เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 เมษายน 2024, 08:02:48
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  ขายปุ๋ยเกร็ดหลายสูตรสำหรับพ่นทางใบโดยตรง
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ขายปุ๋ยเกร็ดหลายสูตรสำหรับพ่นทางใบโดยตรง  (อ่าน 21596 ครั้ง)
jukgree
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 492


« เมื่อ: วันที่ 02 ธันวาคม 2013, 17:00:41 »

สนใจสินค้าหรือสอบถามเพิ่มเติม 093-3073955 หรือทางข้อความไม่มีหน้าร้านนะครับ ส่งทางไปรณีย์ได้หรือนัดรับสินค้าได้ในเมืองเชียงรายครับ

ปุ๋ยเกร็ดยูเรีย จีเกรด(NPK=46-0-0)
บรรจุ 1 กิโลกรัม
ราคา  105  บาท
อัตราที่ใช้ 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
ประกอบด้วย ธาตุไนโตรเจน 46%  ธาตุฟอสเฟสที่เป็นประโยชน์ 0%  
โพแทชที่ละลายน้ำ 0% รวมปริมาณธาตุอาหารสูงถึง 46%    
สามารถละลายน้ำและพืชดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้บริสุทธิ์ 100% ละลายง่ายไม่มีตะกอน

วิธีใช้
1.ละลายน้ำเพื่อเป็นธาตุอาหารสำหรับผักไฮโดรโปรนิกส์
2.ละลายน้ำฉีดพ่นกับพืชโดยตรงเพื่อเป็นธาตุอาหารสำหรับพืช โดยพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารผ่านทางปากใบและพืชสามารถนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็วกว่าปุ๋ยทางราก
3.พ่นเป็นละอองเล็กๆ พอเปียกทั่วใบและทุกส่วนของพืชทุก 7-10 วัน


ประโยชน์ของไนโตรเจน(หรือปุ๋ยยูเรีย)
1.พืชโดยทั่วไปมีความต้องการธาตุไนโตรเจน(ปุ๋ยยูเรีย)เป็นจำนวนมาก เป็นธาตุอาหารที่สำคัญมากในการส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของพืช พืชที่ได้รับไนโตรเจนอย่างเพียงพอ ใบจะมีสีเขียวสด มีความแข็งแรง โตเร็ว และทำให้พืชออกดอกและผลที่สมบูรณ์
2.พืชเมื่อขาดไนโตรเจนจะแคระแกร็น โตช้า ใบเหลือง โดยเฉพาะใบล่าง ๆ จะแห้ง ร่วงหล่นเร็วทำให้แลดูต้นโกร๋น การออกดอกออกผลจะช้า และไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ดินโดยทั่ว ๆ ไปมักจะมีไนโตรเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ดังนั้นเวลาปลูกพืชจึงควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมให้กับพืชด้วย

ข้อเสียของไนโตรเจน(หรือปุ๋ยยูเรีย)
1.เมื่อพืชได้รับไนโตรเจนมาก ๆ บางครั้งก็ทำให้เกิดผลเสียได้เหมือนกัน เช่น จะทำให้พืชอวบน้ำมาก ต้นอ่อน ล้มง่าย โรคและแมลงเข้ารบกวนทำลายได้ง่าย คุณภาพผลิตผลของพืชบางชนิดก็จะเสียไปได้ เช่น ทำให้ต้นมันไม่ลงหัว มีแป้งน้อย อ้อยจืด ส้มเปรี้ยว และมีกากมาก แต่บางพืชก็อาจทำให้คุณภาพดีขึ้น โดยเฉพาะพวกผักรับประทานใบ ถ้าได้รับไนโตรเจนมากจะอ่อน อวบน้ำ และกรอบ ทำให้มีเส้นใยน้อย และมีน้ำหนักดี แต่ผักมักจะเน่าง่าย และแมลงชอบรบกวน

อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ไนโตรเจน   N   ลำต้นและรากแคระแกร็น ใบเล็กเหลืองซีด ร่วงง่าย แตกกิ่งก้านน้อย ถ้าขาดมากๆ จะเหลืองซีดไปทั้งต้นและอาจทำให้ตายได้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 28 มกราคม 2015, 21:02:54 โดย jukgree » IP : บันทึกการเข้า
jukgree
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 492


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 02 ธันวาคม 2013, 17:04:01 »

ปุ๋ยเกร็ด(NPK=13-0-46) Potassium Nitrate 13-0-46 HG
บรรจุ 1 กิโลกรัม
ราคา  105  บาท
อัตราที่ใช้  50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
ประกอบด้วย ธาตุไนโตรเจน 13%  ธาตุฟอสเฟสที่เป็นประโยชน์ 0%  
โพแทชที่ละลายน้ำ 46% รวมปริมาณธาตุอาหารสูงถึง 59%    
สามารถละลายน้ำและพืชดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้บริสุทธิ์ 100% ละลายง่ายไม่มีตะกอน

วิธีใช้
1.ละลายน้ำเพื่อเป็นธาตุอาหารสำหรับผักไฮโดรโปรนิกส์
2.ละลายน้ำฉีดพ่นกับพืชโดยตรงเพื่อเป็นธาตุอาหารสำหรับพืช โดยพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารผ่านทางปากใบและพืชสามารถนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็วกว่าปุ๋ยทางราก
3.พ่นเป็นละอองเล็กๆ พอเปียกทั่วใบและทุกส่วนของพืชทุก 7-10 วัน


