เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 17 เมษายน 2024, 04:55:30
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  ข้อคิดและบทเรียนรื้อโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7 8 9 10 พิมพ์
ผู้เขียน ข้อคิดและบทเรียนรื้อโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย  (อ่าน 36637 ครั้ง)
humble~angel
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #40 เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2011, 12:53:01 »

มันจะล้มวันไหนบะรู้       เอาไว้ก็จะกลายเป็นโบราณสถานบะดาย จะเก็บไว้ฮื้อนักท่องเที่ยวไปถ่ายรูปก่ะคับ  ถ้ามันล้มลงมาล่ะ ใครจะรับผิดชอบ

 
เอาไว้นมัสการก็บะได้แน่นอน   แคบแล้ว(เทียบกับคริสจักรอื่นๆ)

 

สร้างใหม่ เต๊อะคับ  (ความคิดผมเอง  คริสต์เตียนด้วยกัน)



จะล้มได้อย่างไรคะ กรมศิลปากรได้ตรวจสอบแล้วมีความเห็นสรุปว่า สามารถปรับซ่อมอาคารให้มีความมั่นคงยืนยาวต่อไปได้ กอปรกับปัจจุบันInfarstructureและTechnology Informationได้เข้ามามีบทบาทอย่ากว้างขวาง สร้างโบสถ์ใหญ่ไว้รองรับใครคะ คุ้มค่ากับค่าก่อสร้างมหาศาลที่ระดมบริจาครึปล่าว เปิดใจเถอะค่ะ มองหลายๆด้านนะคะ การศึกษาหาความรู้จากนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญจะยังประโยชน์แก่พวกเราไม่น้อย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 24 เมษายน 2011, 08:47:04 โดย humble~angel » IP : บันทึกการเข้า
humble~angel
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #41 เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2011, 12:55:25 »

ในฐานะสมาชิก คจ.ที่ 1 ยังรักและผูกพันกับพระวิหารที่เคยมานมัสการตั้งแต่จำความได้จวบจนวันนี้ ดังนั้นหากสามารถอนุรักษ์และซ่อมให้พร้อมเข้ามานมัสการได้เหมือนเดิม ย่อมเป็นการดีกว่า เพราะสภาพปัจจุบันยังเพียงพอกับการร่วมนมัสการของสมาชิก ทุกครั้งที่เข้าโบสถ์ ความรู้สึกสงบ อบอุ่น และสันติสุขจะเต็มล้นอยู่ในหัวใจ เพียงข่าวคราวการรื้อถอนโบสถ์จะทำหลังวันที่ 24 เม.ย. พร้อมกับเลี้ยงมุทิตาจิต ศบ.อาวุโสที่ต่างรู้อยู่แก่ใจว่าเป็นการสิ้นสุดการใช้งานท่าน ท่านก็เป็นเหมือนกับพระวิหารเก่าที่จะถูกรื้อถอน  มีสมาชิกไม่น้อยแต่ไม่มีเสียงดังเพราะไร้ซึ่งอำนาจและเงินทองต่างก็รู้สึกเศร้าสลดและหดหู่ใจ เรามีแต่คำอธิษฐานวิงวอนของให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้า  เพราะพระเจ้ายิ่งใหญ่ที่สุดและเชื่อว่าไม่มีอำนาจใดที่ไม่ได้มาจากพระเจ้า
เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ (กดLike^^)
IP : บันทึกการเข้า
humble~angel
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #42 เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2011, 12:59:42 »


ท่ามกลางข่าวที่มีผู้แจ้งมายังสมาคมสถาปนิกสยามฯ เรื่องคริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย จะทำการรื้ออาคารโบสถ์ (พระวิหาร) เก่าอายุ 97 ปี หลังวันที่ 24 เมษายน ศกนี้ เพื่อสร้างพระวิหารหลังใหม่ฉลองวาระครบรอบ 100 ปีในอีก 3 ปีต่อจากนี้ไป และเพื่อให้เหมาะสมต่อความต้องการรองรับคนที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 300 คน เป็น 1,000 คน รวมทั้งอ้างถึงความชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจซ่อมแซมได้ต่อไปแล้ว ทั้งที่เมื่อ 2 ปีก่อนกรมศิลปากรได้เคยเข้าไปตรวจสอบแล้วมีความเห็นสรุปว่า “...สามารถดำเนินการอนุรักษ์ โดยเสริมความมั่นคงด้วยการเพิ่มเสาและฐานรากเพื่อรับน้ำหนักโครงหลังคา และตัดความชื้นที่ผนัง ตลอดจนปรับซ่อมอาคารให้มีความมั่นคงยืนยาวต่อไปได้”

ข่าวล่าสุดได้ยืนยันว่าโครงสร้างโบสถ์เก่าหลังนี้ยังสามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวขนาด 6.7 ริคเตอร์ที่มีศูนย์กลางอยู่ในพม่า เมื่อ 24 มีนาคม ที่เพิ่งผ่านไปได้อย่างมั่นคง โดยปรากฏความเสียหายเพียงรอยร้าวของผิวปูนใหม่ที่กะเทาะจากการซ่อมแซมผิดวิธีในอดีตเท่านั้น

