เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 มีนาคม 2024, 17:49:36
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  +++กระทู้ติดตามรถไฟเชียงราย +++
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 [15] 16 17 18 19 20 21 22 23 24 พิมพ์
ผู้เขียน +++กระทู้ติดตามรถไฟเชียงราย +++  (อ่าน 162615 ครั้ง)
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #280 เมื่อ: วันที่ 21 มิถุนายน 2012, 19:32:28 »



 
วันนี้ (21 มิ.ย.55) ที่ห้องประชุมพุดตาน โรงแรมพะเยาเกทเวย์ นายกาจพล เอิบสุขศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 ตามโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยจัดขึ้น เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ รวมทั้งมาตรการป้องกัน แก้ไข และบรรเทาผลกระทบ ตลอดจนเพื่อหารือและรับฟังความคิดเห็นต่อประเด็นผลการศึกษาของโครงการ จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสีย
นายนันทชัย หวังเลี้ยงกลาง หัวหน้ากองโครงการและแผนงาน การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเริ่มดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2503 โดยมีการสำรวจเบื้องต้น ศึกษาความเหมาะสมทางวิศวกรรม และประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจและการเงินของโครงการ กระทั่งปี 2546 ได้มีการศึกษาทบทวนความเหมาะสมของโครงการอีกครั้ง โดยพิจารณาประกอบกับแผนพัฒนาส่วนต่อขยายเชื่อมต่อไปยังทางรถไฟที่มณฑลยูนาน ทางตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งได้ข้อสรุปเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดคือ การเชื่อมต่อที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
การรถไฟ ฯได้ศึกษาและออกแบบเพื่อเตรียมการก่อสร้าง โดยได้ผลสรุปว่า ทางรถไฟสายนี้มีความยาวประมาณ 325 กิโลเมตร เป็นระบบรางคู่ (Double track) และรางรถไฟแบบ Meter Gauge มีขนาดรางกว้าง 1 เมตร แนวเขตทางกว้างประมาณ 50-60 เมตร มีสถานีขนาดใหญ่ 3 สถานีได้แก่ สถานีแพร่ พะเยา และเชียงราย สถานีขนาดเล็ก 9 สถานี และป้ายหยุดรถไฟ 13 ป้าย สำหรับจุดตัดทางรถไฟกับถนน หรือบริเวณที่มีความอ่อนไหว กำหนดให้ออกแบบเป็นสะพานรถไฟยกข้ามถนน หรือสะพานรถยนต์ยกข้ามทางรถไฟ ทั้งนี้คาดว่าจะใช้งบประมาณ 60,000 ล้านบาท ในการก่อสร้าง และใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี
นายนันทชัย ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระหว่างการศึกษาของโครงการ ได้จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นระยะ ซึ่งจากการดำเนินงานดังกล่าว พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ศึกษา เห็นด้วยกับการพัฒนาโครงการ
    

    
ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : พะเยา(สวท.)   Rewriter : ธัญนรี ชันยากร / สนข.
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th


 วันที่ข่าว : 21 มิถุนายน 2555
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #281 เมื่อ: วันที่ 21 มิถุนายน 2012, 19:34:11 »

เมกะโปรอืด (เจ็กต์) บุญช่วย ค้ายาดี


กระจกไร้เงา 21 June 2555 - 00:00

    กระทรวงคมนาคมถือว่าเป็นกระทรวงขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจ็กต์) และมีงบประมาณการลงทุนมูลค่าแต่ละโครงการค่อนข้างสูง สำหรับในปี 2555 นี้  กระทรวงคมนาคมมีโครงการที่จะต้องเดินหน้าเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ด้านการขนส่งทางบก จะดำเนินโครงการจัดซื้อรถโดยสาร NGV จำนวน  3,183 คัน ใช้ ด้านการขนส่งทางน้ำ โดยกรมเจ้าท่ามีโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล ระยะที่ 1 ลงทุน 12,434 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างเขื่อนยกระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน่าน 2 แห่ง ที่อำเภอพยุหคี
รี  จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี วงเงิน 14,442 ล้านบาท
     ด้านการขนส่งทางอากาศ เช่น การพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจาก 45 ล้านคน/ปี  เป็น 60 ล้านคน/ปี ใช้งบลงทุน 62,503 ล้านบาท, โครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อขยายขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารเป็น 12.5 ล้านคน/ปี ใช้งบ 5,791 ล้านบาท

    ด้าน การขนส่งทางราง โดยเฉพาะการพัฒนารถไฟฟ้า 10 สายทาง ซึ่งรัฐบาลประกาศว่า ภายในปี 2557 จะต้องมีการประกวดราคาแล้วเสร็จทุกโครงการ ไม่ว่าจะเป็น โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่)  สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) สายสีแดง (บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน/บางซื่อ-หัวลำโพง), (รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต) สายสีม่วง (บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ) สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี)

    นอกจากนี้ยังมีระบบรางอื่นๆ อีก เช่น โครงการระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการของบประมาณเพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบ 4 เส้นทาง คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2560 ประกอบด้วย  สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่, สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา, สายกรุงเทพฯ-ระยอง, สายกรุงเทพฯ-หัวหิน, โครงการรถไฟฟ้าสายใหม่เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2 โครงการ ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2556 คือ โครงการการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย และโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบัวใหญ่-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม
    รวมถึงยังมีแผนการก่อสร้างรถไฟทางคู่อีก 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 873  กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 1  โครงการ คือ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และอีก 2 โครงการที่อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบ ระยะทาง 352 กิโลเมตร คือ ช่วงชุมทางจิระ-ขอนแก่น และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ในปี 2555 ส่วนที่เหลืออีก 3  โครงการ ระยะทาง 415 กิโลเมตรนั้น ประกอบด้วย เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ, มาบกะเบา-ชุมทางจิระและนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน อยู่ระหว่างของบเพื่อศึกษารายละเอียด
    ทั้งนี้ โครงการเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นหนึ่งในโครงการของรัฐบาล โดยเฉพาะรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่ได้ประกาศเป็นนโยบายเดินหน้าเต็มที่ นับตั้งแต่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ซึ่งมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2554  เป็นต้นมา จนถึงวันนี้ 21 มิถุนายน 2555 ก็กว่า 10 เดือนเข้าไปแล้ว ยังไม่เห็นโครงการไหนจะเดินหน้าคืบเลยสักนิดเดียว ไม่รู้ว่าเวลาที่มีกว่า 10  เดือนนั้น บรรดาท่าน ส.ส.ผู้ทรงเกียรติและท่านรัฐมนตรีทั้งหลายเอาเวลาไปทำอะไรหมด ขนาดเปลี่ยนคนบริหารกระทรวงคมนาคมคนใหม่จากเดิมที่เป็น พลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณทัต นั่งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มาเป็น นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ แทน โครงการต่างๆ  ก็ยังเหมือนเดิม อยู่นิ่ง โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวกับรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่  แม้กระทั่งรถไฟความเร็วสูง ที่รัฐบาลประกาศว่าภายในปี 2555 ได้เห็นการลงนามแน่ แต่ก็ยังเงียบ

