เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 19 เมษายน 2024, 18:17:35
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  บอร์ดกลุ่มชมรม
| |-+  ชมรมนักกลอน
| | |-+  ระลึกบ้านเมื่อกาลเก่า
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 พิมพ์
ผู้เขียน ระลึกบ้านเมื่อกาลเก่า  (อ่าน 2245 ครั้ง)
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« เมื่อ: วันที่ 01 มิถุนายน 2013, 09:44:51 »

 
สวัสดี ทุกท่าน

       ผมได้ประพันธ์ "รำลึกหัวตะพานบ้านเกิด"  ลองติดตาม "สัจธรรม" จาก "รำลึกหัวตะพานบ้านเก่า"
ผมจะทะยอยลงติดต่อกันไป และจะนำแต่ละตอนแยกเป็นชื่อเป็นประเด็น เผื่อได้ ต่อบทกลอนกันบ้าง

                                                                                         
                       
                                                ด้วยความจริงใจ
                                                   
                                                          จาก
                                                      ธรรมชาติธรรม
                                           http://www.naturedharma.com
                                                      ประทีป  วัฒนสิทธิ์



 


* L9.2.jpg (212.92 KB, 1000x500 - ดู 628 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 ธันวาคม 2013, 08:37:00 โดย watthanasit » IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 04 มิถุนายน 2013, 14:24:41 »

 

 

ปฐมการอยู่ร่วมแบบจิตวิญญาณ

๑ ระลึกถึงหัวตะพานบ้านถิ่นเกิด
สุดประเสริฐน้ำใจในน้องพี่
หมู่เพื่อนพ้องญาติสนิทมิตรไมตรี      
ต่างมากมีน้ำใจใคร่อาทร

   ๒  ธรรมชาติอุดมสมป่าเขา         
มีให้เรามองเห็นเป็นอนุสรณ์
คราครั้งหนึ่งในถิ่นแดนดินดอน      
เป็นนครธรรมชาติประกาศตน

  ๓   เด่นดีสมอุดมธรรมค้ำปกป้อง      
สืบครรลองธรรมดามหากุศล
ก่อเกิดบุญรุ่นเก่าของเผ่าชน         
คือมรรคผลของธรรมดาค่าอนันต์

   ๔  ตัดเบียดเบียนแก่กันสรรค์แต่ให้      
เปี่ยมน้ำใจเปรียบแคว้นแดนสวรรค์
ต่างคิดเหมือนทุกอย่างมิต่างกัน      
จิตแบ่งปันเอื้อเฟื้อจุนเจือจาน

    ๕ จะบ้านใดไมตรีมีน้ำจิต         
ทั่วทุกทิศแบบนี้มีทุกบ้าน
คอยต้อนรับขับสู้สู่เรือนชาน         
บริการผู้อาศัยด้วยไมตรี

    ๖ ดุจดังพี่ดั่งน้องร่วมท้องไส้      
มอบรักให้ประหนึ่งซึ่งน้องพี่
จัดข้าวปลาอาหารทานอย่างมี      
ชมชวนชี้ทางชีวิตจิตวิญญาณ

    ๗ ชี้ให้เห็นเป็นไปในชีวิต         
เรื่องถูกผิดนำกล่าวคอยเล่าขาน
ดุจดังเป็นเช่นกิจวิทยาการ      
เพื่อเพื่อนบ้านทั่วถิ่นได้ยินกัน

    ๘ ได้น้อมนำคำสอนก่อนปูย่า         
ยึดเป็นค่านิยมบ่มสร้างสรรค์
ด้วยคิดเห็นว่าดีมีสำคัญ         
เรื่องแบ่งปันจำจดเป็นบทเรียน

    ๙ ด้วยหนังสือตำราหามิได้         
มิมีใครบันทึกนึกขีดเขียน
การชี้เล่าเทียบเป็นเช่นแสงเทียน         
เขาแนบเนียนเหลือล้นคนเมื่อวาน

   ๑๐  ทำอย่างนี้ทุกบ้านถืองานสอน      
ดุจละครน้ำเน่าที่กล่าวขาน
ทำซ้ำซากอย่างนี้ที่พบพาน         
บริการเหมือนกันทุกบ้านไป

ประทีป  วัฒนสิทธิ์
14 สิงหาคม  2556


* L24.jpg (130.92 KB, 862x700 - ดู 8974 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 ธันวาคม 2013, 08:39:40 โดย watthanasit » IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 07 มิถุนายน 2013, 18:09:51 »

 


