เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 มีนาคม 2024, 23:14:31
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  "พญามังรายหลวง" อันนี้เป๋นตั๋วเมืองกะว่าตั๋วสุโขทัยแน่ครับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน "พญามังรายหลวง" อันนี้เป๋นตั๋วเมืองกะว่าตั๋วสุโขทัยแน่ครับ  (อ่าน 2302 ครั้ง)
Billy The Kid.
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: วันที่ 26 มกราคม 2011, 16:52:28 »

"พญามังรายหลวง" อันนี้เป๋นตั๋วเมืองกะว่าตั๋วสุโขทัยแน่ครับ


* พญามังรายหลวง.jpg (39.56 KB, 720x252 - ดู 644 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 26 มกราคม 2011, 21:56:54 »

"พญามังรายหลวง" อันนี้เป๋นตั๋วเมืองกะว่าตั๋วสุโขทัยแน่ครับ


ภาพของคุณ Billy The Kid. ตัดมาจากจารึกวัดพระยืน เมืองลำพูนครับ
จารึกแผ่นดังกล่าวมีรายละเอียด ดังนี้ครับ

อักษรที่มีในจารึก ไทยสุโขทัย

ศักราช พุทธศักราช ๑๙๑๓

ภาษา บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๒ ด้าน มี ๘๑ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๔๐ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๔๑ บรรทัด

วัตถุจารึก หินดินดาน หรือหินชนวนสีเทา?

ลักษณะวัตถุ แผ่นรูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ กว้าง ๕๕ ซม. สูง ๙๐ ซม. หนา ๑๐.๕ ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. ๓๘“
๒) ในวารสาร ศิลปากร กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวัดพระยืน”
๓) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๓ กำหนดเป็น “หลักที่ ๖๒ ศิลาจารึกวัดพระยืน จังหวัดลำพูน”
๔) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวัดพระยืน พ.ศ. ๑๙๑๓“
๕) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย กำหนดเป็น “จารึกวัดพระยืน”

พบเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๕๗

สถานที่พบ วัดพระยืน ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ผู้พบ หม่อมเจ้าทรงวุฒิภาพ ดิศกุล

ปัจจุบันอยู่ที่ วัดพระยืน ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ที่มา

http://www2.sac.or.th/databases/jaruk/th/main.php?p=ZGV0YWls&id=141


* จารึกวัดพระยืน ด้านที่ 1.jpg (277.57 KB, 554x862 - ดู 1406 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 26 มกราคม 2011, 22:05:42 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 26 มกราคม 2011, 22:02:35 »

ประวัติ
ศิลาจารึกหลักนี้ หม่อมเจ้าทรงวุฒิภาพ ดิศกุล ทรงส่งสำเนาจารึกมาถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ต่อมา กรมศิลปากรได้ส่งเจ้าหน้าที่ผู้อ่านจารึก แผนกหนังสือตัวเขียนและจารึก กองหอสมุดแห่งชาติ คือ นายฉ่ำ ทองคำวรรณ กับ นายประสาร บุญประคอง เดินทางไปที่จังหวัดลำพูน ทำการอัดสำเนาจารึก เมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๐ ศิลาจารึกวัดพระยืน เป็นหลักฐานทางเอกสารอันสำคัญ และเป็นศิลาจารึกหลักเดียวเท่านั้น ที่บ่งบอกการแผ่อิทธิพลของอักษรสุโขทัย เข้าไปสู่อาณาจักรล้านนา ในรัชสมัยของพญากือนา โดยพระสุมนเถระ พระภิกษุสุโขทัย เป็นผู้นำขึ้นไป

ในชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งแปลโดย ร.ต.ท. แสง มนวิทูร ได้กล่าวถึงการมาเมืองเชียงใหม่ของพระสุมนเถรว่า ครั้งเมื่อพญากือนากษัตริย์แห่งล้านนามีความปรารถนาใคร่ได้พระภิกษุ อันอาจมาเพื่อจะกระทำสังฆกรรมทั้งปวง มาไว้ในเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์ (เชียงใหม่) จึงได้ส่งราชทูตไปยังสำนักแห่งพระครูอุทุมพรมหาสามี ในรามัญประเทศ เพื่อขอพระภิกษุองค์หนึ่ง ชื่อพระอานนท์ภิกษุซึ่งเป็นศิษย์ พญากือนาทรงมีความยินดียิ่ง และปฏิบัติพระอานนท์เป็นเจ้าด้วยจตุปัจจัย แต่พระอานนท์ยังไม่ได้ปรารถนาเพื่อจะกระทำสังฆกรรมมาก่อน เพราะพระครูยังไม่ได้อนุญาต จึงบอกให้พญากือนานิมนต์พระสุมนเถระ ซึ่งเป็นพระอาจารย์แห่งตนจากเมืองสุโขทัย พญากือนาจึงส่งราชทูตไปสุโขทัย เพื่อนิมนต์พระสุมนเถระจากพระยาลิไทย ซึ่งพระองค์ก็ให้พระสุมนเถระนั้นไป และได้นำเอาพระบรมธาตุไปสู่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์ เมื่อพระสุมนเถระออกจากเมืองสุโขทัย และไปจำวัดในที่ใด พระบรมธาตุก็บังเกิดพระรัศมีเป็นอัศจรรย์ พระผู้เป็นเจ้าก็อุปัฏฐากบูชาพระบรมธาตุ ด้วยความเคารพเป็นอย่างดี ฝ่ายพญากือนามหากษัตริย์ โปรดให้สร้างพระพุทธรูป ๔ องค์ไว้ในพระมหาวิหารใหญ่ ด้านทิศบูรพาแห่งเมืองหริภุญชัย ในศักราช ๗๓๑

เนื้อหาโดยสังเขป
ข้อความที่จารึก คำขึ้นต้นของจารึกด้านที่ ๑ บรรทัดแรก เป็นคำนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยภาษาบาลี ข้อความต่อจากนั้นไปเป็นภาษาไทย กล่าวถึงพระนามกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายบางพระองค์ ได้กล่าวถึงมูลเหตุที่ไปอาราธนาพระสุมนมหาเถร จากนครสุโขทัย มาเผยแพร่พระพุทธศาสนายังล้านนา ในปี พ.ศ. ๑๙๑๒ และได้นิมนต์ท่านมาอยู่ที่วัดพระยืน ในหริภุญไชยนคร คือ จังหวัดลำพูน และได้กล่าวสรรเสริญเกียรติคุณแห่งพระมหาเถร
ด้านที่ ๒ กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัดพระยืน รวมทั้งพระเจดีย์ที่มีพระพุทธรูปสมัยหริภุญไชย ประดิษฐานประทับยืนอยู่ในซุ้มคูหา

ผู้สร้าง
พญากือนา

การกำหนดอายุ
ในด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๙ “…ปีจอ…” ตรงกับ จ.ศ. ๗๓๒ (พ.ศ. ๑๙๑๓)

ข้อมูลอ้างอิง
เรียบเรียงข้อมูลโดย: วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศมส., ๒๕๔๖, จาก:
๑) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ ๖๒ ศิลาจารึกวัดพระยืน,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๓ : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๐๘), ๑๓๕ - ๑๔๔.
๒) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “ศิลาจารึกวัดพระยืน พุทธศักราช ๑๙๑๓,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๖), ๙๒ – ๑๐๑.
๓) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม, และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “จารึกวัดพระยืน,” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, พิมพ์ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๓๓), ๗๘ – ๘๐.
ภาพประกอบ ภาพสำเนาจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๓ (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๐๘)

ที่มา
http://www2.sac.or.th/databases/jaruk/th/main.php?p=ZGV0YWls&id=141


* จารึกวัดพระยืน ด้านที่ 2.jpg (237.25 KB, 560x828 - ดู 1966 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 26 มกราคม 2011, 22:11:36 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
Billy The Kid.
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 26 มกราคม 2011, 22:43:47 »

หระหว่างหินจาร อันนี้กับ หินจารของป้อขุนรามกำแหง อันตี้ว่าเป๋นผู้แป๋ง (ประดิษฐ์) อักษรไทย อันไหนเก่ากั่วกั๋นครับ
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 26 มกราคม 2011, 22:54:47 »

