เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 19 เมษายน 2024, 15:55:19
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การศึกษา (ผู้ดูแล: >:l!ne-po!nt:<)
| | |-+  เผยแพร่งานวิชาการ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน เผยแพร่งานวิชาการ  (อ่าน 322 ครั้ง)
virusnum
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23


« เมื่อ: วันที่ 07 สิงหาคม 2013, 20:36:55 »

ชื่อรายงานวิจัย : การศึกษาสภาพปัญหาความต้องการด้านหลักสูตรและการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้ระดับปฐมวัย โรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบและเครือข่าย
อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย
ผู้วิจัย      นางสังวาลย์ ถุงปัญญา
      ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลขุนตาล อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย
ปีที่วิจัย      พ.ศ. 2555
-----------------------------------------------------------------------------------------------
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการด้านหลักสูตรและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย โรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบและเครือข่ายอำเภอขุนตาล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ประชากรกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย                         ผูบริหารโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบและเครือข่ายอำเภอขุนตาล 15 คน ครูผู้สอนระดับปฐมวัยและครูพี่เลี้ยงเด็ก 25 คน กรรมการสถานศึกษาและ 43 คน ผู้ปกครองเด็กนักเรียนปฐมวัย 79 คน และเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบและเครือข่ายอำเภอขุนตาล จำนวน 133 คน ซึ่งสุ่มเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล  ประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูล จำนวน 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามสำหรับผู้บริหาร ครูผู้สอนและครูพี่เลี้ยงเด็ก ฉบับที่ 2 แบบเก็บข้อมูลผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 และฉบับที่ 3 แบบสอบถามกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองเด็กปฐมวัย  ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่เดือนเมษายน 2555 ถึง เดือนพฤษภาคม 2555 โดยผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามลักษณะของเครื่องมือด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา                     ด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย
   1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มผู้บริหารโรงเรียน ครูและครูพี่เลี้ยงเด็ก ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (ร้อยละ 57.00) เป็นครูผู้สอนปฐมวัย รองลงมา ผู้บริหารโรงเรียน (ร้อยละ 37.50) และครูพี่เลี้ยงเด็ก (ร้อยละ 12.50) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 65.00) อายุ 51 ปี ขึ้นไป (ร้อยละ 45.00) ทุกคน (ร้อยละ 100) มีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัยมากกว่า 5 ปี และส่วนใหญ่ (ร้อยละ 55.00) รับรู้เกี่ยวกับโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบและโรงเรียนเครือข่ายอย่างชัดเจน มีประสบการณ์ประชุม/อบรมสัมมนาเกี่ยวกับหลักสูตร การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย/การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยมากกว่า 5 ครั้ง (ร้อยละ 80.00) มีประสบการณ์ใน                     การจัดทำหลักสูตร แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่นำมาใช้ในโรงเรียนหรือชั้นเรียน 3-4 ครั้ง (ร้อยละ 50.00) ปฏิบัติงาน/มีสวนร่วมในการจัดการศึกษาปฐมวัยที่โรงเรียนนี้ มานานกว่า 5 ปี                 (ร้อยละ 72.50) และด้านการส่วนร่วมในด้านหลักสูตร การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัยของโรงเรียน พบว่าต่างมีส่วนร่วม คือ ด้านการจัดทำหลักสูตร (ร้อยละ 50.00) ด้านการวางแผน                  การใช้หลักสูตร (ร้อยละ 50.00) ด้านการติดตามและประเมินผล (ร้อยละ 57.50) ด้านการติดตามและประเมินผล(ร้อยละ 65.00) ด้านการสนับสนุนด้านแหล่งเรียนรู้/สื่ออุปกรณ์ (ร้อยละ 20.00) ส่วน                         กลุ่มกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (ร้อยละ 55.74) เป็นกรรมการสถานศึกษา นอกนั้นเป็นผู้ปกครองเด็กปฐมวัย (ร้อยละ 44.26) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 63.93) อายุ 31-40 ปี (ร้อยละ 36.07) วุฒิการศึกษามัธยมต้น (ร้อยละ 36.07) ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 41.88) ไม่เคยรับรู้เกี่ยวกับโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบมีประสบการณ์ประชุม/อบรมสัมมนาเกี่ยวกับหลักสูตร การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย/การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย 3-4 ครั้ง (ร้อยละ 39.34) มีประสบการณ์ในการจัดทำหลักสูตร แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่นำมาใช้ในโรงเรียนหรือชั้นเรียน 1-2 ครั้ง (ร้อยละ 75.41) ปฏิบัติงาน/มีสวนร่วมในการจัดการศึกษาปฐมวัยที่โรงเรียนนี้ มานาน 3-5 ปี (ร้อยละ 75.41) และด้านการส่วนร่วมในด้านหลักสูตร การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัยของโรงเรียน พบว่าต่างมีส่วนร่วม คือ ด้านการจัดทำหลักสูตร (ร้อยละ 30.33) ด้านการวางแผนการใช้หลักสูตร (ร้อยละ 16.39) และด้านการติดตามและประเมินผล (ร้อยละ 30.33)
