เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 26 เมษายน 2024, 05:16:46
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  บอร์ดกลุ่มชมรม
| |-+  ชมรมนักกลอน
| | |-+  ระลึกบ้านเมื่อกาลเก่า.. 2
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ระลึกบ้านเมื่อกาลเก่า.. 2  (อ่าน 680 ครั้ง)
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« เมื่อ: วันที่ 23 มกราคม 2014, 22:39:33 »



สวัสดี ทุกท่าน

       ผมได้ประพันธ์ "รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด"  ลองติดตาม "สัจธรรม" จาก "รำลึกหัวตะพานบ้านเก่า"
ผมจะทะยอยลงติดต่อกันไป และจะนำแต่ละตอนแยกเป็นชื่อเป็นประเด็น เผื่อได้ ต่อบทกลอนกันบ้าง

                                                                                         
                       
                                                ด้วยความจริงใจ
                                                   
                                                          จาก
                                                      ธรรมชาติธรรม
                                           http://www.naturedharma.com
                                                      ประทีป  วัฒนสิทธิ์



 
IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 23 มกราคม 2014, 22:43:39 »

เพรียง

   ๒๒๖  น้ำมันยางเรียกว่า “มันยางใส”      
เมื่อนำไปชุบด้ายให้ชื่อ“หมัน”
ส่วนผสมหลักมันยางใสให้สำคัญ      
เรียนรู้กันทั่วหน้าชาวประมง

   ๒๒๗  เรื่อที่ต่อด้วยไม้ไม่เชื่อมสนิท         
มันต้องปิดรอยต่อมิเหลือหลง
“หมัน” นี้เองตัวกันได้มั่นคง         
อุดตอกลงรอยร่องตามต้องการ

   ๒๒๘  เชือกด้ายชุบมันยาง “หมัน” ดีนัก      
อุดแน่นหนักยัดเน้นเป็นมาตรฐาน
หยอดมันยางตามหลังครั้งเสร็จการ      
อีกทาสมานทั่วลำด้วยมันยาง

   ๒๒๙  ปล่อยเรือแห้งทาใหม่ให้หลายซ้ำ      
น้ำมันฉ่ำซึมไม้ได้ลึกกว้าง
กันน้ำเค็มกัน “เพรียง” ได้สองทาง      
น้ำมันจางทาใหม่ไม่ต้องกลัว

   ๒๓๐ พูดถึงไต้ใช้กันนั้นนานนัก         
แจ้งประจักษ์คนใต้ใช้กันทั่ว
จุดสว่างไสวไม่มืดมัว         
ยังเป็นตัวก่อไฟได้อย่างดี


ประทีป  วัฒนสิทธิ์
23 มกราคม 2557
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 23 มกราคม 2014, 22:47:41 โดย watthanasit » IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 23 มกราคม 2014, 22:46:47 »


ขี้ชัน

   ๒๓๑  ขอแนะนำเรื่องไต้ให้สักหน่อย         
จะเรียงร้อยขั้นทำจำถ้วนถี่
วัสดุทำไต้มากมายมี         
จะขอชี้ชื่อเห็นเป็นสำคัญ

    ๒๓๒  มันยางใส่ขี้คั่วตัวยืนพื้น         
มากสิ่งอื่นที่มีโน้นนี่นั้น
เปลือกเสม็ดเด็ดดีคลุก “ขี้ชัน”         
ด้วยใช้กันเป็นพื้นกว่าอื่นใด

   ๒๓๓  แทนเสม็ดหนึ่งได้ใช้เปลือกมะพร้าว         
สองนั้นเล่าใบ “บอจง” คงแทนได้
อีกอย่างอื่นทดแทนแค่นกันไป         
ขอเพียงให้ติดไฟได้อย่างดี

   ๒๓๔  ห่อเนื้อใต้ให้ทราบก็กาบหมาก      
หากหายากใบเตยเสียเลยนี่
แต่ใบเตยจัดไว้ในเกรดบี         
อย่างใดมีนี้ใช้ได้ดีครัน

   ๒๓๕  มันขี้คั่วผสมมันยางใส         
เป็นชื่อใหม่ทันทีนี้น่าขัน
ลองทายดูเรียกว่าอะไรกัน         
ก็“ขี้ชัน”นั้นเล่าขอเข้าใจ



ประทีป  วัฒนสิทธิ์
23 มกราคม 2557
IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 23 มกราคม 2014, 22:53:46 »



ขี้ไต้ 

    ๒๓๖  เริ่มขั้นแรกใช้เสม็ดคลุกขี้ชัน         
คนทั่วกันสักพักหมักทิ้งไว้
น้ำขี้ชันซึมซับกับเสม็ดไป         
นี่ “เยื่อไต้” “เนื้อไต้” ได้ออกมา

    ๒๓๗  เอาเยื่อไต้ใส่ไปในกาบหมาก         
ห่อไม่ยากยาวกลมสมปรารถนา
ผ่าศูนย์กลางสามนิ้วงดงามตา         
ศอกกว่ากว่าความยาวมิเท่าไร

   ๒๓๘  ขั้นสุดท้ายหวายมัดจัดเป็นปล้อง      
ห่างแค่สองสามนิ้วทั่วลำไต้
เอาเชือกมัดมัดมัดมัดทำไม         
ยามติดไฟไต้มิแตกแยกออกมา

