เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 20 เมษายน 2024, 09:48:25
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  การตำหนิติเตียนพระสงฆ์....ควร หรือ ไม่ควร ??
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน การตำหนิติเตียนพระสงฆ์....ควร หรือ ไม่ควร ??  (อ่าน 2166 ครั้ง)
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« เมื่อ: วันที่ 14 กันยายน 2014, 17:34:20 »

การติเตียนพระภิกษุ กระทำได้โดยธรรม ที่อาศัยความสงเคราะห์ ติ ในที่นี้ไม่ใช่บริภาท

คือโจทย์ประจาน  ด่าทอ เป็นต้น แต่เป็นการติโดยธรรมเช่น   " ไฉน พระคุณเจ้าจึงไม่

เอื้อเฟื้อ ในพระธรรมของพระศาสดา  ข้อนี้เป็นการไม่สมควรนะ พระคุณเจ้า "   การตินี้

ต้องประกอบไปด้วยกาล  บุคคล  สถานที่  สมควร ไม่สมควร ต้องพิจารณาก่อนเพื่อไม่

ให้เกิด อคติแต่มีข้อควรระวัง   ถ้าท่านเป็นพระอริยะเจ้าที่เราไม่รู้ ไปติท่านเข้า  ย่อมได้

รับโทษทางวาจา  เรียกว่า  อริยุปวาทะ  มีโทษเท่าอนันตริยกรรม ต่างกันที่ อริยุปวาทะ

แก้ได้ด้วยการขอขมา  ส่วนอนันตริยกรรมแก้ไม่ได้

พระศาสนาต้องช่วยกันจึงจะเจริญอยู่ได้   

IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 14 กันยายน 2014, 17:36:32 »

ควรติคนอื่นหรือไม่

ปัญหา คนบางคนถืออุเบกขา ไม่ยุ่งกับคนอื่น  ไม่สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญโดยกาลอัน

ควร ไม่ติเตียนผู้ควรติเตียนโดยกาลอันควร  เฉยๆ เสียสบายดีเหมือนกัน พระพุทธองค์

ทรงเห็นอย่างไรในคนประเภทนี้?

พุทธดำรัสตอบ “.ดูก่อน  โปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ

       ผู้กล่าวติเตียน  ผู้ควรติเตียน  โดยกาลอันควร   ตามความเป็นจริง (แต่) ไม่กล่าว

สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑

       ผู้กล่าวสรรเสริญ     ผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง   โดยกาลอันควร (แต่) ไม่

ติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ๑

       ผู้ไม่กล่าวติเตียน    ผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง   โดยกาลอันควร ทั้งไม่กล่าว

สรรเสริญ  ผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑

       ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง  โดยกาลอันควร ทั้งกล่าวสรรเสริญ

ผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑

“ดูก่อนโปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้กล่าว ติเตียนผู้ควรติเตียนตามความ

เป็นจริง โดยกาลอันควร  และกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาล

อันควร นี้  เป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่า   บุคคล ๔ ประเภทนี้     ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะมีความงาม คือความเป็นผู้รู้จักกาลในอันควรสรรเสริญและติเตียนนั้น ๆ....”

โปตลิยสูตร จ. อํ. (๑๐๐)

ตบ. ๒๑ : ๑๓๑-๑๓๔ ตท. ๒๑ : ๑๗๗-๑๗๙

ตอ. G.S. II : ๑๐๘-๑๐๙


* image.jpg (199.3 KB, 509x720 - ดู 735 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 14 กันยายน 2014, 17:38:34 »

       พุทธดำรัสที่กล่าวนั้น..ดิฉันคิดว่าถูกต้องแล้ว .แต่พุทธดำรัสนั้นควรใช้ให้เหมาะ

สม    หมายความว่า   ควรใช้ในกรณีที่เป็น   ฆราวาสกับฆราวาส    หรือสงฆ์กับสงฆ์

ยกตัวอย่างเช่น ชาวบ้านคนหนึ่งศีล5กระท่อนกระแท่น  เห็นชาวบ้านด้วยกันทำตัวไม่

เหมาะสมก็ติเตียนและตักเตือนด้วยความหวังดีและถูกกาลเทศะ  อันนี้เปนเรื่องเหมาะ

สม   แต่การที่ชาวบ้านไปติเตียนพระซึ่งมีรักษาศีลมากกว่า (ชี้โทษคนอื่น1นี้ว แต่เข้า

