เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 เมษายน 2024, 20:03:48
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  +++กระทู้ติดตามรถไฟเชียงราย +++
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 [9] 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 ... 24 พิมพ์
ผู้เขียน +++กระทู้ติดตามรถไฟเชียงราย +++  (อ่าน 164161 ครั้ง)
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #160 เมื่อ: วันที่ 11 เมษายน 2011, 21:17:10 »

ใครพอจะรู้เส้นทางที่จะสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย - เชียงรายบ้างคะ  ขอบริเวณที่จะเวณคืนของจังหวัดพะเยานะคะ  อยากได้แผนที่ดูว่าจะตรงกับที่ตนเองหรือปล่าว   เพราะตอนนี้จะลงทุนทำอะไรก็ไม่กล้า  เพราะไม่รู้ว่าโดนเวณคืนหรือปล่าว  ใครรู้ช่วยบอกแผนที่ด้วยนะคะ อย่างละเอียดได้ยิ่งดี  ขอบคุณมากคะ

ผมพอรู้จักพี่ที่ทำงานที่การรถไฟ บ้างนะครับ..

ยังไง ผมจะลองขอมาถ้าได้ครับ.. ยิ้มเท่ห์ เพราะผมก็อยากเห็นเหมือนกัน
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #161 เมื่อ: วันที่ 19 เมษายน 2011, 22:38:38 »

เชียงราย - สำนักนโยบายและแผนการขนส่งฯเดินหน้าทำพิมพ์เขียวคมนาคม 4 จังหวัดเหนือ มุ่งเน้นเชื่อม สป.จีน เป็นเป้าหลัก พร้อมดันทำระบบขนส่งมวลชนเต็มที่ ชี้ รัฐบาลเดินผิดทาง มุ่งแต่สร้างถนน แต่ละเลยขนส่งมวลชน อ้างไม่คุ้มทุน ด้านรองผู้ว่าฯเชียงราย จี้เร่งคืนชีพรถไฟเด่นชัย-เชียงราย หลังถูกดองมา 50 ปี



       
       วันนี้ (19 เม.ย.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ได้จัดประชุมกลุ่มย่อยบูรณาการ 4 จังหวัด ตามโครงการ “ศึกษาสำรวจการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายด้านการขนส่งและจราจรในเขตพื้นที่กลุ่มยุทธศาสตร์ชายแดนจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน)” ณ โรงแรมริมกกรีสอร์ท อ.เมือง จ.เชียงราย
       
       โดยมี นายพินิจ หาญพาณิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิด และคณาจารย์จากสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ซึ่งออกจัดเก็บข้อมูลใน 4 จังหวัด นำโดย ผศ.ดร.พนกฤษณ คลังบุญครอง, รศ.ลำดวน ศรีศักดา, ดร.รังสรรค์ อุมศรี และ ผศ.ดร.มนสิชา เพชรานนท์ นำเสนอข้อมูล และมีตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมคับคั่ง
       
       นายวิจิตต์ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการ สนข.เปิดเผยว่า โครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินการ 15 เดือน ปัจจุบันดำเนินการมาได้ 3 เดือนแล้ว โดยเก็บข้อมูลและนำมาวางแผนสำหรับพิจารณาดำเนินการก่อสร้างตามโครงการคมนาคมต่างๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการ สภาพความเป็นจริง สิ่งแวดล้อม ความเหมาะสม งบประมาณ ฯลฯ และเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ระดับประเทศและพื้นที่เข้าด้วยกัน ซึ่งผลการศึกษาจะนำเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมพิจารณาแยกแยะว่าโครงการใดเป็นหน้าที่ของรัฐบาล กระทรวงและส่วนท้องถิ่นต่างๆ เพื่อนำไปปฏิบัติให้เหมาะสมต่อไป
       
       นายวิจิตต์ กล่าวว่า ซึ่งผลการศึกษา 3 เดือนที่ผ่านมาพบหลากหลายประเด็น เช่น บางโครงการมีการก่อสร้างอย่างเร่งด่วน ไม่มีงบประมาณรองรับ และนโยบายส่วนกลางแทรกแซง เป็นต้น และผลจากข้อมูลต่างๆ ทั้งหมดก็จะมีการนำมาประชุม ลงพื้นที่จริง จากนั้นราวเดือน ก.ย.2554 จะกลับไปนำเสนอในการสัมมนาใหญ่ที่ เชียงราย อีกครั้งก่อนนำเสนอให้รัฐบาลราวต้นปี 2555 เพื่อนำไปดำเนินการต่อไป
       
       นายวิจิตต์ ย้ำว่า การวางแผนทั้งหมดของเราขึ้นอยู่หลายด้าน เช่น ต้องปรับให้เข้ากับยุทธศาสตร์ของประเทศจีนที่มีการขยายโครงข่ายคมนาคมและเศรษฐกิจลงทางใต้ผ่านประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งผลในปัจจุบันก็เห็นชัดเจนในโครงการต่างๆ ของประเทศไทยที่มีรองรับเอาไว้แล้ว เช่น ท่าเรือแม่น้ำโขงเชียงแสนแห่งที่ 2-สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ที่ อ.เชียงของ ฯลฯ
       
       “อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาทั้งหมดพบว่า การก่อสร้างไม่ใช่คำตอบของการวางแผนด้านการคมนาคม แต่คำตอบที่แท้จริงคือ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้มีคุณภาพ” นายวิจิตต์ กล่าว
       
       ซึ่งด้วยความเจริญเติบโตของสังคมตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และไปสู่อนาคต ทำให้ทราบว่าไม่ว่าจะก่อสร้างถนน เพิ่มเส้นทางคมนาคมอื่นๆ อย่างไร ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความแออัดและความต้องการของประชากรได้ แต่ต้องพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เช่น ระบบราง รถเมล์ ฯลฯ ไม่เช่นนั้นประชาชนผู้ใช้เส้นทางคมนาคมก็จะต้องเป็นทุกข์เช่นนี้เรื่อยไป
       