คุณค่าของโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย

ตามประวัติโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงรายหลังนี้ สร้างด้วยเงินบริจาคของคณะเพรสไบทีเรียนมิชชัน แห่งสหรัฐอเมริกาบนที่ดินบริเวณประตูสลี ใช้เวลาในการปรับพื้นที่เตรียมการและก่อสร้างราว 4 ปี จึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1914 ผู้อำนวยการสร้างโบสถ์หลังนี้คือนายแพทย์วิลเลี่ยม เอ. บริกส์ (William A. Briggs) มิชชันนารีคนสำคัญที่ทำประโยชน์ให้แก่เมืองเชียงรายมากมาย เช่น การก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค โรงเรียนและบ้านพักมิชชันนารี ตลอดจนศาลากลางและเรือนจำประจำจังหวัดเชียงราย ซึ่งหากพิจารณารายชื่อผู้เกี่ยวข้องท่านอื่น ๆ ที่ถูกบันทึกไว้อย่างละเอียดตั้งแต่หัวหน้าควบคุมงานก่อสร้างไปจนถึงลูกมือช่างปูน ก็อาจพบได้ว่าชั้นลูกหลานของหลายท่านที่ถูกระบุชื่อไว้ ยังคงมีส่วนร่วมดูแลคริสตจักรแห่งนี้เสมอมา หลังจากบรรพบุรุษได้อุทิศแรงกายแรงใจในการก่อสร้างโบสถ์หลังนี้ขึ้นมาด้วยความอุตสาหะ

โบสถ์หลังนี้ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อสิ้นสุดมหาสงครามเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2) ราวปี ค.ศ. 1946 หลังชำรุดทรุดโทรมเนื่องจากถูกยึดใช้เป็นส่วนหนึ่งของเขตทหารที่มาตั้งมั่นอยู่ในเมืองเชียงราย และพวกมิชชันนารีจำต้องออกนอกประเทศไทย เหตุการณ์ช่วงสงครามนั้นนับเป็นเวลายากลำบากสำหรับเหล่าคริสเตียนในการหาพื้นที่สำหรับนมัสการพระผู้เป็นเจ้า ด้วยต้องคอยหลบซ่อนกระทำการตามบ้านพักของสมาชิก เพราะทางการเข้มงวดเรื่องการประชุม เพื่อป้องกันการก่อเหตุร้ายและจารกรรม เมื่อเสร็จสงครามจึงยินดีกันยิ่งนักที่ได้กลับมาใช้โบสถ์นี้เป็นที่นมัสการอีกครั้ง

ลักษณะสถาปัตยกรรมของโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย

โบสถ์นี้มีแผนผังอาคารเป็นรูปกางเขน (Latin Cross) แบ่งการใช้งานเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนห้องโถงหลัก (Nave) สำหรับประกอบพิธีกรรม มีความยาวตลอดทางเข้าด้านหน้าถึงแท่นบูชา (Altar) ส่วนปีกทั้งสองข้างของอาคาร (Transept) ทำเป็นชั้นลอย ที่ใต้แนวพื้นชั้นลอยนี้ทำอาเขต (Arcade) เป็นซุ้มโค้งก่ออิฐถือปูนข้างละ 3 ซุ้ม ทำหน้าที่ช่วยถ่ายน้ำหนักพื้นชั้นลอยลงสู่ฐานอาคาร ซึ่งรับกันดีกับซุ้มโค้งของช่องแสงเหนือประตูและหน้าต่างของอาคาร ส่วนห้องท้ายโบสถ์ซึ่งมีหลังคาลดระดับต่ำกว่าห้องโถงหลักเคยใช้เป็นห้องเรียนพระคัมภีร์สำหรับเด็ก ๆ โครงสร้างของอาคารโดยทั่วไปเป็นระบบกำแพงรับน้ำหนัก (Bearing wall) ที่ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่กว่าอิฐปกติทั่วไป ที่เชิงผนังด้านซ้ายภายนอกอาคารติดแผ่นศิลาสลักหมายเลข 1914 ทั้งเลขไทยและอารบิค (หมายถึงปี ค.ศ. ที่สร้างโบสถ์นี้สำเร็จ) ที่มุขด้านหน้าและด้านข้างก่อเป็นเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ 4 ต้นเพื่อรองรับแผงหน้าจั่วที่เป็นแผ่นไม้ตีซ้อนเกล็ด ตรงกลางของแผงหน้าจั่วทำช่องหน้าต่างปิดเปิดได้ และที่เหนือหลังคาทางเข้าด้านหน้ามีหอคอยโถงสี่เหลี่ยมสำหรับแขวนระฆังที่ใช้ประกอบพิธีกรรมของโบสถ์ หลังคาปัจจุบันเป็นโครงสร้างเหล็กมุงกระเบื้องว่าวซีเมนต์สีน้ำตาลแดง กลมกลืนกับสีน้ำตาลเข้มของแผ่นไม้ที่แผงหน้าจั่ว และตัดกับสีขาวของผนังปูนฉาบอย่างน่าดู โดยเฉพาะตรงกึ่งกลางด้านหน้าอาคารใต้หลังคาปีกนก มีป้ายในกรอบไม้ระบุชื่อคริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย ด้วยตัวอักษรแบบเก่าพร้อมสัญลักษณ์กางเขนสีแดงบนพื้นขาว ให้ความรู้สึกสง่างามแบบเรียบง่าย

