เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 19:17:30
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  บอร์ดกลุ่มชมรม
| |-+  ชมรมดนตรี (ผู้ดูแล: NOtis, desh)
| | |-+  ว่าด้วยความรู้เรื่อง"PICK UP"กีตาร์
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ว่าด้วยความรู้เรื่อง"PICK UP"กีตาร์  (อ่าน 6086 ครั้ง)
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« เมื่อ: วันที่ 01 ตุลาคม 2014, 06:27:11 »

ไปคว้ามาจากที่อื่นเห็นว่าเป็นความรู้สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ เพราะเห็นว่า บอร์ดนี้จะมีแต่ โฆษณาและค้าขายกันมาก เลยขอเอาความรู้มาแบ่งปันบ้าง

 ขอว่าด้วยเรื่องปิกอัพกีตาร์ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วมันก็คือตัวรับเสียงนั่นเอง หากไม่มีเจ้าอุปกรณ์นี้กีตาร์ก็ไม่ใช่กีตาร์ไฟฟ้า ดนตรีสมัยใหม่ก็จะไม่เป็นอย่างที่ควรจะเป็น เพราะเจ้าปิกอัพนี่เองที่จับเอาคลื่นสั่นสะเทือนของสายกีตาร์แล้วแปลงเป็น สัญญาณไฟฟ้าที่สามารถนำไปขยายเสียงตลอดจนบันทึกได้ โครงสร้างของมันไม่มีอะไร
ซับซ้อน เขาเอาเส้นลวดทองแดงมาพันรอบแท่งแม่เหล็ก AlNiCo หลาย ๆ รอบ
สำหรับ กีตาร์ไฟฟ้าโดยหลักแล้วปิกอัพมี 2 ชนิด คือ single coil และ Humbucker ชนิดแรกขึ้นชื่อว่ามีเสียงฮัม (เสียงจี่รบกวน) นิยมใช้ในกีตาร์แนว fender โดยเฉพาะทรง Stratocaster และ Telecaster ส่วนชนิดหลังเขาทำขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเสียงฮัม โดยใส่ตัว coil เข้าไป 2 อัน แล้วเชื่อมต่อขั้วแม่เหล็กคนละด้านกัน กีตาร์สมัยใหม่มักนิยมใช้ปิกอัพทั้ง 2 แบบนี้ร่วมกัน เช่น Humbucker ที่ตำแหน่ง bridge และ single coil ในตำแหน่ง mid และ neck ส่วนปิกอัพชนิดที่ 3 คือ Piezo ซึ่งมีไว้ใช้ใส่ในกีตาร์โปร่งไฟฟ้า ซึ่งเป็นคนละศาสตร์ สุ้มเสียงแตกต่างไปอีกแบบ
มีหลายท่านที่กำลังจะ เลือก pickup ตัวใหม่แต่ไม่แน่ใจว่าเจ้าแม่เหล็ก AlNiCo ที่เขามีอยู่ 4 เบอร์ด้วยกันมันต่างกันอย่างไร เลยขอค้นคว้ามาเล่าให้ฟังครับ พอดีผมมีคัมภีร์ pickup เขียนโดย Dave Hunter เซียนกีตาร์คนหนึ่งในวงการกีตาร์โลก เขาได้กล่าวถึงเจ้าแม่เหล็กนี้ไว้ว่า…
แม่เหล็ก AlNiCo มีด้วยกัน 4 รุ่น เป็นเลขโรมันตามลำดับ II, III, IV และ V โดยตัวที่นิยมใช้กัน คือ II และ V ส่วน III และ IV ไม่ค่อยนิยมใช้กันนัก ส่วนใหญ่จะใช้โดยบรรดา boutique แบรนด์ที่ต้องการเน้นที่แคแร็กเตอร์ของแม่เหล็กมาก ๆ
AlNiCo ละรุ่นต่างกันที่ส่วนผสมของอัลลอยและความแรงของแม่เหล็ก โดยทั่วไป AlNiCo ประกอบด้วย aluminium 10%, nickel 18%, cobalt 12%, copper 6% และ iron 54% (บางชนิดยังมีส่วนผสมของ titanium และ/หรือ niobium อยู่ด้วย) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแม้จะเป็นรุ่นเดียวกันบางทีส่วนผสมก็ไม่เหมือนกันเสียที เดียว เช่น AlNiCo II ที่ผลิตคนละรอบจะมีส่วนผสมต่างกันเล็กน้อย
จริง ๆ แล้วแม่เหล็ก AlNiCo II, III, IV และ V
มี กำลังของคลื่นแม่เหล็กต่างกันเล็กน้อย นั่นหมายความว่า ความแตกต่างของเสียงก็ต่างกันไม่มากเช่นกัน แต่หากท่านจะต้องเลือกใช้แม่เหล็กรุ่นต่าง ๆ นี้ นี่คือสรรพคุณของแต่ละตัว
รุ่นที่กำลังอ่อนที่สุด คือ AlNiCo II ซึ่งให้เสียงหวาน (sweet) และเบา (soft) กว่ารุ่นอื่น ๆ เล็กน้อย
รุ่นต่อมา AlNiCo III ก็ยังอยู่ในข่ายเบา (soft) แต่เสียงยังหนากว่ารุ่น II เล็กน้อย
ส่วนรุ่น AlNiCo IV เห็นได้ชัดว่าสุ้มเสียงจะ punchy กว่า II และ III ย่านเสียงสูงจะพุ่งกว่า
และรุ่น AlNiCo V จะให้เสียงหนาสุด ชัดเจนสุด และ
แรงสุด
ย้ำ อีกทีว่าขอให้ทำความเข้าใจว่าความแตกต่างที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ต่างไปจากการพยายามเปรียบเทียบหมูหันระหว่างร้านเด็ดร้านหนึ่งกับร้าน เด็ดอีกร้านหนึ่งที่อร่อยเหมือนกัน มันอยู่ที่รสนิยม สรุปว่าความต่างด้านเสียงนั้นมี แต่มีไม่มาก และยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีกมากมายที่มีผลกระทบต่อเสียงของกีตาร์ เช่นรอบการพันลวดใน pickup, สายเคเบิล, ชนิดไม้, สายกีตาร์, แอมป์ ฯลฯ เลือกใช้ปิกอัพคราวหน้าอย่าลืมตัดหน้านี้พกไปด้วยนะครับ ยิ้มกว้างๆ (หน้าพิเศษ D-Life)