ธรรมาภิบาล

๑๑  แต่การสอนตามนี้มิน้ำเน่า      
สอนแล้วเล่าเตือนจิตเพื่อคิดได้
แถมตัวอย่างหลายหลากมากออกไป      
เกิดกำไรชีวิตหากคิดดู

   ๑๒  สิ่งสำคัญปฏิบัติเหมือนของเพื่อนบ้าน   
สอนลูกหลานใส่ใจได้เรียนรู้
ส่งชีวิตแสนประเสริฐเปิดประตู      
เดินเข้าสู่ธรรมาภิบาลทุกบ้านไป

   ๑๓  ยอดธรรมะสมัยก่อนที่สอนสั่ง      
ล้วนปลูกฝังลูกหลานพานสดใส
สังคมเก่าถึงธรรมล้ำวิไล         
เชื่อผู้ใหญ่ถ่ายทอดยอดทางธรรม

   ๑๔  ถ้วนทั่วรับคำสอนบรรทัดฐาน
ปลูกลูกหลานแบบฉบับนับเลิศล้ำ
ดุจพิมพ์เดียวเกี่ยวข้องของกิจกรรม
เพื่อน้อมนำจิตใจไปถูกทาง

   ๑๕  เรื่องอยู่ร่วมสังคมสมคุณค่า
มอบธรรมาเป็นเสาเอาเสริมสร้าง
แง่ตัณหาเงียบหายคลายปล่อยวาง
ยื่นตัวอย่างดีดีที่หมู่ชน

   ๑๖  ลูกหลานหลังเกิดมาพาเอาอย่าง
ทุกแนวทางยึดได้ไม่สับสน
ด้วยเห็นงามความดีนี้ทุกคน
สืบส่งผลสังคมอุดมคุณ

   ๑๗ มอบแบบอย่างอย่างว่ามานานนัก
เห็นประจักษ์สังคมมิว้าวุ่น
หัวตะพานบ้านเก่าเรามีบุญ
เติมต้นทุนความดีที่สังคม

ประทีป  วัฒนสิทธิ์
15 กันยายน 2556



* homeold.jpg (70.13 KB, 450x250 - ดู 792 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 ธันวาคม 2013, 08:42:06 โดย watthanasit » IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 07 มิถุนายน 2013, 22:08:49 »


 
บ้านมุงจากฟากไม้ใฝ่

   ๑๘  นึกถึงนอนบ้านป้าบ้านนาทุ่ง      
เจอป้าลุงอุ่นใจให้สุขสม
ในอ้อมกอดลุงป้าน่าภิรมย์         
ชวนชี้ชมสารพันสรรค์ความดี

   ๑๙  ยิ้มละมุนอุ่นละไมใจรับหลาน      
สู่เรือนชานบ้านไม้ไร้แซมสี
มุงด้วยจากหาง่ายมากมายมี         
นับนานปีถึงเปลี่ยนหมุนเวียนไป

   ๒๐  บริเวณบ้านเป็นหลักปลูกผักทั่ว      
นอกริมรั้วมากอยู่หมู่แมกไม้
ดอกไม้ป่าห้อมล้อมหอมกลิ่นไอ      
บ้านเมืองไพรวิไลยิ่งจริงจริงนา

๒๑ ลมเย็นชื่นรื่นพระพายสาดสายสด      
หลั่งรินรดกายใจใคร่ปรารถนา
เหมือนห้องแอร์ปัจจุบันสรรค์สร้างมา      
มิมีค่าใช้จ่ายสบายใจ
    ๒๒  สมัยก่อนที่อาศัยไม่หรูหรา         
ดูธรรมดามุงจากฟากไม้ใฝ่
มิแข่งขันกันสร้างแต่อย่างใด      
นับเป็นไทท่วมท้นล้นคณา
     ๒๓ ชอบบ้านไม้ของป้าบ้านนาทุ่ง      
ตื่นหัวรุ่งทุ่งเด่นเห็นสง่า
ข้าวสีทองต้องแสงแห่งสุริยา         
หากใครมาพบเห็นเป็นต้องใจ
    ๒๔ จูงเจ้าทุยจากคอกออกกินหญ้า      
ตามคันนาดึงจมูกผูกเชือกไว้
มิล้ำเกินต้นข้าวที่เร้าใจ         
จูงทุยไปชมทุ่งไปไม่อาทร
   ๒๕  ทุยคือเพื่อนคนใช้ให้ดีหนา      
ตามประสาพอดีที่พุทธศาสน์สอน
เพียงพออยู่มีกินถิ่นดงดอน         
มิเดือดร้อนใดใดให้ทุกข์ตรม