โบสถ์นี้มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและเทคนิคการก่อสร้างใกล้เคียงกับอาคารหลังแรกของโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค (ปัจจุบันใช้เป็นอาคารอำนวยการ) ที่ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล (Colonial Style) โดยต่างมีจุดเด่นที่หอระฆังด้านหน้าอาคาร (Bell Tower)

ปัจจุบันโบสถ์เก่าหลังนี้ยังไม่ได้รับการซ่อมบำรุงให้พ้นจากความเสื่อมโทรม ระฆังที่เคยแขวนอยู่บนหอคอยได้ถูกย้ายลงมาไว้ในซุ้มเล็กที่สร้างใหม่ด้านข้างอาคาร ฝ้าเพดานยิปซัมภายในชำรุดหลุดร่วง เพราะความชื้นจากน้ำฝนที่รั่วเข้ามาตามแผ่นกระเบื้อง ส่วนผนังมีรอยกะเทาะของปูนฉาบเป็นแนวเสมอกัน สาเหตุน่าจะมาจากแผ่นหินอ่อนที่กรุเชิงผนังภายในปิดกั้นการระบายความชื้นที่ขึ้นมาจากใต้ดิน ประกอบกับปูนซีเมนต์ที่ใช้ฉาบซ่อมในสมัยหลังไม่มีรูพรุนให้ระบายความชื้นได้ดีเหมือนผิวปูนเดิม วงกบประตูหน้าต่างบางส่วนเปื่อยผุจากการกัดกินของปลวกและมอดไม้

แต่ความเสียหายทั้งหมดนี้ยังอยู่ในวิสัยที่จะซ่อมแซมได้ตามหลักวิชาการ ยกเว้นแต่ว่าประโยชน์ใช้สอยที่เปลี่ยนแปลงไปจะเป็นเงื่อนไขหลักของการรื้อสร้างใหม่

ทางออกของการคงอยู่ของโบสถ์หลังนี้ เป็นไปได้ว่า หากทางคริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย ยังสามารถปรับกลยุทธ์จากการเรี่ยไรระดมทุนเพื่อสร้างอาคารหลังใหม่ เปลี่ยนเป็นการศึกษาความเป็นไปได้เพื่ออนุรักษ์และปรับปรุง เชื่อว่าก็ย่อมต้องได้รับการสนับสนุนจากสมาชิก ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่เห็นในคุณค่าและประสงค์จะมีส่วนร่วมช่วยเหลือ โดยทุนที่ได้มานั้นส่วนหนึ่งจำเป็นต้องเจียดไปจ้างผู้เชี่ยวชาญมาทำการสำรวจและออกแบบการอนุรักษ์และปรับปรุง เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสม และอาจมีการทำประชาพิจารณ์เพื่อหาข้อสรุปที่เหมาะสมที่สุดจากสมาชิกและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เมื่อถึงเวลานั้นหากคำตอบที่ได้คือหมดหนทางในการซ่อมแซมแล้ว การรื้อเพื่อสร้างใหม่จึงสมควรเป็นทางออกสุดท้าย แต่ก่อนรื้อถอนควรต้องมีการจัดทำรายงานบันทึกข้อมูลอาคารเดิมไว้ให้ครบถ้วนมากที่สุด เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา ซึ่งวิธีการสำรวจรังวัดและเขียนแบบ VERNADOC โดยนักศึกษาและสถาปนิกอาสาสมัครก็อาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถกระทำได้

เพื่อให้วาระสุดท้ายของโบสถ์เก่าหลังนี้ได้กระทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ด้วยการให้ความรู้แก่ผู้ที่อาวรณ์ในคุณค่าทางศิลปะสถาปัตย กรรมยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เมืองเชียงรายสืบไป.

.................

