เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 20 เมษายน 2024, 10:17:09
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  บอร์ดกลุ่มชมรม
| |-+  ชมรมดนตรี (ผู้ดูแล: NOtis, desh)
| | |-+  ปรึกษาเรื่อง การปรับมิ๊กเซอร์ แชร์ด้วยนะครับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ปรึกษาเรื่อง การปรับมิ๊กเซอร์ แชร์ด้วยนะครับ  (อ่าน 9689 ครั้ง)
ฆ้อนก้อม
กินยาหมูตุ๊ย มีวิตามิน
สมาชิกลงทะเบียน
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 317


เพราะโลกมันกว้าง เลยต้องใส่ใจคนข้างๆ


« เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2013, 18:39:16 »

ใครพอมีคำแนะนำใดๆ เชิญแนะนำหน่อยนะครับ
IP : บันทึกการเข้า

อารมณ์ดีถ้ามีความสุข
นิ่งให้เป็น เย็นให้พอ รอให้ได้
Jobhondo
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 584



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 17 เมษายน 2013, 20:23:05 »

จัดไปครับ  จากปรามาจารย์ท่านนึง จำชื่อไม่ได้ครับ
มิกเซอร์ (MIXER)
     คำว่า MIXER ท่านทั้งหลายคงคุ้นกันดี แต่ในที่นี้จะขอแนะนำคำว่า MIXER อีกลักษณะหนึ่งขอเข้าเนื้อเรื่องเลยนะครับ
MIXER ในทางระบบเสียงจะเป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างมีความสำคัญมากๆเพราะจะทำหน้าที่ ทั้งใช้เลือกว่าจะให้สัญญาณเสียงจาก IN PUT ไหนออกบ้าง คือ ทำหน้าที่เป็นตัวเลือกสัญญาณ IN PUT อีกหน้าที่หนึ่งของMIXER คือ ทำหน้าที่ผสมสัญญาณและปรับแต่งสัญญาณต่างๆให้มีระดับตามที่ต้องการ จะเห็นแล้วว่า MIXER มีความสำคัญมากๆในอุปกรณ์ระบบเสียงเพราะถ้าเรามีสัญญาณเสียงที่สมบูรณ์มากๆ มีเสียงร้องที่ดีขนาดไหน ลำโพงดีมาก POWER AMP หรือระบบดีสุดยอดแต่ MIXER ชำรุดหรือเกิดทำงานผิดพลาดจะทำให้งานนั้นๆล้มได้ทั้งงาน

มาดูการเลือกใช้ MIXER กันบ้างนะครับ MIXER จากหลักๆขึ้นอยู่กับการใช้งานคือ
   - MIXER ใช้สำหรับงานแสดงสด
   - MIXER ใช้สำหรับบันทึกเสียง
   - MIXER ใช้สำหรับงานออกอากาศ
     เพราะฉะนั้นถ้าท่านมีความจำเป็นที่จะใช้ เลือกใช้อุปกรณ์ MIXER ท่านควรดูก่อนว่างานของท่านจัดอยู่งานประเภทใดที่ได้กล่าวมาข้างต้น เมื่อท่านได้กำหนดได้แล้วว่างานท่านเป็นแบบใดแล้วท่านก็ต้องมาตรวจสอบดูว่า งานของท่านมี IN PUTมากน้อยเท่าใดกำหนดให้พอดี ทางด้าน OUT PUT ท่านต้องตรวจสอบดูว่างานของท่านต้องการกระจายสัญญาณไปที่ไหนบ้างและกำหนดให้ พอดี ต่อมาท่านก็มาดูที่ยี่ห้อ ขอแนะนำอย่างนี้คือ ดูที่ยี่ห้อที่มีการบริการหลังการขายดีๆ ครับ คืออุปกรณ์ต้องอยู่กับเราอีกนานและมีโอกาสชำรุดเสียหายได้ เมื่อมีการเสียหายแล้วควรจะมีอะไหล่สำรองในการซ่อมแซม

การติดตั้งการใช้งาน
     เมือเราเลือก MIXER ที่เราต้องการได้แล้วเราควรต้องดูตำแหน่งและพื้นที่ในการใช้งานและที่สำคัญ มากๆคือ พื้นที่นั้นๆจะต้องไม่อยู่ในห้องที่มีฝุ่นละอองมากๆ มีความชื้นสูงจะทำให้อุปกรณ์ของท่านเสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนดและควรมีผ้าคลุม อุปกรณ์เมื่อไม่มีการใช้งาน พื้นที่ตั้งอุปกรณ์ก็ควรอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็น กิจกรรมต่างๆของแหล่งกำเนิดเสียงเพื่อจะทำให้การควบคุมเสียงทำได้ดี และง่ายต่อการแก้ปัญหาต่างๆ ในวงการเครื่องเสียงอาชีพ (Professional audio) แท่นผสมเสียง (mixing console) หรือเครื่องผสมเสียง (Audio mixer) หรืออาจเรียกว่า บอร์ดเสียง (sound board, mixing desk) หรือเรียกทับศัพท์ว่า มิกเซอร์ (mixer) เป็นหัวใจในการทำงานด้านนี้

มิกเซอร์ (mixer) คือ
     อุปกรณ์อีเล็คทรอนิก ที่ทำการรวม (หรือเรียกว่า "ทำการผสม Mixing"), จัดระบบ, และเปลี่ยนแปลงความดัง, ปรับแต่ง การเคลื่อนไหว (Dynamic) สัญญาณเสียง
มิกเซอร์ สามารถผสมเสียง สัญญาณ อนาล็อก (Analog) หรือดิจิตอล (Digital)  ตามแต่ชนิดของมิกเซอร์ สัญญาณที่ถูกดัดแปลงแล้ว ( โวลท์ Voltages หรือ digital samples) จะถูกรวมกัน (Sum) เพื่อผลิตเป็นสัญญาณออกรวม (Combined output signals)
      มิกเซอร์ ถูกใช้ในงานอันหลากหลาย ทั้งงาน ห้องอัดเสียง (recording studios) ระบบเสียงสาธารณะ (Public address systems) ระบบขยายพลังเสียง (Sound reinforcement systems) งานแพร่กระจายเสียง (Broadcasting) ทีวี (Television) และงานตัดต่อหนัง (filmpost-production)
      ตัวอย่างการใช้งานง่ายๆของมิกเซอร์คือ การผสมสัญญาณเสียงจากไมโครโฟน สองตัว ที่แต่ละตัว นักร้องอาจมีการร้องสลับ หรือคู่กัน โดยให้เสียงไปออกที่ชุดลำโพงพร้อมๆกัน ซึ่งในงานแสดงสด สัญญาณที่ออกจากมิกเซอร์จะถูกส่งตรงไปยังเครื่องขยายเสียง นอกจากมิกเซอร์นั้นมีแอมป์ในตัว (Powered mixer) หรือเป็นการต่อกับลำโพงที่มีแอมป์ในตัว (Powered speakers)
 

