เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 05:52:13
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  +++ถนน R3a ท่าเรือเชียงแสน 2 และโครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4+++
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 [14] 15 16 พิมพ์
ผู้เขียน +++ถนน R3a ท่าเรือเชียงแสน 2 และโครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4+++  (อ่าน 151965 ครั้ง)
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #260 เมื่อ: วันที่ 04 มีนาคม 2013, 20:24:24 »

ทช.หนุนโลจิสติกส์ผังเมืองเชียงรายรับมือจราจรคับคั่ง

http://www.thairath.co.th/content/eco/330296
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #261 เมื่อ: วันที่ 06 มีนาคม 2013, 22:39:38 »

เชียงของ 1 เมือง 2 แบบ

โดย : นิภาพร ทับหุ่น


เมื่อเมืองเล็กๆ ริมแม่น้ำโขงกำลังถูกกระแส AEC เจาะจงให้เป็น "เมืองเศรษฐกิจ" ชีวิตของผู้คนในเมืองนั้นจะเป็นอย่างไร และ "ใคร" กำหนด

รถยุโรปคันนั้นจอดนิ่งอยู่บนลานจอดรถบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมีรถหรูป้ายทะเบียนภาษาจีนอีกเกือบ 20 คัน จอดไล่เรียงกันไปเต็มพื้นที่ นี่ยังไม่นับรวมที่จอดระเกะระกะอยู่ตามซอกเล็กๆ หน้าอาคารต่างๆ หรือแม้แต่บนช่องทางจราจรที่มีป้าย "ห้ามจอด" ก็ดูเหมือนจะไม่มีความหมายใดๆ เพราะทุกมุมกลายเป็นพื้นที่ "จอดได้" สำหรับรถป้ายทะเบียนจีนไปหมดแล้ว

เมืองเล็กๆ ที่เคยสงบงามอยู่ริมลำโขงอย่าง เชียงของ กำลังถูกรุกรานอย่างหนักจากคาราวานรถยนต์ของจีนที่เพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี โดยเฉพาะปีนี้ (2556) ที่ภาพยนตร์ Lost in Thailand ได้รับความนิยม ทำให้เกิดกระแสท่องเที่ยวตามรอยหนังและมีคาราวานรถยนตร์จากจีนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวภายในประเทศไทยผ่านการใช้ท่าเรือบั๊คเป็นจำนวนมากกว่า 2,000 คันภายในเวลา 2 เดือน

ไม่เพียงเท่านั้น รถบรรทุกคันโตอีกวันละหลายสิบคันก็ใช้ถนนเล็กๆ ภายในตัวเมืองเชียงของเป็นทางผ่านในการขนถ่ายสินค้า เมื่อรถบรรทุกขนาดใหญ่โคจรมาพบกับรถหรูไร้วินัย ปัญหาการจราจรจึงเกิดขึ้นและลุกลามจนเกือบจะกลายเป็นการจราจลให้คนเชียงของต้องปวดหัวไปตามๆ กัน

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กำลังคืบคลานเข้ามาในอีก 2 ปี สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) กำลังจะเปิดใช้บริการในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ถามว่า ในฐานะจุดเชื่อมต่อที่อยู่ใกล้กับมหาอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่อย่างจีน เชียงของเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่ใกล้เข้ามานี้หรือยัง เพราะไม่เพียงแค่เรื่องของถนนหนทาง หรือสาธารณูปโภคพื้นฐานเท่านั้นที่จะกลายเป็นปัญหา แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นยังกระทบไปถึงวิถีชีวิต เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และสังคมของคนเชียงของในทุกๆ ด้านอีกด้วย

เมื่อการพัฒนาเพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้าเป็นนโยบายระดับชาติที่ไม่อาจทัดทานได้ ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่คนเชียงของจะต้องเตรียมตัวตั้งรับโดยที่ไม่ลืมที่จะรักษา "รากแห่งวัฒนธรรม" และความเป็น "เชียงของ" ที่งดงามไว้ด้วย

เมืองสงบในวันวาน

แม้จะเป็นเมืองในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยกับเมืองหิรัญนครเงินยาง(เชียงแสน) แต่ก็ดูเหมือนว่า "เชียงของ" เพิ่งจะเป็นที่รู้จักในหมู่สาธารณชนวงกว้างเมื่อราว 20 กว่าปีที่ผ่านมานี้เอง

ปี 2532-2533 พลเอกชาติชาย ชุณหวัณ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ได้ดำเนินนโยบายทางการทูตแนวใหม่ คือ "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า" และมีการสำรวจแม่น้ำโขงตั้งแต่ประเทศจีนลงมา กระทั่งถึงเชียงของซึ่งเคยเป็นเมืองค้าขายที่สำคัญในอดีตแต่ถูกปิดตัวลงเพราะปัญหาสงครามและการเมือง บทบาทศูนย์กลางการค้าขายจึงกลับมาสู่เมืองเชียงของอีกครั้ง ในยุคนั้นเริ่มมีผู้คนอพยพเข้ามาทำการค้า และก็มีอาชีพใหม่เกิดขึ้น นั่นก็คือ การท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยวประเภทแบกเป้ไม่มีใครไม่รู้จักเชียงของ เพราะที่นี่เป็นจุดล่องเรือที่จะพาทุกคนไปสู่เมืองมรดกโลก-หลวงพระบางได้อย่างง่ายดายที่สุด แน่นอนว่า สินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นที่พัก ร้านอาหาร แต่ทั้งหลายนั้นก็ยังมี "ขนาดเล็ก" ล้อกันไปกับเมืองเล็กๆ อย่างเชียงของ

นิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา เล่าว่า เชียงของเริ่มเติบโตอีกครั้งเมื่อมีโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ อันประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ คือ จีน พม่า ลาว และไทย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และเพิ่มอำนาจการเจรจาต่อรองทางการค้า เมื่อมองว่าอนาคตของเชียงของยังไปได้อีกไกลจึงมีคนต่างถิ่นและนายทุนเข้ามากว้านซื้อที่ดินไว้มาก จากราคาไม่ถึงหนึ่งแสนบาทต่อไร่ก็ขยับมาซื้อขายกันที่ 1 ล้านบาท และตลาดที่ดินก็ถูกปั่นขึ้นไปจนถึง 5-6 ล้านบาท เมื่อมีการประกาศเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมถึงโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย)