ประทีป  วัฒนสิทธิ์
17 กันยายน 2556



* สะพานสารสินเก่า.jpg (7.01 KB, 194x259 - ดู 375 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 ธันวาคม 2013, 08:44:38 โดย watthanasit » IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 12 มิถุนายน 2013, 13:36:21 »


 
ลงแขก - ซอ

  ๒๖  การช่วยเหลือเกื้อกันนั่นเต็มที่      
ประเพณีลงแขกยังดื่นถม
ชาวบ้านนาเห็นค่าน่าชื่นชม         
ยึดนิยมร่วมกันนั้นเรื่อยมา

    ๒๗ คำ “ลงแขก” เรียก “ซอ” ก็เหมาะสม
ด้วยเกลียวกลมร่วมกันสู้ฟันฝ่า
งานใดหนักนิยมซอมิรอรา
ทั่วถ้วนหน้าพร้อมใจไปด้วยดี

    ๒๘ ซอไถนาใช้ควายหลายหลายคู่
มาเป็นกลุ่มรวมเป็นหมู่มิสู้หนี
ซอดำนาเก็บข้าวก็เข้าที
ประเพณีการซอเหมาะดีนา

    ๒๙  ถึงหน้าไถช่วยไถไม่ลดละ      
จักไถดะไถคราดตามปรารถนา
ตกตอนดำช่วยดำเป็นธรรมดา         
ยามเก็บเกี่ยวก็พาลงนากัน

   ๓๐  หิ้วข้าวห่อช่อปั้นกันครันครบ      
มาสมทบเจ้าบ้านการสร้างสรรค์
ยึดประเพณีการให้ได้แบ่งปัน         
เรื่องผูกพันสวรรค์บ้านนาเรา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 ธันวาคม 2013, 08:46:27 โดย watthanasit » IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 15 มิถุนายน 2013, 09:53:04 »

 

บ้านเหนือ-นา-ทะเล

  ๓๑  ถึงตอนนี้ชี้ความตามต่อเนื่อง
เพื่อประเทืองความรู้ดูเรื่องเก่า
ได้รู้บ้างกิจกรรมพอทำเนา
จะขอเล่ากิจกรรมการทำนา

   ๓๒  แถบนนี้นาดำทำทุกบ้าน
ทำนาหว่านมิมีแถบนี้
มีห้วยคลองมากหลายสายธารา
น้ำไหลมาพอเพียงเลี้ยงพืชพันธุ์

    ๓๓  รู้ทำนบกั้นคลองต้องใช้น้ำ
ช่วยกันทำเต็มแรงอย่างแข็งขัน
ทั่วหมู่บ้านร่วมด้วยมาช่วยกัน
เพียงครึ่งวันเสร็จงานเบิกบานใจ

    ๓๔  ยามข้าวสุกเต็มนามาเก็บเกี่ยว
“เก็บ”อย่างเดียว “เกี่ยว” นั้นมันมิใช้
เครื่องมือ “แกะ” ที่เก็บข้าวก็นั่นไง
จักเก็บไวได้งานเข้าการดี

   ๓๕  ตัดก้านรวงให้ยาวราวหกนิ้ว
กำแน่นกิ่วสองกำมือถือได้ที่
นำมามัดด้วยซังช่างเข้าที
หนึ่งมัดนี้เรียก “เลียงข้าว” ขอเข้าใจ

     
ประทีป  วัฒนสิทธิ์
26 กันยายน 2556

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 ธันวาคม 2013, 08:48:16 โดย watthanasit » IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 18 มิถุนายน 2013, 08:30:33 »

 

หนวน- เลียงข้าว - แสก   

  ๓๖ ขนเลียงข้าวจากนาพาลำบาก
เอาใส่ “หนวน” ควายลากยังพอไหว
หากมีเกวียนดีกว่าพาแบบใด
ที่หนักไซร้ใช้คนหาบทราบกันดี

    ๓๗ พวกผู้ชายใช้ “แสรก” เอามาหาบ
ยังเห็นภาพคุณพ่อมิท้อหนี
เหงื่อโทรมกายไหลบ่าทั่วกายี
ยังเห็นพี่ตามหลังพ่อพอพอกัน

    ๓๘ “แสรก” คำใต้กลางหรือคือ “สาแหรก”
ใช่เรื่องแปลกภาษาพาสุขสันต์
สำเนียงใต้กร่อนคำที่จำนรรจ์
เสียงจึงสั้นรวบรัดจัดเข้าที

