เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 16 เมษายน 2024, 13:25:14
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  ท่านใด(ที่เป็นข้าราชการ)ไปใช้บริการจ่ายตรง ที่ รพ.ศรีบุรินทร์ มาแล้วบ้างครับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ท่านใด(ที่เป็นข้าราชการ)ไปใช้บริการจ่ายตรง ที่ รพ.ศรีบุรินทร์ มาแล้วบ้างครับ  (อ่าน 2607 ครั้ง)
weza1967
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 871


« เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2015, 10:12:48 »

ช่วยเล่ากันฟังบ้างครับ
แล้วไปลงทะเบียนจ่ายตรงได้เลยใช่ไหมครับ  ฮืม
IP : บันทึกการเข้า
rittipon
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 236



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2015, 14:31:16 »

รุสึกจะเบิกได้เป็นบางโรคนะหรือเฉพาะแค่การผ่าตัดเท่านั้นนะครับ เข้าไปดูที่เวบกรมบัญชีกลางได้ครับ โรคที่ไปรักษา รพ เอกชนที่เข้าร่วมโครงการกับกรมบัญชีกลาง
IP : บันทึกการเข้า
Mylovesss
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 376



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 17 กันยายน 2015, 14:53:46 »

กรมบัญชีกลางแจงหลักเกณฑ์การเบิกค่ารักษาจากสถานพยาบาลเอกชน ย้ำได้แค่ 4 กรณีเท่านั้น
นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลรายชื่อสถานพยาบาลของเอกชนที่เข้าร่วมโครงการกับกรมบัญชีกลางโดยไม่มีรายละเอียดประกอบใดๆ ซึ่งทำให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลดังกล่าว มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง รวมทั้งอาจจะเข้าใจผิดว่าสามารถเบิกจ่ายค่ารักษาจากสถานพยาบาลของเอกชนดังกล่าวได้ทุกกรณี

นายมนัส แจ่มเวหา กล่าวว่า ขอย้ำว่า หลักเกณฑ์การเบิกค่ารักษาจากสถานพยาบาลเอกชนสามารถเบิกได้ 4 กรณีเท่านั้น ดังนี้

1. การเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉิน สามารถเบิกค่ารักษาได้ในโรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง กรณีวิกฤต (สีแดง)  กรณีเร่งด่วน (สีเหลือง) ซึ่งเป็นการบูรณาการหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลร่วมกันของ 3 กองทุน โดยอิงเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินตาม พรบ.การแพทย์ฉุกเฉิน คือ ถ้าเป็นกรณีวิกฤต (สีแดง)  กรณีเร่งด่วน (สีเหลือง)  ให้โรงพยาบาลเอกชน ส่งข้อมูลค่าใช้จ่ายผู้ป่วยทุกสิทธิ ในระบบ EMCO ที่ สปสช. เพื่อตรวจสอบและจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้โรงพยาบาลก่อน แล้ว สปสช. จึงเรียกเก็บจากหน่วยงานของผู้มีสิทธิ โดยจ่ายตามระบบ DRGs ซึ่งนโยบายในตอนนั้นไม่ให้โรงพยาบาลเก็บเงิน แต่ในทางปฏิบัติ โรงพยาบาลจะเก็บเงินไว้ก่อน เมื่อโรงพยาบาลได้รับแจ้งจาก สปสช.ว่า เข้าข่ายวิกฤต/เร่งด่วน และได้เงินจาก Clearing house แล้ว จึงคืนเงินส่วนที่เบิกได้ให้แก่คนไข้

2. การเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉินไม่รุนแรง (สีเขียว) หรือเป็นกรณีที่ไม่เข้าเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตหรือฉุกเฉินเร่งด่วน  กรมบัญชีกลางกำหนดให้นำมาเบิกจากต้นสังกัด คือ ค่ารักษาพยาบาลครึ่งหนึ่งของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 8,000 บาท เบิกค่าห้องค่าอาหารได้วันละ 1,000 บาท และเบิกค่าอุปกรณ์บำบัดรักษาโรคฯ ได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้

3. การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีส่งต่อ สามารถเบิกได้ 2 กรณี คือ การล้างไต หรือ รังสีรักษา โดยต้องเป็นคนไข้นอก และต้องเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการเบิกตรงกับกรมบัญชีกลางตามรายชื่อที่ประกาศในเว็บไซต์ของกรม ในหัวข้อสวัสดิการรักษาพยาบาล

4. การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีนัดผ่าตัดล่วงหน้า โดยต้องเป็นคนไข้ในของสถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งในขณะนี้มีทั้งหมด 30 แห่ง และการนัดผ่าตัดล่วงหน้าเฉพาะโรคที่กำหนดไว้ตามรายการโรค/หัตถการที่ประกาศในเว็บไซต์กรม เช่น การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบผ่านกล้อง  การผ่าตัดไส้เลื่อน  การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า การผ่าตัดต้อหิน การรักษาภาวะแทรกซ้อนโดยตรงจากการรักษาครั้งก่อน เป็นต้น

          อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวต่อว่า สำหรับการเบิกค่ารักษาพยาบาลของราชการจากสถานพยาบาลของเอกชนนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เข้ารับบริการต้องชำระค่าใช้จ่ายเอง  และขณะนี้ได้มีข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับเรื่องนี้ในสื่อ Social Media เป็นจำนวนมาก ข้อมูลส่วนใหญ่ค่อนข้างคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง  หากข้าราชการ ผู้รับบำนาญ หรือบุคคลในครอบครัวที่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล ไม่แน่ใจว่าข้อมูลดังกล่าวเชื่อถือได้หรือไม่ สอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2273-6400 หรือ 0-2271-7000 ต่อ 4441

“กรมบัญชีกลางเตรียมขยายการให้บริการกรณีนัดผ่าตัดล่วงหน้าของสถานพยาบาลเอกชน อีกกว่า 100 แห่ง คาดว่าจะประกาศให้ทราบและสามารถเข้าใช้บริการได้ในเร็วๆ นี้” นายมนัสกล่าวในตอนท้าย

ที่มา : กระทรวงการคลัง
ผู้นำเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
IP : บันทึกการเข้า
weza1967
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 871


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 18 กันยายน 2015, 08:59:37 »

ขอบคุณทุกท่านที่ตอบมากเลยครับ  ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ponyo_msw
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 344


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 18 กันยายน 2015, 22:21:52 »

แวะเข้ามาเก็บข้อมูลดี ๆ ครับ ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า
TaenKun
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,665


กว่าจะดีได้ ก็เหี้ยมาซะนาน


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 20 กันยายน 2015, 19:17:47 »

ไปทำไว้ก็ดีครับ

ใช้ไม่ใช้ก็ค่อยว่ากัน
IP : บันทึกการเข้า
poypang
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 695


โอ้ววว !!! พระเจ้า เชียงรายโฟกัส มันดีมากเลย


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 21 กันยายน 2015, 04:45:34 »

เมื่อสองปีก่อน ลูกสาวใช้สิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เกิดอาการชัก เพราะไข้ขึ้น แต่วัดไข้ไม่สูงมาก แค่ 38 องศากว่า ๆ เข้าแอดมิทที่ศรีบุรินทร์ ตอนแรกแพทย์เวรวินิฉัยว่าน่าเป็นกรณีฉุกเฉิน (สีเหลือง) อุ่นใจ คิดว่าน่าจะเข้าเกณฑ์ เบิกได้ แต่พอวันที่ออกโรงพยาบาล แพทย์ลงความเห็นว่า ไม่เข้าข่ายฉุกเฉิน เนื่องจาก ไข้ตำกว่า 39 องศา อาการชักยังไม่วิกฤติ (ปากเขียวช้ำ แสดงอาการขาดออกซิเจน)

โอละพ่อ สุดท้ายเบิกไม่ได้ เจ็บไป สองหมื่นกว่า ๆ ตั้งแต่นั้นมาตัดสินใจทำประกันชีวิต ชัวร์กว่าแยะ เบิกได้แน่นอน ไม่ต้องรอลุ้น
IP : บันทึกการเข้า

อยู่อย่างคนธรรมดา แต่จงใช้ปัญญาเยี่ยงนักปราชญ์ : ท่าน ว.วริชเมธี
Ronin
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 301



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 21 กันยายน 2015, 05:06:58 »

กรมบัญชีกลางแจงหลักเกณฑ์การเบิกค่ารักษาจากสถานพยาบาลเอกชน ย้ำได้แค่ 4 กรณีเท่านั้น
นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลรายชื่อสถานพยาบาลของเอกชนที่เข้าร่วมโครงการกับกรมบัญชีกลางโดยไม่มีรายละเอียดประกอบใดๆ ซึ่งทำให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลดังกล่าว มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง รวมทั้งอาจจะเข้าใจผิดว่าสามารถเบิกจ่ายค่ารักษาจากสถานพยาบาลของเอกชนดังกล่าวได้ทุกกรณี

นายมนัส แจ่มเวหา กล่าวว่า ขอย้ำว่า หลักเกณฑ์การเบิกค่ารักษาจากสถานพยาบาลเอกชนสามารถเบิกได้ 4 กรณีเท่านั้น ดังนี้

1. การเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉิน สามารถเบิกค่ารักษาได้ในโรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง กรณีวิกฤต (สีแดง)  กรณีเร่งด่วน (สีเหลือง) ซึ่งเป็นการบูรณาการหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลร่วมกันของ 3 กองทุน โดยอิงเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินตาม พรบ.การแพทย์ฉุกเฉิน คือ ถ้าเป็นกรณีวิกฤต (สีแดง)  กรณีเร่งด่วน (สีเหลือง)  ให้โรงพยาบาลเอกชน ส่งข้อมูลค่าใช้จ่ายผู้ป่วยทุกสิทธิ ในระบบ EMCO ที่ สปสช. เพื่อตรวจสอบและจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้โรงพยาบาลก่อน แล้ว สปสช. จึงเรียกเก็บจากหน่วยงานของผู้มีสิทธิ โดยจ่ายตามระบบ DRGs ซึ่งนโยบายในตอนนั้นไม่ให้โรงพยาบาลเก็บเงิน แต่ในทางปฏิบัติ โรงพยาบาลจะเก็บเงินไว้ก่อน เมื่อโรงพยาบาลได้รับแจ้งจาก สปสช.ว่า เข้าข่ายวิกฤต/เร่งด่วน และได้เงินจาก Clearing house แล้ว จึงคืนเงินส่วนที่เบิกได้ให้แก่คนไข้

2. การเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉินไม่รุนแรง (สีเขียว) หรือเป็นกรณีที่ไม่เข้าเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตหรือฉุกเฉินเร่งด่วน  กรมบัญชีกลางกำหนดให้นำมาเบิกจากต้นสังกัด คือ ค่ารักษาพยาบาลครึ่งหนึ่งของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 8,000 บาท เบิกค่าห้องค่าอาหารได้วันละ 1,000 บาท และเบิกค่าอุปกรณ์บำบัดรักษาโรคฯ ได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้

3. การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีส่งต่อ สามารถเบิกได้ 2 กรณี คือ การล้างไต หรือ รังสีรักษา โดยต้องเป็นคนไข้นอก และต้องเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการเบิกตรงกับกรมบัญชีกลางตามรายชื่อที่ประกาศในเว็บไซต์ของกรม ในหัวข้อสวัสดิการรักษาพยาบาล

4. การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีนัดผ่าตัดล่วงหน้า โดยต้องเป็นคนไข้ในของสถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งในขณะนี้มีทั้งหมด 30 แห่ง และการนัดผ่าตัดล่วงหน้าเฉพาะโรคที่กำหนดไว้ตามรายการโรค/หัตถการที่ประกาศในเว็บไซต์กรม เช่น การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบผ่านกล้อง  การผ่าตัดไส้เลื่อน  การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า การผ่าตัดต้อหิน การรักษาภาวะแทรกซ้อนโดยตรงจากการรักษาครั้งก่อน เป็นต้น

          อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวต่อว่า สำหรับการเบิกค่ารักษาพยาบาลของราชการจากสถานพยาบาลของเอกชนนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เข้ารับบริการต้องชำระค่าใช้จ่ายเอง  และขณะนี้ได้มีข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับเรื่องนี้ในสื่อ Social Media เป็นจำนวนมาก ข้อมูลส่วนใหญ่ค่อนข้างคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง  หากข้าราชการ ผู้รับบำนาญ หรือบุคคลในครอบครัวที่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล ไม่แน่ใจว่าข้อมูลดังกล่าวเชื่อถือได้หรือไม่ สอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2273-6400 หรือ 0-2271-7000 ต่อ 4441

“กรมบัญชีกลางเตรียมขยายการให้บริการกรณีนัดผ่าตัดล่วงหน้าของสถานพยาบาลเอกชน อีกกว่า 100 แห่ง คาดว่าจะประกาศให้ทราบและสามารถเข้าใช้บริการได้ในเร็วๆ นี้” นายมนัสกล่าวในตอนท้าย

ที่มา : กระทรวงการคลัง
ผู้นำเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
เมื่อสองปีก่อน ลูกสาวใช้สิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เกิดอาการชัก เพราะไข้ขึ้น แต่วัดไข้ไม่สูงมาก แค่ 38 องศากว่า ๆ เข้าแอดมิทที่ศรีบุรินทร์ ตอนแรกแพทย์เวรวินิฉัยว่าน่าเป็นกรณีฉุกเฉิน (สีเหลือง) อุ่นใจ คิดว่าน่าจะเข้าเกณฑ์ เบิกได้ แต่พอวันที่ออกโรงพยาบาล แพทย์ลงความเห็นว่า ไม่เข้าข่ายฉุกเฉิน เนื่องจาก ไข้ตำกว่า 39 องศา อาการชักยังไม่วิกฤติ (ปากเขียวช้ำ แสดงอาการขาดออกซิเจน)

โอละพ่อ สุดท้ายเบิกไม่ได้ เจ็บไป สองหมื่นกว่า ๆ ตั้งแต่นั้นมาตัดสินใจทำประกันชีวิต ชัวร์กว่าแยะ เบิกได้แน่นอน ไม่ต้องรอลุ้น
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!