   2. สภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับหลักสูตร สรุปได้ดังนี้
      2.1 สภาพการดำเนินงานด้านวิสัยทัศน์ของหลักสูตร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.82) และทุกรายการก็มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก อาทิ วิสัยทัศน์ สะท้อนเอกลักษณ์ของสถานศึกษา (ค่าเฉลี่ย 3.90) วิสัยทัศน์กระชับชัดเจน ทุกคน ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน (ค่าเฉลี่ย 3.88) โรงเรียนได้กำหนดวิสัยทัศน์การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยที่ชัดเจน (ค่าเฉลี่ย 3.85) 
      2.2 สภาพการดำเนินงานด้านเป้าหมายของหลักสูตร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.86) และทุกรายการก็มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก อาทิ โรงเรียนได้กำหนดเป้าหมายการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยที่ชัดเจน(ค่าเฉลี่ย 3.93) เป้าหมายมีความสอดคล้องกับมาตรฐานการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย(ค่าเฉลี่ย 3.90)  เป้าหมายมีความชัดเจนและสอดคล้องกับจุดหมาย/มาตรฐาน คุณลักษณะของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (ค่าเฉลี่ย 3.85)
      2.3 สภาพการดำเนินงานด้านโครงสร้างของหลักสูตร โดยรวมอยู่ในระดับมาก  (ค่าเฉลี่ย 3.81)  และทุกรายการก็มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก อาทิ จัดสาระการเรียนรู้รายปีครอบคลุมสาระที่ควรเรียนรู้ 4 เรื่องและประสบการณ์สำคัญตามที่หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยกำหนด(ค่าเฉลี่ย 3.98) สาระ                           การเรียนรู้รายปีที่กำหนดเหมาะสมกับช่วงอายุของเด็กปฐมวัย (3.93)   
      2.4 สภาพการดำเนินงานด้านหน่วยการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก  (ค่าเฉลี่ย 3.86) และ                        ทุกรายการก็มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก อาทิ กำหนดคาบเวลาในการเรียนของหน่วยการเรียนรู้ชัดเจนและเหมาะสม (ค่าเฉลี่ย 3.40) กำหนดจุดประสงค์ในหน่วยการเรียนรู้ได้ครอบคลุมกับเป้าหมาย/จุดหมายของหลักสูตร(ค่าเฉลี่ย 3.90) และจัดทำหน่วยการเรียนครอบคลุมสาระการเรียนรู้ 4 สาระ (ค่าเฉลี่ย 3.88)
      2.5 สภาพการดำเนินงานด้านแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก  (ค่าเฉลี่ย 3.93) และทุกรายการก็มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก อาทิ มีการนำหน่วยการเรียนมาจัดทำเป็นแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ชัดเจนและง่ายต่อการนำไปใช้(ค่าเฉลี่ย 4.05)  แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กำหนดแหล่งเรียนรู้/สื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย 4.03) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กำหนดวิธีการวัด ประเมินผลและเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนและคลอบคลุมพฤติกรรม/คุณลักษณะที่สำคัญที่กำหนดในวัตถุประสงค์(ค่าเฉลี่ย 4.00)
   2.6 สภาพการดำเนินงานด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการสร้างบรรยากาศ             การเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก  (ค่าเฉลี่ย 3.87) และทุกรายการก็มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก อาทิ จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ลงมือกระทำเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าได้เคลื่อนไหว สำรวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลองและคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง(ค่าเฉลี่ย 4.03) จัดประสบการณ์ในรูปแบบทั้งทักษะและสาระการเรียนรู้  (ค่าเฉลี่ย 4.00) จัดประสบการณ์ได้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการ เพื่อให้เด็กทุกคนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ และ จัดประสบการณ์ทั้งในลักษณะที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าและประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในสภาพจริงโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้(ค่าเฉลี่ย 3.93) จัดสภาพแวดล้อมภายใน ภายนอกและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาเด็กชัดเจน สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ทางด้านจิตภาพที่ดี (ค่าเฉลี่ย 3.90)