การดูแลบำรุงรักษา
      เพื่อให้อุปกรณ์สามารถใช้งานได้คุ้มค่าและป้องกันการชำรุดขณะที่มีการใช้งาน เราจึงควรป้องกันโดยการดูแลบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง ควรมีการตรวจเช็คสภาพการทำงานต่างๆทุกๆ 4 เดือนและทำความสะอาดอุปกรณ์ IN PUT OUT PUT ทุกๆเดือนโดยที่การทำความสะอาดคือการใช้เครื่องดูดฝุ่นละอองออกจากตัว เครื่อง การทำความสะอาดภายในอุปกรณ์คือ การทำความสะอาด หน้าสัมผัสของ IN PUT OUT PUT ต่างๆโดยใช้น้ำยาทำความสะอาด มีข้อแนะนำอีกอย่าง ไม่ควรใช้น้ำยาฉีดล้าง SLIDE VOLLUM CONTROL เพราะจะทำให้ฝุ่นที่ติดภายในยังตกค้างมากขึ้นกว่าเดิม สามารถจะใช้ได้ในกรณีที่ขณะใช้งานอยู่และเกิดความผิดพลาด แต่เมื่อจบงานนั้นๆแล้วควรถอดเปลี่ยน หรือจะมี SLIDE VOLLUM บางรุ่นสามารถถอดฝาออกมาล้างภายนอกได้จะดีกว่าการฉีดเข้าภายใน SLIDE ในการตรวจเช็คทำความสะอาดอุปกรณ์แต่ละครั้ง ควรจะบันทึกผลการตรวจเช็คต่างๆเก็บไว้ด้วยว่ามีการชำรุดอะไรบ้างและได้ทำการ แก้ไขอย่างไร เพื่อเก็บรวบรวมไว้เมื่อมีการชำรุดต่อๆไปจะได้แก้ไขได้ง่ายขึ้น และเป็นการเตรียมการไว้สำหรับการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนได้ เช่น เมื่อเช็คครั้งที่ 1 พบSLIDE VOLLUM เสีย 2 ตัว ครั้งที่ 2 ก็เสียอีกแต่เป็น CH. อื่นๆมีการปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆแสดงว่าอุปกรณ์ต่างๆเริ่มเสื่อมสภาพเรา ควรรายงานให้หัวหน้าทราบได้ว่า ควรจะซื้อเครื่องใหม่ทดแทนได้แล้ว หรือเตรียมการสำหรับซ่อมบำรุงใหม่ สิ่งที่ไม่ควรทำอีกย่างคือ การเป่าฝุ่นอัดเข้าที่ช่อง SLIDE จะทำให้ฝุ่นยิ่งเข้าไปมากกว่าเดิมเพราะหลัง SLIDE ไม่มีรูระบายฝุ่นออก หากท่านได้ทำการซ่อมบำรุงอย่างต่อเนื่องจะทำให้เครื่องของท่านสามารถใช้งาน ได้คุ้มค่ามากที่สุดและหมดปัญหาการชำรุดกลางงานได้ดีที่สุด

ปัญหาของ MIXER (ยกตัวอย่าง)
1. เสียงรบกวนออกที่ OUT PUT ตลอด
    - มีเสียงรบกวนออกขณะปรับหรี่ไฟในห้อง
    - มีเสียงรบกวนเมื่อต่อเข้ากับ VIDEO

สาเหตุของปัญหา
    - มีการต่อกราวด์ของระบบไฟฟ้าเข้าอุปกรณ์หลายๆจุด
    - กราวด์ของระบบไฟฟ้าไม่เป็น O
    - มีการเดินสายสัญญาณรวมกับสายไฟฟ้าที่เป็นชุด DIMMER
    - การผิดพลาดของ MIXER เอง

การแก้ปัญหา
    - ตัดกราวด์ของเครื่องออกแล้วต่อกราวด์ให้มีการลงกราวด์ที่จุดๆเดียว
    - ให้ช่างไฟฟ้าตรวจเช็คกราวด์ใหม่ หรือเดินสายกราวด์จากจุดกำเนิดใหม่ และไม่ต่อร่วมกับระบบไฟฟ้าอื่นๆ
    - เช็คน๊อตยึด VOLLUM CONTROL ต่างๆที่แผง MIXER ว่ามีการคลายและหลุดหลวมไม่แน่นตรงไหนบ้างและทำการขันยึดให้แน่น

2.ต่ออุปกรณ์และ OUT PUT ไม่ออก
    - มีการเปลี่ยนอุปกรณ์ MIXER ใหม่แทนอุปกรณ์เดิมต่างยี่ห้อกัน
    - ต่อ OUT PUT เป็น BALANCE
สาเหตุของปัญหา
    - CONECTOR ขาอุปกรณ์ใช้รับสัญญาณไม่ตรงกันบางยี่ห้อใช้ขา 2 เป็นสัญญาณบวก ขา 3 เป็นสัญญาณลบ CONCETOR แต่บางยี่ห้อใช้ขา 3 เป็นสัญญาณบวก ขา 2 เป็นสัญญาณลบ เมื่อทำเป็นอัน BALANCE จะทำให้สัญญาณบวก
ช๊อตลงกราวด์ ทำให้สัญญาณ OUT PUT ไม่ออก

การแก้ไขปัญหา
    - ตรวจเช็คอุปกรณ์ตามคู่มือ การใช้งานก่อนการติดตั้งอุปกรณ์และทำการแก้ไขก่อนการติดตั้งอุปกรณ์

3. ไม่สามารถเปิดสัญญาณ IN PUT ได้
    - ต่อสาย MIC ไม่ได้แต่ต่อสาย LINE ช่องที่ IN PUT เดียวกันได้
    - มีเสียงแตกพล่าเสียงไม่ชัดเจน

สาเหตุของปัญหา
    - ภาคขยาย IN PUT ที่เป็น MIC เสีย
    - CONECTOR INSERT ของช่อง IN PUT นั้นๆเสีย SW ตัดต่อภายใน CONECTOR ชำรุด
    - ต่อสัญญาณผิดคือเอาสัญญาณที่เป็น LINE มาเป็น IN PUT ที่เป็น MIC

การแก้ไขปัญหา
    - ถอด IN PUT ที่เสียมาซ่อมอาจจะมี IC / OP AMP เสีย
    - ถอด CONECTOR INSERT เปลี่ยนใหม่
    - บัดกรีเปลี่ยน CONECTOR จาก MIC เป็น LINE 
IP : บันทึกการเข้า