ดูง่ายๆ แค่โครงการรถไฟฟ้าต่างๆ เช่น สายสีม่วง หลังน้ำลดโครงการยิ่งล่าช้าไปอีก เพราะติดปัญหาขาดแคลนแรงงาน, สายสีแดง ทั้ง 2 ส่วน ส่วนแรกบางซื่อ-ตลิ่งชัน งานโยธาเสร็จเรียบร้อย แต่ยังวิ่งไม่ได้ต้องใช้รถไฟธรรมดาวิ่งให้บริการก่อน เนื่องจากระบบอาณัติสัญญาณสำหรับรถไฟฟ้าจะติดตั้งและเปิดให้บริการเดินรถพร้อมกับส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-รังสิต คาดว่าจะใช้เวลาอีก 4 ปี จึงจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการระบบรถไฟฟ้าได้สมบูรณ์ ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กม. ล่าช้ามากว่า 1 ปีแล้ว เพราะติดขัดปัญหาการเปิดซองราคาสัญญาที่ 1 หรืองานก่อสร้างงานโยธา สถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง พบว่ากลุ่มกิจการร่วมค้า SU ประกอบด้วย บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้เสนอราคาต่ำสุดเสนอราคาที่ต่อรองแล้วเหลือ 31,170 ล้านบาท ขณะที่กรอบวงเงินของ  ร.ฟ.ท.อยู่ที่ 27,344 ล้านบาท ซึ่งตามระเบียบการประกวดราคาของไทยไม่สามารถดำเนินการได้
ยังมีสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพ-ท่าพระ-บางแค สีเขียว 2 สาย ทั้งหมอชิต-สะพานใหม่-และแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่กำลังก่อสร้างโครงการอยู่ แต่ก็อืดเป็นเรือเกลือ และยังมีอีกสารพัดสีที่รัฐบาลคุยนักคุยหนาว่าจะเดินหน้าก่อสร้างได้ในปี 2555 นี้แน่ ก็ยังไม่คืบ ส่วนโครงการอื่นไม่ต้องพูดถึง อยู่อย่างไรก็อย่างนั้น  
ยังไม่รวมถึงบรรดาราคาของกินของใช้ที่ปรับตัวพุ่งกระฉูด แต่รัฐบาลก็ยังไม่สน ที่เห็นว่าสนใจและเร่งผลักดันแบบดันทุรังให้เดินหน้าไปโดยไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหม หลับหูหลับตาผลักดันให้เดินหน้าเร็วยิ่งกว่ารถไฟชินคันเซ็น ก็น่าจะเป็นการเร่งแก้กฎหมายนั้นกฎหมายนี้ ทั้งนิรโทษกรรม พ.ร.บ.ปรองดอง เท่านั้น.

http://www.thaipost.net/news/210612/58497
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #282 เมื่อ: วันที่ 21 มิถุนายน 2012, 21:30:48 »

เอกสารประชุมการมีส่วนร่วมเวทีที่ 1

http://denchai-chiangrairailway.com/PDF/paper_M1.pdf


* Clip_14.jpg (466.38 KB, 630x928 - ดู 1329 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #283 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 20:30:08 »

รมว.จีนมาอีก-กระตุ้นน้ำโขงปลอดภัย สางปมเชื่อมลาว-ไทย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   19 กรกฎาคม 2555 19:08 น.   

เชียงราย - รัฐมนตรีคมนาคมจีน ยกคณะดูโครงการพัฒนาระบบคมนาคมชายแดนเชียงรายเชื่อมลาว - สป.จีน พร้อมหารือ “จารุพงศ์” รับปากเร่งผู้รับเหมาสร้างสะพานข้ามโขง 4 หวังเสร็จทัน 12 ธันวาฯปีนี้ พร้อมเปิดโต๊ะประชุมร่วมสางปัญหากฎระเบียบการใช้เส้นทาง R3a - ความปลอดภัยในการเดินเรือน้ำโขงเดือนหน้าที่คุนหมิง หลังเกิดเหตุฆ่าหมู่ลูกเรือจีน 13 ศพ ขณะที่ รมว.คมนาคมไทย ชงรถไฟเชื่อมจีนต่อ

วันนี้ (19 ก.ค.55) นายลี เซงหลิน รมว.คมนาคมของประเทศจีน ได้เดินทางเยือนเชียงราย เพื่อเยี่ยมชมโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เชื่อม อ.เชียงของ กับแขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว และถนนอาร์สามเอไทย-สปป.ลาว-จีน ,โครงการท่าเรือแม่น้ำโขงเชียงแสนแห่งที่ 2 บ้านสบกก ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน และตลาดการค้าไทย-พม่า ด้าน อ.แม่สาย พร้อมหารือร่วมกับนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.กระทรวงคมนาคมของไทย และคณะฝ่ายไทย ที่ห้องประชุมโครงการท่าเรือฯ โดยมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดในแม่น้ำโขง (ศปปข.) ของไทยให้การคุ้มกันอย่างเข้มงวด

ซึ่งจากการดูการก่อสร้างสะพานพบว่าคืบหน้าไปแล้วราว 47% มีกำหนดแล้วเสร็จเดือนมิถุนายน 2556 ส่วนท่าเรือแม่น้ำโขงพึ่งเปิดใช้งานเมื่อเมษายน 55 ที่ผ่านมา ขณะที่การดูแลความปลอดภัยในแม่น้ำโขงของไทยใช้ ศปปข.ส่วนหน้าเป็นหลัก หลังเกิดเหตุการณ์ปล้นและยิงเรือสัญชาติจีน 2 ลำ เมื่อ 5 ต.ค.2554 จนทำให้ลูกเรือเสียชีวิต 13 ศพ

นายจารุพงศ์ กล่าวว่า ผลการประชุมได้หารือใน 4 ประเด็นหลักๆ คือ ไทย-จีน จะผลักดันความร่วมมือทางน้ำ และทางบกร่วมกันตลอดไป หากมีกฎหมายใดเป็นข้อขัดข้องต่อการคมนาคม ก็จะแก้ไข ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ก็จะเร่งรัดให้เสร็จโดยเร็ว ส่งเสริมการขนส่งทางบกให้สะดวก และผลักดันรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมไทย-จีน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีแนวทางก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงราย อยู่แล้ว ดังนั้นทาง รมว.คมนาคม ของจีนจะดูพื้นที่ และเดินทางไปยัง จ.เชียงใหม่ ในวันพรุ่งนี้ (20 ก.ค.55)ด้วยเพื่อให้เกิดการเชื่อมถึงกันได้ในอนาคต

