เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 เมษายน 2024, 08:07:06
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  " บวชใจ "
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน " บวชใจ "  (อ่าน 518 ครั้ง)
ร้อยป่า
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,864



« เมื่อ: วันที่ 03 กันยายน 2014, 20:02:02 »



การบวชใจ ใครๆก็บวชได้


ฆราวาสหรือใครๆก็บวชใจได้
ตั้งแต่จำความได้คนทั่วไปมักจะคิดว่าการบวชนั้นจะต้อง โกนคิ้ว โกนผม นุ่งห่มเหลืองเหมือนพระภิกษุ หรือไม่ก็ต้องไปทำการบวชที่วัด อาจจะบวชชีพราหมณ์  บวชชี หรือบวชพระ แต่นั้นเป็นการบวชทางกายและวาจาเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นบวชใจ ถ้าไม่ลงมือปฏิบัติธรรม ให้ธรรมเข้าสู่ใจได้ ก็ยังไม่ถึงขั้นบวชใจ ดังนั้นการบวชใจนั้นใครก็บวชได้ เพราะการปฏิบัติมันอยู่ที่ใจ มันสำเร็จได้ด้วยใจ ใจเราเท่านั้นจะนำเราไปสู่หนทางแห่งอิสระและเป็นความสุขที่แท้จริง โดยไม่มีข้อสงสัย
บวชใจจะเริ่มต้นอย่างไร
จุดเริ่มต้นเราจะต้องมีความศรัทธาหรือมีความเชื่อก่อน โดยน้อมเอาพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เน้นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงแล้วจะได้ไม่ต้องมานั่งวิตกกังวล ส่วนพระสงฆ์ที่ไม่ปฏิบัติดี ชอบหรือตรงแล้วให้ปล่อยวางซะ ปล่อยไปกรรมเวรมีจริงถึงเวลาเขาจะต้องได้รับกรรมเองอย่าไปกังวลให้ระลึกแต่พระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ชอบ ตรงแล้วเท่านั้นพอ แล้วความเชื่อของเราก็จะมีเหตุมีผล และบริสุทธิ์ขึ้นเรื่อยๆ
ขั้นถัดไปคือการน้อมนำเอาศีล 5 เข้ามาสู่ใจตนเอง ศีลห้าข้อนั้นมี หนึ่งห้ามฆ่าสัตว์ สองห้ามลักทรัพย์ สามห้ามประพฤติผิดในกาม( ผิดลูกผิดเมียหรือสามีคนอื่น) สี่ ห้ามพูดปด ห้า ห้ามดื่มสุรายาเมา โดยเราเริ่มต้น ศีลข้อที่ง่ายที่สุดก่อนหนึ่งในห้าข้อนั้นที่เราสามารถทำได้ แล้วตั้งสัจจะว่าจะถือศีลข้อนั้นเป็นเวลา หนึ่งชั่วโมง หนึ่งวัน หนึ่งสัปดาห์ หนึ่งเดือน หรือตลอดชีวิต ค่อยๆทำ หรือตั้งสัจจะเฉพาะวันพระก็ได้ ฝึกตั้งสัจจะให้บ่อยๆใจคุณจะมีความมั่นคงและมีสติยับยั้งไม่ทำผิดศีลได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ  ถ้าไม่ได้ตามสัจจะ ก็ต้องมาพิจารณาว่าเราผิดเพราะอะไร ให้ดูที่เจตนา เพราะการผิดศีลจะต้องมีเจตนาในการกระทำนั้น ถ้าเราไม่มีเจตนา ทำไปไม่ตั้งใจก็ไม่ผิดศีล แต่ถ้าตั้งใจทำ หรือสถานการณ์บังคับ  ทำให้ผิดศีล ก็ขอให้มีสติเข้าไปกำกับดูแลด้วยเพื่อไม่ให้ทำผิดศีลไปมากและทำให้เรากลับมาเป็นปกติเร็วขึ้น แม้นว่าจะทำให้เราเสียใจที่ทำไม่ได้ตามสัจจะ ก็ขอให้เรามาเริ่มต้นใหม่ ให้ตั้งสัจจะใหม่อีกครั้ง ถ้ายังทำผิดอีก ก็ให้เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ฝึกทำเรื่อยๆอย่าท้อ แม้จะพลาดก็ให้เริ่มต้นใหม่เป็นหมื่นเป็นแสนเป็นล้านครั้ง  เพราะการฝึกตั้งสัจจะเพื่อเริ่มต้นใหม่แต่ละครั้งจะทำให้เรามีสติยับยั้งการผิดศีลที่ละเล็กละน้อยสะสมเป็นกำลังสติมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ใจมีความมั่นคง สติแนบแน่น ไม่หลงหรือทำผิดโดยง่าย ใจจะมีภูมิคุ้มกันและมีศีลที่บริสุทธิ์มากขึ้น เริ่มจากการทำที่ละเล็กที่ละน้อย จากศีลที่ละข้อ จากความผิดพลาด หรือตั้งใจแต่เราก็เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง จะทำให้ใจของเรามีศีลที่บริสุทธิ์อย่างแน่นอน นี้คือจุดเริ่มต้นของการบวชใจ ( มารไม่มีบารมีไม่เกิด ) ไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ
ขั้นต่อมาการปฏิบัติสมาธิ การฝึกสมาธิเป็นการฝึกให้มีสติ เพื่อยับยั้งอกุศลไม่ให้เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วก็ให้มีสติกำกับรู้อยู่ตลอดเพื่อละวาง จนใจเป็นปกติ หรือใจสงบสบายขึ้น การทำสมาธิไม่จำเป็นต้องหลับตา สมารถทำได้ทุกอริยบท นั่ง ยืน เดิน นอน  จะใช้คำบริกรรมอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นคำหยาบ ที่เหมาะกับเราไม่จำเป็นต้องเป็น พุทโธ,สัมมาอรหัง,ยุบหนอพองหนอ,นะมะพะทะหรือดูลมหายใจเข้าออก, เพ่งลูกแก้ว  อะไรก็ได้อาจเป็นบทสวดมนต์ที่เราศรัทธาก็ได้ หรืออาจใช้คำว่า มีสติ,ปล่อยวาง,ธรรมชาติ,อนิจจังก็ได้,หรือดูการเคลื่อนไหวของร่างกายก็ได้ จุดสำคัญคือเหมาะสำหรับเรา มีสติกำกับ ทำให้ใจของเรายึดเกาะกับคำบริกรรมนั้นได้ง่ายไม่ส่งออกไปข้างนอก หรือส่งออกไปแล้ว ใช้คำบริกรรมดึงกับมาได้และควบคุมใจได้ง่าย แต่ละคนมีจริตที่แตกต่างกันควรกล้าที่จะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับตัวเรา ไม่ต้องกลัว หลักสำคัญคือ ตัวสติต่างหาก ต้องมีสติกำกับตลอด ให้ต่อเนื่องได้ยิ่งดีมาก การทำสมาธิ สติเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าอย่างอื่น เมื่อสติตั้งมั่น ต่อเนื่อง สมาธิก็จะตั้งอยู่ได้นาน ปัญญาก็จะเกิดมาได้ง่าย ต้องเริ่มที่สติต้องฝึกสติให้มากๆฝึกสติให้ต่อเนื่อง การฝึกสติฝึกได้ตลอดเวลาทั้งลืมตาและหลับตา ทุกอริยบท ขอให้มีความรู้สึกตัวในการกระทำทางด้านกาย วาจา ใจ จะทำอะไรในชีวิตประจำวันขอให้มีความรู้สึกตัว ทำอะไรไม่ต้องรีบ ทำช้าๆ หรือถ้ารีบก็ให้มีสติกำกับฝึกบ่อยๆถ้ามีสติกำกับแม้นจะรีบเร่งทำแต่ใจจะไม่ร้อน ใจจะนิ่งเพราะมีสติกำกับ แต่ต้องมั่นฝึกสติบ่อยๆ   บทต่อไปจะกล่าวถึงวิธีการฝึกสติที่ถูกต้อง และหลากหลายวิธี
เพราะธรรม