ประโยชน์
สามารถละลายน้ำได้และพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารเข้าทาง
ราก และทางใบเหมาะสำหรับใช้ทำปุ๋ยเกร็ด ผสมใช้กับพืชผัก พืชหัวและ
ไม้ผล โดยใช้ร่วมกับแม่ปุ๋ยฟอสเฟตและไนโตรเจน
สำหรับนาข้าว
เป็นปุ๋ยเคมีช่วยกระทุ้งรวงข้าวให้ออกสม่ำเสมอ   เมล็ดเต่ง   ได้น้ำหนัก

การเพิ่มผลผลิตมะม่วงนอกฤดู ด้วย 13-0-46


ปัจจัยที่มีผลต่อการชักนำให้มะม่วง ออกดอกนอกฤดูกาล
การบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลจะประสบผลสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. สภาพความสมบูรณ์และการเตรียมพร้อมของต้นมะม่วง สภาพความสมบูรณ์ของต้นมะม่วงย่อมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะเป็นตัวกำหนดในการออกดอก การติดผลของมะม่วง เมื่อใดก็ตามที่มะม่วงไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอมะม่วงจะไม่มีการออกดอกติดผล หรืออาจจะมีการออกดอกติดผลบ้าง แต่ก็จะมีการร่วงหล่นหรือเหี่ยวแห้งไปในที่สุด ดังนั้นเพื่อที่จะให้มะม่วงมีความสมบูรณ์และเตรียมพร้อมเพื่อการออกดอก ชาวสวนมะม่วงจึงควรจะเริ่มทำตั้งแต่หลังจากเก็บเกี่ยวผลมะม่วงในปีที่ผ่านมา โดยทำการตัดแต่งกิ่งที่ไม่เหมาะสมออกให้หมด เช่น กิ่งกระโดง กิ่งที่เป็นโรคหรือกิ่งที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์ เป็นต้น ต่อจากนั้นควรใส่ปุ๋ยคอกเพื่อบำรุงดินและต้นมะม่วงไปพร้อมกัน การใส่ปุ๋ยคอกโดยการโรยในแนวพุ่มใบ อัตราต้นละ 10-20 กิโลกรัม และควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือสูตรใกล้เคียงกันในอัตรา 1-2 กิโลกรัม หลังจากที่ได้ใส่ปุ๋ยลงไปแล้ว มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา ในช่วงนี้ต้องคอยระวังไม่ให้แมลงเข้ามากัดกินทำลายใบโดยใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่น และอาจพิจารณาฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีไนโตรเจนสูงควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ใบมะม่วงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ปกติแล้วใบมะม่วงชุดที่ 1 จะเริ่มแก่ในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม และใบอ่อนชุดที่ 2 ก็จะแตกตามมา ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การราดสารเคมีเร่งดอก

2. วิธีการให้สารที่ถูกต้อง ก่อนที่จะทำการราดสารลงไปนั้นควรตรวจสภาพดินบริเวณโคนต้นมะม่วงว่ามีความชื้นพอหรือไม่ เพราะถ้ามีความชื้นน้อยเกินไปจะทำให้สารที่ใช้มีประสิทธิภาพต่ำ นอกจากนี้ก่อนที่จะทำการราดสารนั้นควรมีการกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นมะม่วงออกให้หมด ทั้งนี้เพื่อให้ต้นมะม่วงได้รับประโยชน์จากสารนั้นอย่างเต็มที่ จากการทดลองและศึกษาของนักวิชาการเกษตรหลายท่าน ปรากฏว่า การให้สารที่มีประสิทธิภาพนั้นควรให้สารในระยะที่มะม่วงแตกใบอ่อน ออกมาแล้ว 2 ชุด และใบมะม่วงที่แตกออกมาครั้งหลังนั้นจะต้องอยู่ในระยะที่เรียกว่า ใบพวง

3. พันธุ์มะม่วง การบังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาล นอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว พันธุ์มะม่วงก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นตัวกำหนดว่าการ บังคับให้มะม่วงออกดอกได้มากน้อยแค่ไหน อาทิเช่น พันธุ์มะม่วงที่มีนิสัยการออกดอกง่าย ตัวอย่างเช่นพันธุ์น้ำดอกไม้ ฟ้าลั่น แห้ว หนองแซงและเจ้าคุณทิพย์ จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ดี ส่วนพันธุ์มะม่วงที่ออกดอกค่อนข้างยากเช่น เขียวเสวย แรด หนังกลางวัน จะตอบสนองต่อสารเร่งการออกดอกได้ไม่ดีเท่าที่ควร

วิธีการบังคับหรือชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาล
การชักนำหรือกระตุ้นให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลนั้น สามารถกระทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ได้ผลค่อนข้างแน่นอน ได้แก่ การสุมไฟและการฉีดพ่นด้วยสารเคมี