ประทวน สมบูรณ์  163 หมู่ 6 บ้านทุ่งติ้ว ต. ภูซาง อ. ภุซาง จ. พะเยา 56110 โทร. 086-0418976   เลขบัญชี  ธนาคารกรุงเทพ สาขานนทบุรี 1400-560-874  ออมทรัพย์
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 18 เมษายน 2013, 10:31:40 »

ถ้าใช้กับคาราโอเกะ ขอแนะนำให้ เสียบสายสัญญานเสียงเข้าที่ช่อง ไมค์ สองช่อง(แล้วแต่จะเลือกว่าเป็นช่องที่เท่าไร เช่น 1-2 หรือ 3-4 หรือ 15-16 ถ้ามี) แล้วปรับตัวโวลลุ่มล่างสุด(balance) โดยตัวขวาบิดไปที่ซ้ายสุด ตัวซ้ายบิดไปที่ขวาสุด(กรณีที่ไลน์อินเป็นช่องเดียว)แล้วเสียงออกมาจะเป็นสเตอริโอวิ่งไล่กันดีกว่าปรับทั้งสองปุ่มอยู่ตรงกลาง(12 นาฬิกา)  ลองปรับไปหลาย ๆอย่างแล้วฟังดู จนพอใจ เเพราะมันไม่หลุหรอกครับ ข้อสำคัญ โวลลุ่มอย่าดันสูง แล้วค่อย ๆขยับขึ้นภายหลัง
ลองดูนะครับ ส่วน สัญญาน แหลม กลาง เบส นั้นปรับตามชอบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
แอมป์ และลำโพงของท่านอีกที การต่อแบบนี้ทำให้ เราสามารถปรับแยกส่วนระหว่าง ไมค์ และ เสียงเพลง ได้อย่างอิสระ
คำตอบนี้เป็นแบบบ้าน ๆ พื้น ๆ ไม่เป็นวิชาการง่ายดีครับสำหรับมือใหม่
IP : บันทึกการเข้า
Jobhondo
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 584



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 18 เมษายน 2013, 10:40:27 »

เพิ่มเติม

มิกเซอร์ จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ทำหน้าที่ปรุงแต่งสัญญาณที่เข้ามาในแต่ล่ะปุ่มมิกเซอร์จะแยกหน้าที่การทำหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันออกไปต่อไปนี้จะเป็นรายระเอียดของปุ่มต่างๆบนมิกเซอร์


อินพุตแจ็ค (input jacks)

ทำหน้าที่รับสัญญาณจากไมโครโฟนหรือจากเครื่องดนตรีต่างๆที่เป็นไลน์ (line) ตำแหน่งมักอยู่บนสุดของมิกเซอร์ลักษณะของเต้ารับสัญญาณ (jack) จะมีอยู่สามแบบคือ (RCA) (-10dBv) และ (XLR) การใช้เต้ารับสัญญาณนั้นขึ้นอยู่กับราคาของเครื่องมิกเซอร์นั้นหากมีราคาแพงเต้ารับสัญญาณจะเป็นแบบ XLR ส่วนมิกเซอร์แบบกึ่งโปรจะใช้เต้าแบบ RCA และแบบ1/4นิ้ว


แฟนทอม (phantom)

ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับไมโครโฟนที่เป็นแบบคอนเดนเซอร์ (condenser) ไฟที่ออกมาจะเป็นไฟ (DC)ซึ่งมีแรงดันระหว่าง 12-48 โวลต์ (volt)


เฟส (phase)

ทำหน้าที่ปรับแก้ไขเฟสที่ไม่ถูกต้องที่อาจเกิดจากการต่อขั้วสายผิดพลาดหรือการวางไมค์ที่ก่อให้เกิดการกลับเฟส (มักเกิดจากการวางไมค์มากกว่าสองตัวขึ้นไป) ให้คืนอยู่ในสภาพปกติ สวิตซ์เฟสนี้จะพบในมิกเซอร์ราคาแพงเท่านั้น


แพด ( pad)

จะพบสวิตช์นี้ในมิกเซอร์ที่มีราคาแพงเท่านั้น ทำหน้าที่ลดความแรงของสัญญาณที่เข้ามาลง –20dB และในมิกเซอร์บางยี่ห้อจะใช้คำว่า MIC ATT (microphone attenuation) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกัน

สวิตช์เลือกไมค์,ไลน์,เทปอินพุต (mic/line/tape input select)

ทำหน้าที่เป็นตัวเลือกแหล่งสัญญาณที่เข้ามาเพื่อให้ความเหมาะสมของสัญญาณก่อนที่จะป้อนเข้ามาให้เหมาะสมกับภาคปรีแอมป์ (pre-amp) มากที่สุด และเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอาการแตกพร่า (distrotion) ในขณะใช้งานเราสามารถปรับระดับสัญญาณได้ด้วยการดูที่มิเตอร์ (vu meter)


พีคมิเตอร์ (peak meter)

ทำหน้าที่คอยระวังความแรงของสัญญาณที่เข้ามาในแชนเนลนั้นๆของมิกเซอร์ input เพื่อไม่ให้มีค่าที่เกินค่าที่กำหนดไว้โดยไฟจะสว่างขึ้น เมื่อไฟสว่างให้ปรับลดที่เกน (gain) หรืออีคิว

วิธีการดูสัญญาณที่ขึ้นพีคนั้นสามารถช่วยให้สามารถเร่งความแรงของสัญญาณที่เข้ามาได้เต็มที่ ในขณะที่เราวัดจาก vu meter และทำให้ทราบได้ว่ามีช่วง ไหนของสัญญาณทีมีความแรงที่สุด


โลว์พาสฟิลเตอร์ (lowpass-filter)

ทำหน้าที่ตัดสัญญาณความถี่สูงระหว่าง 8-10kHz เพื่อไม่ให้ผ่านไปได้ แต่ยอมให้ความถี่ต่ำผ่านได้โดยสะดวก ซึ่งในเครื่องมิกเซอร์ราคาแพงๆสามารถตั้งค่าความถี่สูงที่ต้องการตัดไม่ให้ผ่านได้อีกด้วย


ไฮพาสฟิลเตอร์ (highpass-filter)

ทำหน้าที่ตัดสัญญาณเฉพาะย่านความถี่ต่ำประมาณ 80-100 Hz ไม่ให้ผ่านไปได้แต่ยอมให้ความถี่สูงผ่านไปได้ ซึ่งในเครื่องมิกเซอร์ราคาแพงๆสามารถตั้งค่าความถี่สูงที่ต้องการให้ผ่านได้อีกด้วย

 

 

แชนเนลมิวต์ (channel mute)