"ทุกคนเข้ามาเพราะอ่านเกมได้ว่า นี่คือเมืองหลวงของการค้าขาย แล้วสะพานเชียงของไม่เหมือนสะพานหนองคาย ไม่เหมือนสะพานมุกดาหาร สะพานนี้(เชียงของ-ห้วยทราย)จะเป็นสะพานที่คนใช้มาก อาจจะเรียกว่ามากที่สุดก็ได้ เพราะว่าคนจีนก็เข้ามา คนลาวก็เข้ามา ฉะนั้นเมืองเชียงของจะต้องเปลี่ยนไปมากมายแน่นอน"

แต่ยังไม่ทันที่สะพานมิตรภาพแห่งล่าสุดจะเปิดใช้ คนทั้งอาเซียนก็ได้ทำความรู้จักกับถนนมิตรภาพที่เรียกว่า R3A ถนนสายนี้เป็นถนนที่เชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงไว้ด้วยกัน โดยมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ตัดเข้าสู่ สปป.ลาว ที่เมืองห้วยทรายแขวงบ่อแก้ว แล้วไปจบที่แคว้นสิบสองปันนา มณฑลคุนหมิงในจีน ซึ่งความสำคัญของถนนสายนี้ไม่ใช่แค่การคมนาคมธรรมดาทั่วไป แต่ยังถูกวางให้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้า(โลจิสติกส์) ที่ทั้งสะดวกสบายและย่นระยะเวลาได้มากมายทีเดียว

"จากการใช้เส้นทาง R3A ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา เราพบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นว่า การนำเข้าสินค้าจากเพื่อนบ้านเราไม่ว่าลาวหรือจีน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากจีนจะเยอะขึ้นเรื่อยๆ ผักผลไม้เมืองหนาว และสินค้าราคาถูกหลายๆ ตัวที่มีความต้องการในประเทศ ผมดูว่ามันเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ส่วนสินค้าบ้านเราผ่านตู้คอนเทนเนอร์ไปก็มีเหมือนกัน ผักผลไม้เมืองร้อนเฉพาะฤดูกาล แต่ในบางช่วงที่เราเข้าไปขายในบ้านเขาปัญหาอุปสรรคที่เราเจอคือ ต้องมีใบรับรอง เชียงของมีสวนผลไม้ในพื้นที่เหมือนกับจันทบุรี แต่เราไปจีนไม่ได้เพราะขาดใบอนุญาตจากภาครัฐ" สงวน ซ้อนกลิ่นสกุล รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย ฝ่ายพัฒนาระบบโลจิสติกส์ พ้อ

นิวัฒน์ เสริมว่า นอกจากจะเป็นต้นทางของถนนสาย R3A หรือจุดเริ่มต้นของการขนส่งสินค้าชายแดนแล้ว เชียงของยังเป็นจุดผ่านของการท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ใช้เส้นทางนี้ผ่านเข้าประเทศไทย แล้วมาแวะใช้บริการหลายๆ อย่างในเมืองเชียงของ จนเกิดภาพแห่งความโกลาหลขึ้น

"ทุกวันนี้รถของจีนเข้ามาเยอะมาก แล้วก็เกิดอุบัติเหตุ ทะเลาะกับคนท้องถิ่น เพราะใช้กฎจราจรไม่เหมือนกัน ผมคิดว่านี่เป็นตัวอย่างของวิธีคิดของรัฐไทยด้วยนะ เรื่องการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ถ้าคิดแบบนี้ตายเลย ถ้าเป็นผมท่องเที่ยวแบบนี้ไม่ได้ คนจีนเข้ามาเที่ยวประเทศไทยได้ แต่รถเข้ามาต้องเสียแพงนะ ยกตัวอย่างว่า เสียคันละ1-2 หมื่นถึงจะเข้าได้ แต่ถ้าเข้ามาเที่ยวได้ ผมมีรถให้คุณ มีไกด์ให้ มีคนขับให้ มีเส้นทางท่องเที่ยว แบบนี้คนท้องถิ่นถึงจะอยู่ได้ แต่นี่ปล่อยรถเข้ามาเป็นพันๆ คัน แล้วก็ไปเรื่อยๆ เลย แบบนี้มันเป็นวิธีคิดการจัดการท่องเที่ยวที่ไม่มีกึ๋น...คำว่าเสรี บ้านเรามันปิดเสรี ไม่รู้ว่าเสรีคืออะไร เราเข้าไปเมืองจีนยากมาก แต่ทำไมเขาเข้ามาบ้านเราง่ายมาก เมืองจีนเราเข้าไปเขาวางกินเราไว้ตลอดทาง แต่บ้านเรา...คือวิธีคิดมันคนละอย่างกัน เชียงของขณะนี้อยู่ในช่วงของวิกฤต ถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนต้องมาช่วยกัน"

มองอนาคตแล้วประธานเครือข่ายฯ มองเห็นแต่ภาพเชียงของในด้านลบ ทั้งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ขีดจำกัด และวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่จะค่อยๆ ถูกกลืนไป นั่นทำให้คนเชียงของเกิดการตื่นตัวครั้งใหญ่ นำมาสู่การระดมความเห็นและวางอนาคตที่ควรจะเป็นให้กับอำเภอเชียงของ

"ที่ผ่านมาคนเชียงของก็ได้พูดคุยกัน เรามีการตั้งโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้เมืองเชียงของเจริญเติบโตได้ และอยู่ได้ด้วยตัวของตัวเอง ในเชิงวิถีวัฒนธรรมจะใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างไร เรื่องการค้าก็ปฏิเสธไม่ได้ แต่คิดว่าจะทำยังไงให้สองแบบนี้อยู่ด้วยกันได้ ก็มีการพูดคุยกันถึงเรื่อง 1 เมือง 2 แบบ ขึ้นมา"

ภาพฝันบนการเปลี่ยนแปลง

รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม หัวหน้าคณะผู้วิจัยโครงการภูมิวัฒนธรรม ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า มองโดยรวมภาคประชาคมของเชียงของถือว่ามีศักยภาพมาก เพราะทุกภาคส่วนสามารถประสานงานกันได้อย่างราบรื่น