IP : บันทึกการเข้า
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 03 กันยายน 2014, 23:46:20 »

ไหว้สา พระธัมมวินัย  สายบุญ

สาธุ ๆ ๆ  อนุโมทามิ

ธัมมสัปปายะ อ่านสบายเข้าใจง่าย ดีมาก ๆครับ     แม้นว่า บันทัดติดกันไปหน่อย ย้อนดวงตาผมเริ่มเฒ่าแล้ว

สาธุ


IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 04 กันยายน 2014, 00:01:08 »

Sunan_rao


การบวชใจ ใครๆก็บวชได้


ฆราวาสหรือใครๆก็บวชใจได้
ตั้งแต่จำความได้คนทั่วไปมักจะคิดว่าการบวชนั้นจะต้อง โกนคิ้ว โกนผม นุ่งห่มเหลืองเหมือนพระภิกษุ หรือไม่ก็ต้องไปทำการบวชที่วัด อาจจะบวชชีพราหมณ์  บวชชี หรือบวชพระ แต่นั้นเป็นการบวชทางกายและวาจาเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นบวชใจ

ถ้าไม่ลงมือปฏิบัติธรรม ให้ธรรมเข้าสู่ใจได้ ก็ยังไม่ถึงขั้นบวชใจ

ดังนั้น การบวชใจนั้น  ใครก็บวชได้ เพราะ การปฏิบัติมันอยู่ที่ใจ มันสำเร็จได้ด้วยใจ ใจเราเท่านั้นจะนำเราไปสู่หนทางแห่งอิสระและเป็นความสุขที่แท้จริง โดยไม่มีข้อสงสัย

บวชใจจะเริ่มต้นอย่างไร

จุดเริ่มต้นเราจะต้องมีความศรัทธาหรือมีความเชื่อก่อน โดยน้อมเอาพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์   

เน้นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงแล้วจะได้ไม่ต้องมานั่งวิตกกังวล ส่วนพระสงฆ์ที่ไม่ปฏิบัติดี ชอบหรือตรงแล้วให้ปล่อยวางซะ ปล่อยไปกรรมเวรมีจริงถึงเวลาเขาจะต้องได้รับกรรมเอง
อย่าไปกังวลให้ระลึกแต่พระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ชอบ ตรงแล้วเท่านั้นพอ แล้วความเชื่อของเราก็จะมีเหตุมีผล และบริสุทธิ์ขึ้นเรื่อยๆ

ขั้นถัดไปคือการน้อมนำเอาศีล 5 เข้ามาสู่ใจตนเอง

ศีลห้าข้อนั้นมี หนึ่งห้ามฆ่าสัตว์ สองห้ามลักทรัพย์ สามห้ามประพฤติผิดในกาม( ผิดลูกผิดเมียหรือสามีคนอื่น) สี่ ห้ามพูดปด ห้า ห้ามดื่มสุรายาเมา

โดยเราเริ่มต้น ศีลข้อที่ง่ายที่สุดก่อนหนึ่งในห้าข้อนั้นที่เราสามารถทำได้ แล้วตั้งสัจจะว่าจะถือศีลข้อนั้นเป็นเวลา หนึ่งชั่วโมง หนึ่งวัน หนึ่งสัปดาห์ หนึ่งเดือน หรือตลอดชีวิต

ค่อยๆทำ หรือตั้งสัจจะเฉพาะวันพระก็ได้ ฝึกตั้งสัจจะให้บ่อยๆใจคุณจะมีความมั่นคงและมีสติยับยั้งไม่ทำผิดศีลได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ 

ถ้าไม่ได้ตามสัจจะ   ก็ต้องมาพิจารณาว่า เราผิดเพราะอะไร ให้ดูที่เจตนา  เพราะการผิดศีลจะต้องมีเจตนาในการกระทำนั้น ถ้าเราไม่มีเจตนา ทำไปไม่ตั้งใจก็ไม่ผิดศีล

แต่ถ้าตั้งใจทำ หรือสถานการณ์บังคับ  ทำให้ผิดศีล ก็ขอให้มีสติเข้าไปกำกับดูแลด้วยเพื่อไม่ให้ทำผิดศีลไปมากและทำให้เรากลับมาเป็นปกติเร็วขึ้น

แม้นว่าจะทำให้เราเสียใจที่ทำไม่ได้ตามสัจจะ ก็ขอให้เรามาเริ่มต้นใหม่ ให้ตั้งสัจจะใหม่อีกครั้ง ถ้ายังทำผิดอีก ก็ให้เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง

ฝึกทำเรื่อยๆอย่าท้อ แม้จะพลาดก็ให้เริ่มต้นใหม่เป็นหมื่นเป็นแสนเป็นล้านครั้ง  เพราะการฝึกตั้งสัจจะเพื่อเริ่มต้นใหม่แต่ละครั้งจะทำให้เรามีสติยับยั้งการผิดศีลที่ละเล็กละน้อยสะสมเป็นกำลังสติมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ใจมีความมั่นคง สติแนบแน่น ไม่หลงหรือทำผิดโดยง่าย

ใจจะมีภูมิคุ้มกันและมีศีลที่บริสุทธิ์มากขึ้น เริ่มจากการทำที่ละเล็กที่ละน้อย จากศีลที่ละข้อ จากความผิดพลาด หรือตั้งใจแต่เราก็เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง จะทำให้ใจของเรามีศีลที่บริสุทธิ์อย่างแน่นอน นี้คือจุดเริ่มต้นของการบวชใจ ( มารไม่มีบารมีไม่เกิด ) ไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ

ขั้นต่อมาการปฏิบัติสมาธิ

การฝึกสมาธิเป็นการฝึกให้มีสติ เพื่อยับยั้งอกุศลไม่ให้เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วก็ให้มีสติกำกับรู้อยู่ตลอดเพื่อละวาง จนใจเป็นปกติ หรือใจสงบสบายขึ้น

การทำสมาธิไม่จำเป็นต้องหลับตา สมารถทำได้ทุกอริยบท นั่ง ยืน เดิน นอน  จะใช้คำบริกรรมอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นคำหยาบ ที่เหมาะกับเราไม่จำเป็นต้องเป็น พุทโธ,สัมมาอรหัง,ยุบหนอพองหนอ,นะมะพะทะหรือดูลมหายใจเข้าออก, เพ่งลูกแก้ว  อะไรก็ได้อาจเป็นบทสวดมนต์ที่เราศรัทธาก็ได้ หรืออาจใช้คำว่า มีสติ,ปล่อยวาง,ธรรมชาติ,อนิจจังก็ได้,หรือดูการเคลื่อนไหวของร่างกายก็ได้
จุดสำคัญคือเหมาะสำหรับเรา มีสติกำกับ ทำให้ใจของเรายึดเกาะกับคำบริกรรมนั้นได้ง่ายไม่ส่งออกไปข้างนอก หรือส่งออกไปแล้ว ใช้คำบริกรรมดึงกับมาได้และควบคุมใจได้ง่าย
แต่ละคนมีจริตที่แตกต่างกันควรกล้าที่จะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับตัวเรา ไม่ต้องกลัว

หลักสำคัญคือ ตัวสติต่างหาก ต้องมีสติกำกับตลอด ให้ต่อเนื่องได้ยิ่งดีมาก การทำสมาธิ สติเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าอย่างอื่น เมื่อสติตั้งมั่น ต่อเนื่อง สมาธิก็จะตั้งอยู่ได้นาน ปัญญาก็จะเกิดมาได้ง่าย

ต้องเริ่มที่สติต้องฝึกสติให้มากๆฝึกสติให้ต่อเนื่อง การฝึกสติฝึกได้ตลอดเวลาทั้งลืมตาและหลับตา ทุกอริยบท ขอให้มีความรู้สึกตัวในการกระทำทางด้านกาย วาจา ใจ จะทำอะไรในชีวิตประจำวันขอให้มีความรู้สึกตัว

ทำอะไรไม่ต้องรีบ ทำช้าๆ หรือถ้ารีบก็ให้มีสติกำกับฝึกบ่อยๆถ้ามีสติกำกับแม้นจะรีบเร่งทำแต่ใจจะไม่ร้อน ใจจะนิ่งเพราะมีสติกำกับ แต่ต้องมั่นฝึกสติบ่อยๆ 


 บทต่อไปจะกล่าวถึงวิธีการฝึกสติที่ถูกต้อง และหลากหลายวิธี เพราะธรรม



หนาน กราบขออนุญาต จัดวางใหม่ เผื่ออ่านซ้ำอีก นอกจากจะได้ประโยชน์แก่ผมเอง อาจได้กับผู้อื่นด้วยยิ่งดี

สาธุ ๆ ๆ อนุโมทามิ





IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!