ข. การฉีดพ่นด้วยสารเคมี การใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นหรือชักนำให้มะม่วงออกดอก เป็นวิธีที่กระทำกันมาช้านานแล้วคือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา ซึ่งมีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล สารเคมีที่ใช้ได้ผลก็มีหลายชนิดและได้พัฒนาให้ดีขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน สารเคมีที่ใช้บังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูกาลได้ค่อนข้างแน่นอนได้แก่

1. สารโปแตสเซียมไนเตรต ประเทศไทยได้นำผลการทดลองการใช้สารโปรแตสเซียมไนเตรทของฟิลิปปินส์มาใช้ในการเร่งออกดอกของมะม่วง ผลปรากฏว่าในครั้งแรกไม่ได้ผล แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะใช้ได้ผล จึงได้ปรับปรุงวิธีปฏิบัติรวมทั้งความเข้มข้นและตัวสารโปแตสเซียมไนเตรท จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2524 ผลปรากฏว่าสารโปแตสเซียมไนเตรทสามารถใช้เร่งให้มะม่วงออกดอกได้ โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้

1. ใช้โปแตสเซียมไนเตรท เกรดปุ๋ย สูตร 13-0-46 ที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีราคาถูก และยังให้ผลได้เท่าเทียมกับเกรดที่สูงกว่า แต่ไม่ควรนำดินประสิวมาบดให้ละเอียดแล้วละลายน้ำแทนการใช้โปแตสเซียมไนเตรท เพราะไม่สะดวกในการเตรียมสารและดินประสิวอาจมีสารเจือปนอื่นๆ ที่เป็นพิษกับพืช ซึ่งมีโอกาสทำให้ใบมะม่วงไหม้ได้

2. ใช้โปแตสเซียมไนเตรท น้ำหนัก 500 กรัม (1/2 กิโลกรัม) ผสมน้ำ 20 ลิตร ก็จะได้โปแตสเซียมเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และควรผสมยาจับใบเพื่อให้สารละลายโปแตสเซียมไนเตรทจับกับผิวใบได้อย่างทั่วถึง ทั้งยังเพิ่มการดูดซึมสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทเข้าสู่ตัวใบได้มากขึ้น

3. ควรทำการฉีดพ่นสารละลายโปแตสเซียมไนเตรทในตอนเช้ามืด ตอนเย็นช่วงเวลาที่ลมสงบ ซึ่งจะมีผลดี 2 ประการคือ เป็นการลดการไหม้ที่บริเวณปลายใบของมะม่วงซึ่งพบว่า หลังจากที่ได้ฉีดพ่นสารละลายไปแล้ว สารละลายจะไหลย้อนไปยังปลายใบมองเห็นเป็นหยดน้ำเกาะอยู่ ถ้าหากทำการฉีดพ่นในเวลาที่มีแดดจัดหรือความชื้นในอากาศมีน้อย จะทำให้น้ำระเหยอย่างรวดเร็วและคงเหลือแต่ปริมาณความเข้มข้นของโปแตสเซียมไนเตรทในอัตราที่สูง ตามบริเวณปลายใบของมะม่วง ซึ่งจะแสดงอาการเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของใบ ทำให้ปลายใบแห้ง ผลดีอีกประการหนึ่งก็คือ การฉีดพ่นในตอนเช้าหรือตอนเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูงจะเป็นการช่วยให้การดูดซึมสารละลายโป แตสเซียมไนเตรทเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

4. การฉีดพ่นสารเพียงครั้งเดียว ภายในระยะเวลา 20 วัน ถ้ามะม่วงยังไม่ออกดอก ก็ให้ฉีดสารดังกล่าวอีกครั้ง ในอัตราเดิม แต่โดยทั่วไปแล้วภายใน 15 วัน นับจากวันเริ่มฉีดสาร มะม่วงก็จะแทงช่อดอกออกมาให้เห็น

การฉีดพ่นสารโปแตสเซียมไนเตรทให้กับต้นมะม่วงเพื่อเร่งการออกดอก ถ้าปฏิบัติถูกต้องแล้วจะสามารถเร่งให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติประมาณ 15-20 วัน โดยไม่เป็นอันตรายหรือมีผลเสียหายต่อต้นมะม่วงแต่ประการใด นอกจากนี้ถ้าคำนึงถึงเรื่องการลงทุนก็เป็นการลงทุนที่ถูกมาก เนื่องจากโปแตส เซียมไนเตรท เป็นสารเคมีที่มีราคาถูก ซึ่งเหมาะกับเกษตรกรที่ไม่ค่อยมีเงินทุนมากนัก


2. ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ (N.A.A.)
ฮอร์โมนเอ็น.เอ.เอ. ที่ใช้เร่งการออกดอกของมะม่วงนี้ มีชื่อการค้าหลายอย่างเช่น แพลนโนฟิกซ์. แพลนนิโมนส์ฟิกซ์. แพนเตอร์. เป็นต้น หลักการทำงานของฮอร์โมนชนิดนี้คือ เมื่อฉีดไปที่ต้นมะม่วงแล้วจะส่งเสริมให้ มะม่วงมีการสังเคราะห์เอทธิลีน.ได้มากขึ้น และเอทธิลีน.นี้เองที่จะเป็นตัวไปกระตุ้นให้มะม่วงออกดอก