"ผมว่ามีศักยภาพในการต่อรองกับรัฐได้ แต่ต้องระมัดระวังให้การวางแผนมันรอบคอบ ผมสนใจที่บอกว่าจะแยกเมืองเป็น 2 แบบ ผมเห็นด้วย จุดเด่นของเชียงของอยู่ที่เมืองโบราณตรงนี้ ซึ่งแม่สายไม่มี ไม่ชัด เชียงแสนไม่ต้องพูดถึง เพราะมันละลายเป็นที่ของเอกชนไปหมด เลอะเทอะ แต่ภาพของผังเมืองเชียงของยังเพอร์เฟกต์ที่สุด มีกำแพงคูน้ำคันดิน แล้วคนที่อยู่ด้วยก็อยู่ด้วยกันได้ รวมทั้งวัดต่างๆ ที่รวมอยู่ มันทำให้เชียงของเป็น Living Historic Cityเพราะฉะนั้นมันจะต้องมองเป็นภาพ Living Historic City แล้วรักษาตรงนี้ไว้ และจะเป็นไฮไลท์สำหรับการพัฒนาเรื่องต่างๆ ผมว่าเชียงของสร้างเมืองประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตได้ดีที่สุด เพราะว่าคนในยังอยู่ ขอให้จัดการให้ได้จะเห็นภาพ และจะเป็นเมืองท่องเที่ยวที่เราไม่แชร์กับใคร ไม่ต้องง้อใครเขา ต้องวางแผนให้ดี"

ด้านประธานเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา อธิบายว่า สาระสำคัญของแนวคิดในการพัฒนาอยู่ที่การจัดแบ่งพื้นที่อำเภอเชียงของจากเอกลักษณ์ที่มีอยู่ ตามบริบททางประวัติศาสตร์และฐานการผลิตเดิม แล้วนำมาต่อยอดให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเชียงของสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ นั่นคือ เขตเมืองเก่าและเขตเมืองใหม่

เขตเมืองเก่า (เวียงเชียงของ) กินพื้นที่เมืองเก่าและพื้นที่โดยรอบที่เป็นฐานการผลิตทางเศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยวเดิม รวมถึงวัดในเขตเมืองหลายแห่ง ส่วนเขตเมืองใหม่จะมีโครงการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าการลงทุนเข้ามารองรับ โดยกำหนดให้อยู่นอกเมืองเก่าออกไปบริเวณโดยรอบเชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 และพื้นที่ใกล้เคียง

"เมืองเก่าเมืองใหม่เป็นลักษณะการวางรูปธรรมของการพัฒนาที่ไม่ให้สับสน ให้มีความชัดเจนเพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ที่เราจะเดิน ตอนนี้เป็นขั้นการเตรียมและพูดคุยกัน ภายในเดือนมีนาคม-เมษายน 2556 ยุทธศาสตร์จะต้องเสร็จ ซึ่งเราคิดว่าการทำยุทธศาสตร์ครั้งนี้จะเป็นการทำยุทธศาสตร์ของบ้านเมืองที่มีส่วนร่วมของภาคประชาชนมากที่สุด เพราะที่ผ่านมายุทธศาสตร์ของเชียงของถูกจัดการโดยคนบางกลุ่ม หรือไม่มีส่วนร่วมของภาคประชาชนโดยแท้จริง ครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งที่ 1 หรือครั้งสำคัญ ครั้งเปลี่ยนแปลง พ่อค้า ประชาชน ชาวบ้าน ภาคประชาสังคมทุกส่วนมาร่วมกันทำ"

ด้าน ธวัชชัย ภูเจริญยศ ปลัดอำเภอ หัวหน้ากลุ่มบริหารงานปกครอง อำเภอเชียงของ กล่าวว่า ในฐานะเมืองชายขอบที่เป็นประตูสู่อาเซียน เชียงของจำเป็นต้องออกแบบเมืองให้ชัดเจน

"ผมเคยได้คุยกับท่านเจ้าแขวงหลวงพระบาง ท่านเล่าให้ฟังว่า หลวงพระบางเขาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือเมืองเดิมกับเมืองใหม่ ในประเทศจีนก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน เขาใช้วิธีบังคับได้ แต่บ้านเราทำไม่ได้เพราะว่า จารีต เสรีชน เสรีภาพ มันทำให้ต่างคนต่างคิด ข้าราชการบอกให้คุณย้ายออกไปจากตรงนี้ เดี๋ยวเขาร้องศาลปกครอง มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ยากมาก แต่ถ้าเราค่อยๆ จัดระบบ อาจจะเริ่มจากส่วนราชการตรงนี้ก่อน ผมได้แนวคิดจากครูตี๋(นิวัฒน์ ร้อยแก้ว) ว่าอยากได้ตรงนี้เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม หน้าที่ของพวกผมคือต้องออกจากตรงนี้ให้เร็วที่สุด"

ปลัดอำเภอเชียงของหมายถึง การย้ายศูนย์กลางการติดต่อราชการออกไปอยู่ในเขตเมืองใหม่ แล้วยกพื้นที่เดิมนั้นให้เป็น "ศูนย์วัฒนธรรมนิทัศน์อำเภอเชียงของ" เพื่อเป็นศูนย์กลางของเมืองในการทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมความรู้ทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาด้านต่างๆ ของคนในชุมชนเชียงของ รวมถึงเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวทั้งระบบ เพื่อให้เกิดการพัมนาอย่างยั่งยืน

"หน้าที่ของราชการคือต้องขับเคลื่อนตรงนี้ให้ได้ ที่สำคัญคือต้องนำเสนอให้ถึงรัฐบาล ทำยังไงก็ได้ขอให้เสนอถึงรัฐบาล ให้รัฐบาลให้ความสำคัญและโฟกัสลงมาก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป ซึ่งรัฐบาลจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ไม่ใช่เรื่องต้องร้อนรน เพราะถ้าเราให้คนเชียงของเดินได้ และเขาเข้าใจ ผมว่าสุดท้ายแล้วรัฐบาลต้องเอาตาม"

และคำยืนยันสุดท้ายของปลัดหนุ่มแห่งลุ่มน้ำโขง ก็ทำให้ภาพ "ประชาคม" ที่แข็งแรงของชาวเชียงของแจ่มชัดขึ้น

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20130306/493270/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-1-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-2-%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A.html
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #262 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 18:42:04 »

ไปงานกระทรวงคมนาคม ที่ศูนย์ราชการมา จะทยอยลงเพราะออนมือถือ


* image.jpg (423.47 KB, 1449x985 - ดู 1404 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #263 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 19:44:47 »

ขอบคุณครับ ที่ดินแพงเหลือเกินส่วนมากมีแต่ของนายทุนต่างพื้นที่ทั้งน้าน
IP : บันทึกการเข้า
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #264 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2013, 00:22:58 »



IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #265 เมื่อ: วันที่ 10 มีนาคม 2013, 18:53:10 »

ยังไม่มีเวลาลงครับ
เพราะออนมือถือภาพเยอะเลยครับ
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #266 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2013, 22:31:08 »







IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #267 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2013, 22:32:50 »







IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #268 เมื่อ: วันที่ 13 มีนาคม 2013, 22:35:45 »







IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #269 เมื่อ: วันที่ 17 มีนาคม 2013, 09:02:42 »

อ้างจาก: WiiCHY;101299217
ความคืบหน้า  สะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 เชียงของ-ห้วยทราย วันที่ 2 มีนาคม 2556















http://www.chiangraiparamotor.com/board/index.php?topic=96.0
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #270 เมื่อ: วันที่ 17 มีนาคม 2013, 16:37:32 »

กิตติรัตน์'ชงพ.ร.บ.กู้เงิน2ล้านล้านเข้าครม.

