เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 19 เมษายน 2024, 22:06:05
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  ผู้รู้ภาษาโบราณ ช่วยอ่านให้หน่อยครับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 พิมพ์
ผู้เขียน ผู้รู้ภาษาโบราณ ช่วยอ่านให้หน่อยครับ  (อ่าน 6018 ครั้ง)
ผีอี่ฅ้อญ
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 315


ฮักบ้านเฮา


« เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม 2015, 17:16:22 »

คือว่ามีชาวบ้านพบก้อนดินกี่และมีภาษาเขียนติดไว้แต่ไม่มีใครอ่านได้เลย จึงขอความอนุเคราะห์ผู้รู้ภาษาโบราณช่วยอ่านให้หน่อยครับ เพื่อคลายความสงสัยให้กับชาวบ้าน และเป็นทานด้วยครับ ขอบคุณครับ ตามภาพนี้เลยครับ


* WP_20150128_007.jpg (116.21 KB, 360x640 - ดู 1475 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

-
apiwattano
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 369


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม 2015, 20:03:00 »



น่าจะวางภาพแบบนี้
ผมคาดว่า (เดา) เป็นอักษรฝักขาม
เคยพบในจารึกที่วัดร่ำเปิง จังหวัดเชียงใหม่
ขอเวลาสักหน่อยครับ ผมก็กำลังศึกษาอยู่
คงมีผู้รู้ตอบให้ท่านทราบก่อนก็เป็นได้
IP : บันทึกการเข้า
apiwattano
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 369


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2015, 09:24:35 »

ลองเทียบดูนะครับ

หากว่าเป็นอักษรฝักขามจริง (ไม่มีเจตนาเขียนภาษาไทยปัจจุบันให้ผิดรูปไป)

เทียบอันษรได้คือ
ฬ - สระเอีย - ม  ชาวดิน

อ่าน เรียมชาวดิน  ความหมายน่าจะแปลว่า
พวกเขาเป็นคนที่สร้างอิฐพวกนี้ขึ้นมา

ผิดพลาดประการใด ผู้รู้กรุณาให้ความเห็นครับ


IP : บันทึกการเข้า
ผีอี่ฅ้อญ
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 315


ฮักบ้านเฮา


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2015, 09:48:45 »

ขอขอบคุณทั้ง ๒ ท่านนะครับ ท่านแรก ก็น่าสนใจตรงที่ท่านบอกว่าเป็น อักษรฝักขาม คล้ายวัดที่เชียงใหม่ ประเด็นนี้จะรอนะครับ  ท่านที่ ๒ เมื่อพิจารณาตามท่านว่าไว้ก็เป็นไปได้มากทีเดียวที่ เป็นอักษรไทยภาคกลางแต่พยายามเล่นลายอักษร
    ก็คงต้องช่วยกันแกะรอยต่อไปนะครับ
    วันนี้มีภาพที่พบในก้อนดินกี่ มาให้สมาชิกดูเพิ่มเติมนะครับ
IP : บันทึกการเข้า

-
ผีอี่ฅ้อญ
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 315


ฮักบ้านเฮา


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2015, 09:57:31 »

ขอขอบคุณทั้ง ๒ ท่านนะครับ ท่านแรก ก็น่าสนใจตรงที่ท่านบอกว่าเป็น อักษรฝักขาม คล้ายวัดที่เชียงใหม่ ประเด็นนี้จะรอนะครับ  ท่านที่ ๒ เมื่อพิจารณาตามท่านว่าไว้ก็เป็นไปได้มากทีเดียวที่ เป็นอักษรไทยภาคกลางแต่พยายามเล่นลายอักษร
    ก็คงต้องช่วยกันแกะรอยต่อไปนะครับ
    วันนี้มีภาพที่พบในก้อนดินกี่ มาให้สมาชิกดูเพิ่มเติมนะครับ


* WP_20150128_008-002.jpg (121.85 KB, 360x640 - ดู 1356 ครั้ง.)