       นายวิจิตต์ กล่าวอีกว่า ปีที่ผ่านมา ไทยมีรถยนต์เพิ่มขึ้น 500,000-700,000 คน บางปีเศรษฐกิจดีก็ทะลุขึ้นถึง 800,000 คน แต่รัฐขยายระบบขนส่งมวลชนน้อยมาก กลับไปทุ่มงบประมาณกับการก่อสร้างถนนหนทางปีละนับหมื่นล้านบาท เพราะมักจะไปผูกมัดกับแนวคิดที่ว่าโครงการขนส่งมวลชนไม่คุ้มทุน ทั้งที่ความเป็นจริงต้องมองความจำเป็นในการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน เช่น กรณีรถไฟสายเชียงราย-เด่นชัย จ.แพร่ ซึ่งศึกษามานานแต่ไม่ก่อสร้างเพราะมองเรื่องการคุ้มทุนนั้น ควรมองในมิติใหม่ เพียงแต่โครงการนี้ ก็ยอมรับว่ามีปัญหามากเพราะรถไฟต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้างยาวนานจึงต้องอาศัยรัฐบาลที่มีความต่อเนื่อง
       
       ด้าน นายพินิจ หาญพาณิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า เชียงราย มีความต้องการรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย มานานหลายสิบปี เพราะมียุทธศาสตร์เชื่อมโยงกับจีนตอนใต้และอำนวยความสะดวกด้วยระบบรางในด้านอื่นๆ แต่กลับมาศึกษาความคุ้มทุนใหม่อยู่ร่ำไป กระทั่งล่าสุดมีการศึกษาอีก ตนคาดว่า หากจะก่อสร้างจริงก็น่าจะเป็นอีกประมาณ 3 ปีข้างหน้า และหากไม่ก่อสร้างต้นทุนก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ และความคุ้มทุนก็จะลดลงมากขึ้นตามมาด้วย
       
       รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับโครงรถไฟเด่นชัย-เชียงราย ยืดเยื้อมายาวนานร่วม 50 ปี กระทั่งเมื่อปี 2544 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เคยศึกษาและออกแบบก่อสร้างเส้นทางแล้วเสร็จแต่ก็ยังไม่ดำเนินการ กระทั่งปี 2553-2554 รัฐบาลได้ให้ศึกษาอีกครั้งด้วยงบประมาณ 200 ล้านบาทให้ศึกษารถไฟรางคู่ขนาดกว้าง 1.453 เมตร เชื่อมเด่นชัย-เชียงราย ระยะทาง 246 กิโลเมตรและจากเชียงราย-สันยาว 40 กิโลเมตรเลี้ยวซ้ายไปทาง อ.เชียงแสน และจากสันยาว-เชียงของ จุดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-สปป.ลาว-ถนนอาร์สามเอ-จีนตอนใต้ อีก 40 กิโลเมตรด้วย

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000047959
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #162 เมื่อ: วันที่ 20 เมษายน 2011, 06:49:27 »

ผมเคยอยู่ในพื้นที่ที่มีทางรถไฟผ่านมาก่อน เมื่อประมาณ 30 ปีทีแล้ว กับปัจุบันนี้
แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเลย  แล้วพื้นที่ที่ทางรถไฟตัดผ่าน จบกัน
อย่างว่าแหละครับ คนที่ไม่เคยมีย่อมอยากได้แต่คนมี่มีแล้วกลับไม่ยอมใช้
ระวังตกเป็นเหยื่อของการประชาสัมพันธ์และ......
ลองถามคนที่อยู่ในจังหวัดที่มีทางรถไฟผ่านผ่อเต๊อะ
IP : บันทึกการเข้า
mr_crutd
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 71


« ตอบ #163 เมื่อ: วันที่ 20 เมษายน 2011, 10:44:20 »

ถ้าจำไม่ผิด ไอ้เรื่องรถไฟมาเชียงรายเนี้ยได้ยินมาตั้งแต่จำความได้แล้ว ถ้าจะได้นั่งที่เชียงราย ก็คงจะแก่แล้วมั้ง  งักๆๆๆๆ
IP : บันทึกการเข้า

ทีมงานสุทธิพงษ์ซาวด์
0816024564 อ.เทิง จ.เชียงราย
เครื่องเสียง-ไฟ-เวที

http://www.facebook.com/suttipong.tawongchai
Aikaew
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 294


« ตอบ #164 เมื่อ: วันที่ 20 เมษายน 2011, 10:51:36 »

เรื่องดีีๆอย่างนี้ ไม่เกิดในรัฐบาลที่บริหารงานแบบนี้แน่ครับ เพราะไม่มีทั้งสติ ปัญญา และการจัดการทรัพยากรที่จะทำให้เกิดโครงการที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้ และการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน จำเป็นต้องเกิดองค์กรจัดการแยกจากของเดิมที่พัฒนาไม่ได้(รฟท) ก่อนด้วย
IP : บันทึกการเข้า
nalismenox
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 846


สุดท้ายก็กลับมายืนจุดเดิม


« ตอบ #165 เมื่อ: วันที่ 20 เมษายน 2011, 15:41:08 »

เข้ามาส่ายหน้า แล้วก็เดินคอตก.....ออกไป....   รูดซิบปาก
IP : บันทึกการเข้า
framezasabi
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #166 เมื่อ: วันที่ 20 เมษายน 2011, 15:57:26 »

ความเห็นส่วนตัวนะ  อยากให้มีเพราะคนเชียงรายเสียสิทธิตรงจุดรถไฟฟรีไปปีละเท่าไหร่  เราย่อมนั่งรถไฟฟรี(เพราะอยากจะรู้ว่าคุณภาพประมาณเท่าไหร่) จากพิษณุโลกไปลงลำปางเเล้วขับมอไซค์กลับเชียงราย  คุณคิดดูว่าไกลเเต่ไหน  ขับ ๆหยุด ๆมีหมาอีก2ตัวคน2คน  ไปไหนไปกัน  เเต่ตรงจุดที่ไม่รถไฟผ่านนะค่ะ  ที่ดินตรงั้นราคาจะตกลงเเบบไม่น่าจะเกิดคุณคิดดูเสียงดัง ๆๆๆใครเค้าอยากจะมีบ้านอยู่เเถวนั้นหล่ะค่ะ  เอาเเบบมันเป็นความเห็นส่วนตัวเรานะ  ขออภัยหากขัดลูกกะตาของบางท่านค่ะ
IP : บันทึกการเข้า
OneManShow
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #167 เมื่อ: วันที่ 21 เมษายน 2011, 10:54:29 »

เอ่อ.......คือว่ามีก็ดีนะคับ จะได้สะดวกสบายหน่อย แล้วคนอื่นละคับ
IP : บันทึกการเข้า
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #168 เมื่อ: วันที่ 30 เมษายน 2011, 07:43:54 »

พม่า-จีน เซ็นสร้างทางรถไฟไปทะเลเบงกอล 3 ปี เปิดหวูด

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 เมษายน 2554 15:57 น.