   ๒๓๙   หลุมมันยางใช้ได้ให้นานโข         
หากหลุมโตเมื่อไรไม่ได้หนา
ไฟติดมากยางตายวายชีวา         
ต้องขุดหาหลุมใหม่ไปทันที

    ๒๔๐  วกมาเรื่องข้าวห่อขอเล่าขาน         
หัวตะพานอีกหนึ่งซึ่งอย่างนี้
เป็นความเชื่อนานมาเป็นประเพณี      
เป็นของดีสอนใจให้กับตน
IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 23 มกราคม 2014, 22:55:39 »



ตั้งทาน

    ๒๔๑  ก่อนจะกินข้าวห่อพ่อ “ตั้งทาน”      
ภาษาบ้านเรียกอย่างนี้มิสับสน
เป็นความเชื่อว่าดีมีมงคล         
แผ่กุศลวิญญาณการแบ่งบุญ

    ๒๔๒  พ่อเคยบอกว่า “ออกชื่อถือเสียง”      
คำร้อยเรียงความหมายให้เคยคุ้น
จำมิเลือนมิลบครบต้นทุน         
ของค่าคุณจำมั่นนั้นขึ้นใจ

   ๒๔๓ ในความหมายนึกถึงซึ้ง “เจ้าที่”      
จะตรงนี่ทั่วทิศจิตเลื่อมใส
ผู้ล่วงลับนานาที่ลาไกล         
ออกชื่อได้ดั่งคิดจิตจำนง

   ๒๔๔  ก่อนกินห่อ “ตั้งทาน” มินานช้า         
เสร็จกิจจากินได้ตามประสงค์
ทานข้าวห่อไร่นาหรือป่าดง         
ก็ยังคง“ตั้งทาน”ทุกสถานไป

   ๒๔๕  หาใบตองใบไม้ใส่อาหาร         
ของตั้งทานทุกอย่างตักวางไว้
นำไปวางที่หนึ่งหรือที่ใด         
เตรียมน้ำไว้กรวดทานการต่อมา
IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม 2014, 07:29:13 »


การปลูกฝังจิตสำนึกระลึก
    
    ๒๔๖  ขณะกรวดรดน้ำผ่านใบไม้      
ออกชื่อถือเสียงไปไม่รอช้า
นั่นคือการแผ่กุศลแผ่เมตตา         
ใช้เวลาเพียงนิดสัมฤทธิ์การ

   ๒๔๗  การตั้งทานสอนใจได้ล้นเหลือ      
เป็นความเชื่อสอนใจให้ลูกหลาน
รู้จักให้จักแบ่งแห่งธรรมทาน         
รู้เจือจานพี่น้องแลผองชน

   ๒๔๘  การปลูกฝังจิตสำนึกระลึกได้         
จำต้องใช้ความเชื่อเหนือเหตุผล
อันความเชื่อประดุจดั่งยังเวทมนต์      
จักช่วยดลจิตใจเกิดใฝ่ปอง

   ๒๔๙  วิธีการหลักการในด้านสอน         
สมัยก่อนเป็นเช่นนี้ที่สนอง
ทุกทุกอย่างเป็นไปตามครรลอง      
ล้วนปกป้องเสริมสร้างสังคมดี

   ๒๕๐ การทำมาหากินกันแบบเก่า         
บ้านผมเล่าเขาอยู่รู้วิถี
ความพอเพียงเลี้ยงตนหนทางมี      
ถือเป็นศรีแห่งบ้านหัวตะพานเรา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 27 มกราคม 2014, 07:32:03 โดย watthanasit » IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 07 มีนาคม 2014, 09:20:11 »

   

สวัสดี ทุกท่าน
รสระกำหอมหวนชวนชื่นใจ
  
   ๒๕๑  ผักสวนครัวปลูกกันนั้นทุกบ้าน      
เกินต้องการเหลือใช้แบ่งให้เขา
คอยซ่อมแซมเสริมใหม่ไม่ซาเพลา      
คอยดูเช้าดูเย็นมิเว้นวัน

   ๒๕๒  ของใดใช้ทำเครื่องแกงเป็นแหล่งหลัก      
ปลูกกันนักใส่ปุ๋ยคอกออกขยัน
ตะไคร้พริกขิ่งข่าขมิ้นชัน         
พริกไทยนั้นขาดไปมิได้นา

   ๒๕๓  เม็ดดีปลีนิยมมากมาตากแห้ง         
เอาใส่แกงนิดหน่อยอร่อยหนา
สองสามเถาเลื้อยโคนไม้ใกล้ชายคา      
หากเข้ายาก็ได้เห็นใช้กัน

   ๒๕๔  พืชกินต้นกินฝักชักถ้วนทั่ว         
ประเภทหัวผลดอกใบได้ทั้งนั้น
ไม้ยืนต้นล้มลุกสารพัน         
พวกเผือกมันคูนบอนหย่อนลงไป

   ๒๕๕  กอระกำมีไว้อย่าไกลบ้าน         
คราวต้องการแกงเหลืองแบบเมืองใต้
รสระกำหอมหวนชวนชื่นใจ         
นำมาใส่สามสี่ผลน้ำข้นดี
                       
                                                                                                             
                                                                                             
http://www.naturedharma.com/data-1558.html
ประทีป  วัฒนสิทธิ์
26 มกราคม 2557


IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!