เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 เมษายน 2024, 15:32:06
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  ปูนขาว กับ โดโลไมท์ คุณสมบัติเหมือกันไหม
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ปูนขาว กับ โดโลไมท์ คุณสมบัติเหมือกันไหม  (อ่าน 34199 ครั้ง)
siriprida
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 123


« เมื่อ: วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2015, 17:23:58 »

พอดีจะเลี้ยงปลา แต่น้ำไม่แห้งจะโรยปูนขาวได้ไหม และปูนขาว กับ โดโลไมท์ คุณสมบัติเหมือกันไหม
IP : บันทึกการเข้า
0440
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 490


ชีวิตมันสั้น เกินกว่าจะไล่ตาม "คนที่เขาไม่มองเรา"


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2015, 00:30:58 »

วัสดุปูนที่มีการใช้กันในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามองค์ประกอบหลักของเนื้อปูนได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มคาร์บอเนต กลุ่มออกไซด์ และไฮดรอกไซด์ ซึ่งปูนแต่ละกลุ่มจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวบางอย่างที่แตกต่างกันไป ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องพิจารณานำมาใช้ให้เหมาะสม และเลือกใช้ให้ตรงกับจุดประสงค์ที่ต้องการ
1. กลุ่มคาร์บอเนต ปูนกลุ่มนี้รู้จักกันทั่วไป เรียกว่า ดิบ หินปูนบด หรือปูนเปลือกหอยบดโดยไม่ได้ผ่านกระบวนเผาหรือพรมน้ำ ได้แก่
- ปูนแคลไซท์ หรือแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ได้จากการนำหินปูน และเปลือกหอยที่มี CaCO3) เป็นองค์ประกอบหลักมาบดให้ละเอียด โดยทั่วไปปูนกลุ่มนี้จะมีเปอร์เซ็นต์คาร์บอเนตอยู่ในช่วง 75-99 เปอร์เซ็นต์ขึ้นอยู่กับแหล่งที่นำมาผลิต
- ปูนมาร์ล (Marl) เป็นปูนที่มีองค์ประกอบของ CaCO3 กับพวกแร่ดินเหนียวและอินทรีย์สารผสม ปะปนกันอยู่ ทำให้จับตัวเป็นก้อนได้ง่าย เมื่อได้รับความชื้น ปูนชนิดนี้จะมีความบริสุทธิ์ของ CaCo3 ในเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำกว่าปูนแคลไซท์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ามีปริมาณดินเหนียวและอินทรีย์สารปะปนอยู่มากน้อยเพียงไร ถ้ามีผสมอยู่มากเปอร์เซ็นต์ของ CaCO3 ก็จะต่ำ
- ปูนโดโลไมท์ หรือ แคลเซียมแมกนีเซียม คาร์บอเนต (CaMg(CO3)2) เป็นปูนที่ได้จากนำหินที่มีองค์ประกอบของ (CaMg(CO3)2) มาบดละเอียดสำหรับปูนกลุ่มนี้เมื่อใส่ในน้ำจะให้ธาตุแมกนีเซียม (Mg2+) ซึ่งธาตุชนิดนี้แพลงก์ตอนพืชในน้ำสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการดำรงชีวิตได้ ดังนั้นในกรณีที่น้ำในบ่อใส การใช้ปูนโดโลไมท์จะมีผลช่วยเสริมในการทำสีน้ำได้
- อื่น ๆ เช่น ชอล์ค หินอ่อน ปะการัง ก็มีส่วนประกอบพวกคาร์บอเนต แต่ไม่คุ้มค่าที่จะนำมาใช้เชิงธุรกิจ
คุณสมบัติของปูนกลุ่มคาร์บอเนต
1. เป็นปูนที่มาจากแหล่งธรรมชาติ แล้วนำมาบดโดยไม่ผ่านกระบวนการเผาด้วยความร้อน
2. จะปรับค่าพีเอชให้เพิ่มขึ้นช้า ๆ จึงทำให้ค่าพีเอชคงอยู่ได้นาน
3. ช่วยเพิ่มค่าคาร์บอเนตอัลคาไลนิตี้ของน้ำได้อย่างดี
4. เมื่อสัมผัสกับน้ำแล้วไปเกิดความร้อนหรือไม่ทำให้อุณหภูมิของน้ำเพิ่มสูงขึ้น
5. มีความปลอดภัยต่อสัตว์น้ำ
6. เมื่อสัมผัสกับน้ำแล้วไม่ออกฤทธิ์กัดผิวหนัง จึงมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้
7. เมื่อได้รับความชื้นจะจับตัวเป็นก้อนได้ง่ายโดยเฉพาะปูนมาร์ล