      2.7 สภาพการดำเนินงานด้านกระบวนการจัดกิจกรรมประจำวันโดยรวมอยู่ในระดับมาก  (ค่าเฉลี่ย 3.95) และทุกรายการก็มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก อาทิ กำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมได้เหมาะสมกับวัยของเด็กในแต่ละวัน  (ค่าเฉลี่ย 4.03)  จัดกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก (ค่าเฉลี่ย 4.00) จัดกิจกรรมที่เป็นรายบุคคล   กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ (ค่าเฉลี่ย 3.98)
      2.8 สภาพการดำเนินงานด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก  (ค่าเฉลี่ย 3.93) และทุกรายการก็มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก อาทิ จัดสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ชุมชนให้เด็กปฐมวัย ได้เรียนรู้อย่างเหมาะสม  (ค่าเฉลี่ย 4.03)  สื่อมี เหมาะกับวัย พัฒนาการของเด็ก รวมทั้งบริบทของสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่  (ค่าเฉลี่ย 4.00) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่กำหนดส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้พัฒนาตามจุดหมายของหลักสูตรและมีหรือจัดหาสื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เด็กได้เรียนรู้อยู่เสมอ (ค่าเฉลี่ย 3.93)
      2.9 สภาพการดำเนินงานด้านการประเมินพัฒนาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก  (ค่าเฉลี่ย 3.79) และทุกรายการก็มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก อาทิ กำหนดวิธีการประเมินพัฒนาการเด็กสอดคล้องกับหลักการประเมินของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (ค่าเฉลี่ย 4.03) กำหนดวิธีการแสดงหลักฐานการเรียนรู้ พัฒนาการ และเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ (ค่าเฉลี่ย 3.75) จัดทำสารนิทัศน์ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลนำข้อมูลที่ได้มาไตร่ตรองและใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กและการวิจัยในชั้นเรียน (ค่าเฉลี่ย 3.73)
   2.10 ความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองเกี่ยวกับสภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก  (ค่าเฉลี่ย 3.93) และทุกรายการก็อยู่ในระดับมาก อาทิ โรงเรียนให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาปฐมวัย (ค่าเฉลี่ย 4.07) โรงเรียนได้เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัย (ค่าเฉลี่ย 4.03) โรงเรียนมีความพร้อมในการจัดการศึกษาปฐมวัย (ค่าเฉลี่ย 4.00) ครูได้จัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้ดี (ค่าเฉลี่ย 3.98) โรงเรียนได้จัดสื่อ อุปกรณ์การเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยมีความเพียงพอและเหมาะสม   (ค่าเฉลี่ย 3.85) โรงเรียนจัดอาคารและสถานที่สำหรับเด็กปฐมวัยได้เหมาะสม (ค่าเฉลี่ย 3.84) และโรงเรียนได้มีการปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนระดับปฐมวัยให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้ปกครองหรือชุมชน (ค่าเฉลี่ย 3.74)
3. สภาพของผลผลิต พบว่า พัฒนาการเด็กปฐมวัยของโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยและโรงเรียนเครือข่ายด้านร่างกาย โดยรวมอยู่ในระดับดี  (ค่าเฉลี่ย 2.63) และทั้ง 2 รายการ คือร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี (ค่าเฉลี่ย 2.65) และกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน(ค่าเฉลี่ย 2.61) ก็อยู่ในระดับดี พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ โดยรวมอยู่ในระดับดี  (ค่าเฉลี่ย 2.59) และทั้ง 3 รายการ คือมีคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงาม (ค่าเฉลี่ย 2.63) มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข (ค่าเฉลี่ย 2.59) และชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหวและรักการออกกำลังกาย (ค่าเฉลี่ย 2.55) ก็อยู่ในระดับดี พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ โดยรวมอยู่ในระดับดี  (ค่าเฉลี่ย 2.59) และทั้ง 3 รายการ คือมีคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงาม (ค่าเฉลี่ย 2.63) มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข (ค่าเฉลี่ย 2.59) และชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหวและรักการออกกำลังกาย (ค่าเฉลี่ย 2.55) ก็อยู่ในระดับดี และเช่นเดียวกับพัฒนาการด้านสติปัญญาโดยรวมอยู่ในระดับดี  (ค่าเฉลี่ย 2.55) และทุกรายการต่างอยู่ในระดับดี คือ มีความสามารถใน                    การคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมตามวัย (ค่าเฉลี่ย 2.57)  อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข(ค่าเฉลี่ย 2.56) มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ (ค่าเฉลี่ย 2.55) ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย (ค่าเฉลี่ย 2.54) และ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีทักษะในการแสวงหาความรู้ (ค่าเฉลี่ย 2.53)