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"กิตติรัตน์"ชงพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เข้าครม. 19 มี.ค.นี้ หากไม่มีข้อท้วงติง เตรียมดันเข้าสภาฯ หวังเพิ่มขีดแข่งขัน-ลดเหลื่อมล้ำ


นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จะเสนอ ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อลงทุนในโครงการ โครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาในวันที่ 19 มี.ค.นี้ โดยหากที่ประชุมครม.ไม่มีข้อท้วงติง ก็จะนำเข้าสู่ขั้นตอนการเสนอกฎหมาย ต่อรัฐสภาต่อไป

"จะพยายามเสนอ ครม.อังคารนี้ซึ่งถ้าครม.มีความเห็นยุติก็จะสามารถนำสู่ขั้นตอนเสนอกฎหมายต่อสภาต่อไปได้ ซึ่งก็อยู่ที่ครม.ว่าจะมีข้อเสนอแนะ อะไรเพิ่มเติมหรือไม่" รมว.คลัง กล่าว

เมื่อปลายเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ครม.เห็นชอบ ยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาระบบขนส่งของประเทศ มูลค่า 2 ล้านล้านบาท เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ของประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำของการแข่งขันและการพัฒนาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ของประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว จะเป็นการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ เพื่อใช้ พัฒนาระบบราง 80% การพัฒนาระบบถนน 10% ส่วนที่เหลือเป็นการพัฒนาทางน้ำ ขณะที่กระทรวงการคลังมีแผนออกกฎหมายเพื่อกู้เงิน วงเงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อรองรับการลงทุนตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว

นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า จากการที่ได้เดินทางไปชี้แจงการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานของไทย ให้กับนักลงทุนในหลายๆ ประเทศในช่วงที่ผ่านมา พบว่า นักลงทุนมีมุมมองที่ดีต่อโครงการนี้ และมีความมั่นใจต่อประเทศไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นการลงทุนที่จะปรับปรุงให้เศรษฐกิจไทย มีศักยภาพที่จะขยายตัวได้มากขึ้น อีกทั้ง ยังเป็นการลงทุนที่เชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนเข้าด้วยกัน ไม่ได้เป็นการลงทุนเฉพาะภายในประเทศ

รมว.คลัง กล่าวอีกว่า จากการจัดนิทรรศการ ไทยแลนด์ 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก เพื่อรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากฝ่ายต่างๆ ต่อการลงทุนในโครงการนี้ พบว่ามีข้อเสนอต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ และจะนำไปพิจารณาเพื่อปรับปรุงรายละเอียด ของโครงการต่อไป โดยข้อเสนอที่มีเข้ามา เช่น การเสนอให้ขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูง จากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ไปถึงเชียงราย หรือการปรับปรุงด่านศุลกากร ให้เพิ่มจากแผนเดิมที่กำหนดไว้ 40 จุด ได้หรือไม่
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #271 เมื่อ: วันที่ 17 มีนาคม 2013, 21:15:06 »

นเจียงฮายเฮาจะหันโอกาสนี้ก่อคับน้องโก   ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
ตางอุบล มุกดาหาร นครพนมตังเพ้ตื่นตัวกันขนาด
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #272 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2013, 19:32:20 »

หอค้าเชียงรายจัดเวทีพบสื่อ ชี้ทศวรรษใหม่สู่จีเอ็มเอส

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   20 มีนาคม 2556

เชียงราย - หอการค้าเมืองพ่อขุนตั้งโต๊ะโชว์ตัวประธานคนใหม่ พร้อมประกาศยุทธศาสตร์เดินหน้าดัน GMS เต็มที่ ลุ้นพม่าพัฒนาถนนเชื่อมเชียงตุง-ตองจี-มัณฑะเลย์ให้เสร็จ เชื่อหนุนสินค้าไทยครองตลาดพม่าได้อีกมหาศาล
       
       วันนี้ (20 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.เชียงราย ว่าหอการค้าจังหวัดเชียงรายได้แถลงข่าวเปิดตัวนายบุญธรรม ทิพย์ประสงค์ เจ้าของร้านเม็งรายแอนติคส์ อ.แม่สาย ประธานหอการค้าจังหวัดคนใหม่ ขึ้นที่ร้านอาหารภูแล อ.เมือง โดยคณะกรรมการหอการค้าชุดใหม่จะแถลงนโยบายต่อที่ประชุมใหญ่ วันที่ 22 มีนาคมนี้
       
       นายบุญธรรมกล่าวว่า เชียงรายมีศักยภาพเป็นยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งสมควรที่จะได้รับการสนับสนุนและพัฒนาจากภาครัฐและเอกชนให้มากขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศและภาคเหนือ โดยจะมุ่งเน้นไปยังการพัฒนาเชื่อมเป็นประตู หรือเชื่อมกับกลุ่มความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศหรือจีเอ็มเอส (Greater Mekong Subregion : GMS) เพราะถือว่าเราอยู่ใกล้ชิดและเกี่ยวข้องกับกลุ่มนี้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นพม่า ลาว และจีนตอนใต้ ซึ่งในปัจจุบันมีถนนเชื่อมผ่านลาว-จีนตอนใต้ หรือถนนอาร์สามเอ โดยมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของ ที่จะเปิดใช้งานได้อย่างเป็นทางการราวเดือนมิถุนายนนี้ ส่วน อ.เชียงแสนก็มีท่าเรือแม่น้ำโขงและมีการค้าทางเรือที่คึกคัก
       
       นายบุญธรรมกล่าวว่า ด้าน อ.แม่สาย ที่เป็นประตูทางเศรษฐกิจที่สำคัญก็มีกระแสว่าถนนอาร์สามบีเชื่อมชายแดนแม่สาย-พม่า-จีนตอนใต้กำลังจะมีการเปิดด่านต้าลั้ว ที่เมืองลา เชื่อมกับจีนตอนใต้อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้การคมนาคมทะลุไปถึงจีนตอนใต้ได้อีกเส้นทางหนึ่ง
       