* WP_20150128_009-002.jpg (118.12 KB, 360x640 - ดู 1302 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

-
apiwattano
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 369


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2015, 11:28:41 »

ขอเพิ่มเติมสักนิด (มากกว่านิดๆ)
ตามรูปที่เพิ่มมาถ้าให้ผมวิเคราะห์
น่าจะเป็นคนงานที่ปั้นอิฐเพื่อก่อสร้างอะไรสักอย่าง
เช่นเมรุเผาศพ หรือศาลาวัดอะไรประมาณนี้...
อยู่เหงา ๆ ก็เลยขีดเขียนเป็นอักขระหรือรูปตามที่เห็นหรือตามจินตนาการ
แต่หากเรารู้แหล่งที่มาของอิฐ(ดินกี่) หรืออายุของมัน ก็น่าศึกษาครับ

เกี่ยวกับเรื่องตราประทับโดยใช้ดินเหนียว ฯลฯ ยุคนั้นก็ศึกษาจาก นี่เลยครับ

    กำเนิดของตราประทับนั้นเกิดจากดินแดนแถบลุ่มน้ำไทกริซ - ยูเฟรติส แถบตะวันออกกลาง และเผยแพร่ไปสองทาง ทางหนึ่งไปทางยุโรป อีกทางมาทางอินเดีย โดยทั้งหมดนี้ผ่านทางพ่อค้าเป็นส่วนใหญ่
   ตราประทับที่เข้าสู่อินเดียจากลุ่มน้ำสินธุ เข้าสู่ลำน้ำเจ้าพระยาเก่าในช่วงสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานตราประทับหลงเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง โดยตราประทับด้งกล่าวเป็นตราประจำตัวของพ่อค้า เพื่อผูกมัดสินค้าและบอกสถานภาพของตน หรือเป็นแม้กระทั่งเป็นเครื่องราง
    ตราประทับจะประทับจากหัวแหวนก็ดี ทำด้วยหินแกะก็ดี แล้วกดประทับลงบนผิววัสดุซึ่งหาง่ายและราคาถูก คือ ดินเหนียว ซึ่งยังคงสามารถหลงเหลือมาจนทุกวันนี้ ตราดังกล่าวยังถือวัฒนธรรมอินเดีย เช่น รูปสัตว์เคารพ ภาษาปัลลาวะ เป็นต้น




* K9574086-1.jpg (91.93 KB, 1050x258 - ดู 1633 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
LingJakJak
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2015, 16:07:47 »

ขอแชร์หน้อยครับ

จากภาพเป็นอักษรฝักขาม อักษรฝักขามเป็นอักษรที่เคยใช้ในล้านนาและภาคอีสานของไทย มีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรไทยน้อยหรืออักษรลาวในปัจจุบัน อักษรฝักขามในล้านนาชิ้นแรกคือจารึกวัดพระยืน อายุราว พ.ศ. 1954 และคาดว่าใช้มาจนถึงประมาณ พ.ศ. 2124 จึงเปลี่ยนมาใช้อักษรธรรมหรืออักษรล้านนาแทน

ในทางศาสนา อักษรฝักขามเป็นอักษรที่ใช้ในหมู่พระภิกษุนิกายลังกาวงศ์เก่า ส่วนอักษรธรรมใช้ในหมู่พระภิกษุนิกายลังกาวงศ์ใหม่ ในสมัยพระเจ้าติโลกราชขึ้นเสวยราชย์เมือ พ.ศ. 1984 ทรงสนับสนุนนิกายลังกาวงศ์ใหม่ และน่าจะเริ่มมีจารึกด้วยอักษรธรรมในรัชกาลนี้  ต่อมาภายหลังในสมัยพระเจ้ากาวิละพยายามฟื้นฟูอักษรฝักขามขึ้นอีกแต่ไม่สำเร็จ

อักษรตัวล่างในภาพ คือ 'หม' หมายถึงเมืองเชียงใหม่

รูปวาดบนดินกี่นั้น เป็นภาพสิ่งปลูกสร้างทรงปราสาทหรือวิหาร สังเกตุจะมีศิลปะการถ่ายน้ำหนักจากหลังคาลงสู่คานในลักษณะ 'ม้าต่างไหม' อันเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนา เป็นสิ่งปลูกสร้างชั้นสูง
IP : บันทึกการเข้า
LingJakJak
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2015, 16:15:22 »