4. ความพึงพอใจใจสภาพผลผลิต พบว่า ความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียนและครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.98) ทุกด้านและทุกรายการต่างอยู่ในระดับมาก คือ โดยความพึงพอใจในสภาพผลผลิตด้านอารมณ์-จิตใจ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.06) รองลงมา คือ ด้านร่ายกาย (ค่าเฉลี่ย 3.95) ด้านสังคม (ค่าเฉลี่ย 3.94) และด้านสติปัญญาจะมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจน้อยกว่าทุกด้าน (ค่าเฉลี่ย 3.70) เช่นเดียวกับความพึงพอใจของกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ที่พบว่า ความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.04) ทุกด้านและทุกรายการต่างอยู่ในระดับมาก คือ โดยความพึงพอใจในสภาพผลผลิตด้านร่างกาย มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.33) รองลงมา คือ ด้านอารมณ์-จิตใจ (ค่าเฉลี่ย 4.21) ด้านสังคม (ค่าเฉลี่ย 3.95) และด้านสติปัญญาจะมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจน้อยกว่าทุกด้าน (ค่าเฉลี่ย 3.85)
5. ความต้องการด้านหลักสูตรปฐมวัย ซึ่งเป็นความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน ครู พี่เลี้ยงเด็กปฐมวัย กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองเด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้
1. มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่มีทิศทางที่ชัดเจน มุ่งอนาคต มีความเป็นไปได้ เหมาะกับท้องถิ่น และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจในปัจจุบันและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558
2. กำหนดเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยใหม่ ให้มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และทิศทางการเปลี่ยนแปลงและควรกำหนดเป้าหมายทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพที่ตรวจสอบการบรรลุผลได้ชัดเจน
3. โครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ควรกำหนดสาระการเรียนรู้รายปีที่ชัดเจนและสอดคล้องกับหลักการ แนวคิดการจัดการศึกษาในสังคมโลกปัจจุบันและทิศทางในอนาคตว่าเด็ก                     แต่ละช่วงวัยควรจะเรียนรู้อะไรและด้วยประสบการณ์สำคัญใดบ้าง
4. จัดหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องและครอบคลุมเป้าหมาย คือ มาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ ควรกำหนดกิจกรรมที่ให้เด็กปฏิบัติ มีรูปแบบการประเมินพัฒนาการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาและปรับปรุง ชื่อหน่วยควรสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและสังคมของเด็ก เหมาะสมกับวัยความสนใจและความสามารถของเด็กและควรมีหน่วยการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน เพื่อรับกับการเปิดประชาคมอาเซี่ยนในปี พ.ศ. 2558
5. จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ในแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจน เหมาะสมและสามารถนำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยคำนึงถึงความต้องการ ความสนใจในการเรียนรู้ของเด็ก จัดเวลา เนื้อหา สื่อให้เหมาะสมสอดคลองกับกิจกรรม/สาระการเรียนรูและสามารถวัดและประเมินผลไดตามที่กำหนด
6. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ไม่ควรยึดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งให้มีการเปลี่ยนแปลงยืดหยุ่นอยู่ตลอดเวลาให้เหมาะกับกลุ่มเด็กและสภาพแวดล้อมทั้งในด้าน                       การจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศ รูปแบบเนื้อหาสาระ เทคนิค วิธีการเพื่อเด็กจะได้นำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นควรจัดบรรยากาศที่ปราศจากความกลัวและให้มีความท้าทายให้ต้องการเรียนรู้
7. ควรมีการปรับปรุงและใช้แหล่งเรียนรู้รอบตัว สื่อให้มีความหลากหลายมีความเพียงพอกับความต้องการของเด็กให้มากขึ้น
8. กระบวนการจัดกิจกรรมประจำวัน ควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนและจัดกิจกรรมประจำวันให้น่าสนใจ เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก ตลอดจนให้มีการวางแผนการจัดกิจกรรมประจำวันอย่างเป็นระบบ จะไม่ทำให้เด็กรู้สึกเบื่อหน่ายสิ่งสำคัญให้มีความเมตตากรุณาต่อเด็กทุกคน
9. การประเมินพัฒนาการ ควรเน้นการประเมินพัฒนาการตามสภาพจริงให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการ เพื่อให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพ ให้เด็กมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองและให้ผู้ปกครองเด็กมีบทบาทในการประเมินพัฒนาการบุตรหลานของตนเองให้มากขี้น
