เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 เมษายน 2024, 17:03:29
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  Re: รวบรวมกระทู้การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและโครงการพัฒนาเชียงราย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 [14] 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 ... 37 พิมพ์
ผู้เขียน Re: รวบรวมกระทู้การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและโครงการพัฒนาเชียงราย  (อ่าน 440064 ครั้ง)
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #260 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2011, 10:44:56 »

ททท.จับมือเอกชน กระตุ้นท่องเที่ยว เมืองรองภาคเหนือ



 นายสุภกิตต์ พลจันทร ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนมิถุยายน-ตุลาคมนี้ ททท.จะร่วมกับ 4 สมาคมเอกชนด้านการท่องเที่ยว จัดทำแพ็คเกจทัวร์ดึงนักท่องเที่ยวในประเทศให้เดินทางท่องเที่ยวยังหัวเมืองรองของภาคเหนือ ได้แก่ น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิจิตร เพชรบูรณ์ เป็นต้น นอกเหนือจากท่องเที่ยวในเมืองหลักอย่างเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน

 "สถานที่ท่องเที่ยวหัวเมืองรองของภาคเหนือสวยไม่แพ้กับเมืองท่องเที่ยวหลักๆ และถ้าเกิดปัญหาวิกฤตต่างๆที่เมืองท่องเที่ยวหลัก นักท่องเที่ยวก็สามารถไปเที่ยวหัวเมืองรองได้ อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆที่นักท่องเที่ยวยังไม่รู้จัก โดยจะมีการนำหน่วยงานท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ไปออกบูธในงานเที่ยวเมืองไทย ในเดือนมิถุนายนนี้"นายสุภกิตต์ กล่าว

 สำหรับในปี 2554 นี้ ภาพรวมการท่องเที่ยวในภาคเหนือทั้งหมด ททท.คาดว่าจะมีการขยายตัว 11-12% จากปี 2553 เป็นผลมาจากปัจจัยบวกหลายด้านที่ทำให้การท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ขยายตัวดีขึ้น เช่น ปัญหาการเมืองที่มีน้อยลง


http://www.naewna.com/news.asp?ID=257960
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #261 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2011, 22:38:14 »

เชียงราย - สำนักนโยบายและแผนการขนส่งฯเดินหน้าทำพิมพ์เขียวคมนาคม 4 จังหวัดเหนือ มุ่งเน้นเชื่อม สป.จีน เป็นเป้าหลัก พร้อมดันทำระบบขนส่งมวลชนเต็มที่ ชี้ รัฐบาลเดินผิดทาง มุ่งแต่สร้างถนน แต่ละเลยขนส่งมวลชน อ้างไม่คุ้มทุน ด้านรองผู้ว่าฯเชียงราย จี้เร่งคืนชีพรถไฟเด่นชัย-เชียงราย หลังถูกดองมา 50 ปี



       
       วันนี้ (19 เม.ย.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ได้จัดประชุมกลุ่มย่อยบูรณาการ 4 จังหวัด ตามโครงการ “ศึกษาสำรวจการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายด้านการขนส่งและจราจรในเขตพื้นที่กลุ่มยุทธศาสตร์ชายแดนจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน)” ณ โรงแรมริมกกรีสอร์ท อ.เมือง จ.เชียงราย
       
       โดยมี นายพินิจ หาญพาณิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิด และคณาจารย์จากสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ซึ่งออกจัดเก็บข้อมูลใน 4 จังหวัด นำโดย ผศ.ดร.พนกฤษณ คลังบุญครอง, รศ.ลำดวน ศรีศักดา, ดร.รังสรรค์ อุมศรี และ ผศ.ดร.มนสิชา เพชรานนท์ นำเสนอข้อมูล และมีตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมคับคั่ง
       
       นายวิจิตต์ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการ สนข.เปิดเผยว่า โครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินการ 15 เดือน ปัจจุบันดำเนินการมาได้ 3 เดือนแล้ว โดยเก็บข้อมูลและนำมาวางแผนสำหรับพิจารณาดำเนินการก่อสร้างตามโครงการคมนาคมต่างๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการ สภาพความเป็นจริง สิ่งแวดล้อม ความเหมาะสม งบประมาณ ฯลฯ และเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ระดับประเทศและพื้นที่เข้าด้วยกัน ซึ่งผลการศึกษาจะนำเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมพิจารณาแยกแยะว่าโครงการใดเป็นหน้าที่ของรัฐบาล กระทรวงและส่วนท้องถิ่นต่างๆ เพื่อนำไปปฏิบัติให้เหมาะสมต่อไป
       
       นายวิจิตต์ กล่าวว่า ซึ่งผลการศึกษา 3 เดือนที่ผ่านมาพบหลากหลายประเด็น เช่น บางโครงการมีการก่อสร้างอย่างเร่งด่วน ไม่มีงบประมาณรองรับ และนโยบายส่วนกลางแทรกแซง เป็นต้น และผลจากข้อมูลต่างๆ ทั้งหมดก็จะมีการนำมาประชุม ลงพื้นที่จริง จากนั้นราวเดือน ก.ย.2554 จะกลับไปนำเสนอในการสัมมนาใหญ่ที่ เชียงราย อีกครั้งก่อนนำเสนอให้รัฐบาลราวต้นปี 2555 เพื่อนำไปดำเนินการต่อไป
       
       นายวิจิตต์ ย้ำว่า การวางแผนทั้งหมดของเราขึ้นอยู่หลายด้าน เช่น ต้องปรับให้เข้ากับยุทธศาสตร์ของประเทศจีนที่มีการขยายโครงข่ายคมนาคมและเศรษฐกิจลงทางใต้ผ่านประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งผลในปัจจุบันก็เห็นชัดเจนในโครงการต่างๆ ของประเทศไทยที่มีรองรับเอาไว้แล้ว เช่น ท่าเรือแม่น้ำโขงเชียงแสนแห่งที่ 2-สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ที่ อ.เชียงของ ฯลฯ
       
       “อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาทั้งหมดพบว่า การก่อสร้างไม่ใช่คำตอบของการวางแผนด้านการคมนาคม แต่คำตอบที่แท้จริงคือ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้มีคุณภาพ” นายวิจิตต์ กล่าว
       
       ซึ่งด้วยความเจริญเติบโตของสังคมตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และไปสู่อนาคต ทำให้ทราบว่าไม่ว่าจะก่อสร้างถนน เพิ่มเส้นทางคมนาคมอื่นๆ อย่างไร ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความแออัดและความต้องการของประชากรได้ แต่ต้องพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เช่น ระบบราง รถเมล์ ฯลฯ ไม่เช่นนั้นประชาชนผู้ใช้เส้นทางคมนาคมก็จะต้องเป็นทุกข์เช่นนี้เรื่อยไป
       
       นายวิจิตต์ กล่าวอีกว่า ปีที่ผ่านมา ไทยมีรถยนต์เพิ่มขึ้น 500,000-700,000 คน บางปีเศรษฐกิจดีก็ทะลุขึ้นถึง 800,000 คน แต่รัฐขยายระบบขนส่งมวลชนน้อยมาก กลับไปทุ่มงบประมาณกับการก่อสร้างถนนหนทางปีละนับหมื่นล้านบาท เพราะมักจะไปผูกมัดกับแนวคิดที่ว่าโครงการขนส่งมวลชนไม่คุ้มทุน ทั้งที่ความเป็นจริงต้องมองความจำเป็นในการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน เช่น กรณีรถไฟสายเชียงราย-เด่นชัย จ.แพร่ ซึ่งศึกษามานานแต่ไม่ก่อสร้างเพราะมองเรื่องการคุ้มทุนนั้น ควรมองในมิติใหม่ เพียงแต่โครงการนี้ ก็ยอมรับว่ามีปัญหามากเพราะรถไฟต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้างยาวนานจึงต้องอาศัยรัฐบาลที่มีความต่อเนื่อง
       
       ด้าน นายพินิจ หาญพาณิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า เชียงราย มีความต้องการรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย มานานหลายสิบปี เพราะมียุทธศาสตร์เชื่อมโยงกับจีนตอนใต้และอำนวยความสะดวกด้วยระบบรางในด้านอื่นๆ แต่กลับมาศึกษาความคุ้มทุนใหม่อยู่ร่ำไป กระทั่งล่าสุดมีการศึกษาอีก ตนคาดว่า หากจะก่อสร้างจริงก็น่าจะเป็นอีกประมาณ 3 ปีข้างหน้า และหากไม่ก่อสร้างต้นทุนก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ และความคุ้มทุนก็จะลดลงมากขึ้นตามมาด้วย
       
       รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับโครงรถไฟเด่นชัย-เชียงราย ยืดเยื้อมายาวนานร่วม 50 ปี กระทั่งเมื่อปี 2544 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เคยศึกษาและออกแบบก่อสร้างเส้นทางแล้วเสร็จแต่ก็ยังไม่ดำเนินการ กระทั่งปี 2553-2554 รัฐบาลได้ให้ศึกษาอีกครั้งด้วยงบประมาณ 200 ล้านบาทให้ศึกษารถไฟรางคู่ขนาดกว้าง 1.453 เมตร เชื่อมเด่นชัย-เชียงราย ระยะทาง 246 กิโลเมตรและจากเชียงราย-สันยาว 40 กิโลเมตรเลี้ยวซ้ายไปทาง อ.เชียงแสน และจากสันยาว-เชียงของ จุดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-สปป.ลาว-ถนนอาร์สามเอ-จีนตอนใต้ อีก 40 กิโลเมตรด้วย

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000047959
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #262 เมื่อ: วันที่ 20 เมษายน 2011, 19:18:47 »

ทุนจีนดอดจับมือเอกชนไทยทุ่มพันล้านตั้งโรงงานขนยางพาราส่งจีน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   20 เมษายน 2554 13:34 น.