ภาพวาดชิ้นที่สอง น่าจะเป็นหม้อไหดอก หรือ 'หม้อบูรณฆฏะ' (ปูรณะ แปลว่า เต็ม สมบูรณ์,  ฆฏะ แปลว่า หม้อ) จึงมีความหมายถึงความสุข สงบ ร่มเย็น อุดมสมบูรณ์และความงอกงาม ใช้เป็นเครื่องบูชาในศาสนสถานและสถานที่ชั้นสูงของล้านนา

IP : บันทึกการเข้า
LingJakJak
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2015, 16:22:19 »

 บูรณฆฏะวัดปงยางคก


* Pongyang4.jpg (72.65 KB, 490x368 - ดู 1333 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
apiwattano
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 369


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2015, 17:41:03 »

น่าสนใจครับ
ทฤษฎีของท่าน น่าจะถูก ขอบพระคุณที่ชี้แนะ
ผู้สนใจลองดูอักษรฝักขาม ช่วง พ.ศ ๒๐๐๐ - ๒๔๐๐
เอาไว้ศึกษาจารึกโบราณครับ




* phpThumb_generated_thumbnailjpg.jpg (49.51 KB, 400x605 - ดู 1289 ครั้ง.)

* phpThumb_generated_thumbnailjpg 2.jpg (38.1 KB, 400x567 - ดู 1248 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
WH_Y
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,222



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 29 มกราคม 2015, 20:22:48 »

 ขอขอบคุณทั้ง 2 ท่านที่มาช่วยไขปัญหา อ่านและแปลหื้อฟังเจ้า.. ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
LingJakJak
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 30 มกราคม 2015, 11:10:31 »

ตัวอย่างการตอกอักษรฝักขามบนเงินตราของล้านนา เช่นเงินเจียงเชียงแสน เงินเจียงเชียงใหม่

เงินเจียง เรียกกันว่าเงินขาคีม มีรูปคล้ายเกือกม้าสองวงปลายต่อกันคอดกลาง ทำให้หักออกและทอนค่าลงได้ มีการตีตราประทับด้านละ 3 ดวง บอกน้ำหนักของเงินชื่อเมืองที่ทำขึ้น และตราจักรตามลำดับ เช่น แสน (เชียงแสน) หม (เชียงใหม่) กก หาง สบฝางหรือฝาง นาน (น่าน) คอน (ลำปาง) แพร (แพร่)


* nyzpfa.jpg (176.62 KB, 600x601 - ดู 1401 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ผีอี่ฅ้อญ
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 315


ฮักบ้านเฮา


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 30 มกราคม 2015, 11:31:29 »

ขอบคุณมากครับได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากเลยครับ
สถานที่พบเป็นวัดร้าง เก่าแก่ครับตอนนี้กำลังประสานกับ นักโบราณฯ เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย อยู่ครับ
ซึ่งตอนนี้พบหลักฐานจำนวนมาก เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างครับ
แล้วจะนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังต่อนะครับเกี่ยวกับความคืบหน้า
IP : บันทึกการเข้า

-
apiwattano
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 369


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 30 มกราคม 2015, 12:39:40 »

ข้อมูลเพิ่มเติมครับ
อักษรล้านนา
                      เนื่องด้วยล้านนาเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ มีวัฒนธรรมมาจากหลากหลายพื้นที่ มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตัวเอง เรียกตัวเขียนล้านนาว่า “อักษรล้านนา” ในล้านนามีตัวอักษรใช้ 3 แบบ คือ อักษรธรรมล้านนา อักษรฝักขาม และ อักษรไทยนิเทศ หรืออักษรขอมเมือง อักษรทั้งสามชนิดเป็นอักษรโบราณ ในอดีตเคยใช้กันอย่างแพร่หลาย


อักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมือง
                  เป็นอักษรที่สำคัญ และแพร่หลายในล้านนามาก การกำเนิดอักษรธรรมล้านนาก็คล้ายกับการกำเนิดอักษรทั้งหลาย คือ ปรับปรุงจากอักษรที่มีอยู่เป็นระบบมาแล้ว คือ อักษรมอญ หลักฐานเกี่ยวกับการกำเนิดอักษรธรรมล้านนาไม่ปรากฏ หลักฐานอักษรธรรมล้านนาเก่าที่สุดเท่าที่พบในปัจจุบัน คือ จารึกลานทอง พบที่สุโขทัย จารึกได้ระบุศักราชไว้ตรงกับ พ.ศ.1919 อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบหลักฐานว่า อักษรธรรมล้านนาเกิดขึ้นในสมัยใด เพราะอักษรธรรมล้านนามีกำเนิดจากพัฒนาการของภาษาคือ ค่อยๆเปลี่ยนแปลงทีละน้อยจึงอาศัยเวลานาน
การกำเนิดอักษรธรรมล้านนา มีสาเหตุสำคัญมากจาความจำเป็นทางศาสนาเพื่อเขียนพระธรรมคัมภีร์ให้เป็นสื่อแก่คนในวงกว้าง อักษรธรรมล้านนาจึงเริ่มต้นจากการใช้เขียนภาษาบาลีเป็นหลัก ต่อมาดัดแปลงเพื่อใช้เขียนภาษาเมืองด้วย


อักษรฝักขาม
                อักษรฝักขาม เป็นตัวหนังสือของพ่อขุนรามฯที่แพร่เข้าไปในล้านนา โดยได้เปลี่ยนรูปร่างและอักขรวิธีไปบ้าง จึงกลายเป็นอักษรฝักขาม ในล้านนานิยมใช้อักษรฝักขามสำหรับเขียนศิลาจารึก หลักที่เขียนเป็นอักษรฝักขามเก่าแก่ที่สุดคือ ศิลาจารึก ลพ.9 เขียนพ.ศ.1954 และหลักใหม่สุดเขียน พ.ศ.2370


อักษรไทยนิเทศ
                 อักษรไทยนิเทศหรืออักษรขอมเมือง ตัวอักษรชนิดนี้เกิดจากการดัดแปลงอักษรธรรมล้านนา และอักษรฝักขามเข้าด้วยกันแล้วเติม “ศก” แบบขอม อักษรไทยนิเทศยังสรุปไม่ได้ชัดเจนว่า มีมาเมื่อใด เดิมเข้าใจกันว่าเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้ากาวิละ แต่ภายหลังเริ่มพบหลักฐานว่ามีมาก่อนหน้านั้นแล้ว อักษรไทยนิเทศนิยมใช้เขียนในกวีนิพนธ์ต่างๆที่เป็นเรื่องทางโลก เช่น นิราศหริภุญไชย โคลงมังทรารบเชียงใหม่ โคลงพรหมทัต ทั้งนี้ถือว่าอักษรธรรมเป็นของสูง ใช้เขียนในศาสนา จึงไม่ใช้เขียนงานของกวีนิพนธ์

ร่วมด้วยช่วยกันครับ  มีข้อมูลดี ๆ ช่วยแบ่งปัน  ขอขอบพระคุณทุกท่าน
IP : บันทึกการเข้า
ผีอี่ฅ้อญ
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 315


ฮักบ้านเฮา


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 30 มกราคม 2015, 16:10:01 »

ขอแชร์หน้อยครับ

จากภาพเป็นอักษรฝักขาม อักษรฝักขามเป็นอักษรที่เคยใช้ในล้านนาและภาคอีสานของไทย มีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรไทยน้อยหรืออักษรลาวในปัจจุบัน อักษรฝักขามในล้านนาชิ้นแรกคือจารึกวัดพระยืน อายุราว พ.ศ. 1954 และคาดว่าใช้มาจนถึงประมาณ พ.ศ. 2124 จึงเปลี่ยนมาใช้อักษรธรรมหรืออักษรล้านนาแทน