IP : บันทึกการเข้า
virusnum
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 07 สิงหาคม 2013, 20:39:22 »

อภิปรายผล
   1. จากที่พบว่าสภาพการดำเนินงานหลักสูตรในทุกด้าน คือ ด้านวิสัยทัศน์ของหลักสูตร ด้านเป้าหมายของหลักสูตร  ด้านโครงสร้างของหลักสูตร ด้านหน่วยการเรียนรู้ ด้านแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ด้านกระบวนการจัดกิจกรรมประจำวัน ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้ และด้านการประเมินพัฒนาการ ที่พบว่าต่างดำเนินงานอยู่ในระดับมาก อาทิ วิสัยทัศน์ สะท้อนเอกลักษณ์ของสถานศึกษา วิสัยทัศน์กระชับชัดเจน ทุกคน ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน และวิสัยทัศน์การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยชัดเจน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบและเครือข่ายอำเภอขุนตาลที่ผ่านมา ที่ดำเนินการได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งผลการศึกษาที่ปรากฏเช่นนี้น่าจะด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ คือ
      1.1 การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบและเครือข่ายอำเภอขุนตาล ได้ยึดหลักการและแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยตามที่หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 กำหนดไว้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2547) ทั้งในด้านการจัดโครงสร้างของหลักสูตร การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การจัดประสบการณ์                    การเรียนรู้และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ กระบวนการจัดกิจกรรมประจำวัน การจัดสื่อและแหล่งเรียนรู้และการประเมินพัฒนาการ
   1.2 การดำเนินงานเกี่ยวกับหลักสูตรปฐมวัยของโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบและเครือข่ายอำเภอขุนตาลที่ผ่านมา ได้ดำเนินการบนหลักการพื้นฐานของความร่วมมือ (Cooperation) และการมีส่วนร่วม (Participation) ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีการสร้างความเข้าใจและความสำคัญของการศึกษาปฐมวัย                    การระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่ายในเกือบทุกเรื่อง มีการติดตามและประเมิน มีการประชุมเพื่อปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงานให้ทุกฝ่ายได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จาก                              ผลการศึกษาความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองเกี่ยวกับสภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนที่อยู่ในระดับมาก เช่นกัน อาทิ โรงเรียนให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนได้เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัย โรงเรียนมีความพร้อมในการจัดการศึกษาปฐมวัย ครูได้จัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้ดี โรงเรียนได้จัดสื่อ อุปกรณ์                      การเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยมีความเพียงพอและเหมาะสม โรงเรียนจัดอาคารและสถานที่สำหรับเด็กปฐมวัยได้เหมาะสมและโรงเรียนได้มีการปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนระดับปฐมวัยให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้ปกครองหรือชุมชนเป็นต้น
      1.3 การได้รับการสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สื่อ และด้านวิชาการตามโครงการโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและได้รับการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องจากโครงการฯ ทุกปีงบประมาณ/ปีการศึกษา จึงทำให้โรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบและเครือข่ายอำเภอขุนตาล จะต้องมีการปรับปรุง พัฒนาการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ที่เน้นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐาน (Brain Base Learning) กระบวนการจัดกิจกรรมประจำวันที่ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กตามวัย การจัดสื่อและแหล่งเรียนรู้ให้เหมาะสม และ                  การประเมินพัฒนาการที่ให้สอดคล้องกับตัวบ่งชี้พัฒนาการของเด็กปฐมวัย 