Basic Guitar’s Pickup
Posted on ตุลาคม 26, 2012 by gmagteams
 
          อุปกรณ์ที่เราจะพูดถึงในวันนี้ ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ที่ถูกหยิบยกมาถกกันมากที่สุดชิ้นหนึ่งสำหรับนักกีตาร์ นั่นคือปิ๊คอัพกีตาร์นั่นเอง โดยก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนว่าปิ๊คอัพนั้นมีหน้าที่รับสัญญาณการสั่นสะเทือนของสายกีตาร์ โดยผ่านตัวปิ๊คอัพซึ่งประกอบด้วยแม่เหล็กและขดลวด เพื่อทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ที่จะแปลงเป็นเสียงไปออกลำโพงอีกที ดังนั้นปิ๊คอัพถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งสำหรับกีตาร์ไฟฟ้าเหมือนกัน เพราะถ้าไม่มีปิ๊คอัพแล้ว กีตาร์ไฟฟ้าก็ไม่สามารถจะส่งเสียงไปสู่ตู้แอมป์ได้เลย
          ปิ๊คอัพกีตาร์นั้นถูกแบ่งเป็นหลายประเภทและหมดหมู่อย่างมาก ทั้งชนิดของปิ๊คอัพ ต่ำแหน่งของปิ๊คอัพ รวมถึงการใช้งานด้วย โดยผมขอแบ่งตามสิ่งที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันก่อน นั้นคือชนิดหลักๆ ของปิ๊คอัพ ซึ่งก็จะมีทั้ง Single Coil, Humbucking, Humbucking in Single Coil Size และ Mini Humbucking ที่นี้เรามาลองดูคุณสมบัติของแต่ละชนิดกันเลยดีกว่า
Single Coil
 