ทำหน้าที่ปิดเปิดสัญญาณที่เข้ามาในแต่ละแชนเนลของมิกเซอร์ ประโยชน์ของปุ่มนี้ช่วยให้กำหนดการปิดเปิดของสัญญาณที่ได้ยินแต่ล่ะช่องเป็นอิสระ


อินเสิร์ตแจ็ค (insert jack)

ทำหน้าที่เหมือนสวิตซ์ร่วมที่เชื่อมอุปกรณ์จากภายนอกเพื่อให้เข้ามาผสมกับสัญญาณที่อยู่ในแต่ล่ะแชนเนลของมิกเซอร์ ทำให้แยกสัญญาณจากแชนเนลเพื่อส่งไปเข้าเครื่องมือช่วยปรุงแต่งเสียงต่างๆ (signal processor) เช่นคอมเพรสเซอร์ หรือ ดีเลย์ เป็นต้น ได้เป็นอิสระแต่ล่ะช่องเสียง (channel)


อีควอไลเซอร์ (equalizer)

ทำหน้าที่ปรับความถี่ของสัญญาณที่เข้ามาเพื่อปรับแต่งหาความถูกต้องตามที่ต้องการเรานิยมเรียกย่อๆว่า (EQ) ลักษณะการทำงานของอีคิวจะมีตั้งแต่แบบง่ายๆสองย่านความถี่คือเสียงสูง (treble) และความถี่ต่ำ (bass) ไปจนถึงแบบละเอียดที่มีครบทุกความถี่ (สูงกลางต่ำ) ซึ่งจะเป็นอีคิวแบบที่เรียกว่า พาราเมตริก อีคิว (parametric eq)


อีคิวบายพาส (EQ bypass)

ทำหน้าที่ปิดหรือเปิดในการใช้อีคิวหรือจะไม่ใช้ ทั้งนี้เพื่อการรับฟังเปรียบเทียบการใช้อีคิวและไม่ใช้ ว่าสัญญาณเสียงก่อนใช้อีคิวและหลังใช้จะเป็นอย่างไร


เฟดเดอร์ (fader)

ทำหน้าที่ปรับเพิ่มระดับสัญญาณที่เข้าและออกไปจากมิกเซอร์ output เพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียง บางครั้งเรานิยมเรียกทั่วไปว่าโวลุ่ม (volume)


สตูดิโอเลฟเวล (studio level)

ทำหน้าที่ควบคุมความดังของเสียงที่ออกมาจากมิกเซอร์เพื่อส่งเข้าไปยังห้องที่บันทึกเสียงเครื่องดนตรีก็คือห้อง studio นั่นเอง


คอนโทรลรูมเลฟเวล (control room level)

ทำหน้าที่ควบคุมความดังของเสียงที่ได้ยินทั้งหมดจากมิกเซอร์ที่อยู่ภายในห้องควบคุมเสียง (control room level


โซโล (solo)

ทำหน้าที่ตัดสัญญาณแต่ล่ะช่องเสียงออกมาเพื่อการรับฟังโดยอิสระโดยเราจะได้ยินเฉพาะช่องเสียงที่เรากดปุ่มโซโลใช้งานอยู่เท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องปิดร่องเสียงอื่นๆ เช่น ในขณะที่กำลังฟังเสียงที่เข้ามาในมิกเซอร์สี่ช่องเสียงพร้อมๆกัน และเราต้องการฟังตรวจสอบเสียงจากช่องเสียงที่สองเพียงช่องเดียว เราก็กดปุ่มโซโลลงไปเราจะได้ยินเสียงจากช่องเสียงที่สองเท่านั้นซึ่งมันจะทำหน้าที่ตัดแยกเสียงในช่องเสียงอื่นๆให้เงียบโดยอัตโนมัติ


โซโลเลฟเวล (solo level)

ทำหน้าที่ควบคุมสัญญาณของโซโลในช่องเสียงต่างๆบนมิกเซอร์ทั้งหมด ว่าให้อยู่ในระดับความดังเบาที่เท่าไรตามความต้องการของเอ็นจิเนียร์ เพื่อความสมดุลย์ของเสียงเมื่อกดออกเพื่อฟังรวมกับระดับปกติ


ออกซีไลอะรี่ (auxiliary)

เรียกย่อๆว่าออกเซนด์ (aux send) ทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายสัญญาณที่เข้ามาในแต่ล่ะช่องเสียงเพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียงต่างๆ หรือแหล่งรับสัญญาณอื่นๆตามที่เราต้องการ อ๊อกเซนด์ (aux send) จะมีมาสเตอร์อ๊อก (master aux) ซึ่งควบคุมความแรงของสัญญาณอ๊อกทั้งหมดในทุกช่องเสียงบนมิกเซอร์อีกต่อหนึ่ง


ปรี (pre)

หมายถึงสัญญาณที่เข้ามาในแชนเนลเสียงมิกเซอร์ จะถูกดักออกมาก่อนที่จะผ่านเข้าสู่เฟดเดอร์หลักที่มิกเซอร์(เฟดเดอร์นี้มักจะอยู่ล่างสุดและมีลักษณะยาว) ซึ่งเมื่อดึงเฟดเดอร์หลักลงมาเพื่อลดสัญญาณเสียงลง สัญญาณเสียงก็จะไม่เบาตามไปด้วยแต่จะไปดังออกที่ภาคปรี (pre) ซึ่งอาจจะพ่วงต่อไปยังเอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ เช่น รีเวอร์บ เป็นต้น ดังนั้นเสียงที่ยังคงได้ยินก็จะเป็นเสียงที่มาจากรีเวอร์บนั่นเอง ผลคือสัญญาณที่เข้ามาจะเป็นอิสระไม่ขึ้นกับเฟดเดอร์หลักที่ทำให้สามารถนำสัญญาณนั้น ๆ ไปใช้เพื่อผลทางเสียงได้ตามแต่ต้องการหรือสร้างสีสรรทางเสียงและมิติได้อีกทางหนึ่ง


โพสต์ (post)

หมายถึงสัญญาณที่เข้ามาแชนเนลเสียงของมิกเซอร์ จะมีผลดังเบาตามเฟดเดอร์หลัก

คือเมื่อเราลดเฟดเดอร์ลงสัญญาณที่เข้ามาก็จะลงตามไปด้วย แม้ว่าสัญญาณจะถูกแยกส่งออกไปยังเอฟเฟคอื่น ๆ ก็ตาม


แพน (pan)

ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายตำแหน่งสัญญาณให้ไปทางซ้ายหรือขวาและทำหน้าที่เป็นตัวถ่ายโอนสัญญาณลงร่องเสียง(track)เพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องบันทึกเทปอีกด้วย

 