       พะเยา - กลุ่มทุนยางพาราจีน ดอดจับมือเอกชนไทย เตรียมผุดโครงการร่วมทุนยางฯครบวงจร รับผลผลิตเชียงราย-พะเยา ส่งเข้าตลาดจีนนำร่อง ก่อนขยายฐานเข้าสู่แหล่งผลิตยางพาราชั้นดีของไทยต่อ วางแผนขนเม็ดเงินลงทุนนับพันล้านใน 3 ปีต่อจากนี้
       
       รายงานข่าวจากจังหวัดพะเยาแจ้งว่า ขณะนี้ได้มีกลุ่มอุตสาหกรรมยางพาราในนามบริษัท ฮกเกี้ยน และ บริษัทเทียนจิน ประเทศจีน ภายใต้การนำของนางหวัง ลี่ ฮวย เดินทางมาสำรวจวัตถุดิบยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน คือ พะเยา และเชียงราย จากนั้นได้ตกลงร่วมทุนกับกลุ่มนักธุรกิจยางพาราในพื้นที่ โดยการประสานงานของนายรุ่งโรจน์ เหมันต์สุทธิกุล ที่ปรึกษาและหุ้นส่วนโครงการอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร
       
       นายรุ่งโรจน์ เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวเป็นการร่วมทุนระหว่างกลุ่มนักธุรกิจยางพาราและนักธุรกิจยางพาราของไทย มูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท มีฐานการผลิตที่ภาคเหนือตอนบน โดยใช้พื้นที่จังหวัดพะเยา และเชียงราย เป็นศูนย์กลางการผลิตและแปรรูปยางพาราครบวงจร ทั้งยางแผ่นดิบ แผ่นดิบรมควัน น้ำยาง ยางแท่ง และน้ำยางข้น ซึ่งจะมีวัตถุดิบยางพาราจากจังหวัดข้างเคียงเข้ามา เช่น แพร่ น่าน ลำปาง จากนั้นอาจจะมีการขยายและต่อยอดไปยังจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป
       
       ที่ปรึกษาและหุ้นส่วนโครงการฯ กล่าวต่อว่า แผนงานธุรกิจของโครงการ ฯ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การผลิตยางแผ่นดิบรมควัน ระยะที่ 2 การผลิตยางแท่ง และระยะที่ 3 การผลิตน้ำยางข้น หลังจากเปิดตัวโครงการในเดือนเมษายน 2554 นี้ คาดว่าจะมีเม็ดเงินสะพัดในพื้นที่จังหวัดพะเยา และเชียงราย ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้กลุ่มทุนเอกชนทั้งสองกลุ่มได้ลงนามทำข้อตกลงร่วมกันเรียบร้อยแล้ว พร้อมเดินหน้าอย่างเต็มที่
       
       “เหตุผลที่นักลงทุนของไทยและจีนให้ความสนใจมาลงทุนอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจรที่ภาคเหนือตอนบน เนื่องจากสำรวจพบว่าเป็นแหล่งการผลิตยางพาราที่มีคุณภาพและพื้นที่ปลูกขยายมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และภาครัฐมีนโยบายให้การสนับสนุนทุกปี ประกอบกับภาครัฐได้จัดทำระบบขนส่งวัตถุดิบเพื่อรองรับการส่งออกไปสู่ประเทศจีนที่เห็นได้อย่างชัดเจน และที่มากไปกว่านั้นเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราของภาคเหนือและภาคอื่น ๆ ในอนาคตได้ เพราะไม่ต้องถูกพ่อค้าคนกลางมาตัดราคาหรือหักหัวคิวอีกต่อไป” นายรุ่งโรจน์ กล่าว
       
       ด้านนางหวัง ลี่ ฮวย กล่าวว่า ที่เลือกลงทุนกับนักธุรกิจยางพาราในภาคเหนือของไทย เพราะได้รู้จักคุ้นเคยกับนายรุ่งโรจน์ มาก่อน ที่สำคัญทราบว่าคนไทยมีความรับผิดชอบ เมื่อได้มาสำรวจพื้นที่การปลูกยางและเห็นผลผลิตยางพาราแล้ว มีความมั่นใจว่าโครงการดังกล่าวจะมีความยั่งยืนมั่นคง เพราะมีศักยภาพใน
       
       นางหวัง ลี่ ฮวย บอกว่า โครงการนี้จะสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรสวนยางพาราของไทยในอนาคตได้มาก นอกจากนี้ประเทศจีนมีความต้องการใช้ยางพารามากขึ้น สังเกตได้จากทุกครัวเรือนมีการซื้อรถยนต์ซึ่งต้องใช้ยางพาราทำล้อรถ ดังนั้นคาดว่าภายในอนาคตอีก 20-30 ปี ชาวจีนยังคงต้องการยางพาราอีกมาก
       
       ขณะที่นาย เจตพร สังข์ทอง ผู้จัดการสหกรณ์ชาวสวนยางพะเยา จำกัด กล่าวว่า เมื่อได้เห็นชัดเจนว่าขณะนี้มีกลุ่มธุรกิจที่ต้องการรับซื้อยางพาราจากไทย ทำให้ทางสหกรณ์ ฯ มั่นใจว่าต้นน้ำ คือกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จะไม่ต้องกังวลเรื่องยางพาราล้นตลาด และที่สำคัญไม่ต้องห่วงว่าจะถูกพ่อค้าคนกลางตัดราคาหรือหักหัวคิวในการซื้อขายยางพาราอีกต่อไป เพราะเมื่อมีกลุ่มอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจรคือผู้รับซื้อโดยตรง จะตัดวงจรพ่อค้าคนกลางไปในทันที และสหกรณ์ ฯ จะเป็นจุดรวบรวมยางพาราของเกษตรกรให้เกษตรกรมั่นใจในอาชีพชาวสวนยางด้วย
       
       “อนาคตจึงไม่ใช่เรื่องยากที่จังหวัดพะเยา จะได้รับการพัฒนาตัวเองให้กลายเป็นศูนย์กลางการค้ายางพาราคาครบวงจร และ สามารถประกาศราคาตลาดรับซื้อ-ขาย ยางหลักของภาคเหนือ” นายเจตพร กล่าว

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000047884
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
AOWTHAI
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 350



« ตอบ #263 เมื่อ: วันที่ 22 เมษายน 2011, 12:28:23 »

ข่าวความคืบหน้าครับ จากช่อง3


http://www.krobkruakao.com/ข่าว/36915/รายงาน--คืบหน้าสะพานไทยมิตรภาพแห่งที่-4.html
IP : บันทึกการเข้า
ssss99
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #264 เมื่อ: วันที่ 22 เมษายน 2011, 13:26:35 »

แวะมาดูจ้า
IP : บันทึกการเข้า
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #265 เมื่อ: วันที่ 26 เมษายน 2011, 08:51:22 »

ทย-จีนลงนามตรวจสินค้าผ่านR3 เกษตรเตรียมรุกหนักส่งออก คาดดันปริมาณเพิ่มกว่า10%



 นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯได้ลงนามพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบ สำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างไทยและจีนอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะส่งผลให้ไทยส่งออกผลไม้ไปจีนผ่านเส้นทางบกสาย R3A หรือ R3E โดยเริ่มจาก อ.เชียงของ จ.เชียงราย ผ่านเมืองห้วยทราย บ่อแก้ว หลวงน้ำทา บ่อเต็น ของลาว เข้าสู่เมืองโม่หาน จิ่งหง เชียงรุ้งมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีระยะทางประมาณ 1,104 กิโลเมตร ทำให้เส้นทางสายนี้จะเป็นเครื่องมือให้เกิดการขยายตัวทางการค้าผลไม้ระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น

 ทั้งนี้ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ คือ ลดเวลาในการขนส่งเหลือเพียง 2-3 วัน จากปกติทางเรือใช้เวลา 5-7 วัน ทำให้ผลไม้ไทยมีความสดยาวนานขึ้นและกระจายผลไม้ไปยังตลาดเมืองยูนนานมณฑลตะวันตกเฉียงใต้ของจีนได้โดยตรง จากเดิมต้องผ่านฮ่องกง-เสิ้นเจิ้น หรือตลาดเจี้ยงหนาน กวางโจวแล้วจึงกระจายต่อไปมณฑลต่างๆ ของจีน นอกจากนี้ผลไม้ที่นำเข้าจากจีนผ่านเส้นทางนี้จะมีคุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัยต่อผู้บริโภคชาวไทยมากขึ้น เนื่องจากจะมีการควบคุมคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยจากต้นทางของทั้งสองประเทศ

 โดยคาดว่า จะเพิ่มโอกาสการขยายปริมาณและมูลค่าการค้าระหว่างไทย-จีนมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นตลาดส่งออกผลไม้ที่สำคัญของไทย ซึ่งไทยสามารถส่งออกผลไม้คุณภาพดีไปจีนได้ปีละกว่า 5,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในช่วงปี 2550-2552 ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้งส่งออกจำนวน 4,424 , 4,967, 6,875 ล้านบาทตามลำดับ และช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2553 ส่งออกรวม 5,988 ล้านบาท ซึ่งผลไม้ที่ส่งออกมากที่สุดได้แก่ ทุเรียน ลำไย มังคุด มะพร้าว มะม่วง และสำหรับผลไม้แห้งที่ไทยส่งออกมากที่สุด ได้แก่ ลำไยแห้ง มะขามแห้ง จากสถิติดังกล่าวคาดการณ์ว่าจะมีการขยายตัวทางการค้าผลไม้ระหว่างกันเพิ่มมากขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% มูลค่าประมาณ 500 ล้านบาทเนื่องจากมีการส่งออกผ่านเส้นทางบกที่กระทรวงเกษตรฯ เจรจาเปิดเส้นทางทั้งสาย R9 และ R3

http://www.naewna.com/news.asp?ID=258718
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #266 เมื่อ: วันที่ 26 เมษายน 2011, 16:57:40 »

พาณิชย์ปลื้มฝีมือกองทุนFTA ดันสับปะรดนางแลเจาะญี่ปุ่น

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน   26 เมษายน 2554 10:14 น.


       ASTVผู้จัดการรายวัน-กองทุน FTA ปลื้มดันสับปะรดนางแลเจาะตลาดญี่ปุ่นสำเร็จ
       
          นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กรมส่งเสริมการส่งออก นำสับปะรดสด สายพันธุ์นางแล จังหวัดเชียงราย ที่เป็นผลผลิตภายใต้โครงการนำร่องการพัฒนาคุณภาพด้านการผลิตและการตลาดเพื่อส่งออกสับปะรดผลสดไทย ภายใต้สิทธิประโยชน์ทางการค้าตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA)ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่กองทุน FTA ได้ให้ความช่วยเหลือ ไปจัดแสดงเพื่อแนะนำสินค้าแก่ผู้ค้าและบริษัทผู้นำเข้าสินค้าผลไม้สดของญี่ปุ่นในงาน Foodex Japan 2011 เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
       
          “มีผู้นำเข้าญี่ปุ่นจำนวน 3 ราย ได้เริ่มการเจรจาการค้ากับบริษัทผู้ส่งออกไทยที่ร่วมในโครงการในการนำสินค้าสับปะรดสดสายพันธุ์นางแลผลสดไปจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นในช่วงฤดูร้อนนี้ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จอีกครั้งของกองทุน FTA กระทรวงพาณิชย์ที่ได้ช่วยผลักดันให้สับปะรดผลสดไทยเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้น”นายสุรศักดิ์กล่าว
       
          ที่ผ่านมา กองทุน FTA กระทรวงพาณิชย์ได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในการผลิตสับปะรดผลสด โดยสร้างระบบตรวจสอบย้อนกลับเพื่อสร้างความมั่นใจในการบริโภค เพิ่มขีดความสามารถในการผลิต การจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว และการหาช่องทางการตลาดในการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #267 เมื่อ: วันที่ 26 เมษายน 2011, 17:07:07 »

แผนพัฒนาอำเภอแม่สายสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนภาคเหนือ : เขตปกครองพิเศษ