2. กลุ่มอ๊อกไซด์ หรืออาจจะเรียกว่า "ปูนเผา" (burn lime หรือ Quick lime) ปูนกลุ่มนี้ได้แก่ แคลเซียมอ๊อกไซด์ (CaO) และแมกซีเซียมอ๊อกไซด์ (MgO) ซึ่งได้จากการนำหินปูนคาร์บอเนต หรือเปลือกหอยที่มีองค์ประกอบของ CO3 เป็นหลักมาเผาที่อุณหภูมิสูงประมาณ 600-900 องศาเซลเซียส แล้วนำมาบดให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ
600 - 900 oC
ปูนคาร์บอเนต ปูนอ๊อกไซด์เผา
คุณสมบัติของปูนกลุ่มอ๊อกไซด์
1. จะทำให้ค่าพีเอชเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดเหมาะสมที่จะใช้แก้ปัยหาดินเป็นกรดมากที่สุด
2. มีผลต่อค่าคาร์บอเนตอัลคาไลนิตี้
3. เมื่อสัมผัสกับน้ำจะเกิดความร้อน ทำให้อุณหภูมิของน้ำเพิ่มสูงขึ้น
4. เมื่อสัมผัสกับน้ำ จะมีฤทธิ์กัดผิวหนัง จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
5. เมื่อได้รับความชื้น จะไม่จับตัวเป็นก้อน เนื่องจากผ่านกระบวนการให้ความร้อนสูง ซึ่งเป็นการทำลายโครงสร้างให้มีขนาดอนุภาคเล็กลง

3. กลุ่มไฮดรอกไซด์ ปูนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเรียกรวม ๆ ว่า "ปูนขาว" (Slaked lime) ซึ่งได้แก่ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) และแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Mg(OH2)) ได้จากการนำหินปูนคาร์บอเนต หรือเปลือกหอยที่มีองค์ประกอบของคาร์บอเนตเป็นหลักมาเผาที่อุณหภูมิสูง แล้วพรมด้วยน้ำให้ชุ่ม ปูนจะแตกร่วนออกมาเอง ทำให้ประหยัดค่าบดและได้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
ปูนอ๊อกไซด์ + น้ำ ปูนไฮดรอกไซด์
คุณสมบัติของปูนกลุ่มไฮดรอกไซด์
1. จะทำให้ค่าพีเอชเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าพวกคาร์บอเนตแต่น้อยกว่าปูนพวกอ๊อกไซด์
2. มีผลต่อค่าคาร์บอเนตอัลคาไลนิตี้น้อยกว่า
3. เมื่อสัมผัสกับน้ำจะเกิดความร้อน ทำให้อุณหภูมิของน้ำเพิ่มสูงขึ้น
4. เมื่อสัมผัสกับน้ำจะมีฤทธิ์กัดผิวหนัง จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
5. เมื่อได้รับความชื้น จะไม่จับตัวกันเป็นก้อน

