอยู่ข้างรั้วบ้านแล้ววุ่นวายกับเจ้าของบ้านให้เขาทำโน่นทำนี่ ตราบใดที่เรายังไม่มีส่วนในการช่วยเขาซ่อม ดูแล บ้าน อย่าเรียกร้องว่ามันมีคุณค่า ตราบใดที่เรายังไม่เคยให้คุณค่า.....แก่สิ่งใด 
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9 10 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!