หระหว่างหินจาร อันนี้กับ หินจารของป้อขุนรามกำแหง อันตี้ว่าเป๋นผู้แป๋ง (ประดิษฐ์) อักษรไทย อันไหนเก่ากั่วกั๋นครับ

บ่ฮู้ครับ ว่าอันไหนเก่าเหลือกั๋น
เพราะหินแต่ละก้อนมันก็มีมาพร้อมๆกับการเกิดโลกแก่นนี้ล่ะครับ
แต่ตั๋วหนังสือที่แกะลงบนหินนี่ก่าเป๋นปัญหา ว่าแกะกั๋นเมื่อใด

ถ้าจารึกพญาร่วงแกะในสมัยพญาร่วง จารึกพญาร่วงก็จะเก่ากว่าจารึกวัดพระยืนหลักนี้ครับ
แต่ถ้าบ่ได้แกะสมัยพญาร่วง ก็ต้องไปสืบกั๋นต่อไปว่าไผแกะ และแกะไปเยียะหยัง


* 001.jpg (75.09 KB, 448x298 - ดู 514 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
Billy The Kid.
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม 2011, 00:17:58 »

ผญามังราย / ผญางำเมือง / ป้อขุนรามกำแหง / 
ผ่อท่าแล้วท่าจะเป็นคนละยุค แล้วมาเป๋นเสี่ยงกั๋นได้จาใด
ผ่อจากอายุก๋านสร้างบ้านแป๋งเมือง
แล้วก่อว่า ป้อขุนรามแป๋งอัษรไท เมื่อปี๋ 1826 มันจาใดอยู่หนา
IP : บันทึกการเข้า
กะลังลุก~.~
สมาชิกลงทะเบียน
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 332



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม 2011, 10:57:25 »

ป้าด ได้ความฮู้ใส่หัวจาดนัก ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

ทำไมมันร้อนยังงี้
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม 2011, 13:38:57 »

อักษรไทยขุนรามแน่นอนบ่ใช่ตั๋วเมือง    สามกษัตริย์ ยุคเดียวกัน
ขุนราม เอาตั๋วเมืองไปจากล้านนา เอาประเพณีไหลเรือไฟหรือลอยกระทงไปจากล้านนา
เพราะประเพณี ลอยประทีปมีมาตั้งแต่ยุคสุวรรณโคมคำ ก่อนสิงหนวัติโยนกนาคนครแหมซ้ำ
IP : บันทึกการเข้า
rabbitNUENG
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 65


ของมันอยู่ตี้ไหน ก่อหื้อมันอยู้ตี้หั้น


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม 2011, 17:36:09 »

เป๋นตัวเมืองสุโขทัยคัฟ บ่าใจ้ตั๋วเมืองล้านนาแน่นอน

พญาร่วง พญามังราย พญางำเมือง เป๋นมิตรแก้วสหายคำกั๋นคำ

เป็นคำว่า "ป้อขุน" เป็นคำที่เรียกใจ้ในยุคพญาร่วง บ่าใจ้ของคนเมืองล้านนา
IP : บันทึกการเข้า

เจ้นดิน เจ้นฟ้า เมืองเจียงแสน ฮ่มฟ้าเมืองเจียงฮาย
ล้อล้านนา
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 444


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 04 กุมภาพันธ์ 2011, 17:03:36 »

ผญามังราย / ผญางำเมือง / ป้อขุนรามกำแหง / 
ผ่อท่าแล้วท่าจะเป็นคนละยุค แล้วมาเป๋นเสี่ยงกั๋นได้จาใด
ผ่อจากอายุก๋านสร้างบ้านแป๋งเมือง
แล้วก่อว่า ป้อขุนรามแป๋งอัษรไท เมื่อปี๋ 1826 มันจาใดอยู่หนา

พญามังราย พญางำเมือง พญาร่วง (พญาร่วงเล่นจู้กับเทวีพญางำเมือง พญามังรายขึ้นกว้านว่าความหื้อเปื่อนตี้ฮิมฝั่งน้ำชมพู ต่อมาเลยเรียกว่า "น้ำอิง" เพราะอิงหลังสาบานกั๋น ปัจจุบัน "บ้านกว้าน" อยู่ในพื้นที่ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา

บ.ก.ล้อล้านนา
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!