 

กรุ๊ปหรือบัส (group or bus)

ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่เข้ามาจากหลายช่องเสียง(channel)เพื่อรวมสัญญาณให้ออกที่ output เดียว เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องบันทึกเทปหรือเครื่องขยายเสียงหรือช่องเสียงภายในมิกเซอร์เอง เช่น เราสามารถกรุ๊ปหรือบัสเสียงกลุ่มนักร้องประสานเสียงจากหลาย ๆ ช่องเสียงบนมิกเซอร์ ให้ออกเป็นช่องเสียงเดียวได้ด้วยการควบคุมเฟดเดอร์เพียงตัวเดียวเพื่อสะดวกต่อการควบคุมความดังเบาของสัญญาณทั้งหมด การส่งสัญญาณบัสหรือกรุ๊ปทำได้ด้วยการใช้แพน(pan) เป็นตัวจ่ายสัญญาณว่าไปทางไหนควบคู่ไปกับช่องเลือกสัญญาณ (track selected)


เลือกแทรคเสียง (track selected)

ในมิกเซอร์ที่มีราคาแพงนั้นจะอยู่บนสุดเป็นส่วนใหญ่ ทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายสัญญาณว่าจะให้ออกไปสู่ช่องเสียงใดที่เครื่องบันทึกเทปแบบมัลติแทรคซึ่งอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า ไดเร็กต์แอสไซน์ (direct assign)


ไดเร็กต์เอาต์พุต (direct output)

ทำหน้าที่ดักสัญญาณที่เข้ามาโดยไม่ผ่านปุ่มต่าง ๆ บนมิกเซอร์เพื่อให้สามารถนำสัญญาณสด ๆ นี้ไปพ่วงกับอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียง(effects)หรือเครื่องบันทึกเสียงได้โดยตรงตามแต่วัตถุประสงค์


เอฟเฟ็กต์เซนด์ (effect send)

ทำหน้าที่จ่ายสัญญาณออกมาจากตัวมิกเซอร์ในแต่ละช่องเสียงไปสุ่เอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ เช่น รีเวิร์บ (reverb) หรือดีเลย์ซึ่งมักใช้ปุ่ม aux เป็นตัวส่งสัญญาณ


เอฟเฟ็กต์รีเทอร์น (effect return)

ทำหน้าที่รับสัญญาณที่ผ่านมาจากอุปกรณ์ต่างๆที่ถูกป้อนมาจาก effect send อีกทีหนึ่งเพื่อการได้ยินเสียงที่ส่งออกมาจากเครื่องเอฟเฟ็กต์


สเตอริโอมาสเตอร์แฟดเดอร์ (stereo master fader)

มีอยู่สองลักษณะคือแบบ สไลด์โวลุ่ม (slide volume) และแบบหมุน (rotarypot)

ทำหน้าที่เป็นตัวปรับความดังเบาของสัญญาณทั้งหมดบนมิกเซอร์ทั้งซ้ายและขวาก่อนที่จะออกไปสู่เครื่องมือต่างๆ


กรุ๊ปหรือบัสเอาต์พุตแฟดเดอร์ ( group or buss output faders )

บางที่เรียกว่ากรุ๊ปเฟดเดอร์ (supgroup faders) ควบคุมการส่งออกของสัญญาณที่มาจากกรุ๊ปหรือบัสอินพุตแฟดเดอร์ ( buss input fader) โดยจะแยกเป็นสเตอริโอซึ่งมีแพน (pan) ทำหน้าที่ควบคุมการส่งสัญญาณไปทางซ้ายหรือขวาเพื่อผลของการมิกซ์เสียง (mixdown) หรือการจัดตำแหน่งสัญญาณ


สเตอริโอบัสอินพุต (stereo buss input)

ทำหน้าที่รองรับสัญญาณจากแหล่งสัญญาณอื่นๆเพื่อให้สามารถนำสัญญาณมาใช้สัญญาณร่วมกัน เช่นกรณีที่ใช้มิกเซอร์สองตัวโดยตัวแรกใช้สำหรับรองรับสัญญาณจากเครื่องดนตรีและเสียงร้อง ส่วนตัวที่สองใช้สำหรับกล ุ่มคีย์บอร์ด แต่เราต้องการควบคุมสัญญาณทั้งหมดจากมิกเซอร์ตัวแรกเราสามารถทำได้โดยการส่งสัญญาณจากมิกเซอร์ในตัวที่สองจากภาคเอาต์พุตสเตอริโอ (output stereo) แล้วต่อเข้าที่ สเตอริโอบัส (stereo buss) ที่ว่านี้ในมิกเซอร์ตัวแรกซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมระดับความแรงเบาของสัญญาณจากมิกเซอร์ตัวที่สองได้ที่มิกเซอร์ในตัวแรกในภาคสเตอริโอบัสของมิกเซอร์ตัวแรก


อ๊อกซีไลอะรี่รีเซนด์มาสเตอร์ (auxiliary send masters)

ทำหน้าที่ควบคุมความดังเบาของสัญญาณทั้งหมดที่มาจาก aux จากแต่ล่ะช่องเสียงในมิกเซอร์ หากเราปิด aux send master ถึงแม้เราจะส่งสัญญาณจาก aux ในแต่ล่ะแชนเนลก็จะไม่มีเสียงดัง ในทางตรงกันข้ามหากเราเพิ่มระดับความแรงของ aux send master ความแรงของสัญญาณจาก aux ในแต่ล่ะช่องเสียงบนมิกเซอร์ก็จะดังทั้งหมด

ที่มา  http://www.winnerintegrator.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-Mixer%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99.html
IP : บันทึกการเข้า

ประทวน สมบูรณ์  163 หมู่ 6 บ้านทุ่งติ้ว ต. ภูซาง อ. ภุซาง จ. พะเยา 56110 โทร. 086-0418976   เลขบัญชี  ธนาคารกรุงเทพ สาขานนทบุรี 1400-560-874  ออมทรัพย์
surachok
สมาชิกลงทะเบียน
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 432



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 18 เมษายน 2013, 11:14:19 »

โอ้  ตกใจ ตกใจ ตกใจ
ความรู้ทั้งนั้น ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
IP : บันทึกการเข้า
Luke@1805
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 45


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 18 เมษายน 2013, 12:26:35 »

นอกจากการเรียนรู้สิ่งต่างๆบนอุปกรณ์(mixer )แล้ว ควรศึกษาเรื่องความถี่หรือ EQ ว่าเครื่องดนตรีชนิดไหนมีความถี่ย่านใดเพราะการจะทำให้ดนตรีน่าฟังการปรับEQ บนมิคซ์สำคัญมาก
IP : บันทึกการเข้า
Jobhondo
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 584