กรณีศึกษาเรื่องการอนุรักษ์โบสถ์เก่า

เกาหลี : อนุรักษ์ทั้งย่านไม่เฉพาะแต่อาคาร

โบสถ์ชองดง (อายุ 113 ปี) เป็นโบสถ์เรียบง่ายแบบวิคตอเรียนโกธิค สร้างด้วยอิฐแดง ตั้งอยู่ในถิ่นพำนักอาศัยของชาวต่างชาติที่เรียกว่าย่านชอง-ดง ย่านนี้เป็นเส้นทางเดินชมมรดกสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกที่น่าสนใจย่านหนึ่งในกรุงโซล ซึ่งสถาปนิกหญิง โช อิน-ซุก (Cho In-souk) และ มร.โรเบิร์ต โคห์เล่อร์ (Robert Koehler) นักเขียนชาวอเมริกัน ได้คัดสรรไว้ในหนังสือชื่อ Seoul’s Historic Walks นับเป็นตัวอย่างที่ดีของการอนุรักษ์ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของเจ้าของอาคาร นักวิชาการ และหน่วยงานราชการ โดยผู้ที่มาเยี่ยมเยือนจะได้สัมผัสบรรยากาศและสถาปัตยกรรมเกาหลียุคเปิดประเทศเมื่อร้อยปีเศษที่ผ่านมา โบสถ์นี้นับเป็นสัญลักษณ์สำคัญของยุคแรกที่ชาวอเมริกันเข้ามามีอิทธิพลในเกาหลี สร้างในปี ค.ศ. 1898 และถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นในปี ค.ศ. 1926 การเปลี่ยนรูปแบบจากแบบดั้งเดิมไปเล็กน้อย ทำให้อาคารหลังนี้เป็นตัวอย่างของโบสถ์โปรเตสแตนต์ยุคแรกที่โดดเด่นของเกาหลี และอันที่จริงโบสถ์นี้ยังเป็นสักการะสถานตามแบบตะวันตกที่เก่าแก่ที่สุดของเกาหลีอีกด้วย

สวีเดน : สงวนรักษาไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ภาคภูมิ

โบสถ์โอสมาร์ค เมืองทอร์สบี (อายุ 246 ปี) เป็นโบสถ์คริสต์นิกายลูเธอรัน ของชุมชนสวีดิชเชื้อสายฟินน์ที่บรรพบุรุษอพยพจากฟินแลนด์เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในประเทศสวีเดนตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี สร้างเมื่อ ปี ค.ศ. 1765 มีการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อประมาณ 75 ปีที่แล้ว ในปีที่ผ่านมา ค.ศ. 2010 ได้มีการสำรวจรังวัดและเขียนแบบด้วยวิธี VERNADOC (Vernacular Documentation) โดยสถาปนิกและนักศึกษาอาสาสมัครจากประเทศฟินแลนด์ ไทย จีน และอียิปต์ ร่วมบันทึกคุณค่าของโบสถ์เพื่อการศึกษาทางวิชาการ ภายใต้การสนับสนุนจาก ICOMOS-CIAV (International Council on Monuments and Sites - International Committee of Vernacular Architecture) ในระหว่างกิจกรรมได้มีการบรรยายพิเศษจากชาวบ้านเกี่ยวกับประวัติชุมชนและโบสถ์ผ่านภาพถ่ายเก่า ตลอดจนเกร็ดชีวิตของบรรพบุรุษที่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโบสถ์แห่งนี้มาบอกเล่าให้แก่ผู้ร่วมโครงการจากนานาชาติด้วยความภาคภูมิใจ



โบสถ์คริสตจักรที่ 1 สำเหร่ กรุงเทพฯ (อายุ 101 ปี) คริสตจักรแห่งแรกของมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรส ไบทีเรียนซึ่งเดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในประเทศ ไทยเมื่อปี ค.ศ. 1840 พระวิหารหลังแรกสร้างในปี ค.ศ. 1860 ถูกรื้อสร้างใหม่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นในปี ค.ศ. 1910 ในรูปแบบที่ใกล้เคียงของเดิม พระวิหารหลังปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมดูแลด้วยกำลังของสมาชิกของโบสถ์มาโดยตลอด

โบสถ์คริสตจักรตรัง (อายุ 96 ปี) สร้างในปี ค.ศ. 1915 มีการซ่อมแซมพระวิหารหลังเดิมเป็นระยะมาโดยตลอด เมื่อมีผู้รับเชื่อเพิ่มมากขึ้น ได้สร้างอาคารนมัสการหลังใหม่ในพื้นที่ใกล้เคียงใน ค.ศ. 1990 โดยยังคงเก็บพระวิหารหลังเก่าไว้ และใช้ระบบโทรทัศน์วงจรปิดถ่ายทอดการประกอบพิธีกรรมไปยังอาคารนมัสการหลังใหม่.

จากเดลินิวส์   http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=494&contentId=133009
ขอบพระคุณท่านอาจารย์สุดจิต สนั่นไหว ที่กรุณาให้ข้อคิดเรื่องการรื้อคริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย ผ่านทางหนังสือพิมพ์ 'เดลินิวส์' ฉบับประจำวันเสาร์ที่ 16 เมษายน 2554 และผ่านทางหนังสือพิมพ์ 'กรุงเทพธุรกิจ' ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2554 ข้อคิดของท่านเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างยิ่ง...
    ขอบพระคุณท่านอาจารย์ ดร.วันชัย มงคลประดิษฐ์ ที่ครั้งหนึ่งท่านได้กรุณาไปพูดให้ข้อคิดเรื่องนี้ที่คริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย แต่กลุ่มผู้มีอำนาจไม่ฟังท่าน...
    ท่านเป็นคนนอก ท่านยังอาวรณ์ในคุณค่าทางศิลป-สถาปัตยกรรมยุคหนึ่งของประวัติศาสตร์เมืองเชียงราย แต่เหนือสิ่งอื่นใด ท่านกำลังช่วยกอบกู้ดวงใจอันปวดร้าวของเรา... ลูกหลานของบรรพบุรุษแห่งความเชื่อ  ขอบพระคุณท่านอาจารย์ทั้งสองอีกครั้งค่ะ.