     ๓๙ หากว่าทูนผู้หญิงเก่งจริงหนา
สามารถพาสิบเลียงเสี่ยงไหมนี่
คอแข็งแรงแกร่งหนาพวกนารี
ชายชาตรียังเขินเดินสวนกัน

    ๔๐ เก็บเลียงข้าวใส่ยุ้งมิยุ่งยาก
แต่ต้องตากให้แห้งเสียก่อนนั่น
จักมิชื้นขึ้นราสารพัน
ไว้หลายวันห้าหกปีมิเป็นไร



* 5.jpg (7.58 KB, 279x181 - ดู 443 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 ธันวาคม 2013, 08:50:17 โดย watthanasit » IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 20 มิถุนายน 2013, 20:51:08 »


  เพิงข้าว

   ๔๑ “ยุ้งข้าว” ชาวใต้ใช้ “เพิงข้าว”
ขอบอกกล่าวรู้คำที่นำใช้
รำลึกเก่าเล่าขานเบิกบานใจ
ยิ่งนานไปลืมหายเสียดายนา 

    ๔๒ ขอกล่าวถึงพันธุ์ข้าวสมัยนั้น
มีหลายพันธุ์ดีดีที่เสาะหา
เลือกพันธุ์ปลูกถูกพื้นที่และเวลา
นึกขึ้นมาเสียดายข้าวหายไป

    ๔๓ ล้วนแต่พันธุ์พื้นบ้านเนานานนัก
ต่างรู้จักกันดีมีพันธุ์ไหน
“ช่อปรีดำ” ชื่อดี นี่ “ติดไซ”
พอเห็นใบเห็นต้นคนรู้กับ

    ๔๔ “ข้าวเจ้าโป้” โอ้ชื่อถือว่าแปลก
“ข้าวหลอกแขก” สีคล้ายเหนียวจริงเจียวนั่น
หลอกว่าเป็นข้าวเหนียวได้เลยพลัน
สีของมันคล้ายข้าวเหนียวจริงเจียวนา

    ๔๕ อัน “ข้าวหอม” ทางใต้ผมชอบยิ่ง
หอมจริงจริงระรื่นชื่นนาสา
ยังติดใจมิแปรแม้นานมา
คลุกน้ำปลาร้อนร้อนช้อนหมดจาน




* L9.1.jpg (79.44 KB, 500x950 - ดู 325 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 ธันวาคม 2013, 08:52:07 โดย watthanasit » IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2013, 08:46:52 »


 size=24pt]ครกเดื่อง[/size]   

 ๔๖  ขอสอดแทรกกรรมวิธีการสีข้าว
ขอบอกกล่าวให้รู้สู่ลูกหลาน
ภูมิปัญญาหาใดไหนเปรียบปาน
หัวตะพานเรามีดีนักแล

    ๔๗ “ครกสีข้าว” นั้นมีนี้ทุกบ้าน
สีข้าวสารเป็นกล้องของดีแท้
วิตะมินครบครันมิผันแปร
คนเก่าแก่เก่งกาจฉลาดคน
   
    ๔๘  ข้าวที่สีใส่กระด้งคงต้องร่อน
กากลอยว่อนมากมีนี้เหลือล้น
กระด้งร่อนกากลอยค่อยอยู่บน
สีอีกหนหรือไม่ใส่ครกตำ

    ๔๙  หากผ่อนแรงไม่ตำนำมา “เดื่อง”
นี่คือเรื่องค่าปัญญาค่าเลิศล้ำ
ใช้ไม้คานแทนสากกระชากทำ
ถีบปลายคานโยกย้ำตำครกพลัน

   ๕๐   ที่ปลายคานติดสากฝากเอาไว้
ก็ตำได้อย่างดีนี่แม่นมั่น
ดุจกระดานหกดั่งเช่นเด็กเล่นกัน
ที่สำคัญผ่อนแรงช่วยแบ่งเบา

    ๕๑ ข้าวที่เดื่องที่ตำกำหนดได้
กล้องมากไปตำต่อค่อยรอเฝ้า
คอยตำไปดูไปตามใจเรา
ว่าจะเอาแบบใดไม่ยากเลย
 
ประทีป  วัฒนสิทธิ์
18 ตุลาคม 2556

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 ธันวาคม 2013, 08:54:13 โดย watthanasit » IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 23 มิถุนายน 2013, 13:37:13 »


         น่ำข้าว

    ๕๒ ถึงตอนนี้มีเรื่องข้าวมาเล่าเพิ่ม
หยิบยกเสริมข้าวไร่ใคร่เฉลย
สิ่งฝังใจใคร่ฝากยากละเลย
คอยเปิดเผยแจ้งความตามพบพาน