ประสิทธิภาพการทำลายกรดของวัสดุปูน

การทำงานของวัสดุปูนแต่ละชนิดจะมีประสิทธิภาพดีหรือไม่เพียงไรนั้นจะมีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประการด้วยกัน คือ
1. ชนิดของวัสดุปูน ปูนแต่ละชนิดจะมีอำนาจการทำลายกรดไม่เท่ากัน รายละเอียดดัง ตาราง
ชนิด ค่าการทำลายความเป็นกรด
หินปูนธรรมดา calcite (CaCO3)ปูนเผา (อ๊อกไซด์) Quick lime (CaO)ปูนขาว (ไฮดรอกไซด์) Slake lime (Ca(OH)2)หินปูนโดโลไมท์ Dolomite (CaMg(CO3)2) 100179136109
ค่าการทำลายกรดเทียมมาตรฐานจากอำนาจการทำลายกรดของ แคลเซียมคาร์บอเนตบริสุทธิ์ (CaCO3) ซึ่งคิดเป็น 100%
ตัวอย่าง
เมื่อทราบว่าต้องใช้แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) จำนวน 320 กก/ไร่ ในการปรับค่าพีเอช ของดินจากพีเอช 5 มาเป็น 6.5 ถ้าต้องการใช้แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) แทนแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) สามารถคำนวณหาปริมาณแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่ต้องใช้ได้จาก
2. ขนาดเม็ดอนุภาคของวัสดุปูน
ประสิทธิภาพการทำงานของปูน นอกจากจะขึ้นอยู่กับชนิดของปูนแล้ว ขนาดเม็ดปูนก็มีผลต่อการทำงานไม่น้อยเลยทีเดียว เม็ดปูนที่มีขนาดเล็กจะมีประสิทธิภาพการทำงานดีกว่าเม็ดปูนขนาดใหญ่ หน่วยมาตรฐานที่ใช้ในการวัดขนาดเม็ดปูนเรียกเป็น "เม็ช" (Mesh) ซึ่งหมายถึงขนาดรูตะแกรงร่อน เช่น 20 เม็ช หมายถึง ความถี่ของช่องตะแกรง 20 ช่องใน 1 นิ้ว
ขนาดเม็ดอนุภาค ประสิทธิภาพ (%)
ตาตะแกรง (เม็ช) ขนาด (มม.)
มากกว่า 6060 - 2020 - 8น้อยกว่า 8 เล็กกว่า 0.2500.250 - 0.8550.855 - 2.360ใหญ่กว่า 2.360 10060200
หมายเหตุ ปูนที่ดีควรมีความละเอียดในช่วง 20-100 ผสมกันจะใช้ได้ดีในการควบคุมค่าพีเอช
3. ชนิดเนื้อดินของบ่อเลี้ยง
เนื้อดินแต่ละชนิดจะมีค่าความเป็นกรดไม่เท่ากัน ยิ่งเนื้อดินมีความละเอียดมาก เช่น ดินเหนียว จะมีปริมาณความเป็นกรดในเนื้อดินสูง กว่าดินเนื้อหยาบ เนื่องจากดินที่ละเอียดสามารถดูดซับสารต่าง ๆ ไว้ในเนื้อดินได้มากกว่าดินเนื้อหยาบ ดังนั้นการใช้ปูนในการปรับค่าพีเอชจึงต้องพิจารณาเนื้อดินด้วย
IP : บันทึกการเข้า

ID Line : n0804988255
siriprida
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 123


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2015, 19:39:06 »