จุดเริ่มจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2545 ได้เห็นชอบให้มีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในพื้นที่นำร่อง 3 พื้นที่ก่อน ได้แก่ ที่อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เนื่องจากเห็นว่า พื้นที่ชายแดนเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและเป็นทางเลือกหนึ่งในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เพื่อนำไปสู่การเป็นประตูการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
สำหรับเชียงราย เป็นประตูเศรษฐกิจที่สำคัญ จะส่งผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการผลิต การค้า การลงทุน และการคมนาคมขนส่งของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยกำหนดบทบาทเมืองชายแดนแต่ละเมือง ดังนี้
· แม่สาย(เมืองหลัก) เป็นศูนย์กลางการค้า บริการ และการท่องเที่ยว และเป็นประตูเชื่อมโยงกับประเทศ เพื่อนบ้าน กำหนดให้นักธุรกิจต้องอาศัยในเมืองแม่สายอย่างน้อย 3 วันเพื่อจับจ่ายใช้ส่อย
· เชียงแสน(เมืองลูก) เป็นประตูการค้าเชื่อมกับจีนตามแนวลำน้ำโขง และเป็นศูนย์กลางเขตเศรษฐกิจพิเศษ
· เชียงของ(เมืองลูก) เป็นพื้นที่อยู่ในเส้นทางถนนเชื่อมไปจีนโดยผ่าน สปป.ลาว ส่งผลให้เชียงของมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมเกษตรครบวงจร และเขตอุตสาหกรรมทั่วไป
 หลังจากนั้นในปี 2547 ทางการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติให้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเชียงแสน ขึ้นที่บริเวณบ้านศรีบุญยืน ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ในพื้นที่ 1,500 ไร่ โดยใช้งบประมาณ การก่อสร้างประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งคาดกันว่าจะสามารถรองรับโรงงานอุตสาหกรรมได้ประมาณกว่า 100 แห่ง โดยมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาทแต่ภายหลังถูกต่อต้านคัดค้านจากชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากโครงการดังกล่าวไม่เหมาะสมกับพื้นที่ เนื่องจากเชียงแสนเป็นเมืองประวัติศาสตร์ และอาจมีการเสนอให้เป็นมรดกโลกในอนาคต นอกจากนั้นกลุ่มชาวบ้านยังหวั่นวิตกกันว่าหากมีการสร้างนิคมอุตสาหกรรมแล้วจะก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โดยรวม
กระทั่ง เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขต ต.ศรีดอนชัย และ ต.สถาน อ.เชียงของ ในเนื้อที่ประมาณ 16,000 ไร่ บริเวณทุ่งสามหมอน ต่อมาได้ปรับพื้นที่คงเหลือ นิคมอุตสาหกรรม จำนวน 6,250 ไร่ ซึ่งอ้างกันว่า หากสามารถดึงการลงทุนจากประเทศจีนมายังนิคมอุตสาหกรรมที่ อ.เชียงของ ไม่เพียงจะเป็นการสร้างงานให้กับคนในพื้นที่แล้ว ยังสอดรับกับการก่อสร้างถนนสาย R3A ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างเชียงของ-หลวงน้ำทา-เชียงรุ้ง-คุนหมิง ซึ่งในปี 2555 โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) จะแล้วเสร็จ
โดยเน้นอุตสาหกรรมที่มีการเพิ่มมูลค่าโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าในการผลิตและเป็นอุตสาหกรรมสะอาด ประกอบด้วย แปรรูปเกษตรและอาหาร อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอขั้นปลาย บริการขนส่ง เครื่องใช้ไฟฟ้า/electronics ยา/เครื่องสำอางสมุนไพร อุปกรณ์และเครื่องจักรกลการเกษตร หัตถกรรม/OTOP และแปรรูปไม้และการพิมพ์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการดึงนักลงทุนเข้าลงทุนในพื้นที่ถือว่ายังล่าช้ามาก

ประเด็นท้าทายเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนภาคเหนือ
ถึงแม้ว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ส่วนใหญ่แล้วไม่มีความคืบหน้าในเชิงรูปธรรมหากแต่เป็นการผลักดันโครงการแบบแยกส่วนพื้นที่เชียงรายก็จะมุ่งเน้นเรื่องนิคมอุตสาหกรรมเป็นหลัก ภายใต้โครงสร้างของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่วนที่อำเภอแม่สอดกลับมองเชิงการบริหารจัดการในเชิงการเมืองการปกครองนำก่อน แล้วค่อยแตะเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษจึงเป็นโมเดลทางเลือกที่น่าสนใจว่าในแต่ละพื้นที่จะเดินหน้าอย่างไร
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายและปัญหา รวมถึงเงื่อนไขของความสำเร็จของเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนซึ่งเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก อยู่ที่การออกกฎหมายแม่หรือ พรบ.เขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะคลอดออกมาแล้วได้รับการยอมรับหรือไม่เป็นประการแรก ส่วนประเด็นอื่น ๆ ที่มีความสำคัญคือ ภาครัฐต้องลงทุนสูงมากในการพัฒนาแก้ไขปัญหาเมือง โดยเฉพาะเรื่องปัญหาผังเมืองและบังคับใช้เพื่อจัดระเบียบการพัฒนา การออกมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ กำหนดประเภทอุตสาหกรรมที่ไม่มีมลภาวะในพื้นที่ กำหนดรูปแบบให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งจำเป็นที่จะต้องสร้างกลไกถาวรที่เข้าถึงภาคเอกชน องค์กรท้องถิ่นผู้นำประชาชน สื่อสาธารณะ และประชาชนชุมชนในพื้นที่ เนื่องจากปัญหาที่จะตามมาเช่น อาชญากรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากมลพิษ และขยะ เป็นต้น
นอกจากนั้นภาครัฐจะต้องเข้ามาดูแลโดยตรงเรื่อง การจำแนกประเภทพื้นที่สำหรับการเกษตรและอุตสาหกรรม การปฏิบัติตามผังเมืองรวมโดยเคร่งครัด มาตรการด้านการใช้พื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ตรวจสอบโครงการที่หน่วยงานอื่นๆดำเนินการไปแล้ว เพื่อมิให้ซ้ำซ้อนกัน ปรับขนาดโครงการตามความเหมาะสม ปรับปรุงกฎระเบียบให้ประชาชนในพื้นที่มีการส่งเสริมในการบริหารและจัดเก็บรายได้
พร้อมกันนั้น ในด้านแผนการตลาด ได้แก่ การเข้าถึงนักลงทุนเป้าหมายทั้งในและระหว่างประเทศก็เป็นเรื่องสำคัญคู่ขนานที่จะแข่งขันดึงนักลงทุนจากภายในและต่างประเทศมาลงทุนในพื้นที่อย่างไร ซึ่งจะต้องดูเรื่อง กฎระเบียบนโยบายมาตรการส่งเสริมการลงทุน ความสามารถในการกำหนด Incentive Package ครอบคลุมสิทธิพิเศษที่สูงกว่าประเทศใกล้เคียง
ในด้านการบริหารจัดการในพื้นที่จะต้องแบบเบ็ดเสร็จ รวดเร็ว โดยเน้นการบริหารจัดการในพื้นที่ที่มีเจ้าภาพในการพัฒนาอย่างมีเอกภาพ และต้องมีกฎหมายรองรับ ซึ่งเรื่องนี้มีกระแสคัดค้านมาก ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาทั้งการขัดแย้งกับชุมชนกับนักอุตสาหกรรมหรือกลุ่มผลประโยชน์ทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่น เช่น ปัญหาด้านแรงงานต่างด้าวจะต้องมีการจัดการให้เป็นระบบไม่ใช่แย่งแรงงานกันเองในแต่ละจังหวัด มิฉะนั้น นักลงทุนซึ่งไม่ใช่คนในพื้นที่อาจไม่กล้าเข้ามาลงทุน เป็นต้น ดังนั้น การให้ได้มาทั้งกรรมการ , ผู้จัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษและการให้ได้ซึ่งพื้นที่ ที่จะต้องมีความชอบธรรม มีหลักการคานอำนาจ และมีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัด

http://www.vmekongmedia.com
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #268 เมื่อ: วันที่ 30 เมษายน 2011, 08:02:15 »

ไทย-ลาว-จีนนัดตั้งวงถกต้นเดือนหน้า-สางปัญหาสร้างสะพานโขง 4
 
ประกาศเมื่อ 30 เมษายน 2011







หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งไทย - ลาว - จีน นัดตั้งวงหารือปัญหาสร้างสะพานน้ำโขง 4 ต้นเดือนพฤษภาฯนี้ หลังมีปัญหาจีน ยังไม่จ่ายเงิน ทำคนงานก่อนสร้างซวย
       
       เมื่อเร็วๆ นี้ คณะอธิบดีกรมการค้าของประเทศจีน ได้เดินทางไปเยือนชายแดนไทย-สปป.ลาว ที่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ตรงกันข้าม อ.เชียงของ เพื่อตรวจดูความคืบหน้าในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อยไทย-สปป.ลาว และถนนอาร์สามเอไทย-สปป.ลาว-จีนตอนใต้ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลทั้ง 3 ประเทศ (จีน-ลาว-ไทย) ที่เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 11 มิ.ย.2553 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 10 ธ.ค.2555 ระยะเวลาก่อสร้าง 30 เดือนนั้น
       

 
       ซึ่งล่าสุดการก่อสร้างสะพานดังกล่าว ได้เกิดปัญหาขึ้น เพราะคนงานที่ทำการก่อสร้างได้รับค่าแรงเพียง 50% โดยหลังจากที่เริ่มมีการลงมือก่อสร้างตามข้อตกลงทางรัฐบาลไทยได้เร่งรีบถ่ายโอนงบประมาณไปให้กับเอกชนเพื่อทำการก่อสร้างตามขั้นตอน แต่ทางประเทศจีนยังไม่มีการโอนงบประมาณให้กับเอกชนร่วมก่อสร้างดังกล่าวแต่อย่างใด
       
       นายวิรัตน์ แสนอุดม ผู้อำนวยการแขวงการทางเชียงรายที่ 2 กล่าวว่า อย่างไรก็ตามการก่อสร้างก็ยังคงเดินหน้า โดยขณะนี้คืบหน้าไปได้ประมาณ 14% แล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามแผนและเราสามารถแก้ไขปัญหาด้านเทคนิคในการก่อสร้างได้อย่างต่อเนื่อง เช่น กรณีเจอหินใต้แม่น้ำโขง เป็นต้น ส่วนกรณีเรื่องงบประมาณในการก่อสร้าง ทางฝั่งไทยไม่มีปัญหาใดๆ


