เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 เมษายน 2024, 19:32:09
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  นักลงทุน การเงิน การธนาคาร
| | |-+  สินเชื่อสร้างบ้าน ไม่ทำประกันชีวิตได้ไหม
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน สินเชื่อสร้างบ้าน ไม่ทำประกันชีวิตได้ไหม  (อ่าน 768 ครั้ง)
siamcantona
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 757



« เมื่อ: วันที่ 17 กรกฎาคม 2013, 08:30:57 »

ข้องใจว่าเวลาเราขอสินเชื่อสร้างบ้าน หรือสินเชื่ออื่น ๆ ไม่ทำประกัันชีวิตได้ไหม
IP : บันทึกการเข้า
Cupid
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,941


Experience is the best teacher.


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 17 กรกฎาคม 2013, 15:49:58 »


เท่าที่พอทราบนะครับ

การขอสินเชื่อสร้างบ้าน ซื้อรถ หรือสินเชื่ออื่นๆ ปัจจุบันสถาบันการเงินผู้ให้กู้มักจะให้ผู้กู้ทำประกันชีวิต
โดยสถาบันการเงินเป็นผู้รับประโยชน์ เพื่อตัดปัญหายุ่งยากในอนาคต โดยหากผู้กู้เสียชีวิตลงก่อนที่จะ
ผ่อนชำระสินเชื่อหมด ผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้ที่เหลือเต็มจำนวนจากบริษัทผู้รับประกันฯ ทายาทของผู้
ให้กู้ก็จะได้รับทรัพย์สิน (บ้าน ที่ดิน รถ ) ที่เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อโดยปราศจากภาระผูกพัน
ไม่ต้องชำระเงินให้สถาบันการเงินผู้ให้กู้อีกต่อไป

การทำประกันชีวิตของผู้กู้ดังกล่าวจึงน่าจะเป็นผลดีต่อทั้งผู้ให้กู้ (สถาบันการเงิน) และทายาทของผู้กู้
นะครับ
IP : บันทึกการเข้า
AIT
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,914



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 21 กรกฎาคม 2013, 01:10:20 »

ส่วนใหญ่แบ๊งค์จะใ้ห้ทำหมดนะครับ
IP : บันทึกการเข้า
auddy2507
" ผู้มีความกล้า " ย่อมมี " ความหวังเสมอ "
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 980


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 21 กรกฎาคม 2013, 11:22:17 »

     ถ้ามองด้วยความเป็นกลาง การขอสินเชื่อแล้ว..ต้องทำประกันชีวิต ผมคิดว่ามี
ประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ครับ..เพราะ..

1. ผู้ให้กู้ ต้องการลดความเสี่ยง และป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
2. ผู้กู้ เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับทายาท หากเกิดสิ่งไม่คาดฝันในอนาคต ถ้าจะ
    เรียกให้ดูดี ควรเรียกว่า "ทำประกันโฉนด"  น่าจะดีกว่า เพราะ..หากผู้กู้เป็นอะไรไป
    ทายาท สามารถไปรับโฉนดคืนได้ โดยไม่ต้องทำอะไร เนื่องจาก บ.ประกัน เขารับ
    ผิดชอบแทนแล้วอ่ะครับ..
 
    ดังนั้น..การขอสินเชื่อแล้ว..ต้องทำประกันชีวิต..ผมคิดว่าไม่ใช่ปัญหา?
ปัญหา คือ ความเหมาะสมของวงเงินที่ต้องทำประกัน มากกว่า..

ยกตัวอย่าง     ขอสินเชื่อ 1.0 ล้านบาท โดยมีหลักทรัพย์ มูลค่า 2.0 ล้านบาท(แยกเป็น
(ราคาที่ดิน 1.0 ล้านบาท และราคาบ้าน 1.0 ล้านบาท)ค้ำประกัน โดยผู้ให้กู้มีเงื่อนไขว่า
ก. ให้ทำประกันทรัพย์สิน(บ้าน) วงเงิน 1.0 ล้านบาท และยัง
ข. ให้ทำประกันชีวิตเพิ่มอีก วงเงิน 1.0 ล้านบาท ด้วย

     ถ้าเป็นลักษณะแบบนี้ เราต้องเจรจาพูดคุยกันก่อนจ่ายเงินล่ะครับ..เพราะ
- หลักทรัพย์ที่เสนอค้ำประกัน มูลค่ามากกว่ามูลหนี้
- ความเหมาะสม..วงเงินที่ให้ทำประกัน(มาก/น้อย)ไปหรือไม่?
 