วิธีปฏิบัติ ให้ใช้ฮอร์โมนเอ็น.เอ.เอ. ที่มีชื่อการค้าว่า แพลนโนฟิกซ์ อัตรา 3-5 ซี.ซี. ผสมน้ำประมาณ 20 ลิตร และผสมกับโปแตสเซียมไนเตรทอัตรา 300-500 กรัม เมื่อผสมเสร็จแล้ว ให้ทำการฉีดพ่นใบมะม่วงตามธรรมชาติ (เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์) จะทำให้มะม่วงแทงช่อดอกให้เห็นภายหลังจากฉีดสารไปแล้วประมาณ 12 วัน วิธีการนี้จะทำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติถึง 30-40 วัน

3. สารพาโคลบิวทราโซล
เป็นสารในกลุ่มของสารชะลอการเจริญเติบโตของพืช ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ในขณะนี้มี 2 ชนิด คือ คัลทาร์. ซึ่งอยู่ในรูปของเหลวมีความเข้มข้นของเนื้อสาร 10 เปอร์เซ็นต์ และอีกชนิดหนึ่งคือ พรีดิคท์. มีอยู่ 2 รูป คือ ในรูปของเหลว ซึ่งมีความเข้มข้นของเนื้อสาร 25 เปอร์เซ็นต์ กับชนิดผงซึ่งมีความสูงในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ในต้นมะม่วง เป็นฮอร์โมนที่มะม่วงสร้างขึ้นมาได้เองและมีผลต่อการยืดตัวของเซลล์ทำให้กิ่งก้านยืดยาวออก และที่สำคัญคือเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางด้านกิ่ง ก้านและใบ แต่จะยับยั้งการออกดอก ดังนั้นในสภาพใดก็ตามที่ทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ในต้นมากเกินไป ในสภาพที่ดินมีลักษณะชื้นหรือมีน้ำมาก หรือมีปุ๋ยไนโตรเจน.มากเกินไป และในลักษณะตรงกันข้าม หากสภาพดินเป็นดินที่แห้ง มีไนโตรเจน.น้อยหรือได้รับอากาศหนาวเป็นระยะเวลานานพอสมควร ก็จะมีผลทำให้ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.มีน้อยลง ซึ่งผลที่จะตามมาก็คือ การเจริญเติบโตทางด้านกิ่งและใบหยุดชะงักลง และมีการสร้างตาดอกขึ้นมาแทน จากหลักการนี้เองจึงได้มีผู้นำมาใช้ควบคุมการออกดอกของมะม่วง โดยหาทางลดปริมาณฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ลงเพื่อให้มีโอกาสสร้างตาดอกได้มาก ขึ้น และสารพาโคลบิวทราโซล.ก็จัดได้ว่าเป็นสารหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการ สร้างฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน.ได้ดี

ข้อควรคำนึงถึงในการใช้สารพาโคลบิวทราโซล.
การใช้สารชนิดใดก็ตามควรที่จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับสารนั้นให้ถ่องแท้เสียก่อน ทั้งวิธีการใช้ อัตราที่ใช้ ผลกระทบจากการใช้สาร เป็นต้น สารพาโคลบิวทราโซล.ก็เช่นเดียวกัน เกษตรกรหรือชาวสวนที่จะใช้สารนี้ให้ได้ผลดีนั้น ควรที่จะได้มีการคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ
1. พันธุ์มะม่วง มะม่วงบางพันธุ์ที่มีการออกดอกค่อนข้างยากหรือเป็นมะม่วงพันธุ์หนัก การใช้สารก็ย่อมที่จะใช้ในอัตราความเข้มข้นสูงกว่ามะม่วงพันธุ์เบาหรือ มะม่วงที่ออกดอกได้ง่าย ในขณะที่มีขนาดของทรงพุ่มเท่าๆ กัน

2. ขนาดของทรงพุ่ม ต้นมะม่วงที่มีอายุมากหรือมีขนาดของทรงพุ่มใหญ่กว่าจะต้องใช้สารที่มีปริมาณ มากกว่าต้นที่เล็กกว่า และถ้าต้นมะม่วงยังมีทรงพุ่มที่เล็กเกินไปหรืออายุน้อย ก็ยังไม่ควรใช้สารกระตุ้น ต้องรอไปจนกว่ามะม่วงจะพร้อมต่อการออกดอก

3. ต้นมะม่วงที่ราดด้วยสารพาโคลบิวทราโซล.จะต้องมีความแข็งแรงสมบูรณ์ มีระบบรากดี ถ้าต้นมะม่วงยังไม่สมบูรณ์หรือระบบรากไม่ดี ต้องบำรุงรักษาต้นและระบบรากให้สมบูรณ์เสียก่อน ก่อนที่จะกระตุ้นด้วยสารนี้

4. กรณีที่ราดสารพาโคลบิวทราโซล.ให้กับต้นมะม่วงในขณะที่มีแต่ใบแก่ มะม่วงอาจจะแตกใบอ่อนขึ้นมาก่อนที่สารจะแสดงปฏิกิริยา ซึ่งผลดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดจากสารพาโคลบิวทราโซล.

5. ก่อนที่จะทำการราดสาร ควรปรับดินบริเวณโคนต้น รอบทรงพุ่ม รวมทั้งกำจัดเศษใบไม้ เศษหญ้าและวัชพืชออกให้หมด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจจะดูดเอาสารพาโคลบิวทราโซล.เข้าไป ทำให้ต้นมะม่วงได้รับสารนี้น้อยเกินไป

6. ต้นมะม่วงที่ทำการราดสารพาโคลบิวทราโซล. ควรมีรูปทรงที่โปร่ง แสงแดดส่องได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะช่วยทำให้ช่อดอกของมะม่วงเจริญได้ดี

7. สวนมะม่วงที่ใช้สารพาโคลบิวทราโซล. จะต้องมีระบบการชลประทานอย่างดี และสามารถเปิดใช้ได้ทุกเวลาตามความต้องการ ส่วนในสวนมะม่วงที่มีปัญหาในเรื่องระบบชลประทานนั้น ควรพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ก่อนที่จะใช้สารนี้

วิธีการใช้สารพาโคลบิวทราโซล.
การใช้สารพาโคลบิวทราโซล.เพื่อผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลนี้ จากการทดลองของนักวิชาการเกษตรทั้งหลายต่างลงความเห็นกันว่า วิธีที่เหมาะสมที่สุดก็คือ การรดสารลงบริเวณโคนต้นหรือรอบทรงพุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากสารนี้ถูกดูดซึมเข้าทางรากได้ดี ส่วนอัตราความเข้มข้นของการใช้สารนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและขนาดของทรงพุ่ม กล่าวคือ ในต้นมะม่วงที่มีอายุมากและทรงพุ่มกว้างจะใช้สารมากกว่ามะม่วงที่มีอายุน้อย และขนาดของทรงพุ่มเล็กกว่า ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ภายหลังจากที่ได้ใช้สารไปประมาณ 2-3 เดือน มะม่วงก็จะเริ่มออกดอกโดยเฉพาะพันธุ์ที่ออกดอกง่ายหรือพันธุ์เบา เช่น น้ำดอกไม้ เจ้าคุณทิพย์ ฟ้าลั่น หนองแซงและศาลายา เป็นต้น แต่อาจจะมีบางต้นที่ไม่ออกดอกเนื่องจากมีการพักตัวนานเกินไปก็จำเป็น ต้องกระตุ้นการแตกตาดอกด้วยสารโปแตสเซียมไนเตรท ความเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ (ใช้โปรแตสเซียมไนเตรท 500 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือกระตุ้นด้วยสารไทโอยูเรีย ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้เกิดการแตกตาดอกได้พร้อมกันทั้งต้น ภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์ หลังจากฉีดพ่นสารนี้ไปแล้ว

การใช้สารพาโคลบิวทราโซลนี้ สามารถที่จะกำหนดเวลาของการออกดอกและการเก็บเกี่ยวได้ตามความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการให้มะม่วงออกดอกและเก็บเกี่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ (ประมาณวันที่ 25-30 ธันวาคม) ก็ต้องนับวันย้อนขึ้นไปเป็นขั้นตอนแล้วเริ่มใช้สารนี้ และเพื่อเป็นการสะดวกรวมทั้งง่ายต่อการปฏิบัติจึงได้เขียนแผนภูมิและกำหนด วันที่จะปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้

3. สารไทโอยูเรีย. หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไทโอคาร์บาเมท. มีชื่อการค้าหลายชนิดเช่น ไทโอเม็ต. ไทโอแมกซ์.และคอมมานด์. เป็นต้น จัดเป็นสารเคมีชนิดใหม่ล่าสุดที่ได้นำมาทดลองเพื่อใช้เร่งการออกดอกและแตกใบ อ่อนของมะม่วง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการใช้สารโปแตสเซียมไนเตรท. และพาโคลบิวทราโซ ล.ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น และควรจะใช้เมื่อมีกรณีที่จำเป็นดังนี้คือ
1. มะม่วงบางพันธุ์อาจจะเกิดอาการใบไหม้ เมื่อฉีดพ่นด้วยสารโปแตสเซียมไนเตรท. หรือบางพันธุ์เร่งการออกดอกด้วยโปแตสเซียมไนเตรท.แล้วไม่ค่อยได้ผล ในลักษณะเช่นนี้ก็สามารถใช้สารไทโอยูเรีย.แทนได้

2. มะม่วงที่กระตุ้นด้วยสารพาโคลบิวทราโซล.แล้ว อาจจะไม่แตกใบอ่อนหรือมีสารพาโคลบิวทราโซล.ตกค้างอยู่ในต้นมากเกินไป จนทำให้ไม่สามารถแตกใบอ่อนได้ ในกรณีเช่นนี้สามารถแก้ไขได้โดยฉีดพ่นไทโอยูเรีย. 1-2 ครั้ง มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา

สำหรับอัตราหรือความเข้มข้นของเนื้อสารที่ใช้ฉีดพ่นใบมะม่วงนั้น จากการทดลองของนักวิชาการเกษตรปรากฏว่า ใช้สารไทโอยูเรีย.ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ จะให้ผลดีที่สุด โดยทำการฉีดพ่นให้ทั่วต้นมะม่วงในระยะที่ใบแก่จัด ซึ่งสามารถกระตุ้นให้มะม่วงแตกตาได้ภายในเวลา 2 สัปดาห์หลังจากใช้สาร แต่อย่างไรก็ตามสารไทโอยูเรีย.นี้จะมีคุณสมบัติช่วยในการกระตุ้นการแตกตาเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนช่วยในการสร้างตาดอกหรือตาใบแต่อย่างใด ดังนั้นถ้าตายอดของมะม่วงเป็นตาใบอยู่แล้ว เมื่อฉีดพ่นสารไทโอยูเรีย. มะม่วงก็จะแตกใบอ่อนออกมา แต่ถ้าตานั้นเป็นตาดอก มะม่วงก็จะแทงช่อดอกออกมา ฉะนั้นก่อนที่จะใช้สารชนิดนี้จะต้องศึกษาให้รอบคอบเสียก่อนทั้งวิธีการใช้ อัตราการใช้ สภาพท้องถิ่นที่จะใช้สารตลอดจนผลดี ผลเสียหรือผลตกค้างของสารชนิดนี้



ที่มา http://202.129.0.133/plant/mango/6.html
IP : บันทึกการเข้า
jukgree
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 492


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 02 ธันวาคม 2013, 17:04:45 »

ปุ๋ยเกร็ด (NPK=0-52-34) Mono Potassium phosphate 0-52-34 (MKP)
บรรจุ 1 กิโลกรัม
ราคา  135  บาท
อัตราที่ใช้  50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
ประกอบด้วย ธาตุไนโตรเจน 0%  ธาตุฟอสเฟสที่เป็นประโยชน์ 52%   
โพแทชที่ละลายน้ำ 34% รวมปริมาณธาตุอาหารสูงถึง 86%   
สามารถละลายน้ำและพืชดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้บริสุทธิ์ 100% ละลายง่ายไม่มีตะกอน
วิธีใช้
1.ละลายน้ำเพื่อเป็นธาตุอาหารสำหรับผักไฮโดรโปรนิกส์
2.ละลายน้ำฉีดพ่นกับพืชโดยตรงเพื่อเป็นธาตุอาหารสำหรับพืช โดยพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารผ่านทางปากใบและพืชสามารถนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็วกว่าปุ๋ยทางราก
3.พ่นเป็นละอองเล็กๆ พอเปียกทั่วใบและทุกส่วนของพืชทุก 7-10 วัน

ประโยชน์

1.ยับยั้งการแตกใบอ่อนของพืชได้อย่างเด็ดขาดป้องกันปัญหาผลร่วงได้ดีเป็นพิเศษ

2.กระตุ้นการออกดอกอย่างรวดเร็ว เพิ่มปริมาณดอก ทำให้ติดผลดก

3.เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มขนาด เพิ่มรสชาติความหวาน และสีสัน


สำหรับนาข้าว
เร่งดอกดี เมล็ดเต็ม ยับยั้งการเจริญเติมโตทางด้านสูง ต้นไม่สูงมากข้าวล้มน้อย ใช้ร่วมกับฮอร์โมนไข่สุดยอดครับ แล้วอย่าลืมให้แคลเซียมโบรอนด้วยนะครับ ให้พร้อมกันเลย
IP : บันทึกการเข้า
jukgree
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 492


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 02 ธันวาคม 2013, 17:05:35 »

ปุ๋ยเกร็ด(NPK=0-42-56) Tetra Potassium pyro Phosphate 0-42-56 (TKPP)

บรรจุ 1 กิโลกรัม
ราคา  185  บาท
อัตราที่ใช้  50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
ประกอบด้วย ธาตุไนโตรเจน 0%  ธาตุฟอสเฟสที่เป็นประโยชน์ 42%   
โพแทชที่ละลายน้ำ 56% รวมปริมาณธาตุอาหารสูงถึง 98%     
สามารถละลายน้ำและพืชดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้บริสุทธิ์ 100% ละลายง่ายไม่มีตะกอน

วิธีใช้
1.ละลายน้ำเพื่อเป็นธาตุอาหารสำหรับผักไฮโดรโปรนิกส์
2.ละลายน้ำฉีดพ่นกับพืชโดยตรงเพื่อเป็นธาตุอาหารสำหรับพืช โดยพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารผ่านทางปากใบและพืชสามารถนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็วกว่าปุ๋ยทางราก
3.พ่นเป็นละอองเล็กๆ พอเปียกทั่วใบและทุกส่วนของพืชทุก 7-10 วัน
ประโยชน์       

1.ยับยั้งการแตกใบอ่อนของพืชได้อย่างเด็ดขาดป้องกันปัญหาผลร่วงได้ดีเป็นพิเศษ

2.กระตุ้นการออกดอกอย่างรวดเร็ว เพิ่มปริมาณดอก ทำให้ติดผลดก

3.เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มขนาด เพิ่มรสชาติความหวาน  และสีสัน

ประโยชน์และการใช้
ใช้ร่วมกับแม่ปุ๋ยประเภทฟอตเฟตและไนโตรเจนเพื่อใช้กับผักและผลไม้มีสภาพความเป็นด่าง ช่วยยับยั้งการแตกใบอ่อน ป้องกันผลร่วง เร่งการออกดอก เพิ่มคุณภาพผลผลิต