อาทิตย์หน้า ก็คงจะเป็นที่แน่นอนแล้วล่ะครับว่า จะต้องขึ้นเป็นโบราณสถานหรือไม่ เพราะว่า เรื่องดังกล่าวได้เข้าสู่ที่ประชุมของกรมศิลปากรส่วนกลางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และรอการลงนามของอธิบดีเท่านั้น ก็เป็นอันเสร็จสิ้นของกระบวนการ การขึ้นเป็นโบราณสถานต่อไป (สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ ได้ส่งหนังสือคำขอขึ้นเป็นโบราณสถานไปที่กรมศิลปากรส่วนกลาง เมื่อวันที่ 11 เมษายน ที่ผ่านมา หลังจากได้รับสำเนาการพิพากษาจากศาลปกครอง) ใครจะรื้อถอน ทุบทิ้ง ก็ควรให้คิดให้ดีนะครับ เพราะถ้าขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว ก็ถือเป็นสมบัติของชาติ (คิดก่อนทำ)
ทราบมาว่าเป็นโบราณสถานต้นสัปดาห์หน้าแน่นอนค่ะ
IP : บันทึกการเข้า
oil-sky
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #43 เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2011, 20:49:56 »

เป็นคนในบ้านที่ยังอยากซ่อมแซมบ้านและอยู่อาศัยในบ้านหลังเก่าเพราะเต็มไปด้วยกลิ่นไอของความเชื่อความศรัทธาอันแรงกล้าที่บรรพบุรุษของเราได้ฝ่าฟันอุปสรรคและวางรากฐานไว้ หากการซ่อมแซมเป็นไปได้ตามที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ลงไว้  ทำไมทุกฝ่ายไม่ถ่อมใจอธิษฐานขอการทรงนำและยอมรับฤทธิ์อำนาจการตัดสินที่มนุษย์คิดว่าผิดแต่อาจเป็นพระประสงค์ที่จะสอนให้ลูกของพระองค์รู้จักคำว่าพอเพียง การสร้างอาคารใหม่ที่ใหญ่โตมโหฬารในการนมัสการนั้น  ต่างจากการสร้างโรงพยาบาลและโรงเรียนเพราะประโยชน์ใช้สอยและชั่วโมงการใช้งานต่างกันมากมาย  โรงพยาบาลและโรงเรียนมีรายได้หลัก  แต่โบสถ์มีรายได้จากแรงศรัทธา  ซึ่งสมาชิกในบ้านเรามิได้รำรวยเหมือนคนเป็นหมอ/......ดังนั้นในการสร้างโบสถ์ใหม่ยังระดมได้ไม่พอและภาระการดูและและการทำนุบำรุงที่จะตามมาอีก จึงเห็นว่าในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้พระเจ้าเท่านั้นที่ทรงล่วงรู้พระองค์เป็นพระบิดาที่ต้องการให้ลูกของพระองค์ทุกคนได้อิ่มหนำ มีสันติสุขในชีวิต  จึงอยากให้ใคร่ครวญกันใหม่  เพราะมนุษย์มักคิดว่าคนอื่นเป็นเหมือนตนและสร้างแรงกดดันให้กันโดยอาศัยความเชื่อความศรัทธาเป็นเครื่องมือ
IP : บันทึกการเข้า
spinter
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 14


« ตอบ #44 เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2011, 21:11:57 »

ใครเป็นคนบอกว่ามันจะล้มครับ หมอเหรอ ? แล้วที่คนจากกรมศิลป์ซึ่งเป็นสายงานโดยตรง
ในด้านสถาปัตย์ที่บอกว่า สามารถซ่อมแซมให้อยู่ได้เป็นร้อยปีละครับ(ถ้ามันจะล้มจริงคงไปตั้งแต่แผ่นดินไหวละคับ)

แล้วโบสถ์นี้อยู่มาจะร้อยปีแล้วแต่มีสมาชิกไม่เคยเกิน 400 ครับแต่ละอาทิตย์อย่างมากสุดมีคนมาเต็มที่ก็ประมาณ300 (ไม่รวมคริสต์มาส) แล้วจะสร้างให้มันใหญ่ทำไม ลองนึกภาพคน
300 นั่งกระจัดกระจายในโบถส์ที่จุได้ซักพันดูซิคับ

ถ้าพระเจ้าอยากให้สร้างใหม่จริงเรื่องมันไม่ยื้อมาเป็นปีๆ แบบนี้หรอกคับ
IP : บันทึกการเข้า
oil-sky
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #45 เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2011, 21:49:50 »