มีโครงสร้างแบบเรียบง่าย คือมีการนำขดลวดมาพันรอบแม่เหล็กแล้วครอบด้วยฝาครอบ นิยมมากๆ ในกีตาร์ Fender รวมถึงกีตาร์ทรง Stratocaster ทั้งหลาย ให้เสียงที่คมใส โดยจะมีเสียงจี่ด้วย ถ้าเราเปิดเสียงแตกมากๆ เหมาะกับการเล่นในหลายแนวดนตรี แต่ถ้าเกิดเป็นแนวที่ต้องการเสียงกีตาร์ที่หนามากๆ อย่างเมทัลหรือแจ๊ซ อาจจะยังตอบรับได้ไม่ดีมาก
Humbucking

 เป็นปิ๊คอัพที่มีพื้นฐานคล้ายกับการนำ Single Coil สองตัวมาประกบกันเพื่อเพิ่ม Output เพื่อให้ได้เสียงที่มีมวลความหนามากขึ้น มีความอุ่น รวมถึงช่วยลดเสียงจี่ให้น้อยลง (ตามชื่อ) แต่ก็จะไม่สามารถให้เสียงที่ใสเหมือนกับ Single Coil แต่ก็มี Humbucking บางชนิดที่สามารถตัดเสียงให้กลายเป็นแบบ Single Coil เพื่อเพิ่มความหลากหลายในการเล่นได้ โดย Humbucking จะเหมาะกับแนวเพลงที่ต้องการความหนาของเสียง เช่นแนวร็อค เพราะนอกจากจะได้ความแรงที่มากกว่าแล้ว ยังช่วยลดเสียงจี่เวลาเราเปิดเสียงแตกมากๆ อีกด้วย
Humbucking in Single Coil Size
 

 เป็นปิ๊คอัพที่มีคนเรียกผิดมากที่สุด โดยคนส่วนใหญ่มักเรียกว่า Mini Humbucking ซึ่งจริงๆ แล้วมันคือ Humbucking ที่มีขนาดเท่า Single Coil เท่านั้นเอง โดยจะเหมาะสำหรับผู้ต้องการเสียงแบบ Humbucking แต่กีตาร์เจาะไม้ไว้สำหรับใส่ Single Coil เท่านั้น เช่น Fender ที่มีช่องใส่ Pickup กีตาร์แบบ S-S-S (พวก Fender รุ่นใหม่ๆ บางรุ่นจะมีการเจาะไม้ไว้เผื่อสำหรับเปลี่ยนจาก Single Coil เป็น Humbucking ได้) ก็สามารถตอบโจทย์ของพวกเขาได้ด้วย Humbucking ในขนาดของ Single Coil
Mini Humbucking
 