    ๕๓  ขอตั้งต้นนำกล่าวปลูกข้าวไร่
ผิดแผกไปนาดำทำนาหว่าน
ถางป่าใหม่ดีนักจักต้องการ
ดินใดปานข้าวไร่ให้ขึ้นดี

    ๕๔ ดินไร่ใหม่ร่วนซุยปุ๋ยมากล้น
ข้าวแตกต้นแตกก่ออ๋อเต็มที่
รวงก็ใหญ่เมล็ดงามไปตามที
จักมิมีเมล็ดฝ่ออ๋องามตา

    ๕๕ ปลูกข้าวไร่ใต้มีวิธี “น่ำ”
วิธีทำง่ายง่ายใช่ยากหนา
มี “ไม้สัก” ยาวถึงสักครึ่งวา
ตัดไม้มาใหญ่เพียงเคียงกำมือ

    ๕๖  ปลายข้างหนึ่งเหลามนจนได้ที่
คนหนึ่งมีสองอันยึดมั่นถือ
สักเป็นหลุมง่ายดายง่ายนักฤๅ
นี่ก็คือ “แทงสัก” จักเรียกกัน

    ๕๗  รูแทงสักห่างกันนั่นคืบกว่า
เมล็ดข้าวมาหยอดใส่ในหลุมนั่น
สิบถึงสิบห้าเมล็ดลงหลุมพลัน
ต่อจากนั้นดินกลบครบขั้นตอน

    ๕๘ วิธีการที่ทำเรียก “น่ำข้าว”
หนุ่มแก่สาวทำได้ง่ายต่อสอน
“น่ำ” คือปลูกนั่นแลอย่างแน่นอน
ชาวนคร ฯ ส่วนใหญ่ให้รู้กัน

    ๕๙  เขาน่ำข้าวราวราวต้นเดือนหก
“ฝนพรัด” ตกชื่นฉ่ำน้ำสวรรค์
ระเริงใจไหนเล่าเหล่าพืชพันธุ์
นี่แบ่งปันธรรมชาติสะอาดวิไล




* pratat1.jpg (29.09 KB, 375x258 - ดู 1334 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 ธันวาคม 2013, 08:55:59 โดย watthanasit » IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
Yim sri
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,753



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 23 มิถุนายน 2013, 16:08:34 »

ชอบกลอนทุกบท
ชอบรูปประกอบทุกรูป
สัญญลักษณ์หรือรูปประจำตัวคล้ายหัวเม็ดของกลุ่มสถาปัตย์นะคะ ยิงฟันยิ้ม

IP : บันทึกการเข้า

ธ สถิตย์ในใจตราบนิรันดร์กาล
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 25 มิถุนายน 2013, 22:26:15 »

 

พริกขี้นก

  ๖๐ “พริกขี้นก” บ้านผมนิยมปลูก
ด้วยผลลูกเผ็ดดีมิมีไหน
รถกลมกล่อมหอมดีมิมีใด
สิบห้าเม็ดใส่แกงแรงเผ็ดพอ

    ๖๑  เมล็ดพริกใส่คนปนข้าวไร่
น่ำพร้อมไปหลุมเดียวดีเชียวหนอ
หลังเก็บข้าวซังผุเหลือแต่ตอ
พริกมิรอชูต้นใบให้งามดี

    ๖๒  จากไร่ข้าวเปลี่ยนไปเป็นไร่พริก
กลับมาพลิกเปลี่ยนไปในเร็วรี่
ภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นเข้าที
ด้วยเช่นนี้จึงกล่าวเล่าสู่กัน



* L7.1.jpg (102.76 KB, 500x1000 - ดู 289 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 ธันวาคม 2013, 08:57:43 โดย watthanasit » IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
Yim sri
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,753



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 26 มิถุนายน 2013, 06:50:03 »

สุดยอดเลยค่ะ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

ธ สถิตย์ในใจตราบนิรันดร์กาล
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 30 มิถุนายน 2013, 11:42:42 »


 นั่งหมู

   ๖๓  อันศัตรูข้าวไร่นี้ร้ายกาจ
ตัวฉลาดคือลิงไพรร้ายมหันต์
ฝูงเป็นร้อยน้อยเมื่อไหร่ไล่ไม่ทัน
แต่ละวันหลายฝูงจูงกันมา

    ๖๔  สัตว์อีกหนึ่งพึงตอบชอบข้าวนัก
คงรู้จักนั่นหรือคือหมู่ป่า
ขยันกินกันสนุกทุกเวลา
พ่อเคยพา”นั่งหมู” รู้เรื่องดี

