เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 20 เมษายน 2024, 03:07:35
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  " บารมี ๓๐ ที่แท้คือปัญญากับเมตตา "
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน " บารมี ๓๐ ที่แท้คือปัญญากับเมตตา "  (อ่าน 614 ครั้ง)
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« เมื่อ: วันที่ 04 กันยายน 2014, 14:14:11 »

บารมี ๓๐ ที่แท้คือปัญญากับเมตตา



เห้งเจียถือกระบองยู่อี่เดินนำหน้าคณะ ซัวเจ๋งหาบห่อจีวรวิเศษ จูงม้าขาวที่พระถังซัมจั๋งนั่งบนหลัง โป้ยก่ายแบกคราดเก้าซี่ไว้บนบ่า คอยระวังพระถังซัมจั๋งอยู่ด้านหลัง บ่ายหน้าสู่ทิศปราจีน

พ้นออกจากป่าก็พบทางใหญ่ มองไปข้างหน้าเห็นสำนักผู้วิเศษตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่สวยงามยิ่งนัก พระถังซัมจั๋งแสดงอาการดีใจเข้าใจ ว่าถึงวัดลุยอิมยี่ แห่งเขาเล่งซัวอันเป็นที่ประทับของพระยูไล(พระพุทธเจ้า - พุทธภาวะ)แล้วเร่งรีบเดินเข้าไปหา

เห้งเจียจึงร้องห้ามขึ้นว่า เขาเล่งซัวที่เป็นจุดหมายนั้นยังอีกไกลนัก พระถังซัมจั๋งได้ฟังให้รู้สึกท้อแท้ใจเป็นยิ่งนัก เนื่องจากเดินทางมาเป็นเวลา หลายเดือนแล้วยังไม่ถึงจุดหมายอีก

เห้งเจียจึงปลอบใจว่า “มูลสันดานของอาจารย์ผ่องใสบริสุทธิอยู่แล้ว หากเพียงหยุดความอยากเสียเท่านั้น เขาเล่งซัวก็จะอยู่ ณ เบื้องหน้า แลพระยูไลจะอยู่ ณ ตรงนั้น” ศิษย์กับอาจารย์ เดินเข้าสำนักมีป้ายเขียนว่า ติ๋นหงวนจื้อ (อุเบกขา) เป็นเจ้าสำนัก แต่ในขณะนั้นเจ้าสำนักไม่อยู่

สำนักแห่งนี้มีต้นไม้กายสิทธิ์อันเป็นของวิเศษอยู่ต้นหนึ่ง เป็นต้นไม้ที่เกิดขึ้นก่อนที่ฟ้าและดินแยกออกจากกัน คือ ต้นยิ่นเซียมก๊วย (นารีผล- ผลไม้ให้พลัง) สามพันปีออกดอกครั้งหนึ่ง แล้วอีกสามพันปีจึงตั้งเป็นผล จากนั้นอีกสามพันปีผลจึงจะสุก เมื่อครบหมื่นปีจึงจะกินเป็นยาวิเศษได้ และในรอบหมื่นปีจะออกผลเพียง ๓๐ ผล (บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถ์บารมี ๑๐) เท่านั้น ติ๋นหงวนจื้อได้สั่งสาวกไว้ว่า หากพระถังซัมจั๋งผ่านมา ให้เก็บผลไม้ยิ่นเซียมก๊วยถวายสัก ๒ ผล

ในระหว่างรอเจ้าสำนัก ศิษย์จึงเก็บผลไม้ถวายพระถังซัมจั๋งตามที่ติ๋หงวนจื้อได้สั่งไว้ พระถังซัมจั๋งได้รับถวายแต่ไม่กล้ากิน เพราะด้วยผลไม้ ชนิดนี้มีรูปร่างเหมือนเด็กแดง - ทารกเพิ่งคลอด (ความไร้เดียงสา) ระหว่าง นั้นเห้งเจีย (มิจฉาปัญญา) แอบเข้าไปในสวนเพื่อขโมยผลไม้วิเศษ

ด้วยไม่รู้วิธีสอยที่ถูกต้อง (ไม่ศรัทธาในความไร้เดียงสา ว่าสามารถไปสู่มรรคผลได้) ทำให้ผลไม้หล่นลงดินละลายหายไปในดินหมด แต่ยังสามารถเก็บได้ ๓ ผล แบ่งกันกินกับโป้ยก่าย (มิจฉาศีล) และซัวเจ๋ง(มิจฉาสมาธิ)คนละผล สาวกของติ๋นหงวนมาเห็นเข้า จึงเกิดการสู้รบกันโกลาหล เห้งเจียสำแดงฤทธิ์โค่น ถอนรากต้นยิ่นเซียมก๊วย (ความไร้เดียงสา) ออกมาคิดทำลายให้สิ้นซาก ติ๋นหงวนจื้อ(อุเบกขา) กลับมาพบเรื่องราวตรงเข้าสู้รบกับเห้งเจีย เห้งเจียสู้ไม่ได้และ ถูกจับขังทั้งคณะ เจ้าสำนักโกรธจัดคาดโทษว่า หากไม่สามารถทำให้ต้นยิ่นเซียมก๊วย(ความไร้เดียงสา)วิเศษฟื้นได้ จะไม่ให้คณะไปไซที เห้งเจียหายอมไม่ พยายามพาคณะแหกคุกหลายครั้ง แต่ถูกติ๋นหงวนจื้อ (อุเบกขา)รวบจับด้วยถุงวิเศษ(อาสวะ-กิเลสที่หมักหมมดองอยู่ในสันดาน)ได้ทุกครั้ง เห้งเจียจึงแปลงกายแอบหนีออกมาเพียงคนเดียว เหาะไปพบพระโพธิสัตว์กวนอิมขอความช่วยเหลือ พระโพธิสัตว์กวนอิม (เมตตา - ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข) เสด็จมาถึงสวน เขียนยันตร์ลงบนฝ่ามือเห้งเจีย แล้วบอกให้เห้งเจีย โป้ยก่าย ซัวเจ๋ง ร่วมแรงกันพยุงประคอง ต้นไม้วิเศษตั้งขึ้น แล้วทรงพรมน้ำมนต์

