เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 16 เมษายน 2024, 22:13:40
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  คำปู่เฒ่าสอนหลาน - คำโคลงวิตุนสอนหลาน - คำที่ยากของคำเมือง
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน คำปู่เฒ่าสอนหลาน - คำโคลงวิตุนสอนหลาน - คำที่ยากของคำเมือง  (อ่าน 4881 ครั้ง)
apiwattano
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 369


« เมื่อ: วันที่ 20 มกราคม 2014, 15:17:25 »

คำปู่เฒ่าสอนหลาน

คำโคลงวิตุนสอนหลาน

Joan Heiniger..........   แปลเป็นภาษาอังกฤษ
อภิวัฑฒโน....................แปลเป็นภาษาไทย/พิมพ์
แนวใหม่ครับแปลแบบนี้น่าจะนำสู่อาเซียนและสากลได้
ยินดีรับฟังคำติชม




ยังมีต่อ จะทยอยแปลลงครับ

สลับดูคำโคลงวิตุนสอนหลาน บทที่ ๑ ใน ๓๑ บท



ต้องขอแทรก คำยากของคำเมือง อีกหัวข้อ
ผมเกรงใจหัวข้อผู้อื่นจริง ๆ หากจะขึ้นหัวข้อใหม่
ผมค้นคว้ามาจากพจนานุกรมล้านนา ๒ - ๓  เล่ม  

แบบที่ ๑  
ชุดที่ ๑ คำที่ ๓๑ - ๖๐

แบบที่ ๒ (มีคำแปลภาษาอังกฤษ)
ชุดที่ ๒ คำที่ ๓๑ - ๖๐
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 กันยายน 2014, 11:34:15 โดย apiwattano » IP : บันทึกการเข้า
LingJakJak
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2014, 15:57:13 »

เยี่ยมครับ แต่ดูแล้วการแปลเป็นไทยยังใช้การเลียนเสียง ใจผมอยากหื้อใช้การปริวรรต(แปล)เป็นไทยโดยวิธีเทียบอักขระมากกว่าครับตามมาตรฐานงานวิจัยทางโบราณคดี จะได้รู้รากอักขระที่ใช้ ส่วนการออกเสียงก็แล้วแต่ถิ่น เช่น รูปศัพท์ปริวรรตได้คำว่า คำโคลง เพพัง (แต่ออกเสียงแบบยวนล้านนา ว่า กำกะโลง เปปัง) ก็ควรเขียนว่า คำโคลง เพพัง เป็นต้น
IP : บันทึกการเข้า
LingJakJak
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 22 มกราคม 2014, 16:02:56 »

ยินดีนักๆหลายๆที่มีผู้ใฝ่ใจอนุรักษ์ฮักษาภาษาเมื่อเก่า(มะเก่า)ของเฮาไว้ ลูกอ่อน(ละอ่อน)ทังหลายจะได้มีที่สืบค้นต่อไปภายหน้า
IP : บันทึกการเข้า
apiwattano
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 369


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 23 มกราคม 2014, 15:05:03 »

ตอบกระทู้ที่ ๒๖
ขอบคุณที่ชี้แนะ
บทที่ ๑ ผมของแปลใหม่ดังนี้
                      คำโคลงวิทุรสอนหลาน
 ๑     นิโคธาสูงใหญ่พ้นปอยเดียว        บ่มีหมู่เกาะกุมเกลียวจิ่มใกล้
    พระพายเพิกกุมเกลียวหักเหี่ยวลงเอย
        บิดปลิ้นปลายลงใต้ท่าวล้มเพพัง  เต็มว่าเป็นหน่อพุทธังกูลก็แล้วเต๊อะ    
กันว่าบ่มีผู้ชูช่วยค้ำก็เท่าลุ้มล้ำปางเปล่าดายแล

แบบนี้ปริวรรตแล้วใช่หรือไม่ กรุณาให้ความเห็นครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 23 มกราคม 2014, 15:09:54 โดย apiwattano » IP : บันทึกการเข้า
LingJakJak
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 23 มกราคม 2014, 22:22:08 »

เรียน ท่านอภิวัฒโน
ประมาณนั้นครับท่าน หากลองนำหลักนี้ไปอ่านจารึกเก่าๆของของสุโขทัยแลอยุธยา(อ่านด้วยสำเนียงยวนล้านนา) จะพบว่ามีศัพท์และกลิ่นไอของคำไทโบราณอยู่มาก เข้าใจว่าสมัยอยุธยายังมีการใช้คำไทปะปนกับภาษาอื่นๆเทียบเป็นสัดส่วนแล้วมากกว่าภาษาไทยสมัยปัจจุบัน เช่น ชาวบ้านยังนิยมใช้คำว่า'ขุนหลวง'เรียกพระมหากษัตริย์ เช่น ขุนหลวงท้ายสระ ขุนหลวงหาวัด(ขุนหลวงหมากเดื่อ) เหมือนไทกลุ่มอื่นๆ ยิ่งย้อนถอยกลับไปสมัยสุโขทัยพบศัพท์หลายๆคำที่ไม่ใช้แล้วในภาษาไทยปัจจุบัน แต่ยังพอมีใช้ในไทกลุ่มอื่น เช่น 'ลุก' หมายถึงมาจาก 'หลวก' หมายถึงฉลาด 'แพ้' หมายถึงมีชัยชนะ พบได้ในจารึกสุโขทัย ทำให้คิดว่าชาวสุโขทัยและอยุธยาตอนต้นอาจพูดสำเนียงคล้ายไทกลุ่มเหนือเช่นไทยวนล้านนาก็เป็นได้ เช่น ลองอ่านลิลิตพระลอด้วยสำเนียงยวนล้านนาก็จะได้อรรถรสดียิ่ง ศัพท์หลายๆคำเข้าใจได้ด้วยการตีความด้วยภาษาล้านนา
ต่อมามีการปะทะสังสรรค์กับชนกลุ่มอื่นที่เป็นเจ้าของพื้นที่เดิม โดยเฉพาะ ขอม(เขมรต่ำ) และชนจากโพ้นทะเล จากอินเดีย ชวา เปอร์เซีย มีการถ่ายเทแลกเปลี่ยนภาษา ศัพท์และสำเนียงของสังคมใหม่นี้จึงค่อยๆวิวัฒน์ไป