วัสดุปูนที่มีการใช้กันในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามองค์ประกอบหลักของเนื้อปูนได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มคาร์บอเนต กลุ่มออกไซด์ และไฮดรอกไซด์ ซึ่งปูนแต่ละกลุ่มจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวบางอย่างที่แตกต่างกันไป ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องพิจารณานำมาใช้ให้เหมาะสม และเลือกใช้ให้ตรงกับจุดประสงค์ที่ต้องการ
1. กลุ่มคาร์บอเนต ปูนกลุ่มนี้รู้จักกันทั่วไป เรียกว่า ดิบ หินปูนบด หรือปูนเปลือกหอยบดโดยไม่ได้ผ่านกระบวนเผาหรือพรมน้ำ ได้แก่
- ปูนแคลไซท์ หรือแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ได้จากการนำหินปูน และเปลือกหอยที่มี CaCO3) เป็นองค์ประกอบหลักมาบดให้ละเอียด โดยทั่วไปปูนกลุ่มนี้จะมีเปอร์เซ็นต์คาร์บอเนตอยู่ในช่วง 75-99 เปอร์เซ็นต์ขึ้นอยู่กับแหล่งที่นำมาผลิต
- ปูนมาร์ล (Marl) เป็นปูนที่มีองค์ประกอบของ CaCO3 กับพวกแร่ดินเหนียวและอินทรีย์สารผสม ปะปนกันอยู่ ทำให้จับตัวเป็นก้อนได้ง่าย เมื่อได้รับความชื้น ปูนชนิดนี้จะมีความบริสุทธิ์ของ CaCo3 ในเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำกว่าปูนแคลไซท์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ามีปริมาณดินเหนียวและอินทรีย์สารปะปนอยู่มากน้อยเพียงไร ถ้ามีผสมอยู่มากเปอร์เซ็นต์ของ CaCO3 ก็จะต่ำ
- ปูนโดโลไมท์ หรือ แคลเซียมแมกนีเซียม คาร์บอเนต (CaMg(CO3)2) เป็นปูนที่ได้จากนำหินที่มีองค์ประกอบของ (CaMg(CO3)2) มาบดละเอียดสำหรับปูนกลุ่มนี้เมื่อใส่ในน้ำจะให้ธาตุแมกนีเซียม (Mg2+) ซึ่งธาตุชนิดนี้แพลงก์ตอนพืชในน้ำสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการดำรงชีวิตได้ ดังนั้นในกรณีที่น้ำในบ่อใส การใช้ปูนโดโลไมท์จะมีผลช่วยเสริมในการทำสีน้ำได้
- อื่น ๆ เช่น ชอล์ค หินอ่อน ปะการัง ก็มีส่วนประกอบพวกคาร์บอเนต แต่ไม่คุ้มค่าที่จะนำมาใช้เชิงธุรกิจ
คุณสมบัติของปูนกลุ่มคาร์บอเนต
1. เป็นปูนที่มาจากแหล่งธรรมชาติ แล้วนำมาบดโดยไม่ผ่านกระบวนการเผาด้วยความร้อน
2. จะปรับค่าพีเอชให้เพิ่มขึ้นช้า ๆ จึงทำให้ค่าพีเอชคงอยู่ได้นาน
3. ช่วยเพิ่มค่าคาร์บอเนตอัลคาไลนิตี้ของน้ำได้อย่างดี
4. เมื่อสัมผัสกับน้ำแล้วไปเกิดความร้อนหรือไม่ทำให้อุณหภูมิของน้ำเพิ่มสูงขึ้น
5. มีความปลอดภัยต่อสัตว์น้ำ
6. เมื่อสัมผัสกับน้ำแล้วไม่ออกฤทธิ์กัดผิวหนัง จึงมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้
7. เมื่อได้รับความชื้นจะจับตัวเป็นก้อนได้ง่ายโดยเฉพาะปูนมาร์ล

2. กลุ่มอ๊อกไซด์ หรืออาจจะเรียกว่า "ปูนเผา" (burn lime หรือ Quick lime) ปูนกลุ่มนี้ได้แก่ แคลเซียมอ๊อกไซด์ (CaO) และแมกซีเซียมอ๊อกไซด์ (MgO) ซึ่งได้จากการนำหินปูนคาร์บอเนต หรือเปลือกหอยที่มีองค์ประกอบของ CO3 เป็นหลักมาเผาที่อุณหภูมิสูงประมาณ 600-900 องศาเซลเซียส แล้วนำมาบดให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ
600 - 900 oC
ปูนคาร์บอเนต ปูนอ๊อกไซด์เผา
คุณสมบัติของปูนกลุ่มอ๊อกไซด์
1. จะทำให้ค่าพีเอชเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดเหมาะสมที่จะใช้แก้ปัยหาดินเป็นกรดมากที่สุด
2. มีผลต่อค่าคาร์บอเนตอัลคาไลนิตี้
3. เมื่อสัมผัสกับน้ำจะเกิดความร้อน ทำให้อุณหภูมิของน้ำเพิ่มสูงขึ้น
4. เมื่อสัมผัสกับน้ำ จะมีฤทธิ์กัดผิวหนัง จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
5. เมื่อได้รับความชื้น จะไม่จับตัวเป็นก้อน เนื่องจากผ่านกระบวนการให้ความร้อนสูง ซึ่งเป็นการทำลายโครงสร้างให้มีขนาดอนุภาคเล็กลง