"ทางจีนได้ขอให้ผมตั้งคณะกรรมการ คณะทำงานฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อหารือดังกล่าวเพื่อให้ทำหน้าที่อย่างจริงจัง จากนั้นเดือนสิงหาคม 55 ผมจะนำคณะเดินทางไปยังเมืองคุนหมิง มณฑลหยุนหนันของจีน เพื่อแจ้งความคืบหน้ากันต่อไป" นายจารุพงศ์ กล่าว

สำหรับกรณีท่าเรือแม่น้ำโขงนั้น ประเทศไทยลงทุนกว่า 1,500 ล้านบาท แม้จะเกิดเหตุยิงเรือจีน 13 ศพ แต่ทางการไทย ก็เร่งรัดคดี ซึ่งทางการจีนก็พอใจ

ด้านนายลี เซงหลิน รมว.คมนาคมของจีน กล่าวว่า การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมไทย-จีน ถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมาก แต่ความปลอดภัย เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งแม้เหตุการณ์ยิงเรือจีน 13 ศพ จะส่งผลกระทบหนัก แต่รัฐบาลไทย-จีน ก็ให้ความสำคัญในการร่วมมือแก้ไขจนปัจจุบันสามารถจับผู้ร้ายข้ามแดนมาดำเนินคดีได้ จึงก่อให้เกิดโฉมใหม่ของการรักษาความปลอดภัยร่วมกัน 4 ชาติ คือ ไทย พม่า สปป.ลาว และจีน อย่างไรก็ตามจะมีการผลักดันให้กลไกความร่วมมือเข้มแข็งมากขึ้น โดยเดือนสิงหาคม 55 นี้ ในการประชุมที่เมืองคุนหมิง ก็จะมีการหาวิธีการให้คณะกรรมการ 4 ชาติมีความเข้มแข็ง และเดือนถัดไป (กันยายน) ก็จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 4 ชาติได้ประชุมร่วมกันเพื่อให้การอำนวยความสะดวกทั้งทางบกและทางเรือเป็นรูปธรรม

"สำหรับสะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ที่มีเหตุขัดข้องหลายเรื่องจนล่าช้า แต่ผมก็จะไปเร่งรัดผู้รับเหมาก่อสร้างของจีนให้เร่งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งได้ยินว่าไทยจะพยายามเร่งรัดให้แล้วเสร็จก่อนเวลา โดยให้เสร็จวันที่ 12 ธ.ค.55 ดังนั้นผมก็จะให้ผู้รับเหมาจีนเร่งให้แล้วเสร็จตรงกัน ทั้งๆ ที่เดิมจะให้แล้วเสร็จเดือนมิถุนายน 56" นายลี กล่าว

ด้านความร่วมมือเส้นทางทางบกอาร์สามเอนั้น นายลี กล่าวว่า มีข้อตกลงร่วมกันในการใช้เส้นทาง 4 ชาติอยู่แล้ว แต่ทางประเทศไทยจะต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรด้วย ทำให้ต้องร่วมกันผลักดัน เพื่อจะได้ลงนามใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งในเดือนสิงหาคมนี้ ก็จะประชุมหารือในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะด้วย

นายลี กล่าวอีกว่า ส่วนเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ซึ่ง รมว.คมนาคม ของไทยระบุว่า จะผลักดันให้เชื่อมไทย-จีนนั้น ตนดีใจอย่างมาก จึงจะนำเรื่องนี้เสนอต่อรัฐบาลจีน เพื่อให้ได้รับทราบ และผลักดันร่วมกันต่อไป เพราะเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมาก
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #284 เมื่อ: วันที่ 02 สิงหาคม 2012, 08:06:49 »

สนข.เล็งต่อยอดโครงสร้างพื้นฐาน


วันอังคารที่ 31 กรกฏาคม 2012 สนข.เล็งต่อยอดพร้อมเร่งผลักดันแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงประตูการค้าหลักและการค้าชายแดน  โดยเน้น 3 ท่าเรือและสนามบินสุวรรณภูมิ ส่วนประตูการค้าชายแดนครอบคลุมทุกภาค เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ
 ดร.จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้แผนพัฒนาประตูการค้าหลัก ประตูการค้าชายแดน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามประตูการค้าต่างๆ เริ่มดำเนินการไปแล้วหลายโครงการ โดยประตูการค้าหลักประกอบไปด้วย 1.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่จะเชื่อมโยงระหว่างประเทศเพื่อใช้เป็นจุดรวบรวมการขนส่งสินค้าทางอากาศ 2.ท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นท่าเรือระหว่างประเทศรองรับเรือขนาดใหญ่เกินกว่า 12,000 เดตเวตตัน แต่มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถขยายพื้นที่ออกไปได้อีก 3.ท่าเรือแหลมฉบัง อยู่ระหว่างการเร่งรัดดำเนินการก่อสร้างเฟส 3 พร้อมกับเร่งพัฒนาระบบรางเชื่อมโยงเข้าถึงโดยตรงถึงภายในท่าเรือ 4.ท่าเรือระนอง รองรับการขนส่งสินค้าฝั่งทะเลอันดามัน แต่รองรับเรือขนส่งสินค้าไม่เกิน 1,2000 เดตเวตตัน
 ส่วนประตูการค้าชายแดน ได้แก่ ภาคเหนือเชื่อมโยงกับเมียนมาร์ที่ด่านแม่สอด จ.ตาก และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว)ที่ อ.เชียงของ, อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการเร่งสรุปผลการศึกษาและออกแบบรายละเอียดเส้นทางช่วงเด่นชัย-เชียงรายเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติให้ดำเนินการต่อไปคาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 4 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับโครงการก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า จ.เชียงของ โดยกรมการขนส่งทางบกภายใต้งบประมาณกว่า 1,500 ล้านบาท ครม.มีมติเมื่อ 17 เมษายน 2555 อนุมัติในหลักการให้ดำเนินการแล้ว
 ภาคใต้ เชื่อมโยงสู่มาเลเซีย ผ่าน 3 จุดสำคัญคือ จุดด่านปาดังเบซาร์,  ด่านสะเดา จ.สงขลาและด่านสุไหงโก- ลก จ.นราธิวาส โดยมีการพัฒนาระบบรางเชื่อมไปสู่จ.ระนอง และตามด่านต่างๆ พร้อมกับการพัฒนาเส้นทางรถไฟเชื่อมอ่าวไทยและอันดามันในโครงการแลนด์บริดจ์ ส่วนทางน้ำ มีแผนเร่งพัฒนาท่าเรือภาคใต้ตอนล่างในหลายๆ แห่ง ตลอดจนศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าตามด่านชายแดนเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีย่านกองเก็บตู้สินค้าที่สถานีทุ่งโพธิ์ จ.สุราษฎร์ธานีเท่านั้น
 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อมโยงไปสู่สปป.ลาวผ่านจ.หนองคาย จ.นครพนม และจ.มุกดาหาร ด้วยการพัฒนาระบบรางในเส้นทางรถไปเชื่อมด่านชายแดนที่นครพนม และมุกดาหารให้เพิ่มขึ้น ซึ่งร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการเร่งสรุปผลการศึกษาเส้นทางรถไฟสายบัวใหญ่-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ที่เชื่อมโยงกับสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 ระยะทาง 336 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้งบประมาณ 4 หมื่นล้านบาท อีกทั้งยังเร่งนำเสนอก่อสร้างศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าขึ้นที่ จ.มุกดาหารหรือ จ.นครพนม เนื่องจากปัจจุบันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีย่านกองเก็บสินค้าที่สถานีกุดจิด จ.นครราชสีมาและสถานีท่าพระ จ.ขอนแก่น
 ภาคตะวันออก เชื่อมโยงกับประเทศกัมพูชาผ่านอ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว และอ.คลองใหญ่ จ.ตราด ได้มีการเร่งรัดการพัฒนาระบบรางสายมาบตาพุด-ระยอง และสายระยอง-จันทบุรี-ตราด ตลอดจนมอเตอร์เวย์เส้นทางพัทยา-ชลบุรี-มาบตาพุดที่ในอนาคตสามารถเชื่อมต่อไปยังระยองได้อีกด้วย อีกทั้งยังมีแผนการก่อสร้างศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าขึ้นที่จ.สระแก้วในระยะต่อไป และภาคตะวันตกที่เชื่อมโยงสู่ประเทศเมียนมาร์ผ่านอ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี โดยทางบกมีทั้งถนน 4 เลนและมอเตอร์เวย์ที่จะเชื่อมโยงไปสู่ท่าเรือน้ำลึกทวาย
 ดร.จุฬา กล่าวต่อไปว่า เร็วๆนี้ สนข.จะติดตามความคืบหน้าตลอดจนอุปสรรคปัญหาต่างๆอย่างใกล้ชิด เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์แก้ไขปัญหาให้สามารถพัฒนาโครงการไปสู่ความสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม ประการสำคัญยังสามารถจะต่อยอดโครงการต่างๆให้ยกระดับขีดความสามารถในระดับที่สูงขึ้นไปได้อีกในอนาคตทั้งภายในประเทศและการขยายเส้นทางไปสู่ประเทศต่างๆในระยะต่อไปเพื่อขยายโอกาสทางเศรษฐกิจของไทยให้มากยิ่งขึ้น

ากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,762  2-4  สิงหาคม พ.ศ. 2555
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #285 เมื่อ: วันที่ 16 สิงหาคม 2012, 00:10:46 »

 ยิงฟันยิ้ม


* 311613_426316844077970_550713865_n.jpg (73.11 KB, 934x698 - ดู 985 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #286 เมื่อ: วันที่ 25 สิงหาคม 2012, 19:33:01 »

โครงการรถไฟความเร็วสูงสาย เด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ
ทำการวิจัยเพื่อศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม



 ยิ้มเท่ห์
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
หลอนดะ
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 113



« ตอบ #287 เมื่อ: วันที่ 25 สิงหาคม 2012, 23:15:50 »

วาดฝัน รอวันเป็นจริง ^^!!
IP : บันทึกการเข้า

((((<<ถ้า หยุด ฝัน ก็ ไป ไม่ ถึง จุด หมาย>>))))
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #288 เมื่อ: วันที่ 27 กันยายน 2012, 11:23:09 »

'ชัชชาติ' ยัน 5 ปีระบบรางไทยถึงคุณหมิง รับติดขัดฝ่ายบริหาร-บุคลากร ด้านกมธ.คมนาคม แนะ ร.ฟ.ท.ตั้งบริษัทลูกพัฒนาที่ดิน แก้ปัญหาขาดทุน ค้านแปลงเป็นรัฐวิสาหกิจ หวั่นก่อหนี้ก้อนโต

วันที่ 26 กันยายน คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร จัดสัมมนา เรื่อง "ระบบราง : ปูทางสู่ AEC" ณ ห้องสารนิเทศ ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 1 และนิทรรศการการแสดงผลงานของหน่วยงานต่างๆ ภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม จำนวน 9 หน่วยงาน ที่บริเวณห้องโถงชั้น 1 อาคารรัฐสภา โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการคมนาคมระบบราง ในคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร

นายชัชชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีระบบรางแบบทั่วไปประมาณ 4,300 กิโลเมตร รถยนต์ขนส่งมีร้อยละ 84 ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน 80 กิโลเมตร และเพิ่มให้เป็น 470 กิโลเมตร ภายใน 5 ปี ขณะที่รถไฟที่ใช้ขนส่งสินค้ามีร้อยละ 2.5 ซึ่งหากระบบการขนส่งที่เป็นเช่นนี้ต่อไปเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) คงไม่สามารถเชื่อมต่อหรือแข็งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ จึงเป็นที่มาของโครงการรถไฟความเร็วสูง

" 3 ปีต่อจากนี้ ระบบรางจะเพิ่มมากขึ้น เช่น ในกรุงเทพฯ จะมีระบบรางรวมประมาณ 270 กิโลเมตร รวมทั้งจะมีการปรับปรุงหัวรถจักรใหม่ให้มีระบบที่ดีขึ้น เชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  อย่างไรก็ตามยังไม่ตัดข้อห่วงกังวลเรื่องความคุ้มทุนและความปลอดภัยของโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง"

รมช.คมนาคม กล่าวอีกว่ ในอนาคตไทยจะต้องเชื่อมระบบรางรถไฟไปถึงคุณหมิง ประเทศจีนได้ภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสแก่ประเทศไทยในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการท่องเที่ยว แต่ต้องยอมรับว่า ปัญหาระบบรางต่างๆ ของประเทศไทยอยู่ที่การบริหารจัดการ โดยเฉพาะบุคลากร รวมทั้งการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ถูกต้อง ทั้งนี้ การพัฒนาระบบรางไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลหรือรัฐมนตรีเพียงอย่างเดียว แต่ทุกคนต้องช่วยกันทำให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยที่หากมีการเปลี่ยนแปลงฝ่ายบริหารการพัฒนาระบบรางก็ยังต้องคงอยู่"

จี้ 'ยกเครื่อง' รถไฟ-แอร์พอร์ตลิงค์

ขณะที่ดร.สามารถ กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่อาเซียนจะต้องพัฒนาระบบรางให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นโครงข่าย และเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและลดก๊าซเรือนกระจก โดยขณะนี้ประเทศสมาชิกในอาเซียนต่างเชื่อมโยงกันด้วยรถไฟที่ใช้รางกว้าง 1.000 เมตร เริ่มจากสิงคโปร์ ผ่านมาเลเซีย ไทย กัมพูชา เวียดนามไปจนถึงคุณหมิงของจีน ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่อาเซียนจะต้องเปลี่ยนรางเป็น 1.435 เมตร เพราะต้องสิ้นเปลืองงบประมาณมหาศาล ที่สามารถนำไปสร้างรถไฟสายใหม่ให้เชื่อมโยงถึงกันได้ดีกว่าเดิม เช่น เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมดานัง-สะหวันนะเขต-มุกดาหาร-กาฬสินทร์-ขอนแก่น-เพชรบูรณ์-พิษณุโลก-แม่สอด-มะละแหม่ง และเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจเหนือใต้ เชื่อมเชียงของ-หลวงน้ำทา-เชียงรุ่งและคุณหมิง