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 18 เมษายน 2013, 12:36:19 »

Re: การปรับแต่ง มิกเซอร์ ที่ถูกต้อง


การปรับที่ถูกต้องควรปรับแต่ง chไมค์ไว้ที่ FLAT ก่อนแล้วจึงค่อยๆไล่ปรับจุดตัดต่างๆที่ ครอสโสเวอร์ ซึ่งถ้ารู้สเปคของเครื่องและตู้ลำโพงที่ใช้กับชนิดของดอกลำโพงที่ใช้ว่ามีจุดตัดที่ตำแหน่งใดดีที่สุดก็จะง่ายมากขึ้นครับผม  ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ใช้ และอีกอย่างที่สำคัญควรจะเช็คสัญญาณอินพุทที่เข้ามาให้เป็นศูนย์ทุก ch หรืออาจจะมากน้อยได้+-3db ก็พอครับผม
IP : บันทึกการเข้า

ประทวน สมบูรณ์  163 หมู่ 6 บ้านทุ่งติ้ว ต. ภูซาง อ. ภุซาง จ. พะเยา 56110 โทร. 086-0418976   เลขบัญชี  ธนาคารกรุงเทพ สาขานนทบุรี 1400-560-874  ออมทรัพย์
Jobhondo
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 584



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 18 เมษายน 2013, 12:38:34 »

นอกจากการเรียนรู้สิ่งต่างๆบนอุปกรณ์(mixer )แล้ว ควรศึกษาเรื่องความถี่หรือ EQ ว่าเครื่องดนตรีชนิดไหนมีความถี่ย่านใดเพราะการจะทำให้ดนตรีน่าฟังการปรับEQ บนมิคซ์สำคัญมาก

เห็นด้วยอย่างยิ่ง

การปรับแต่ง / การใช้งาน อีควอไลเซอร์ (EQUALIZER)

             

       วัตถุประสงค์ของการปรับแต่ง EQ ก็คือ ต้องการให้ระบบเสียงโดยรวมที่ออกมาจากลำโพงนั้นมีความถี่เสียงทุกเสียงดังออกมาเท่าๆกัน พูดง่ายๆก็คือ ต้องการให้ เสียงทุ้ม เสียงกลาง เสียงแหลม มีระดับความสมดุลย์ของความดังให้มากที่สุด
       ในระดับความดังน้อยๆ (เสียงค่อย)นั้น...... หูมนุษย์จะตอบสนองกับเสียงทุ้มและเสียงแหลมน้อยมาก คือ ไม่ค่อยได้ยินนั่นเอง แต่จะได้ยินเสียงกลางมากที่สุด
เครื่องเสียงชั้นดีโดยทั่วๆไปนั้น จะผลิตความดังของทุกย่านความถี่ออกมาเท่าๆกันอยู่แล้ว
แต่ดังที่กล่าวแล้วว่า ในระดับความดังต่ำๆ เราจะไม่ได้ยินเสียงทุ้ม กับเสียงแหลม ทั้งที่มันก็ดังน่ะแหละ แต่เราไม่ได้ยินซะเอง ดังนั้นเครื่องเสียงส่วนใหญ่ จึงให้วงจรชดเชยมาอันนึง ที่เราเห็นว่าเป็นปุ่ม loudness น่ะแหละ....ถ้าเรากดปุ่มนี้ลงไป เราจะรู้สึกได้ทันทีว่า เสียงดีขึ้น เพราะเราได้ยินเสียงครบทุกย่านความถี่ นั่นเพราะ วงจร loudness จะไปยกระดับความดังของเสียงทุ้ม กะเสียงแหลมขึ้นมา เพื่อชดเชยกับความสามารถของหูมนุษย์
ในที่นี้............. loudness ก็ทำหน้าที่ EQ ให้เราไงครับ
         ทีนี้...........สำหรับนักเล่นที่พิถีพิถันขึ้นมาอีกหน่อย หรือในวงการของ concert หรือ house PA ทั้งหลายแหล่...............แค่ loudness มันไม่พอหรอกครับ
เพราะว่า............แต่ละสถานที่...แต่ละเวที...แต่ละสิ่งแวดล้อม...แต่ละห้อง
มันไม่เหมือนกันเลย......แต่ละแห่งก็ต้องการการปรับแต่ง EQ
ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสิ่งแวดล้อมตัวเองทั้งนั้น
EQ ขนาดปานกลางส่วนใหญ่ มักจะมีข้างละ 10 แบนด์ ตั้งแต่ 64 Hz - 16KHz (16,000 Hz ) เพราะเค้าถือว่า ย่านความถี่ที่มนุษย์ได้ยิน จะอยู่ในช่วงนี้ ส่วนที่ต่ำกว่านี้ และที่สูงกว่านี้ เราจะไม่ค่อยได้ยินแล้ว (ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์...เค้าบอกว่า เราจะได้ยิน ตั้งแต่ 20 - 20000 Hz แต่ตามความเป็นจริงแล้ว....มนุษย์ผู้ใหญ่อย่างเรา ไม่ได้ยินถึงขนาดนั้นหรอกครับ ถ้าเป็นเด็กทารกล่ะอาจจะใช่)
วิธี ปรับ EQ ที่ง่ายที่สุด ก็คือ ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Spectrum analyzer.... ไอ้เจ้า Spectrum analyzerเนี่ย...มันจะผลิตสัญญานที่เรียกว่า Pink noise ออกมา
(เป็นเสียงซ่าๆ...ฟังแล้วรำคาญหูชมัด)
เจ้า Pink noise นี่มีสัญญานความถี่ออกมาครบทั้งย่านเลยนะครับ ตั้งแต่ 20-20000 Hz เลยหละ
เมื่อเราเอาไอ้สัญญาน Pink noise ที่ได้มาจาก Spectrum analyzer เนี่ย
ต่อเข้ากับระบบของเรา...เราก็จะได้ยินเสียงซ่าออกมาจากลำโพง
จากนั้นก็เอา Microphone ชนิดพิเศษที่มีความไวสูง (มันมักจะให้มาพร้อมกับ Spectrum analyzer อยู่แล้ว
)......มาต่อเข้ากับ Spectrum analyzer แล้วเอาไอ้ Mic เนี่ย ไปวางไว้ตรงตำแหน่งที่นั่งฟัง คราวนี้ เราก็มาดูที่หน้าจอของ Spectrum analyzer เราก็จะรู้ว่า ระบบของเราผลิตสัญญานย่านไหน แรงไป หรือค่อยไป เราก็ไปปรับที่ EQ ของเรา
ปรับไปจนกระทั่ง Spectrum analyzer มันแสดงผลว่า ได้ยินทุกย่านความถี่เสียง...เท่าๆกัน เป็นอันจบ...ถือกันว่า ระบบนั้นได้ทำการจูน EQ จน Flat แล้ว.....ไม่ต้องปรับต้องหมุนอะไรอีกแล้ว
           ...........แต่..........อนิจจา.....ในความเป็นจริงของชีวิต มันไม่ง่ายหยั่งงั๊นนนน...ท่านผู้ชม แผ่นแต่ละแผ่น เทปแต่ละม้วน Producer แต่ละคน วงดนตรีแต่ละวง ต่างก็มีอุปนิสัยไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น.............
ถ้าเป็นวงดนตรีนะครับ ไอ้มือเบสวงนี้มันเล่นดังเหลือเกิน ส่วนไอ้มือคอร์ดก็เล่นเบ๊า-เบา
แต่ไอ้นักร้องก็เสียงดีเหลือเกิน...บางจ๋อยเชียว
มันก็ยังต้องปรับต้องหมุนกันอยู่นั่นเอง.......
แต่เราก็พยายามอย่าไปยุ่งกับ EQ ก็แล้วกันครับ ไปปรับเอาที่ channel ของแต่ละคนซะ
ตานี้.....ถ้าไม่มี Spectrum analyzer จะปรับยังงัยล่ะ ?
มันก็ต้องปรับกันด้วย หู เรานั่นแหละครับ Spectrum analyzer ที่ธรรมชาติให้มากับทุกๆคน