เป็นปิ๊คอัพที่จะพบเห็นได้น้อยกว่าสามชนิดข้างบนที่ได้กล่าวไป โดย Mini Humbucking จะมีโครงสร้างคล้ายๆ กับ Humbucking แต่จะมีขนาดที่เล็กกว่าเล็กน้อย โดยอาจจะมีชื่อเรียกต่างๆ กันตามชนิด โดยส่วนใหญ่เรามักได้ยินคนเรียก Pickup แบบนี้ว่า P-90 หรือ Soap Bar ซึ่งก็เป็นชนิดที่ต่างกันไปของ Mini Humbucking โดยโทนเสียงของมันจะอยู่ตรงกลางระหว่าง Single Coil กับ Humbucking คือจะเสียงจะอุ่นๆ มีความใส แต่ก็ไม่บาง ออกจะเด้งๆ หน่อยด้วย เรียกว่าเล่นได้หลากหลายมากๆ แต่อาจจะไม่ค่อยพบในกีตาร์ทั่วไปนัก อาจจะมีเฉพาะใน Epiphone หรือ Gibson บางรุ่น
          หลังจากครั้งที่แล้วเราได้พูดถึงเรื่องเบสิกของปิ๊คอัพชนิดต่างๆ ไปแล้ว คราวนี้เราจะมีว่ากันเพิ่มกับเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับปิ๊คอัพที่เราควรรู้ไว้ดีกว่า
Passive Pickup กับ Active Pickup คืออะไร และต่างกันอย่างไร?
         ถ้าจะพูดให้ง่ายที่สุด Passive Pickup ก็คือปิ๊คอัพที่ไม่ต้องใส่ถ่าน ส่วน Active Pickup ก็คือปิ๊คอัพที่ต้องใส่ถ่าน และถ้าถามความแตกต่างของปิ๊คอัพทั้งสองแบบ เราขอเริ่มที่ Active Pickup กันก่อน โดยคาแร็กเตอร์เสียงของ Active จะมีความชัด พุ่ง แรง รวมถึงมีซัสเทนที่ยาว โดยบางรุ่นอาจจะมีปุ่มสำหรับบูสต์เสียงเพิ่มขึ้นให้ด้วย และนี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ปิ๊คอัพแบบ Active จำเป็นต้องใส่ถ่าน โดยหัวหอกแห่ง Active Pickup ก็คือยี่ห้อ EMG ซึ่งก็เป็นที่นิยมของศิลปินมากมาย โดนเฉพาะอย่างยิ่งในแนว Metal ที่ต้องการเสียงกีตาร์แรงๆ มือกีตาร์อย่าง Zakk Wylde, James Hetfield รวมถึง Steve Lukather ก็มี EMG เป็นหนึ่งในขุมกำลังเสียงอันทรงพลังของพวกเขา และอีกหนึ่งข้อดีของ Active Pickup ก็คือมันจะไม่ค่อยเลือกไม้เท่าไหร่ คือเสียงส่วนใหญ่ของกีตาร์จะมาจากตัวปิ๊คอัพจึงเหมาะสมจะเป็นปิ๊คอัพที่จะนำไปโมดิฟายด์กับกีตาร์ที่ไม้ไม่ดีนัก เพื่อกลบจุดด้อยของตัวไม้ไป ส่วนถ้าจะพูดถึงข้อเสีย ก็คงอาจจะขาดธรรมชาติของเสียงเนื้อไม้ไปเล็กน้อย รวมถึงต้องเปลี่ยนถ่ายด้วย (ถ้าไม่เสียบแจ็คค้างไว้ ถ่านก็อยู่ได้นานพอสมควร)
          ส่วน Passive Pickup ก็คือปิ๊คอัพที่มีการทำงานแบบทั่วไปที่เราใช้กัน โดยคาแร็กเตอร์ของเสียงก็จะเป็นไปตามที่แต่ละรุ่นกำหนดไว้ โดยอาจจะไม่ได้มีซัสเทนที่ยาว หรือโน้ตออกชัดเจนเท่ากับแบบ Active แต่ที่ได้แน่ๆ คือความเป็นธรรมชาติที่จะมีมากกว่า Active โดยเฉพาะอย่างยิ่งซิงเกิ้ลคอยล์ที่เป็น Passive จะสามารถขับเสียงของไม้ออกมาได้เต็มที่ โดยยี่ห้อที่ดังๆ ที่คนนิยมใช้กันก็มีหลายรุ่น เช่น Seymour Duncan, DiMarzio, Fender, Gibson โดยแต่ละยี่ห้อก็จะมีคาแร็กเตอร์แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน
           โดยรวมๆ แล้วการที่เราจะเลิกใช้ปิ๊คอัพแบบ Passive หรือ Active นั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของเราเป็นหลักล้วนๆ รวมถึงการใช้งานด้วย ความแตกต่างๆ คร่าวๆ ที่สรุปได้ก็คือ Active ใช้ถ่าน เสียงแรง พุ่ง ชัด ซัสเทนยาว Passive เสียงออกเนื้อไม้ วินเทจ และให้ความเป็นธรรมชาติ ที่นี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนแล้วว่าจะต้องการเสียงแบบไหน
ยี่ห้อยอดนิยมของ Pickup มีอะไรบ้างและแต่ละยี่ห้องมีคาแรคเตอร์ของเสียงเป็นอย่างไร?