จากตัวอย่างสมมติ เราจะเห็นว่าเงื่อนไขของผู้ให้กู้ ดูแล้วเปรียบเหมือน เวลาฝนตก เขาให้
เราสวมเสื้อกันฝนแล้ว ยังให้เรากางร่มอีกชั้นหนึ่ง ถ้าเป็นอย่างนี้ เราต้องพิจารณาถึงความ
เหมาะสม..ก่อนควักเงินจ่ายแล้ว..ล่ะครับ.. ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ

IP : บันทึกการเข้า

"เมื่อมีจงรู้จักให้  เมื่อได้จงรู้จักพอ  เมื่อขอจงรู้จักคุณค่า"
chamrus
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 556


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 27 กรกฎาคม 2013, 14:26:37 »

ไม่ทำก็ได้ครับ แต่จะไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อ  เศร้า เศร้า เศร้า
IP : บันทึกการเข้า
simplack
พี่คนนี้นั้นมีแต่ให้
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,211



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 27 กรกฎาคม 2013, 14:30:59 »


เท่าที่พอทราบนะครับ

การขอสินเชื่อสร้างบ้าน ซื้อรถ หรือสินเชื่ออื่นๆ ปัจจุบันสถาบันการเงินผู้ให้กู้มักจะให้ผู้กู้ทำประกันชีวิต
โดยสถาบันการเงินเป็นผู้รับประโยชน์ เพื่อตัดปัญหายุ่งยากในอนาคต โดยหากผู้กู้เสียชีวิตลงก่อนที่จะ
ผ่อนชำระสินเชื่อหมด ผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้ที่เหลือเต็มจำนวนจากบริษัทผู้รับประกันฯ ทายาทของผู้
ให้กู้ก็จะได้รับทรัพย์สิน (บ้าน ที่ดิน รถ ) ที่เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อโดยปราศจากภาระผูกพัน
ไม่ต้องชำระเงินให้สถาบันการเงินผู้ให้กู้อีกต่อไป

การทำประกันชีวิตของผู้กู้ดังกล่าวจึงน่าจะเป็นผลดีต่อทั้งผู้ให้กู้ (สถาบันการเงิน) และทายาทของผู้กู้
นะครับ
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

ได้เกิดมาเป็นคนก็ดีแค่ไหนแล้ว
กระป๋อง
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 287



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 27 กรกฎาคม 2013, 14:32:41 »

ส่วนใหญ่ ธนาคารจะให้ทำประกัน อยู่ 2 กรมธรรม์ อันแรกต้องทำ ส่วนอันที่เป็นพวกเบี้ยสะสมทรัพย์เราไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ แต่เค้ามักจะกดดันให้เราทำ สงสัยได้ยอด ยังไงศึกษาดีๆ ล่ะกันครับ

เหมือนอย่างที่ความเห็นข้างบนบอก เวลาฝนตก เราก็ต้องใส่เสื้อกันฝน แต่เราจะกางร่มอีกหรือเปล่า แล้วแต่เรา ยิ้ม ยิ้ม สู้ สู้
IP : บันทึกการเข้า
auddy2507
" ผู้มีความกล้า " ย่อมมี " ความหวังเสมอ "
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 980


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 27 กรกฎาคม 2013, 15:34:03 »

ไม่ทำก็ได้ครับ แต่จะไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อ  เศร้า เศร้า เศร้า

     ไม่จริงครับ..ท่านขอสินเชื่อกับธนาคารไหนครับ..ลองพิจารณาคำสั่ง ธปท.2/04/56
ปล.แหล่งข้อมูล ธปท. ครับ (ธปท.คือผู้ควบคุมและกำกับดูแลสถาบันการเงินอ่ะครับ)