ติ๋นหงวนจื้อใช้ถ้วยหยกมาตักน้ำรดตลอดลำต้น ต้นไม้วิเศษจึงกลับฟื้นเขียวสดตามเดิม ติ๋นหงวนสั่งให้เก็บผลมา ๑๐ ผลแจกกันกิน เมื่อได้กินผลทั้ง ๑๐ ผลแล้ว ทำให้ทั้งคณะเกิดพละกำลังยิ่งนัก พระถังซัมจั๋งบอกลาติ๋นหงวนจื้อ มุ่งหน้าทิศปราจีนต่อไป

(บารมีคือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวดเพื่อบรรลุจุดหมาย อันสูงยิ่ง ๑๐ ประการ ได้แก่ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา ซึ่งผลของบารมีก่อให้เกิดความสะอาด สว่าง สงบ บริสุทธิ์ราวเด็กไร้เดียงสา ไม่ยึดมั่นถือมั่น

ความประพฤติปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงความดีความงามทั้ง ๑๐ ประการ ด้วยความอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง ย่อมทำให้เกิดความบริสุทธิ์ สงบเช่นเด็กไร้เดียงสา เป็นบารมีส่งผลให้บรรลุมรรคผลได้ง่ายขึ้น เปรียบเหมือนผลไม้เด็กแดง - ผลยิ่นเซียมก๊วย

แต่พระถังซัมจั๋งถือว่าตนเป็นผู้รู้แตกฉานในไตรปิฎก จึงไม่กล้ากินผลยิ่นเซียมก๊วย เพราะเห็นว่าความไร้เดียงสาไม่น่าจะเป็นที่ศรัทธา หรือเป็นหนทางสู่มรรคผลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเห้งเจีย(ปัญญา) ยิ่งแล้วใหญ่ไม่มีความศรัทธาเชื่อถือเลยว่า ยอดแห่งบารมี คือ ความไร้เดียงสา ความ ไม่ยึดมั่นถือมั่นจะเป็นหนทางสู่มรรคผล จึงทำให้สอยผลยิ๋นเซียมก๊วย ไม่ได้หล่นลงหายไปกับพื้นดินหมด แถมยังติดกับอยู่ในกิเลสที่ว่า ตนมีปัญญาสูงส่ง จึงเป็นเหตุให้ไม่สามารถหนีพ้นถุงวิเศษ (อาสวะ- กิเลสที่หมักหมม ดองอยู่ในสันดาน) ในที่สุดต้องอาศัยเมตตาร่วมกับปัญญา ศีล สมาธิ ร่วมมือกันประคับประคองเป็นพลังแห่งชีวิตที่ฟื้นคืนขึ้นมา ออกผลเป็นบารมี ๓๐ ประการ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และ ปรมัตถบารมี ๑๐ บารมีคือความดี หรือ คุณธรรมที่ได้บำเพ็ญ หรือปฏิบัติอย่างยิ่งยวด ซึ่งเป็นบารมีที่สูงส่ง สนับสนุนสู่พุทธภาวะ หรือความเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิทธัตถะได้บำเพ็ญปรมัตถบารมี ๑๐ มาในทศชาติ ดังนี้

ชาติที่ ๑ พระเตมีย์ บำเพ็ญเนกขัมมะบารมี - การออกบวช การปลีกกายใจ ออกจากกาม

ชาติที่ ๒ พระมหาชนก บำเพ็ญวิริยะบารมี - ความเพียร

ชาติที่ ๓ พระสุวรรณสาม บำเพ็ญเมตตาบารมี - ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข

ชาติที่ ๔ พระเนมิราช บำเพ็ญอธิษฐานบารมี - ความตั้งใจมั่น

ชาติที่ ๕ พระมโหสถ บำเพ็ญปัญญาบารมี-การหยั่งรู้เหตุผล และรู้จักแก้ไขปัญหา

ชาติที่ ๖ พระภูริทัตต์ บำเพ็ญศีลบารมี - การรักษากาย วาจาให้อยู่ในหลักฃวามประพฤติที่ดีงาม

ชาติที่ ๗ พระจันทกุมาร บำเพ็ญขันติบารมี-ความอดทน เพื่อบรรลุสิ่งที่ดีงาม

ชาติที่ ๘ พระนารทะ บำเพ็ญอุเบกขาบารมี - ความวางใจเป็นกลาง

ชาติที่ ๙ พระวิธุระ บำเพ็ญสัจจะบารมี - พูดจริง ทำจริง ด้วยความ จริงใจ

ชาติที่ ๑๐ พระเวสสันดร บำเพ็ญทานบารมี - การให้ การเสียสละ

ส่วนอุปบารมี ๑๐ เป็นบารมีที่สูงกว่าบารมี เพราะบารมียังเป็นเรื่อง สมบัตินอกกาย แต่อุปบารมี ได้แก่การเสียสละอวัยวะเป็นทาน

ปรมัตถบารมี ๑๐ เป็นบารมีระดับสูงสุด ได้แก่การเสียสละชีวิต เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น]

IP : บันทึกการเข้า
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 05 กันยายน 2014, 18:13:33 »

สาธุ ๆ ๆ อนุโมทามิ
IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!