วันนี้เอาม๊อกอี้ก่อนเน้อครับ
IP : บันทึกการเข้า
LingJakJak
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 23 มกราคม 2014, 22:49:41 »

ตย.
ปริวรรตได้อักขระ 'ป'  เช่นคำว่า ปลา ปู ออกเสียงแบบยวนล้านนาว่า ป๋า ปู๋
ปริวรรตได้อักขระ 'พ'  เช่นคำว่า ใบพลู พลิก ออกเสียงแบบยวนล้านนาว่า ใบปู ปิ๊ก เช่น ปิ๊กคิง หมายถึง พลิกตัว
ปริวรรตได้อักขระ 'ภ'  เช่นคำว่า ภายหน้า ชอมภอ ออกเสียงแบบยวนล้านนาว่า พายหน้า ซอมพอ(ชื่อดอกไม้จำพวกฝาง)
IP : บันทึกการเข้า
apiwattano
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 369


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 24 มกราคม 2014, 07:33:23 »

ขอบพระคุณมากครับที่ชี้แนะ
จะปริวรรตในบทต่อ ๆ ไป
กรุณาติชมเช่นเคย

ขอบคุณเชียงราบโฟกัสที่มีบอร์ดนี้
ท่านอื่น ๆ ใดเห็นประการใด  ติชมกันมาครับ
IP : บันทึกการเข้า
LingJakJak
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 24 มกราคม 2014, 10:00:40 »

ลองสืบๆจากงานที่อ้างอิงในนี้ก่ได้ครับ
http://www.lpru.ac.th/thaiart/pdf/research/01.pdf
IP : บันทึกการเข้า
apiwattano
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 369


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 24 มกราคม 2014, 17:03:57 »

ขอบคุณอีกครั้ง
ผมศีกษาดูแล้วครับ  มีหลักการและน่าสนใจมาก
ก่อนที่จะปริวรรตต่อไปผมของแสดงเจตนาเริ่มต้นของผมดังนี้
๑. อนุรักษ์รูปแบบภาษาล้านนาดั้งเดิมไว้ทั้งหมด (ลอกจากต้นฉบับทั้งดุ้น)
๒. แปลเป็นภาษาคำอ่าน ที่คนล้านนาจริง ๆ อ่าน(และเขียนตามคำอ่าน  อาจใช้ภาษาสากลอื่น เช่น   
     ภาษาอังกฤษ  ฯลฯ เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาไทยกลาง) ไม่แบบไทยปนเมือง
๓. ผมว่าภาษาล้านนาและไทยคล้ายกัน  แบบภาษาลาวคล้ายภาษาไทย แต่ไม่อาจผสมปนกันได้
    (แบบอนุรักษ์นิยมขวาจัด)
๔. วรรณกรรมเป็นมรดกของบรรพบุรุษ  ไม่มีลิขสิทธื์ ผู้ใดจะนำไปศึกษา ก๊อป...ไปเลยครับ

เป็นความเห็นส่วนตัว ...จริง ๆ อาจไม่เข้าท่า และผิดหลักวิชาการ

ขอบพระคุณอีกครั้ง  ผมได้ความรู้เพิ่มมากมาย

ต่อไปผมจะลองแปลแบบปริวรรตตามหลักวิชาการดูบ้าง  แล้วจะได้นำเสนอกันในโอกาสต่อไป

อภิวัฒโน  ๒๔๐๑๒๕๕๗
IP : บันทึกการเข้า
LingJakJak
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 24 มกราคม 2014, 19:20:28 »

สรียินดีครับ ขอเป็นแฮงใจหื้อท่านมีผลงานออกมาต่อๆไป
IP : บันทึกการเข้า
WH_Y
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,222



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 26 มกราคม 2014, 20:16:16 »

สรียินดีเจ้าโครงของบะเก่าโบราณแต้ๆเจ้า..
IP : บันทึกการเข้า
apiwattano
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 369


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 26 มกราคม 2014, 21:20:10 »

ขอบคุณครับ
ฮักบ้านเฮา  ภาษาของเฮา  ก๊อป......ขยายให้ผู้สนใจมาก ๆ นะครับ
หากแปลผิดไปทักท้วงกันมานะครับ
IP : บันทึกการเข้า
tipwara
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 18 กรกฎาคม 2014, 17:08:52 »

สนใจคำที่ยากของคำเมือง
ยังมีอีกไหมจ๊ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 18 กรกฎาคม 2014, 17:14:07 โดย tipwara » IP : บันทึกการเข้า
apiwattano
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 369


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2014, 09:07:08 »

มีครับผมทำเก็บไว้หลายชุด
ว่าจะเก็บไว้ให้ทายาทและเผยแพร่ให้คนทั่วไป
คำเหล่านี้เยาวชนปัจจุบันไม่ค่อยจะใช้กันแล้วครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 กันยายน 2014, 11:31:16 โดย apiwattano » IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2014, 13:30:58 »

รอติดต๋ามผ่อต่อไป ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!