ตัว 3 นิ้ว)  บางครั้งการกระทำของท่าน ก็เป็นอะไรที่ชาวบ้านอย่างเรา อาจขัดหูขัดตา

แล้วเข้าไปติเตียน    โดยไม่รู้ธรรม   โดยที่เราไม่รู้ว่า    พระที่เรากำลังติอยู่นั้น   เป็น

พระอริยะเจ้าหรือไม่...ทางที่ดีคือ  ต้องไปบอกกับพระ   ที่เปนผู้ใหญ่กว่าว่าพระรูปนั้น

กระทำการอย่างนี้   แล้วให้พระท่านพระท่านเห็นสมควรอย่างไร   ก็จะตักเตือนกันเอง
IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 14 กันยายน 2014, 17:41:55 »



ปุถุชนติเตียนพระสงฆ์ได้หรือไม่


ปุถุชนติเตียนพระสงฆ์ได้หรือไม่

 

ก่อนลงความเห็นว่า ได้หรือไม่ได้ ควรมีการอภิปรายถกเถียงกันก่อนดีไหมครับ ผมเห็นคนเข้าวัดจำนวนมาก ไปรักษาศีลปฏิบัติธรรม แต่แทนที่จะอยู่กับตัวเอง สังเกตจิตใจตัวเอง กลับไปจับผิดพระเณร ญาติโยมที่ไปปฏิบัติธรรมด้วยกัน พระองค์นั้นทำไม่ถูก เณรทำไม่ได้ แม่ชีก็ไม่ได้เรื่อง คือไม่ดีไปหมด แต่ทั้งวัดมีตัวเองดีอยู่คนเดียว อย่างนี้ถือว่าเป็นการติเตียนที่ไม่ได้เกิดจากจิตใจที่เป็นธรรม ไม่มีความปรารถนาดี คิดแต่จะเพ่งโทษ จับผิดคนอื่น ในความเห็นของผม การติเตียนแบบนี้ อย่าทำเสียดีกว่า

เห็นพระยืนบิณฑบาต รอรับของจากญาติโยม คนที่เคยศึกษาพระธรรมวินัยมาก่อนจะรู้ทันทีว่า ผิดธรรมวินัย เพราะการบิณฑบาตต้องเดิน ห้ามยืนรอ (ยกเว้นโยมนิมนต์) อาหารที่ได้ก็ต้องเก็บไว้พอขบฉัน เหลือต้องเอาไปแจกจ่ายทาน ห้ามนำไปขายต่อ เพราะของที่ญาติโยมใส่บาตร เป็นของที่ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ หากขายเอาเงินเข้ากระเป๋ากระ อย่างนี้ถือว่าเป็นการคอรัปชั่นอย่างหนึ่ง เพราะนำของที่คนให้มาด้วยความบริสุทธิ์ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

เห็นพระเณรฟาดหมูกระทะตอนเย็น อยู่กับผู้หญิงสองต่อสองในสถานที่อันไม่สมควร พระดื่มเหล้าเมายา ประพฤติตัวไม่เหมาะสมกับธรรมวินัย ผมว่าปุถุชนอย่างพวกเราตำหนิได้ครับ บาปไหม ก็คนที่ถูกเราตำหนิเขาบาปอยู่แล้ว จะเป็นไรไป ผมว่าเราอาจได้บุญเสียอีกที่การตำหนิของเราๆท่านๆอาจทำให้พระท่านละอาย ได้สติ กลับมาอยู่ในร่องรอยของธรรมวินัยเหมือนเดิม

พระสงฆ์ยังชีพอยู่ได้เพราะสังคมเลี้ยงดู เช่นใส่บาตรทุกเช้า สละเงินสร้างศาลา เสนาสนะให้พระได้อยู่อาศัย ปฏิบัติรักษาธรรมวินัยโดยไม่ต้องห่วงกังวลเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ แต่ถ้ามาประพฤติเหมือนโยม เช่น หลอกลวงให้คนงมงาย ขายพระ ขายของแข่งกับโยม ปุถุชนอย่างเราก็มีสิทธิที่จะตักเตือน เพื่อควบคุมให้อยู่กับร่องกับรอย อยู่เป็นพระ ปฏิบัติแบบพระไม่ได้ก็ต้องนิมนต์ให้ท่านสึกออกไป

แต่ถ้าเป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เราก็ต้องรักษาท่านไว้ อย่าให้ใครมาทำลายท่านได้

IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 14 กันยายน 2014, 17:50:42 »

แน่ใจได้อย่างไรว่า ผู้ที่
จาบจ้วงพระพุทธ
พระธรรม คำสอน

ชื่อว่า พระสงฆ์


อย่างไรเรียกว่า..
เป็นผู้กล่าวตู่พระพุทธ พระธรรม?

