เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 19 เมษายน 2024, 13:08:58
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 5 จังหวัด (ไม่มีเชียงราย)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 5 จังหวัด (ไม่มีเชียงราย)  (อ่าน 855 ครั้ง)
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« เมื่อ: วันที่ 16 กรกฎาคม 2014, 13:30:37 »

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หรือ กนพ. ได้เห็นชอบให้จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะแรก หรือนำร่องของไทย ใน 5 พื้นที่ชายแดน เพื่อให้ก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนได้อย่างสมบูรณ์ในปี 58 คือ จ.ตาก จ.สระแก้ว จ.ตราด จ.มุกดาหาร และ จ.สงขลา ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดน ที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 1,000,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 15 ของปริมาณการค้ารวมของทั้งประเทศ ให้เพิ่มมากขึ้น

เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป เพราะล่าสุดแม้ว่ามูลค่าการส่งออกของไทยในช่วง 5 เดือนแรกจะติดลบที่ร้อยละ 1.2 แต่พบว่ามูลค่าการค้าชายแดนไทยกลับเติบโตมากขึ้นร้อยละ 10 - 15 การตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 5 เขตดังกล่าวนั้น จะเน้นการตอบสนองต่อการเป้าหมายการพัฒนา ทั้งในด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มการจ้างงาน และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้ประชาชน แก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้ามายังพื้นที่ตอนใน ปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมายจากเพื่อนบ้าน และปัญหาความแออัดตามด่านชายแดน

ทั้งนี้ในที่ประชุมหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้ย้ำว่า หากมีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมาแล้ว ต้องเพิ่มรายได้ และอาชีพ ให้เกษตรกรในพื้นที่ รวมทั้งต้องส่งเสริมให้มีโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรตามแนวชายแดน เพื่อรองรับการใช้วัตถุดิบจากเพื่อนบ้าน ก่อนการส่งออกด้วย รวมทั้งกำชับให้ดูแลปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าว ให้เข้าระบบและเป็นมาตรฐาน

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบหลักเกณฑ์ และวิธีการสนับสนุนการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษใน 4 เรื่องคือ เรื่องสิทธิประโยชน์ สำหรับการลงทุนที่จะเป็นไปตามกฎหมายการส่งเสริมลงทุน (บีโอไอ) และเขตปลอดภาษีของกรมศุลกากร การให้บริการจุดเดียวแบบเบ็ดเสร็จ การสนับสนุนการใช้แรงงานต่างด้าว และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และด่านศุลกากรในพื้นที่ เพื่อให้รองรับกิจกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาค ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ทั้งนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ตั้งคณะอนุกรรมการ 3 ชุด เพื่อเสนอแนวทางดำเนินการต่อไป โดยกำหนดให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 57 เป็นต้นไป ด้วยการกำหนดพื้นที่เขตเศรษฐกิจ


http://news.springnewstv.tv\
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
amnuay sitthikaew
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 207



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 16 กรกฎาคม 2014, 14:13:51 »

 
" เขตพัฌนาเศรษฐกิจพิเศษระยะแรก หรือนำร่องของไทย"
  คิดว่าเชียงรายน่าจะตามมาทีหลัง
IP : บันทึกการเข้า
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,111


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 22 กรกฎาคม 2014, 16:27:59 »