เมื่อถามถึงระบบรถไฟไทย ดร.สามารถ กล่าวว่า ถึงเวลาที่ต้องช่วยกันยกเครื่องรถไฟไทย โดยการเร่งก่อสร้างรถไฟทางคู่และรถไฟสายใหม่ เช่น สายเด่นชัย-เชียงราย สายอุบลราชธานี-ช่องเม็ก สายภาชี-สุพรรณบุรี และสายชุมพร-ระนอง ทั้งนี้ การที่รถไฟความเร็วสูงจะเกิดขึ้นได้ต้องกู้เงินมาสร้างเท่านั้น จะหวังให้เอกชนมาร่วมลงทุนคงลำบาก เพราะโครงการนี้จะขาดทุน ดังนั้น หากสามารถแบกรับภาระการขาดทุนได้ก็เร่งสร้างรถไฟความเร็วสูงได้

"แนวทางในการแก้ปัญหาการขาดทุนรัฐบาลควรเร่งจัดตั้งบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาที่ดินของการรถไฟฯ ที่มีอยู่ถึง 234,976 ไร่ ที่จะทำให้เกิดรายได้มาบรรเทาหนี้สินของการรถไฟฯ ที่มีอยู่ถึง 110,000 ล้านบาทได้ แต่ผู้บริหารต้องเปลี่ยนความคิดเก่าๆ ที่ว่ารัฐบาลจะเลี้ยงดูเราเป็นเราจะต้องเลี้ยงดูตนเอง"

ดร.สามารถ กล่าวถึงปัญหาการขาดทุนของแอร์พอร์ตลิงค์ที่อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการรถไฟฯ ด้วยว่า ควรจะเปลี่ยนคณะกรรมการบริษัททั้งหมด และตั้งใหม่โดยมีผู้แทนจากบริษัท การบินไทย (จำกัด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ผู้แทนเอกชน ผู้แทนกระทรวงการคลังและผู้แทนจากการรถไฟฯ ซึ่งเป็นการแต่งตั้งในเชิงยุทธศาสตร์ ไม่ใช่การแต่งตั้งแบบต่างตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกัน

"ไม่เห็นด้วยที่จะเปลี่ยนสถานะของบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะจะไม่สามารถแก้ปัญหาหนี้สินได้ แต่กลับจะสร้างหนี้สินเพิ่มเติมขึ้นอีกมาก ท้ายที่สุด จะได้รัฐวิสาหกิจที่มีหนี้สินก้อนโตเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งเท่านั้น"

http://www.isranews.org/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/57-2012-08-12-13-59-01/16638--aec-.html#.UGNJsNgUAFk.facebook
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
a_pong
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,754


« ตอบ #289 เมื่อ: วันที่ 27 กันยายน 2012, 12:42:31 »

จะตันได้หันก่อนาาา ได้ฮู้ข่าวความคืบหน้ากะจ๊าดยินดีเน้อ
+1
IP : บันทึกการเข้า
60RADIO
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 807

60RADIO


« ตอบ #290 เมื่อ: วันที่ 27 กันยายน 2012, 12:50:46 »

มหากาพย์ เรื่องยาว
IP : บันทึกการเข้า

60RADIO 79/243 หมู่ 22 ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย
ติดตั้ง ระบบFire Alarm, GPS ติดตามรถ, ซ่อมกล่อง ECU, วิทยุสื่อสาร, กล้องวงจรปิด และ อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยในอาคาร
Phone&line; 089 556 3228
my sweet heart
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 754



« ตอบ #291 เมื่อ: วันที่ 11 พฤศจิกายน 2012, 16:54:19 »

ขออนุญาตสอบถามพิกัดสถานนีเมืองกับเวียงชัยที่ชัดเจนหน่อยค่ะ ที่ว่าตัดผ่านหมู่บ้านจัดสรรเลยอะ สรุปแล้วจริงอะป่าว
IP : บันทึกการเข้า
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #292 เมื่อ: วันที่ 17 พฤศจิกายน 2012, 18:25:33 »

รัฐบาลเร่งแผนรถไฟฟ้าความเร็วสูง 4 เส้นทางหลักเชื่อมโยงจีน-อาเซียน


กรุงเทพฯ 17 พ.ย.- นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม กล่าวในรายการ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน” ถึงการเดินทางร่วมคณะนายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมระบบรถไฟความเร็วสูงที่อังกฤษว่า เป็นการศึกษาดูงานการบริหารระบบรถไฟความเร็วสูงแบบบูรณาการร่วมกับระบบขนส่งมวลชนเชื่อมโยงเส้นทางในประเทศและเมืองสำคัญในภูมิภาคยุโรป โดยในส่วนของไทยในอนาคตไม่เกิน 5-6 ปี ประเทศไทยจะมีระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงลักษณะนี้ในกรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกัน โดยอาจจะเชื่อมต่อจากสถานีบางซื่อไปถึงเมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย โดยขอให้ประชาชนทุกฝ่ายร่วมมือกันมองไปถึงอนาคตของประเทศ ที่จะมีการพัฒนาระบบรถไฟฟ้า และระบบรางเชื่อมต่อกับต่างประเทศ

“ขอให้ประชาชนร่วมมือเดินหน้าไปด้วยกัน อย่าอยู่กับสิ่งเก่า ๆ ล้าหลัง หรือพูดถึงการเมืองนอกรูปแบบ เพราะมันหมดยุคแล้ว เราต้องพูดถึงอนาคต ต้องก้าวไปด้วยกัน และต้องทำให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยไม่คำนึงถึงเรื่องการเมือง ส่วนการเมืองนั้น หากเห็นว่ารัฐบาลคอร์รัปชั่น ก็ขอให้บอกว่าจุดไหน เรามีหน่วยงานที่เป็นกลางทำหน้าที่ตรวจสอบอยู่แล้ว ทั้ง ป.ป.ช. สตง. ก็ต้องไปพูดกันตรงนั้น อย่ามาพูดลอยๆ แล้วทำให้ประชาชนเข้าใจผิด” นายชัชชาติ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแผนการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาค โดยใช้รถไฟความเร็วสูง เมืองที่มีศักยภาพพอที่จะมีการเชื่อมต่อ ได้แก่ กรุงเทพฯ สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ ปีนัง โฮจิมินห์ ซิตี้ พนมเปญ ย่างกุ้ง และเวียงจันทน์ ซึ่งการเชื่อมเมืองเหล่านี้เข้าด้วยกันนั้น สามารถแยกเส้นทางการเดินรถออกได้เป็น 4 เส้นทางหลัก