       ขณะเดียวกัน พบว่าพม่าเป็นตลาดใหญ่ที่รองรับสินค้าจำนวนมหาศาลจากประเทศไทย ผ่านทางจุดผ่านแดนถาวร อ.แม่สาย ซึ่งตนเห็นว่าหากพม่าพัฒนาถนนเชื่อมจากชายแดน หรือเชื่อมต่อจากเส้นทางอาร์สามบีไปถึงเมืองอื่นๆ จะทำให้สินค้าไทยกระจายเข้าไปได้มากขึ้น โดยล่าสุดทราบว่าทางการพม่าเองก็กำลังพัฒนาเส้นทางจากเมืองเชียงตุงไปยังเมืองตองจี ศูนย์กลางของรัฐฉาน ระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร ขณะเดียวกันก็พัฒนาจากเมืองตองจีไปยังเมืองมัณฑะเลย์ อดีตเมืองหลวงเก่าของพม่า ซึ่งถือเป็นเมืองใหญ่อีกเมืองหนึ่ง ระยะทางประมาณ 600 กิโลเมตร หากถนนทั้ง 2 สายได้รับการพัฒนาจนแล้วเสร็จจะสามารถขนส่งสินค้าไทยผ่านทาง จ.เชียงรายได้จำนวนมหาศาลแน่นอน
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000033914
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
9D
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,470


« ตอบ #273 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2013, 20:31:23 »

ช่วยอัพ รูปฝั่งลาวให้ครับ


* สะพาน.jpg (42.09 KB, 440x329 - ดู 743 ครั้ง.)

* สะพาน1.jpg (89.33 KB, 420x562 - ดู 806 ครั้ง.)

* สะพาน 2.jpg (45.52 KB, 473x353 - ดู 792 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #274 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2013, 14:13:01 »

หึ่ง สะพานน้ำโขง 4 เมษาฯ นี้อาจไม่เสร็จ ส่อเลื่อนเปิดปลายปี 56

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   21 มีนาคม 2556 10:05 น.   

   


เชียงราย - พบงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง 4 เชื่อมไทย-ลาว-จีน ยังอืด ส่อเสร็จไม่ทันตามกำหนดในเดือนเมษาฯ 56 จนอาจต้องเลื่อนเปิดใช้ยาวไปจนถึงปลายปี เผยงานทำถนนฝั่งลาวเพิ่งเริ่มบดอัด ขณะที่การก่อสร้างอาคารยังเหลือเนื้องานอีกเพียบ
       
       หลังรัฐบาลไทย สปป.ลาว และจีน ได้ร่วมกันก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 อ.เชียงของ กับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว เพื่อเชื่อมกับถนนอาร์สามเอไปยังจีนตอนใต้ โดยมีการทำพิธีเชื่อมสะพานกันเมื่อ 12 ธ.ค. 2555 พร้อมประกาศจะก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน และเปิดให้ทันเดือนมิถุนายน 56 ที่จะถึงนี้ ล่าสุดมีกระแสว่าโครงการดังกล่าวอาจจะไม่เสร็จตามกำหนด จนอาจต้องเลื่อนการเปิดไปเป็นเดือนกันยายน 2556 แล้ว
       
       นายสงวน ซ้อนกลิ่นสกุล รองประธานหอการค้า จ.เชียงราย ฝ่ายอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือจีเอ็มเอส และพัฒนาระบบลอจิสติกส์ กล่าวว่า จากการสำรวจความคืบหน้างานก่อสร้างสะพาน รวมทั้งส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ถนน อาคารด่านพรมแดน ฯลฯ พบว่าในส่วนของสะพาน ซึ่งเอกชนจีนรับดำเนินการนั้นค่อนข้างจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ ทำให้มีรถบรรทุกวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างข้ามไปมาเป็นประจำ แต่พบว่าอาคารด่านพรมแดนฝั่ง สปป.ลาว ซึ่งเอกชนไทยรับก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อสร้างถนนระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร ซึ่งตามแผนเมื่อพ้นจากคอสะพานฝั่งลาวแล้วจะไปเชื่อมกับถนนอาร์สามเอ ปรากฏว่ายังคงเหลือเนื้องานที่จะต้องทำอีกมาก จึงไม่แน่ใจว่าจะแล้วเสร็จตามกำหนดหรือไม่ เพราะปัจจุบันเพิ่งมีการบดอัดพื้นผิวดินที่จะสร้างถนนและยังไม่มีการก่อสร้างเพิ่มเติม
       
       นายสงวนกล่าวอีกว่า ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องนำไปติดตั้ง เครื่องใช้และการตกแต่งภายในอาคารต่างๆ เพื่อรองรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ฯลฯ ก็คาดว่าคงต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการอีกระยะ เช่นเดียวกับศูนย์กระจายสินค้าฝั่งไทยที่มีโครงการจะก่อสร้างบนเนื้อที่ประมาณ 280 ไร่ ซึ่งมีกระแสว่าอาจจะรอให้มีการใช้งบประมาณจากเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทจากรัฐบาลก่อน แต่ล่าสุดกรมทางหลวงก็ได้ไปจัดประชุมรับทราบข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ อ.เชียงของ เกี่ยวกับศูนย์กระจายสินค้าดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 56 แล้ว เชื่อว่าจะดำเนินการได้ในเร็ววัน แต่ก็คงจะไม่ทันเดือนมิถุนายน 56 นี้
       
       “ผมเชื่อว่าการเปิดใช้สะพานอย่างเป็นทางการอาจจะเลื่อนไปถึงสิ้นปี 56 เลยทีเดียว”
       
       อย่างไรก็ตาม นายวิรัตน์ แสนอุดม นายช่างแขวงการทางเชียงรายที่ 2 กล่าวว่า ตอนนี้โครงการยังคงเดินหน้าก่อสร้างไปตามสัญญาก่อสร้างเดิมอยู่ โดยทุกฝ่ายได้พยายามเร่งรัดก่อสร้างอย่างเต็มที่แล้ว และเมื่อดูจากข้อตกลงเดิมเอกชนก็ยังคงดำเนินการตามสัญญาเช่นเดิม
       
       สำหรับสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ดังกล่าว ทางรัฐบาลไทย จีน และ สปป.ลาวได้ทำสัญญาว่าจ้างกลุ่มซีอาร์ 5-เคที จอยท์เวนเจอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มทุนร่วมระหว่างบริษัทไชน่า เรลเวย์ โน.5 เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด จากประเทศจีน และบริษัท กรุงธนเอ็นยิเนียร์ จำกัด ของประเทศไทย ด้วยงบประมาณรวมทั้งสิ้นจำนวน 1,486.5 ล้านบาท โดยไทยและจีนออกค่าใช้จ่ายฝ่ายละ 50% เริ่มสัญญาก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 11 มิ.ย. 2553 และเดิมสิ้นสุดสัญญาวันที่ 10 ธ.ค. 2555 รวมระยะเวลาก่อสร้าง 30 เดือน แต่ช่วงกลางปี 2554 มีปัญหาเรื่องการใช้ค่าเงินจ้างเอกชนทำให้ล่าช้าออกไปถึงเดือน มิ.ย. 2556 ดังกล่าว
       
       ทั้งนี้ ตัวสะพานมีความยาวประมาณ 480 เมตร มีเสาตอม่อ 4 ตอม่อ มีความกว้าง 14.70 เมตร มีสองช่องจราจรๆ ละ 3.50 เมตร และไหล่ทางข้างละ 2 เมตร และทางเท้าข้างละ 1.25 เมตร และเอกชนไทยทำการก่อสร้างถนนทั้งฝั่งไทยและ สปป.ลาว รวม 11 กิโลเมตร แบ่งเป็นฝั่งไทย 5 กิโลเมตรและ สปป.ลาว 6 กิโลเมตร รวมทั้งอาคารด่านพรมแดนทั้งสองฝั่ง
       
       สำหรับชายแดนไทย-สปป.ลาว ด้าน อ.เชียงของ ดังกล่าวมีการค้าชายแดนในปี 2554 มูลค่ารวมประมาณ 8,199 ล้านบาท แยกเป็นการนำเข้า 2,268.3 ล้านบาท ส่งออก 5,931.1 ล้านบาท และในปีนี้ 2555 มีมูลค่าการค้ารวมประมาณ 12,500 ล้านบาท แยกเป็นการนำเข้า 3,071 ล้านบาท และส่งออก 9,453.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 33% สินค้านำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าพืชผัก เครื่องจักร รถยนต์ ฯลฯ จากประเทศจีนซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ 7% ส่วนสินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าอุปโภคบริโภค ฯลฯ
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #275 เมื่อ: วันที่ 23 มีนาคม 2013, 15:23:16 »

ระดับน้ำโขงวิกฤติ เรือสินค้าตกค้างท่าเชียงแสนเพียบ
http://www.thairath.co.th/content/region/334325
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
benzto
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,443


มิตรภาพซื้อไม่ได้ด้วยเงิน


« ตอบ #276 เมื่อ: วันที่ 24 มีนาคม 2013, 09:31:35 »

อยากฟังผลเสียบ้างครับ....... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

ขออภัยในบางลีลา
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #277 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2013, 19:12:49 »

เค้ก2ล้านล้านลงภูธร'ชัชชาติ'ย้ำเฉลี่ยงานกระจาย/ซอยสัญญา377โครงการแจกรับเหมา
วันจันทร์ที่ 15 เมษายน 2013 เวลา 21:48 น.    กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ    ข่าวหน้า1    -


 กรมทางหลวงเปิดโอกาส รับเหมาท้องถิ่นลงแข่งชิงเค้ก 2.4 แสนล้านบาท ในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งภายใต้แผนกู้ 2 ล้านล้านบาท แบ่งตอนสัญญาการก่อสร้างรวม 377 โครงการ อ้างกระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาค มั่นใจงานเสร็จทันตามกรอบเวลา 7 ปี "ชัชชาติ" ย้ำ ต้องเฉลี่ยงานให้เหมาะสม   ด้านรับเหมาส่วนกลาง-ท้องถิ่นเฮลั่น ขยับตัวรับโอกาสทอง

    จากกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศโดยอ้างเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ สร้างให้ไทยเป็นศูนย์โลจิสติกส์ เมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในเวทีโลก ทั้งนี้จะพัฒนาการขนส่งระบบรางและทางถนน สำหรับแผนดำเนินการพลิกโฉมประเทศไทยครั้งนี้มีกรอบระยะเวลา 7 ปี
++ทล.พร้อมเปิดให้ชิงเค้ก2.4แสนล.
    นายชัชวาลย์  บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง(ทล.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมเปิดประมูลโครงการต่างๆของทล.ที่อยู่ในโครงการการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศภายใต้งบเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท รวมทั้งสิ้น 337 โครงการ โดยกรมทางหลวงได้รับงบจำนวนทั้งสิ้น 2.4 แสนล้านบาท หากร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเพื่อพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทั่วประเทศ ได้รับการพิจารณาแล้วเสร็จจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็จะเร่งเปิดประมูลในแต่ละโครงการได้ทันที โดยคาดว่าภายใน 2 เดือนจะเปิดประมูลแต่ละโครงการได้ทันที โดยจะแบ่งสัญญาในแต่ละโครงการให้ผู้รับเหมาได้รับเหมางานแต่ละพื้นที่หรือเกิดการแข่งขันกันมากขึ้น
++แบ่งตอนสัญญาเอื้อรับเหมาท้องถิ่น
    ทั้งนี้เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ จึงต้องแบ่งตอนการก่อสร้างเป็นส่วนๆซึ่งจะช่วยให้การก่อสร้างแต่ละตอนเร็วขึ้น เพื่อให้โครงการพัฒนาถนนบรรลุเป้าหมายภายใน 7 ปี นอกจากนี้การแบ่งตอนก่อสร้างทำให้ผู้รับเหมาในแต่ละพื้นที่มีโอกาสเข้ามาแข่งประมูล ถือเป็นการกระจายงานสู่ท้องถิ่น ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจตลอดเส้นทางในแต่ละภูมิภาค เพราะเกิดการใช้วัสดุก่อสร้างในพื้นที่แทนที่จะขนส่งจากส่วนกลาง ขณะนี้ได้มอบหมายให้รองอธิบดีลงไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไป
    สำหรับการแบ่งตอนก่อสร้างเป็นไปตามลักษณะงาน 1 ตอนถือเป็น 1 สัญญาโดยในครั้งนี้แบ่งตอนระยะทางสั้นที่สุด 3.5 กม.เพื่อให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดย 83 สัญญาเป็นการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ โดยส่วนใหญ่ต้องการให้เสร็จภายใน 3-5 ปีตั้งแต่ปี 2557-2561  หากเป็นตอนระยะทางสั้น ๆจะให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีทั้งหมด จึงถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาในแต่ละพื้นที่ได้มีโอกาสรับงานถือเป็นการกระตุ้นเพื่อสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้แต่ละพื้นที่อีกด้วย
++ซอยย่อยทั้ง377โครงการทั่วประเทศ
    อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวอีกว่า การแบ่งตอนก่อสร้างในโครงการ 2 ล้านล้านบาทเฉพาะของกรมทางหลวงนั้นมีจำนวนทั้งสิ้น 377โครงการ โดยแบ่งเป็น โครงการก่อสร้างบูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาค จำนวน 235 โครงการ และอีกหลายโครงการ(อ่านตารางประกอบ)  ส่วนค่าก่อสร้างทั้งโครงการจะพิจารณาใช้งบประมาณจากแหล่งทุนอื่นๆต่อไป
    อย่างไรก็ดีขณะนี้การออกแบบแล้วเสร็จทั้งหมด โดยอยู่ระหว่างการสรุปครั้งสุดท้ายอีกครั้งหลังจากที่ขั้นตอนการพิจารณางบประมาณของทั้ง 2 สภาผ่านการเห็นชอบ หากผ่านการพิจารณาก็คาดว่าจะประมูลหาผู้รับเหมาได้ในเดือนมิถุนายนนี้เป็นต้นไป
    ในขณะที่ความกังวลเรื่องปัญหาการขาดแคลนแรงงาน อธิบดีกรมทางหลวงกล่าวว่าไม่หนักเรื่องนี้เพราะเชื่อมั่นว่าผู้ประกอบการแต่ละพื้นที่จะสามารถหารองรับไว้ และไม่น่าจะกระทบระยะยาว อีกทั้งกรมยังจะจัดติวความพร้อมให้กับผู้ประกอบการตามลำดับชั้นที่ลงทะเบียนไว้กับกรมทางหลวงในเร็วๆนี้
++วางสเปกผู้รับเหมาวัดกันที่คุณภาพ
    ด้านนายชัชชาติ  สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าต้องเป็นการประมูลแข่งขันกันตามปกติโดยจะเน้นไปที่การวัดคุณภาพและประสิทธิภาพในการทำงานเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลางหรือในภูมิภาคทุกโครงการ
    "ครั้งนี้ผู้รับเหมาในท้องถิ่นมีโอกาสรับเหมางานมากขึ้น โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องเฉลี่ยงานให้ดีในทุกๆ ด้าน อาทิ ทรัพยากรแรงงาน อิฐ หิน ปูน ทราย เพราะไม่ได้ทำกันเพียงปีเดียวจึงต้องกระจายให้เหมาะสม เตรียมแผนให้ดี คิดว่าโครงการต่างๆภายใต้งบ 2 ล้านล้านบาทจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคได้เป็นอย่างดี"
++รับเหมาต่างจังหวัดขานรับ
    นายวรงค์ วงศ์วรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท แพร่ธำรงวิทย์ จำกัด กล่าวว่าจากนโยบายดังกล่าวของทล.น่าจะเป็นโอกาสของผู้รับเหมาในประเภทต่างๆได้อานิสงส์ ซึ่งระยะเวลาดำเนินการ 7 ปีถือว่ามีความเหมาะสม เพราะหากระยะสั้นผู้รับเหมาจะรับไม่ไหว ดังนั้น 7 ปีจึงดำเนินการได้อย่างเต็มที่เนื่องจากถนนทั้งหมดจะต้องใช้เวลาไม่ใช่ว่ามีงบประมาณแล้วจะสามารถดำเนินการได้ทั้งหมดในทันทีเพราะต้องมีกระบวนการอีกมากมาย เช่น ต้องผ่านอีไอเอ ผ่านการออกแบบ การเวนคืน ดังนั้นโครงการที่จะผ่านเพื่อเข้าสู่การประมูลจริงๆในช่วงปีแรกนี้น่าจะมีไม่กี่รายการเท่านั้น กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างอาจจะเสร็จใน 4 ปีแต่การก่อสร้างอาจจะเสร็จใน 7 ปี
    ดังนั้นการกระจายงานมากขึ้นจึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาได้ทำงานกันทั่วทุกพื้นที่ โดยคิดว่าน่าจะมีการแบ่งงานให้ผู้รับเหมาแต่ละประเภทอย่างชัดเจน ให้สอดคล้องกับศักยภาพของผู้รับเหมา ส่วนการจะไปร่วมกันของผู้รับเหมา สามารถปฏิบัติได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับข้อตกลงต่อกัน  ซึ่งประเภทงานที่เกิดมีทั้งก่อสร้างใหม่ บูรณะของเดิม โดยงานบูรณะอาจจะแบ่งงานให้ขนาดเล็กลงได้ เนื่องจากต้องการความรวดเร็วและใช้เทคนิคไม่สูงมาก
    ส่วนงานมอเตอร์เวย์ซึ่งเป็นงานใหญ่จะแบ่งตอนให้แก่ผู้รับเหมาชั้นพิเศษที่ขึ้นทะเบียนกับกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทได้เข้าไปดำเนินการมากขึ้น เพราะมีเงินทุน และมีมาตรฐานที่สูง ใช้บุคลากรและเทคโนโลยีทันสมัย แต่ผลที่จะเห็นได้ชัดคือมีการใช้วัสดุในท้องถิ่นมากขึ้น เกิดการจ้างงานเพิ่ม โดยมุมมองส่วนตัวยังเห็นว่าบางรายการยังไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการ เช่น ไฮสปีดเทรน โดยสามารถทำรางคู่ให้ดีเสียก่อน วิ่งให้ได้ความเร็ว 150-160 กม./ชม.น่าจะเกิดประโยชน์มากกว่าและประหยัดงบประมาณไปได้อีกมาก เช่นเดียวกับถนน 4 เลนน่าจะเร่งดำเนินการให้เสร็จไปนานแล้ว