ทำงี้ครับ.......
ตั้ง EQ ทุกปุ่ม ไว้ที่ center ซะก่อน ตรง 0 db นั่นแหละ...
แล้วหาเพลงที่เราคุ้นที่สุด...ชอบที่สุด...ชินที่สุด ถ้าเป็นไปได้ขอให้เป็นแผ่น
CD...เปิดเพลงนี้ฟังดู.......เปิดให้ดังนะครับ อย่าเปิดค่อย
พยายามให้ระดับความดังใกล้เคียงกับระดับความดังของการใช้งานจริงๆเลยหละ
(ผลพลอยได้ก็คือ...กว่าจะปรับเสียงเสร็จ หูก็อื้อทั้งวันแหละครับ เมียด่าอะไรก็ไม่ได้ยินไป 1 วัน)สังเกตุเสียงที่เราได้ยินนะครับ ว่ามีอะไรมันมากไป-น้อยไป เสียงกระเดื่องกะเสียง bass guitar
มันกลมกลืนกลมกล่อมมั๊ย...เสียง guitar chord มันโด่ขึ้นมามากเกินไปมั๊ย หรือว่ารองพื้นดีอยู่แล้ว
...เสียงร้องฟังดูชัดเจนสดใสมั๊ย
ไม่ใช่ฟังแล้วเหมือนไม่เต็มใจร้องบอกซะก่อนนะครับ.....ว่า...ปรับยากครับ ! ! ! มันต้องมีประสบการณ์น่ะ
........หูต้องผ่านศึกสงครามทางด้านเสียงมานานพอควรเชียวแหละ
ก็มี trick เล็กๆน้อย แถมให้นะครับ
- เสียงร้องจะอยู่แถวๆ 1k หรือ 1000 Hz
- ย่าน 100 - 500 ถ้ายกมากเกินไป จะทำให้เสียง บวมมมมม
- ย่าน 2000 - 4000 เนี่ยตัวดี.. มันทำให้เสียงแข็งและหอนง่าย
- ขอซะอย่าง ไอ้ปรับเป็นรูปปีกนก เป็นสายรุ้ง เป็นท้องช้างอะไรนั่นน่ะ....มันใช้บ่ได้จ้าาา
- พยายามเน้นการลด...ไม่ใช่การยกนะครับ
- เพลงที่ใช้ปรับเสียงควรจะหลากหลายนะครับ ไม่ใช่ใช้มันอยู่เพลงเดียว ควรจะมีทั้ง jazz ทั้ง rock ทั้ง
acoustic เพลงบรรเลง เพลงร้อง
เฮ้อ.....ก็คงช่วยได้แค่นี้แหละครับ....ลองทำดูนะครับ
การ EQ ให้เสียงชัดเจนมากขึ้น
เค้า บอกว่า ปกติแล้วเนี่ย การที่เสียงนั้นๆไม่มีความเป็นตัวตนที่ชัดเจน (lack of definition) ก็เพราะว่ามีความถี่ช่วง 400-800 Hz มากเกินไป ความถี่ช่วงนี้จะทำให้เสียงมีลักษณะ ' boxy ' (แปลเป็นไทยไงดีล่ะคับ เหมือนอัดเสียงในกล่องอ่ะ อืมม..คงแบบอู้อี้ ไม่ค่อยรู้เรื่องมั้งฮะ)

ส่วนวิธีการแก้ไขก็ทำดังนี้ครับ (ต้องใช้ EQ แบบ parametric หรือ sweep นะครับ)

1.) ให้เราปรับปุ่ม gain หรือ boost/cut ลดลงประมาณ 8-10 dB

2.) sweep ความถี่ไปเรื่อยๆ จนถึงที่ๆคุณรู้สึกว่า เสียงมันมี definition มากที่สุด ไม่ boxy เท่าไรแล้ว

3.) ทีนี้ปรับปุ่ม gain หรือ boost/cut ของเราตามแต่รสนิยมครับ แต่ให้ระวังว่าถ้าลดมากไปจะทำให้เสียงบางได้

4.) ถ้าต้องการความชัดเจนมากอีกหน่อยลองเพิ่มที่ ช่วงความถี่เสียงกลางสูง (upper mids) ประมาณ 1-4kHz เอาแค่ 1-2 dB. ก็พอครับ หรือว่าอยากเพิ่มมากกว่านั้นก็ได้แต่ต้องระวังนิดนึง

5.)ถ้าต้องการเพิ่มความแวววาว, ทอประกายให้กับเสียง (sparkle) ลองเพิ่มช่วง 5-10kHz ดูครับ

6.)ถ้าต้องการเพิ่ม 'air' ให้รู้สึกโปร่งๆ ก็ลองเพิ่มตรง 10-15kHz ครับ

NOTE! ควรที่จะปรับลดเสมอถ้าเป็นไปได้ การปรับเพิ่มนั้น จะทำให้ความสัมพันธ์ของ phase เปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้เสียงนั้นมีสีสันอันไม่พึงปรารถนาได้ ปกติแล้ว ยิ่ง boost มากเท่าไร phase shift ก็มากตามไปด้วย และการ mix ก็จะยิ่งยากเข้าไปใหญ่ engineer หลายๆคนใช้ EQ เท่าที่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ถ้าเสียงมันดี มันก็ดีนั่นแหละ