   ๖๕  เรียกนั่งหมูแท้จริงไปยิงหมู
ต้องซุ่มดูอยู่เหมาะเฉพาะที่
บนจอมปลวกบนต้นไม้ให้เข้าที
บ้างครั้งมีคาดห้างต่างกันไป

    ๖๖  เหล่าสัตว์ป่าตาหูดุไวว่อง
ผู้นั่งต้องซ่อนหลบกลบพุ่มไม้
ต้องอยู่นิ่งทั้งกายแม้หายใจ
ระวังไว้ทุกทางอย่างรัดกุม

    ๖๗  อีกจมูกสัตว์ป่านานาชนิด
กลิ่นเพี้ยนผิดรับรู้ช่างสุขุม
สัมผัสพิเศษของสัตว์จัดควบคุม
สัตว์แก่หนุ่มจมูกไวเท่าได้ยิน

    ๖๘  นั่งบนลมต้องห้ามตามพรานชี้
สัตว์จะหนีเราไปเมื่อได้กลิ่น
ภูมิปัญญาพรานป่าล่าสัตว์กิน
รู้ครบสิ้นแจ้งจบอย่างครบครัน

    ๖๙  การยิงหมูรู้ไว้ไร้ไฟส่อง
จำจักต้องฟังเสียงเพียงเท่านั้น
หมูขบเคี้ยวรู้ทิศทางอย่างเร็วพลัน
หมายที่มั่นรักแร้แดงตำแหน่งดี

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 ธันวาคม 2013, 08:59:37 โดย watthanasit » IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 01 กรกฎาคม 2013, 16:12:25 »


แพวนาก

 ๗๐ เห็นนกจาบฝูงใหญ่แล้วใจหาย
ศัตรูร้ายไล่ยากมากเหลือนี่
ฝูงเป็นร้อยเป็นพันนั้นมากมี
เพียงนาทีกินข้าวมากเท่าไร

    ๗๑  ที่กล่าวว่าไล่ยากจากที่เห็น
มันจะเผ่นบินว่อนยามตอนไล่
หรือจะหนีเราบ้างมิห่างไกล
เป็นนิสัยนกจาบทราบกันดี

    ๗๒  ภูมิปัญญาชาวบ้านขอขานฝาก
ทำ “แพวนาก” นกทุกตัวจะกลัวหนี
เห็นแพวนากบินไปไม่รอรี
เป็นวิธีไล่นกจาบภาพยังจำ

    ๗๓  “หุ่นไล่กา” ทางใต้ใช้ “แพวนาก”
พูดติดปากฟังฟังยังนึกขำ
ด้วยความหมายฉันท์ใดในถ้อยคำ
แต่หุ่นทำเหมือนคล้ายหุ่นไล่กา

    ๗๔  การเรียกชื่อบางพื้นที่นี้แตกต่าง
“แพวนาก” บ้างอื่นบ้างต่างภาษา
หัวตะพานอย่างนี้ที่บอกมา
คุณลุงป้าแม่พี่ชี้สอนเรา




 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 17 ธันวาคม 2013, 09:01:29 โดย watthanasit » IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 22 กรกฎาคม 2013, 14:06:51 »



 
เตารีดผ้าสมัยนั้นมันเตาถ่าน
จะใช้งานยุ่งยากลำบากหนัก
ต้องรอถ่านติดไฟไปสักพัก
จึงย้ายยักถ่านไฟเข้าในเตา

คุมความร้อนกันเรื่อยเหนื่อยใจยิ่ง
หากทอดทิ้งเสื้อผ้าจะถูกเผา
ใช้ใบตองรองรีดร้อนบรรเทา
หรือไม่เล่าพรมน้ำความร้อนซา

สมัยนั้นเนื้อผ้ามีมาใช้
ล้วนผ้าด้ายมากมีที่เนื้อหนา
รีดให้เรียบยากยิ่งจริงจริงนา
จึงค้นหาวิธีการผ่านอุปสรรค

วิธีหนึ่งพึงใช้ได้ดั่งฝัน
ลงแป้งมันอีกครั้งหลังจากซัก
แป้งมันผสมน้ำร้อนมิมากนัก
ครึ่งจวักผสมน้ำสามสี่ลิตร

บิดเสื้อผ้าน้ำไหลไปเกือบแห้ง
ชุบน้ำแป้งซึมซับจับผ้าติด
โซมผ้าทั่วมิช้านำมาบิด
แห้งสักนิดตากลมใต้ร่มเงา