IP : บันทึกการเข้า
jukgree
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 492


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 02 ธันวาคม 2013, 17:06:10 »

ปุ๋ยเกร็ด(NPK=0-0-60) Muriate of Potash 0-0-60(MOP)
บรรจุ 1 กิโลกรัม
ราคา  85  บาท
อัตราที่ใช้  50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
ประกอบด้วย ธาตุไนโตรเจน 0%  ธาตุฟอสเฟสที่เป็นประโยชน์ 0%   
โพแทชที่ละลายน้ำ 60% รวมปริมาณธาตุอาหารสูงถึง 60%     
สามารถละลายน้ำและพืชดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้บริสุทธิ์ 100% ละลายง่ายไม่มีตะกอน

วิธีใช้
1.ละลายน้ำเพื่อเป็นธาตุอาหารสำหรับผักไฮโดรโปรนิกส์
2.ละลายน้ำฉีดพ่นกับพืชโดยตรงเพื่อเป็นธาตุอาหารสำหรับพืช โดยพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารผ่านทางปากใบและพืชสามารถนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็วกว่าปุ๋ยทางราก
3.พ่นเป็นละอองเล็กๆ พอเปียกทั่วใบและทุกส่วนของพืชทุก 7-10 วัน


ประโยชน์
สามารถละลายน้ำได้และพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารเข้าทาง
ราก และทางใบเหมาะสำหรับใช้ทำปุ๋ยเกร็ด ผสมใช้กับพืชผัก พืชหัวและ
ไม้ผล โดยใช้ร่วมกับแม่ปุ๋ยฟอสเฟตและไนโตรเจน


อาการขาดธาตุอาหารของพืช

โปตัสเซียม   K   ใบแก่มีอาการไหม้เริ่มจากที่ปลายใบ แผ่นใบจะโค้งลงหรือม้วนจากปลายใบ ใบอ่อนจะมีจุดประสีแดงหรือเหลืองระหว่างเส้นใบ


IP : บันทึกการเข้า
jukgree
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 492


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 02 ธันวาคม 2013, 17:07:13 »

ต้องการปุ๋ยเกร็ดสูตรอื่นๆ บอกมาได้เลยครับ จะจัดหาให้ครับ  ยิ้มเท่ห์
IP : บันทึกการเข้า
jukgree
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 492


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม 2015, 21:04:17 »

ปุ๋ยเกร็ดพืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้โดยตรงครับ ทำให้พืชเจริญเติบโตดีครับ  ยิ้มเท่ห์
IP : บันทึกการเข้า
jukgree
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 492


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 05 กุมภาพันธ์ 2015, 22:27:04 »

เอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย จากเกษตรลุงคิม มาฝากครับ

สตรอเบอร์รี่ ซื้อไม่อร่อย สตรอเบอร์รี่เชียงรายอร่อย เพราะอะไร....?
ตอบ :
- สตรอเบอร์รี่ซื้อ สถานที่ซื้อไม่สำคัญ แต่สถานที่ปลูกสำคัญกว่า .... คิดดู สตรอเบอร์รี่ ปลูกเชียงราย กับปลูกนราธิวาส เหมือนกันเหรอ

- ปลูกเชียงรายเหมือนกัน แปลงติดกัน แปลงหนึ่งบำรุงแบบ อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของสตรอเบอร์รี่ เน้นธาตุรอง ธาตุเสริม แคลเซียม โบรอน กับอีกแปลงหนึ่ง บำรุงแบบเคมีบ้าเลือด ไม่ธาตุรอง ไม่ธาตุเสริม ไม่แคลเซียม โบรอน แปลงแรกย่อมอร่อยกว่าแปลงหลังแน่นอน

--------------------------------------------------------------
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=4805
IP : บันทึกการเข้า
jukgree
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 492


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2015, 20:49:21 »

เอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย จากเกษตรลุงคิม มาฝากครับ
ลำไย กาญจนบุรี ผลเล็ก แก้ไขอย่างไร....?
ตอบ :
* สูตร ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ เริ่มให้ตั้งแต่เป็นผลเล็ก :
- ทางใบ : ให้ 21-7-14 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + ไคโตซาน + อะมิโน โปรตีน ทุก 10วัน .... ทุกวันพุธแรกของเดือนให้แคลเซียม โบรอน..... ทุกวันพุธที่สามของเดือนให้น้ำตาลทางด่วน

- ทางราก : ให้ 21-7-14 (1/2-1 กก.) /ต้น /15 วัน

หมายเหตุ :
– ปุ๋ยทางใบจะเกิดประสิทธิภาพดีต่อเมื่อ ต้นมีความสมบูรณ์รองรับ ความสมบูรณ์ของต้นมาจากการบำรุงอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ทั้งช่วงมีผลบนต้นและขณะมีผลบนต้น ทั้งทางใบและทางราก ....