ประกอบด้วย 1. เส้นทางสายเหนือ ความยาว 1,100 กิโลเมตร เริ่มต้นที่กรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ ตาก จากนั้นจึงแยกออกเป็น 2 เส้นทาง โดยเส้นทางแรกจะไปสิ้นสุดที่ย่างกุ้ง ส่วนอีกเส้นทางไปยังจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสามารถที่จะเชื่อมต่อไปยังจังหวัดเชียงราย และเมืองคุนหมิงในประเทศจีนได้ในอนาคต 2. เส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือความยาว 600 กิโลเมตรเริ่มต้นที่กรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ไปสิ้นสุด ณ เวียงจันทน์ ซึ่งสามารถที่จะเชื่อมต่อไปยังฮานอยในประเทศเวียดนามได้ในอนาคต

3. เส้นทางสายตะวันออก ความยาว 800 กิโลเมตร เริ่มต้นที่กรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา ไปยังพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และไปสิ้นสุดที่โฮจิมินห์ ซิตี้ ประเทศเวียดนาม 4. เส้นทางสายใต้มีความยาวประมาณ 1,900 กิโลเมตรเริ่มต้นที่กรุงเทพฯ แล้วตรงไปยังสุราษฎร์ธานี จากนั้นจะแยกออกเป็น 2 เส้นทาง โดยเส้นทางแรกจะแยกออกไปยังจังหวัดภูเก็ต ส่วนอีก เส้นทางจะผ่านหาดใหญ่ ปีนัง กัวลาลัมเปอร์ และไปสิ้นสุดที่ประเทศสิงคโปร์.

 -สำนักข่าวไทย
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
xavier
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 148


« ตอบ #293 เมื่อ: วันที่ 17 พฤศจิกายน 2012, 19:35:11 »

มาถึงไหนแล้ว ....
IP : บันทึกการเข้า
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #294 เมื่อ: วันที่ 13 ธันวาคม 2012, 01:42:09 »

คมนาคมจ่อถกแก้ปมสินค้าผ่านลาว-พม่าไปจีน เหตุเจอภาษี 2 ต่อ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   13 ธันวาคม 2555 00:50 น.   

   


       “ชัชชาติ” เตรียมหารือ รมต.ลาว และพม่าแก้ปัญหาขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่าน 2 ประเทศไปจีน เหตุถูกคิดภาษี 2 ครั้ง ชี้ทำให้ยุ่งยากและต้นทุนเพิ่ม พร้อมสั่งศึกษาสร้างมอเตอร์เวย์เชียงราย-เชียงใหม่ เร่งรถไฟเด่นชัย-เชียงราย รองรับสินค้าและนักท่องเที่ยวเพิ่มหลังเปิดสะพานมิตรภาพ 4 และท่าเรือเชียงแสน 2
       
       เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 กรมทางหลวงของไทยและลาวได้ทำพิธีเทคอนกรีตจุดเชื่อมสะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) พร้อมกันนี้ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้ทำพิธีเปิดท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนอย่างเป็นทางการเพื่อรองรับการค้าสามเหลี่ยมเศรษฐกิจแและเตรียมพร้อมเข้าสู่ AEC โดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงรายเป็นจุดยุทธศาสตร์หลักตามแนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ของ AEC เพราะสามารถเชื่อมพม่า ลาว จีน โดยจากคุนหมิง-กทม.ระยะทาง 1,800 กิโลเมตรจึงเป็นเส้นทางที่จีนให้ความสำคัญมาก แต่จะต้องเจรจาเรื่องการขนส่งสินค้าข้ามแดนจากไทยผ่านลาวไปจีนที่ยังต้องเสียภาษีขาเข้าและขาออกที่ลาวรวม 2 ครั้ง ทำให้เกิดความยุ่งยากและมีต้นทุนเพิ่ม
       
       “วันที่ 14 ธ.ค.นี้จะเดินทางไปพม่า จะหารือกับรัฐมนตรีพม่าในเรื่องใช้ด่านแม่สายเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้า ซึ่งยังมีปัญหาเรื่องนำรถเทรลเลอร์วิ่งข้ามไปไม่ได้ รวมถึงเรื่องการขนส่งสินค้าข้ามไปพม่าผ่านไปยังประเทศที่ 3 และจะคุยกับ รมต.คมนาคมลาวที่จะเดินทางมาไทยวันที่ 20 ธ.ค.นี้ในเรื่องเดียวกันด้วย เพราะลาวมองว่าสินค้าที่ผ่านไปจีนเป็นการนำเข้าของลาวก่อน” นายชัชชาติกล่าว
       
       ทั้งนี้ สะพานมิตรภาพ 4 จะเปิดใช้อย่างไม่เป็นทางการได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 56 ซึ่งการขนส่งสินค้าสะดวกและมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ใช้เรือข้ามฟากโดยมีรถเทรลเลอร์ประมาณ 50-80 คันต่อวัน โดยกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) จะเร่งดำเนินการก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายพื้นที่ 200 ไร่ วงเงิน 1,200 ล้านบาทเพื่อรองรับด้วย นอกจากนี้ หอการค้าและเอกชนในพื้นที่ได้เสนอให้ทำถนนเลี่ยงเมืองเพื่อแก้ปัญหาจราจรในเขตเมือง รวมถึงเร่งขยายถนนเป็น 4 ช่องจรจรเชื่อมเชียงของ-เชียงราย, เชียงราย-พะเยา
       
       อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการขนส่งทั้งทางบก, น้ำ และอากาศ ซึ่งจะต้องมีการลงทุนขยายความสามารถของท่าอากาศยานเชียงรายซึ่งปัจจุบันมี 20 เที่ยวบิน/วัน เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มจาก 1 ล้านคนต่อปีเป็น 1.7 ล้านคนต่อปี เร่งดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟสายเด่นชัย-เชียงรายให้แล้วเสร็จในปี 60, ศึกษาความเหมาะสมเพื่อก่อสร้างทางด่วนหนือมอเตอร์เวย์เชื่อมเชียงราย-เชียงใหม่ ระยะทาง 150 กิโลเมตร เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเพิ่ม ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รับผิดชอบ เป็นต้น
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
atzcret
โทรสั่งได้ทันที
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 261


08.2759.6554 / 08.6355.9519


« ตอบ #295 เมื่อ: วันที่ 13 ธันวาคม 2012, 02:06:09 »

 โกรธ โกรธ
IP : บันทึกการเข้า

เพิ่มความสูง สูงขึ้นจริง100% สินค้านำเข้าจากเกาหลี
เสื้อกล้ามทอม คุณภาพดีอันดับ 1
SiLentNight
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 975


ฟ้าสีฟ้า ไม่เคยเปลี่ยน


« ตอบ #296 เมื่อ: วันที่ 13 ธันวาคม 2012, 10:41:30 »

สาธุ มาสักทีเถอะ
IP : บันทึกการเข้า

ฟ้าสีฟ้า ไม่เคยเปลี่ยน
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #297 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 21:28:35 »