ขออนุญาต..ผู้ดูแลบอร์ด..ข้อความอาจจะยาว ผมคัดลอกมาจาก ธปท.ถ้ามีเวลาอยาก
ให้สมาชิกทุกท่านอ่านให้จบครับ..น่าจะมีประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย..ขอบคุณครับ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (      ธปท.) ออกประกาศเรื่อง แนวนโยบายการกำกับดูแลการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยผ่านธนาคารพาณิชย์ ลงนามโดยนางฤชุกร สิริโยธิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. ระบุว่า

ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์เป็นนายหน้า ค้าจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน การเป็นนายหน้าประกันชีวิต และนายหน้าประกันวินาศภัย ซึ่งปัจจุบันธนาคารพาณิชย์มีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะการเป็นนายหน้าหรือผู้แนะนำผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอและเหมาะสม ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งต้องให้สิทธิแก่ผู้บริโภคในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ตามความจำเป็น ซึ่งเป็นไปตามสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภค ได้แก่ 1.สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง 2. สิทธิที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินได้อย่างอิสระ 3.สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม และ 4. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาค่าชดเชยหากเกิดความเสียหาย

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาธปท.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยของธนาคารพาณิชย์เป็นระยะๆ เช่น กรณีที่เจ้าหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์เสนอขายประกันชีวิตพ่วงกับบริการตู้นิรภัย หรือการให้สินเชื่อหรือการชักชวนให้ผู้บริโภคซื้อหน่วยลงทุน ตราสารหนี้ หรือทำประกันชีวิตแทนการฝากเงิน โดยมิได้ชี้แจงถึงความเสี่ยงหรือให้ข้อมูลต่อผู้บริโภคไม่ชัดเจน ซึ่งธปท.เห็นว่าเรื่องร้องเรียนดังกล่าวอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ธปท.จึงได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลดาหลักทรัพย์และสำนักงานคณะกรรมการกำกับธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจประกันภัย โดยทั้งสามหน่วยงานมีความเห็นร่วมกันให้มีการออกแนวนโยบายฉบับนี้ เพื่อกำหนดมาตรการกำกับดูแลการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยผ่านธนาคารพาณิชย์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยต้องคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภค และกำหนดหน้าที่ให้ธนาคารพาณิชย์พึงปฏิบัติเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคดังกล่าว                                     

สำหรับแนวนโยบายฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับดูแลการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยผ่านธนาคารพาณิชย์ โดยให้คำนึงถึงสิทธิของผู้บริโภคเป็นสำคัญ อาทิ การเสนอขายผลิตภัณฑ์ของธนาคารพาณิชย์ ต้องแสดงความแตกต่างให้ผู้บริโภคเห็นชัดเจน ระหว่างผลิตภัณฑ์หลักของธนาคารพาณิชย์ กับผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัย เช่น เงินฝาก กับประกันชีวิต เงินฝากกับตั๋วแลกเงิน โดยต้องแสดงให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยนั้นไม่ใช่เงินฝาก จึงอาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับเงินต้นคืนไม่เต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น)

ธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ และผลตอบแทนที่ผู้บริโภคจะได้รับ รวมถึงทรัพย์สินอื่นใดที่ได้รับนอกจากดอกเบี้ย เช่น ในรูปของผลตอบแทนรายปี หรืออัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของโครงการ หรืออัตราผลตอบแทนเฉลี่ยจากการลงทุน  และสมมติฐานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเปิดเผยความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคสนใจจะลงทุนอย่างเพียงพอและโปร่งใส


     ห้ามธนาคารพาณิชย์บังคับขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยควบคู่กับผลิตภัณฑ์ของธนาคารพาณิชย์ หรือกำหนดเป็นเงื่อนไขในการขายหรือให้บริการผลิตภัณฑ์หลัก เช่น ให้ผู้บริโภคทำประกันภัยกับบริษัทใด บริษัทหนึ่ง เพื่อเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาการให้สินเชื่อหรือให้ผู้บริโภคทำประกันชีวิตก่อนเมื่อขอใช้บริการเช่าตู้นิรภัย โดยธนาคารพาณิชย์ต้องให้สิทธิแก่ผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคปฎิเสธการซื้อผลิตภัณฑ์ได้