– บำรุงช่วงไม่มีผลบนต้น :
* ทางใบ : ให้แม็กเนเซียม. สังกะสี. แคลเซียม โบรอน. น้ำตาลทางด่วน.
*ทางราก : ใส่ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ ให้น้ำหมักชีวภาพเดือนละครั้ง ให้ปุ๋ยเคมีสูตรตามระยะพัฒนาการ อัตรา 1/2 - 1 กก./ต้น /เดือน ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

-----------------------------------------------------

จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ปุ๋ยลำไยมีกี่สูตร....?
ตอบ :
@@ ตามระยะพัฒนาการ :
1. เรียกใบอ่อน : ทางใบ 25-5-5 ....................................... ทางราก 25-7-7
2. สะสมตาดอก : ทางใบ 0-42-56 .................................... ทางราก 8-24-24
3. ปรับ ซี/เอ็น เรโช : ทางใบ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ......................... ทางราก งดน้ำงดปุ๋ย
4. เปิดตาดอก : ทางใบ 13-0-46 ...................................... ทางราก 8-24-24
5. บำรุงดอก : ทางใบ 15-30-15 (หน้าแล้ง) 0-52-34 (หน้าฝน) ... ทางราก 8-24-24
6. บำรุงผลเล็ก : ทางใบ 21-7-14 ..................................... ทางราก 21-7-14
7. บำรุงผลกลาง : ทางใบ 21-7-14 .................................... ทางราก 21-7-14
8. บำรุงผลแก่เก็บเก็บเกี่ยว : ทางใบ 0-21-74 .......................... ทางราก 13-13-21

หมายเหตุ :
- สังเกตุ ! .... ที่นี่ไม่มีสูตรเสมอ (15-15-15, 16-16-16 = สูตรสิ้นคิด)

- ทั้งหมดนี้เฉพาะธาตุหลัก (N P K) อย่างเดียว .... ธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมน ต้องว่ากันอีกต่างหาก เรื่องนี้ยาว เขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆ พูด 3วัน 4คืนไม่จบ

- ในแต่ละขั้นตอนหลัก (8 ขั้นตอน) ยังมี "ขั้นตอนย่อย" อีกหลายรายการ เช่น เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่, กดใบอ่อนสู้ฝน, บำรุงผลต่างรุ่น, บำรุงผลรุ่นเดียวกัน, ฯลฯ

- ปุ๋ยแต่ละสูตรที่ว่ามา หน้าตาเป็นยังไง ? ใช้ยังไง ? ใช้เท่าไหร่ ? ที่ไหนมีขาย ? ราคาเท่าไหร่ ? อีกหลายๆหัวข้อที่่คนระดับ "มืออาชีพ" เขารู้ .... ถามว่า รู้แล้วดีหรือไม่ดีล่ะ ?

– ดังกล่าวแล้วว่าปุ๋ยไม่ใช่ของวิเศษ ถ้าปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ดิน-น้ำ/แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สายพันธุ์-โรค ไม่เหมาะสม ให้ปุ๋ยไปก็ไร้ประโยชน์

- รูปแบบการเกษตร .... บางพืช อินทรีย์นำ-เคมีเสริม.... บางพืช เคมีนำ-อินทรีย์เสริม.... ต้องพิจารณาใช้ ตามความเหมาะสมของพืชนั้นๆ เช่น มะเขือพริกเปรียบเทียบกับลำไยทุเรียน ย่อมไม่ได้

- สมการปุ๋ย :
ปุ๋ยถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
ปุ๋ยถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง

* ปุ๋ยถูก หมายถึง ถูกสูตร ถูกประเภท ถูกอัตรา ถูกชนิด และอื่นๆที่เกี่ยวกับตัวปุ๋ย
* ใช้ถูก หมายถึง ถูกดิน ถูกน้ำ ถูกอุณหภูมิ ถูกระยะ ถูกชนิด ถูกวิธี และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับพืช
* ไม้ผลทุกชนิด ใช้สูตรนี้เป็นพื้นฐาน แล้วปรับบางตัวสำหรับพืชบางชนิดและบางปัจจัยพื้นฐานที่ต่างกัน

* เรื่องนี้เหมือนยาก ถ้าทำเป็นแล้วไม่ยาก ถ้าทำไม่เป็นก็ยากเป็นธรรมดา เชื่อเถอะ ไม่มีใครรู้อะไรมาตั้งแต่เกิดหรอก พระศาสดายังทรงเรียนหนังสือ เพราะเราไม่ได้เรียนเรื่องนี้มาก่อน ก็ต้องมาเรียนเอาตอนโตนี่แหละ เรียนโดยการปฏิบัติไปเลย เรียนแล้วรู้แล้วจะอยู่กับเราไปตลอดชีวิต ขยายผลต่อยอดไปเป็นอย่างอื่นได้อีก .... งานแรก ขอให้ทำความรู้จักปุ๋ยสูตรต่างๆก่อนว่า "หน้าตาเป็นยังไง-มีขายที่ไหน-ราคาเท่าไหร่-ผสมยังไง-ใช้ยังไง-ใช้เดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับอย่างอื่น-ฯลฯ" เป็นต้น เท่าที่ประสบมาบอกได้ว่า ยากที่ใจ เพราะใจไม่เอานี่แหละถึงได้ยาก แม้แต่ที่ซื้อมาใช้ๆนั้นน่ะ ถามจริง มันใช่เหรอ ? มีความรู้แค่โฆษณาหรือเปล่า ? หลงกระแสหรือเปล่า ? ใครๆก็ทำได้ ยกเว้นเราหรือเปล่า ?
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=4491
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!