           ข้อนี้ถือเป็นเรื่องยากเลยที่เดียว เพราะปิ๊คอัพยี่ห้อเดียวกันแต่คนละรุ่นก็จะให้เสียงที่ต่างกันอย่างชัดเจนแล้ว แต่คราวนี้เราจะลองมาเปรียบเทียบคร่าวๆ ของปิ๊คอัพที่เป็นที่นิยม เช่น DiMarzio กับ Seymour Duncan ที่มักถูกนำมาเปรียบเทียบกันบ่อยๆ โดยภาพรวมที่เข้าใจกันก็คือ Dimarzio จะให้ Gain ที่เยอะกว่า Seymour Duncan (โดยส่วนมาก) ขอยกตัวอย่างรุ่นยอดฮิตของทั้งสองยี่ห้อ คือ DiMarzio รุ่น Tonezone กับ Seymour Duncan รุ่น JB ที่มักจะถูกยกมาเปรียบเทียบกันอยู่บ่อยๆ โดยจริงๆ แล้วทั้งสองรุ่นก็มีดีทั้งคู่ แต่ขึ้นอยู่กับการใช้งานมากกว่า โดย Tonezone จะเหมาะกับกีตาร์ที่ใช้ไม้ Basswood หรือพวกไม้ที่ให้เสียงคม ใส เพราะ Tonezone จะมีย่านเสียงกลางและเสียงเบสที่เยอะกว่า ดังนั้นถ้านำ Tonezone ไปใส่กับพวก Gibson LP ทั้งหลายก็อาจจะทำให้เสียงบวมได้ ส่วน JB ซึ่งเป็นปิ๊คอัพที่เด่นเรื่องเสียงแหลมคมก็จะเหมาะกับพวกไม้ Mahogany ที่ให้เสียงอ้วนหนาเช่นพวกทรง LP เพราะจะช่วยชดเชยย่านที่ขาดหายไปอย่างลงตัว ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าการเลือกปิ๊คอัพนั่น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือตัวกีตาร์ที่เราใช้ด้วย หลังจากนั้นค่อยหาคาแร็กเตอร์ของเสียงที่เราต้องการ
           นอกจากนี้ปิ๊คอัพที่เป็นที่นิยมก็ยังมีอีกมากมาย เช่น Fender ก็จะมีให้เลือกหลายรุ่น เช่นพวกปิ๊คอัพที่ทำจำลองเสียงแบบ Fender รุ่นเก่าๆ เช่นปี 50’ 54’ 69’ หรือจะพวก Noiseless ที่จะช่วยในเรื่องการลดเสี่ยงจี่ของปิ๊คอัพซิงเกิ้ลคอยล์ นอกจากนี้ปิ๊คอัพแบรนด์ใหม่ๆ เช่น Suhr, Bare Knuckle ก็จะเป็นพวกปิ๊คอัพที่ให้เสียงระดับ Custom เป็นตัวเลือกให้เราเลือกใช้อีก ขึ้นอยู่กับความต้องการ รวมถึงงบประมาณของเรา
Piezo Pickup คืออะไร?
           Piezo Pickup ก็คือปิ๊คอัพที่จำลองเสียงกีตาร์โปร่งนั่นเอง ถ้าเราอยากเปลี่ยนเสียงกีตาร์ไฟฟ้าอันแข็งกร้าวของเรา ให้เป็นเสียงอันนุ่มนวลของกีตาร์โปร่ง ก็ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ใส่ Piezo เข้าไป โดย Piezo นั้นจะอยู่ตรงใต้ Saddle ของกีตาร์เรา สำหรับกีตาร์ที่มีปิ๊คอัพแบบ Piezo ติดมาให้เลยก็มี เช่นกีตาร์ของ Parker เกือบทุกรุ่นหรือMusicMan รุ่น John Petrucci Model หรือรุ่นอื่นๆ อีก แต่ข้อเสียของ Piezo ก็คือการใส่อาจจะยุ่งยากซักหน่อย อาจจะต้องให้ช่างช่วยในการเปลี่ยน และถ้าเป็นของไม่ได้มาตรฐาน ก็อาจจะทำให้เกิดเสียงแตก เวลาเราเล่น Strumming แรงๆ ได้
           หลังจากที่ได้อธิบายพื้นฐานของเบสิกปิ๊คอัพไปแล้วทั้งสองพาร์ท ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยให้ผู้ที่กำลังสับสนเรื่องเปลี่ยนปิ๊คอัพจะมีความเข้าใจ แล้วตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้น แต่อยากจะบอกไว้ว่าก่อนที่เราจะตัดสินใจเปลี่ยนปิ๊คอัพนั้น อยากให้เราลองทำความคุ้นเคยกับปิ๊คอัพตัวเก่าที่เราใช้อยู่ให้ดีเสียก่อน เพราะบางทีสาเหตุที่เสียงกีตาร์เราไม่ดี อาจจะมาจากปัจจัยอื่นๆ ก็เป็นได้ แอมป์ เอฟเฟ็กต์ ปิ๊ค สายกีตาร์ คนเล่น ทุกอย่างล้วนมีผลต่อเสียงหมด แต่ถ้าเราแน่ใจว่าต้องการเปลี่ยนคาแร็กเตอร์ของมันจริงๆ ก็ศึกษาทุกอย่างให้ดีที่สุด ทั้งไม้และทรงของกีตาร์ที่เราใช้ รวมถึงคาแร็กเตอร์ของปิ๊คอัพที่เราจะเปลี่ยนด้วย เพื่อจะได้พอใจกับเสียงที่สุด หลังจากเปลี่ยนแล้ว ยังไงก็ขอให้ทุกๆ คนได้ปิ๊คอัพที่ถูกใจแล้วกันครับ