หมายความว่า
อ้างผิดๆ ถูกๆ, กล่าวสิ่งที่ ตรัส ว่า มิได้ตรัส  กล่าวสิ่งที่ มิได้ตรัส ว่า ได้ตรัสไว้,
พูดให้เคลื่อนคลาดหรือไขว้เขวไปจากพุทธดำรัส,  พูดใส่โทษ, กล่าวข่มขี่, พูดกด เช่น คัดค้านให้เห็นว่า ไม่จริงหรือไม่สำคัญ


* image.jpg (64.52 KB, 560x400 - ดู 404 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 14 กันยายน 2014, 17:53:25 »

พระสงฆ์คือผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ของพระสงฆ์ จึงจะเรียกว่าพระสงฆ์ พระสงฆ์คือผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คนติเตียนพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว ก็บาปแล้ว แต่คนที่ติเตียนคนผีบ้าที่ใช้ผ้าเหลืองบังหน้าเพื่อหลอกลวงคน ตามระบอบโดยชอบด้วยเหตุผล ไม่ได้บาป มีแต่ได้บุญ เพราะเจตนาเพื่อช่วยค้ำจุนพระพุทธศาสนา เพราะผีบ้าไม่มีสิทธิ์ที่จะมาทำลายพระพุทธศาสนา  ชาวพุทธถ้าไม่ช่วยพระพุทธศาสนา แล้วจะรอให้เทวดาองค์ไหน  หรือใครมาช่วยล่ะครับ
..คนที่มีหลักเดิน เดินไปตามหลัก เกาะหลักไว้ จะปลอดภัยมากกว่าครับ พระไตรปิฎกเป็นหลักที่ดีที่ใช้เกาะได้สำหรับชาวพุทธครับ
ข้อความในพระไตรปิฎก บางข้อความดูเหมือนไม่จริง แต่อย่างเพิ่งติติง จนกว่าจะได้อ่านธรรมะหมวดอื่นให้ครบถ้วนก่อน เพราะเหตุผลมักจะมีอยู่ในธรรมหมวดอื่น
..คนที่ปฏิบัติธรรมหรือกล่าวถึงธรรมะ  ก็ย่อมจะต้องมีความเข้าใจ และแน่ใจ ว่าธรรมะที่ตนเข้าใจนั้นถูกต้องกันทุกคนแหละครับ    คนใดไม่แน่ใจว่าธรรมะที่ตนเข้าใจนั้น ว่าถูกต้อง ก็คงไม่มีใครกล้าปฏิบัติ หรือกล้าแสดงออกมาหรอกครับ   แต่ความเข้าใจที่แน่ใจแล้วนั้น จะถูกหรือผิด มันอยู่ที่เหตุผล และผลของการปฏิบัติครับ ..ถ้าไม่ปฏิบัติแล้ว ก็ไม่ต้องพูดถึงความแน่ใจ  เพราะถ้าไม่เชื่อใจ ไม่แน่ใจ แล้วใครเล่าจะปฏิบัติตาม
..ถ้าจด ๆ จ้อง ๆ มองพระไตรปิฎกอย่างไม่แน่ใจ แล้วไม่เคยอ่าน ก็คงได้แต่ไม่แน่ใจอยู่ต่อไป ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย... อ่านแล้วให้เข้าใจ อ่านแล้วให้พิจารณา อ่านแล้วให้ค้นหาความจริงตามที่อ่าน  ความแน่ใจ ว่าใช่หรือไม่ใช่ ไม่ต้องเชิญ มันก็จะเกิดและเจริญขึ้นมาหาเอง..แหละครับ....
IP : บันทึกการเข้า
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 14 กันยายน 2014, 17:57:09 »

ปุจฉา   วิสัชนา
การติเตียน พระภิกษุ เป็นการบาปหรือไม่คะ กรณีที่พระทำอะไรที่ผิดพระวินัย หรือ ทำอะไรออกนอกลู่นอกทาง ไม่เหมาะ เช่น เลือกแผ่นเกมหรือ window shopping มือถือรุ่นใหม่ๆในห้าง เรามีสิทธิตักเตือนได้หรือไม่
 

การติเตียนพระภิกษุ จะบาปหรือไม่ อยู่ที่เจตนา หรือจิตใจ เช่น ถ้าทำด้วยใจที่มุ่งร้าย หรือแม้แต่ด้วยใจที่เป็นลบ เช่น โกรธ ไม่พอใจ ภาวะจิตใจเช่นนี้เป็นอกุศล จะเรียกว่าเป็นบาป ก็ได้ แต่ไม่ใช่บาประดับเดียวกับศีล ๕

การตักเตือนพระเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะพระส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการฝึกฝนพัฒนาตน ควรมีผู้แนะนำและทักท้วงเมื่อเห็นท่านประพฤติไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ผู้ที่ทำเช่นนั้นถือว่าเป็นทั้งกัลยาณมิตรและผู้รักษาพระธรรมวินัย อันถือว่าเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของอุบาสกอุบาสิก

ในสมัยพุทธกาล มีพระหลายรูปที่ถูกฆราวาสทักท้วงด้วยความปรารถนาดี เช่น นางวิสาขา เป็นที่มาของสิกขาบทหลายข้อในพระวินัย การกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญ ในส่วนของพระ เมื่อมีคนวิจารณ์ทักท้วง ควรมองว่าผู้นั้นคือ “ผู้ชี้ขุมทรัพย์” ดังที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำเอาไว้

IP : บันทึกการเข้า
chaplainbalm
magdafVE
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 14 กันยายน 2014, 21:24:38 »

นิคฺคเห นิคฺคหารหํ   ปคฺคเห ปคฺคหารหํ
พึงตำหนิคนที่ควรตำหนิ  พึงยกย่องคนที่ควรยกย่อง

ถามว่า คนทั่วไปตำหนิพระได้ไหม   ตอบว่า ด้วยความที่ท่านมีศีลสูงกว่าเรา จึงไม่ควร
จุดตัดสินใจจึงอยู่ที่ว่า ท่านมีศีลสูงกว่าเราจริงหรือไม่ ต้องดูให้ออก

วิธีการดู  คือ คนที่จะรักษาศีลได้สมบูรณ์ต้องมีคุณธรรม 2 ข้อเป็นพื้นฐาน
1 หิริ ละอายใจไหมที่จะทำกิจแต่ละอย่างที่พระไม่ควรทำ
2 โอตตัปปะ ถ้าทำไปแล้วจะมีผลเสียหายเกิดจากการกระทำนั้นไหม

บางเรื่องเป็นโลกวัชชะซึ่งคนทั่วไปเห็นว่าพระไม่ควรทำ ข้อนี้ต้องดูเจตนา อาจจะไม่ผิด แต่คนทั่วไปไม่เห็นด้วย
การโจทย์เพื่อจะได้ปรับความเข้าใจของผู้ถามก็ควรถาม แต่ไม่ควรด่วนชี้ผิด หรือถ้าผิดจริงถามแล้วพระท่านละอายนั่นก็เป็นบุญ

แต่บางเรื่องเป็นวินัยโดยตรง ผู้ถามต้องศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้ก่อน แต่ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจก็ไม่ควรชี้

จะอย่างไรก็ตาม ผู้ถามต้องตั้งอยู่ในเมตตาธรรม ตามหลักสาราณียธรรมเพื่อให้เกิดความสามัคคีของหมู่คณะ
IP : บันทึกการเข้า

nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 26 กันยายน 2014, 02:54:25 »

ไหว้สา  พระธัมมวินัย  สายบุญ

การชี้แนะในข้อผิดพลาดอย่างมีเมตตาธัมม์ ดีกว่าปล่อยปละละเลยให้เขาผิดหนักแย่เหลือเก่า ช่วยเป็นกระจกส่องเงา ให้เขารู้  ช่วยแก้ไขจากหนักเป็นเบา  จากผิดมากไม่ให้ผิดซ้ำซาก ฯลฯ

พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนประมาณ ว่า ผู้ชี้แนะ เป็นดั่ง ผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้ ผู้อื่น

ผู้ถูกชี้แนะนำ เตือน  ต้องสำนึก ใน สิ่งที่ดีงาม มีเมตตาจิต ของเขา  ใช่ออกอาการพาลชน  มารร้ายแทรก นรกอสุรกายเดรัจฉานจิตครอบงำ  แทนการขอบคุณ อนุโมทนาบุญ

หม่าเก่า ว่า กำด่านั้น เป๋น กำดี   กันฟังบ่ ถี่  มันจ่าง บ่ ม่วนหู       คำไทย ว่า การบ่นพันคำ   ไม่เท่า การบอก คำเดียว

คนชาญฉลาด  ชาติบัณฑิต  เขาจิตใจดี     ไม่ใช่  จิตพาลชน คนโง่เขลา  คิดบวกง่าย ๆ หรือ คิดดีทวีคูณ ไม่เป็น ไม่เก่ง    คิดเก่งแต่ ลบ  หาร   ดีเป็น ร้าย  ร้ายเป็นดี

สาธุ


IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!