ในกระทู้ที่บอกว่าถ้ารื้อผิดกฎหมาย ติดคุกแน่นั้น  ผู้รับผิดชอบทั้งหลายโปรดศึกษาให้ดีด้วย  ถ้าเป็นกฎหมายจริงในฐานะคนไทยก็ต้องอยู่ใต้กฎหมาย  อย่าได้ทำอะไรแบบต้องการเอาชนะคะคานกันเลย  ขอให้มองบวกว่าเป็นนำพระทัยของพระเจ้า  แล้วช่วยกันใหม่  แม้ความเห็นจะต่างกัน  แต่เรานับถือพระเจ้าองค์เดียวกัน  อย่าให้ใครถึงกับต้องรับโทษทัณฑ์เลย
IP : บันทึกการเข้า
humble~angel
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #46 เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2011, 22:03:01 »

"จงระวังและเว้นเสียจากการโลภทุกประการ เพราะว่าชีวิตของคนมิได้อยู่ในการที่มีของฟุ่มเฟือย"
IP : บันทึกการเข้า
humble~angel
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #47 เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2011, 22:14:18 »

ใครเป็นคนบอกว่ามันจะล้มครับ หมอเหรอ ? แล้วที่คนจากกรมศิลป์ซึ่งเป็นสายงานโดยตรง
ในด้านสถาปัตย์ที่บอกว่า สามารถซ่อมแซมให้อยู่ได้เป็นร้อยปีละครับ(ถ้ามันจะล้มจริงคงไปตั้งแต่แผ่นดินไหวละคับ)

แล้วโบสถ์นี้อยู่มาจะร้อยปีแล้วแต่มีสมาชิกไม่เคยเกิน 400 ครับแต่ละอาทิตย์อย่างมากสุดมีคนมาเต็มที่ก็ประมาณ300 (ไม่รวมคริสต์มาส) แล้วจะสร้างให้มันใหญ่ทำไม ลองนึกภาพคน
300 นั่งกระจัดกระจายในโบถส์ที่จุได้ซักพันดูซิคับ

ถ้าพระเจ้าอยากให้สร้างใหม่จริงเรื่องมันไม่ยื้อมาเป็นปีๆ แบบนี้หรอกคับ
ปกติ200 ก็เต็มที่แล้วค่ะ...วังเวงพิลึก!?!
IP : บันทึกการเข้า
GEN-Z
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,100


« ตอบ #48 เมื่อ: วันที่ 23 เมษายน 2011, 23:02:08 »

ผมเป็นพุทธ ได้อ่านข่าวแล้ว อดไม่ได้เลยนำมาลง อยากให้อนุรักษ์ไว้ครับ
IP : บันทึกการเข้า
humble~angel
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #49 เมื่อ: วันที่ 24 เมษายน 2011, 08:45:19 »

ผมเป็นพุทธ ได้อ่านข่าวแล้ว อดไม่ได้เลยนำมาลง อยากให้อนุรักษ์ไว้ครับ
ขอช่วยเอากรุงเทพธุรกิจลงด้วยนะคะ
IP : บันทึกการเข้า
union
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #50 เมื่อ: วันที่ 24 เมษายน 2011, 09:27:06 »

โบสถ์หลังนี้มีคุณค่ามากมาย ไม่เฉพาะแต่ด้านลักษณะรูปแบบอาคารเท่านั้น แต่มีคุณค่าทางด้านจิตใจ เพราะวางรากฐานมาจากความเชื่อของบรรพบุรุษ
อิฐและศิลาทุกก้อนถูกปั้นขึ้นด้วยกำลังคน หยาดเหงื่อและแรงกาย ได้หล่อหลอมขึ้นเป็นอาคารพระวิหารที่มีรูปทรงสง่างาม เป็นมิตร และเชื้อเชิญ

"สิ่งสำคัญอาจมองไม่เห็นด้วยตา แต่เห็นอย่างแจ่มชัดได้ด้วยหัวใจ" (จากเรื่องเจ้าชายน้อย)

ศิลามุมอาคารของวิหาร ภายในได้บรรจุพระคัมภีร์และรายชื่อสมาชิกโบสถ์ขณะนั้นไว้
(จากบันทึกของผป.ถวาย กิตติคุณ)

ดังนั้น อาคารหลังนี้จึงเป็น "สัญลักษณ์ทางความเชื่อ" ของบรรพบุรุษ ลูกหลานชาวคริสเตียน ตลอดจนเป็นอาคารที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อชาวเชียงรายอย่างแท้จริง

จึงขอวิงวอนให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจ เรื่องการก่อสร้างพระวิหารหลังใหม่ได้คิดทบทวนในการตัดสินใจของท่านใหม่ ภายใต้จิตใจที่ถ่อมสุภาพและท่าทีของคริสเตียนที่ประกอบขึ้นด้วยความรักอย่างแท้จริง


* DSCN0130.jpg (218.61 KB, 730x973 - ดู 505 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
union
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #51 เมื่อ: วันที่ 24 เมษายน 2011, 11:21:40 »

มันจะล้มวันไหนบะรู้       เอาไว้ก็จะกลายเป็นโบราณสถานบะดาย จะเก็บไว้ฮื้อนักท่องเที่ยวไปถ่ายรูปก่ะคับ  ถ้ามันล้มลงมาล่ะ ใครจะรับผิดชอบ

 
เอาไว้นมัสการก็บะได้แน่นอน   แคบแล้ว(เทียบกับคริสจักรอื่นๆ)

 