ในทางศาสนา อักษรฝักขามเป็นอักษรที่ใช้ในหมู่พระภิกษุนิกายลังกาวงศ์เก่า ส่วนอักษรธรรมใช้ในหมู่พระภิกษุนิกายลังกาวงศ์ใหม่ ในสมัยพระเจ้าติโลกราชขึ้นเสวยราชย์เมือ พ.ศ. 1984 ทรงสนับสนุนนิกายลังกาวงศ์ใหม่ และน่าจะเริ่มมีจารึกด้วยอักษรธรรมในรัชกาลนี้  ต่อมาภายหลังในสมัยพระเจ้ากาวิละพยายามฟื้นฟูอักษรฝักขามขึ้นอีกแต่ไม่สำเร็จ
อักษรตัวล่างในภาพ คือ 'หม' หมายถึงเมืองเชียงใหม่

รูปวาดบนดินกี่นั้น เป็นภาพสิ่งปลูกสร้างทรงปราสาทหรือวิหาร สังเกตุจะมีศิลปะการถ่ายน้ำหนักจากหลังคาลงสู่คานในลักษณะ 'ม้าต่างไหม' อันเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนา เป็นสิ่งปลูกสร้างชั้นสูง
ขอบคุณท่านผู้รู้ แต่ขอรบกวนอีกนิดครับ ว่าข้อความข้างบนอ่านว่าอย่างไรครับ


IP : บันทึกการเข้า

-
ผีอี่ฅ้อญ
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 315


ฮักบ้านเฮา


« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 30 มกราคม 2015, 16:23:07 »

ดินกี่ที่นำรูปมาให้สมาชิกช่วยตีความพบในพื้นที่ อ.พญาเม็งราย เป็นวัดเก่า ที่กำลังค้นพบ ครับ
IP : บันทึกการเข้า

-
apiwattano
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 369


« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 30 มกราคม 2015, 17:14:00 »

ไหน ๆ ก็ มาถึงนี่แล้ว ไปต่ออีกนิดนะครับ
กระทู้ก่อนหน้านี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ตัดตอนมาให้ทราบเท่านั้น
ว่าลักษณะของภาษาที่ใช้ในล้านนาแต่ละแบบเป็นอย่างไร
(แต่คงมีผู้รู้สักท่านอ่านได้และแปลให้ท่านทราบได้)
ผมติดเรื่องจารึกวัดร่ำเปิงภาษาล้านนา(อักขระฝักขาม)อยู่
หลายสิบปีก่อนผมเคยเป็นศิษวัดร่ำเปิงมีครูบาอาจารย์ท่านแปล
จารึกฝักขามไว้  ผมจึงใช้โอกาสนี้ขออนุญาตเผยแพร่ให้ผู้สนใจด้วยครับ



* fk-000.jpg (155.98 KB, 319x799 - ดู 1290 ครั้ง.)

* fk-011.jpg (233.68 KB, 631x911 - ดู 1257 ครั้ง.)

* fk-022.jpg (264.26 KB, 597x905 - ดู 1315 ครั้ง.)

* fk-033.jpg (264.11 KB, 556x888 - ดู 1268 ครั้ง.)

* fk-044.jpg (278.66 KB, 623x888 - ดู 1249 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
apiwattano
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 369


« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 30 มกราคม 2015, 17:15:32 »

ต่อ


* fk-055.jpg (272.36 KB, 588x890 - ดู 1227 ครั้ง.)

* fk-066.jpg (68.44 KB, 534x278 - ดู 1226 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
apiwattano
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 369


« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 30 มกราคม 2015, 20:07:34 »

ตามที่มีข้อมูล   "บูรณฆฏะวัดปงยางคก"้ ศิลปินรุ่นหลังได้แกะรูปภาพออกมาแบบนี้ครับ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 30 มกราคม 2015, 23:12:10 โดย apiwattano » IP : บันทึกการเข้า
ผีอี่ฅ้อญ
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 315


ฮักบ้านเฮา


« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 02 กุมภาพันธ์ 2015, 12:08:57 »

ยิ่งเรียนรู้ยิ่งน่าสนใจมากครับ
IP : บันทึกการเข้า

-
หน้า: [1] 2 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!