ซินหัว - จีน และ พม่า ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MoU) ที่กรุงเนปีดอ วานนี้ (27 เม.ย.) ในโครงการร่วมก่อสร้างเส้นทางรถไฟส่วนขยายระหว่างเมืองมูเซะ (Muse) ที่อยู่บริเวณพรมแดนพม่า และเมืองจ๊กพะยู (Kyaukphyu) เมืองท่าของรัฐยะไข่ (Rakhine) ทางตะวันตกของประเทศ

การลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจในโครงการก่อสร้างทางรถไฟระหว่างบริษัท ไชน่าเรลเวย์ เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น และกระทรวงคมนาคมรถไฟแห่งสหภาพพม่า ครั้งนี้ มี นายทิน ออง มี้น อู รองประธานาธิบดีพม่า นายหลี่ จุนฮัว เอกอัคราชทูตจีนประจำพม่า นายออง มิน รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมรถไฟแห่งสหภาพพม่า และ นายหลี่ ฉางจิน ประธานบริษัท ไชน่าเรลเวย์ เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ร่วมเป็นสักขีพยาน

บันทึกฉบับนี้ยังครอบคลุมถึงโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและโครงการพัฒนาตามเส้นทางรถไฟระหว่างปลายทางทั้งสองแห่งด้วย โครงการเส้นทางรถไฟ เมืองหวี่-ลาเฉียว-จ๊อกพะยู จะมีการก่อสร้างเส้นทางในระยะแรก จากมูเซะ หรือ “เหมืองหวี่” ที่อยู่บริเวณพรมแดนพม่า และจีน ไปยังเมืองลาเฉียวในรัฐชาน ความยาว 126 กม.ประกอบด้วย สะพานขนาดใหญ่และเล็ก 41 แห่ง อุโมงค์ 36 แห่ง และสถานีรถไฟ 7 สถานี ตามเส้นทางดังกล่าว

โครงการทางรถไฟนี้ตั้งเป้าที่จะก่อสร้างให้เสร็จสมบูรณ์ภายในเวลา 3 ปี เพื่อให้สอดคล้องไปกับโครงการท่อก๊าซจีน-พม่า ที่สร้างจากเมืองจ๊อกพะยูไปยังนครคุนหมิง มณฑลหยุนหนัน ของจีน ผ่านทางเมืองหวี่ของพม่า


พม่า ลาว เซ็น MOU สร้างรถไฟความเร็วสูงหมดแล้ว..เหลือแต่ไทย..

และเชียงราย  ฮืม ฮืม ฮืม ก็ไม่ได้อยู่ในแผนระยะแรกด้วย...

ต้องไปขึ้นรถไฟ ลาว และพม่า ไปเที่ยวจีนแล้ว. ยิงฟันยิ้ม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 30 เมษายน 2011, 07:48:27 โดย boondham » IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
น้าวัยทองฯ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,912



« ตอบ #169 เมื่อ: วันที่ 30 เมษายน 2011, 08:00:46 »

แล้วพี่ไทยจะสร้างเมื่อไหร่นี้

อยากนั่งรถไฟไป กทม  แบบสบายๆ

บ้านอยู่เชียงราย นั่งรถไปไฟทำงาน กทม

ไปเช้า เย็นกลับ เหอๆ
IP : บันทึกการเข้า

boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #170 เมื่อ: วันที่ 02 พฤษภาคม 2011, 22:56:07 »

รฟท.ส่อแห้วทำไฮสปีดเทรนด์ นายกฯ มอบ "สคร." ดึง "เอกชน" เสียบแทน

นายกฯ มอบ สคร.ศึกษาให้เอกชนร่วมบริหาร โครงการรถไฟความเร็วสูง แทนการรถไฟฯ เนื่อจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนสูงถึง 2 ล้านล้านบาท จึงต้องการความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม และช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ ขณะที่ภาครัฐยังคงเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการนี้

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า สคร.ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ให้ทำการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการของโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่รัฐบาลมีแผนดำเนินการก่อสร้าง เพื่อพิจารณาว่า รูปแบบใดจะมีประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดีกว่ากัน ระหว่างให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นผู้บริหาร หรือให้เอกชนเป็นผู้บริหาร โดยการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ มีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้น

"โครงการลงทุนลักษณะนี้ ถือเป็นโครงการใหม่ รูปแบบการบริหารจัดการควรเป็นสากล หากให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่เป็นผู้ดูแล จะทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ เพราะจะมีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นด้วย โดยการจัดตั้งอาจใช้เงินไปมาก แต่ขณะนี้ สคร. ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว"

ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวให้เหตุผลเสริมว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงนี้ มีวงเงินลงทุนสูง และเป็นโครงการที่ต้องใช้เทคโนโลยีในรูปแบบที่ทันสมัยและใหม่สำหรับประเทศไทย ดังนั้น เพื่อให้การลงทุนดังกล่าวประสบผลสำเร็จ การให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนจึงเป็นทางเลือกหลัก

ทั้งนี้ ภายใต้แผนพัฒนารถไฟความเร็วสูงนี้ ประกอบด้วย 5 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ โดยรัฐบาลได้ทำการทดสอบตลาดใน 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่และกรุงเทพฯ-ระยอง มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 3 แสนล้านบาท

โครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูง เป็นหนึ่งในแผนการลงทุนระยะ 5 ปีของรัฐวิสาหกิจซึ่งตามแผนจะมีวงเงินลงทุนรวม 2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในภาคต่างๆเช่น ขนส่งพลังงาน และการสื่อสาร โดยวงเงินลงทุนนี้ส่วนใหญ่จะใช้รูปแบบการร่วมลงทุนกับภาคเอกชน แต่ยังไม่ได้กำหนดสัดส่วนชัดเจน

"เราพยายามให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนมากที่สุด เพื่อให้จัดสรรงบประมาณแผ่นดินไปใช้ในโครงการอื่นและขณะที่กฎหมายการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนยังไม่ได้มีผลบังคับใช้ เราจะใช้กฎหมายเดิมไปก่อน และนำผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาในปัญหาต่าง ที่เคยเกิดขึ้นมาใช้เกณฑ์"

ขณะนี้ กำลังพิจารณาขายทั้งหุ้นที่จดและไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดมีกว่า 50 บริษัท มูลค่า 3 พันล้านบาท ขณะนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้ สคร.ขายได้ทันทีหากมีความพร้อม ส่วนบริษัทที่จะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คาดว่าจะขายเฉพาะหุ้นส่วนที่ถือเกิน