       
       ขณะที่ปัญหางบประมาณจากจีนดังกล่าว ก็จะมีการนัดประชุมกันที่ฝั่ง สปป.ลาว ในราวต้นเดือนพฤษภาคม 54 นี้ เพื่อหารือถึงปัญหาและร่วมกันแก้ไขต่อไป ซึ่งคาดว่าความชัดเจนจะมีขึ้นในการประชุมดังกล่าว ส่วนช่วงนี้ก็ยังคงมีการดำเนินการก่อสร้างไปเรื่อยๆ โดยทางบริษัทกรุงธนฯ ของไทยจะทำหน้าที่ในการก่อสร้างถนน ส่วนประกอบของสะพาน และอาคารด่านพรมแดนทั้ง 2 ฝั่งประเทศ ส่วนบริษัทไชน่าฯ ของจีนจะรับก่อสร้างตัวสะพานให้แล้วเสร็จต่อไป
       
       ด้านนายสงวน ซ้อนกลิ่นสกุล รองเลขาธิการหอการค้า จ.เชียงราย และผู้ประกอบการค้าชายแดนที่เชียงของ กล่าวว่า เชื่อว่าปัญหาทุกอย่างจะได้รับการแก้ไขและคงเป็นเพียงด้านเทคนิคเล็กน้อยจากนี้ไปก็คงจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง จนทำให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาดังกล่าวต่อไป
       
       รายงานข่าวแจ้งด้วยว่าสำหรับสะพานข้ามแม่น้ำโขงดังกล่าวออกแบบเป็นคอนกรีตรูปกล่องมีเสาตอม่อ 4 ตอม่อ มีความกว้าง 14.70 เมตร เป็นสะพานขนาดสองช่องจราจรๆ ละ 3.50 เมตร และไหล่ทางข้างละ 2 เมตร และทางเท้าข้างละ 1.25 เมตร ความยาว 480 เมตรเมื่อรวมกับถนนติดขอบฝั่งก็จะยาวประมาณ 630 เมตร และโครงการก่อสร้างถนนตัดแยกจากถนนหมายเลข 1020 หรือสายเชียงราย-เชียงของ ในฝั่งไทย เพื่อเป็นจุดสลับการจราจรในฝั่งไทยก่อนไปถึงตัวสะพานอีกประมาณ 5 กิโลเมตร และถนนในฝั่ง สปป.ลาว อีกประมาณ 6 กิโลเมตร สวนอาคารด่านพรมแดนทั้งฝั่งไทยและ สปป.ลาว รูปทรงล้านนาประยุกติ์เพื่อใช้เป็นจุดตรวจปล่อยร่วมกัน ณ จุดเดียวตามหลักประตูเดียว (Single Stop Inspection) รวมเนื้อที่ฝั่งไทยทั้งหมดประมาณ 400 ไร่
 
แหล่งข่าว : ผู้จัดการออนไลน์
นำเสนอโดย : เชียงรายโฟกัสดอทคอ
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #269 เมื่อ: วันที่ 02 พฤษภาคม 2011, 22:55:55 »

รฟท.ส่อแห้วทำไฮสปีดเทรนด์ นายกฯ มอบ "สคร." ดึง "เอกชน" เสียบแทน

นายกฯ มอบ สคร.ศึกษาให้เอกชนร่วมบริหาร โครงการรถไฟความเร็วสูง แทนการรถไฟฯ เนื่อจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนสูงถึง 2 ล้านล้านบาท จึงต้องการความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม และช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ ขณะที่ภาครัฐยังคงเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการนี้

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า สคร.ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ให้ทำการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการของโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่รัฐบาลมีแผนดำเนินการก่อสร้าง เพื่อพิจารณาว่า รูปแบบใดจะมีประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดีกว่ากัน ระหว่างให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นผู้บริหาร หรือให้เอกชนเป็นผู้บริหาร โดยการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ มีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้น

"โครงการลงทุนลักษณะนี้ ถือเป็นโครงการใหม่ รูปแบบการบริหารจัดการควรเป็นสากล หากให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่เป็นผู้ดูแล จะทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ เพราะจะมีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นด้วย โดยการจัดตั้งอาจใช้เงินไปมาก แต่ขณะนี้ สคร. ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว"

ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวให้เหตุผลเสริมว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงนี้ มีวงเงินลงทุนสูง และเป็นโครงการที่ต้องใช้เทคโนโลยีในรูปแบบที่ทันสมัยและใหม่สำหรับประเทศไทย ดังนั้น เพื่อให้การลงทุนดังกล่าวประสบผลสำเร็จ การให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนจึงเป็นทางเลือกหลัก

ทั้งนี้ ภายใต้แผนพัฒนารถไฟความเร็วสูงนี้ ประกอบด้วย 5 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ โดยรัฐบาลได้ทำการทดสอบตลาดใน 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่และกรุงเทพฯ-ระยอง มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 3 แสนล้านบาท

โครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูง เป็นหนึ่งในแผนการลงทุนระยะ 5 ปีของรัฐวิสาหกิจซึ่งตามแผนจะมีวงเงินลงทุนรวม 2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในภาคต่างๆเช่น ขนส่งพลังงาน และการสื่อสาร โดยวงเงินลงทุนนี้ส่วนใหญ่จะใช้รูปแบบการร่วมลงทุนกับภาคเอกชน แต่ยังไม่ได้กำหนดสัดส่วนชัดเจน

"เราพยายามให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนมากที่สุด เพื่อให้จัดสรรงบประมาณแผ่นดินไปใช้ในโครงการอื่นและขณะที่กฎหมายการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนยังไม่ได้มีผลบังคับใช้ เราจะใช้กฎหมายเดิมไปก่อน และนำผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาในปัญหาต่าง ที่เคยเกิดขึ้นมาใช้เกณฑ์"

ขณะนี้ กำลังพิจารณาขายทั้งหุ้นที่จดและไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดมีกว่า 50 บริษัท มูลค่า 3 พันล้านบาท ขณะนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้ สคร.ขายได้ทันทีหากมีความพร้อม ส่วนบริษัทที่จะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คาดว่าจะขายเฉพาะหุ้นส่วนที่ถือเกิน

"เราจะให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินช่วยดูข้อมูลก่อนขายออกไปซึ่งหลักทรัพย์ที่ถือนอกตลาด คงได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือน ส่วนหลักทรัพย์ที่ถือในบริษัท ซึ่งอยู่ในตลาดหุ้นจะขายในเวลาที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบต่อหุ้นนั้นๆ ส่วนราคาต้องไม่ต่ำกว่าที่ซื้อมา"
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #270 เมื่อ: วันที่ 03 พฤษภาคม 2011, 16:26:18 »

Inside Transport


>> ฉบับนี้ขอเริ่มที่การประชุมหารือระดับรัฐมนตรีด้านคมนาคมระหว่างไทย-จีน โดยมี “เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร” รมช.คมนาคม เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ได้แก่ กรมเจ้าท่า กรมทางหลวง การท่าเรือแห่งประเทศไทย สำหรับฝ่ายจีนมี Mr.Weng Mengyong รมช.คมนาคม ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความคืบ หน้าของประเด็นความร่วมมือด้านคมนาคม ระหว่างไทย-จีน ได้แก่ การปรับปรุงร่องน้ำทางเดินเรือในแม่น้ำโขง การใช้ประโยชน์ เส้นทาง R3 (คุนหมิง-สปป.ลาว-เชียงราย) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชียงของ-ห้วยทราย และการจัดทำบันทึกความเข้าใจในการเริ่มใช้ความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร ณ จุดผ่ายแดน เชียงของ-ห้วยทราย และจุดผ่านแดน บ่อเต็น-โมฮาน\

http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413352803
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #271 เมื่อ: วันที่ 03 พฤษภาคม 2011, 22:05:05 »

มฟล.ดึงภาครัฐ-เอกชน-นักวิชาการ ถกผลกระทบแผ่นดินไหว   
 
   
3 พค. 2554 20:30 น.

ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง(มฟล.) จ.เชียงราย ได้มีการจัดการเสวนาเรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจเชียงรายและภาคเหนือตอนบน-ผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว" โดยมีนายสัตวแพทย์ ดร.เทอด เทศประทีม รักษาการแทนอธิการบดี มฟล.เป็นประธาน และมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านแผ่นดินไหว การปกครองและเศรษฐกิจเข้าร่วมครบครัน โดยมีผู้เข้ารับฟังประมาณ 200 คน ซึ่งนายสัตวแพทย์ ดร.เทอด ให้เหตุผลว่าสาเหตุที่มีการจัดเสวนาเพราะเชียงรายตั้งอยู่บนรอยเลื่อนที่มีพลังมากถึง 4 รอย คือรอยเลื่อนเชียงแสน รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนแม่อิง และรอยเลื่อนมูลาว
รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ ประธานกรรมการอำนวยการ มฟล. กล่าวว่า ผลของการเกิดแผ่นดินไหววัดความแรงตามมาตราวัดริคเตอร์ได้ 6.7 ริกเตอร์ ในประเทศพม่าห่างจาก อ.แม่สาย ประมาณ 56 กิโลเมตรเมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้สร้างผลกระทบหลายเรื่อง ทั้งความวิตกกังวล รวมไปถึงด้านการท่องเที่ยว โดยหลังเหตุการณ์นักท่องเที่ยวก็เริ่มเดินทางออกจากจังหวัด ผู้จะเดินทางไปใหม่ก็มักถามข้อมูลเรื่องความมั่นคงของอาคาร สถานการณ์แผ่นดินไหว ฯลฯ ขณะที่ จ.เชียงรายมีความอ่อนไหวหลายด้านจึงจัดเสวนาเพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าว
ด้านนายสุวิทย์ โคสุวรรณ ผู้อำนวยการส่วนวิจัยรอยเลื่อนมีพลัง กรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า รอยเลื่อนขนาดใหญ่บริเวณ สปป.ลาว-พม่า ใกล้กับภาคเหนือของไทยคือฝั่งพม่ามีรอยเลื่อน "สะแก" ซึ่งเป็นรอยใหญ่ตัดผ่ากลางเมืองปิ่นมะนาเมืองหลวงใหม่ของพม่าโดยเคยไหวแรงถึง 7 ริกเตอร์ ส่วนฝั่งตะวันออกเป็นรอยเลื่อนไม่ใหญ่ แต่มีลักษณะแตกแขนงเป็นหลายรอย โดยรอยเลื่อนใหญ่ที่สุดคือรอยเลื่อน "น้ำมา" ในพม่า ซึ่งสร้างผลกระทบไปเมื่อวันที่ 24 มี.ค.ดังกล่าว และมีรอยเลื่อนย่อยอื่นๆเป็นแขนง เช่น รอยเลื่อนแม่จัน แม่อิง ฯลฯ
สำหรับรอยเลื่อนแม่จันเป็นรอยเลื่อนที่ยาวที่สุด และอาจส่งผลกระทบ โดยมีความยาวประมาณ 150 กิโลเมตร ตั้งแต่ ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ทอดยาวผ่านบ้านกิ่วสะไต-บ่อน้ำพุร้อนป่าตึง-แม่จัน-เชียงแสน-สปป.ลาว โดยสันนิฐานว่าเคยไหวแรงจนทำให้เกิดตำนานเวียงหนองหล่มหรือเมืองในอาณาจักรโยนกนครล่มลงเมื่อนับพันปีก่อน ทั้งนี้สำหรับภาพรวมของเชียงรายหรือภาคเหนือของไทยถือว่าอยู่ในเขตแผ่นดินไหวระดับปานกลาง ไม่รุนแรงเหมือนในพม่า กระนั้นก็ไม่ควรประมาทเพราะแผ่นดินไหวพยากรณ์ล่วงหน้าไม่ได้ จึงขอให้ทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชนทั่วไปได้ปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคารซึ่งกำหนดให้ 10 จังหวัดภาคเหนือสร้างให้รองรับแผ่นดินไหว ดูแลโดยกรมโยธาะการและผังเมืองซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2540อย่างเข้มงวดด้วย สำหรับรอยเลื่อนต่างๆ มีการพยากรณ์รอบของการสั่นไหวแตกต่างกันไป เช่น รอยเลื่อนสะแกในพม่ามีรอบการไหว 100 ปี ส่วนรอยเลื่อนแม่จันประมาณ 1,000 ปี
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า จากนั้นมีการเสวนาทิศทางเศรษฐกิจเชียงรายและภาคเหนือตอนบน โดยมีวิทยากรที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวครบครัน ซึ่งนายพินิจ หาญพาณิชย์ รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย ได้ให้รายงานถึงความพร้อมของภาครัฐในการระดมพลหากเกิดเหตุการณ์ขึ้น ส่วน ดร.ปรเมธี วิมลศิริ รองเลขาธิการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่นครั้งล่าสุด ทำให้การเจริญเติบโตของญี่ปุ่นลดลงเพียง 0.2-0.5% ดังนั้นผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเตรียมพร้อม
ด้านนายศุกรีย์ สิทธิวนิช ผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระบุว่า เชียงรายควรโหมประชาสัมพันธ์ 750 ปีเมืองเชียงราย เพื่อสร้างกระแสด้านการท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้เกิดความวิตกมากเกินไปเพราะยังมีสิ่งดีๆ มากมาย