ผ้าลงแป้งรีดเรียบระเบียบสวย
ดูแววด้วยเด่นตาสง่าเฉลา
ภูมิปัญญาชาวบ้านมานานเนา
เดี๋ยวนี้เราลืมเลือนเหมือนไม่มี

เรื่องเสื้อผ้ามากล่าวสาวความก่อน
ทุกอย่างสอนจดจำแนะนำชี้
ให้รู้หลักจัดเห็นเป็นวิธี
สิ่งเหล่านี้สร้างนิสัยในการงาน

อีกกระทั่งรับผิดชอบกอบด้วยกิจ
ใจอุทิศจิตขยันประสมประสาน
แม้น้อยนิดฝึกย้ำนำสันดาน
เหล่าลูกหลานเข้มแข็งแห่งความดี
IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 03 สิงหาคม 2013, 19:06:05 »






สมัยก่อนป้อนคุณธรรมสุดล้ำเลิศ
มิละเมิดแต่น้อยคอยแนะชี้
คอยสอดแทรกทุกการงานที่มี
ทุกหน้าที่มุ่งเน้นมิเว้นวัน

สมัยนั้นอาหารทานพร้อมหน้า
ต้องรอท่าทุกคนจนพร้อมนั่น
มีมื้อเช้ามื้อเย็นเป็นสำคัญ
ไม่พร้อมกันมีเที่ยงเพียงมื้อเดียว

นั่งล้อมวงร่วมทานเบิกบานไซร้
มีอะไรคุยถามความข้องเกี่ยว
สั่งงานการตอนนี้ดีจริงเจียว
เรื่องใดเคี่ยวใดเข็ญเป็นว่ากัน

เรื่องการสอนมีมากหลากการใช้
มันมิได้แค่ถ้อยคอยเสกสรร
ใช้สายตาสั่งสอนสิ่งสำคัญ
ถือเป็นขั้นสูงสุดสะดุจใจ

เป็นการสอนให้จิตคิดวิเคราะห์
สิ่งใดเหมาะมิควรด่วนแก้ไข
รู้จักรับปรับเปลี่ยนเรียนฉับไว
วินิจฉัยด้วยตนหาหนทาง   


ประทีป  วัฒนสิทธิ์
22 ก.ค. 2556


IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2013, 14:01:01 »




ผมเคี้ยวข้าวไม่ดีมีเสียงบ้าง
พ่อก็วางตาจ้องมองตาขวาง
หยุดรับทานจานช้อนจะตั้งวาง
ลูกรอบข้างต่างตรวจสำรวจตน

ตามองจองที่ผมคล้ายข่มขู่
ผมตรวจรู้ว่าผิดใดไม่สับสน
นั่งทบทวนหวนคิดจิตเวียนวน
ก็มิพ้นค้นพบเมื่อทบทวน

ระเบียบทานอาหารนั้นมิน้อย
พ่อแม่คอยสอนเน้นเป็นกระสวน
นั่งพับเพียบขัดสมาธินี่สมควร
ห้ามช้อนกวนเลือกกับข้าวคราวชอบพอ

มิพูดคุยเสียงดังระวังมั่น
เรื่องขำขันมิควรชวนหัวร่อ
เดี๋ยวสำลักอาหารพานติดคอ
ทั้งพ่อแม่คอยสอนป้อนคุณธรรม

ใช้ช้อนดังเคี้ยวดังระวังพลาด
ตักเรี่ยราดหกหล่นหรือจนคว่ำ
ไม่ให้เอื้อมมือคว้าอาจคะมำ
มิตักซ้ำตักซ้อนช้อนมิวาง

ห้ามซดดังฟังชัดจ้ดไม่เหมาะ
หรือนั่งเคาะช้อนเล่นมือเว้นว่าง
หายใจดังถอนใจหรือไม่คราง
ทุกทุกอย่างไม่งามตามประเพณี

มีเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นเช่นความเชื่อ
คือ “ขวัญเกลือ” “ขวัญข้าว”  ขอเล่าชี้
คำว่าขวัญความหมายหรือคือความดี
ข้าวเกลือมีดีงามตามแนวทาง

หากขวัญข้าวเขากล่าวเท่าหัวเรือ
หากขวัญเกลือเขากล่าวเท่าหัวช้าง
เทียบเล็กใหญ่หากเทียบมาเปรียบวาง
เกลือเข้าข้างสำคัญนั้นแน่นอน

เป็นเพราะเกลือหายากลำบากกว่า
จึงถือค่ามากมายเอาไว้ก่อน
แต่อย่างไรทั้งสองต้องขาดรอน
จักเดือดร้อนมนุษย์สุดพรรณนา