จับตา"คมนาคม"แบ่งเค้กก้อนโตโครงสร้างพื้นฐาน1.9ล้านล้าน


7 January 2556 - 00:00

“ขณะนี้อยู่ระหว่างการทบทวนโครงการในแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งปี 2556-2563 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท และสิ่งที่กระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญมากที่สุดคือการพัฒนาระบบราง ซึ่งได้กำหนดวงเงินลงทุน 1.28 ล้านล้านบาท คิดเป็น 65.05%“
    แผนการใช้งบประมาณอย่างมหาศาล ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้นำเอาแผนการก่อร่างสร้างหนี้วงเงิน 2 ล้านล้านบาทเข้ามาอยู่ในแผนการดำเนินการในครั้งนี้ด้วย  โดยได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังดำเนินการ ร่างกฎหมายในรูปพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 2 ล้านล้านบาท ระยะเวลาการกู้ 7 ปี เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ซึ่งมี นายวีรพงษ์ รามางกูร (ดร.โกร่ง) ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประธาน ซึ่งแผนดังกล่าวนั้น ครอบคลุมทั้งด้านพลังงาน สื่อสาร สาธารณูปโภคและการคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ
    ทั้งนี้ กรอบวงเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2,274,359.09 ล้านบาท แบ่งเป็น 7 สาขา ได้แก่ 1.ระบบราง 1,201,948.80 ล้านบาท (52.85%) 2.ขนส่งทางบก 222,347.48 ล้านบาท (9.78%) 3.ขนส่งทางน้ำ 128,422.20 ล้านบาท (5.65%) 4.ขนส่งทางอากาศ 69,849.66 ล้านบาท (3.07%) 5.สาธารณูปการ 99,204.69 ล้านบาท (4.36%) 6.พลังงาน 515,689.26 ล้านบาท (22.67%) และ 7.สื่อสาร 36,897 ล้านบาท (1.62%)
    การลงทุนระบบราง เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 845,385.01 ล้านบาท การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 333,803.78 ล้านบาท กรมทางหลวง 16,550 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท 6,210.01 ล้านบาท
    ขนส่งทางบก เป็นขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 13,162.20 ล้านบาท กรมทางหลวง 204,498 ล้านบาท กรมการขนส่งทางบก 4,687.28 ล้านบาท "ขนส่งทางน้ำ"  กรมเจ้าท่า 33,075.60 ล้านบาท การท่าเรือแห่งประเทศไทย 93,492.24 ล้านบาท กรมธนารักษ์ 1,854.36 ล้านบาท              การลงทุน ขนส่งทางอากาศ บมจ.ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) 69,849.66 ล้านบาท ระบบสาธารณูปการ มี 2 หน่วยงานคือ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) 69,686.89 ล้านบาท และการประปานครหลวง (กปน.) 29,517.80 ล้านบาท
    การลงทุนด้านพลังงาน เป็นของ บมจ.ปตท.  135,655.88 ล้านบาท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 206,431.36 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 108,594 ล้านบาท การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 59,060.35 ล้านบาท และ ด้านสื่อสาร แบ่งเป็น บมจ.กสท โทรคมนาคม 20,761 ล้านบาท และ บมจ.ทีโอที 16,136 ล้านบาท เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าของกระทรวง คมนาคมถือว่าเป็นหน่วยงานที่ได้งบประมาณมากถึง 1.9 ล้านล้านบาท หรือ 80%ของวงเงินทั้งหมด
    ส่วนแหล่งเงินนั้นตามกรอบแล้วจะมาจาก 5 ส่วน คือ เงินงบประมาณ 205,127.77 ล้านบาท เงินรายได้ 184,401.86 ล้านบาท เงินกู้ในประเทศ 1,124,834.60 ล้านบาท เงินกู้ต่างประเทศ 449,172.52 ล้านบาท และจากการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนในรูปแบบ PPP 310,822.33 ล้านบาท
    ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาดูแล้ว ร่าง พ.ร.บ.กู้เงินดังกล่าวได้นำจุดดีของการกู้เงินในโครงการไทยเข้มแข็ง รวมถึงกฎหมายกู้เงินอื่นๆ มาดำเนินการ โดยจะมีรายชื่อและรายละเอียดโครงการทั้งหมด แนบไปกับร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ดังกล่าว เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา หากไม่เห็นชอบก็สามารถตัดโครงการหรือเพิ่มโครงการใหม่ได้เหมือนการพิจารณางบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล คาดว่าจะเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ก่อนที่จะเสนอเข้าต่อที่ประชุมรับสภาต่อไป เพื่อให้สภาพิจารณาเห็นชอบเป็นกฎหมายมีผลบังคับใช้ต่อไป คาดว่าจะเห็นเป็นรูปเป็นร่างภายในเดือนมีนาคม 2556
    สำหรับในส่วนของกระทรวงคมนาคม ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเยอะที่สุด ความคืบหน้าของโครงการ คือ ที่ผ่านมาได้จัดสัมมนาโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และร่วมรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชนต่อแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง พ.ศ.2556-2563 ทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งกระทรวงคมนาคมต้องเฟ้นหาโครงการที่ตรงกับวัตถุประสงค์และความเหมาะสมเป็นหลัก โดยจะจัดสรรในส่วนของขนส่งระบบราง 60% ขนส่งระบบถนน 33% ขนส่งทางน้ำ 3% และขนส่งทางอากาศ 1.9% จะเห็นว่างบประมาณถูกจัดสรรไปที่ระบบรางเป็นหลัก เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยทิ้งระบบรางไปนานและจำเป็นจะต้องเชื่อมต่อกับประเทศในอาเซียน และในอนาคตน้ำมันแพงขึ้นคนจะหันมาใช้รถไฟแทน
    นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ได้ระบุว่า  “ขณะนี้อยู่ระหว่างการทบทวนโครงการในแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งปี 2556-2563 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท และสิ่งที่กระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญมากที่สุดคือการพัฒนาระบบราง ซึ่งได้กำหนดวงเงินลงทุน 1.28 ล้านล้านบาท คิดเป็น 65.05%“
    ทั้งนี้ ในส่วนของระบบรางนั้นได้เสนอไป 33 โครงการ วงเงิน 1.164 ล้านล้านบาท เบื้องต้นกระทรวงการคลังส่งสัญญาณว่า ในส่วนของระบบรางที่ได้เสนอโครงการไปนั้นโครงการมีความชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูง, รถไฟทางคู่, ปรับปรุงทางรถไฟ ล้วนแล้วแต่เป็นโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญ เช่น ระบบรถไฟทางคู่ 6 สาย 131,252 ล้านบาท มีฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 11,348 ล้านบาท ลพบุรี-ปากน้ำโพ 19,408 ล้านบาท มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 28,087 ล้านบาท ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น 28,410 ล้านบาท นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน 27,332 ล้านบาท และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 16,665 ล้านบาท
    ยังมีโครงการสร้างรถไฟสายใหม่ 140,019 ล้านบาท 4 สาย อาทิ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 47,929 ล้านบาท ช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-มุกดาหาร 42,305 ล้านบาท ช่วงอรัญประเทศ-ปอยเปต 2,822 ล้านบาท และสายเชื่อมท่าเรือฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน ระยะที่ 1 วงเงิน 46,961 ล้านบาท
    รถไฟความเร็วสูง 481,066 ล้านบาท 4 สาย วงเงิน 4.8 แสนล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย 475,498 ล้านบาท
    รองลงมาคือการขนส่งทางบก หรือถนน 4.7 แสนล้านบาท สัดส่วน 24.2% เช่น การก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 5 สาย วงเงิน 2 แสนล้านบาท เช่น ทางหลวงเชื่อมระหว่างประเทศ 6,434 ล้านบาท วงแหวนรอบที่ 3 วงเงิน 157,700 ล้านบาท ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ (N1, N2 และ N3) 85,069 ล้านบาท, ขนส่งทางน้ำ 1.2 แสนล้านบาท สัดส่วน 6.51% เช่น เขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยา 1.4 หมื่นล้านบาท ทางอากาศ และขนส่งทางอากาศ 8.3 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 4.24% เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 วงเงิน 6.2 หมื่นล้านบาท
    อย่างไรก็ตาม แม้ว่านโยบายของรัฐบาล ภายใต้การนำของนายกฯ หญิงคนแรก นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเน้นการบริหารงานแบบ ”ประชานิยม” 1 ปีกับ 5 เดือน กลับต้องปรับคณะรัฐมนตรีถึง 3 ครั้ง และทุกครั้งที่ปรับคณะรัฐมนตรีก็มักจะมีนโยบายต่างๆ ออกมา โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน ก่อนที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์มานั่งบริหารประเทศเป็นมาอย่างไรทุกอย่างก็ยังอยู่เช่นนั้น
    แม้ว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ยังออกมาระบุเองว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เร่งรัดให้เดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า เพราะเห็นว่าที่ผ่านมาถือว่าโครงการรถไฟฟ้าตามนโยบายของรัฐบาลทั้ง 10 สายทางนั้นมีความล่าช้ามาก ทั้งในส่วนของที่รับผิดชอบโดยการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งจะต้องเร่งให้มีการดำเนินการให้ได้ภายในปี 2556
    ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ระยะทาง 36 กม. วงเงิน 38,730 ล้าน รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 20 กม. วงเงิน 73,070 ล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 7 กม. วงเงิน 10,150 ล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท มักกะสัน/บางซื่อ-หัวลำโพง รวมวงเงิน 36,960 ล้านบาท รถไฟฟ้าสีแดงอ่อน ช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน ระยะทาง 6 กม. วงเงิน 4,281 ล้านบาท รถไฟฟ้าสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 10 วงเงิน 5,252 ล้านบาท รถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ ระยะทาง 13.9 กม. วงเงิน 19,400 ล้านบาท
    และยังมีอีก 4 โครงการแม้ว่าจะได้เริ่มกระบวนการไปแล้วบางส่วน แต่ก็มีความล่าช้าอย่างมาก เพราะตามแผนแล้วจะต้องมีการดำเนินการประกวดราคาในปี 2555 แต่จนแล้วจนรอดยังไม่เกิดขึ้นสักที จนนายกรัฐมนตรีต้องสั่งการให้เร่งรัดดำเนินการประกวดราคาในปี 2556 ประกอบด้วย  รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 11.4 กม. วงเงิน 36,405 ล้านบาท และช่วงสะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 7 กม. วงเงิน 23,507 ล้านบาท รถไฟฟ้าสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 14 กม. วงเงิน 9,950 ล้านบาท และรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงบางซื่อ-พญาไท ระยะทาง 7.9 กม. วงเงิน 13,590 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มประกวดราคาได้ประมาณต้นปี 2556
    "ที่ผ่านมาถือว่าโครงการรถไฟฟ้ายังดำเนินการล่าช้าอยู่ ซึ่งภายในปี 2556 นี้ จะต้องมีการเร่งรัดการประกวดราคาให้เรียบร้อย" นายชัชชาติกล่าว
    ส่วนความคืบหน้าสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรีนั้น ที่ก่อนหน้านี้ ส.ส.ในพื้นที่ต้องการให้สถานีปลายทางสิ้นสุดที่สุวินทวงศ์นั้น แต่สุดท้ายได้ข้อสรุปที่จะสิ้นสุดที่มีนบุรี อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวได้สั่งการให้ รฟม.ไปศึกษาเรื่องการให้บริการประชาชนด้วยว่าจะเป็นอย่างไร
    อย่างไรก็ตาม หลังจากปีเก่าผ่านไป ก้าวเข้าสู่ปีใหม่ ก็หวังว่าประชาชนจะได้รับสิ่งดีๆ จากรัฐบาลกันบ้าง โดยเฉพาะโครงการที่เป็นโครงสร้างขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรจะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมขนส่ง ทางบก ราง น้ำ และอากาศ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง และหากรัฐบาล ”ปู 3” เห็นความสำคัญก็ควรจะเร่งผลักดันและมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหากับความทุกข์ยากของประชาชน ก็ขอฝากความหวังว่ารัฐบาลจะหันมามองไม่ใช่เอาแต่ดูแลพวกพ้องน้องพี่ตัวเองเท่านั้น.
+++++++++++++++++++