* PU 1.jpg (73.46 KB, 700x323 - ดู 4752 ครั้ง.)

* PU 2.jpg (18.88 KB, 400x265 - ดู 4331 ครั้ง.)

* PU 3.jpg (56.45 KB, 600x422 - ดู 4605 ครั้ง.)

* PU 4.jpg (42.8 KB, 600x367 - ดู 4663 ครั้ง.)

* PU 5.jpg (31.82 KB, 450x549 - ดู 4329 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 01 ตุลาคม 2014, 06:42:28 โดย แมงคอลั่น » IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 01 ตุลาคม 2014, 06:46:17 »

เพิ่มเกร็ดเล็กน้อยกับ ยี่ห้อกีตาร์เก่าๆ แปลเองเน่อ

Samick Musical Instrument Co., Ltd. also known as Samick, founded 1958,(พ.ศ. 2501) is one of the world's largest musical instrument manufacturers and an owner of shares in several musical instrument manufacturing companies.
Samick owns several manufacturers of pianos (for example Wm. Knabe & Co., Pramberger, Kohler & Campbell and Seiler), guitars (for example Greg Bennett Guitars and Silvertone) and other instruments.
Samick guitars are manufactured under different brand names and made by a number of different makers, including Greg Bennett and J.T. Riboloff (a former luthier at Gibson).[1] Some other Samick-built guitars are sold under Epiphone, Squier, Washburn, Hohner, and other brands.
Greg Bennett Guitars
American luthier Greg Bennett designs a line of guitars for Samick. The guitars have pickups by Seymour Duncan, machine heads from Grover, and bridges by Wilkinson. Woods used include ovangkohl and ebony from Africa, rosewood from India. and rock maple from North America. Instruments under the Greg Bennett label are electric, acoustic and archtop guitars, electric and acoustic basses, mandolins, banjos, ukuleles and autoharps.
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!