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=508138
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #272 เมื่อ: วันที่ 04 พฤษภาคม 2011, 16:22:13 »

เชียงราย - “โสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม” ขึ้นเวทีขายฝันรถไฟเด่นชัย - เชียงราย ส่งท้ายรัฐบาลก่อนยุบสภาฯ บอกคนเชียงราย ให้เลือกภูมิใจไทย จะได้รถไฟตามฝัน หลังถลุงงบศึกษาซ้ำซากมาครึ่งศตวรรษ

       
       วันนี้ (4 เม.ย.54) ที่อาคารคชสาร องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย นายโสภณ ซารัมย์ รมว.กระทรวงคมนาคม ได้เดินทางไปเป็นประธานในการประชุมรับความเห็นจากประชาชนเกี่ยวกับความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟสาย อ.เด่นชัย จ.แพร่ ไปยัง จ.เชียงราย ซึ่งยืดเยื้อมานานกว่า 53 ปียังไม่มีการก่อสร้าง โดยมีประชาชนไปร่วมประมาณ 1,000 คน แต่การประชุมกลับเป็นลักษณะการกล่าวปราศรัยจากนายโสภณ เป็นส่วนใหญ่ ส่วนการรับฟังความเห็น เป็นการแจกเอกสารแสดงความเห็นเท่านั้น
       
       ทั้งนี้ ก่อนการปราศรัยนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้กล่าวรายงานความคืบหน้าของโครงการว่า การศึกษาเพื่อสร้างเส้นทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย มีมาตั้งแต่ปี 2503 และมีการสำรวจเบื้องต้นในปี 2512 จากเด่นชัย-แพร่-สอง-เชียงม่วน-ดอกคำใต้-พะเยา-ป่าแดด-เชียงราย ระยะทางรวม 273 กิโลเมตร
       
       ต่อมาปี 2537-2538 รฟท.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทำการทบทวนผลการศึกษาเดิมได้ข้อสรุปให้ก่อสร้างตามแนวเด่นชัย-แพร่-สอง-งาว (ลำปาง)-พะเยา-เชียงราย ระยะทางรวม 246 กิโลเมตร กระทั่งปี 2539-2541 รฟท.ได้ว่าจ้างเอกชนให้สำรวจออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบ และปี 2547 ได้ว่าจ้างให้ศึกษาความเหมาะสมอีกครั้งเพื่อเชื่อมกับจีนตอนใต้ ซึ่งผลสรุปคือเส้นทางเดิมมีความเหมาะสมมากที่สุด
       
       นายโสภณ กล่าวว่า ปี 2553 ตนไปปักธงว่าจะผลักดันรถไฟมาเชียงราย และวันนี้ก็มีความคืบหน้าตามลำดับ โดยเส้นทางเด่นชัย-เชียงราย เป็น 1 ใน 3 แผนเร่งด่วนแล้ว ซึ่งตนขอบอกด้วยความจริงใจว่าก่อสร้างแน่นอน หลังจากก่อนหน้านี้ได้ผลักดันโครงการถนนหลายสายมูลค่าหลายหมื่นล้าน ท่าเรือแม่น้ำโขงเชียงแสน 2 มูลค่า 1,500 ล้านบาท สะพานแม่น้ำโขงไทย-สปป.ลาว ฯลฯ โดยมีนายวันชัย จงสุทธนามณี ที่ปรึกษาชาวเชียงรายเป็นผู้ผลักดัน ซึ่งสาเหตุที่ยุคตนผลักดันงบประมาณมากมายมาเชียงรายเพราะผูกพัน ส่วนจังหวัดใกล้เคียง เช่น พะเยาก็รู้จักกันช้ากว่าเชียงราย
       
       "อย่าได้สงสัยว่าผมจะมาหลอกท่าน เพราะที่ผ่านมาล้วนแต่มีข่าวว่าทำไมผมจึงไปแต่เชียงรายบ่อย อย่างไรก็ตามท่านนายกฯ ก็จะยุบสภาแล้ว แต่ผมอยากบอกว่าการเมืองก็ปล่อยให้ว่ากันไป แต่ถ้าอยากจะให้โครงการสานต่อก็ต้องเลือกพรรคผมเพื่อจะได้สานต่อ เพราะรัฐบาลชุดต่อๆ ไปก็ขึ้นอยู่กับความชอบของเขาว่าจะทำต่อไปหรือไม่" นายโสภณ กล่าว
       
       นายโสภณ ย้ำว่า โครงการนี้มีการศึกษาและออกแบบหมดแล้วเหลือเพียงก่อสร้างได้เลย แต่เมืองไทยแปลกรัฐบาลใหม่ที่ขึ้นไปหากมีแผนงานของรัฐบาลเก่าก็มักไม่สานต่อเพราะกลัวเสียหน้า
       
       รายงานข่าวแจ้งอีกว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 พ.ย.2552 เห็นชอบให้พัฒนาโครงข่ายระบบรางและให้บริการรถไฟของ รฟท.และเห็นชอบแผนการลงทุนระยะเร่งด่วนในวันที่ 27 เม.ย.2553 โดยโครงการรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย เป็นหนึ่งในแผนดังกล่าวควบคู่กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม สปป.ลาว-ไทย เข้าทาง จ.หนองคาย และเส้นทางอีสาน-มหาสารคาม-นครพนม มูลค่าทั้งหมด 176,808 แสนล้านบาท
       
       อย่างไรก็ตาม ในยุคนายโสภณ เป็น รมว.คมนาคม ก็ยังไม่มีการก่อสร้าง ขณะที่ในปี 2554 กระทรวงคมนาคมได้จัดสรรงบประมาณราว 200 ล้านบาท เพื่อศึกษารถไฟรางคู่ต่อไปจนถึง อ.เชียงของ ชายแดนไทย-สปป.ลาว ระยะทาง 326 กิโลเมตรอีก โดย รฟท.พึ่งลงนามจ้างเอกชนให้ศึกษาเมื่อวันที่ 29 เม.ย.54 ที่ผ่านมาระยะเวลาศึกษา 14 เดือน
       
       ขณะที่โครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ท่าเรือแม่น้ำโขงมูลค่า 1,500 ล้านบาท อนุมัติให้ก่อสร้างสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ถนนโครงข่ายสะพานแม่น้ำโขง สะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เชียงของ-ห้วยทราย ฯลฯ ล้วนเป็นโครงการที่อยู่ในแผนของรัฐบาลชุดก่อนๆ และพัฒนาการด้านงบประมาณมาตามลำดับจนถึงรัฐบาลปัจจุบัน

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000054785
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #273 เมื่อ: วันที่ 06 พฤษภาคม 2011, 12:21:09 »

ททท.จับมือ4สมาคมฯบูมเที่ยวเหนือ เปิด6เส้นทางกระตุ้นกรีนซีซั่น

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   5 พฤษภาคม 2554 22:00 น.


       ททท.ผนึก 4 สมาคมท่องเที่ยว จัดโครงการ“ เที่ยวสุขสันต์ มหัศจรรย์เมืองเหนือ” เปิด 6 เส้นทางกระตุ้นท่องเที่ยวภาคเหนือ ช่วง กรีนซีซั่น ตั้งเป้า 6 เดือน เงินสะพัดกว่า 20 ล้านบาท ขณะที่ โครงการ “บินไป บินกลับขับรถเที่ยว “ เตรียมปล่อยมือ เหลือแค่ทำไกด์บุ๊กหนุนเอกชนเดินต่อ
       
       แหล่งข่าวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กล่าวว่า ได้ร่วมกับ 4 สมาคมในประเทศ เช่น สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ สมาคมนำเที่ยวไทย สมาคมไทยธุรกิจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวไทย จัดโครงการกระตุ้นท่องเที่ยวภาคเหนือ ช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว หรือกรีนซีซั่น ระหว่างเดือน พ.ค.-ต.ค.54 นำเสนอ 6เส้นทางท่องเที่ยวภาคเหนือ ตอนบน และ ตอนล่าง ด้วยราคาแพกเกจทัวร์เริ่มต้นที่ 2,900 - 6,900 บาท ต่อคน วันพัก ตั้งแต่ 1 - 4 คืน
       
       โดยโครงการครั้งนี้ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ งานเทรด เพื่อเปิดเวทีเจรจาซื้อขายกันระหว่างผู้ประกอบการ ใช้ชื่อโครงการว่า “จับมือร่วมขาย กระจายรายได้ภาคเหนือ” โดยจะนำผู้ประกอบการท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ เดินทางสำรวจเส้นทาง(แฟมทริป พร้อมพบปะผู้ประกบอการท่องเที่ยวภาคเหนือ และ เจรจาซื้อขายสินค้าทางการท่องเที่ยวและในส่วนของคอนซูเมอร์ จะใช้ชื่อโครงการว่า
       “เที่ยวสุขสันต์ มหัศจรรย์เมืองเหนือ”
       