++รายใหญ่บอกพร้อมร่วมมือท้องถิ่น
    ขณะที่นายนที พานิชชีวะ ประธานกรรมการ บริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) กล่าวให้ความเห็นต่อกรณีเปิดโอกาสให้บริษัทในท้องถิ่นรับงานประมูลนั้นว่าต้องพิจารณาว่า
น่าจะเป็นผลดีและเป็นการเปิดกว้างมากกว่าสำหรับการรวมกลุ่มผู้รับเหมาระดับต่างๆที่จะเข้ามารับเหมางานโครงการ 2 ล้านล้านบาทในครั้งนี้  ประเด็นหลักอยู่ที่ผู้รับเหมาท้องถิ่นมีศักยภาพทำได้มากน้อยเพียงใดหรือไม่ แต่คิดว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาสำหรับความร่วมมือกันระหว่างบริษัทชั้นนำและผู้รับเหมาท้องถิ่น
++เปิดดูโครงการลงที่ใดบ้าง
     สำหรับโครงการของกรมทางหลวงที่จัดอยู่ในงบประมาณ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจำนวนงบ 2.4แสนล้านบาท จำนวน 337 โครงการนั้น ประกอบไปด้วย อาทิ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ได้แก่ 1. ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย บางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6.6 พันล้านบาท ค่าก่อสร้าง 7.7 หมื่นล้านบาท 2.ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย พัทยา-มาบตาพุด ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1.8 พันล้านบาท ค่าก่อสร้าง 1.4 หมื่นล้านบาท 3.ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย บางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 5.4 พันล้านบาท ค่าก่อสร้าง 4.9 หมื่นล้านบาท
    โครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ วงเงิน 1.3 หมื่นล้านบาท จำแนกเป็น เส้นทางสู่ชายแดนไทย/ลาว ได้แก่ 1.ที่ด่านสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 จ.หนองคาย 2.ที่ด่านสะพานมิตรภาพแห่งที่ 3  จ.นครพนม 3.ที่ด่านสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 อ.เชียงของ จ.เชียงราย 4.เส้นทางสู่ชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่ด้านบ้านประกอบ จ.สงขลา  เส้นทางสู่ชายแดนไทย-เมียนมาร์ ได้แก่ 1. ที่ด่านแม่สอด จ.ตาก  เส้นทางสู่ชายแดนไทย-กัมพูชา 1. ที่ด่านช่องจอม จ.สุรินทร์ 2.ที่เขาพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ
    โครงการเร่งรัดขยาย 4 ช่องจราจรและเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง วงเงิน 8.หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย 1. ก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร(ระยะที่ 2) 2.โครงข่ายที่ 2 สาย อ.แม่สอด-ตาก-มุกดาหาร 3.โครงข่ายที่ 1 สาย นครสวรรค์-พิษณุโลก-เด่นชัย-แพร่-งาว
    4.โครงข่ายที่ 3 สาย สระบุรี-เพชรบูรณ์-อ.หล่มสัก-เลย โครงข่ายที่ 4 สาย บ.หินกอง-นครนายก-ปราจีนบุรี-อ.อรัญประเทศ  โครงข่ายที่ 6 สาย นครสวรรค์-อุบลราชธานี-ช่องเม็ก โครงข่ายที่ 5 โครงข่ายอื่นๆ สาย ชัยภูมิ-บ้านไผ่   โครงข่ายที่ 6 โครงข่ายอื่นๆ สาย ร้อยเอ็ด-ยโสธร-อ.เขื่องใน  โครงข่ายที่ 6 โครงข่ายอื่นๆ สาย อ.ปราสาท-อ.ขุขันธ์-แยกสาย 2085 โครงข่ายที่ 8 สายสุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช-อ.หาดใหญ่ โครงข่ายที่ 9 สาย ภูเก็ต-พังงา-พัทลุง โครงข่ายที่ 10 สาย เลย-อุดรธานี-สกลนคร-นครพนม  ระยะที่ 2.2 โครงข่ายที่ 11 โครงข่ายอื่นๆ สาย สุโขทัย-สวรรคโลก โครงข่ายที่ 11 โครงข่ายอื่นๆ สาย แก้งคร้อ-ชุมแพ โครงข่ายที่11 โครงข่ายอื่นๆ สาย ชุมพร-ระนอง , สาย ยโสธร-อำนาจเจริญ ,สาย ศรีสะเกษ-อ.ขุขันธ์ ก่อสร้างเพิ่มช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 314 บางปะกง-ฉะเชิงเทรา ทางหลวงหมายเลข 304 มีนบุรี-ฉะเชิงเทรา-วังน้ำเขียว  ทางหลวงหมายเลข 317 จันทบุรี-สระแก้ว ทางหลวงหมายเลข 3 ตราด-หาดเล็ก ทางหลวงหมายเลข 1152 เชียงราย-ขุนตาล ทางหลวงหมายเลข 118 เชียงใหม่-เชียงราย ทางหลวงหมายเลข 101  กำแพงเพชร-สุโขทัย ทางหลวงหมายเลข 115 กำแพงเพชร-พิจิตร ทางหลวงหมายเลข 3138 บ้านบึง-บ้านค่าย ตอน 3-4 ทางหลวงหมายเลข 36 กระทิงลาย-ระยอง ตอน 1-2 ทางหลวงหมายเลข 410 ยะลา-เบตง  ทางหลวงหมายเลข 404, 416 อ.ย่านตาขาว-อ.ละงู
    โครงการก่อสร้างบูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาค วงเงินรวม 3.1หมื่นล้านบาท ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 1 กรุงเทพฯ-แม่สาย (จ.เชียงราย) ทางหลวงหมายเลข 2 สระบุรี-หนองคาย ทางหลวงหมายเลข 3 กรุงเทพฯ-หาดเล็ก (จ.ตราด) ทางหลวงหมายเลข 4 กรุงเทพมหานคร-สะเดา ทางหลวงหมายเลข 11 สิงห์บุรี-เชียงใหม่ ทางหลวงหมายเลข 32 อยุธยา-อุทัยธานี และทางหลวงหมายเลข 35 ธนบุรี-ปากท่อ ทางหลวงหมายเลข 41 ชุมพร-พัทลุง ทางหลวงหมายเลข 43 หาดใหญ่-ยะหริ่ง (จ.ปัตตานี) ทางหลวงหมายเลข 117 นครสวรรค์-พิษณุโลก ทางหลวงหมายเลข 331 สัตหีบ-มาบเอียง,สัตหีบ-ฉะเชิงเทรา ทางหลวงหมายเลข 1095 เชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน
    โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ  ได้แก่ สะพานข้ามทางรถไฟ จำนวน 83 แห่ง และงานรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ ร.ฟ.ท.  สำหรับก่อสร้างสะพาน วงเงินรวม 2.3หมื่นล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,836 วันที่  18 - 20  เมษายน พ.ศ. 2556
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
sdoopy
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 702



« ตอบ #278 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2013, 19:17:32 »

สรุป งบ 2ล้านล้านบาทนี้ จะเข้าเชียงรายเพื่อทำถนนเส้นใดบ้างครับ
IP : บันทึกการเข้า

The only man who never makes mistakes is the man who never does anything.
!DeePack!
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,109


« ตอบ #279 เมื่อ: วันที่ 22 พฤษภาคม 2013, 21:06:39 »

เห็นเริ่มทำตอน3แล้วต่อจากบ้านหกถึงบ้านต้า ระยะทาง25กก. ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 [14] 15 16 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!