ห้ามธนาคารพาณิชย์ส่งเสริมการขายในลักษณะชิงโชค จับฉลาก เว้นแต่เป็นกรณี การลด แลก แจก แถม ให้ดำเนินการตามที่หน่วยงานหลักในการกำกับดูแลกำหนด

ในการใช้สื่อทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการขาย ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่ชวนเชื่อเกินจริง ไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิต ไม่เป็นเท็จ และต้องชี้แจงข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณาเพื่อตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคด้วย

ในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยในทุกช่องทางควรอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม หรือตามที่หน่วยงานหลักในการกำกับดูแลกำหนด โดยต้องไม่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความรำคาญ หรือสูญเสียสิทธิความเป็นส่วนตัว โดยธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ริโภคสามารถปฎิเสธการติดต่อได้ รวมถึงต้องมีกระบวนการภายในที่รวบรวมข้อมูลผู้บริโภคที่ไม่ประสงค์รับการติดต่อจากธนาคารพาณิชย์ในการขายผลิตภัณฑ์หนึ่งผลิตภัณฑ์ใด

พนักงานขายต้องได้รับใบอนุญาตตามเกณฑ์ที่หน่วยงานหลักในการกำกับดูแลกำหนดและธนาคารพาณิชย์ต้องดำเนินการเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบว่า บุคคลใดเป็นผู้ได้รับอนุญาตในการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์ และด้านประกันภัย เช่น มีการติดป้ายหรือสัญลักษณ์ที่ชัดเจน มีการแจกเอกสารชี้ชวนหรือเอกสารสรุปข้อมูลสำคัญประกอบการเสนอขาย เป็นต้น
วันที่ 2 เมษายน 2556
IP : บันทึกการเข้า

"เมื่อมีจงรู้จักให้  เมื่อได้จงรู้จักพอ  เมื่อขอจงรู้จักคุณค่า"
Cupid
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,941


Experience is the best teacher.


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 27 กรกฎาคม 2013, 18:33:40 »


ขอบคุณท่าน auddy2507 ที่กรุณานำคำสั่ง ธปท.2/04/56 มาเผยแพร่ให้รับทราบกันนะครับ

เพื่อท่านที่จะกู้เงินธนาคารจะได้ใช้ดุลพินิจให้เหมาะสม เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดกับตัวท่านผู้กู้และ
ครอบครัวในการทำประกันชีวิตเมื่อจะกู้ยืมเงินธนาคาร
IP : บันทึกการเข้า
อ็อด หมูน้อย....
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,621



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 29 กรกฎาคม 2013, 15:04:17 »


เท่าที่พอทราบนะครับ

การขอสินเชื่อสร้างบ้าน ซื้อรถ หรือสินเชื่ออื่นๆ ปัจจุบันสถาบันการเงินผู้ให้กู้มักจะให้ผู้กู้ทำประกันชีวิต
โดยสถาบันการเงินเป็นผู้รับประโยชน์ เพื่อตัดปัญหายุ่งยากในอนาคต โดยหากผู้กู้เสียชีวิตลงก่อนที่จะ
ผ่อนชำระสินเชื่อหมด ผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้ที่เหลือเต็มจำนวนจากบริษัทผู้รับประกันฯ ทายาทของผู้
ให้กู้ก็จะได้รับทรัพย์สิน (บ้าน ที่ดิน รถ ) ที่เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อโดยปราศจากภาระผูกพัน
ไม่ต้องชำระเงินให้สถาบันการเงินผู้ให้กู้อีกต่อไป

การทำประกันชีวิตของผู้กู้ดังกล่าวจึงน่าจะเป็นผลดีต่อทั้งผู้ให้กู้ (สถาบันการเงิน) และทายาทของผู้กู้
นะครับ
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ตามนี้เลยครับ
ทำเตอะท่าน  ผมว่าส่งผลดีต่อผู้กู้ นะ  ภาระจะได้ไม่ตกกับคนข้างหลัง  ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

ชีวิตเปรียบดังกราฟ มีขึ้นและมีลงเสมอ จงอยู่ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่ง
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!