"เราจะให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินช่วยดูข้อมูลก่อนขายออกไปซึ่งหลักทรัพย์ที่ถือนอกตลาด คงได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือน ส่วนหลักทรัพย์ที่ถือในบริษัท ซึ่งอยู่ในตลาดหุ้นจะขายในเวลาที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบต่อหุ้นนั้นๆ ส่วนราคาต้องไม่ต่ำกว่าที่ซื้อมา"
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #171 เมื่อ: วันที่ 04 พฤษภาคม 2011, 16:22:35 »

เชียงราย - “โสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม” ขึ้นเวทีขายฝันรถไฟเด่นชัย - เชียงราย ส่งท้ายรัฐบาลก่อนยุบสภาฯ บอกคนเชียงราย ให้เลือกภูมิใจไทย จะได้รถไฟตามฝัน หลังถลุงงบศึกษาซ้ำซากมาครึ่งศตวรรษ

       
       วันนี้ (4 เม.ย.54) ที่อาคารคชสาร องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย นายโสภณ ซารัมย์ รมว.กระทรวงคมนาคม ได้เดินทางไปเป็นประธานในการประชุมรับความเห็นจากประชาชนเกี่ยวกับความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟสาย อ.เด่นชัย จ.แพร่ ไปยัง จ.เชียงราย ซึ่งยืดเยื้อมานานกว่า 53 ปียังไม่มีการก่อสร้าง โดยมีประชาชนไปร่วมประมาณ 1,000 คน แต่การประชุมกลับเป็นลักษณะการกล่าวปราศรัยจากนายโสภณ เป็นส่วนใหญ่ ส่วนการรับฟังความเห็น เป็นการแจกเอกสารแสดงความเห็นเท่านั้น
       
       ทั้งนี้ ก่อนการปราศรัยนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้กล่าวรายงานความคืบหน้าของโครงการว่า การศึกษาเพื่อสร้างเส้นทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย มีมาตั้งแต่ปี 2503 และมีการสำรวจเบื้องต้นในปี 2512 จากเด่นชัย-แพร่-สอง-เชียงม่วน-ดอกคำใต้-พะเยา-ป่าแดด-เชียงราย ระยะทางรวม 273 กิโลเมตร
       
       ต่อมาปี 2537-2538 รฟท.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทำการทบทวนผลการศึกษาเดิมได้ข้อสรุปให้ก่อสร้างตามแนวเด่นชัย-แพร่-สอง-งาว (ลำปาง)-พะเยา-เชียงราย ระยะทางรวม 246 กิโลเมตร กระทั่งปี 2539-2541 รฟท.ได้ว่าจ้างเอกชนให้สำรวจออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบ และปี 2547 ได้ว่าจ้างให้ศึกษาความเหมาะสมอีกครั้งเพื่อเชื่อมกับจีนตอนใต้ ซึ่งผลสรุปคือเส้นทางเดิมมีความเหมาะสมมากที่สุด
       
       นายโสภณ กล่าวว่า ปี 2553 ตนไปปักธงว่าจะผลักดันรถไฟมาเชียงราย และวันนี้ก็มีความคืบหน้าตามลำดับ โดยเส้นทางเด่นชัย-เชียงราย เป็น 1 ใน 3 แผนเร่งด่วนแล้ว ซึ่งตนขอบอกด้วยความจริงใจว่าก่อสร้างแน่นอน หลังจากก่อนหน้านี้ได้ผลักดันโครงการถนนหลายสายมูลค่าหลายหมื่นล้าน ท่าเรือแม่น้ำโขงเชียงแสน 2 มูลค่า 1,500 ล้านบาท สะพานแม่น้ำโขงไทย-สปป.ลาว ฯลฯ โดยมีนายวันชัย จงสุทธนามณี ที่ปรึกษาชาวเชียงรายเป็นผู้ผลักดัน ซึ่งสาเหตุที่ยุคตนผลักดันงบประมาณมากมายมาเชียงรายเพราะผูกพัน ส่วนจังหวัดใกล้เคียง เช่น พะเยาก็รู้จักกันช้ากว่าเชียงราย
       
       "อย่าได้สงสัยว่าผมจะมาหลอกท่าน เพราะที่ผ่านมาล้วนแต่มีข่าวว่าทำไมผมจึงไปแต่เชียงรายบ่อย อย่างไรก็ตามท่านนายกฯ ก็จะยุบสภาแล้ว แต่ผมอยากบอกว่าการเมืองก็ปล่อยให้ว่ากันไป แต่ถ้าอยากจะให้โครงการสานต่อก็ต้องเลือกพรรคผมเพื่อจะได้สานต่อ เพราะรัฐบาลชุดต่อๆ ไปก็ขึ้นอยู่กับความชอบของเขาว่าจะทำต่อไปหรือไม่" นายโสภณ กล่าว
       
       นายโสภณ ย้ำว่า โครงการนี้มีการศึกษาและออกแบบหมดแล้วเหลือเพียงก่อสร้างได้เลย แต่เมืองไทยแปลกรัฐบาลใหม่ที่ขึ้นไปหากมีแผนงานของรัฐบาลเก่าก็มักไม่สานต่อเพราะกลัวเสียหน้า
       
       รายงานข่าวแจ้งอีกว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 พ.ย.2552 เห็นชอบให้พัฒนาโครงข่ายระบบรางและให้บริการรถไฟของ รฟท.และเห็นชอบแผนการลงทุนระยะเร่งด่วนในวันที่ 27 เม.ย.2553 โดยโครงการรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย เป็นหนึ่งในแผนดังกล่าวควบคู่กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม สปป.ลาว-ไทย เข้าทาง จ.หนองคาย และเส้นทางอีสาน-มหาสารคาม-นครพนม มูลค่าทั้งหมด 176,808 แสนล้านบาท
       
       อย่างไรก็ตาม ในยุคนายโสภณ เป็น รมว.คมนาคม ก็ยังไม่มีการก่อสร้าง ขณะที่ในปี 2554 กระทรวงคมนาคมได้จัดสรรงบประมาณราว 200 ล้านบาท เพื่อศึกษารถไฟรางคู่ต่อไปจนถึง อ.เชียงของ ชายแดนไทย-สปป.ลาว ระยะทาง 326 กิโลเมตรอีก โดย รฟท.พึ่งลงนามจ้างเอกชนให้ศึกษาเมื่อวันที่ 29 เม.ย.54 ที่ผ่านมาระยะเวลาศึกษา 14 เดือน
       