http://www.thaipost.net/news/070113/67647
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
ivan2
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 80


« ตอบ #298 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 22:58:26 »

อะ ชาตินี้คงได้นั่งรถไฟ กะเขามั่งหละ รอต่อปาย ลวกเพี่ย
IP : บันทึกการเข้า

อะไรก้อได้
ไม่ต้องมากมาย
แค่พออยู่ได้
ก้อพอ
HARLEY DAVIDSON
BIKER
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,537


HARLEY DAVIDSON & MERCEDES BENZ


« ตอบ #299 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 23:02:21 »

อะ ชาตินี้คงได้นั่งรถไฟ กะเขามั่งหละ รอต่อปาย ลวกเพี่ย
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ;Dรอรถไฟความเร็วสูงไปเลย หัวกระสุนเหมือนญี่ปุ่นไง  เรามีรถไฟสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อม ๆ กับญี่ปุ่นมี แต่ปัจจุบันรถไฟเรากับรถไฟญี่ปุ่น ต่างกันขนาดไหนคงไม่ต้องอธิบายนะครับ  เศร้า เศร้า เศร้า เศร้า เศร้า เศร้า
IP : บันทึกการเข้า

ขาดแคลนเงินตรา  แต่งชุดนักศึกษามาหาพี่
สุขใดไหนจะเท่า เมื่อล้วงกระเป๋าแล้วเจอตังค์
หน้า: 1 ... 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 [15] 16 17 18 19 20 21 22 23 24 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!