       สำหรับ 6 เส้นทาง ที่ได้ร่วมกับภาคเอกชน จัดทำขึ้นสำหรับโครงการครั้งนี้ ได้แก่ 1. เส้นทาง เที่ยวเหนือสืบสานโครงการพระราชดำริ ซึ่งมี 2 เส้นทาง คือ เชียงราย-เชียงใหม่ และ พะเยา-ลำพูน 2.เส้นทางเที่ยวเมืองฟ้า ล้านนาตะวันออก อุตรดิตถ์-แพร่-น่าน 3.เส้นทางเที่ยวเสด็จตามรอยประพาสต้น อุทัย-นครสวรรค์ 4. ตั้งเป้ามียอดขายเฉพาะที่ผ่านบริษัทนำเที่ยวจาก 4 สมาคม ไม่น้อยกว่า 2,500 แพกเกจ ไม่นับรวมนักท่องเที่ยวที่เดินทางเอง เกิดรายได้สะพัดกว่า 20 ล้านบาท
       
       นอกจากนั้น ยังร่วมกับธนาคารซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา กับธนาคาร 2 แห่ง เพื่อเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุด พร้อมจัดโปรโมชัน สำหรับนักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายหรือซื้อแพกเกจทัวร์ผ่านบัตรเครดิต สามารถผ่อนได้ 0% พร้อมรับของกำนัล ขณะที่ททท.จะทำหน้าที่ด้านการประชาสัมพันธ์โครงการในทุกสื่อของ ททท. ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ ใช้งบประชาสัมพันธ์ราว 6-7 แสนบาท
       
       ***อุดช่องว่างหนุนเที่ยวช่วงโลว์ซีซั่น****
       “ปกติ ภาคเหนือ จะมีนักท่องเที่ยวกระจุกตัวเฉพาะช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นไฮซีซั่น จึงเป็นโจทย์สำคัญของ ททท. ที่ต้องการให้ เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภาคเหนือได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงโลว์ซีซั่น ที่ภาคเหนือ จะเกิดปัญหาว่ามีจำนวนห้องพักว่างมาก เราจึงพยายามจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยว ซึ่งเป็นที่มาของการเริ่มโครงการดังกล่าวนี้”
       
       นางปนัดดา กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการ บินไป บินกลับ ขับรถเที่ยว ซึ่ง ททท.ได้จัดต่อเนื่องกันมา 3 ปี แล้ว ปัจจุบันมีภาคเอกชน เช่น สมาคมรถเช่า ได้นำชื่อโครงการนี้ ไปจัดทำเป็นแพกเกจทัวร์เสนอขายต่อนักท่องเที่ยว ททท.จึงเห็นว่า โครงการดังกล่าว สามารถเดินต่อไปได้ด้วยตัวเองแล้ว จึงมีความเป็นไปได้ที่จะค่อยๆถอยตัวออกมา โดยปีนี้ อาจทำเพียง การจัดทำแพกเกจ และการพิมพ์หนังสือคู่มือการเดินทาง โดยนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาจัดพิมพ์ใหม่
http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9540000055508
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #274 เมื่อ: วันที่ 06 พฤษภาคม 2011, 15:15:57 »


การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยร่วมกับภาคเอกชน จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคเหนือช่วงกรีนซีซั่น คาดเงินสะพัดกว่า 20 ล้านบาท
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับภาคเอกชน จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคเหนือช่วงกรีนซีซั่น คาดเงินสะพัดกว่า 20 ล้านบาท
นายสุภกิตติ์ พลจันทร์ ผู้อำนวยการภูมิภาค ภาคเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคเหนือช่วงกรีนซีซั่นเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ททท.ร่วมกับภาคเอกชน จัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยว นำเสนอเส้นทางท่องเที่ยว 6 เส้นทาง อาทิ เส้นทาง เที่ยวเหนือสืบสานโครงการพระราชดำริ เชียงราย-เชียงใหม่ พะเยา-ลำพูน เส้นทางเที่ยวเมืองฟ้าล้านนาตะวันออก จังหวัดอุตรดิตถ์-แพร่-น่าน และเส้นทางเสด็จตามรอยประพาสต้นจังหวัดอุทัยธานี -นครสวรรค์ จัดแพกเกจทัวร์ราคาประหยัดแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การเทรดโชว์ เปิดเวทีเจรจาซื้อขาย ภายใต้ชื่องาน “จับมือร่วมขาย กระจายรายได้ภาคเหนือ” และกิจกรรมคอนซูเมอร์ “เที่ยวสุขสันต์ มหัศจรรย์เมืองเหนือ” ซึ่งคาดว่า จะมีเงินหมุนเวียวจากการจัดโครงการครั้งนี้ประมาณ 20 ล้านบาท
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #275 เมื่อ: วันที่ 06 พฤษภาคม 2011, 17:02:06 »

เชียงราย - เตรียมพัฒนา “เวียงหนองล่ม” ฟื้นตำนานเมืองล่มจากเหตุแผ่นดินไหวใหญ่บนรอยเลื่อนแม่จัน เมื่อ 1,500 ปีก่อน พร้อมดันขึ้นชั้นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม เผยเคยพบโบราณวัตถุเพียบ
       
       นายทนงศักดิ์ ทองแสน นายกเทศมนตรี ต.จันจว้า กล่าวว่า สภาพปัจจุบันของเวียงหนองหล่มหรือ หนองล่ม ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ เขตติดต่อ ต.ท่าข้าวเปลือก อ.แม่จัน ต.โยนก อ.เชียงแสน และ ต.จันจว้า อ.แม่จัน ยังรกด้วยวัชพืชและไม่มีการกำหนดขอบเขตให้มั่นคง จึงมีคนพยายามจะรุกล้ำเข้าไปครอบครองอย่างต่อเนื่อง
       
       ดังนั้น เทศบาลจึงพยายามเข้าไปปรับปรุงในหลายด้าน เช่น พัฒนาแหล่งน้ำ ปรับภูมิทัศน์ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตและวัฒนธรรม การจัดทำพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุ ฯลฯ
       
       โดยเฉพาะตำนานของเวียงหนองหล่ม และประวัติศาสตร์ความเป็นเมืองเก่าแก่ที่ล่มสลายลงจนกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งเกี่ยวข้องทั้งตำนานและหลักธรณีวิทยาเรื่องแผ่นดินไหวครั้งใหญ่อันเกิดจากรอยเลื่อนแม่จันด้วย ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดทำแผนและรอการสนับสนุนด้านงบประมาณโดยร่วมกับจังหวัดต่อไป
       
       พ่อหนานเป็ง ปิ่นธรรมา มัคทายกวัดป่าหมากหน่อซึ่งเป็นมัคทายกของวัดมานานกว่า 36 ปี กล่าวว่า เวียงหนองหล่มเป็นสถานที่กว้างขวาง ที่มีผู้คนพบโบราณวัตถุต่างๆ เป็นประจำ และนำไปเก็บไว้ที่วัด ปัจจุบันจึงถูกเก็บรักษาไว้มากมาย แต่ยังไม่เป็นสัดเป็นส่วนมากนัก โดยถ้วย โถ โอ ชาม โลหะ ฯลฯ ที่เก็บได้นำไปไว้ที่ศาลาหลังเล็กๆ ส่วนดาบหรือพระแสง เศียรพญานาค เก็บไว้ในพระวิหารของวัด เป็นต้น
       
       นอกจากนี้ ทางวัดได้มีการอนุรักษ์เวียงหนองหล่มด้วยการกำหนดให้พื้นที่รอบเกาะห่างออกไปในหนองน้ำประมาณ 50 เมตร ห้ามไม่ให้มีการล่าสัตว์ เพื่อให้เป็นเขตอภัยทานของสัตว์น้ำและนก
       
       “เมืองแห่งนี้มีเรื่องปาฏิหาริย์มากมาย เช่น คืนวันพระจะมีเสียงฆ้องกลอนแห่แหนทางทิศเหนือของทุ่งหนองคำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเวียงหนองหล่ม หรือบางครั้งก็มีผู้พบพระพุทธรูปองค์ใหญ่หน้าตักกว้าง 9 ศอกในน้ำแต่ก็หายไป เป็นต้น” พ่อหนานเป็ง กล่าว
       
       รายงานข่าวแจ้งอีกว่า เวียงหนองหล่มนั้นมีตำนาน หรือพงศาวดารหลายเล่มเล่าตรงกันว่า เจ้าชายสิงหนวัติ พาผู้คนมาหาที่ตั้งเมือง พอมาถึงแม่น้ำโขง ก็พบนาคจำแลงเป็นชายมาบอกสถานที่สร้างเมือง จึงตั้งเมืองโยนกนาคพันสิงหนวัติ จนถึงสมัยพระเจ้ามหาไชยชนะ มีผู้คนจับปลาไหลเผือกได้ และนำมาแบ่งกันกินทั่วเมือง เว้นแต่หญิงม่ายนางหนึ่งไม่มีใครให้กิน ตกกลางคืนเกิดแผ่นดินไหว เมืองถล่มลงเหลือแต่บริเวณเกาะแม่ม่าย และเรียกเมืองนั้นว่าเวียงหนองล่ม
       
       แต่ตามหลักฐานปัจจุบันสันนิษฐานว่า เกิดแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนแม่จันเมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อนวัดได้ 6.6 ริกเตอร์ จนทำให้เมืองล่มลงจนมีสภาพเป็นเมืองใต้หนองน้ำ ที่มีวัชพืชอยู่เต็มพื้นที่
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #276 เมื่อ: วันที่ 09 พฤษภาคม 2011, 05:07:25 »

มท.ยังไม่ไฟเขียวเปิดด่านถาวรสามเหลี่ยมทองคำ

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน   8 พฤษภาคม 2554 22:22 น.