       ขณะที่โครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ท่าเรือแม่น้ำโขงมูลค่า 1,500 ล้านบาท อนุมัติให้ก่อสร้างสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ถนนโครงข่ายสะพานแม่น้ำโขง สะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เชียงของ-ห้วยทราย ฯลฯ ล้วนเป็นโครงการที่อยู่ในแผนของรัฐบาลชุดก่อนๆ และพัฒนาการด้านงบประมาณมาตามลำดับจนถึงรัฐบาลปัจจุบัน

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000054785
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
thewinjoe
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 204



« ตอบ #172 เมื่อ: วันที่ 10 พฤษภาคม 2011, 22:13:51 »

โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
หน้า อสังหา Real Estate - อสังหาฯ-คมนาคม

ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 06 พฤษภาคม 2011 เวลา 10:03 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,633 8-11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554


"เอ็มเอเอ" คว้างบกว่า 170 ล้านบาทงานที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียง ของ กว่า 300 กม. พร้อมเปิดระบบเทิร์นคีย์ให้ผู้สนใจลงทุน ล่าสุด "โสภณ" นำผู้บริหารร.ฟ.ท.โหมกระแสหวังเอาใจคนล้านนา ชี้ทางแก้ลุ่มน้ำพื้นที่ 1A เสนอเจาะอุโมงค์ยาว 8 กม.ลอดภูเขาช่วงเด่นชัย-พะเยาเป็นจุดขาย เผยทั้งโครงการใช้กว่า 25,000 ล้านบาท

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าบริษัท เอ็ม เอ เอ จำกัด ได้รับการคัดเลือกให้เป็นที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดเพื่อเตรียมการก่อสร้าง โครงการรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทางประมาณ 365 กิโลเมตรภายใต้งบประมาณทั้งสิ้น 173 ล้านบาท หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ได้ศึกษาความเหมาะสมในเบื้องต้น เรียบร้อยแล้ว

"โครงการนี้ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2528 ประเทศอังกฤษได้ให้การศึกษาฟรีมาแล้ว ในปี 2539 ได้ทุ่มงบ 122 ล้านบาทเพื่อศึกษาความเหมาะสมพร้อมศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และครั้งที่ 3 เมื่อปี 2544 ที่ร.ฟ.ท.ว่าจ้างทบทวนผลการศึกษาและออกแบบก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้ภายใต้ งบประมาณ 15 ล้านบาท แต่ครม.ไม่อนุมัติเพราะอยู่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ

ต่อมาในปี 2553 รัฐบาลให้มีการศึกษาอีกครั้งเป็นระบบรถไฟทางคู่ขนานกว้าง 1.435 เมตร และในครั้งนี้กระทรวงคมนาคมโดยนายโสภณ ซารัม รัฐมนตรีว่าการต้องการให้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากการเปิดเส้นทางเชื่อม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว)ที่อำเภอเชียงแสนและการสร้างสะพาน เชื่อมสองฝั่งแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยจีนมีแนวคิดที่จะสร้างเส้นทางรถไฟเพื่อการขนส่งสินค้าและส่งเสริมการท่อง เที่ยวผ่านมายังเส้นทางดังกล่าวจึงน่าจะดำเนินการภายในประเทศรองรับไว้ก่อน โดยเชื่อมกับจุดเส้นทางรถไฟที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ได้ทันที"

ด้านแหล่งข่าวระดับสูงจากร.ฟ.ท. เปิดเผยว่าโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเด่นชัย(จังหวัดแพร่) –เชียงราย ได้รับอนุมัติงบแล้วจำนวน 175 ล้านบาท ส่วนการศึกษาและออกแบบรายละเอียดครั้งนี้จะใช้เวลา 14 เดือนโดยรวมการศึกษาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมเอาไว้ด้วย คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลและก่อสร้างได้ในต้นปี 2555 ซึ่งอาจให้กระทรวงการคลังเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้สนับสนุนหรือวิธีการอื่นๆ เนื่องจากใช้งบประมาณสูงกว่า 25,000 ล้านบาท

"บริษัทที่ปรึกษาได้ศึกษาไว้ 2 แนวทาง คือ
1. ให้เอกชนดำเนินการก่อสร้างให้ก่อนหรือเทิร์นคีย์ และรัฐบาลไทยจ่ายค่าก่อสร้างคืนด้วยวิธีเคาน์เตอร์เทรดด้วยผลิตผลการเกษตร ภายในประเทศ หรือ
2. ให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนโดยให้ได้รับสัมปทานโครงการภายในกำหนดเวลาและรัฐบาล ให้การสนับสนุนในเงื่อนไขบางประการ รวมทั้งการเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ โดยในส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ เพื่อก่อสร้างทางรถไฟบางส่วนการรถไฟฯได้เตรียมออกแบบเจาะเป็นอุโมงค์ยาว ประมาณ 8 กิโลเมตรผ่านภูเขาในพื้นที่ซึ่งจะเป็นอุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยใช้ หลีกเลี่ยงพื้นที่ลุ่มน้ำดังกล่าวแล้ว"

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย มีจำนวน 22 สถานี(ตามผลการศึกษาเดิมที่ยังไม่ได้มีการขยายเส้นทาง) จะมีปริมาณผู้โดยสารในปี 2563 จำนวน 1,665,000 เที่ยว/คน/ปี และปี 2567 จำนวน1,786,000 เที่ยว/คน/ปี ให้ผลความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 13.8% เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงข่ายและระบบการขนส่งทางรถไฟและถือเป็นเส้นทางสาย ยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและเส้นทางรถไฟจาก สาธารณรัฐประชาชนจีนตอนใต้ ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางของการค้าขนส่งในภูมิภาคต่อไป
IP : บันทึกการเข้า
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #173 เมื่อ: วันที่ 16 พฤษภาคม 2011, 01:34:00 »

หอการค้า17 จังหวัด ดันรถไฟความเร็วสูงสู่ภาคเหนือž

วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่โรงแรมท็อปแลนด์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก นายวิโรจน์ จิรัฐิติกาลโชติ กรรมการรองเลขาธิการ และประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ หอการค้าไทย เป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารหอการค้าภาคเหนือ ซึ่งประกอบด้วย ประธานหอการค้า, เลขาธิการหอการค้า จาก 17 จังหวัดภาคเหนือ, ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส., นักวิชาการ, หัวหน้าส่วนราชการ, ประธานสภาอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการทั้งใน จ.พิษณุโลก และ 17 จังหวัดภาคเหนือ เข้าร่วมประชุมกว่า 70 คน เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นและนำเสนอเรื่องการขับเคลื่อนรถไฟความเร็วสูงสู่ภาคเหนือ