คสช.ลุย 5 เขตเศรษฐกิจพิเศษ "เอกชน-ท้องถิ่น" หนุนขับเคลื่อนเต็มสูบ
P21 ก.ค. 2557 เวลา 16:07:51 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
การจัดตั้ง "เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ" เป็นหนึ่งในนโยบายที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หยิบยกขึ้นมาสานต่อมีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น ล่าสุดคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) หัวหน้า คสช.เป็นประธาน เห็นชอบพื้นที่จัดตั้งเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระยะแรก จำนวน 5 พื้นที่จากจำนวน 12 พื้นที่ ได้แก่ 1.ด่านศุลกากรแม่สอด จังหวัดตาก ติดประเทศเมียนมาร์ 2.ด่านศุลกากรอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ติดประเทศกัมพูชา 3.ด่านศุลกากรบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ติดประเทศกัมพูชา
4.ด่านศุลกากรมุกดาหาร ติด สปป.ลาว และ 5.ด่านศุลกากรสะเดา และด่านปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา ติดประเทศมาเลเซีย
ทั้ง 5 จุดนี้ถือเป็นประตูการค้าหลักที่มีมูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดนสูงสุดของไทย และเป็นเมืองหน้าด่านรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และยังเป็นพื้นที่การพัฒนาสำคัญในแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) เชื่อมโยงเวียดนาม-ลาว-ไทย-พม่า
ส่วนพื้นที่อีก 7 แห่ง ได้แก่ จังหวัดเชียงราย 3 แห่ง คือ อำเภอแม่สาย เชียงแสนและเชียงของ พื้นที่ชายแดนอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม พื้นที่ชายแดนอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย พื้นที่ชายแดนบ้านพุน้ำร้อน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี และพื้นที่ชายแดนจังหวัดนราธิวาส
สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้คือ การจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษใน 4 เรื่อง คือ 1.สิทธิประโยชน์การลงทุนตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ 2.เขตปลอดภาษีของกรมศุลกากร การให้บริการจุดเดียวแบบเบ็ดเสร็จ 3.การสนับสนุนการใช้แรงงานต่างด้าว และ 4.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากรในพื้นที่ เพื่อรองรับกิจกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาคเอกชน-ท้องถิ่นหนุนเต็มสูบ
"ประชาชาติธุรกิจ" สำรวจความพร้อมและอุปสรรคของการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าว พบว่าภาครัฐ-เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ต่างให้การสนับสนุนเต็มที่ หลังจากได้พยายามผลักดันมานานกว่าสิบปีแล้ว
"สมพร สิริโปราณานนท์" ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ขณะนี้ด่านสะเดาอยู่ระหว่างลงทุนขยายพื้นที่ด่านเก่าเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 20 ไร่ เพื่อลดปัญหาการจราจรแออัด ใช้งบประมาณ 71 ล้านบาท โดยจะสร้างบริเวณด่านขาออกก่อน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 ปี และสาเหตุที่ไม่สามารถสร้างพร้อมกันได้ทั้งขาเข้าและขาออกเพราะการจราจรจะติดขัดอย่างหนัก โดยเฉพาะช่วงเวลาขนส่งสินค้าต้องรอคิวนานถึง 4 ชั่วโมง
หากสร้างเสร็จจะช่วยอำนวยความสะดวก และทำให้มูลค่าการค้าระหว่างไทย-มาเลเซีย บริเวณด่านสะเดา ขยายตัวเติบโตขึ้นปีละไม่ต่ำกว่า 30% โดยเฉพาะการขนส่งและการท่องเที่ยว ปัจจุบันมูลค่าการค้าผ่านด่านสะเดาปีละ 4 แสนล้านบาท และมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้า-ออกประมาณ 2 ล้านคน
สำหรับปัญหาอื่น ๆ ที่ฝ่ายความมั่นคงต้องเร่งแก้ไขคือ ปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
สระแก้ว/ตราด ฮับสู่กัมพูชา-เวียดนาม
สำหรับจังหวัดสระแก้วได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 โดยการกำหนดพื้นที่เขตเศรษฐกิจไว้หลายพื้นที่ เช่น ตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ และบ้านหนองใหญ่ ตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร และจุดขนส่งสินค้าที่บ้านหนองเอี่ยน ตำบลท่าข้าม อำเภออรัญประเทศ เพื่อลดการแออัดที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก
"สุมิตร เขียวขจี" ประธานหอการค้าจังหวัดตราด กล่าวว่า แม้ว่าตราดจะเป็นจังหวัดเล็ก แต่เหมาะที่จะเป็นฮับหรือประตูสู่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะด่านบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีศักยภาพมากในการเชื่อมโยงระหว่างไทย-กัมพูชา-เวียดนาม และจีน
ฉะนั้นภาครัฐต้องวางแผนและลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อม เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การขยายถนน 4 เลนไปสู่จุดชายแดน การสร้างท่าเทียบเรือ การบริหารจัดการท่าเทียบเรือในรูปแบบของการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์
แม่สอดตื่นตัวเร่งคลอดแผนแม่บท
ขณะที่ฝั่งแม่สอด ถือเป็นพื้นที่แรกที่มีความพยายามแจ้งเกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษมาก่อนพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งในระดับท้องถิ่นมีการศึกษาเรื่องนี้ไว้แล้ว แต่รัฐบาลหลายยุคก็ไม่อาจขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นได้
"ประเสริฐ จึงกิจรุ่งโรจน์" เลขาธิการหอการค้าจังหวัดตาก เปิดเผยว่า หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดตากต้องเร่งสรุปพื้นที่ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เบื้องต้นคาดว่าจะเลือกพื้นที่ 3 อำเภอชายแดน ได้แก่ แม่สอด แม่ระมาด พบพระ ประมาณ 5,600 ไร่ เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีในปี 2547
"เร็ว ๆ นี้จะเร่งเขียนแผนแม่บทให้มีความชัดเจนมากขึ้น เช่น การวางผังโรงงานอุตสาหกรรม โซนคลังสินค้า, ผังเมือง รวมทั้งเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับ และแนวทางการจัดเก็บภาษีเข้าท้องถิ่น เช่น ภาษีสิ่งแวดล้อม เป็นต้น"
อย่างไรก็ตาม สิ่งแรกที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในเร็ว ๆ นี้ คือ ศูนย์วันสต็อปเซอร์วิส และการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเมยไปฝั่งเมียนมาร์แห่งที่ 2 ในตำบลท่าสายลวด วงเงินก่อสร้าง 1,000 ล้านบาท หากตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษสำเร็จ มูลค่าการค้าชายแดนด่านแม่สอดจะเพิ่มสูงถึง 1-2 แสนล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านบาท
คลังเคาะเรื่องสิทธิประโยชน์ ส.ค.นี้
"รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์" ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิประโยชน์ ขอบเขตพื้นที่และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุนของ กนพ. กล่าวว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังไปพิจารณารายละเอียดสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่ง คสช.ต้องการให้ได้ข้อสรุปเรื่องสิทธิประโยชน์ภายในเดือนสิงหาคมนี้
แนวทางการให้สิทธิประโยชน์นั้น เบื้องต้นคงเป็นเรื่องการนำเข้าวัตถุดิบต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีมาตรการทางภาษี เช่น การยกเว้นอากรขาเข้า การจัดให้มีเขตปลอดอากร การให้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โซน 3 ที่จะได้รับการลดภาษีนิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี และขยายได้อีก 5 ปี นอกจากนี้ยังมีการยกเว้นภาษีของกรมสรรพากรด้วย อาทิ การลดภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์จากอัตรา 3% เหลือ 0.1% ทั้งนี้ต้องดูหลายมาตรการมาผสมกันแล้วออกเป็นกฎหมาย ซึ่งในแต่ละพื้นที่อาจจะต้องมีกฎหมายเฉพาะของตัวเอง
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนำร่องทั้ง 5 แห่งนี้จะเป็นโมเดลให้กับพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!