       เชียงราย - ศูนย์สั่งการชายแดนฯ เมืองพ่อขุนฯ ตีกลับแผนเปิดด่านถาวร “สามเหลี่ยมทองคำ” สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาใหม่ หลังยังไม่มีไฟเขียวจาก มท. ขณะที่จุดผ่อนปรน ถูกเปิดตามแนวฝั่งน้ำโขงเขตเชียงแสนเกร่อ จนเคยถูกเจ้าท่าฯ รื้อป้ายออกมาแล้ว
       
       รายงานข่าวจากจังหวัดเชียงราย แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการศูนย์สั่งการชายแดนไทย-สปป.ลาว และไทย-พม่า จ.เชียงราย ครั้งที่ 4 ประจำปี 2554 ที่ศาลากลางจังหวัด โดยมีนายพินิจ หาญพาณิชย์ รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย เป็นประธาน ที่ประชุมได้แจ้งถึงความสัมพันธ์ระหว่าง จ.เชียงราย กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งสองประเทศ โดยมีการไปมาติดต่อกันระหว่างผู้บริหารอยู่บ่อยครั้ง และได้มีการแจ้งถึงนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ไปจนถึงจีนตอนใต้ด้วย
       
       นายพินิจ กล่าวว่า ครั้งนี้ยังได้หารือเพื่อเตรียมการประชุมคณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนไทย-ลาว ระหว่าง จ.เชียงราย กับเมืองบ่อแก้ว สปป.ลาว ครั้งที่ 9 ในอนาคต รวมทั้งยังหารือด้านการสัญจรข้ามแดน ด้านการค้า และสถานการณ์แรงงานต่างด้าว ฯลฯ เพราะนับวันความเติบโตของชายแดนด้านนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการค้าชายแดนระหว่าง จ.เชียงราย กับทั้ง 3 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงคือ สปป.ลาว พม่า และจีน มีมูลค่าทางการค้าในรอบเดือน มี.ค.54 รวมกันกว่า 2,699.31 ล้านบาท แยกเป็นการส่งออก 2,428.40 ล้านบาท นำเข้า 270.91 ล้านบาท ไทยได้เปรียบดุลการค้ากว่า 2,157.49 ล้านบาท
       
       นายพินิจ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังได้หารือเพื่อปฏิบัติตามมติคณะกรรมการฯ เรื่องการขอเปิดจุดผ่านแดนถาวรบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ตามมติการประชุมครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 30 มี.ค. ที่ผ่านมา และยังได้รับทราบรายงานสถานการณ์ชายแดนและข้อหารือปัญหาอุปสรรคของอำเภอที่มีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อกันและเพื่อแสวงหาความร่วมมือระดับท้องถิ่นในอนาคตต่อไปด้วย
       
       พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำดังกล่าว ปัจจุบันมีจุดผ่อนปรนอย่างเป็นทางการที่บ้านสบรวก ต.เวียง ตรงทางเชื่อมแม่น้ำรวกกับแม่น้ำโขงชายแดนไทย-พม่า และจังหวัดเคยทำพิธีเปิดจุดผ่อนปรนใกล้กันอีก 1 จุดเมื่อเดือน ก.ย.2553 ซึ่งห่างจากจุดแรกไม่กี่ร้อยเมตร แต่ปรากฏว่า กรมเจ้าท่าฯก็เข้าไปปลดป้ายและไม่ให้เปิดใช้อย่างเป็นทางการ เพราะยังไม่มีการแจ้งให้กรมเจ้าท่าฯรับทราบ
       
       สำหรับจุดแรกนั้นพบว่าเมื่อหลายปีก่อนสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เคยเห็นชอบในหลักการให้เปิดเป็นจุดผ่านแดนถาวรได้ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการประกาศจากกระทรวงมหาดไทยอย่างเป็นทางการ แม้จะมีการใช้ประโยชน์ในการเดินทางเข้าออกอย่าคึกคัก และมีการติดป้ายว่าเป็นจุดผ่านแดนถาวรเอาไว้แล้วก็ตาม ดังนั้นในการพิจารณาครั้งนี้คณะกรรมการฯ จึงมีการแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำกรณีการเปิดจุดผ่านแดนถาวรไปพิจารณาอีกครั้ง

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000056526
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #277 เมื่อ: วันที่ 09 พฤษภาคม 2011, 05:07:42 »

ชูเที่ยวเชียงของรับเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว

08 พฤษภาคม 2554
 
ภาครัฐ - เอกชน อ.เวียงแก่น ถกยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ ชูเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ล่องแม่น้ำโขงจากเชียงของ ไปยังแก่งผาได และนั่งรถขึ้นภูดูทะเลหมอกที่ดอยผาตั้ง

นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ นายอำเภอเวียงแก่น จ.เชียงราย เปิดเผยว่า ได้ระดมความคิดเห็น ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน  ในการพัฒนายุทธศาสตร์ของอำเภอเวียงแก่น ปรากฏว่า ที่ประชุมให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการพัฒนาด้านสาธารณูปโภค และการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน

สำหรับ ด้านการท่องเที่ยวจะมีการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวให้สมบูรณ์แบบ โดยจังหวัดให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ รอบรับการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 4 ระหว่างอ.เชียงของ จ.เชียงราย กับเมืองห้วงทราย แขวงบ่อแก้ว  สปป.ลาว ในปี 2555 ขณะนี้ทางอำเภอเวียงแก่นได้ประสานความร่วมมือ กับกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวของ อ.เชียงของ ในการเชื่อมเส้นทางท่องเที่ยว ทางแม่น้ำโขง จากตัวอ.เชียงของ ผ่านบริเวณจุดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง เข้าสู่อ.เวียงแก่น โดยมีปลายทางอยู่ที่แก่งผาไดจุดสิ้นสุดของแม่น้ำโขงของภาคเหนือ ก่อนที่แม่น้ำโขงจะไหลเข้าไปยังพื้นที่ของ สปป.ลาว

ทั้งนี้ เส้นทางดังกล่าว ถือเป็นเส้นทางที่มีทัศนียภาพสวยงามมาก โดยเฉพาะโขดทราย ผาหิน เกาะแก่ง กลางแม่น้ำ ตลอดจนวิถีชีวิต ซึ่งในหลายจุดมีประวัติความเป็นมาทางประศาสตร์ยาวนาน บ่งบอกความสัมพันธ์ของพี่น้องไทย-ลาว ทั้งสองฟากฝั่ง

นางสาริสา นวลใส ประธานชมรมผู้ประกอบการท่องเที่ยวอ.เชียงของ กล่าวว่า การเปิดใช้สะพานข้ามแม่น้ำโขง ไทย- ลาว และเส้นทาง R 3- A ที่เชื่อมต่อผ่านพื้นที่ของสปป.ลาว ไปยังประเทศจีนตอนใต้ จะเป็นจุดทำให้การท่องเที่ยวอ.เชียงของ และอ.เวียงแก่นมีความคึกคักมากขึ้น โดยทั้งสองอำเภอสามารถเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ย วและเส้นทางร่วมกันได้ สำหรับการเปิดโปรแกรมการเดินทางท่องเที่ยวใหม่ จะนั่งเรือล่องแม่น้ำโขงไปยังแก่นผาได จากนั้นเดินทางต่อโดยทางรถต่อไปยังดอยผาตั้ง ถือเป็นเส้นทางที่น่าสนใจมาก เพราะนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสบรรยากาศที่หลากหลาย ภายในโปรแกรมเดียว

http://www.posttoday.com
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #278 เมื่อ: วันที่ 09 พฤษภาคม 2011, 17:22:49 »

เครือ “อิตัลไทย” ยกธงขาว-ล้มแผนเปิด “ม้งเก้าหลัง-แม่ฟ้าหลวง” ขนลิกไนต์พม่าเข้าไทย




เชียงราย - กลุ่ม “สระบุรีถ่านหิน” เครืออิตัลไทย ยอมล้มแผนนำเข้าลิกไนต์จากเหมืองเมืองก๊ก-พม่า เข้าชายแดน “บ้านม้งเก้าหลัง” ผ่านป่า “แม่ฟ้าหลวง” แล้ว หลังถูกต่อต้านหนัก เล็งเจรจาพม่าใหม่อีกรอบ ขอขนเข้าท่าขี้เหล็ก-แม่สาย หรือส่งลงน้ำโขง ก่อนขนขายจีนแทน
       
       วันนี้ (9 พ.ค.) นายอาณัติ วิทยานุกูล ปลัด จ.เชียงราย ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการอนุมัติเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราว บริเวณบ้านม้งเก้าหลัง ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ที่ห้องประชุมชั้น 3 อาคารด่านศุลกากรพรมแดนสะพานไทย-พม่า แห่งที่ 1 อ.แม่สาย จ.เชียงราย โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบริษัทสระบุรีถ่านหิน จำกัด เครืออิตัลไทย เข้าร่วม
       
       ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับคำขอเปิดจุดชายแดนชั่วคราวของบริษัท สระบุรีถ่านหิน ที่ต้องการนำเข้าลิกไนต์จากเหมืองเมืองก๊ก เขตเมืองสาด ท่าขี้เหล็กประเทศพม่า ผ่านชายแดนไทย-พม่า เข้ามาที่ชายแดนไทย-พม่า ด้านหมู่บ้านม้งเก้าหลัง หลังจากบริษัทได้สัมปทานจากรัฐบาลพม่า เพื่อจะได้นำข้อสรุปแจ้งให้กระทรวงมหาดไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และรัฐบาลได้รับทราบ
       
       อย่างไรก็ตาม นายปกรณ์ ร่วมทอง ตัวแทนบริษัท ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า บริษัทขอยกเลิกและยุติการขออนุญาตนำเข้าถ่านหินลิกไนต์ผ่านช่องทางหมู่บ้านม้งเก้าหลังแล้ว เนื่องจากถูกชาวบ้านในพื้นที่ต่อต้าน เนื่องจากเกรงผลกระทบต่อมลภาวะ จากการขนส่งด้วยรถบรรทุกผ่านเส้นทางม้งเก้าหลัง-ดอยแม่สลอง-ถนนพหลโยธิน-เชียงราย-สระบุรี
       
       นายปกรณ์ กล่าวว่า บริษัทเสียดายที่ไม่สามารถนำเข้าถ่านหินทางช่องทางนี้ แม้รัฐบาลพม่ากำหนดให้นำเข้าได้เฉพาะช่องทางเมืองก๊ก-ม้งเก้าหลังเท่านั้น ขณะที่แหล่งพลังงานถ่านหินในประเทศไทยก็กำลังหมดลง ต้องหาแหล่งพลังงานนอกประเทศมาป้อน และถ่านหินเมืองก๊ก ก็เป็นถ่านหินคุณภาพดีที่สุดหรือประเภทซับบีทูบินิส ซึ่งให้ความร้อนได้ดีที่สุด หากใช้เทคโนโลยี ก็แทบจะไม่ก่อมลพิษไม่ใช่ลิกไนต์ธรรมดาแบบเหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง
       
       นายปกรณ์ กล่าวอีกว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทพยายามทำความเข้าใจต่อชาวบ้านเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ปัญหาคือชาวบ้านไม่เชื่อ และตนเชื่อว่า จะมีปัญหาลักษณะนี้กับอีกหลายบริษัทที่ประกอบการในลักษณะเดียวกัน
       
       “หลังจากนี้ บริษัทก็จะหารือกับรัฐบาลพม่า ว่า จะนำเข้าช่องทางอื่นได้หรือไม่ โดยมี 2 ทางเลือกคือ ขนจากเมืองก๊ก เข้าทางท่าขี้เหล็ก นำเข้าผ่านสะพานข้ามลำน้ำสาย 2 ต.แม่สาย อ.แม่สาย ไม่ต้องผ่านป่าแม่ฟ้าหลวง หรือขนจากเมืองก๊ก-ท่าขี้เหล็ก-ท่าเรือบ้านโป่ง เหนือสามเหลี่ยมทองคำ ส่งขายจีน แต่ตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่า พม่าจะอนุมัติหรือไม่”
       
       นายปกรณ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ บริษัทได้สัมปทานเหมืองเมืองก๊กจากรัฐบาลพม่าเป็นระยะเวลา 30 ปี ซึ่งการแจ้งยกเลิกการนำเข้าดังกล่าวคงจะไม่ส่งผลกระทบต่อสัมปทานที่ได้ แต่กรณีขอเปลี่ยนสถานที่การขนส่งดังกล่าวอาจจะมีผลต่อระยะเวลาดังกล่าวเช่นกัน
       