นายวิโรจน์กล่าวว่า จากการประชุมระดมความคิดเห็นจากประธานหอการค้า 17 จังหวัดภาคเหนือ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ ภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือรถไฟความเร็วสูงสู่ภาคเหนือ จากการรวบรวมเสียงทุกหอการค้าเห็นด้วยที่จะให้เกิดรถไฟความเร็วสูงในพื้นที่ภาคเหนือ เนื่องจากเศรษฐกิจพัฒนาใช้รถไฟอย่างรวดเร็ว เป็นความต้องการอย่างยิ่งของภาคเอกชน

ถ้าเกิดรถไฟความเร็วสูงไม่ได้ตอบสนองเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ แต่จะเป็นแก้ไขภาคสังคม จากการใช้รถยนต์ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก ทั้งรถไฟความเร็วสูงจะช่วยลดต้นทุนทางด้านการขนส่งได้เป็นอย่างดี ส่วนการผลักดันเรื่องรถไฟรางคู่ ที่ประชุมเห็นว่าจากแผนการพัฒนาจะใช้เวลาอีก 20 ปี นานเกินไปไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งที่รถไฟรางคู่จำเป็นต่อระบบการขนส่งระบบโลจิสติคส์อย่างมาก ที่ประชุมได้เสนอให้รัฐบาลร่นระยะทางของแผนลงมาอย่างน้อย 10 ปีŽ

นายวิโรจน์กล่าวด้วยว่า ข้อสรุปจากแนวคิดครั้งนี้ จะเสนอไปยังพรรคการเมืองทุกพรรคและรัฐบาลใหม่ ให้ความสำคัญและเร่งรัดการดำเนินโครงการนี้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ทั้งรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูง เนื่องจากเป็นโครงการที่เป็นความหวังของประชาชนทางภาคเหนือทั้งหมด

ด้านนายอธิภู จิตรานุเคราะห์ หัวหน้าศูนย์บริการข้อมูลระบบราง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จากการที่กระทรวงคมนาคม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และการรถไฟแห่งประเทศไทย มีแนวทางการพัฒนาระบบรถไฟรางคู่เพื่อการขนส่ง และการจัดการโลจิสติคส์ (ระยะที่ 1) ใน 3 เส้นทาง ประกอบด้วย สายตะวันออกเฉียงเหนือ บากะเบา-ชุมทางถนนจิระ งบฯลงทุน 27,963 ล้านบาท สายเหนือ จากลพบุรี-ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ ค่าลงทุน 19,322 ล้านบาท และสายใต้ จากนครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน ค่าลงทุน 27,213 ล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างระหว่างปี 2553-2557 จะส่งผลทำให้ จ.นครสวรรค์ มีรถไฟรางคู่ใช้ในอีก 5 ปีข้างหน้า

นายอธิภูกล่าวว่า ส่วนความคืบหน้าการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง 5 เส้นทางหลัก คือ 1.สายเหนือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 2.สายอีสาน กรุงเทพฯ-หนองคาย 3.กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี 4.สายใต้ กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ และ 5.สายตะวันออก กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา ระยะทางรวม 3,133 กิโลเมตร โดยร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับจีน แต่อีก 2 โครงการ คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 754 กิโลเมตร มูลค่าการก่อสร้าง 232,409 ล้านบาท และเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร มูลค่าการก่อสร้าง 74,865 ล้านบาท จำเป็นต้องนำรูปแบบของการร่วมทุนระหว่างเอกชนกับรัฐจึงเดินทางมาเสนอแนวคิดให้ทางหอการค้าทั้ง 17 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อหาเอกชนร่วมก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงดังกล่าว

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1305426820&grpid=03&catid=03&utm_source=MatichonOnline&utm_medium=MatichonOnline
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #174 เมื่อ: วันที่ 17 พฤษภาคม 2011, 14:17:27 »

ภาคเหนือ
โครงการที่จะแล้วเสร็จในปี 2562

1. เส้นทางรถไฟทางคู่ช่วงสถานีปากน้ำโพ - ตะพานหิน และโครงการก่อสร้างลานกองคอนเทนเนอร์ (Container Yard) ท่าข้าวกำนันทรง เพื่อรองรับการขนส่งข้าวและมันสำปะหลัง ซึ่งอยู่ในระยะที่ 1 (ปี 2558 - 2562)

2. เส้นทางรถไฟทางคู่ช่วงสถานีตะพานหิน - เชียงใหม่ และโครงการก่อสร้างลานกองคอนเทนเนอร์ (CY) สถานีบ้านตูม ซึ่งอยู่ในระยะที่ 3 (ปี 2563 - 2575) โครงการก่อสร้างลานกองคอนเทนเนอร์ (CY) สถานีศิลาอาสน์ เพื่อรองรับสินค้าบริเวณใกล้เคียง ซึ่งก่อสร้างไปแล้ว และที่สถานีห้างฉัตร โดยอยู่ในระยะที่ 2 (ปี 2553 - 2557)

ส่วนเส้นทางรถไฟสายเด่นชัย - เชียงราย ไม่ได้อยู่ในโครงการรถไฟทางคู่ตามแผนงานนี้ แต่มีโครงการก่อสร้างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (Inland Container Depot) ที่เชียงแสน และเชียงของ หากมีการขยายเครือข่ายทางรถไฟตามโครงการ



แหล่งที่มา http://portal.rotfaithai.com/modules...er=asc&start=0



* railwayplan007.jpg (193.1 KB, 702x574 - ดู 3662 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
whitefang
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 86


« ตอบ #175 เมื่อ: วันที่ 20 พฤษภาคม 2011, 13:48:15 »

จากที่ได้ยินมาว่างบศึกษาโครงการผ่านแล้ว ในอนาคตอันใกล้นี้เค้าคงมีแผนทำประชาพิจารณ์กันละครับ
คนที่คิดว่ารถไฟไม่ดีนี่ผมว่ามีเยอะเหมือนกันนะครับ ทั้งมลพิษเอย เงินลงทุนเอย มูลค่าที่ดินเอย
แต่จากที่มีนักการเมืองบ้านเราช่วยกันผลักดันโครงการนี้ ก็แปลว่าคนชอบคงจะมีเยอะเหมือนกัน
ดังนั้นประชาพิจารณ์ก็ไม่น่าห่วงนะครับ แต่ก็แย่หน่อยสำหรับคนที่ไม่อยากให้มี
ทั้งนี้ก็ต้องยอมรับว่าภายใต้ระบอบประชาธิปไตยนั้น เสียงของคนส่วนใหญ่ดังสุดครับ