เมื่อเห็นคุณเห็นดีตามที่กล่าว
ทั้งเกลือข้าวสองนี้ล้วนคุณค่า
ห้ามตกหล่นทุกทางทิ้งขว้างปา
จะถือว่าทำชั่วตัวกาลี

ความเชื่อถือสอนใดในทางอ้อม
ทุกคนพร้อมน้อมนำตามวิถี
มิกล้าผิดคิดชอบกอบทำดี
ความเชื่อนี้ควรปลูกฝังอย่างโบราณ
IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2013, 14:05:50 »




ขอยกเรื่องขี้ไต้ให้สว่าง
มาจากยางต้นใหญ่ขอไขขาน
บ้านผมมีร้อยกว่าน่าประมาณ
เข้าขวบกาลหนึ่งอาทิตย์ต้องติดตาม

เตรียมตะคบถักด้วยฟางอย่างเหนียวแน่น
ประมาณแขนบวกคืบสืบอีกสาม
จะพอดีพอเหมาะอ๋อพองาม
มิมีด้ามมีคันนั้นน่าดู

เตรียมปี๊บใส่น้ำมันยางอย่างพร้อมพรั่ง
เตรียม “บอกหมัง” ใส่ขี้คั่วเพียงเท่านี้
ตื่นแต่เช้าคดข้าวห่อมิรอรี
พ่อแม่พี่ผมด้วยไปช่วยพลัน

“บอกหมัง” หรือคือที่ใส่ขี้คั่ว
สีหม่นมัวตัวดำดูขำขัน
ไผ่ตงใหญ่สองปล้องห้องทะลุกัน
ใช้ใส่มัน “ขี้คั่ว” เจ้าตัวดี

เจ้าตัวดีขี้คั่วตัวอะไร
หลังเผาไฟหลุมยางอย่างร้อนจี่
ในหลุมยางน้ำมันนั้นพอมี
น้ำมันนี้ “ขี้คั่ว” ตัวถูกไฟ
IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
watthanasit
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 248



« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 09 สิงหาคม 2013, 14:11:11 »




เล่าวิธีทำยางบ้างพอรู้
เผื่อมองดูพิจารณาว่ายาดไหม
หรือได้เห็นวิถีชีวิตไพร
พอเข้าใจกันบ้างสว่างตา

ขั้นแรกสุดเจาะยางที่โคนต้น
หลุมห่างพ้นจากพื้นเมตรกว่ากว่า
สูงหนึ่งเมตรห้าสิบตามธรรมดา
หลุมกว้างห้ายาวลึกสิบนิ้วประมาณ

ภูมิปัญญาชาวบ้านการขุดหลุม
ต้องดูมุมทิศทางอย่างมาตรฐาน
ตรงรากใหญ่นั้นดีที่ต้องการ
ภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นแสนดี
 
ทิ้งหลุมยางสัปดาห์อย่าไหวหวั่น
เอาน้ำมันยางใสได้แล้วนี่
วิดน้ำมันใส่ปี๊บได้ทันที
ต่อจากนี้เผาหลุมสุมเชื้อไฟ

เป่าคบไฟทันทีมิรอช้า
มินานหนามีควันพลันลุกไหม้
เอาเชื้อเพลิงอย่างดีที่เตรียมไป
ก็ขี้ไต้จ่อคบไฟไปเผาเลย

น้ำมันยางค้างไว้ที่ในหลุม
ขี้ไต้สุมติดทันทีมิรอเฉย
หนึ่งนาทีดับได้ให้เสบย
รู้ไหมเอ่ยเอาอะไรดับไฟกัน

ใบไม้สดมากมายมาชายป่า
หักเอามาหนึ่งกำมือถือให้มั่น
ใช้ดับไฟในหลุมสุมลงพลัน
มิถึงกลั้นหายใจไฟหมดเปลว

ดูในหลุมเกิดมีเรียก ไขี้คั่ว”
รูปมันชั่วตัวดำน้ำข้นเหลว
คอยตักใส่ “บอกหมัง” เสียเร็วเร็ว
คุณภาพเลวกว่า “น้ำมันยาง"

ประทีป  วัฒนสิทธิ์
9 สิงหาคม 2556
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 09 สิงหาคม 2013, 14:28:33 โดย watthanasit » IP : บันทึกการเข้า

http://www.naturedharma.com/

ธรรมชาติธรรม

นายประทีป  วัฒนสิทธิ์
หน้า: [1] 2 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!