เค้าบอกว่านอกจากการปรับ EQ แบบนั้นแล้ว คุณยังสามารถปรับอีกวิธีได้ด้วย ลองทำดูนะครับ

1.) เริ่มจากการปรับ EQ ให้ flat ให้หมด (ปุ่ม boost/cut, gain อยู่ที่ตำแหน่ง 0 หมด) เสร็จแล้วปรับลดเสียงย่านความถี่ต่ำลงให้หมด (หมดเลยนะครับ cut ไป 18-20dB. หรือเท่าที่มันจะมีให้น่ะครับ)

2.) ใช้ EQ ส่วนที่เหลือแทน ค่อยๆ ปรับ upper mids (ประมาณ 1-4kHz) จนเสียงมันมีความหนาพอดีๆ

3.) จากนั้นก็มาปรับเสียง lower mids (ประมาณ 250-900Hz) ให้เสียงมันครบขึ้น

4.) จากนั้นค่อยๆปรับเสียงย่านความถี่ต่ำขึ้นมาครับ (จากที่เราปรับลดไปหมดเลย) ดูให้มันมีความหนักหน่วงพอสมควร แต่ไม่มากไปจนเสียงขุ่นมัว (muddy)

5.) เพิ่มความถี่สูงๆ เพื่อให้มันมี definition มากขึ้น
 Equalizer หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า EQ คือการเพิ่มหรือลดความดังของสัญญาณเสียงที่ความถี่ต่างๆ ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ นะครับ


ก็อย่างเช่นปุ่มปรับ Treble, Bass บนเครื่องเสียงที่บ้านนั่นแหละ ก็เป็น EQ อย่างนึง
ที่มีให้ปรับเพิ่ม, ลด เสียงทุ้ม, แหลม
แต่ในตัว EQ plug in ที่เราใช้ในโปรแกรมจะสามารถปรับได้ละเอียดลึกลงไปมากกว่านั้นอีก


EQ จะมีรูปแบบการทำงานอยู่สองลักษณะคือ


แบบแรกเป็นการเพิ่มลดความดังที่บริเวณความถี่นั้น (Bell)
ถ้าวาดเป็นกราฟ แกน x เป็นความถี่ แกน Y เป็นความดัง ก็จะได้รูประฆังคว่ำ (ถ้าเพิ่ม) หรือระฆังหงาย (ถ้าลด)

ส่วนอีกแบบคือแบบ Shelving คือตั้งแต่ความถี่ที่เราเซ็ทเป็นต้นไปจะดังเท่านั้นไปตลอด

ค่า parameter ต่างๆ ที่มีให้ปรับใน EQ ทั่วๆ ไปก็จะมี :


Frequency เลือกความถี่ที่เราต้องการจะปรับ


Gain คือปริมาณที่เราจะเพิ่ม (Boost) หรือลด (Cut) ความดังของเสียงที่ความถี่นั้นๆ


Q คือค่าที่ใช้กำหนดความกว้างของช่วงความถี่เสียง
ซึ่งค่านี้ก็จะไปเกี่ยวกับ Bandwidth โดย Bandwidth = Frequency / Q
ตัวอย่างเช่น เราตั้งความถี่ที่จะปรับไว้ที่ 1000 Hz ค่า Q ตั้งไว้ที่ 10
ดังนั้น Bandwidth ก็จะเท่ากับ 1000 / 10 = 100 Hz
หมายความว่าความถี่ที่มีผลกระทบในการปรับจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 950 Hz ถึง 1050 Hz
อีกซักตัวอย่าง.. ถ้าเราเปลี่ยนค่า Q เป็น 1
Bandwidth ก็จะเท่ากับ 1000 / 1 = 1000 Hz ความถี่ที่จะถูกปรับก็คือช่วง 500 Hz ถึง 1500 Hz
จะเห็นได้ว่าค่า Q ยิ่งมากช่วงความถี่ที่จะถูกปรับก็จะยิ่งแคบ รูประฆังก็จะแคบๆ แหลมๆ เหมาะสำหรับการหาความถี่ที่เฉพาะเจาะจงลงไป
และ ถ้าค่า Q น้อย รูประฆังจะออกมาบานๆ กว้างๆ ทำให้ได้เสียงค่อนข้าง smooth เพราะความถี่จะถูกเกลี่ย ไม่มีความถี่ที่โดดขึ้นมาชัดเกินไป

EQ แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้


1. Fixed-Frequency EQ จะแบ่งช่วงความถี่ไว้เป็น high, mid, low ในแต่ละช่วงก็จะมีให้ปรับ Gain และปรับเลือกความถี่ที่อยู่ในช่วงนั้นๆ
2. Graphic EQ ก็เป็น fixed-frequency แบบนึง มีลักษณะเป็นสไลด์หลายๆ อันเรียงกัน อย่าง EQ ใน WinAmp นั่นแหละครับ
3. Parametric EQ แบบนี้จะสามารถเลือกได้ทั้งความถี่และ bandwidth
4. Paragraphic EQ แบบนี้จะรวม Graphic EQ และ Parametric EQ ไว้ด้วยกัน คือจะมีสไลด์เรียงต่อกันเป็นพรืดแบบ Graphic EQ
และแต่ละสไลด์ก็สามารถเลือกความถี่และ bandwidth ได้อีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.patid.com/
IP : บันทึกการเข้า

ประทวน สมบูรณ์  163 หมู่ 6 บ้านทุ่งติ้ว ต. ภูซาง อ. ภุซาง จ. พะเยา 56110 โทร. 086-0418976   เลขบัญชี  ธนาคารกรุงเทพ สาขานนทบุรี 1400-560-874  ออมทรัพย์
phissanu
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 721


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 18 เมษายน 2013, 18:39:33 »

ผมปรับmixer แบบนี้ครับ โซดาสองส่วน  น้ำหนึ่งส่วน น้ำแข็งเต็มๆแก้ว( แซวเล่นเน้อครับ มาเก็บความรู้ข้างบนเหมือนกัน ครับ)
IP : บันทึกการเข้า
bs network
บีเอส เน็ตเวิร์ค. . . . . 08-1706-9387
สมาชิกลงทะเบียน
มัธยม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 893


บีเอส เน็ตเวิร์ค.08-1706-9387 Line iD : bsnetwork


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 18 เมษายน 2013, 22:04:18 »

ชอบครับละเอียดดี
IP : บันทึกการเข้า

www.bsnetwork.net
ขายซ่อมติดตั้งกล้องวงจรปิด,ตู้สาขาโทรศัพท์และสัญญาณกันขโมยบ้านแบบไร้สาย
ซ่อมจำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
วางระบบLAN Network+WiFi
ติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียม+ระบบSMATV
ออกแบบเว็บไซต
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!