ผมว่าเรามาลองวิเคราะห์กันคร่าวๆถึงความเป็นไปได้นะครับ

อันดับแรก มองในแง่ของความคุ้มต่าในการลงทุนแล้ว ในแง่บัญชีขาดทุนแหงๆครับผม เราก็ต้องนึกถึงว่าเอกชนเค้ากล้าจะลงทุนร่วมด้วยหรือไม่

แต่ถ้าพูดในทางเศรษฐศาสตร์แล้วเนี่ย การลงทุนในด้านคมนาคมพื้นฐาน กำไรแน่ๆครับ ไหนจะลดต้นทุนการขนส่งสินค้า (กำไรสินค้าเกษตรดีขึ้น  etc) เพิ่มบริการให้ประชาชน และอีกต่างๆนาๆ ถ้าโครงการนี้จะไม่เกิดก็เพราะเม็ดเงิน กับกระแสแง่ลบของประชาชนเท่านั้นแหละครับ ซึ่งเม็ดเงินเนี่ย ถ้าเราร่วมกันดันและไม่คอยดึงพวกที่เค้าช่วยดันอยู่เนี่ย ประเทศไทยงบเป็นล้านๆบาท มีเงินพออยู่แล้วครับ

อย่างที่สองคือเรื่อง incentive หรือแรงจูงใจของนักการเมือง ก็ลองคิดดูนะครับว่าโครงการอย่างนี้เนี่ย มันนำมาขายได้แน่นอน เพราะเรื่องมันถูกยัดเข้าโลงตั้งแต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมา การที่นักการเมืองท้องถิ่นเรามาผลักดันโครงการนี้นั้นหมายถึงแรงสนับสนุนที่พวกเค้าจะได้รับกับประชาชน ประจวบกับโครงการรถไฟความเร็วสูงในจังหวัดอื่น ที่ไม่ว่าพรรคไหนๆก็ดันเต็มที่ แค่โครงการนั้นก็ปาไปเป็นแสนล้านแล้ว แต่ของจังหวัดเราไม่กี่หมื่น แต่ความคุ้มค่าสูงมาก เพราะในอนาคตเราเป็นจังหวัดชายแดน รถไฟบ้านเราสร้างกำไรให้ประเทศชาติมหาศาล คิดง่ายๆนะครับ เพียงแค่เราดันโครงการสร้างรางเชื่อมเข้าหาจีน โดยใช้รางคนละแบบ ในกรณีนี้ทุกครั้งที่รถไฟมาไทยก็ต้องหยุดที่เชียงราย ความเป็นศูนกลางของภาคเหนือจะขยับเข้าหาเรา และไม่ใช่เชียงใหม่อีกต่อไป แต่ทั้งนี้ก็ยกเว้นในกรณีที่มีนักการเมืองที่มีฐานที่เชียงใหม่มาดึงโครงการนี้ไว้น่ะครับ อิอิ ซึ่งผมว่าเค้าไม่ทันคิดล่ะครับ ^^

ผมว่าเราควรจะเริ่มเชื่อมั่นในศักยภาพของจังหวัดเรานะครับ เจียงฮายของเราเจริญแน่ขอแค่เราร่วมมือกันครับ ถ้าเราคิดเพียงแค่ว่า "โครงการนี้ไม่รอดแน่" "อีก 50 ก็ไม่ได้ใช้" "ถ้ามันจะเกิด ก็เพราะมันต้องเกิดอยู่แล้ว" แบบนี้ไม่ได้แน่นอนครับ ไม่ว่าจะเป็นใครหรือนักการเมืองคนไหนผลักดันก็ช่าง ผมอยากให้เราอย่ามาโจมตีกันอีกเลย ช่วยกันทั้งจังหวัดแล้วตั้งความหวังกับรัฐบาลชุดใหม่ที่จะทำให้โครงการใน"ผัน"นี้เป็นจริง ตอนนี้บ้านเราก็ผลักดันอยู่แล้ว ขอแค่ได้รับเสียงขอพวกเราช่วย มันเกิดแน่นอนครับ
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #176 เมื่อ: วันที่ 21 พฤษภาคม 2011, 22:25:10 »

เชียงราย - “โสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม” ขึ้นเวทีขายฝันรถไฟเด่นชัย - เชียงราย ส่งท้ายรัฐบาลก่อนยุบสภาฯ บอกคนเชียงราย ให้เลือกภูมิใจไทย จะได้รถไฟตามฝัน หลังถลุงงบศึกษาซ้ำซากมาครึ่งศตวรรษ
แม่สายเปิ้นมีมาเปนสิบปี๋แล้ว ว่าง ๆจะถ่ายฮูปมาหื้อผ่อ แต่ผมว่ารถไฟสาย"วันชัย-เชียงราย " มากกว่า ใคร่ลบก็ลบเต๊อะ คันปาก
IP : บันทึกการเข้า
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #177 เมื่อ: วันที่ 23 พฤษภาคม 2011, 10:55:04 »

วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7480 ข่าวสดรายวัน


รฟท.มั่นใจงบ1.2แสนล.ผ่านฉลุย



นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า แม้ว่าขณะนี้จะอยู่ในช่วงของการเลือกตั้งเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาล แต่ตนเห็นว่าจะไม่กระทบต่อวงเงินงบประมาณที่รัฐบาลได้อนุมัติให้รฟท.ใช้เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจำนวน 1.76 แสนล้านบาท เพราะถือว่างบประมาณดังกล่าวจะนำมาใช้ในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการให้บริการประชาชนของรฟท.

สำหรับโครงการที่ต้องรอให้รัฐบาลใหม่พิจารณาอนุมัติดำเนินการ เช่น โครงการรถไฟทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ โครงการรถไฟทางคู่สายมาบกะเบา-ถนนจิระ โครงการรถไฟทางคู่สายนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน ฯลฯ รวมวงเงินลงทุนกว่า 6 หมื่นล้านบาท นอกจากนั้น ยังมีโครงการรถไฟทางคู่สายทางใหม่ ได้แก่ โครงการก่อสร้างรถไฟเส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และโครงการก่อสร้างรถไฟเส้นทางบัวใหญ่-มุกดาหาร-นครพนม รวมวงเงินประมาณ 6 หมื่นล้านบาท โดยปัจจุบันโครงการเหล่านี้อยู่ระหว่างการออกแบบ และจัดทำเอกสารประกวดราคา คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเพื่อดำเนินการต่อไป

หน้า 8
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #178 เมื่อ: วันที่ 24 พฤษภาคม 2011, 14:19:26 »

กฟท. เดินหน้าสร้างทางรถไฟ เส้นทาง เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