สร้างใหม่ เต๊อะคับ  (ความคิดผมเอง  คริสต์เตียนด้วยกัน)



ขอแสดงตัวอย่าง โบสถ์คริสต์ที่มีอายุเกินร้อยปี ในประเทศไทย ที่มีการซ่อมแซมเพื่อการใช้งาน


* หลัง.jpg (189.11 KB, 780x552 - ดู 548 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
union
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #52 เมื่อ: วันที่ 24 เมษายน 2011, 11:24:02 »

คริสตจักรที่ 1 เวียง เชียงราย อายุ 97 ปี สามารถซ่อมแซมเพื่อการใช้งานได้แน่นอน


* หน้า.jpg (130.39 KB, 780x552 - ดู 508 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
humble~angel
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #53 เมื่อ: วันที่ 24 เมษายน 2011, 20:58:50 »

โบสถ์จะรื้อได้หรือไม่ ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับสภาฯ หากแต่ขึ้นอยู่กับกฎหมาย...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 24 เมษายน 2011, 21:32:36 โดย humble~angel » IP : บันทึกการเข้า
oil-sky
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #54 เมื่อ: วันที่ 24 เมษายน 2011, 21:16:26 »

อำนาจทำให้คนลืมตัว  อ้างพระเจ้าทุกคำในสิ่งที่ตนคิดและจะทำ  คนพวกนี้ไม่นึกหรอกว่าลูกของพระเจ้าคนอื่นๆพระเจ้าก็รักและประทานสติปัญญาให้ไม่น้อยไปกว่าเขา  เขามักปิดหูปิดตาที่จะฟังและดู  ทั้งๆข้อมูลทั้งหลายที่โพสมาดีมากๆ  เราเป็นมนุษย์ไม่รู้หรอกว่ามีอะไรแอบแฝง  แต่พระเจ้าทรงล่วงรู้ว่าใครหน้าซื่อใจคด
IP : บันทึกการเข้า
humble~angel
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #55 เมื่อ: วันที่ 24 เมษายน 2011, 21:21:00 »

โบสถ์ คจ.1 เวียงเชียงราย สวย สง่างาม มีเอกลักษณ์ ของตนเอง อิฐแต่ละก้อนถูกปั้นด้วยมือคน กระเบื้องมุงด้วยดินขอ ผนังฉาบด้วยปูนหมักแบบโบราณ..แต่เมื่อซ่อมแซมครั้งใหญ่ที่ผ่านมา
-เอาอะไรมามุงหลังคา? น้ำหนักเท่าไหร่? น้ำหนักสมดุลกับโครงสร้างที่รับน้ำหนักได้หรือไม่!??
-เอาปูนสมัยใหม่ไปฉาบกับปูนหมักแบบโบราณได้อย่างไร!??
-ไม้ที่ถูกปลวกกินเพราะอะไรถ้าไม่ใช่เพราะใช้ไม้ที่ไม่ได้มาตรฐาน??
-เพดานหลุดร่วงเพราะอะไร ถ้าไม่ใช่เพราะการใช้แผ่นกระเบื้องว่าวที่ไม่ถูกวิธี!??
สรุป การซ่อมแซมที่ผ่านมาได้ศึกษาโครงสร้างเดิมเหมือนที่เสวนากันวันนี้หรือไม่!?!?
IP : บันทึกการเข้า
Namdang
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #56 เมื่อ: วันที่ 24 เมษายน 2011, 21:22:17 »

มติของโบสถ์วันนี้ เท่าที่ได้สอบถามมานะครับ สภาฯได้ส่งท่านรองประธานมา เพื่องานนี้โดยเฉพาะ  ท่านได้กล่าวว่า ถ้าสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับประชากรที่เพิ่มขึ้นก็คงไม่เป็นไร (งงอยู่นะเนี่ย กฏหมายห้ามทุบหรือรื้อถอน) แต่ถ้าสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อคนกลุ่มหนึ่งทางสภาฯคงไม่ให้สร้าง ท่านยังกล่าวว่า ทุกวันนี้มีเรื่องรื้อโบสถ์คนก็ลดน้อยถอยลงไป สรุปได้ว่า สภามีมติไม่ให้รื้อแล้วล่ะครับ วันนี้ชัดเจนแล้ว ก็ขอบคุณพระเจ้าที่ทรงชี้นำเรื่องนี้ให้เป็นไปตามกระบวนกฏหมาย เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นแต่สิ่งดี ๆ ที่มีที่มา อย่างชัดเจน
IP : บันทึกการเข้า
oil-sky
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #57 เมื่อ: วันที่ 24 เมษายน 2011, 21:48:14 »

ขอวิงวอนผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย  ได้ยอมรับในสิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะได้สร้าง หรือถ้าไม่ได้สร้างก็ต้องซ่อมโดยให้วิศวกรรมสถานหน่วยงานบริการสาธารณะในการตรวจความแข็งแรงของโครงสร้างอาคารมาตรวจสอบและรับรองอย่างเป็นทางการ  อย่ามาตั้งแง่ในการที่จะเอาชนะคะคานกันเลย  พระวิหารของพระเจ้าที่เกิดจากแรงศรัทธาโดยไม่มีสิ่งใดแอบแฝงจะสง่างามและมั่นคงสถาพร  อาจมีอายุเป็นพันปีได้  พระเจ้าของเรายิ่งใหญ่เสมอ 
IP : บันทึกการเข้า
humble~angel
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #58 เมื่อ: วันที่ 24 เมษายน 2011, 22:31:48 »