       จากนั้นที่ประชุมได้แจ้งให้บริษัท สระบุรีถ่านหิน ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ดังกล่าวไปยัง สมช.-จังหวัด และด่านศุลกากรแม่สาย ภายใน 1 สัปดาห์ เพราะก่อนหน้านี้ ทางบริษัทได้ยื่นเรื่องไปยัง สมช.ก่อนแล้วจน สมช.ได้เห็นชอบให้ดำเนินการตามหลักการและเป็นที่มาของการตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดดังกล่าว
       
       นายอาณัติ วิทยานุกูล ปลัด จ.เชียงราย กล่าวว่า ผลอย่างเป็นทางการจะมีขึ้นหลังบริษัท ทำหนังสือถึง 3 หน่วยงานดังกล่าวอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ในอนาคตหากบริษัทจะดำเนินการใดๆ ขอให้ปรึกษากับพื้นที่ก่อน เพื่อจะได้รู้สภาพ เพราะที่ผ่านมาเป็นการขอไปยัง สมช.และกระทรวงฯโดยตรง เมื่อเรื่องมาถึงพื้นที่จึงเกิดแรงกระเพื่อมอย่างไม่คาดคิด
       
       ทั้งนี้ หลังบริษัทแจ้งยุติดังกล่าวก็ให้อำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แจ้งไปยังประชาชนและส่วนท้องถิ่นที่เคยออกมาต่อต้านให้ได้รับทราบเพื่อยุติการเคลื่อนไหวต่อไป
       
       นายฤทธิไกร อุดมเวทย์ นายด่านศุลกากรแม่สาย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ หน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการเปิดจุดนำเข้า ที่หมู่บ้านม้งเก้าหลัง เพราะเกี่ยวข้องกับเรื่องเขตแดนประเทศ สิ่งแวดล้อม ป่าไม้ ฯลฯ ดังนั้น เมื่อบริษัทยอมยุติการนำเข้าที่จุดดังกล่าวจึงถือเป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก
       
       เมื่อปี 2551 บริษัท สระบุรีถ่านหิน ได้สัมปทานจากรัฐบาลพม่า ให้เข้าไปขุดถ่านหินที่เหมืองเมืองก๊ก ห่างจากหมู่บ้านม้งเก้าหลัง เข้าไปในพม่าประมาณ 68 กิโลเมตร เป็นเวลานาน 30 ปี เพื่อขุดถ่านหินมูลค่ากว่า 270,000 ล้านบาท หรือปริมาณสำรองกว่า 110 ตัน โดยรัฐบาลพม่าอนุญาตให้นำออกมาผ่านช่องทางเมืองก๊ก-ม้งเก้าหลังเท่านั้น แต่ไม่ให้ขนผ่านไปทางจุดผ่านแดนถาวร อ.แม่สาย ซึ่งห่างออกไปประมาณ 70-80 กิโลเมตร
       
       ตลอด 2 ปีเศษที่ผ่านมา บริษัท สระบุรีถ่านหิน ได้พยายามชี้แจงว่า จะมีการขนถ่านหินลิกไนต์ผ่านเข้ามาทางถนนม้งเก้าหลัง-สามแยกอีก้อ-ต.ป่าซาง อ.แม่จัน-ถนนพหลโยธินสายเชียงราย-สระบุรี โดยรถบรรทุกจะมีขนาด 6-10 ล้อวันละ 200 คันๆ ละ 15-26 ตัน หรือวันละกว่า 5,200 ตัน หลังจากออกจากชายแดนแล้วมีแผนจะนำไปพักที่ลานเก็บชั่วคราวที่หมู่บ้านใหม่พัฒนา หมู่ 14 ต.ป่าซาง อ.แม่จัน ใกล้กับถนนพหลโยธิน ห่างจากช่องแม่โจ๊ก บ้านม้งเก้าหลัง ประมาณ 77 กิโลเมตร ก่อนจะขนต่อไปยังโรงงานอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ของบริษัท ที่ จ.สระบุรี
       
       ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้บริษัท เทคนิคสิ่งแวดล้อมไทย จำกัด ทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะได้มีการขออนุญาตสร้างถนน 2 สายจากหมู่บ้านม้งเก้าหลัง ไปบรรจบกับถนนสายปกติที่เชื่อมระหว่างม้งเก้าหลัง-เทอดไทย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะ 4 กิโลเมตร และ 7 กิโลเมตรตามลำดับ
       
       บริษัทได้พยายามชี้แจงด้วยว่า การขนส่งก็จะใช้ผ้าใบคลุมรถให้มิดชิดและการขนถ่านที่ลานเปลี่ยนถ่านที่ ต.ป่าซาง ก็จะทำให้รวดเร็ว มีการจำกัดความเร็วของรถบรรทุกไม่ให้เกิน 25 กม./ชม., ตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ซ่อมบำรุงผิวจราจรกรณีเกิดความเสียหาย หลีกเลี่ยงการขนส่งช่วงเวลาพักผ่อนของประชาชน จำกัดเสียง หยุดวิ่งรถในเวลาเร่งด่วนคือ 07.00-08.30 น.และ 15.30-17.00 น.ติดป้ายจราจรตามจุดสำคัญ ติดตั้งจุดประสานงาน เป็นต้น
       
       แต่ก็เกิดการต่อต้านจากหลายภาคส่วนทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชมรมท้องถิ่นไทย ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะกรณีการขนส่งผ่านถนนแคบจากดอยแม่สลองลงมาเพราะเกรงจะมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยว และการมีลานพักที่หมู่บ้านป่าซางเพราะเกรงจะมีมลภาวะ จึงเคยมีการออกมาชุมนุมต่อต้านมาแล้วหลายครั้ง แม้แต่ “ปรียานุช ปานประดับ” อดีตรองนางสาวไทยและมิสเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีบ้านพักอยู่ที่หมู่บ้านป่าซางยังเคยออกมาร่วมต่อต้านด้วย

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000056696
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #279 เมื่อ: วันที่ 09 พฤษภาคม 2011, 17:25:44 »

เซ็นจ้าง“กลุ่มสามารถฯ”ทำ3จี

วันจันทร์ ที่ 09 พฤษภาคม 2554 เวลา 10:12 น 


เซ็นแล้ว “ทีโอที” จ้าง “กลุ่มสามารถ” ทำ 3จี ทั่วประเทศ คาดประมาณปลายปีประชาชนจะได้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จี

เมื่อเวลา  08.29 น. วันที่ 9 พ.ค. ที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้เซ็นสัญญาว่าจ้างผู้ชนะการประมูลขยายโครงข่าย 3จีมูลค่า 15,999 ล้านบาท กับกิจการร่วมค้าเอสแอล คอมซัลเตียมอย่างเป็นทางการ โดยตัวแทนทีโอทีประกอบด้วยนายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายกำธร ไวทยกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ นางวัชรี ทัพเจริญ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงิน นางศริญญา ไชยประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักพัสดุ และกฎหมาย นอกจากนี้ ยังมี นายเจริญรัฐ วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ. สามารถคอร์ปอเรชั่น นายวสันต์ จาติกวณิช กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ล็อกซ์เล่ย์

โดยการลงนามครั้งนี้ จะประกอบด้วย การสร้างระบบโครงข่ายหลัก ( คอร์ เน็ตเวิร์ก) จำนวน 1 ระบบ ระบบสถานีฐาน จำนวน 4,772 แห่ง แบ่งเป็นในกทม. 2,320 แห่ง ระบบสื่อสาร  ระบบบริหารจัดการโครงข่าย จำนวน  1 ระบบ ระบบบริการเสริมพื้นฐาน จำนวน 1 ระบบ ระบบสนับสนุนการให้บริการ จำนวน 1 ระบบ รวมการติดตั้งอุปกรณ์และการจัดเตรียมสถานที่ (Site Preparation ) และสนับสนุนและบำรุงรักษาโครงข่าย

สำหรับรายละเอียดในแผนการขยายโครงข่าย (Roll out) จะดำเนินการติดตั้งสถานีฐานทั่วประเทศจำนวน 5,320 แห่ง ครอบคลุม 57 จังหวัด โดยจะเป็นการสร้างสถานีฐานใหม่จำนวน 4,772 สถานี และย้ายสถานีฐานเดิม จากใจกลางกรุงเทพฯไปติดตั้งในปริมณฑลกรุงเทพ แทนจำนวน 548 สถานี ซึ่งหลังจากที่ได้ลงนามในสัญญาแล้ว คาดว่าประมาณกลางไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ประชาชนจะได้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี เต็มรูปแบบในกรุงเทพฯปริมณฑลและ 13 จังหวัดหลัก หลังจากนั้นภายในกลางปี 2555 จะสามารถใช้งานได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

ทั้งนี้ การเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี จะแบ่งเป็น 3 ระยะ ซึ่งหลังจากที่มีการลงนามเซนสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาแล้ว คาดว่าจะสามารถติดตั้งอุปกรณ์สำหรับใช้บริการแล้วเสร็จในพื้นที่สำคัญ ซึ่งมีประชากรหนาแน่นโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ เฟส 1 – 2 คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายใน 180 วัน คือ กทม ทุกพื้นที่และปริมณฑลอีก 4 จังหวัด และ 13 จังหวัดเช่น ชลบุรี ระยอง สงขลา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พิษณุโลก อุดรธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และหนองคาย เป็นต้น โดยจะสามารถเริ่มให้บริการได้ภายใน 90 วัน และเฟสสุดท้าย จะขยายไปยังจังหวัดในประเทศเพื่อให้ครอบคลุมต่อจำนวนประชากร 70 % ภายใน 360 วัน โดยทีโอที จะพิจารณาพื้นที่ทีมีความต้องการสูง

นายอานนท์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันทีโอที มีลูกค้าผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทีโอที 3จีประมาณ 200,000 เลขหมาย โดยตั้งเป้าหมายปี 2554 จะมีลูกค้าประมาณ 1.3 ล้านเลขหมายรายได้ปีแรก 1,700 ล้านบาท  และเพิ่มเป็น  7 ล้านเลขหมายในปี 2558 มีส่วนแบ่งการตลาดไม่น้อยกว่า 8 % โดยแผนการตลาด ทีโอที จะขยายผ่านบริการขายต่อบริการบนโครงข่ายเสมือน (เอ็มวีเอ็นโอ) เป็นหลัก และจะทำตลาดเองบางส่วน โดยทำการตลาดควบคู่ไปกับบรอดแบนด์ เอดีเอสแอลของทีโอทีเอง และโทรศัพท์ประจำที่ (ฟิกซ์ไลน์) ด้วยความเร็วสูง 14.4 เมกะบิต.

http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=316&contentID=137629
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
หน้า: 1 ... 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 [14] 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 ... 37 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!