3. กลุ่มไฮดรอกไซด์ ปูนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเรียกรวม ๆ ว่า "ปูนขาว" (Slaked lime) ซึ่งได้แก่ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) และแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Mg(OH2)) ได้จากการนำหินปูนคาร์บอเนต หรือเปลือกหอยที่มีองค์ประกอบของคาร์บอเนตเป็นหลักมาเผาที่อุณหภูมิสูง แล้วพรมด้วยน้ำให้ชุ่ม ปูนจะแตกร่วนออกมาเอง ทำให้ประหยัดค่าบดและได้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
ปูนอ๊อกไซด์ + น้ำ ปูนไฮดรอกไซด์
คุณสมบัติของปูนกลุ่มไฮดรอกไซด์
1. จะทำให้ค่าพีเอชเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าพวกคาร์บอเนตแต่น้อยกว่าปูนพวกอ๊อกไซด์
2. มีผลต่อค่าคาร์บอเนตอัลคาไลนิตี้น้อยกว่า
3. เมื่อสัมผัสกับน้ำจะเกิดความร้อน ทำให้อุณหภูมิของน้ำเพิ่มสูงขึ้น
4. เมื่อสัมผัสกับน้ำจะมีฤทธิ์กัดผิวหนัง จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
5. เมื่อได้รับความชื้น จะไม่จับตัวกันเป็นก้อน

ประสิทธิภาพการทำลายกรดของวัสดุปูน

การทำงานของวัสดุปูนแต่ละชนิดจะมีประสิทธิภาพดีหรือไม่เพียงไรนั้นจะมีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประการด้วยกัน คือ
1. ชนิดของวัสดุปูน ปูนแต่ละชนิดจะมีอำนาจการทำลายกรดไม่เท่ากัน รายละเอียดดัง ตาราง
ชนิด ค่าการทำลายความเป็นกรด
หินปูนธรรมดา calcite (CaCO3)ปูนเผา (อ๊อกไซด์) Quick lime (CaO)ปูนขาว (ไฮดรอกไซด์) Slake lime (Ca(OH)2)หินปูนโดโลไมท์ Dolomite (CaMg(CO3)2) 100179136109
ค่าการทำลายกรดเทียมมาตรฐานจากอำนาจการทำลายกรดของ แคลเซียมคาร์บอเนตบริสุทธิ์ (CaCO3) ซึ่งคิดเป็น 100%
ตัวอย่าง
เมื่อทราบว่าต้องใช้แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) จำนวน 320 กก/ไร่ ในการปรับค่าพีเอช ของดินจากพีเอช 5 มาเป็น 6.5 ถ้าต้องการใช้แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) แทนแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) สามารถคำนวณหาปริมาณแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่ต้องใช้ได้จาก
2. ขนาดเม็ดอนุภาคของวัสดุปูน
ประสิทธิภาพการทำงานของปูน นอกจากจะขึ้นอยู่กับชนิดของปูนแล้ว ขนาดเม็ดปูนก็มีผลต่อการทำงานไม่น้อยเลยทีเดียว เม็ดปูนที่มีขนาดเล็กจะมีประสิทธิภาพการทำงานดีกว่าเม็ดปูนขนาดใหญ่ หน่วยมาตรฐานที่ใช้ในการวัดขนาดเม็ดปูนเรียกเป็น "เม็ช" (Mesh) ซึ่งหมายถึงขนาดรูตะแกรงร่อน เช่น 20 เม็ช หมายถึง ความถี่ของช่องตะแกรง 20 ช่องใน 1 นิ้ว
ขนาดเม็ดอนุภาค ประสิทธิภาพ (%)
ตาตะแกรง (เม็ช) ขนาด (มม.)
มากกว่า 6060 - 2020 - 8น้อยกว่า 8 เล็กกว่า 0.2500.250 - 0.8550.855 - 2.360ใหญ่กว่า 2.360 10060200
หมายเหตุ ปูนที่ดีควรมีความละเอียดในช่วง 20-100 ผสมกันจะใช้ได้ดีในการควบคุมค่าพีเอช
3. ชนิดเนื้อดินของบ่อเลี้ยง
เนื้อดินแต่ละชนิดจะมีค่าความเป็นกรดไม่เท่ากัน ยิ่งเนื้อดินมีความละเอียดมาก เช่น ดินเหนียว จะมีปริมาณความเป็นกรดในเนื้อดินสูง กว่าดินเนื้อหยาบ เนื่องจากดินที่ละเอียดสามารถดูดซับสารต่าง ๆ ไว้ในเนื้อดินได้มากกว่าดินเนื้อหยาบ ดังนั้นการใช้ปูนในการปรับค่าพีเอชจึงต้องพิจารณาเนื้อดินด้วย

ขอบคุณมากครับ เป็นประโยชน์อย่างมากเลยครับ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!