กฟท. เดินหน้าหาแนวทางและข้อเสนอแนะต่อโครงการศึกษาและออกแบบ เพื่อเตรียมการก่อสร้างทางรถไฟ เส้นทาง เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

นายนิรัตน์ ต้นสวัสดิ์ รองผู้จัดการโครงการจัดสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ กล่าวภายหลังร่วมประชุมสรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการศึกษาและออกแบบ เพื่อเตรียมการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ กับผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ โดยมีนายชวน ศิรินันท์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานที่ห้องเทพวงศ์ ศาลากลางจังหวัดแพร่ ว่า โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เริ่มดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2503 โดยได้เริ่มทำการสำรวจเส้นทางเบื้องต้น เมื่อปี พ.ศ. 2512 จากสถานีเด่นชัย-แพร่- พะเยา-เชียงราย ระยะทางรวม 273 ก.ม.และได้ทำการศึกษา สำรวจ วิจัยหาผลกระทบ มายาวนานถึงปี พ.ศ.2547 จนมาถึงรัฐบาลปัจจุบัน มีนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม เป็นกำกับดูแล มีนโยบายในการพัฒนาโครงข่ายระบบรางและการให้บริการรถไฟ ซึ่งการรถไฟ ฯได้เสนอแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟ พ.ศ 2553-2557 ต่อคณะรัฐมนตรี และมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 17 พ.ย.52 รวทั้งเห็นชอบแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟฯ เมื่อวันที่ 27 เมษายน ระยะเร่งด่วน 176,808 ล้านบาท
โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนลงทุนฯระยะเร่งด่วนดังกล่าว ดังนั้น การรถไฟจึงจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อเตรียมการจัดสร้าง ในปี 2554 ประกอบด้วย บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด ,บริษัท เอพวิลอน จำกัด ,บริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์ จำกัด ระยะการดำเนินการ 14 เดือน ตั้งแต่วันที่ 29 เม.ย 2554 -28 มิถุนายน 2555 ส่วนแนวเส้นทางโครงการมีระยะทางรวมประมาณ 326 กิโลเมตร สถานี 26 แห่ง ผ่านพื้นที่ทั้งหมด 4 จังหวัด คือ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง พะเยา และจังหวัดเชียงราย สำหรับแนวเส้นทางร่วมจังหวัดแพร่นั้น มีระยะทางประมาณ 82 กม. ผ่านพื้นที่ 5 อำเภอ 23 ตำบล จำนวน 6 สถานี
อย่างไรก็ตาม โครงการฯดังกล่าว เพื่อเป็นการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการสำรวจและจัดทำแบบรายละเอียด ประมาณราคาในการก่อสร้าง และจัดทำเอกสารประกวดราคาให้เสร็จสิ้น และจะต้องยื่นเรื่องให้ผ่านมติเห็นชอบจากรัฐบาล ต่อไป.

ข้อมูลจาก http://region3.prd.go.th/ct/news/vie...D=110523195211
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
nalismenox
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 846


สุดท้ายก็กลับมายืนจุดเดิม


« ตอบ #179 เมื่อ: วันที่ 25 พฤษภาคม 2011, 16:16:57 »

กฟท. เดินหน้าสร้างทางรถไฟ เส้นทาง เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

กฟท. เดินหน้าหาแนวทางและข้อเสนอแนะต่อโครงการศึกษาและออกแบบ เพื่อเตรียมการก่อสร้างทางรถไฟ เส้นทาง เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

นายนิรัตน์ ต้นสวัสดิ์ รองผู้จัดการโครงการจัดสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ กล่าวภายหลังร่วมประชุมสรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการศึกษาและออกแบบ เพื่อเตรียมการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ กับผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ โดยมีนายชวน ศิรินันท์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานที่ห้องเทพวงศ์ ศาลากลางจังหวัดแพร่ ว่า โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เริ่มดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2503 โดยได้เริ่มทำการสำรวจเส้นทางเบื้องต้น เมื่อปี พ.ศ. 2512 จากสถานีเด่นชัย-แพร่- พะเยา-เชียงราย ระยะทางรวม 273 ก.ม.และได้ทำการศึกษา สำรวจ วิจัยหาผลกระทบ มายาวนานถึงปี พ.ศ.2547 จนมาถึงรัฐบาลปัจจุบัน มีนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม เป็นกำกับดูแล มีนโยบายในการพัฒนาโครงข่ายระบบรางและการให้บริการรถไฟ ซึ่งการรถไฟ ฯได้เสนอแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟ พ.ศ 2553-2557 ต่อคณะรัฐมนตรี และมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 17 พ.ย.52 รวทั้งเห็นชอบแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟฯ เมื่อวันที่ 27 เมษายน ระยะเร่งด่วน 176,808 ล้านบาท
โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนลงทุนฯระยะเร่งด่วนดังกล่าว ดังนั้น การรถไฟจึงจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อเตรียมการจัดสร้าง ในปี 2554 ประกอบด้วย บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด ,บริษัท เอพวิลอน จำกัด ,บริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์ จำกัด ระยะการดำเนินการ 14 เดือน ตั้งแต่วันที่ 29 เม.ย 2554 -28 มิถุนายน 2555 ส่วนแนวเส้นทางโครงการมีระยะทางรวมประมาณ 326 กิโลเมตร สถานี 26 แห่ง ผ่านพื้นที่ทั้งหมด 4 จังหวัด คือ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง พะเยา และจังหวัดเชียงราย สำหรับแนวเส้นทางร่วมจังหวัดแพร่นั้น มีระยะทางประมาณ 82 กม. ผ่านพื้นที่ 5 อำเภอ 23 ตำบล จำนวน 6 สถานี
อย่างไรก็ตาม โครงการฯดังกล่าว เพื่อเป็นการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการสำรวจและจัดทำแบบรายละเอียด ประมาณราคาในการก่อสร้าง และจัดทำเอกสารประกวดราคาให้เสร็จสิ้น และจะต้องยื่นเรื่องให้ผ่านมติเห็นชอบจากรัฐบาล ต่อไป.

ข้อมูลจาก http://region3.prd.go.th/ct/news/vie...D=110523195211

หากเราไม่ต้องพึ่งพารัฐบาลก็ดีเนอะ แบบเมืองใหญ่ๆ ที่เขาสามารถมีสิทธิในการ
จัดหาเงินทุนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพารัฐบาล ใช้ความร่วมมือของประชาชนช่วยกันทำ
แต่มันคงเป็นไปได้แค่เพียงจินตภาพเท่านั้น
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 [9] 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 ... 24 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!