2. จากที่พบว่าสภาพของผลผลิต ซึ่งเป็นพัฒนาการเด็กปฐมวัยของโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยและโรงเรียนเครือข่ายในทุกด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญาที่พบว่าอยู่ในระดับดี ซึ่งข้อค้นพบสภาพผลผลิตเช่นนี้ บ่งชี้ถึงประสิทธิผลของการดำเนินงานจัดการศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบและเครือข่ายอำเภอขุนตาล เป็นอย่างดี ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาความพึงพอใจใจสภาพผลผลิตของผู้บริหารโรงเรียน ครู กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในการศึกษาเดียวกันนี้ที่อยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยเหตุปัจจัยหลักสำคัญในสภาพของผลผลิตที่เกิดขึ้น ก็คือปัจจัยของการดำเนินงาน คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครู ครูพี่เลี้ยง ตลอดจนกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ต่างให้ความสำคัญและมีความมุ่งมั่นใน                      การดำเนินงาน และกระบวนการดำเนินงานหลักสูตรที่มีการดำเนินงานตามแนวคิด หลักการจัดการศึกษาปฐมวัยและมีการประสานความสัมพันธ์ ความร่วมมือและร่วมกันดำเนินการ มีการติดตามประเมินและปรับปรุง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังที่ได้อภิปรายในข้อที่ 1
   3. จากสรุปผลด้านความต้องการด้านหลักสูตรปฐมวัย ที่เป็นความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน ครู พี่เลี้ยงเด็กปฐมวัย กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ซึ่งแสดงออกในทิศทางที่มีความต้องการที่จะให้มีการปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรในด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นนัยว่า ถึงแม้หลักสูตรและสภาพ                                        การดำเนินงานและสภาพผลผลิตของหลักสูตรปฐมวัยของโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยและโรงเรียนเครือข่าย อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ ที่จะใช้ดำเนินการต่อไปได้ แต่ยังไงก็ตามต่างก็มีความต้องการที่จะให้มีการปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรในด้านต่างๆ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจในปัจจุบันและทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ประเทศไทยจะต้องเข้าเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ก็มีความต้องการที่จะให้มี                         การปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยและโรงเรียนเครือข่ายในด้านต่างๆ ดังข้อสรุปผลการศึกษาข้างต้น   
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอในการนำผลการวิจัยไปใช้
   จากผลการวิจัยที่พบว่าสภาพการดำเนินงานหลักสูตร สภาพของผลผลิตที่อยู่ในระดับมาก ซึ่งเป็นระดับที่พึงพอใจ แต่ในส่วนความต้องการด้านหลักสูตรปฐมวัย ที่เป็นความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน ครู พี่เลี้ยงเด็กปฐมวัย กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ซึ่งแสดงออกในทิศทางที่มีความต้องการที่จะให้มีการปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรในด้านต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจในปัจจุบันและทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ประเทศไทยจะต้องเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 นั้น เป็นสิ่งที่โรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยและโรงเรียนเครือข่าย อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย รวมถึงโรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยอื่นๆ ควรที่จะต้องหันมาพิจารณาทบทวนหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่ใช้ดำเนินการอยู่ว่าควรที่จะมีการปรับปรุง พัฒนาอย่างไร หรือไม่ เพื่อให้การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียน ซึ่งนอกเหนือจากการที่ต้องยึดมั่นในหลักการ แนวคิดทางทฤษฏีการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย และสอดคล้องกับเป้าหมาย                     ทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศแล้ว ได้ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน สังคมและตอบสนองต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) และในระยะเวลาอันใกล้เข้ามาทุกขณะ คือ การเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558   
     ข้อเสนอในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาเชิงลึก (Deep Study) ถึงประเด็นที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการที่จะ
ต้องปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สังคมและตอบสนองต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมโลก หรือ
2. ควรมีปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่เสริมสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัย
อย่างรอบด้าน (Whole Development) โดยยึดมั่นในหลักการ แนวคิดทางทฤษฏีการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย สอดคล้องกับเป้าหมายทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศและตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน สังคมและตอบสนองต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) และในระยะเวลาอันใกล้เข้ามาทุกขณะ คือ การเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558
   
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!