สุนทรียสนทนา...การฟังอย่างลึกซึ้งการสนทนาแบบเดวิด โบห์ม หรือ Bohm's Dialogue เป็นเทคนิคในการฟังอย่างลึกซึ้ง เป็นเทคนิคที่นำเสนอโดยโดย David Bohm นักฟิสิกส์ ชาวอเมริกัน บางท่านเรียกว่า "สุนทรียสนทนา" ทำให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เป็นไปอย่างมีความสุขมากขึ้น
กติกาง่ายๆของการสนทนาแบบเดวิด โบห์ม หรือ Bohm's Dialogue หรือ "สุนทรียสนทนา" มีดังนี้


1.ทุกคนที่เข้ามารวมกลุ่มกันนี้มีความเท่าเทียมกัน ไม่นำตำแหน่งภายนอกหรือหัวโขนเข้ามาสนทนาด้วย ไม่มีใครใหญ่กว่าใคร ไม่มีใครรู้มากว่าใคร

2.ให้โอกาสทุกคนพูดอะไรก็ได้ที่อยากจะพูด หรือในช่วงแรกอาจะตั้งหัวข้อกว้างๆเพื่อให้เกิดการพูดคุยกัน

3.ในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูดอยู่ต้อง "ตั้งใจฟังอย่างลึกซึ้ง" อาจจะใช้แบบฝึกหัด "การสะท้อนสิ่งที่ได้ฟัง" มาใช้ เช่นเมื่อคนที่หนึ่งพูด ให้คนที่สองลองบอกเนื้อความที่ได้ยิน

4.ไม่ต้องรีบตัดสินผิด-ถูก ทุกสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาเป็นเพียงสมมุติฐาน ถ้าไม่เห็นด้วยกับความคิดนั้นไม่ต้องโต้แย้ง เพียงรับรู้และปล่อยผ่าน เพราะถ้าความคิดของเราถูกต้อง ก็ไม่ความจำเป็นต้องไปโต้แย้งกับผู้อื่นให้เสียเวลา หรือถ้าความคิดของเรา (ที่เราคิดว่าถูก) มันผิด ก็ยิ่งไม่ควรเสียเวลาไปโต้เถียงเพื่อปกป้องความคิดที่ผิดนั้นเลย

5.ไม่ต้องสรุปว่าพูดคุยกันแล้วได้อะไร ปล่อยให้คลื่นความคิดที่เกิดจาก "การสนทนาด้วยการฟัง" นั้นทำงานต่อไปในระดับจิตใต้สำนึกและรอรับรอฟัง "เสียง" ที่โผล่ปรากฏออกมาในเวลาต่อมา

 

หนังสือจับจิตด้วยใจ เขียนโดย นายแพทย์วิธาน ฐานะวุฑฒ์ สำนักพิมพ์ศยาม 2548 

ฟังเสียงสะท้อนจากสังคมบ้างนะคะ..."ตั้งใจฟังอย่างลึกซึ้ง"
IP : บันทึกการเข้า
K€nGja1
ผู้ดูแลบอร์ด
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,556



« ตอบ #59 เมื่อ: วันที่ 24 เมษายน 2011, 22:33:48 »

มันจะล้มวันไหนบะรู้       เอาไว้ก็จะกลายเป็นโบราณสถานบะดาย จะเก็บไว้ฮื้อนักท่องเที่ยวไปถ่ายรูปก่ะคับ  ถ้ามันล้มลงมาล่ะ ใครจะรับผิดชอบ

 
เอาไว้นมัสการก็บะได้แน่นอน   แคบแล้ว(เทียบกับคริสจักรอื่นๆ)

 

สร้างใหม่ เต๊อะคับ  (ความคิดผมเอง  คริสต์เตียนด้วยกัน)



จะล้มได้อย่างไรคะ กรมศิลปากรได้ตรวจสอบแล้วมีความเห็นสรุปว่า สามารถปรับซ่อมอาคารให้มีความมั่นคงยืนยาวต่อไปได้ กอปรกับปัจจุบันInfarstructureและTechnology Informationได้เข้ามามีบทบาทอย่ากว้างขวาง สร้างโบสถ์ใหญ่ไว้รองรับใครคะ คุ้มค่ากับค่าก่อสร้างมหาศาลที่ระดมบริจาครึปล่าว เปิดใจเถอะค่ะ มองหลายๆด้านนะคะ การศึกษาหาความรู้จากนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญจะยังประโยชน์แก่พวกเราไม่น้อย

อั้นก็เปิดนมัสการในฮั้นต่อคับ  อิอิ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

รับซ่อม ซื้อขาย คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ อุปกรณ์ IT
IDEAcomputer 082-0186679
 
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7 8 9 10 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!